ASTVผู้จัดการรายวัน-ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นอัดรัฐบาล "ปู" ไม่จริงใจเปิดเผยข้อมูลงบโครงการฟื้นฟูน้ำท่วม 1.2 แสนล้าน มีเว็บไซต์ คลิกดูไม่ได้ แฉจัดซื้อจัดจ้างไปหมดแล้ว แต่ทุกอย่างยังอุบเงียบ ส่วนผลสำรวจดัชนีคอร์รัปชั่นมี.ค.พุ่ง คนส่วนใหญ่เห็นว่าโกงกันมากขึ้น น่าตกใจ คนเมินแจ้งเบาะแส ขออยู่เฉยๆ อ้างตัวเองไม่เกี่ยว กลัวอิทธิพล หรือแจ้งไปก็ไร้ผล
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2 วานนี้ (19 เม.ย.) ว่า จากการติดตามโครงการฟื้นฟูน้ำท่วม ซึ่งมีการใช้งบกลาง 1.2 แสนล้านบาทนั้น พบว่า หลังจากที่ภาคีได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้มีการตอบรับจากหน่วยงานรัฐในการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินโครงการหรือรายละเอียดการใช้งบประมาณแต่อย่างใด ซึ่งเบื้องต้นแม้จะมีเว็บไซต์ออกประกาศ แต่เป็นข้อมูลภายในที่ต้องมีการใส่รหัสผ่าน ซึ่งภาคีฯ มองว่าในเรื่องดังกล่าวนี้ ภาครัฐจะต้องแสดงความจริงใจที่จะเปิดเผยข้อมูลอย่างจริงจังมากกว่านี้
ทั้งนี้ เพื่อให้การติดตามปัญหาการคอร์รัปชั่นได้ผลเพิ่มมากขึ้น จะมีการจัดโครงการอบรม หมาเฝ้าบ้าน เพิ่มเติมจากเดิมที่ได้จัดอบรมรุ่นที่ 1 ไปแล้ว เมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยครั้งนี้จะจัดอบรมรุ่น Social Media ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังการทุจริตต่อต้านคอร์รัปชั่นผ่านระบบออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ โดยจะจัดการอบรมการใช้เครื่องมือ และวิธีการในการถ่ายภาพที่สามารถติดตามพิกัดได้ และอบรมข้อมูลพื้นฐาน เทคนิคการส่งข่าวสารที่กระชับได้ใจความ โดยวิทยากรจากสำนักข่าวอิศรา ในวันที่ 12-13 พ.ค.นี้
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการภาคีฯ ได้มีการกำหนดให้วันที่ 6 ก.ย.ของทุกปี เป็นวันต่อต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นวันเสียชีวิตของนายดุสิต นนทะนาคร อดีตประธานกรรมการหอการค้าไทย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น และจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ทุกปี โดยในปีนี้จะแจ้งให้ทราบต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับงบประมาณฟื้นฟูน้ำท่วมวงเงิน 1.2 แสนล้านบาทนั้น ล่าสุดมีข้อมูลว่ารัฐบาลได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไปจนครบวงเงินแล้ว แต่ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดว่าได้จัดทำโครงการอะไรบ้าง และจ้างให้ใครเข้ามาดำเนินการ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชั่นมาก ขณะเดียวกัน งบประมาณอีก 3.5 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลได้เตรียมที่จะกู้เงินมาใช้ดำเนินการในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะใช้ทำอะไร
วันเดียวกันนี้ นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดเผยถึงผลการสำรวจทัศนะของประชาชนต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของเดือนมี.ค. 2555 ที่สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,200 ตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างถึง 75.9% คิดว่าในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา มีปัญหาการคอรัปชั่นมากขึ้น ซึ่งเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น จาก74.9% ในเดือนก.พ. โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 38.6% ระบุว่ารัฐบาลมีความจริงจังน้อยมากในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น อีก 27.9% ระบุว่าไม่มีความจริงใจเลย และ 25.5% มีความจริงใจปานกลาง โดยรัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้หรือไม่นั้น กลุ่มตัวอย่าง 44.1% ระบุว่าไม่แน่ใจ 38.9% ระบุว่าไม่ได้ และ 17.0% ระบุว่าได้
ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 64.4% เห็นว่า ถ้าไม่แก้ไขปัญหาอย่างจริงจังจะทำให้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของประเทศไทยใน 1 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 64.7% ระบุว่า ในปัจุบันมีการประชาสัมพันธ์ถึงแผนการดำเนินการขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นน้อยเกินไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า หากพบเห็นการทุจริตคอร์รัปชั่น ท่านจะทำอย่างไร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 63.2% ระบุว่า เฉยๆ ไม่ทำอะไร 15.4% ระบุว่า แจ้งสื่อมวลชนเพื่อเปิดเผย 11.4% แจ้งหน่วยงานปราบปรามการทุจริตและ 4.2% แจ้งตำรวจดำเนินคดี ทั้งนี้ ประชาชนที่ตอบว่า เฉยๆ ไม่ทำอะไรเมื่อพบเห็นการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น ส่วนใหญ่ 39.9% ให้เหตุผลว่า ไม่เกี่ยวกับตัวเอง 28.5% ระบุว่า กลัวเดือดร้อน 22.4% แจ้งไปก็ไม่เห็นผล และ 8.9% มองว่าเป็นเรื่องปกติ
“จากการสำรวจปัญหาเรื่องเร่งด่วนในเดือนมี.ค. ที่กลุ่มตัวอย่างต้องการให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขอย่างเร่งด่วน พบว่าปัญหาคอร์รัปชั่นอยู่ในลำดับที่ 4 โดยกลุ่มตัวอย่าง 27.9% อยากให้แก้ปัญหาค่าครองชีพ เป็นเรื่องแรก รองลงมา 17.8% ให้แก้เรื่องการเพิ่มรายได้ของประชาชน 16.4% ให้แก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และ15.2% ให้การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น"นางเสาวณีย์กล่าว
นางเสาวณีย์กล่าวว่า สำหรับการสำรวจดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นไทยในเดือนมี.ค. ถือว่าอยู่ในระดับรุนแรงมากถึงแย่ โดยดัชนีความคิดเห็นต่อปัญหาคอร์รัปชั่นในปัจจุบัน อยู่ในระดับ 66.1คะแนน ปรับลดลงจากเดือนก.พ. ที่ระดับ 68.2คะแนน และดัชนีความคิดเห็นต่อปัญหาคอร์รัปชั่นในอนาคต อยู่ในระดับ 88 คะแนน ปรับลดลงจาก 89.5 คะแนน
ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 74.2% ระบุว่า หากขอให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นก็ยินดีมีส่วนร่วม โดยอีก 23.9% ระบุว่า อยากมีส่วนร่วม แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะมีความจำเป็นทางธุรกิจ และอีก 1.9% ไม่ต้องการมีส่วนร่วม ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 35.6% เห็นว่าปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศไทยสามารถที่จะแก้ไขได้ในระดับปานกลาง และต้องการให้รัฐบาลเป็นคนเริ่มก่อนในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น โดยกลุ่มตัวอย่าง33.8% เห็นว่า เริ่มไปพร้อมกันและ 26.9% ให้ภาคเอกชนเป็นคนเริ่มก่อน
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2 วานนี้ (19 เม.ย.) ว่า จากการติดตามโครงการฟื้นฟูน้ำท่วม ซึ่งมีการใช้งบกลาง 1.2 แสนล้านบาทนั้น พบว่า หลังจากที่ภาคีได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้มีการตอบรับจากหน่วยงานรัฐในการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินโครงการหรือรายละเอียดการใช้งบประมาณแต่อย่างใด ซึ่งเบื้องต้นแม้จะมีเว็บไซต์ออกประกาศ แต่เป็นข้อมูลภายในที่ต้องมีการใส่รหัสผ่าน ซึ่งภาคีฯ มองว่าในเรื่องดังกล่าวนี้ ภาครัฐจะต้องแสดงความจริงใจที่จะเปิดเผยข้อมูลอย่างจริงจังมากกว่านี้
ทั้งนี้ เพื่อให้การติดตามปัญหาการคอร์รัปชั่นได้ผลเพิ่มมากขึ้น จะมีการจัดโครงการอบรม หมาเฝ้าบ้าน เพิ่มเติมจากเดิมที่ได้จัดอบรมรุ่นที่ 1 ไปแล้ว เมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยครั้งนี้จะจัดอบรมรุ่น Social Media ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังการทุจริตต่อต้านคอร์รัปชั่นผ่านระบบออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ โดยจะจัดการอบรมการใช้เครื่องมือ และวิธีการในการถ่ายภาพที่สามารถติดตามพิกัดได้ และอบรมข้อมูลพื้นฐาน เทคนิคการส่งข่าวสารที่กระชับได้ใจความ โดยวิทยากรจากสำนักข่าวอิศรา ในวันที่ 12-13 พ.ค.นี้
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการภาคีฯ ได้มีการกำหนดให้วันที่ 6 ก.ย.ของทุกปี เป็นวันต่อต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นวันเสียชีวิตของนายดุสิต นนทะนาคร อดีตประธานกรรมการหอการค้าไทย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น และจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ทุกปี โดยในปีนี้จะแจ้งให้ทราบต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับงบประมาณฟื้นฟูน้ำท่วมวงเงิน 1.2 แสนล้านบาทนั้น ล่าสุดมีข้อมูลว่ารัฐบาลได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไปจนครบวงเงินแล้ว แต่ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดว่าได้จัดทำโครงการอะไรบ้าง และจ้างให้ใครเข้ามาดำเนินการ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชั่นมาก ขณะเดียวกัน งบประมาณอีก 3.5 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลได้เตรียมที่จะกู้เงินมาใช้ดำเนินการในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะใช้ทำอะไร
วันเดียวกันนี้ นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดเผยถึงผลการสำรวจทัศนะของประชาชนต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของเดือนมี.ค. 2555 ที่สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,200 ตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างถึง 75.9% คิดว่าในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา มีปัญหาการคอรัปชั่นมากขึ้น ซึ่งเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น จาก74.9% ในเดือนก.พ. โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 38.6% ระบุว่ารัฐบาลมีความจริงจังน้อยมากในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น อีก 27.9% ระบุว่าไม่มีความจริงใจเลย และ 25.5% มีความจริงใจปานกลาง โดยรัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้หรือไม่นั้น กลุ่มตัวอย่าง 44.1% ระบุว่าไม่แน่ใจ 38.9% ระบุว่าไม่ได้ และ 17.0% ระบุว่าได้
ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 64.4% เห็นว่า ถ้าไม่แก้ไขปัญหาอย่างจริงจังจะทำให้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของประเทศไทยใน 1 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 64.7% ระบุว่า ในปัจุบันมีการประชาสัมพันธ์ถึงแผนการดำเนินการขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นน้อยเกินไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า หากพบเห็นการทุจริตคอร์รัปชั่น ท่านจะทำอย่างไร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 63.2% ระบุว่า เฉยๆ ไม่ทำอะไร 15.4% ระบุว่า แจ้งสื่อมวลชนเพื่อเปิดเผย 11.4% แจ้งหน่วยงานปราบปรามการทุจริตและ 4.2% แจ้งตำรวจดำเนินคดี ทั้งนี้ ประชาชนที่ตอบว่า เฉยๆ ไม่ทำอะไรเมื่อพบเห็นการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น ส่วนใหญ่ 39.9% ให้เหตุผลว่า ไม่เกี่ยวกับตัวเอง 28.5% ระบุว่า กลัวเดือดร้อน 22.4% แจ้งไปก็ไม่เห็นผล และ 8.9% มองว่าเป็นเรื่องปกติ
“จากการสำรวจปัญหาเรื่องเร่งด่วนในเดือนมี.ค. ที่กลุ่มตัวอย่างต้องการให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขอย่างเร่งด่วน พบว่าปัญหาคอร์รัปชั่นอยู่ในลำดับที่ 4 โดยกลุ่มตัวอย่าง 27.9% อยากให้แก้ปัญหาค่าครองชีพ เป็นเรื่องแรก รองลงมา 17.8% ให้แก้เรื่องการเพิ่มรายได้ของประชาชน 16.4% ให้แก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และ15.2% ให้การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น"นางเสาวณีย์กล่าว
นางเสาวณีย์กล่าวว่า สำหรับการสำรวจดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นไทยในเดือนมี.ค. ถือว่าอยู่ในระดับรุนแรงมากถึงแย่ โดยดัชนีความคิดเห็นต่อปัญหาคอร์รัปชั่นในปัจจุบัน อยู่ในระดับ 66.1คะแนน ปรับลดลงจากเดือนก.พ. ที่ระดับ 68.2คะแนน และดัชนีความคิดเห็นต่อปัญหาคอร์รัปชั่นในอนาคต อยู่ในระดับ 88 คะแนน ปรับลดลงจาก 89.5 คะแนน
ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 74.2% ระบุว่า หากขอให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นก็ยินดีมีส่วนร่วม โดยอีก 23.9% ระบุว่า อยากมีส่วนร่วม แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะมีความจำเป็นทางธุรกิจ และอีก 1.9% ไม่ต้องการมีส่วนร่วม ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 35.6% เห็นว่าปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศไทยสามารถที่จะแก้ไขได้ในระดับปานกลาง และต้องการให้รัฐบาลเป็นคนเริ่มก่อนในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น โดยกลุ่มตัวอย่าง33.8% เห็นว่า เริ่มไปพร้อมกันและ 26.9% ให้ภาคเอกชนเป็นคนเริ่มก่อน