เรื่อง “สี่แผ่นดิน” ที่เขียนถึงเมื่อวันก่อน มีผู้เข้าชมจำนวนมาก บางคนดูตั้ง 5-6 รอบก็มี คุณหมอเกรียง ตั้งสง่า ผู้เชี่ยวชาญโรคไตบอกผมว่าดูแล้วน้ำตาซึม
มีคนบอกว่าเรื่องนี้ ถ้าอ่านตอนเด็กๆ ก็มีความรู้สึกอย่างหนึ่ง พอโตขึ้นกลับไปอ่านอีกทีก็ได้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไป ผมเห็นจริงตามนั้น ส่วนภรรยาผมบอกว่าสี่แผ่นดินนี้เป็นเรื่องของคนเป็นแม่ ความรู้สึกของคนเป็นแม่ที่มีต่อสามี และมีต่อลูก ถ้าจะจริงเพราะเวลาเรามาอ่านตอนที่มีครอบครัวมีลูกแล้ว ก็จะรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ
ความรู้สึกนึกคิดของคนไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากมีผู้ไปเรียนต่างประเทศ และรับรู้ความเป็นไปของโลก คนเหล่านี้แม้จะมีจำนวนน้อยแต่ก็อยู่ในตำแหน่งสำคัญ แม้แต่เจ้านายบางพระองค์ก็เริ่มมีความคิดว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่เหมาะกับเมืองไทย การที่พม่าเสียเมืองให้อังกฤษก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชนชั้นนำเกิดความกลัว และสรุปว่าเมืองไทยจำต้องมีการเปลี่ยนแปลง
สำหรับคนอย่างแม่พลอยเป็นคนธรรมดา มีพื้นเพที่เข้าไปอยู่ในวังซึมซับคุณค่าดั้งเดิมที่เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และไม่มีความคิดที่จะท้าทายหรือตั้งข้อสงสัยในความดีงาม ความเหมาะสมของการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ความแตกต่างระหว่างชนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่าก็เริ่มขึ้นโดยคนรุ่นลูกอย่างตาอั้น ที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ จะมีความคิดที่ไม่เหมือนกับคนทั่วไป
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ความคิดที่ต้องการให้มีรัฐธรรมนูญและรัฐสภา เริ่มเกิดขึ้นและเป็นที่แพร่หลายไปโดยหนังสือพิมพ์ ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การปฏิวัติในเมืองจีนโดยมีซุน ยัดเซ็นเป็นผู้นำ นายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรือง ได้ทำหนังสือพิมพ์เผยแพร่ลัทธิไตรราษฎร์ของหมอซุน ในประเทศไทยมีหลักฐานว่านอกจากความคิดประชาธิปไตยแล้ว ความคิดมาร์กซิสต์ก็เริ่มเข้ามา เพราะมีเอกสารวิเคราะห์สังคมสยาม และการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์สยาม แต่ยังจำกัดวงแคบอยู่ในหมู่คนเวียดนามและคนจีน
การที่ความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นได้นี้ ก็เป็นเพราะบรรยากาศเปิดให้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนเสรีภาพทางความคิด ในสมัยนี้จึงมีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นหลายฉบับ และมีบทความที่โจมตีวิพากษ์วิจารณ์ระบอบการเมือง การบริหารเป็นประจำ จนทางการต้องจัดทำหนังสือพิมพ์ขึ้นเองเพื่อตอบโต้
เสรีภาพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเฉพาะเสรีภาพทางความคิด แต่สตรีก็มีสิทธิมากขึ้น อย่างน้อยก็ในแง่ของความเป็นมนุษย์ ระบบผัวเดียวเมียเดียว เริ่มได้รับการเผยแพร่มากขึ้น การค้าขายก็ขยายตัวทำให้เกิดชนชั้นพ่อค้าขนาดเล็กที่มีตัวแทนเป็นสามีของประไพในเรื่องสี่แผ่นดิน
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เกิดขึ้นหลังจากที่มีความคิดแบบตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลเป็นเวลาหลายสิบปี พระมหากษัตริย์มีทุกพระองค์ ทรงเห็นด้วยกับการมีรัฐธรรมนูญ แต่การมีประชาธิปไตยหมายถึงการมีพรรคการเมืองอีกด้วย ซึ่งมีข้อหวั่นเกรงว่าพรรคคนจีนจะเข้ามามีบทบาท เพราะเวลานั้นคนจีนส่วนใหญ่ยังคงเป็นคนรุ่นแรกเป็นคนต่างด้าว และไม่มีความผูกพันกับเมืองไทยมากนัก มีเงินก็ส่งกลับเมืองจีน มีลูกชายคนโตก็ส่งกลับเมืองจีน และหวังว่าจะกลับไปตายที่เมืองจีน
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ที่ปรึกษาต่างประเทศเสนอร่างรัฐธรรมนูญ แต่ที่ปรึกษาก็ยังไม่ได้เสนอประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ดังนั้นจึงมีการแต่งตั้งสภากรรมการองคมนตรี และมีข้อบังคับการประชุมแบบรัฐสภา
เมื่อคณะราษฎรยึดอำนาจสำเร็จ ก็ยังไม่ยอมให้มีพรรคการเมือง พรรคการเมืองเพิ่งมีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 ดังนั้น ข้าราชการ และทหารจึงเป็นกลุ่มการเมืองไปโดยปริยาย พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นก็พัฒนาไปเป็นแบบฉบับที่เสื่อมลงเป็นลำดับจนกลายเป็นพรรคส่วนบุคคล จะมีก็แต่พรรคประชาธิปัตย์ที่มีลักษณะเป็นพรรคที่มีฐานมวลชน แต่ก็เป็นฐานที่แคบ
มาถึงบัดนี้ มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่าระบอบประชาธิปไตยเหมาะสมกับประเทศไทยจริงหรือ ถึงอย่างไรเราก็ถอยหลังกลับไม่ได้แล้ว จะต้องรอให้ประชาชนตื่นตัว ต้องการมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งคงใช้เวลาอีกหลายสิบปีทีเดียว
มีคนบอกว่าเรื่องนี้ ถ้าอ่านตอนเด็กๆ ก็มีความรู้สึกอย่างหนึ่ง พอโตขึ้นกลับไปอ่านอีกทีก็ได้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไป ผมเห็นจริงตามนั้น ส่วนภรรยาผมบอกว่าสี่แผ่นดินนี้เป็นเรื่องของคนเป็นแม่ ความรู้สึกของคนเป็นแม่ที่มีต่อสามี และมีต่อลูก ถ้าจะจริงเพราะเวลาเรามาอ่านตอนที่มีครอบครัวมีลูกแล้ว ก็จะรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ
ความรู้สึกนึกคิดของคนไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากมีผู้ไปเรียนต่างประเทศ และรับรู้ความเป็นไปของโลก คนเหล่านี้แม้จะมีจำนวนน้อยแต่ก็อยู่ในตำแหน่งสำคัญ แม้แต่เจ้านายบางพระองค์ก็เริ่มมีความคิดว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่เหมาะกับเมืองไทย การที่พม่าเสียเมืองให้อังกฤษก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชนชั้นนำเกิดความกลัว และสรุปว่าเมืองไทยจำต้องมีการเปลี่ยนแปลง
สำหรับคนอย่างแม่พลอยเป็นคนธรรมดา มีพื้นเพที่เข้าไปอยู่ในวังซึมซับคุณค่าดั้งเดิมที่เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และไม่มีความคิดที่จะท้าทายหรือตั้งข้อสงสัยในความดีงาม ความเหมาะสมของการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ความแตกต่างระหว่างชนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่าก็เริ่มขึ้นโดยคนรุ่นลูกอย่างตาอั้น ที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ จะมีความคิดที่ไม่เหมือนกับคนทั่วไป
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ความคิดที่ต้องการให้มีรัฐธรรมนูญและรัฐสภา เริ่มเกิดขึ้นและเป็นที่แพร่หลายไปโดยหนังสือพิมพ์ ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การปฏิวัติในเมืองจีนโดยมีซุน ยัดเซ็นเป็นผู้นำ นายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรือง ได้ทำหนังสือพิมพ์เผยแพร่ลัทธิไตรราษฎร์ของหมอซุน ในประเทศไทยมีหลักฐานว่านอกจากความคิดประชาธิปไตยแล้ว ความคิดมาร์กซิสต์ก็เริ่มเข้ามา เพราะมีเอกสารวิเคราะห์สังคมสยาม และการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์สยาม แต่ยังจำกัดวงแคบอยู่ในหมู่คนเวียดนามและคนจีน
การที่ความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นได้นี้ ก็เป็นเพราะบรรยากาศเปิดให้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนเสรีภาพทางความคิด ในสมัยนี้จึงมีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นหลายฉบับ และมีบทความที่โจมตีวิพากษ์วิจารณ์ระบอบการเมือง การบริหารเป็นประจำ จนทางการต้องจัดทำหนังสือพิมพ์ขึ้นเองเพื่อตอบโต้
เสรีภาพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเฉพาะเสรีภาพทางความคิด แต่สตรีก็มีสิทธิมากขึ้น อย่างน้อยก็ในแง่ของความเป็นมนุษย์ ระบบผัวเดียวเมียเดียว เริ่มได้รับการเผยแพร่มากขึ้น การค้าขายก็ขยายตัวทำให้เกิดชนชั้นพ่อค้าขนาดเล็กที่มีตัวแทนเป็นสามีของประไพในเรื่องสี่แผ่นดิน
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เกิดขึ้นหลังจากที่มีความคิดแบบตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลเป็นเวลาหลายสิบปี พระมหากษัตริย์มีทุกพระองค์ ทรงเห็นด้วยกับการมีรัฐธรรมนูญ แต่การมีประชาธิปไตยหมายถึงการมีพรรคการเมืองอีกด้วย ซึ่งมีข้อหวั่นเกรงว่าพรรคคนจีนจะเข้ามามีบทบาท เพราะเวลานั้นคนจีนส่วนใหญ่ยังคงเป็นคนรุ่นแรกเป็นคนต่างด้าว และไม่มีความผูกพันกับเมืองไทยมากนัก มีเงินก็ส่งกลับเมืองจีน มีลูกชายคนโตก็ส่งกลับเมืองจีน และหวังว่าจะกลับไปตายที่เมืองจีน
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ที่ปรึกษาต่างประเทศเสนอร่างรัฐธรรมนูญ แต่ที่ปรึกษาก็ยังไม่ได้เสนอประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ดังนั้นจึงมีการแต่งตั้งสภากรรมการองคมนตรี และมีข้อบังคับการประชุมแบบรัฐสภา
เมื่อคณะราษฎรยึดอำนาจสำเร็จ ก็ยังไม่ยอมให้มีพรรคการเมือง พรรคการเมืองเพิ่งมีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 ดังนั้น ข้าราชการ และทหารจึงเป็นกลุ่มการเมืองไปโดยปริยาย พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นก็พัฒนาไปเป็นแบบฉบับที่เสื่อมลงเป็นลำดับจนกลายเป็นพรรคส่วนบุคคล จะมีก็แต่พรรคประชาธิปัตย์ที่มีลักษณะเป็นพรรคที่มีฐานมวลชน แต่ก็เป็นฐานที่แคบ
มาถึงบัดนี้ มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่าระบอบประชาธิปไตยเหมาะสมกับประเทศไทยจริงหรือ ถึงอย่างไรเราก็ถอยหลังกลับไม่ได้แล้ว จะต้องรอให้ประชาชนตื่นตัว ต้องการมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งคงใช้เวลาอีกหลายสิบปีทีเดียว