หลักฐานประวัติศาสตร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงเตรียมการที่จะพระราชทานอำนาจอธิปไตยให้กับปวงชนชาวไทยด้วยการเริ่มจัดตั้ง “อภิรัฐมนตรีสภา” ขึ้นเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของพระองค์ ทรงตราพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ. 2470 ขึ้น มีจัดระเบียบวิธีการประชุมคล้ายกับรัฐสภา ให้มีสภาเสนาบดีทำหน้าที่คล้ายกับคณะรัฐมนตรี เตรียมการให้มีการปกครองท้องถิ่นแบบ “เทศบาล” ขึ้น เพื่อสอนให้ประชาชนรู้จักการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง พระราชดำรัสของพระองค์ท่านปรากฏอยู่ดังความว่า
“เรามีความประสงค์ที่จะทดลองและปลูกฝังการศึกษาในวิธีการปรึกษาโต้เถียงให้สำเร็จเป็นมติตามแบบอย่างที่ประชุมใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงได้ดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้เหมาะตามสภาพของบ้านเมืองที่มีอยู่ในเวลานี้ ถ้าหากถึงเวลาอันควรที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองประเทศต่อไปก็จะทำได้”
นอกจากนี้ทรงปรึกษานายเรมอนด์ บี. สตีเฟนส์ ชาวอเมริกัน ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ และพระยาศรีวิสารวาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศในการร่างรัฐธรรมนูญ และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานให้แก่ราษฎรในวันที่ 6 เมษายน 2475 วันที่ราชวงศ์จักรีครบ 150 ปี
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า “An Outline of Changes in the Form of Government” ซึ่งกำหนดให้มี 4 สถาบัน คือ พระมหากษัตริย์, อภิรัฐมนตรีสภา, นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี, และสถาบันนิติบัญญัติ ให้พระมหากษัตริย์ยังทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหาร แต่ผู้ยกร่างทั้งสองก็ยังไม่ค่อยเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวเพราะความไม่พร้อมในเรื่องการศึกษาและความไม่พร้อมของประชาชนส่วนใหญ่ ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาก็คัดค้านเช่นกัน จึงทรงระงับการผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้ก่อน ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้นตกต่ำ
แต่ในที่สุดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ดำเนินการยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) โดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ แปรพระราชฐานประทับอยู่ที่วังไกลกังวล มีผู้ถวายความแนะนำให้จัดการกับพวกคณะราษฎรแต่พระองค์ท่านไม่ต้องการให้เสียเลือดเนื้อ ไม่มีการต่อสู้ขัดขวาง คณะราษฎรได้ขอร้องให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามเพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น ได้ทรงยอมรับตามคำขอร้องและให้ตราพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 และต่อมาก็มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ดังมีพระราชดำริ ตอนหนึ่งว่า
“เมื่อประเทศสยามได้มีการศึกษาเจริญขึ้นมากแล้ว ประชาชนคงจะประสงค์ที่จะให้เปลี่ยนแปลงการปกครองของบ้านเมืองเป็นระบบนี้ และตั้งแต่ข้าพเจ้าได้รับสืบราชสมบัติจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ข้าพเจ้าก็ได้คิดการที่จะบันดาลให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปโดยราบรื่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และได้กล่าวถึงความประสงค์นั้นโดยเปิดเผยหลายครั้งหลายหน โดยเหตุนี้เมื่อคณะผู้ก่อการร้องขอให้ข้าพเจ้าเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าจึงรับรองได้ทันทีโดยไม่มีเหตุข้องใจอย่างใด”
ในเวลาต่อมาพระองค์ท่านยังมีลายพระราชหัตถเลขาถึงนายกรัฐมนตรีความว่า
“สำหรับประเทศสยามซึ่งพึ่งจะมีรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ยังหาถึงเวลาสมควรที่จะมีคณะการเมืองเช่นเขาไม่ ด้วยประชาชนส่วนมากยังไม่เข้าใจวิธีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญเสียเลย...คณะการเมืองจะทำประโยชน์จริงให้แก่ประชาชนได้ก็เมื่อประชาชนมีความเข้าใจในวิธีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ”
ในตอนปลายรัชกาลมีความขัดแย้งขึ้นหลายประการระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับคณะราษฎร โดยเฉพาะเมื่อพระราชทานคำแนะนำแก่นายกรัฐมนตรี ทรงเสนอให้มีการแก้ไขพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นอำนาจในส่วนของพระองค์โดยแท้ แต่รัฐบาลเป็นผู้คัดเลือกเอาแล้วนำมาถวายให้ทรงลงพระนามในช่วงเวลาที่จำกัด ต้องทรงลงพระนามตามข้อเสนอของรัฐบาลเท่านั้น
พระองค์ประสงค์จะให้ใช้วิธีเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน หรือโดยอ้อมจากบุคคลที่มีความรู้เป็นผู้เลือกหรือเลือกจากบุคคลที่เป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี พระองค์ทรงคาดหวังว่า สมาชิกสภาประเภทที่ 2 ที่จะทรงตั้งนั้น จะได้คัดเลือกจากบุคคลที่มีความรู้ และความชำนาญในการปกครองทั่วๆ ไป แต่คณะราษฎรและคณะรัฐบาลไม่เห็นด้วย
ต่อมาเมื่อทรงมีพระราชดำริเห็นว่าสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นยังมิได้เป็นผู้แทนของราษฎรอย่างแท้จริง กรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงยับยั้งร่างกฎหมายซึ่งจะต้องเป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวข้องกับประชาชน ควรจะได้สอบถามประชาชนหรือต้องใช้เสียงข้างมากถึง 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมดหรือต้องยุบสภาแต่รัฐบาลก็ไม่เห็นด้วย รวมไปถึงทรงมีพระราชดำริว่าการพระราชทานอภัยโทษ ควรให้สิทธิถวายฎีกาถึงพระองค์โดยตรง ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้กลายเป็นความขัดแย้งอย่างมาก จนในที่สุด พระองค์ทรงประกาศสละราชสมบัติ
“...ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใด ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้ ....ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร…”
“เรามีความประสงค์ที่จะทดลองและปลูกฝังการศึกษาในวิธีการปรึกษาโต้เถียงให้สำเร็จเป็นมติตามแบบอย่างที่ประชุมใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงได้ดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้เหมาะตามสภาพของบ้านเมืองที่มีอยู่ในเวลานี้ ถ้าหากถึงเวลาอันควรที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองประเทศต่อไปก็จะทำได้”
นอกจากนี้ทรงปรึกษานายเรมอนด์ บี. สตีเฟนส์ ชาวอเมริกัน ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ และพระยาศรีวิสารวาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศในการร่างรัฐธรรมนูญ และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานให้แก่ราษฎรในวันที่ 6 เมษายน 2475 วันที่ราชวงศ์จักรีครบ 150 ปี
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า “An Outline of Changes in the Form of Government” ซึ่งกำหนดให้มี 4 สถาบัน คือ พระมหากษัตริย์, อภิรัฐมนตรีสภา, นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี, และสถาบันนิติบัญญัติ ให้พระมหากษัตริย์ยังทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหาร แต่ผู้ยกร่างทั้งสองก็ยังไม่ค่อยเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวเพราะความไม่พร้อมในเรื่องการศึกษาและความไม่พร้อมของประชาชนส่วนใหญ่ ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาก็คัดค้านเช่นกัน จึงทรงระงับการผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้ก่อน ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้นตกต่ำ
แต่ในที่สุดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ดำเนินการยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) โดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ แปรพระราชฐานประทับอยู่ที่วังไกลกังวล มีผู้ถวายความแนะนำให้จัดการกับพวกคณะราษฎรแต่พระองค์ท่านไม่ต้องการให้เสียเลือดเนื้อ ไม่มีการต่อสู้ขัดขวาง คณะราษฎรได้ขอร้องให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามเพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น ได้ทรงยอมรับตามคำขอร้องและให้ตราพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 และต่อมาก็มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ดังมีพระราชดำริ ตอนหนึ่งว่า
“เมื่อประเทศสยามได้มีการศึกษาเจริญขึ้นมากแล้ว ประชาชนคงจะประสงค์ที่จะให้เปลี่ยนแปลงการปกครองของบ้านเมืองเป็นระบบนี้ และตั้งแต่ข้าพเจ้าได้รับสืบราชสมบัติจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ข้าพเจ้าก็ได้คิดการที่จะบันดาลให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปโดยราบรื่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และได้กล่าวถึงความประสงค์นั้นโดยเปิดเผยหลายครั้งหลายหน โดยเหตุนี้เมื่อคณะผู้ก่อการร้องขอให้ข้าพเจ้าเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าจึงรับรองได้ทันทีโดยไม่มีเหตุข้องใจอย่างใด”
ในเวลาต่อมาพระองค์ท่านยังมีลายพระราชหัตถเลขาถึงนายกรัฐมนตรีความว่า
“สำหรับประเทศสยามซึ่งพึ่งจะมีรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ยังหาถึงเวลาสมควรที่จะมีคณะการเมืองเช่นเขาไม่ ด้วยประชาชนส่วนมากยังไม่เข้าใจวิธีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญเสียเลย...คณะการเมืองจะทำประโยชน์จริงให้แก่ประชาชนได้ก็เมื่อประชาชนมีความเข้าใจในวิธีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ”
ในตอนปลายรัชกาลมีความขัดแย้งขึ้นหลายประการระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับคณะราษฎร โดยเฉพาะเมื่อพระราชทานคำแนะนำแก่นายกรัฐมนตรี ทรงเสนอให้มีการแก้ไขพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นอำนาจในส่วนของพระองค์โดยแท้ แต่รัฐบาลเป็นผู้คัดเลือกเอาแล้วนำมาถวายให้ทรงลงพระนามในช่วงเวลาที่จำกัด ต้องทรงลงพระนามตามข้อเสนอของรัฐบาลเท่านั้น
พระองค์ประสงค์จะให้ใช้วิธีเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน หรือโดยอ้อมจากบุคคลที่มีความรู้เป็นผู้เลือกหรือเลือกจากบุคคลที่เป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี พระองค์ทรงคาดหวังว่า สมาชิกสภาประเภทที่ 2 ที่จะทรงตั้งนั้น จะได้คัดเลือกจากบุคคลที่มีความรู้ และความชำนาญในการปกครองทั่วๆ ไป แต่คณะราษฎรและคณะรัฐบาลไม่เห็นด้วย
ต่อมาเมื่อทรงมีพระราชดำริเห็นว่าสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นยังมิได้เป็นผู้แทนของราษฎรอย่างแท้จริง กรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงยับยั้งร่างกฎหมายซึ่งจะต้องเป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวข้องกับประชาชน ควรจะได้สอบถามประชาชนหรือต้องใช้เสียงข้างมากถึง 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมดหรือต้องยุบสภาแต่รัฐบาลก็ไม่เห็นด้วย รวมไปถึงทรงมีพระราชดำริว่าการพระราชทานอภัยโทษ ควรให้สิทธิถวายฎีกาถึงพระองค์โดยตรง ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้กลายเป็นความขัดแย้งอย่างมาก จนในที่สุด พระองค์ทรงประกาศสละราชสมบัติ
“...ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใด ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้ ....ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร…”