ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นอัดรัฐไม่จริงใจเปิดเผยข้อมูลงบโครงการฟื้นฟูน้ำท่วม 1.2 แสนล้าน มีแต่เว็บไซต์แต่ไร้ข้อมูล พร้อมกำหนด 6 กันยายนเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชั่นไว้อาลัยให้ “ดุสิต นนทะนาคร” ส่วนผลสำรวจการคอร์รัปชันในไทยพบสูงขึ้นเป็น 75.9% น่าตกใจ คนส่วนใหญ่เห็นการโกงจะอยู่เฉยๆ อ้างไม่เกี่ยวตัวเอง กลัวอิทธิพล แจ้งไปก็ไร้ผล
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น เปิดเผยว่า จากการติดตามโครงการฟื้นฟูน้ำท่วม ซึ่งมีการใช้งบกลาง 120,000 ล้านบาท โดยเรียกร้องให้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วม แต่ปรากฏว่ายังไม่มีข้อมูลจากภาครัฐ แม้จะมีเว็บไซต์แต่ต้องมีการใส่รหัสผ่าน ซึ่งภาครัฐต้องแสดงความจริงใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ส่วนความคืบหน้าโครงการ Collective Action ของภาคเอกชน โดยมีภารกิจเข้าร่วมปฏิบัติงานตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยจะเข้าร่วมสังเกตการณ์ตลอดทั้งกระบวนการทำงานตั้งแต่ก่อนการจัดซื้อจัดจ้าง ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง จนถึงได้ผู้รับงานโครงการรัฐ เพื่อให้ทั้งกระบวนการทำงานมีความโปร่งใสชัดเจน และให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และได้ทำเรื่องเสนอคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เรียบร้อยแล้วเพื่อให้ผ่านการพิจารณาในขั้นตอนต่อไป
สำหรับโครงการอบรม หมาเฝ้าบ้าน ซึ่งได้จัดอบรมรุ่นที่ 1 ปแล้วเมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา จะมีการจัดอบรมรุ่น Social Media ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังการทุจริตต่อต้านคอร์รัปชันผ่านระบบออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ โดยจะจัดการอบรมการใช้เครื่องมือ และวิธีการในการถ่ายภาพที่สามารถติดตามพิกัดได้ และอบรมข้อมูลพื้นฐาน เทคนิคการส่งข่าวสารที่กระชับได้ใจความ โดยวิทยากรจากสำนักข่าวอิศรา ในวันที่ 12-13 พฤษภาคมนี้
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการภาคีฯ ได้มีการกำหนดให้วันที่ 6 กันยายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นวันเสียชีวิตของคุณดุสิต นนทะนาคร อดีตประธานกรรมการหอการค้าไทย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น และจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ทุกปี สำหรับปีนี้จะแจ้งให้ทราบต่อไป
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากผลการสำรวจทัศนะของประชาชนต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน จำนวน 1,200 ตัวอย่าง ที่จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในเดือนเมษายนพบว่า เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลควรมีการเข้ามาแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ ปัญหาค่าครองชีพ 27.9% การเพิ่มรายได้ของประชาชน 17.8% ปัญหาด้านเศรษฐกิจ 16.4% ปัญหาคอร์รัปชัน 15.2% ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 10.8% ปัญหายาเสพติด 4.8% ปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาเยาวชน 3.9% และปัญหาน้ำท่วม 3.2%
ส่วนคำถามว่าปัจจุบันปัญหาการคอร์รัปชันของประเทศไทยมีมากน้อยเพียงใด พบว่า ปัญหาการคอร์รัปชันของประเทศมีมากขึ้น 75.9% มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่มีสัดส่วน 74.9% และในขณะเดียวกันส่วนใหญ่ 38.6% เห็นว่ารัฐบาลมีความจริงจังน้อยมากในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งส่วนใหญ่ร้อยละ 64.4% เห็นว่าถ้าไม่แก้ไขปัญหาอย่างจริงจังจะทำให้ปัญหาการคอร์รัปชันของประเทศไทยใน 1 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ในปัจุบันมีการประชาสัมพันธ์แผนการดำเนินการขจัดปัญหาคอร์รัปชันน้อย (64.7%)
และสำหรับคำถามว่าหากพบเห็นการทุจริตคอร์รัปชัน ท่านจะทำอย่างไร พบว่า มีการตอบว่า เฉยๆ ไม่ทำอะไร สูงสุดถึง 63.2% แจ้งสื่อมวลชนเพื่อเปิดเผย 15.4% แจ้งหน่วยงานปราบปรามการทุจริต 11.4% แจ้งตำรวจดำเนินคดี 4.2% ถ่ายคลิปหลักฐานแล้วส่งตำรวจ 3.7% และร้องเรียนในระดับผู้บังคับบัญชาให้ทราบ 2.1% ทั้งนี้ ประชาชนที่ตอบว่า เฉยๆ ไม่ทำอะไรเมื่อพบเห็นการทุจริตคอร์รัปชัน โดยให้เหตุผลว่า ไม่เกี่ยวกับตัวเอง 39.9% กลัวเดือดร้อน 28.5% แจ้งไปก็ไม่เห็นผล 22.4% เป็นเรื่องปกติ 8.9% และอื่นๆ 0.3%
ส่วนคำถามที่หากขอให้ท่านเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน พบว่า ยินดีมีส่วนร่วม 74.2% อยากมีส่วนร่วมแต่ไม่สามารถทำได้เพราะมีความจำเป็นทางธุรกิจ 23.9% และไม่ต้องการมีส่วนร่วม 1.9% ในขณะเดียวกัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 35.6% เห็นว่าปัญหาคอร์รัปชันของประเทศไทยสามารถที่จะแก้ไขได้ในระดับปานกลาง และต้องการให้รัฐบาลเริ่มก่อนในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ร้อยละ 33.8% เห็นว่าเริ่มไปพร้อมกัน 26.9% ภาคเอกชนควรเริ่มก่อน 23.2% หน่วยงานราชการควรเริ่มก่อน 15.6% และประชาชนควรเริ่มก่อน 0.5%
อย่างไรก็ตาม พบว่าดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันไทย ในเดือนมีนาคม 2555 อยู่ในระดับรุนแรงมาก/แย่ โดยดัชนีความคิดเห็นต่อปัญหาคอร์รัปชันในปัจจุบันอยู่ในระดับ 66.1 คะแนน ปรับลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่อยู่ที่ระดับ 68.2 คะแนน และดัชนีความคิดเห็นต่อปัญหาคอร์รัปชันในอนาคตอยู่ในระดับ 88.0 คะแนน ปรับลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่อยู่ที่ระดับ 89.5 คะแนนเช่นเดียวกัน
ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น (ภตค.) ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย โดยได้วางบทบาทในการป้องกัน ปลูกฝัง และร่วมมือกับภาครัฐในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 40 องค์กร เพื่อรวมพลังต่อต้านคอร์รัปชัน จุดเปลี่ยนประเทศไทย
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น เปิดเผยว่า จากการติดตามโครงการฟื้นฟูน้ำท่วม ซึ่งมีการใช้งบกลาง 120,000 ล้านบาท โดยเรียกร้องให้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วม แต่ปรากฏว่ายังไม่มีข้อมูลจากภาครัฐ แม้จะมีเว็บไซต์แต่ต้องมีการใส่รหัสผ่าน ซึ่งภาครัฐต้องแสดงความจริงใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ส่วนความคืบหน้าโครงการ Collective Action ของภาคเอกชน โดยมีภารกิจเข้าร่วมปฏิบัติงานตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยจะเข้าร่วมสังเกตการณ์ตลอดทั้งกระบวนการทำงานตั้งแต่ก่อนการจัดซื้อจัดจ้าง ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง จนถึงได้ผู้รับงานโครงการรัฐ เพื่อให้ทั้งกระบวนการทำงานมีความโปร่งใสชัดเจน และให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และได้ทำเรื่องเสนอคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เรียบร้อยแล้วเพื่อให้ผ่านการพิจารณาในขั้นตอนต่อไป
สำหรับโครงการอบรม หมาเฝ้าบ้าน ซึ่งได้จัดอบรมรุ่นที่ 1 ปแล้วเมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา จะมีการจัดอบรมรุ่น Social Media ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังการทุจริตต่อต้านคอร์รัปชันผ่านระบบออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ โดยจะจัดการอบรมการใช้เครื่องมือ และวิธีการในการถ่ายภาพที่สามารถติดตามพิกัดได้ และอบรมข้อมูลพื้นฐาน เทคนิคการส่งข่าวสารที่กระชับได้ใจความ โดยวิทยากรจากสำนักข่าวอิศรา ในวันที่ 12-13 พฤษภาคมนี้
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการภาคีฯ ได้มีการกำหนดให้วันที่ 6 กันยายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นวันเสียชีวิตของคุณดุสิต นนทะนาคร อดีตประธานกรรมการหอการค้าไทย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น และจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ทุกปี สำหรับปีนี้จะแจ้งให้ทราบต่อไป
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากผลการสำรวจทัศนะของประชาชนต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน จำนวน 1,200 ตัวอย่าง ที่จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในเดือนเมษายนพบว่า เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลควรมีการเข้ามาแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ ปัญหาค่าครองชีพ 27.9% การเพิ่มรายได้ของประชาชน 17.8% ปัญหาด้านเศรษฐกิจ 16.4% ปัญหาคอร์รัปชัน 15.2% ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 10.8% ปัญหายาเสพติด 4.8% ปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาเยาวชน 3.9% และปัญหาน้ำท่วม 3.2%
ส่วนคำถามว่าปัจจุบันปัญหาการคอร์รัปชันของประเทศไทยมีมากน้อยเพียงใด พบว่า ปัญหาการคอร์รัปชันของประเทศมีมากขึ้น 75.9% มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่มีสัดส่วน 74.9% และในขณะเดียวกันส่วนใหญ่ 38.6% เห็นว่ารัฐบาลมีความจริงจังน้อยมากในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งส่วนใหญ่ร้อยละ 64.4% เห็นว่าถ้าไม่แก้ไขปัญหาอย่างจริงจังจะทำให้ปัญหาการคอร์รัปชันของประเทศไทยใน 1 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ในปัจุบันมีการประชาสัมพันธ์แผนการดำเนินการขจัดปัญหาคอร์รัปชันน้อย (64.7%)
และสำหรับคำถามว่าหากพบเห็นการทุจริตคอร์รัปชัน ท่านจะทำอย่างไร พบว่า มีการตอบว่า เฉยๆ ไม่ทำอะไร สูงสุดถึง 63.2% แจ้งสื่อมวลชนเพื่อเปิดเผย 15.4% แจ้งหน่วยงานปราบปรามการทุจริต 11.4% แจ้งตำรวจดำเนินคดี 4.2% ถ่ายคลิปหลักฐานแล้วส่งตำรวจ 3.7% และร้องเรียนในระดับผู้บังคับบัญชาให้ทราบ 2.1% ทั้งนี้ ประชาชนที่ตอบว่า เฉยๆ ไม่ทำอะไรเมื่อพบเห็นการทุจริตคอร์รัปชัน โดยให้เหตุผลว่า ไม่เกี่ยวกับตัวเอง 39.9% กลัวเดือดร้อน 28.5% แจ้งไปก็ไม่เห็นผล 22.4% เป็นเรื่องปกติ 8.9% และอื่นๆ 0.3%
ส่วนคำถามที่หากขอให้ท่านเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน พบว่า ยินดีมีส่วนร่วม 74.2% อยากมีส่วนร่วมแต่ไม่สามารถทำได้เพราะมีความจำเป็นทางธุรกิจ 23.9% และไม่ต้องการมีส่วนร่วม 1.9% ในขณะเดียวกัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 35.6% เห็นว่าปัญหาคอร์รัปชันของประเทศไทยสามารถที่จะแก้ไขได้ในระดับปานกลาง และต้องการให้รัฐบาลเริ่มก่อนในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ร้อยละ 33.8% เห็นว่าเริ่มไปพร้อมกัน 26.9% ภาคเอกชนควรเริ่มก่อน 23.2% หน่วยงานราชการควรเริ่มก่อน 15.6% และประชาชนควรเริ่มก่อน 0.5%
อย่างไรก็ตาม พบว่าดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันไทย ในเดือนมีนาคม 2555 อยู่ในระดับรุนแรงมาก/แย่ โดยดัชนีความคิดเห็นต่อปัญหาคอร์รัปชันในปัจจุบันอยู่ในระดับ 66.1 คะแนน ปรับลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่อยู่ที่ระดับ 68.2 คะแนน และดัชนีความคิดเห็นต่อปัญหาคอร์รัปชันในอนาคตอยู่ในระดับ 88.0 คะแนน ปรับลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่อยู่ที่ระดับ 89.5 คะแนนเช่นเดียวกัน
ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น (ภตค.) ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย โดยได้วางบทบาทในการป้องกัน ปลูกฝัง และร่วมมือกับภาครัฐในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 40 องค์กร เพื่อรวมพลังต่อต้านคอร์รัปชัน จุดเปลี่ยนประเทศไทย