100 ปี คณะรัฐประหาร ร.ศ. 130 และโอกาสเข้าสู่ปีที่ 80 ของการรัฐประหาร 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร์ซึ่งทางคณะนิติราษฎร์ ณ ม.ธรรมศาสตร์ ได้จัดเสวนาทางวิชาการขับเคลื่อนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการอภิปรายหัวข้อ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร-นิรโทษกรรม-ปรองดอง” ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 55
จากการที่อ่าน การตอบคำถามของคณะนิติราษฎร์ ก็ไม่มีอะไรใหม่ เป็นการสืบทอดอุดมการณ์ที่ผิดๆ อย่างซ้ำซาก ก็ดูได้จากความผิดพลาดจากทำรัฐประหารล้มรัฐบาล สมเด็จพระปกเกล้าฯ โดยคณะราษฎรพระยาพหลพลพยุหเสนา และนายปรีดี พนมยงค์
และนี่คือวิชารัฐศาสตร์ที่ตรงไปตรงมา... คณะราษฎรเข้าใจว่าตนเองอยากถูกต้องว่าเป็นพวกลัทธิรัฐธรรมนูญ เพราะความมุ่งมาดปรารถนาอันสูงสุดคือ “ธรรมนูญการปกครอง” พวกเขาจึงร่างรัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่ฉบับแรกคือฉบับชั่วคราว และฉบับถาวร จึงเป็นที่มาของ “วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ” “วันพระราชทานหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย” จึงถูกทำลายไปด้วยการรัฐประหารของคณะราษฎรนั่นเอง
ในช่วงก่อน พ.ศ. 2475 เราต้องรู้ว่าในช่วงนั้นมีขบวนการทางการเมืองอยู่ 3 ขบวนการใหญ่ๆ ได้แก่
หนึ่ง ขบวนการลัทธิประชาธิปไตย ที่สอนสืบทอดกันมานับแต่รัชกาลที่ 5-6 และขบวนการลัทธิประชาธิปไตย ซึ่งนำโดย สมเด็จพระปกเกล้าฯ (พระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า “พระมหากษัตริย์ประชาธิปไตย” เมื่อเป็นฝ่ายปกครองจึงมีความละเอียดรอบคอบในการวางแผนสถาปนาหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย พระองค์ทรงเรียกว่า “หลักdemocracy”
สอง ขบวนการลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ ในนามของคณะราษฎร ลัทธินี้ยึดรัฐธรรมนูญเป็นตัวตั้ง หลงผิดคิดว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นเหตุให้ชาติรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศ และเพราะด้วยความเป็นวัยรุ่นใจร้อน ร้อนวิชาทั้งฝ่ายนักเรียนทุนทหาร และพลเรือน ต่อมายึดอำนาจรัฐจากรัฐบาล สมเด็จพระปกเกล้าฯ ด้วยการทำรัฐประหารพวกเราชนรุ่นหลังก็จะได้เห็นแต่การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของขบวนการเผด็จการรัฐธรรมนูญ ในชื่อ “วงจรอุบาทว์” รัฐประหาร-เลือกตั้ง-รัฐบาลพลเรือน-รัฐประหาร วนเวียนเช่นนี้อยู่ร่วม 80 ปี
เราจะเห็นได้ว่าขบวนการเผด็จการรัฐธรรมนูญได้แตกแยกมาแต่ต้นระหว่างฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน และฝ่ายพลเรือนเองก็ขัดแย้งแตกเป็นสองฝ่ายระหว่างนายปรีดี พนมยงค์ กับ ฝ่าย นายควง อภัยวงศ์ ฝ่ายทหารอิงพระเจ้าแผ่นดิน ฝ่ายพลเรือนมีพรรคอมฯ มาอิง
สาม ขบวนการลัทธิคอมมิวนิสต์ ขณะนั้นยังเป็นขบวนการใต้ดิน ซึ่งมีทั้งฝ่ายโซเวียตและฝ่ายจีน คือเหมา เจ๋อตุง ได้เผยแพร่แนวคิดอย่างลับๆ ในแนวคิดหลักคือล้มเจ้า ขบวนการคอมฯ นี้ได้แอบอิงอยู่กับขบวนการเผด็จการรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คือได้ทำแนวร่วมฯ กับฝ่ายปกครองไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม ฝ่ายนี้ได้เจริญเติบโตขยายพรรคฯ สามารถก่อสงครามก่อการร้าย “อำนาจรัฐมาจากปากกระบอกปืน” ได้ในระหว่างปี พ.ศ. 2508-2512 และได้ทำการขยายขึ้นเป็นสงครามกลางเมืองระหว่างปี 2512-2525 ซึ่งสามารถยุติสงครามกลางเมืองลงได้ด้วยนโยบายที่ 66/2523 โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ด้วยปัญญาอันแท้จริงของขบวนการประชาธิปไตยที่สืบทอดมาจากรัชกาลที่ 5-6 และสมเด็จพระปกเกล้าฯ สามารถผลักดันนโยบายประชาธิปไตยเป็นผลสำเร็จในนามทหารประชาธิปไตยและมวลชน แต่ขบวนการนี้ก็ต้องมาพ่ายแพ้ทางการเมืองให้กับฝ่ายลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ เจ้าของว่า “กูไม่กลัวมึงไม่ว่าเลขที่เท่าไร ทับที่เท่าไร ก็จะทำลายให้หมด” คอมฯ ที่หลงผิดกลับเข้ามาเป็นผู้พัฒนาชาติไทย คอมฯ ที่พอมีปัญญาก็เดินทางไปเรียนนอกกลับมาเข้าพรรคต่างๆ หนังสือพิมพ์ ทำการชี้นำพรรคการเมือง ซึ่งรู้ดีว่าเป็นพรรคการเผด็จการลัทธิรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เพื่อเป็นเงื่อนไขในการปฏิวัติคอมฯ
หากเรามองภาพขบวนการทางการเมืองก่อนปี 2475 เป็นเช่นไร สภาพการปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนั้น
ในสถานการณ์ปัจจุบันฝ่ายลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญแตกออกเป็นสามฝ่าย ฝ่ายหนึ่งพรรคเพื่อไทยตัวแทนนายปรีดี พนมยงค์ อีกฝ่ายคือพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนของนายควง อภัยวงศ์ หม่อมเสนีย์ หม่อมคึกฤทธิ์ เป็นต้น
เมื่อทั้งสองฝ่ายนี้บริหารประเทศล้มเหลว คอร์รัปชัน ฝ่ายรัฐประหารก็จะโผล่ออกมายึดอำนาจล้มรัฐธรรมนูญและก็ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าสู่วงจรอุบาทว์เช่นเดิม
ฝ่ายนักวิชาการ “นิติราษฎร์” ดังที่ได้ปรารภไว้ข้างต้นบทความนั้น แท้จริงพวกเขาก็คือ ทายาทของคณะราษฎร์ฝ่าย นายปรีดี พนมยงค์ นั่นเอง ทั้งสามฝ่ายของลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญขัดแย้งกัน แย่งชิงผลประโยชน์กัน โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นจุดศูนย์กลางของความขัดแย้ง ซึ่งได้ทำประเทศไทยและประเทศชาติให้ตกต่ำหายนะมายาวนานร่วม 80 ปี ก็ยังดันทุรังกันอีกหรือ
เมื่อ “นิติราษฎร์” เล่นเป็นลิเก ฝ่ายเสื้อแดง (คอมฯ) ล้มเจ้า ก็จะออกมาเชียร์ พรรคเพื่อไทย เชียร์เพราะพวกเขาได้ประโยชน์ทางการเมือง แต่ประเทศชาติและประชาชนฉิบหาย
ฝ่ายขบวนการลัทธิประชาธิปไตย เคยแนะนำและมีอำนาจรัฐในสมัย พลเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมามีการพัฒนาเป็นแนวคิดปรัชญาการเมืองในชื่อ “หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 อันเป็นแก่นแท้ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และพระปฐมบรมราชโองการ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดยมีแนวคิดย่อๆ คือ หนึ่ง สถาปนาหลักการปกครองโดยธรรมหรือระบอบโดยธรรม เมื่อประชาชนรู้ได้ระบอบการเมืองที่ดีที่แท้จริงไม่ถูกหลอกแล้ว สอง ร่างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับ “หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9” นี่คือการต่อสู้ทางความคิดทางการเมืองในชาติของเรา เราเอาธรรมเป็นเหตุ ไม่เอารัฐธรรมนูญหลักคิดของปุถุชนบ้าๆ บอๆ อย่างนิติราษฎร์เด็กวานซืนเป็นเหตุ
จากการที่อ่าน การตอบคำถามของคณะนิติราษฎร์ ก็ไม่มีอะไรใหม่ เป็นการสืบทอดอุดมการณ์ที่ผิดๆ อย่างซ้ำซาก ก็ดูได้จากความผิดพลาดจากทำรัฐประหารล้มรัฐบาล สมเด็จพระปกเกล้าฯ โดยคณะราษฎรพระยาพหลพลพยุหเสนา และนายปรีดี พนมยงค์
และนี่คือวิชารัฐศาสตร์ที่ตรงไปตรงมา... คณะราษฎรเข้าใจว่าตนเองอยากถูกต้องว่าเป็นพวกลัทธิรัฐธรรมนูญ เพราะความมุ่งมาดปรารถนาอันสูงสุดคือ “ธรรมนูญการปกครอง” พวกเขาจึงร่างรัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่ฉบับแรกคือฉบับชั่วคราว และฉบับถาวร จึงเป็นที่มาของ “วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ” “วันพระราชทานหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย” จึงถูกทำลายไปด้วยการรัฐประหารของคณะราษฎรนั่นเอง
ในช่วงก่อน พ.ศ. 2475 เราต้องรู้ว่าในช่วงนั้นมีขบวนการทางการเมืองอยู่ 3 ขบวนการใหญ่ๆ ได้แก่
หนึ่ง ขบวนการลัทธิประชาธิปไตย ที่สอนสืบทอดกันมานับแต่รัชกาลที่ 5-6 และขบวนการลัทธิประชาธิปไตย ซึ่งนำโดย สมเด็จพระปกเกล้าฯ (พระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า “พระมหากษัตริย์ประชาธิปไตย” เมื่อเป็นฝ่ายปกครองจึงมีความละเอียดรอบคอบในการวางแผนสถาปนาหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย พระองค์ทรงเรียกว่า “หลักdemocracy”
สอง ขบวนการลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ ในนามของคณะราษฎร ลัทธินี้ยึดรัฐธรรมนูญเป็นตัวตั้ง หลงผิดคิดว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นเหตุให้ชาติรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศ และเพราะด้วยความเป็นวัยรุ่นใจร้อน ร้อนวิชาทั้งฝ่ายนักเรียนทุนทหาร และพลเรือน ต่อมายึดอำนาจรัฐจากรัฐบาล สมเด็จพระปกเกล้าฯ ด้วยการทำรัฐประหารพวกเราชนรุ่นหลังก็จะได้เห็นแต่การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของขบวนการเผด็จการรัฐธรรมนูญ ในชื่อ “วงจรอุบาทว์” รัฐประหาร-เลือกตั้ง-รัฐบาลพลเรือน-รัฐประหาร วนเวียนเช่นนี้อยู่ร่วม 80 ปี
เราจะเห็นได้ว่าขบวนการเผด็จการรัฐธรรมนูญได้แตกแยกมาแต่ต้นระหว่างฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน และฝ่ายพลเรือนเองก็ขัดแย้งแตกเป็นสองฝ่ายระหว่างนายปรีดี พนมยงค์ กับ ฝ่าย นายควง อภัยวงศ์ ฝ่ายทหารอิงพระเจ้าแผ่นดิน ฝ่ายพลเรือนมีพรรคอมฯ มาอิง
สาม ขบวนการลัทธิคอมมิวนิสต์ ขณะนั้นยังเป็นขบวนการใต้ดิน ซึ่งมีทั้งฝ่ายโซเวียตและฝ่ายจีน คือเหมา เจ๋อตุง ได้เผยแพร่แนวคิดอย่างลับๆ ในแนวคิดหลักคือล้มเจ้า ขบวนการคอมฯ นี้ได้แอบอิงอยู่กับขบวนการเผด็จการรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คือได้ทำแนวร่วมฯ กับฝ่ายปกครองไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม ฝ่ายนี้ได้เจริญเติบโตขยายพรรคฯ สามารถก่อสงครามก่อการร้าย “อำนาจรัฐมาจากปากกระบอกปืน” ได้ในระหว่างปี พ.ศ. 2508-2512 และได้ทำการขยายขึ้นเป็นสงครามกลางเมืองระหว่างปี 2512-2525 ซึ่งสามารถยุติสงครามกลางเมืองลงได้ด้วยนโยบายที่ 66/2523 โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ด้วยปัญญาอันแท้จริงของขบวนการประชาธิปไตยที่สืบทอดมาจากรัชกาลที่ 5-6 และสมเด็จพระปกเกล้าฯ สามารถผลักดันนโยบายประชาธิปไตยเป็นผลสำเร็จในนามทหารประชาธิปไตยและมวลชน แต่ขบวนการนี้ก็ต้องมาพ่ายแพ้ทางการเมืองให้กับฝ่ายลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ เจ้าของว่า “กูไม่กลัวมึงไม่ว่าเลขที่เท่าไร ทับที่เท่าไร ก็จะทำลายให้หมด” คอมฯ ที่หลงผิดกลับเข้ามาเป็นผู้พัฒนาชาติไทย คอมฯ ที่พอมีปัญญาก็เดินทางไปเรียนนอกกลับมาเข้าพรรคต่างๆ หนังสือพิมพ์ ทำการชี้นำพรรคการเมือง ซึ่งรู้ดีว่าเป็นพรรคการเผด็จการลัทธิรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เพื่อเป็นเงื่อนไขในการปฏิวัติคอมฯ
หากเรามองภาพขบวนการทางการเมืองก่อนปี 2475 เป็นเช่นไร สภาพการปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนั้น
ในสถานการณ์ปัจจุบันฝ่ายลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญแตกออกเป็นสามฝ่าย ฝ่ายหนึ่งพรรคเพื่อไทยตัวแทนนายปรีดี พนมยงค์ อีกฝ่ายคือพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนของนายควง อภัยวงศ์ หม่อมเสนีย์ หม่อมคึกฤทธิ์ เป็นต้น
เมื่อทั้งสองฝ่ายนี้บริหารประเทศล้มเหลว คอร์รัปชัน ฝ่ายรัฐประหารก็จะโผล่ออกมายึดอำนาจล้มรัฐธรรมนูญและก็ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าสู่วงจรอุบาทว์เช่นเดิม
ฝ่ายนักวิชาการ “นิติราษฎร์” ดังที่ได้ปรารภไว้ข้างต้นบทความนั้น แท้จริงพวกเขาก็คือ ทายาทของคณะราษฎร์ฝ่าย นายปรีดี พนมยงค์ นั่นเอง ทั้งสามฝ่ายของลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญขัดแย้งกัน แย่งชิงผลประโยชน์กัน โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นจุดศูนย์กลางของความขัดแย้ง ซึ่งได้ทำประเทศไทยและประเทศชาติให้ตกต่ำหายนะมายาวนานร่วม 80 ปี ก็ยังดันทุรังกันอีกหรือ
เมื่อ “นิติราษฎร์” เล่นเป็นลิเก ฝ่ายเสื้อแดง (คอมฯ) ล้มเจ้า ก็จะออกมาเชียร์ พรรคเพื่อไทย เชียร์เพราะพวกเขาได้ประโยชน์ทางการเมือง แต่ประเทศชาติและประชาชนฉิบหาย
ฝ่ายขบวนการลัทธิประชาธิปไตย เคยแนะนำและมีอำนาจรัฐในสมัย พลเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมามีการพัฒนาเป็นแนวคิดปรัชญาการเมืองในชื่อ “หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 อันเป็นแก่นแท้ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และพระปฐมบรมราชโองการ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดยมีแนวคิดย่อๆ คือ หนึ่ง สถาปนาหลักการปกครองโดยธรรมหรือระบอบโดยธรรม เมื่อประชาชนรู้ได้ระบอบการเมืองที่ดีที่แท้จริงไม่ถูกหลอกแล้ว สอง ร่างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับ “หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9” นี่คือการต่อสู้ทางความคิดทางการเมืองในชาติของเรา เราเอาธรรมเป็นเหตุ ไม่เอารัฐธรรมนูญหลักคิดของปุถุชนบ้าๆ บอๆ อย่างนิติราษฎร์เด็กวานซืนเป็นเหตุ