ASTVผู้จัดการรายวัน-ปชป.กระทุ้งรัฐบาลปู ลาออก หากพรก.2ฉบับสะดุด ศาลรธน. สับ “เหลิม”ไร้มารยาทการเมือง ชิ่งหนีไปรับผิดชอบ ยกบรรทัดฐาน “ยุคป๋าเปรม”จุ้นกม.การเงินยุบสภารับผิดชอบทันที แขวะ!สมัย“แม้ว”ก็ตีชิ่ง ด้าน “เพื่อไทย”ไม่สน “กูไม่ออก”ออก เอาแน่! ออกพ.ร.บ.หากพ.ร.ก.2 ฉบับสะดุด
วานนี้(8 ก.พ.55) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความรับผิดชอบหากเกิดกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน ขัดรัฐธรรมนูญว่า "ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะรัฐธรรมนูญ บอกว่า การออก พ.ร.ก.เป็นดุลพินิจของรัฐมนตรี หากเห็นว่าเป็นเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนและมีความจำเป็นก็ออกได้ แต่ถ้าศาลบอกว่าไม่จำเป็นไม่เร่งด่วนก็เป็นเรื่องของศาล ไม่เห็นต้องรับผิดชอบอะไรเลย เราก็นำร่างกลับมาเสนอสภาเข้าสภาพิจารณา 3 วาระรวด ออกเป็นพระราชบัญญัติแทนไม่มีปัญหา ไม่ต้องไปลาออก ไม่ต้องไปขยับเขยื้อน ไม่ต้องไปทำอะไรทั้งนั้น เพราะมันไม่ผิดก็ให้ฝ่ายค้านเขาเรียกร้องไป
เมื่อถามว่าแต่ประเพณีปฏิบัติ หากมีกฎหมายสำคัญที่รัฐบาลเสนอสภาฯตกไป จะต้องมีผู้แสดงความรับผิดชอบหรือนายกรัฐมนตรีต้องลาออก ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่มีประเพณีนั้นหรอก คิดกันเอาเองอะไรก็ตามที่กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ ไม่ต้องไปคิด เรามาจากการเลือกตั้ง และประชาชนเขามอบหมายให้ทำงาน เมื่อถามว่ารัฐบาลเตรียมทางออกเรื่องนี้ไว้อย่างไร รองนายกฯกล่าวว่า ตนพูดเรื่องนี้ในที่ประชุมพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา และบอกกับ ส.ส.ว่า ไม่มีอะไรต้องรับผิดชอบ เมื่อพ.ร.ก.ตก ก็เป็นดุลพินิจของ ครม. พิจารณา ถ้าใครบอกว่าไม่จำเป็นก็เป็นดุลพินิจของท่าน ที่พูดไม่ได้ท้าทายแต่พูดตามหลักกฎหมาย
เมื่อถามว่าเป็นห่วงการทำหน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะมีหลายคนห่วงว่าพรรคเพื่อไทยอาจจะตายน้ำตื้นในศาลด้วยเรื่องนี้ รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่ตายหรอก จากพรรคไทยรักไทยมาเป็นพรรคพลังประชาชน จนถึงพรรคเพื่อไทย ก็ชนะ พวกตายคือพวกที่ซมซานออกจากพรรค
**'ออกพ.ร.บ.หากพ.ร.ก.2ฉบับสะดุด
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็อาจจะมีการเสนอการจัดทำในลักษณะพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แทน ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน และทำให้การบริหารจัดการน้ำในบางเรื่องต้องชะลอออกไปก่อน เพราะโครงการใหญ่ในระยะยาวต้องใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.ส่วนนี้ แต่หากศาลพิจารณาว่าไม่ขัดก็สามารถดำเนินการตามโครงการที่ได้จัดเตรียมไว้
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ชี้แจงเรื่อง พรก.เงินกู้ว่า เนื้อหาสาระหลักของ พรก. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเป็นผู้ชี้แจง ทั้งนี้ในส่วนของตนเองนั้น จะคอยอธิบายความในมิติทางการเมือง พร้อมยืนยันว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดเวทีสาธารณะเพื่ อชี้แจงแก่ประชาชน เนื่องจาก พรก. ที่ถูกเสนอขึ้นเป็นการทำประโยชน์เพื่อคนทั้งประเทศ แต่หากมีการพูดคุยกันมากก็อาจจะต้องมีการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจต่อไป
**ปชป.ซัดเหลิมไร้มารยาทการเมือง
ที่รัฐสภา นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกรณีร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่ารัฐบาลไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบใดๆ เพราะไม่มีประเพณีปฏิบัติว่า ไม่น่าเชื่อว่าร.ต.อ.เฉลิมที่เป็นนักการเมืองอาวุโสแต่ไม่รู้จักมารยาททางการเมืองว่าความรับผิดชอบทางกาเมืองของรัฐบาลควรเป็นอย่างไร
ซึ่งโดยประเพณีปฏิบัติแล้วถ้ากฎหมายเกี่ยวกับการเงินของรัฐบาลไม่ผ่านความเห็นชอบ รัฐบาลในอดีตจะแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกหรือยุบสภา ดังเมื่อรัฐบาลปัจจุบันใช้อำนาจออกพ.ร.ก.โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ หากศาลวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐบาลย่อมไม่มีความชอบธรรมที่จะบริหารราชการแผ่นดินต่อไป โดยจะต้องแสดงความรับผิดชอบไม่ว่าทางหนึ่งทางใด และเชื่อว่ากระแสสังคมจะกดดันให้รัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบและทัดทานได้ยาก แม้คนในพรรคเพื่อไทยจะสะกดคำว่าสปิริตหรือมารยาททางการเมืองไม่เป็นก็ตาม ซึ่งผิดหลักจากมาตรฐานของปชป. ที่เคยแสดงความรับผิดชอบมาแล้วไม่ว่ากรณี นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน นายวิฑูรย์ นามบุตร นายวิทยา แก้วภราดัย ทั้งที่ผลสอบสวนภายหลังพบไม่ผิด
**ยกยุคป๋าจุ้นกม.การเงินยุบสภา
“ ฝากไปยัง ร.ต.อ.เฉลิมว่า มารยาททางการเมือง ความรู้สึกสำนึกชั่วดีและหน้าที่ทางการเมืองนั้น ไม่จำเป็นต้องมีประเพณีปฏิบัติ นักการเมืองที่ดีควรมีจิตสำนึกและละอายต่อการทำหน้าที่อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อาจจะเรียกหาได้ยากจากพรรคเพื่อไทย ที่ไม่เคยมีความรับผิดชอบหรือแสดงออกใดๆทางการเมือง นับแต่ยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นมา โดยเฉพาะเมื่อปี 2546 ที่รัฐสภาพิจารณาร่างพ.ร.บ.ค่าตอบแทนบุคลากรทางการศึกษาแล้วเสร็จและนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่มีการพระราชทานกลับลงมา แต่พ.ต.ท.ทักษิณกลับไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆทางการเมือง ต่างจากแบบอย่างในสมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯเมื่อปี 2531 ที่สภาฯพิจารณาพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นกฎหมายการเงินซึ่งไม่ผ่านการพิจารณา พล.อ.เปรมจึงตัดสินใจยุบสภา อยากให้ได้คำนึงจริยธรรมทางการเมืองและความรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือยุบสภาฯ แม้ว่าหลังจากนี้พรรคเพื่อไทยจะกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกปชป.ก็ไม่ติดใจถ้าผ่านการอนุมัติจากประชาชน”นายเทพไทกล่าว
**ยกบรรทัดฐานกม.ลิขสิทธิ์ไม่ผ่าน
นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทยเงา พรรค ปชป.กล่าว่า ร่าง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวาง ระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 350,000 ล้านบาท และพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 วงเงิน 1,140,000 ล้านบาท ไว้พิจารณาวินิจฉัย ไม่ชอบด้วยกฎหมายจริง ก็ไม่ต้องมีผู้รับผิดชอบ รัฐบาลไม่ต้องลาออกว่า จริงอยู่ รธน. ไม่ได้เขียนบังคับไว้ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลต้องลาออกก็จริง แต่มันถือเป็นบรรทัดฐานและมารยาททางการเมืองที่ต้องปฏิบัติ ทั้งนี้ ในยุคที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำได้ว่ามีพระราชกำหนดฉบับหนึ่งไม่ผ่านรัฐสภา พล.อ.เปรม ท่านยุบสภาฯ ลาออกทันที
แต่ครั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่าน่าจะหนักกว่า เพราะหากศาล รธน.วินิจฉัยว่า พ.ร.ก. 2 ฉบับขัดรัฐธรรมนูญแล้ว ก็แสดงว่ารัฐบาลที่ออก พ.ร.ก. ออกมาแล้วอ้างเอารัฐธรรมนูญว่าให้อำนาจสามารถทำได้ก็ไม่ถูกต้อง เป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ จึงเห็นควรให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องออกสถานเดียว แม้ไม่มีกฎหมายระบุไว้ว่าต้องรับผิดชอบแต่ ร.ต.อ.เฉลิม จะอ้างกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดเอาไว้แล้วรัฐบาลไม่ต้องลาออกไม่ได้ เพราะนอกจากกฎหมายแล้วยังมีเรื่องจริยธรรมทางการเมืองและความรับผิดชอบต่อหน้าที่อีก เห็นชัดเป็นการอ้างเอาแต่ได้ทั้งนั้น
นายถาวร กล่าวอีกว่า ถึงแม้รัฐบาลที่นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบลาออกไปหากศาล รธน.วินิจฉัยว่า พ.ร.ก. 2 ฉบับ ขัดรธน.จริง แต่รัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภา ก็สามารถกลับมาใหม่ได้ ถ้า ส.ส.พท. เลือกกลับเข้ามาอีกครั้ง จึงไม่น่าเป็นปัญหา แต่เชื่อว่า นายกฯ คงจะไม่น่าด้านพอ เพราะเชื่อว่า ถ้าทราบว่าได้ทำผิด รธน.แล้ว พรรคใหญ่อย่าง พท. ไม่มีปัญญาแล้วหรือไรในการหาคนใหม่มาเป็นนายกรัฐมนตรี จึงจะยังเลือกคนที่เคยทำผิด รธน.กลับมาอีกครั้ง
**ติงอย่าเทียบพรก.กับ“ไทยเข็มแข็ง”
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ตามที่รายงานข่าวจากที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ได้มีการเปรียบเทียบเงินกู้เงินไทยเข้มแข็งกับพ.ร.ก.กู้เงินของรัฐบาลปัจจุบันนั้น ถือเป็นความพยายามอาคืนเพื่อกลบเกลื่อนความผิดพลาดของรัฐบาลนี้ โดยถ้าคิดว่าไทยเข้มแข็งมีความผิดพลาด ทำไมไม่ทำแต่แรก และที่พูดกันในครม.ก็ไม่มีเรื่องทุจริต แต่สั่งให้ไปหามาให้ได้เพื่อมากลบข่าวเท่านั้น ทั้งนี้ ข้อแตกต่างระหว่างไทยเข้มแข็งกับพ.ร.ก.กู้เงินในวันนี้ มีความต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะในครั้งนั้นภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยตกต่ำ รัฐบาลต้องใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่มีวงเงินเหลือในงบประมาณให้ใช้ได้ มีทางเลือกเดียวคือ กู้ และต้องรีบ
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไม่หนีการตรวจสอบ เพราะไม่ออกเป็นพ.ร.ก.ทั้งหมด แต่ออกเพียงฉบับแรก 4 แสนล้านบาทเท่านั้น ส่วนที่เหลือออกเป็นพ.ร.บ. เพราะไม่เร่งด่วน และวิกฤตเศรษฐกิจก็ผ่านมาได้ ขณะที่วันนี้รัฐบาลมีเม็ดเงินในงบประมาณที่สามารถนำมาใช้เรื่องน้ำท่วมอยู่แสนกว่าล้านบาทแล้ว และยังทำงบขาดดุลได้อีก 1.5 แสนล้านบาท แต่กลับออกเป็นพ.ร.ก.เพื่อหนีการตรวจสอบ เช่นนี้เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือไม่
**“มาร์ค” ชี้ ไม่สนใจรบ.ดึง หรือรื้อ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ กล่าวว่า ไม่แตกต่างกับโครงการไทยเข้มแข็ง เพราะเห็นว่าไม่ได้เป็นโครงการเร่งด่วนจริง ว่า แตกต่างหรือไม่ก็ต้องไปว่ากันในศาล แตรตนบอกให้ทราบว่า หลักที่เราใช้เรายึดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า ความจำเป็นเร่งด่วนมากับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ วันนั้นคือวันที่ประชาชนกำลังมีปัญหาว่า การว่างงานพุ่งสูงขึ้นเศรษฐกิจชะลอตัว การจัดเก็บรายได้มีแนวโน้มว่าจะขาด ต้องมีเงินมาชดเชยเรื่องเงินคงคลัง และต้องมีเงินมากระตุ้น การสร้างงานและรัฐบาลตอนนั้นก็ได้งบประมารกลางปี เพิ่มเติมขึ้นมาจนจะชนเพดาน ในขณะที่รัฐบาลนี้มีเงินเหลือในมือเยอะมา และสามารถที่จะใช้กระบวนการตามปกติกู้เงิน ถ้าจำเป็นต่อไปในอนาคตมาทำโครงการ อย่างที่บอก ก็เอามาให้ดูว่าตรงไหนที่บอกว่าตอนนี้ถ้าไม่ทำน้ำจะท่วมใน 2 เดือนแล้วไม่มีเงินทำ ถ้าบอกได้ตนยินดีที่จะไปถอนเรื่องออกมาเลย
ทั้งนี้หากรัฐบาลพยายามที่จะตัดและรื้อโครงการไทยเข้มแข็งนั้น ที่ผ่านมาตนเห็นว่ามีความพยายามที่จะทบทวนมาโดยตลอด ในที่วุดก็อนุมัติไปเป็นส่วนใหญ่ ก็ยอมรับเป็นโครงการที่ตั้งไว้ เป็นโครงการสร้างงานกระจายงาน การที่งบประมาณของโครงการที่อยู่ระหว่างการตั้งงบเบิกจ่ายและยังไม่มีการใช้นั้นก็สามารถชี้แจงต่อศาลได้ เพราะที่ผ่านมาได้ขั้นตอนต่างๆได้แสดงต่อศาลชัดเจน ไปดูคำวินิจฉัยของศาลได้
วานนี้(8 ก.พ.55) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความรับผิดชอบหากเกิดกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน ขัดรัฐธรรมนูญว่า "ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะรัฐธรรมนูญ บอกว่า การออก พ.ร.ก.เป็นดุลพินิจของรัฐมนตรี หากเห็นว่าเป็นเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนและมีความจำเป็นก็ออกได้ แต่ถ้าศาลบอกว่าไม่จำเป็นไม่เร่งด่วนก็เป็นเรื่องของศาล ไม่เห็นต้องรับผิดชอบอะไรเลย เราก็นำร่างกลับมาเสนอสภาเข้าสภาพิจารณา 3 วาระรวด ออกเป็นพระราชบัญญัติแทนไม่มีปัญหา ไม่ต้องไปลาออก ไม่ต้องไปขยับเขยื้อน ไม่ต้องไปทำอะไรทั้งนั้น เพราะมันไม่ผิดก็ให้ฝ่ายค้านเขาเรียกร้องไป
เมื่อถามว่าแต่ประเพณีปฏิบัติ หากมีกฎหมายสำคัญที่รัฐบาลเสนอสภาฯตกไป จะต้องมีผู้แสดงความรับผิดชอบหรือนายกรัฐมนตรีต้องลาออก ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่มีประเพณีนั้นหรอก คิดกันเอาเองอะไรก็ตามที่กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ ไม่ต้องไปคิด เรามาจากการเลือกตั้ง และประชาชนเขามอบหมายให้ทำงาน เมื่อถามว่ารัฐบาลเตรียมทางออกเรื่องนี้ไว้อย่างไร รองนายกฯกล่าวว่า ตนพูดเรื่องนี้ในที่ประชุมพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา และบอกกับ ส.ส.ว่า ไม่มีอะไรต้องรับผิดชอบ เมื่อพ.ร.ก.ตก ก็เป็นดุลพินิจของ ครม. พิจารณา ถ้าใครบอกว่าไม่จำเป็นก็เป็นดุลพินิจของท่าน ที่พูดไม่ได้ท้าทายแต่พูดตามหลักกฎหมาย
เมื่อถามว่าเป็นห่วงการทำหน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะมีหลายคนห่วงว่าพรรคเพื่อไทยอาจจะตายน้ำตื้นในศาลด้วยเรื่องนี้ รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่ตายหรอก จากพรรคไทยรักไทยมาเป็นพรรคพลังประชาชน จนถึงพรรคเพื่อไทย ก็ชนะ พวกตายคือพวกที่ซมซานออกจากพรรค
**'ออกพ.ร.บ.หากพ.ร.ก.2ฉบับสะดุด
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็อาจจะมีการเสนอการจัดทำในลักษณะพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แทน ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน และทำให้การบริหารจัดการน้ำในบางเรื่องต้องชะลอออกไปก่อน เพราะโครงการใหญ่ในระยะยาวต้องใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.ส่วนนี้ แต่หากศาลพิจารณาว่าไม่ขัดก็สามารถดำเนินการตามโครงการที่ได้จัดเตรียมไว้
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ชี้แจงเรื่อง พรก.เงินกู้ว่า เนื้อหาสาระหลักของ พรก. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเป็นผู้ชี้แจง ทั้งนี้ในส่วนของตนเองนั้น จะคอยอธิบายความในมิติทางการเมือง พร้อมยืนยันว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดเวทีสาธารณะเพื่ อชี้แจงแก่ประชาชน เนื่องจาก พรก. ที่ถูกเสนอขึ้นเป็นการทำประโยชน์เพื่อคนทั้งประเทศ แต่หากมีการพูดคุยกันมากก็อาจจะต้องมีการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจต่อไป
**ปชป.ซัดเหลิมไร้มารยาทการเมือง
ที่รัฐสภา นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกรณีร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่ารัฐบาลไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบใดๆ เพราะไม่มีประเพณีปฏิบัติว่า ไม่น่าเชื่อว่าร.ต.อ.เฉลิมที่เป็นนักการเมืองอาวุโสแต่ไม่รู้จักมารยาททางการเมืองว่าความรับผิดชอบทางกาเมืองของรัฐบาลควรเป็นอย่างไร
ซึ่งโดยประเพณีปฏิบัติแล้วถ้ากฎหมายเกี่ยวกับการเงินของรัฐบาลไม่ผ่านความเห็นชอบ รัฐบาลในอดีตจะแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกหรือยุบสภา ดังเมื่อรัฐบาลปัจจุบันใช้อำนาจออกพ.ร.ก.โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ หากศาลวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐบาลย่อมไม่มีความชอบธรรมที่จะบริหารราชการแผ่นดินต่อไป โดยจะต้องแสดงความรับผิดชอบไม่ว่าทางหนึ่งทางใด และเชื่อว่ากระแสสังคมจะกดดันให้รัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบและทัดทานได้ยาก แม้คนในพรรคเพื่อไทยจะสะกดคำว่าสปิริตหรือมารยาททางการเมืองไม่เป็นก็ตาม ซึ่งผิดหลักจากมาตรฐานของปชป. ที่เคยแสดงความรับผิดชอบมาแล้วไม่ว่ากรณี นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน นายวิฑูรย์ นามบุตร นายวิทยา แก้วภราดัย ทั้งที่ผลสอบสวนภายหลังพบไม่ผิด
**ยกยุคป๋าจุ้นกม.การเงินยุบสภา
“ ฝากไปยัง ร.ต.อ.เฉลิมว่า มารยาททางการเมือง ความรู้สึกสำนึกชั่วดีและหน้าที่ทางการเมืองนั้น ไม่จำเป็นต้องมีประเพณีปฏิบัติ นักการเมืองที่ดีควรมีจิตสำนึกและละอายต่อการทำหน้าที่อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อาจจะเรียกหาได้ยากจากพรรคเพื่อไทย ที่ไม่เคยมีความรับผิดชอบหรือแสดงออกใดๆทางการเมือง นับแต่ยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นมา โดยเฉพาะเมื่อปี 2546 ที่รัฐสภาพิจารณาร่างพ.ร.บ.ค่าตอบแทนบุคลากรทางการศึกษาแล้วเสร็จและนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่มีการพระราชทานกลับลงมา แต่พ.ต.ท.ทักษิณกลับไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆทางการเมือง ต่างจากแบบอย่างในสมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯเมื่อปี 2531 ที่สภาฯพิจารณาพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นกฎหมายการเงินซึ่งไม่ผ่านการพิจารณา พล.อ.เปรมจึงตัดสินใจยุบสภา อยากให้ได้คำนึงจริยธรรมทางการเมืองและความรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือยุบสภาฯ แม้ว่าหลังจากนี้พรรคเพื่อไทยจะกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกปชป.ก็ไม่ติดใจถ้าผ่านการอนุมัติจากประชาชน”นายเทพไทกล่าว
**ยกบรรทัดฐานกม.ลิขสิทธิ์ไม่ผ่าน
นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทยเงา พรรค ปชป.กล่าว่า ร่าง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวาง ระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 350,000 ล้านบาท และพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 วงเงิน 1,140,000 ล้านบาท ไว้พิจารณาวินิจฉัย ไม่ชอบด้วยกฎหมายจริง ก็ไม่ต้องมีผู้รับผิดชอบ รัฐบาลไม่ต้องลาออกว่า จริงอยู่ รธน. ไม่ได้เขียนบังคับไว้ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลต้องลาออกก็จริง แต่มันถือเป็นบรรทัดฐานและมารยาททางการเมืองที่ต้องปฏิบัติ ทั้งนี้ ในยุคที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำได้ว่ามีพระราชกำหนดฉบับหนึ่งไม่ผ่านรัฐสภา พล.อ.เปรม ท่านยุบสภาฯ ลาออกทันที
แต่ครั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่าน่าจะหนักกว่า เพราะหากศาล รธน.วินิจฉัยว่า พ.ร.ก. 2 ฉบับขัดรัฐธรรมนูญแล้ว ก็แสดงว่ารัฐบาลที่ออก พ.ร.ก. ออกมาแล้วอ้างเอารัฐธรรมนูญว่าให้อำนาจสามารถทำได้ก็ไม่ถูกต้อง เป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ จึงเห็นควรให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องออกสถานเดียว แม้ไม่มีกฎหมายระบุไว้ว่าต้องรับผิดชอบแต่ ร.ต.อ.เฉลิม จะอ้างกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดเอาไว้แล้วรัฐบาลไม่ต้องลาออกไม่ได้ เพราะนอกจากกฎหมายแล้วยังมีเรื่องจริยธรรมทางการเมืองและความรับผิดชอบต่อหน้าที่อีก เห็นชัดเป็นการอ้างเอาแต่ได้ทั้งนั้น
นายถาวร กล่าวอีกว่า ถึงแม้รัฐบาลที่นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบลาออกไปหากศาล รธน.วินิจฉัยว่า พ.ร.ก. 2 ฉบับ ขัดรธน.จริง แต่รัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภา ก็สามารถกลับมาใหม่ได้ ถ้า ส.ส.พท. เลือกกลับเข้ามาอีกครั้ง จึงไม่น่าเป็นปัญหา แต่เชื่อว่า นายกฯ คงจะไม่น่าด้านพอ เพราะเชื่อว่า ถ้าทราบว่าได้ทำผิด รธน.แล้ว พรรคใหญ่อย่าง พท. ไม่มีปัญญาแล้วหรือไรในการหาคนใหม่มาเป็นนายกรัฐมนตรี จึงจะยังเลือกคนที่เคยทำผิด รธน.กลับมาอีกครั้ง
**ติงอย่าเทียบพรก.กับ“ไทยเข็มแข็ง”
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ตามที่รายงานข่าวจากที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ได้มีการเปรียบเทียบเงินกู้เงินไทยเข้มแข็งกับพ.ร.ก.กู้เงินของรัฐบาลปัจจุบันนั้น ถือเป็นความพยายามอาคืนเพื่อกลบเกลื่อนความผิดพลาดของรัฐบาลนี้ โดยถ้าคิดว่าไทยเข้มแข็งมีความผิดพลาด ทำไมไม่ทำแต่แรก และที่พูดกันในครม.ก็ไม่มีเรื่องทุจริต แต่สั่งให้ไปหามาให้ได้เพื่อมากลบข่าวเท่านั้น ทั้งนี้ ข้อแตกต่างระหว่างไทยเข้มแข็งกับพ.ร.ก.กู้เงินในวันนี้ มีความต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะในครั้งนั้นภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยตกต่ำ รัฐบาลต้องใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่มีวงเงินเหลือในงบประมาณให้ใช้ได้ มีทางเลือกเดียวคือ กู้ และต้องรีบ
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไม่หนีการตรวจสอบ เพราะไม่ออกเป็นพ.ร.ก.ทั้งหมด แต่ออกเพียงฉบับแรก 4 แสนล้านบาทเท่านั้น ส่วนที่เหลือออกเป็นพ.ร.บ. เพราะไม่เร่งด่วน และวิกฤตเศรษฐกิจก็ผ่านมาได้ ขณะที่วันนี้รัฐบาลมีเม็ดเงินในงบประมาณที่สามารถนำมาใช้เรื่องน้ำท่วมอยู่แสนกว่าล้านบาทแล้ว และยังทำงบขาดดุลได้อีก 1.5 แสนล้านบาท แต่กลับออกเป็นพ.ร.ก.เพื่อหนีการตรวจสอบ เช่นนี้เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือไม่
**“มาร์ค” ชี้ ไม่สนใจรบ.ดึง หรือรื้อ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ กล่าวว่า ไม่แตกต่างกับโครงการไทยเข้มแข็ง เพราะเห็นว่าไม่ได้เป็นโครงการเร่งด่วนจริง ว่า แตกต่างหรือไม่ก็ต้องไปว่ากันในศาล แตรตนบอกให้ทราบว่า หลักที่เราใช้เรายึดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า ความจำเป็นเร่งด่วนมากับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ วันนั้นคือวันที่ประชาชนกำลังมีปัญหาว่า การว่างงานพุ่งสูงขึ้นเศรษฐกิจชะลอตัว การจัดเก็บรายได้มีแนวโน้มว่าจะขาด ต้องมีเงินมาชดเชยเรื่องเงินคงคลัง และต้องมีเงินมากระตุ้น การสร้างงานและรัฐบาลตอนนั้นก็ได้งบประมารกลางปี เพิ่มเติมขึ้นมาจนจะชนเพดาน ในขณะที่รัฐบาลนี้มีเงินเหลือในมือเยอะมา และสามารถที่จะใช้กระบวนการตามปกติกู้เงิน ถ้าจำเป็นต่อไปในอนาคตมาทำโครงการ อย่างที่บอก ก็เอามาให้ดูว่าตรงไหนที่บอกว่าตอนนี้ถ้าไม่ทำน้ำจะท่วมใน 2 เดือนแล้วไม่มีเงินทำ ถ้าบอกได้ตนยินดีที่จะไปถอนเรื่องออกมาเลย
ทั้งนี้หากรัฐบาลพยายามที่จะตัดและรื้อโครงการไทยเข้มแข็งนั้น ที่ผ่านมาตนเห็นว่ามีความพยายามที่จะทบทวนมาโดยตลอด ในที่วุดก็อนุมัติไปเป็นส่วนใหญ่ ก็ยอมรับเป็นโครงการที่ตั้งไว้ เป็นโครงการสร้างงานกระจายงาน การที่งบประมาณของโครงการที่อยู่ระหว่างการตั้งงบเบิกจ่ายและยังไม่มีการใช้นั้นก็สามารถชี้แจงต่อศาลได้ เพราะที่ผ่านมาได้ขั้นตอนต่างๆได้แสดงต่อศาลชัดเจน ไปดูคำวินิจฉัยของศาลได้