คมสัน โพธิ์คง
สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อตอนที่แล้ว ผมได้ตั้งประเด็นของปัญหาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีนายสัก กอแสงเรือง กับกรณีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ว่า เป็นการกระทำ “สองมาตรฐาน” ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องการขาดคุณสมบัติและการมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญและส่งศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา ๒๔๐ แทนที่จะส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา ๙๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ส่วนในรายละเอียดของการวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ได้วินิจฉัยว่า นายสัก กอแสงเรือง เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามการ เป็นสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๑๕(๙) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เพราะเคยได้รับการเลือกตั้งและได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งมาไม่เกินห้าปี นับถึงวันเสนอชื่อ ซึ่งผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นความความผิดพลาดใน “นิติวิธี” ของการใช้และการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร ของคณะกรรมการการเลือกตั้งและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตีความคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ตามมาตรา ๑๑๕(๙) ซึ่งไม่ได้มีเจตนารมณ์เช่นการตีความดังว่ามานั้น
ก่อนที่จะตีความคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” คงต้องทำความเข้าใจในคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” กับ “ข้าราชการการเมือง” เสียก่อน โดยคำว่า “ข้าราชการการเมือง” คือ ตำแหน่งทางการเมืองที่บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งมีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกอบด้วยตำแหน่ง “ข้าราชการฝ่ายการเมืองในส่วนของฝ่ายบริหาร”จำนวน ๒๐ ตำแหน่ง และ “ข้าราชการฝ่ายการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัติ” รวม ๒๔ ตำแหน่ง คือ
๑. ข้าราชการฝ่ายการเมืองในฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ว่าการกระทรวง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีและที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
๒. ข้าราชการฝ่ายการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัติ คือ ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร โฆษกประธานวุฒิสภา โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เลขานุการประธานรัฐสภา เลขานุการรองประธานรัฐสภา เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร เลขานุการประธานวุฒิสภา เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เลขานุการรองประธานวุฒิสภา เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ผู้ช่วยเลขานุการประธานรัฐสภา ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทน ราษฎร ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
หากพิจารณาและสังเกตให้ดีจะพบว่าตำแหน่ง “ข้าราชการฝ่ายการเมือง” ไม่มีตำแหน่งประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา เป็นข้าราชการฝ่ายการเมือง ซึ่งตำแหน่งเหล่านั้นเมื่อไม่ได้เป็นข้าราชการฝ่ายการเมืองแล้วย่อมอยู่ในสถานะเป็น “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” เพราะตำแหน่งเหล่านั้นเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจตามสาขาของอำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญหรือมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและกำกับทิศทางการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งในส่วนของ “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” คือ ข้าราชการการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองอื่น ๆ เ ช่น ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา และยังรวมถึงตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ในองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น ด้วย
คำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ในภาษาไทย เป็นขยายเพิ่มเติมจากตำแหน่ง ที่ปรากฏอยู่แล้ว เช่น หากบทบัญญัตินั้นเป็นบทเกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การกล่าวถึง “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ในบทกฎหมายนั้นจะหมายถึงตำแหน่งที่กล่าวมาข้างต้น ทุกตำแหน่งทั้งที่เป็นข้าราชการฝ่ายการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในตำแหน่งต่างๆ ทุกตำแหน่งแต่ต้องไม่หมายความรวมถึงตำแหน่ง “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”
ดังนั้น หากกลับมาพิจารณาบทบัญญัติมาตรา ๑๑๕(๙) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งอยู่ในหมวด ๖ รัฐสภา ส่วนที่ ๓ วุฒิสภา ซึ่งในมาตรา ๑๑๕ (๙) เป็นบทหลักเกี่ยวกับการมีคุณสมบัติและการไม่มีลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกวุฒิสภา ได้บัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๑๑๕ บุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
(๑)มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
ฯลฯฯลฯ
(๗) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่เกินห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๘) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑) (๑๒) (๑๓) หรือ (๑๔)
(๙) ไม่เป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือเคยเป็นแต่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วยังไม่เกินห้าปี”
บทบัญญัติมาตรา ๑๑๕(๙) ดังกล่าว เป็นบทของการกำหนดลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น “สมาชิกวุฒิสภา” ซึ่งเป็น “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ตำแหน่งหนึ่งอยู่แล้ว ดังนั้น ในมาตรา ๑๑๕(๙) คำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองอื่น” ที่นอกเหนือจาก “สมาชิกวุฒิสภา” จึงไม่มีความหมายที่รวมถึง “สมาชิกวุฒิสภา” และ “รัฐมนตรี” และยังขยายความหมายรวมข้อยกเว้นของ “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ที่เหลือจาก “สมาชิกวุฒิสภา” และ “รัฐมนตรี” นั้นต่อไปอีกชั้นหนึ่ง คือตำแหน่ง “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ที่เหลือเป็น “ สมาชิกสภาท้องถิ่น”และ “ผู้บริหารท้องถิ่น” ก็ได้รับการยกเว้นไปด้วย กล่าวโดยสรุปก็คือ คำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ตามมาตรา ๑๑๕(๙) จึงไม่ได้มีความหมายทั่วไปที่รวมทุกตำแหน่งทางการเมืองที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น แต่มาตรา ๑๑๕(๙)มีความหมายที่ไม่รวมถึง รัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีความหมายที่ไม่รวมถึง “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ตามมาตรา ๑๑๕(๗) ซึ่งมีบทเฉพาะสำหรับ “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ที่เป็นตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้แล้ว
แต่ที่ผมแปลกใจก็คือ คณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการไต่สวนคำร้องและปัญหาหรือข้อโต้แย้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งกลับตีความให้เกิดผลประหลาดในทางกฎหมาย คือ ตีความคำว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ที่อยู่ในมาตรา ๑๑๕(๙) ให้มีความหมายรวมไปถึง “สมาชิกวุฒิสภา” ด้วย ทั้งๆที่บทกฎหมายนั้นเป็นเรื่องสมาชิกวุฒิสภา
การเกิดผลประหลาดในการตีความกฎหมายดังกล่าว หากนำไปใช้กับมาตราต่อๆมาของเรื่องวุฒิสภาแล้ว จะส่งผลให้ สมาชิกวุฒิสภาทั้งสภามีลักษณะต้องห้ามทั้งหมดรวมถึงสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งด้วย ดังเช่นกรณีมาตรา ๑๑๖ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๑๑๖ สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มิได้
บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินสองปีจะเป็นรัฐมนตรี หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิได้”
หากต้องนำตรรกวิธีคิดของคณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการไต่สวนคำร้องและปัญหาหรือข้อโต้แย้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ตีความในมาตรา ๑๑๕(๙) มาใช้กับการตีความมาตรา ๑๑๖ แล้ว ก็จะพบว่า สมาชิกวุฒิสภา(ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งตีความว่าเป็น“ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น”) จะเป็น “สมาชิกวุฒิสภา” ไม่ได้ กลับกลายเป็นการมีปัญหาการกระทำต้องห้ามของสมาชิกภาพการดำรงตำแหน่งทั้งวุฒิสภา คือ ๑๕๐ คน ซึ่งผมเห็นว่า หากคณะกรรมการการเลือกตั้งมีตรรกวิธีคิดในมาตรา ๑๑๖ ซึ่งเป็นบทเกี่ยวกับ “วุฒิสภา” เหมือนกับที่ได้ตีความมาตรา ๑๑๙(๕) นี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งคงต้องรักษา “มาตรฐาน”ของการพิจารณาวินิจฉัยคือเสนอให้มีการดำเนินการกับสมาชิกวุฒิสภาทั้งสภาตามมาตรา ๒๓๘ มาตรา ๒๓๙ และมาตรา ๒๔๐ ของรัฐธรรมนูญฯ ให้มีทั้งการเพิกถอนผลการเลือกตั้งและสรรหา การดำเนินคดีอาญาแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา และดำเนินคดีแก่องค์กรที่เสนอชื่อ เพราะข้อกฎหมายมาตรา ๙๑ ของรัฐธรรมนูญไม่เปิดช่องให้ไปศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมเดาไม่ออกว่าคงเกิดความเสียหายอย่างมากมายมหาศาลเพียงใด นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ควรทำหน้าที่ด้วยร้องเรียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งนะครับเพื่อช่วยเหลือมิให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้กระทำผิดเสียเองกระทำการละเว้นต่อหน้าที่ แต่อย่างไรก็ตามที่ผมสงสัยก็คือ ทำไมกรณีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ จึงเสนอศาลรัฐธรรมนูญ ไม่เสนอศาลฎีกา และไม่มีการดำเนินคดีอาญา?
ข้อสงสัยในการตีความรัฐธรรมนูญในกรณีของนายสัก กอแสงเรือง ที่ผมตั้งคำถามกับคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีปัญหาอีกในการตีความการบังคับใช้เรื่องการนับอายุของสภาและการมีสมาชิกภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่เป็นปัญหาในช่วงเริ่มแรกของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๐ โดยในขณะนั้นมีวุฒิสภาสองชุดเกิดขึ้น คือวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ และวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จะนับอย่างไร และการนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งสิ้นสุดไปแล้วมาใช้บังคับแก่การนับอายุของวุฒิสภาที่นำมาวินิจฉัยข้อห้ามของการดำเรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๑๕(๙) โดยไม่พิจารณามาตรา ๒๙๖ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ทำได้หรือไม่ และคณะกรรมการการเลือกตั้งกระทำถูกต้องตาม “นิติวิธี” การใช้การตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ซึ่งผมมีความเห็น ในประเด็นดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้งคงจะตีความผิดอีกแล้วครับท่าน
โปรดติดตามตอนต่อไป
สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อตอนที่แล้ว ผมได้ตั้งประเด็นของปัญหาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีนายสัก กอแสงเรือง กับกรณีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ว่า เป็นการกระทำ “สองมาตรฐาน” ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องการขาดคุณสมบัติและการมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญและส่งศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา ๒๔๐ แทนที่จะส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา ๙๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ส่วนในรายละเอียดของการวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ได้วินิจฉัยว่า นายสัก กอแสงเรือง เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามการ เป็นสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๑๕(๙) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เพราะเคยได้รับการเลือกตั้งและได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งมาไม่เกินห้าปี นับถึงวันเสนอชื่อ ซึ่งผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นความความผิดพลาดใน “นิติวิธี” ของการใช้และการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร ของคณะกรรมการการเลือกตั้งและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตีความคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ตามมาตรา ๑๑๕(๙) ซึ่งไม่ได้มีเจตนารมณ์เช่นการตีความดังว่ามานั้น
ก่อนที่จะตีความคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” คงต้องทำความเข้าใจในคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” กับ “ข้าราชการการเมือง” เสียก่อน โดยคำว่า “ข้าราชการการเมือง” คือ ตำแหน่งทางการเมืองที่บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งมีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกอบด้วยตำแหน่ง “ข้าราชการฝ่ายการเมืองในส่วนของฝ่ายบริหาร”จำนวน ๒๐ ตำแหน่ง และ “ข้าราชการฝ่ายการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัติ” รวม ๒๔ ตำแหน่ง คือ
๑. ข้าราชการฝ่ายการเมืองในฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ว่าการกระทรวง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีและที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
๒. ข้าราชการฝ่ายการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัติ คือ ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร โฆษกประธานวุฒิสภา โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เลขานุการประธานรัฐสภา เลขานุการรองประธานรัฐสภา เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร เลขานุการประธานวุฒิสภา เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เลขานุการรองประธานวุฒิสภา เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ผู้ช่วยเลขานุการประธานรัฐสภา ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทน ราษฎร ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
หากพิจารณาและสังเกตให้ดีจะพบว่าตำแหน่ง “ข้าราชการฝ่ายการเมือง” ไม่มีตำแหน่งประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา เป็นข้าราชการฝ่ายการเมือง ซึ่งตำแหน่งเหล่านั้นเมื่อไม่ได้เป็นข้าราชการฝ่ายการเมืองแล้วย่อมอยู่ในสถานะเป็น “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” เพราะตำแหน่งเหล่านั้นเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจตามสาขาของอำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญหรือมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและกำกับทิศทางการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งในส่วนของ “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” คือ ข้าราชการการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองอื่น ๆ เ ช่น ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา และยังรวมถึงตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ในองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น ด้วย
คำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ในภาษาไทย เป็นขยายเพิ่มเติมจากตำแหน่ง ที่ปรากฏอยู่แล้ว เช่น หากบทบัญญัตินั้นเป็นบทเกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การกล่าวถึง “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ในบทกฎหมายนั้นจะหมายถึงตำแหน่งที่กล่าวมาข้างต้น ทุกตำแหน่งทั้งที่เป็นข้าราชการฝ่ายการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในตำแหน่งต่างๆ ทุกตำแหน่งแต่ต้องไม่หมายความรวมถึงตำแหน่ง “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”
ดังนั้น หากกลับมาพิจารณาบทบัญญัติมาตรา ๑๑๕(๙) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งอยู่ในหมวด ๖ รัฐสภา ส่วนที่ ๓ วุฒิสภา ซึ่งในมาตรา ๑๑๕ (๙) เป็นบทหลักเกี่ยวกับการมีคุณสมบัติและการไม่มีลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกวุฒิสภา ได้บัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๑๑๕ บุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
(๑)มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
ฯลฯฯลฯ
(๗) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่เกินห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๘) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑) (๑๒) (๑๓) หรือ (๑๔)
(๙) ไม่เป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือเคยเป็นแต่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วยังไม่เกินห้าปี”
บทบัญญัติมาตรา ๑๑๕(๙) ดังกล่าว เป็นบทของการกำหนดลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น “สมาชิกวุฒิสภา” ซึ่งเป็น “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ตำแหน่งหนึ่งอยู่แล้ว ดังนั้น ในมาตรา ๑๑๕(๙) คำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองอื่น” ที่นอกเหนือจาก “สมาชิกวุฒิสภา” จึงไม่มีความหมายที่รวมถึง “สมาชิกวุฒิสภา” และ “รัฐมนตรี” และยังขยายความหมายรวมข้อยกเว้นของ “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ที่เหลือจาก “สมาชิกวุฒิสภา” และ “รัฐมนตรี” นั้นต่อไปอีกชั้นหนึ่ง คือตำแหน่ง “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ที่เหลือเป็น “ สมาชิกสภาท้องถิ่น”และ “ผู้บริหารท้องถิ่น” ก็ได้รับการยกเว้นไปด้วย กล่าวโดยสรุปก็คือ คำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ตามมาตรา ๑๑๕(๙) จึงไม่ได้มีความหมายทั่วไปที่รวมทุกตำแหน่งทางการเมืองที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น แต่มาตรา ๑๑๕(๙)มีความหมายที่ไม่รวมถึง รัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีความหมายที่ไม่รวมถึง “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ตามมาตรา ๑๑๕(๗) ซึ่งมีบทเฉพาะสำหรับ “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ที่เป็นตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้แล้ว
แต่ที่ผมแปลกใจก็คือ คณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการไต่สวนคำร้องและปัญหาหรือข้อโต้แย้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งกลับตีความให้เกิดผลประหลาดในทางกฎหมาย คือ ตีความคำว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น” ที่อยู่ในมาตรา ๑๑๕(๙) ให้มีความหมายรวมไปถึง “สมาชิกวุฒิสภา” ด้วย ทั้งๆที่บทกฎหมายนั้นเป็นเรื่องสมาชิกวุฒิสภา
การเกิดผลประหลาดในการตีความกฎหมายดังกล่าว หากนำไปใช้กับมาตราต่อๆมาของเรื่องวุฒิสภาแล้ว จะส่งผลให้ สมาชิกวุฒิสภาทั้งสภามีลักษณะต้องห้ามทั้งหมดรวมถึงสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งด้วย ดังเช่นกรณีมาตรา ๑๑๖ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๑๑๖ สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มิได้
บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินสองปีจะเป็นรัฐมนตรี หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิได้”
หากต้องนำตรรกวิธีคิดของคณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการไต่สวนคำร้องและปัญหาหรือข้อโต้แย้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ตีความในมาตรา ๑๑๕(๙) มาใช้กับการตีความมาตรา ๑๑๖ แล้ว ก็จะพบว่า สมาชิกวุฒิสภา(ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งตีความว่าเป็น“ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น”) จะเป็น “สมาชิกวุฒิสภา” ไม่ได้ กลับกลายเป็นการมีปัญหาการกระทำต้องห้ามของสมาชิกภาพการดำรงตำแหน่งทั้งวุฒิสภา คือ ๑๕๐ คน ซึ่งผมเห็นว่า หากคณะกรรมการการเลือกตั้งมีตรรกวิธีคิดในมาตรา ๑๑๖ ซึ่งเป็นบทเกี่ยวกับ “วุฒิสภา” เหมือนกับที่ได้ตีความมาตรา ๑๑๙(๕) นี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งคงต้องรักษา “มาตรฐาน”ของการพิจารณาวินิจฉัยคือเสนอให้มีการดำเนินการกับสมาชิกวุฒิสภาทั้งสภาตามมาตรา ๒๓๘ มาตรา ๒๓๙ และมาตรา ๒๔๐ ของรัฐธรรมนูญฯ ให้มีทั้งการเพิกถอนผลการเลือกตั้งและสรรหา การดำเนินคดีอาญาแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา และดำเนินคดีแก่องค์กรที่เสนอชื่อ เพราะข้อกฎหมายมาตรา ๙๑ ของรัฐธรรมนูญไม่เปิดช่องให้ไปศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมเดาไม่ออกว่าคงเกิดความเสียหายอย่างมากมายมหาศาลเพียงใด นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ควรทำหน้าที่ด้วยร้องเรียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งนะครับเพื่อช่วยเหลือมิให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้กระทำผิดเสียเองกระทำการละเว้นต่อหน้าที่ แต่อย่างไรก็ตามที่ผมสงสัยก็คือ ทำไมกรณีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ จึงเสนอศาลรัฐธรรมนูญ ไม่เสนอศาลฎีกา และไม่มีการดำเนินคดีอาญา?
ข้อสงสัยในการตีความรัฐธรรมนูญในกรณีของนายสัก กอแสงเรือง ที่ผมตั้งคำถามกับคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีปัญหาอีกในการตีความการบังคับใช้เรื่องการนับอายุของสภาและการมีสมาชิกภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่เป็นปัญหาในช่วงเริ่มแรกของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๐ โดยในขณะนั้นมีวุฒิสภาสองชุดเกิดขึ้น คือวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ และวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จะนับอย่างไร และการนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งสิ้นสุดไปแล้วมาใช้บังคับแก่การนับอายุของวุฒิสภาที่นำมาวินิจฉัยข้อห้ามของการดำเรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๑๕(๙) โดยไม่พิจารณามาตรา ๒๙๖ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ทำได้หรือไม่ และคณะกรรมการการเลือกตั้งกระทำถูกต้องตาม “นิติวิธี” การใช้การตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ซึ่งผมมีความเห็น ในประเด็นดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้งคงจะตีความผิดอีกแล้วครับท่าน
โปรดติดตามตอนต่อไป