xs
xsm
sm
md
lg

แก๊งนิติราษฎร์สุดเหิม! แก้ รธน.บังคับ “กษัตริย์” สาบานตนก่อนรับตำแหน่ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กลุ่มนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ได้จัดเวทีอภิปรายในหัวข้อ “ลบล้างผลพวง รัฐประหาร-นิรโทษกรรม-ปรองดอง” ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
นิติราษฎร์รายสัปดาห์ คึกเสนอฉีกทิ้ง รธน.50 ไม่กลัวเหากินกบาลบังคับ “กษัตริย์” สาบานตนก่อนรับตำแหน่ง อ้างปฏิรูปสถาบัน แถมจ้องทุบทิ้งองค์กรอิสระ เปิดช่องล้วงลูก “กองทัพ-ศาล” เต็มที่ พูดไม่อายปากไม่ได้ทำเพื่อ “นช.แม้ว” แต่บังเอิญเข้าข่ายได้ประโยชน์ไปด้วย

วันนี้ (22 ม.ค.) ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่มนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ได้จัดเวทีอภิปรายในหัวข้อ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร-นิรโทษกรรม-ปรองดอง” เพื่อเสนอแนวทางลบล้างผลพวงที่มาจากการรัฐประหารทั้งหมด รวมไปถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนที่ยึดโยงกับการรัฐประหาร ทั้งนี้ บรรยากาศก่อนเริ่มการอภิปรายได้มีการแจกคู่มือประชาชนลบล้างผลพวงรัฐประหาร พร้อมกับมีการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อประชาชนสนับสนุนการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยและคณะกรรมการรณรงค์แก้กฏหมายมาตรา 112 (ครก.112) อีกด้วย ท่ามกลางประชาชนที่สนใจ ซึ่งส่วนมากเป็นคนเสื้อแดงเข้าร่วมรับฟังจนเต็มห้องประชุม

ผู้สื่อข่าวรายงาน ในการเสวนาในครั้งนี้ได้มีการเสนอเหตุผลที่ต้องล้มล้างกระบวนการ หลังจากรัฐประหารในขั้นตอนต่างๆ อย่างกล้างขวาง เช่น การลบล้างคำพิพากษาของศาล การให้เหตุผลหลักวิชานิติศาสตร์ในการลบล้างผลพวงที่มาจากการทำรัฐประหาร พร้อมกันนี้คณะนิติราษฎร์ยังได้เสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ปี 2550 และให้ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ โดยเสนอให้มีคณะกรรมการยกร่างภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการจัดทำรัฐธรรมนูญ นิติรัฐและประชาธิปไตย” จำนวน 25 คน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะประกอบด้วย กลุ่มแรก 20 คนมาจาก ส.ส. ตามสัดส่วนจำนวนสมาชิกของแต่ละพรรค หรือให้รัฐบาลและฝ่ายค้านตกลงเรื่องการกำหนดโควตากันเอาเอง กลุ่มที่สอง 5 คนมาจาก ส.ว.โดย 3 คน มาจาก ส.ว.เลือกตั้ง และอีก 2 คนมาจาก ส.ว.สรรหา ซึ่งหลักการดังกล่าวทางกลุ่มนิติราษฎร์จะประมวลจากความชอบธรรมและประสิทธิภาพ ในการร่างรัฐธรรมนูญที่ประเทศต่างๆเคยใช้และได้ผลดีมาเป็นองค์ประกอบ

โดย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า ทางกลุ่มเสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 50 ทั้งฉบับ ก่อนจะมีการยกร่างใหม่ ซึ่งขั้นตอนคือ แก้มมาตรา 291 เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำรัฐธรรมนูญนิติรัฐและประชาธิปไตยจำนวน 25 คนขึ้นมา โดยให้ ส.ส.ตามสัดส่วนจำนวนพรรคการเมืองเป็นผู้กรรมการฯ จำนวนเลือก 20 คน และ ส.ว.เลือกตั้ง จำนวน 3 คน และ ส.ว.สรรหา จำนวน 2 คน เมื่อได้คณะกรรมชุดฯ จะต้องมีการวงกรอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญภายใน 30 วัน โดยอาจจะตั้งอนุกรรมการไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จากนั้นจะยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าสู่สภาและวุฒิสภา เพื่อรับฟังความคิดเห็น

นายวรเจตน์กล่าวต่อว่า จากนั้นคณะกรรมการฯ นำกลับมาแก้ไขและให้ประชาชนทำประชามติ หากประชาชนเห็นชอบก็ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่หากประชาชนไม่เห็นด้วยก็กลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ทั้งนี้ ขอยืนยันว่ากระบวนการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จนถึงขั้นตอนการประกาศใช้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จะใช้เวลา 9 เดือน

“วิธีนี้ถือเป็นการเชื่อมโยงกับประชาชนมากที่สุด และเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยที่ให้ตัวแทนจากประชาชนเป็นผู้แต่งตั้ง โดยพรรคไหนที่มีจำนวน ส.ส.มากก็ได้โควตาในการเลือกตัวแทนคณะกรรมการฯ เข้ามามากตาทมสัดส่วน จริงๆ แล้วเราไม่ต้องการให้ ส.ว.สรรหาเข้ามาเลือก แต่เกรงว่าจะเกิดปัญหา จึงต้องลดสัดส่วนให้น้อยลงเพียง 2 คน ทั้งนี้ คุณสมบัติของคณะกรรมการฯ จะต้องไม่เป็น ส.ส.หรือ ส.ว. หรือข้าราชการการเมือง” นายวรเจตน์ระบุ

นายวรเจตน์กล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะยึดกรอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับแรก ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 ม.ย. 2475 และรัฐธรรมนูญปี 40 ในเรื่องการให้สิทธิเสรีภาพประชาชน โดยเนื้อหาทุกหมวดใน รธน.จะต้องแตะต้องได้ จากเดิมที่มีข้อห้ามเอาไว้ โดยจะปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ศาล กองทัพ และสถาบันการเมือง สำหรับหลักการจะมีอยู่ 4 ส่วน คือ บททั่วไป สิทธิเสรีภาพ สถาบันทางการเมืององค์กรอิสระ และเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน การต่อต้านรัฐประหารและลบล้างผลพวงจากรัฐประหาร

“การปฏิรูปนั้นประเทศไทยยังเป็นราชอาณาจักร ยังมีประมุขของรัฐ คือพระมหากษัตริย์ โดยจะต้องจัดวางโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประมุขของรัฐกับองค์กรผู้ใช้อำนาจอื่นๆ ให้สอดคล้องกัน โดยกำหนดให้ประมุขของรัฐ จะต้องสาบานตนว่า จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และพิทักษ์รัฐธรรมนูญก่อนเข้ารับตำแหน่ง” แกนนำคณะนิติราษฎร์อธิบาย

นายวรเจตน์ยังเปิดเผยด้วยว่า จะมีการเสนอให้ยกเลิกองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในปัจจุบันที่ไม่มีสถานะตามบทบัญญัติกฎหมาย และไม่อนุญาตให้องค์กรอิสระสามารถแปรญัตติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามที่รัฐธรรมนูญปี 50 อนุญาตให้ทำได้ นอกจากนี้ เสนอให้มีสภาเดี่ยวมาจากการเลือกตั้ง แต่หากประชาชนต้องการให้มี 2 สภา คือ ส.ว.และ ส.ส.จะต้องมาจากกระบวนการเลือกตั้งทั้งหมด ขณะที่องค์กรตุลาการ ระดับประธานศาลจะต้องได้รับการเสนอชื่อจากคณะรัฐมนตรี และเห็นชอบจากรัฐสภา ตำแหน่งคณะตุลาการต่างๆจะต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อที่สาธารณะ อย่างเช่นนักการเมือง ขณะที่ศาลล่างจะต้องให้มีผู้พิพากษาศาลสมทบ หรือผู้พิพากษาที่ได้รับการคัดเลือกจากประชาชน เข้าไปร่วมตัดสินคดีร่วมด้วย

สำหรับการปฏิรูปกองทัพนั้น นายวรเจตน์ระบุว่า จะต้องมีผู้ตรวจการกองทัพที่แต่งตั้งจากรัฐสภา และผู้บัญชาการเหล่าทัพ จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี อีกทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถปฏิเสธคำสั่งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นๆ ต่อผู้บังคับบัญชาได้ ที่สำคัญต้องกำหนดให้การรัฐประหารมีความผิดทางกฎหมายอาญา และภายหลังที่ประชาชนได้อำนาจกลับคืนมาแล้วให้ดำเนินคดีแก่ผู้ชิงอำนาจจากประชาชนได้ในภายหลัง โดยอายุความการดำเนินคดีให้เริ่มนับตั้งแต่ได้มีการเริ่มคดีแล้ว

ขณะที่ นายปิยะบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ กล่าวเสริมว่า สาเหตุที่เราไม่ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เนื่องจากมีจำนวนสมาชิกมากยากต่อการแก้ไข อีกทั้งผู้ที่เขียนกฎหมายก็เป็นเพียงคนกลุ่มเล็กเท่านั้น โดยมองว่าแนวทางของคณะนิติราษฎร์เป็นการนำโมเดลของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้รัฐธรรมนูญมาปฎิบัติใช้กับประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเปิดให้ผู้เข้าร่วมรับฟังตอบคำถามกับทางคณะนิติราษฎร์ โดยมีคำถามที่น่าเสนอว่า ทางกลุ่มรับงานช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาหรือไม่นั้น นายฐาปนันท์ นิพิฎฐกุล นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ กล่าวตอบว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์อยู่ตามหลักวิชาการ เคารพกระบวนการทางกฎหมายที่เป็นธรรม ซึ่งหลักการทั้งหลายเหล่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งในนิติรัฐ และระบบประชาธิปไตย แต่หากผลดังกล่าว ได้หรือเสียประโยชน์ ก็เป็นการได้หรือเสียประโยชน์บนพื้นฐานของหลักการ และความยุติธรรม โดยจุดยืนของนิติราษฎร์ปฏิเสธการรัฐประหารถึงที่สุด เรื่องคำพิพากษาที่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณและพวก มีความสัมพันธ์โดยตรงกับรัฐประหาร จึงจำเป็นที่ต้องเสนอให้ลบล้างคำพิพากษา

“เรื่องคุณทักษิณเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก และคุณทักษิณก็เป็นนายกฯ ได้ 50-60 ปีก็เสียชีวิตแล้ว และหากคุณทักษิณมีปัญหา พวกเราจะจัดการคุณทักษิณเอง โดยเราเพียงต้องการให้อุดมการณ์ของนิติราษฎร์อยู่ไปยาวนาน” นายฐาปนันท์กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น