ในระบบประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้ง ผู้ได้รับเลือกตั้งมักจะมีการปฏิญาณตน หรือสาบานตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แม้ว่ารัฐสภาจะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบการเข้าปฏิบัติหน้าที่ของหลายองค์กรก็ตาม แต่สมาชิกรัฐสภาก็ต้องปฏิญาณตนก่อนเข้าปฏิบัติงาน สำหรับคณะรัฐมนตรีนั้นจะทำงานได้ดีต่อเมื่อได้เข้าเฝ้าฯ และถวายสัตย์ปฏิญาณต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว
ในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปฏิญาณตนต่อพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์ด้วย สำหรับพระมหากษัตริย์นั้นการเข้าสู่ความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ การมีพิธีบรมราชาภิเษก และพระมหากษัตริย์ก็จะมีพระราชดำรัสต่ออาณาประชาราษฎร์ เช่น ในกรณีของรัชกาลปัจจุบัน พระราชดำรัสนั้นคือ “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พิธีบรมราชาภิเษกเป็นพิธีการที่เป็นทางการ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ และทรงรับคำปฏิญาณหรือสาบานตนจากสมาชิกรัฐสภา จากเหล่าทหารทั้งหลาย การมีความคิดให้พระมหากษัตริย์ต้องปฏิญาณตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง จึงเป็นเรื่องที่เชย และแสดงความเขลาอย่างน่าขบขัน แต่ก็เกิดขึ้นแล้วในเมืองไทย
สมัยก่อนไม่เคยมีการแสดงความคิดเห็นเชยๆ แบบนี้ มีอาจารย์จุฬาฯ คนหนึ่งไม่ได้ลงชื่อร่วมขอแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 อาจารย์คนนั้นถูกเพื่อนๆ ตำหนิว่า “ไม่ก้าวหน้า” “ความก้าวหน้า” ในความคิดของนักวิชาการบางคนหมายความว่า จะต้องสามารถวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ หรือไม่ก็สามารถเปลือยอก หรือเขียนว่าเคยนอนกับใครมาแล้วบ้างได้อย่างหน้าตาเฉย
ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ความสับสนระหว่างสิ่งที่เลวทรามกับความถูกต้อง การรัฐประหารเป็นสิ่งที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญและไม่ควรเกิดขึ้น แต่การโกงกิน การคอร์รัปชันทางนโยบาย และการแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมืองก็เป็นสิ่งที่เลวและผิดเช่นกัน แม้ว่าการรัฐประหารจะก่อให้เกิดการลงโทษนักการเมือง และเกิดเหตุการณ์อีกหลายอย่าง แต่การที่ประณามว่า การรัฐประหารไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงควรยกเลิกการกระทำทั้งปวงที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรัฐประหารจึงเป็นตรรกที่สับสนอย่างยิ่ง
เป็นที่น่าสังเกตว่า การเคลื่อนไหวให้เลิกทุกสิ่งที่เกิดจากรัฐประหารกับข้อเสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน
ในสมัยก่อนบุคคลที่ถูกข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากที่สุดคือ คุณสุลักษณ์ ศิวรักษ์ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคุณสุลักษณ์ เคยถูกรับโทษจำคุกแต่อย่างใด คุณสุลักษณ์นั้นเป็นบุคคลผู้เขียน และพูดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในลักษณะที่ “ติเพื่อก่อ” มากที่สุด ต่างกับพวกวิจารณ์สถาบันในยุคนี้ ที่มีแต่ความหยาบคายและก้าวร้าว
นักวิชาการที่วิจารณ์สถาบันมีความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์ทรงเกี่ยวข้องกับการเมือง และมีการกล่าวอ้างว่าคณะทหารกล้าทำรัฐประหารเพราะพระมหากษัตริย์ทรงเห็นชอบ ซึ่งเป็นการคาดคะเนเอาเอง โดยที่สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงอยู่ในฐานะที่จะแสดงความรู้สึกออกมาได้ หรือจะพูดในภาษาทั่วไปว่า จะ “ปฏิเสธข่าว” ได้ เพราะไม่มีคำกล่าวหาตรงๆ เป็นเพียงการคาดคิดซุบซิบกันเท่านั้น แม้จะมีการกล่าวอ้างถึง “ผู้ใกล้ชิด” บางคน เราก็ไม่อาจเชื่อถือได้ เพราะไม่มีใครรู้เห็นโดยตรงว่าจริงๆ แล้วเป็นอย่างไร แต่สามัญสำนึกบอกว่า การที่พระมหากษัตริย์จะทรงแทรกแซงทางการเมืองถึงขั้นนั้น ย่อมเป็นภัยต่อความมั่นคงของสถาบันเอง
ผู้ซึ่งวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ไปไกลถึงกับห้ามมิให้พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชดำรัส บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับบทบาทของโครงการพระราชดำริ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ศึกษาในรายละเอียดของที่มาแห่งโครงการเหล่านั้น บางคนก็ไม่ชอบสำนักงานทรัพย์สิน แต่ก็ไม่ได้ดูว่าสำนักงานทรัพย์สินไม่สามารถดำเนินการแบบธุรกิจการค้ากำไรได้อย่างเต็มที่
ผมไม่เข้าใจว่า เหตุใดคนจำนวนหนึ่งรวมถึงนักวิชาการด้วย จึงยังคงสนับสนุนทักษิณอยู่ ที่จริงในระยะแรกๆ คนจำนวนมากต่างพากันสนับสนุนทักษิณ เพราะเห็นว่าเป็นนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ต่อมาเมื่อไปรู้ข้อมูลมากขึ้น ก็จะพากันถอยห่าง แต่ที่น่ากลัวมากก็คือ ความกล้าแบบไม่กลัวผิด และไม่อายของทักษิณ หากใครได้อ่านคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็จะเข้าใจดี
เวลานี้มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง ต้องการยั่วให้ทหารออกมาปฏิวัติ การเสนอแนะจะปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์คือวิธีการยั่วยุทหารวิธีหนึ่ง คำถามก็คือ แล้วเวลานี้ฝ่ายทักษิณไม่ได้มีอำนาจเต็มที่แล้วหรือ คำตอบก็คือยังไม่เต็มที่ เพราะยังมีความคิดอยู่ว่า พระมหากษัตริย์ยังทรงอำนาจอยู่
ดังนั้น จึงเกิดการเคลื่อนไหวหลายๆ ด้านอย่างประสานสอดรับกัน ในต่างประเทศในแวดวงนักการเมือง และนักธุรกิจระดับสูงมีการประชุมปรึกษากัน และมีการสรุปว่าเมืองไทยยังไม่มีการปกครองโดยรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ มีการให้ทุนเปิดเว็บไซต์วิจารณ์สถาบันทั้งในและต่างประเทศ มีการให้เงินคนกลุ่มหนึ่งมาดำเนินการเคลื่อนไหวให้เกิดการวิจารณ์บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น เพื่อผลในระยะยาว
หลายคนฟังเขาวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ก็ทนไม่ได้เพราะคำวิจารณ์ไม่ยุติธรรม และพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ในฐานะที่จะโต้ตอบได้ ในสมัยก่อน พ.ศ. 2475 เป็นเรื่องธรรมดา เพราะเป็นยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจอย่างแท้จริง แต่ในสมัยนี้มีแต่ “บารมี” แต่ก็ยังมีคนกลัว กลัวจนกระทั่งเกิดความคิดเชยๆ อย่างจะให้พระมหากษัตริย์ต้องปฏิญาณตนก่อนเข้ารับตำแหน่งก็ยังมี ไม่รู้เรียนจบกันมาได้อย่างไร
ในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปฏิญาณตนต่อพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์ด้วย สำหรับพระมหากษัตริย์นั้นการเข้าสู่ความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ การมีพิธีบรมราชาภิเษก และพระมหากษัตริย์ก็จะมีพระราชดำรัสต่ออาณาประชาราษฎร์ เช่น ในกรณีของรัชกาลปัจจุบัน พระราชดำรัสนั้นคือ “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พิธีบรมราชาภิเษกเป็นพิธีการที่เป็นทางการ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ และทรงรับคำปฏิญาณหรือสาบานตนจากสมาชิกรัฐสภา จากเหล่าทหารทั้งหลาย การมีความคิดให้พระมหากษัตริย์ต้องปฏิญาณตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง จึงเป็นเรื่องที่เชย และแสดงความเขลาอย่างน่าขบขัน แต่ก็เกิดขึ้นแล้วในเมืองไทย
สมัยก่อนไม่เคยมีการแสดงความคิดเห็นเชยๆ แบบนี้ มีอาจารย์จุฬาฯ คนหนึ่งไม่ได้ลงชื่อร่วมขอแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 อาจารย์คนนั้นถูกเพื่อนๆ ตำหนิว่า “ไม่ก้าวหน้า” “ความก้าวหน้า” ในความคิดของนักวิชาการบางคนหมายความว่า จะต้องสามารถวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ หรือไม่ก็สามารถเปลือยอก หรือเขียนว่าเคยนอนกับใครมาแล้วบ้างได้อย่างหน้าตาเฉย
ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ความสับสนระหว่างสิ่งที่เลวทรามกับความถูกต้อง การรัฐประหารเป็นสิ่งที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญและไม่ควรเกิดขึ้น แต่การโกงกิน การคอร์รัปชันทางนโยบาย และการแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมืองก็เป็นสิ่งที่เลวและผิดเช่นกัน แม้ว่าการรัฐประหารจะก่อให้เกิดการลงโทษนักการเมือง และเกิดเหตุการณ์อีกหลายอย่าง แต่การที่ประณามว่า การรัฐประหารไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงควรยกเลิกการกระทำทั้งปวงที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรัฐประหารจึงเป็นตรรกที่สับสนอย่างยิ่ง
เป็นที่น่าสังเกตว่า การเคลื่อนไหวให้เลิกทุกสิ่งที่เกิดจากรัฐประหารกับข้อเสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน
ในสมัยก่อนบุคคลที่ถูกข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากที่สุดคือ คุณสุลักษณ์ ศิวรักษ์ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคุณสุลักษณ์ เคยถูกรับโทษจำคุกแต่อย่างใด คุณสุลักษณ์นั้นเป็นบุคคลผู้เขียน และพูดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในลักษณะที่ “ติเพื่อก่อ” มากที่สุด ต่างกับพวกวิจารณ์สถาบันในยุคนี้ ที่มีแต่ความหยาบคายและก้าวร้าว
นักวิชาการที่วิจารณ์สถาบันมีความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์ทรงเกี่ยวข้องกับการเมือง และมีการกล่าวอ้างว่าคณะทหารกล้าทำรัฐประหารเพราะพระมหากษัตริย์ทรงเห็นชอบ ซึ่งเป็นการคาดคะเนเอาเอง โดยที่สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงอยู่ในฐานะที่จะแสดงความรู้สึกออกมาได้ หรือจะพูดในภาษาทั่วไปว่า จะ “ปฏิเสธข่าว” ได้ เพราะไม่มีคำกล่าวหาตรงๆ เป็นเพียงการคาดคิดซุบซิบกันเท่านั้น แม้จะมีการกล่าวอ้างถึง “ผู้ใกล้ชิด” บางคน เราก็ไม่อาจเชื่อถือได้ เพราะไม่มีใครรู้เห็นโดยตรงว่าจริงๆ แล้วเป็นอย่างไร แต่สามัญสำนึกบอกว่า การที่พระมหากษัตริย์จะทรงแทรกแซงทางการเมืองถึงขั้นนั้น ย่อมเป็นภัยต่อความมั่นคงของสถาบันเอง
ผู้ซึ่งวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ไปไกลถึงกับห้ามมิให้พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชดำรัส บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับบทบาทของโครงการพระราชดำริ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ศึกษาในรายละเอียดของที่มาแห่งโครงการเหล่านั้น บางคนก็ไม่ชอบสำนักงานทรัพย์สิน แต่ก็ไม่ได้ดูว่าสำนักงานทรัพย์สินไม่สามารถดำเนินการแบบธุรกิจการค้ากำไรได้อย่างเต็มที่
ผมไม่เข้าใจว่า เหตุใดคนจำนวนหนึ่งรวมถึงนักวิชาการด้วย จึงยังคงสนับสนุนทักษิณอยู่ ที่จริงในระยะแรกๆ คนจำนวนมากต่างพากันสนับสนุนทักษิณ เพราะเห็นว่าเป็นนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ต่อมาเมื่อไปรู้ข้อมูลมากขึ้น ก็จะพากันถอยห่าง แต่ที่น่ากลัวมากก็คือ ความกล้าแบบไม่กลัวผิด และไม่อายของทักษิณ หากใครได้อ่านคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็จะเข้าใจดี
เวลานี้มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง ต้องการยั่วให้ทหารออกมาปฏิวัติ การเสนอแนะจะปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์คือวิธีการยั่วยุทหารวิธีหนึ่ง คำถามก็คือ แล้วเวลานี้ฝ่ายทักษิณไม่ได้มีอำนาจเต็มที่แล้วหรือ คำตอบก็คือยังไม่เต็มที่ เพราะยังมีความคิดอยู่ว่า พระมหากษัตริย์ยังทรงอำนาจอยู่
ดังนั้น จึงเกิดการเคลื่อนไหวหลายๆ ด้านอย่างประสานสอดรับกัน ในต่างประเทศในแวดวงนักการเมือง และนักธุรกิจระดับสูงมีการประชุมปรึกษากัน และมีการสรุปว่าเมืองไทยยังไม่มีการปกครองโดยรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ มีการให้ทุนเปิดเว็บไซต์วิจารณ์สถาบันทั้งในและต่างประเทศ มีการให้เงินคนกลุ่มหนึ่งมาดำเนินการเคลื่อนไหวให้เกิดการวิจารณ์บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น เพื่อผลในระยะยาว
หลายคนฟังเขาวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ก็ทนไม่ได้เพราะคำวิจารณ์ไม่ยุติธรรม และพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ในฐานะที่จะโต้ตอบได้ ในสมัยก่อน พ.ศ. 2475 เป็นเรื่องธรรมดา เพราะเป็นยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจอย่างแท้จริง แต่ในสมัยนี้มีแต่ “บารมี” แต่ก็ยังมีคนกลัว กลัวจนกระทั่งเกิดความคิดเชยๆ อย่างจะให้พระมหากษัตริย์ต้องปฏิญาณตนก่อนเข้ารับตำแหน่งก็ยังมี ไม่รู้เรียนจบกันมาได้อย่างไร