ได้เห็นวิธีคิดเกี่ยวกับคนในแวดวงกระบวนการยุติธรรมของรัฐบาลชุดนี้แล้วก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ภายใต้ระบอบเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งโดยทุนสามานย์ ใครดำเนินการ “ถูกใจ” รัฐบาลเป็นต้องได้รับการปูนบำเหน็จทางใดทางหนึ่ง ใครดำเนินการ “ไม่ถูกใจ” ก็ต้องหาทางกำจัดทิ้งไป
“สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” และ “กรมสอบสวนคดีพิเศษ” ถือเป็น “กระบวนการยุติธรรมต้นน้ำ” ต่างก็อยู่ในอำนาจของรัฐบาลในแต่ละยุค ซึ่งในทุกยุคก็มีสภาพไม่ต่างกันคือถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟาดฟันฝ่ายตรงกันข้ามช่วยเหลือตัวเองและพวกพ้อง และบุคคลส่วนใหญ่ที่จะเจริญก้าวหน้าได้ใน 2 หน่วยงานเหล่านี้ ก็มักจะต้องรับใช้นักการเมืองเป็นสำคัญ
“สำนักงานอัยการสูงสุด” ถือเป็น “กระบวนการยุติธรรมกลางน้ำ” ทำหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน แม้ว่าในช่วงหลังจะพยายามทำตัวเหมือนองค์กรอิสระเพราะมีคณะกรรมการอัยการเป็นผู้พิจารณาอัยการด้วยกัน แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ได้เป็นกลางนัก เพราะข้าราชการสำนักงานอัยการสูงสุดก็ยังสามารถได้รับประโยชน์ทางการเมืองได้โดยมาเป็นกรรมการในองค์กรรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้รับประโยชน์ในทางผลตอบแทนที่เปิดเผยแล้ว ก็อาจจะได้รับผลตอบแทนที่เคลือบแฝงไปมากกว่านั้นหากมีการทุจริตคอร์รัปชันเกิดขึ้นในองค์กรนั้น
แม้ว่าตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะได้บัญญัติเอาไว้ในมาตรา 255 วรรคหก ว่า “พนักงานอัยการต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน” แต่ก็มีข้อความเงื่อนไขตามต่อมาว่า “เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการอัยการ” ซึ่งแปลว่าในทางปฏิบัติกรรมการอัยการต่างก็ช่วยกันอนุมัติพวกตัวเองให้รับตำแหน่งและผลประโยชน์ในรัฐวิสาหกิจได้อยู่ดี
“ศาล” เป็นกระบวนการยุติธรรม “ปลายน้ำ” แม้ดูเหมือนว่าจะมีความเป็นอิสระมากกว่ากระบวนการยุติธรรม “ต้นน้ำ” หรือ “กลางน้ำ” เพราะการโยกย้ายมีอำนาจอยู่ในกลุ่มแวดวงคนตุลาการด้วยกันเองและไม่สามารถไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจใดๆ ได้ แต่ในความเป็นจริง ก็ยังต้องอาศัยฝ่ายนิติบัญญัติในการขออนุมัติงบประมาณต่างๆ ให้กับองค์กรศาลทั้งหลายอยู่ดี จึงเป็นเรื่องที่ยากในทางปฏิบัติที่จะไม่เกิดปฏิสัมพันธ์กับนักการเมืองเสียเลย โดยเฉพาะหากมีพรรคการเมืองที่สั่งสมรวบรวมอดีตผู้พิพากษาที่จะสามารถยึดโยงเครือข่ายผู้พิพากษาได้มาก ก็มีโอกาสที่จะสั่นคลอนความยุติธรรมได้เหมือนกัน
โดยเฉพาะสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม ได้จัดหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) บางรุ่นนั้น กลับกลายเป็นเวทีสานสัมพันธ์กับพ่อค้า นักธุรกิจ ข้าราชการ และเครือข่ายนักการเมือง ให้สามารถเข้าถึงศาลได้มากขึ้น ทั้งๆ ที่คนเหล่านี้บางทีอาจจะเป็นผู้ที่ต้องถูกตัดสินคดีความในอนาคต
บางคนที่เคยเรียนหลักสูตรนี้ กำลังถูกดำเนินคดีเพราะมีทรัพย์สินในบ้านถูกขโมยจำนวนมากโดยไม่มีสาเหตุ และมีทรัพย์สินมากกว่าที่แจ้งไว้ในบัญชีทรัพย์สิน
การให้รางวัลหรือการตอบแทนต่อบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมที่ผ่านมา อาจทำให้เราเข้าใจได้ว่ากระบวนการยุติธรรมหากไร้ซึ่งการรัฐประหารและ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่พรรคเพื่อไทยต้องการได้นั้นมันมีสภาพอย่างไร และหน้าตาอย่างไร?
เมื่อวันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมามติคณะรัฐมนตรี ได้มีมติแต่งตั้งกรรมการและข้าราชการ ข้าราชการการเมืองหลายคน แต่ที่น่าสนใจได้แก่
นายชัยเกษม นิติสิริ อดีตอัยการสูงสุด ได้ถูกแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งนายชัยเกษม นิติสิริ มีประวัติเป็นคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง รวมถึง ปตท. แต่นายชัยเกษมเป็นผู้ถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ฟ้องร้องในคดีการทุจริตคอร์รัปชันการจัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX ในฐานะอดีตกรรมการบริหารบริษัท การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด แต่อัยการสั่งไม่ฟ้องคดีนี้และเป็นช่วงเวลาที่อัยการสูงสุดขัดแย้งและสั่งไม่ฟ้องตามความเห็นของ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) หลายคดี
นายอุดม มั่งมีดี อดีตผู้พิพากษาผู้ตัดสินให้จำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในข้อหาหมิ่นประมาทนายภูมิธรรม เวชชยชัย แล้วต่อมาก็กลับไปขึ้นเวทีการชุมนุมของคนเสื้อแดงปราศรัยต่อว่ากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย 2 มาตรฐาน ล่าสุดคณะรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติแต่งตั้งให้เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อดีตอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา ผู้มีผลงานมาอย่างโชกโชนในหลายมาตรฐาน โดยเคยสั่งไม่ฟ้องแกนนำ นปก.ที่บุกบ้านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เคยสั่งฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในข้อหากระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ขึ้นเวทีเปิดโปงพฤติกรรมและคำพูดของนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ “ดา ตอร์ปิโด” เพราะเจ้าหน้าที่รัฐเพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ
หลังจากที่นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ ได้ถ่วงเวลาคดีนายจักรภพ เพ็ญแข ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาเป็นเวลานานหลายปี แต่นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ ก่อนเกษียณจากตำแหน่งไม่กี่วันก็ได้ฝากผลงานเอาไว้ในขณะที่หลายคนกำลังสาละวนกับปัญหาน้ำท่วม เมื่อปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 สั่งไม่ฟ้องคดีนายจักรภพ เพ็ญแข โดยอ้างว่าพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
แต่จะเป็นรางวัลตอบแทนหรือไม่ก็ไม่ทราบได้ เพราะเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2555 นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ เข้ารับตำแหน่งกรรมการบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสถาบันการเงิน สังกัดกระทรวงการคลัง
ต่อมา วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555 คณะรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แต่งตั้งให้นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ เป็นคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมชุดใหม่
นี่คือตำแหน่งต่างๆ ที่รัฐบาลชุดนี้ประเคนให้อดีตอัยการและอดีตผู้พิพากษาเป็นคุณกับตัวเอง และเป็นโทษกับฝ่ายตรงกันข้ามใช่หรือไม่?
แต่ความจริงพฤติกรรมแบบนี้จึงไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แม้แต่คนเล็กๆ อย่าง พ.ต.อ.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรง (ชื่อเดิม พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา) หรือที่รู้จักกันในนาม “โอ๋ สืบ 6” ซึ่งเคยถูก ป.ป.ช.ชี้มูลมีความผิดพากลุ่มคนทำร้ายผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่เซ็นทรัลเวิลด์เมื่อปี 2549 แต่เมื่อปลายปี 2554 คณะกรรมการตำรวจในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โอ๋ สืบ 6 ได้เลื่อนตำแหน่งจากรองผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 3 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการนครบาล 6
ใบเสร็จสำคัญคือกรณีของนายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้วางถุงขนมใส่เงินสด 2 ล้านบาท ที่สำนักงานศาลยุติธรรม จนศาลได้พิพากษาให้นายพิชิฏให้จำคุก 6 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาล อีกทั้งสภาทนายความได้ถอนใบประกอบการวิชาชีพเป็นเวลา 5 ปี แต่พรรคเพื่อไทยก็สนับสนุนนายพิชิฏ ชื่นบาน ให้มาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยได้
ใบเสร็จนี้แสดงให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทยไม่ได้มองเรื่องการละเมิดอำนาจศาลด้วยการวางเงิน 2 ล้านบาทที่สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นเรื่องน่าละอาย แถมยังส่งเสริมบุคคลดังกล่าวให้มาเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยอีกด้วย
สะท้อนให้เห็นว่านักการเมืองในพรรคเพื่อไทยไม่ได้มีความรู้สึกต้องการให้กระบวนการยุติธรรมเป็นกลางอย่างที่ปากว่าหรอก เพียงแต่พรรคเพื่อไทยต้องการผลลัพธ์ของกระบวนการยุติธรรมที่ตัวเองต้องการเท่านั้น และแสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้ไม่ใช่ตัวแทนไพร่อย่างที่กล่าวอ้าง แต่ต้องการเป็น “อภิสิทธิชน” อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ใช่หรือไม่!?
ปัจจุบันรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เข้ากุมอำนาจ “กระบวนการยุติธรรมต้นน้ำ” อย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษไว้ในอุ้งมือได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เมื่อรวมกับพฤติกรรมและรางวัลที่ได้รับของอัยการรุ่นพี่มีเอาไว้ให้เห็นเป็นแบบอย่างจึงย่อมสงสัยได้ว่าอัยการรุ่นน้องที่ตามกันมาในคณะกรรมการอัยการกำลังเดินรอยตามรุ่นพี่หรือไม่ แม้แต่กรมราชทัณฑ์ซึ่งเป็นปลายสุดทางของการลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมก็ยังถูกวางตัวบุคคลเอาไว้รับใช้รัฐบาลอย่างเต็มที่
เราจึงไม่ควรประหลาดใจอะไรเลยที่อัยการยุคนี้ไม่ฎีกาคดีหลีกเลี่ยงภาษีหุ้น ชิน คอร์ปอเรชั่น โดยนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์, คุณหญิงพจมาน ชินวัตร และนางกาญจนาภา หงส์เหิน ทั้งๆ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาขัดแย้งกัน อีกทั้งยังมีความเห็นประธานศาลอุทธรณ์ให้ความเห็นแย้งกับองค์คณะผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
เราจึงไม่ควรประหลาดใจเช่นกันที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเตรียมตั้งธงยุติคดี “ขบวนการล้มเจ้า” ก่อนสงกรานต์ ทั้งๆ ที่เพิ่งได้หลักฐานใหม่อีก 1 ลัง จากผู้อำนวยการส่วนกฎหมายกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจัก (กอ.รมน.)
เราจึงไม่ควรแปลกใจด้วยที่จะเกิดการเปรียบเทียบคดีของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่สารภาพว่าทำผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ แต่ถูกศาลอาญาจำคุก 85 ปี (จนบัดนี้ก็ยังไม่ให้คำพิพากษาฉบับเต็มคดีนี้กับทนายความฝ่ายจำเลย) ในขณะคดีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ นายพานทองแท้ ชินวัตร และน.ส.พินทองทา ชินวัตร ฐานร่วมกันแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มาตรา 278 และให้การต่อเจ้าพนักงานในคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งให้ทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท นั้นกรมสอบสวนคดีพิเศษกลับสั่งให้ยุติเรื่องดังกล่าว โดยอ้างว่าไม่เป็นความผิด
และหลังจากนายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อดีตอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาสั่งไม่ฟ้องนายจักรภพ เพ็ญแข ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แล้ว ทำนายเอาไว้ล่วงหน้าได้เลยว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็จะมีความเห็นสอดคล้องไปกับความเห็นของอัยการไม่เอาผิดกับนายจักรภพ เพ็ญแข หลังจากนี้
ในขณะที่อัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาให้ไต่สวนคดีทหารฆ่าประชาชน 16 ศพ แต่ในอีกด้านหนึ่งในคดีคนเสื้อแดงและชายชุดดำก่อการร้ายยิงอาวุธสงครามใส่ทหารเผาบ้านเผาเมือง อัยการกลับไม่มีความคืบหน้า โดยอ้างเพียงแค่ว่าเพราะทนาย นปช.ทำหนังสือเรียกร้องความเป็นธรรมตามมา
ในทางตรงกันข้ามกับคดีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งทนายได้ทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการเช่นกัน แต่นายศิษฐา วงศ์สุเมธ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา กลับทำหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้เพิ่มข้อหาเพิ่มเติมให้หนักขึ้นกับผู้ปราศรัยในขบวนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 46 คน
และเพื่อความสะดวกใจของอำมาตย์เสื้อแดงทั้งหลาย คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติขยายเวลาการปิดประชุมสภาฯ สมัยสามัญนิติบัญญัติสมัยสามัญไม่มีกำหนดเวลา ด้านหนึ่งเพื่อไม่ต้องให้แกนนำคนเสื้อแดงต้องไปเสี่ยงรายงานตัวต่อศาล (โดยอ้างว่ายังไม่ปิดสมัยประชุม) อีกด้านหนึ่งก็จะได้เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญและนิรโทษกรรมให้กับตัวเองและพวกพ้องโดยจับคดีทหารฆ่าประชาชนและคดีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นตัวประกันใช่หรือไม่!?
และสำหรับกระบวนการยุติธรรมขั้นใดก็ตามที่บิดเบือนเพียงเพื่อตอบสนองนักการเมืองอย่างไม่ลืมหูลืมตา ก็ต้องไปเสี่ยงเอาเองกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 ซึ่งบัญญัติเอาไว้ว่า:
“ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าการกระทำหรือไม่กระทำนั้น เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องรับโทษ รับโทษหนักขึ้น หรือต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท”
ที่ยังพูดถึงกฎหมายอยู่ก็เพราะเชื่อว่า ผู้พิพากษาส่วนใหญ่เป็นคนดี มีศีลธรรม และยังเป็นที่พึ่งหวังได้ในการกระทำภายใต้พระปรมาภิไธย แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางการถั่งโถมของทุนจากระบอบเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งที่กำลังรุกหนักในการกวาดล้างอุปสรรคเพื่อยึดครองอำนาจและผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มตน
และยังเชื่อเสมอว่า “คนชั่ว” หากแม้ “กฎหมาย” ทำอะไรไม่ได้ แต่สุดท้าย “กฎแห่งกรรม” น่าจะยังหวังที่จะจัดให้ลงโทษ “คนชั่ว” ได้!!!
“สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” และ “กรมสอบสวนคดีพิเศษ” ถือเป็น “กระบวนการยุติธรรมต้นน้ำ” ต่างก็อยู่ในอำนาจของรัฐบาลในแต่ละยุค ซึ่งในทุกยุคก็มีสภาพไม่ต่างกันคือถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟาดฟันฝ่ายตรงกันข้ามช่วยเหลือตัวเองและพวกพ้อง และบุคคลส่วนใหญ่ที่จะเจริญก้าวหน้าได้ใน 2 หน่วยงานเหล่านี้ ก็มักจะต้องรับใช้นักการเมืองเป็นสำคัญ
“สำนักงานอัยการสูงสุด” ถือเป็น “กระบวนการยุติธรรมกลางน้ำ” ทำหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน แม้ว่าในช่วงหลังจะพยายามทำตัวเหมือนองค์กรอิสระเพราะมีคณะกรรมการอัยการเป็นผู้พิจารณาอัยการด้วยกัน แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ได้เป็นกลางนัก เพราะข้าราชการสำนักงานอัยการสูงสุดก็ยังสามารถได้รับประโยชน์ทางการเมืองได้โดยมาเป็นกรรมการในองค์กรรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้รับประโยชน์ในทางผลตอบแทนที่เปิดเผยแล้ว ก็อาจจะได้รับผลตอบแทนที่เคลือบแฝงไปมากกว่านั้นหากมีการทุจริตคอร์รัปชันเกิดขึ้นในองค์กรนั้น
แม้ว่าตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะได้บัญญัติเอาไว้ในมาตรา 255 วรรคหก ว่า “พนักงานอัยการต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน” แต่ก็มีข้อความเงื่อนไขตามต่อมาว่า “เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการอัยการ” ซึ่งแปลว่าในทางปฏิบัติกรรมการอัยการต่างก็ช่วยกันอนุมัติพวกตัวเองให้รับตำแหน่งและผลประโยชน์ในรัฐวิสาหกิจได้อยู่ดี
“ศาล” เป็นกระบวนการยุติธรรม “ปลายน้ำ” แม้ดูเหมือนว่าจะมีความเป็นอิสระมากกว่ากระบวนการยุติธรรม “ต้นน้ำ” หรือ “กลางน้ำ” เพราะการโยกย้ายมีอำนาจอยู่ในกลุ่มแวดวงคนตุลาการด้วยกันเองและไม่สามารถไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจใดๆ ได้ แต่ในความเป็นจริง ก็ยังต้องอาศัยฝ่ายนิติบัญญัติในการขออนุมัติงบประมาณต่างๆ ให้กับองค์กรศาลทั้งหลายอยู่ดี จึงเป็นเรื่องที่ยากในทางปฏิบัติที่จะไม่เกิดปฏิสัมพันธ์กับนักการเมืองเสียเลย โดยเฉพาะหากมีพรรคการเมืองที่สั่งสมรวบรวมอดีตผู้พิพากษาที่จะสามารถยึดโยงเครือข่ายผู้พิพากษาได้มาก ก็มีโอกาสที่จะสั่นคลอนความยุติธรรมได้เหมือนกัน
โดยเฉพาะสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม ได้จัดหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) บางรุ่นนั้น กลับกลายเป็นเวทีสานสัมพันธ์กับพ่อค้า นักธุรกิจ ข้าราชการ และเครือข่ายนักการเมือง ให้สามารถเข้าถึงศาลได้มากขึ้น ทั้งๆ ที่คนเหล่านี้บางทีอาจจะเป็นผู้ที่ต้องถูกตัดสินคดีความในอนาคต
บางคนที่เคยเรียนหลักสูตรนี้ กำลังถูกดำเนินคดีเพราะมีทรัพย์สินในบ้านถูกขโมยจำนวนมากโดยไม่มีสาเหตุ และมีทรัพย์สินมากกว่าที่แจ้งไว้ในบัญชีทรัพย์สิน
การให้รางวัลหรือการตอบแทนต่อบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมที่ผ่านมา อาจทำให้เราเข้าใจได้ว่ากระบวนการยุติธรรมหากไร้ซึ่งการรัฐประหารและ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่พรรคเพื่อไทยต้องการได้นั้นมันมีสภาพอย่างไร และหน้าตาอย่างไร?
เมื่อวันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมามติคณะรัฐมนตรี ได้มีมติแต่งตั้งกรรมการและข้าราชการ ข้าราชการการเมืองหลายคน แต่ที่น่าสนใจได้แก่
นายชัยเกษม นิติสิริ อดีตอัยการสูงสุด ได้ถูกแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งนายชัยเกษม นิติสิริ มีประวัติเป็นคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง รวมถึง ปตท. แต่นายชัยเกษมเป็นผู้ถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ฟ้องร้องในคดีการทุจริตคอร์รัปชันการจัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX ในฐานะอดีตกรรมการบริหารบริษัท การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด แต่อัยการสั่งไม่ฟ้องคดีนี้และเป็นช่วงเวลาที่อัยการสูงสุดขัดแย้งและสั่งไม่ฟ้องตามความเห็นของ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) หลายคดี
นายอุดม มั่งมีดี อดีตผู้พิพากษาผู้ตัดสินให้จำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในข้อหาหมิ่นประมาทนายภูมิธรรม เวชชยชัย แล้วต่อมาก็กลับไปขึ้นเวทีการชุมนุมของคนเสื้อแดงปราศรัยต่อว่ากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย 2 มาตรฐาน ล่าสุดคณะรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติแต่งตั้งให้เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อดีตอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา ผู้มีผลงานมาอย่างโชกโชนในหลายมาตรฐาน โดยเคยสั่งไม่ฟ้องแกนนำ นปก.ที่บุกบ้านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เคยสั่งฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในข้อหากระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ขึ้นเวทีเปิดโปงพฤติกรรมและคำพูดของนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ “ดา ตอร์ปิโด” เพราะเจ้าหน้าที่รัฐเพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ
หลังจากที่นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ ได้ถ่วงเวลาคดีนายจักรภพ เพ็ญแข ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาเป็นเวลานานหลายปี แต่นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ ก่อนเกษียณจากตำแหน่งไม่กี่วันก็ได้ฝากผลงานเอาไว้ในขณะที่หลายคนกำลังสาละวนกับปัญหาน้ำท่วม เมื่อปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 สั่งไม่ฟ้องคดีนายจักรภพ เพ็ญแข โดยอ้างว่าพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
แต่จะเป็นรางวัลตอบแทนหรือไม่ก็ไม่ทราบได้ เพราะเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2555 นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ เข้ารับตำแหน่งกรรมการบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสถาบันการเงิน สังกัดกระทรวงการคลัง
ต่อมา วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555 คณะรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แต่งตั้งให้นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ เป็นคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมชุดใหม่
นี่คือตำแหน่งต่างๆ ที่รัฐบาลชุดนี้ประเคนให้อดีตอัยการและอดีตผู้พิพากษาเป็นคุณกับตัวเอง และเป็นโทษกับฝ่ายตรงกันข้ามใช่หรือไม่?
แต่ความจริงพฤติกรรมแบบนี้จึงไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แม้แต่คนเล็กๆ อย่าง พ.ต.อ.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรง (ชื่อเดิม พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา) หรือที่รู้จักกันในนาม “โอ๋ สืบ 6” ซึ่งเคยถูก ป.ป.ช.ชี้มูลมีความผิดพากลุ่มคนทำร้ายผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่เซ็นทรัลเวิลด์เมื่อปี 2549 แต่เมื่อปลายปี 2554 คณะกรรมการตำรวจในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โอ๋ สืบ 6 ได้เลื่อนตำแหน่งจากรองผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 3 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการนครบาล 6
ใบเสร็จสำคัญคือกรณีของนายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้วางถุงขนมใส่เงินสด 2 ล้านบาท ที่สำนักงานศาลยุติธรรม จนศาลได้พิพากษาให้นายพิชิฏให้จำคุก 6 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาล อีกทั้งสภาทนายความได้ถอนใบประกอบการวิชาชีพเป็นเวลา 5 ปี แต่พรรคเพื่อไทยก็สนับสนุนนายพิชิฏ ชื่นบาน ให้มาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยได้
ใบเสร็จนี้แสดงให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทยไม่ได้มองเรื่องการละเมิดอำนาจศาลด้วยการวางเงิน 2 ล้านบาทที่สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นเรื่องน่าละอาย แถมยังส่งเสริมบุคคลดังกล่าวให้มาเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยอีกด้วย
สะท้อนให้เห็นว่านักการเมืองในพรรคเพื่อไทยไม่ได้มีความรู้สึกต้องการให้กระบวนการยุติธรรมเป็นกลางอย่างที่ปากว่าหรอก เพียงแต่พรรคเพื่อไทยต้องการผลลัพธ์ของกระบวนการยุติธรรมที่ตัวเองต้องการเท่านั้น และแสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้ไม่ใช่ตัวแทนไพร่อย่างที่กล่าวอ้าง แต่ต้องการเป็น “อภิสิทธิชน” อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ใช่หรือไม่!?
ปัจจุบันรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เข้ากุมอำนาจ “กระบวนการยุติธรรมต้นน้ำ” อย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษไว้ในอุ้งมือได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เมื่อรวมกับพฤติกรรมและรางวัลที่ได้รับของอัยการรุ่นพี่มีเอาไว้ให้เห็นเป็นแบบอย่างจึงย่อมสงสัยได้ว่าอัยการรุ่นน้องที่ตามกันมาในคณะกรรมการอัยการกำลังเดินรอยตามรุ่นพี่หรือไม่ แม้แต่กรมราชทัณฑ์ซึ่งเป็นปลายสุดทางของการลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมก็ยังถูกวางตัวบุคคลเอาไว้รับใช้รัฐบาลอย่างเต็มที่
เราจึงไม่ควรประหลาดใจอะไรเลยที่อัยการยุคนี้ไม่ฎีกาคดีหลีกเลี่ยงภาษีหุ้น ชิน คอร์ปอเรชั่น โดยนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์, คุณหญิงพจมาน ชินวัตร และนางกาญจนาภา หงส์เหิน ทั้งๆ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาขัดแย้งกัน อีกทั้งยังมีความเห็นประธานศาลอุทธรณ์ให้ความเห็นแย้งกับองค์คณะผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
เราจึงไม่ควรประหลาดใจเช่นกันที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเตรียมตั้งธงยุติคดี “ขบวนการล้มเจ้า” ก่อนสงกรานต์ ทั้งๆ ที่เพิ่งได้หลักฐานใหม่อีก 1 ลัง จากผู้อำนวยการส่วนกฎหมายกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจัก (กอ.รมน.)
เราจึงไม่ควรแปลกใจด้วยที่จะเกิดการเปรียบเทียบคดีของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่สารภาพว่าทำผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ แต่ถูกศาลอาญาจำคุก 85 ปี (จนบัดนี้ก็ยังไม่ให้คำพิพากษาฉบับเต็มคดีนี้กับทนายความฝ่ายจำเลย) ในขณะคดีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ นายพานทองแท้ ชินวัตร และน.ส.พินทองทา ชินวัตร ฐานร่วมกันแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มาตรา 278 และให้การต่อเจ้าพนักงานในคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งให้ทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท นั้นกรมสอบสวนคดีพิเศษกลับสั่งให้ยุติเรื่องดังกล่าว โดยอ้างว่าไม่เป็นความผิด
และหลังจากนายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อดีตอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาสั่งไม่ฟ้องนายจักรภพ เพ็ญแข ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แล้ว ทำนายเอาไว้ล่วงหน้าได้เลยว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็จะมีความเห็นสอดคล้องไปกับความเห็นของอัยการไม่เอาผิดกับนายจักรภพ เพ็ญแข หลังจากนี้
ในขณะที่อัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาให้ไต่สวนคดีทหารฆ่าประชาชน 16 ศพ แต่ในอีกด้านหนึ่งในคดีคนเสื้อแดงและชายชุดดำก่อการร้ายยิงอาวุธสงครามใส่ทหารเผาบ้านเผาเมือง อัยการกลับไม่มีความคืบหน้า โดยอ้างเพียงแค่ว่าเพราะทนาย นปช.ทำหนังสือเรียกร้องความเป็นธรรมตามมา
ในทางตรงกันข้ามกับคดีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งทนายได้ทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการเช่นกัน แต่นายศิษฐา วงศ์สุเมธ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา กลับทำหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้เพิ่มข้อหาเพิ่มเติมให้หนักขึ้นกับผู้ปราศรัยในขบวนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 46 คน
และเพื่อความสะดวกใจของอำมาตย์เสื้อแดงทั้งหลาย คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติขยายเวลาการปิดประชุมสภาฯ สมัยสามัญนิติบัญญัติสมัยสามัญไม่มีกำหนดเวลา ด้านหนึ่งเพื่อไม่ต้องให้แกนนำคนเสื้อแดงต้องไปเสี่ยงรายงานตัวต่อศาล (โดยอ้างว่ายังไม่ปิดสมัยประชุม) อีกด้านหนึ่งก็จะได้เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญและนิรโทษกรรมให้กับตัวเองและพวกพ้องโดยจับคดีทหารฆ่าประชาชนและคดีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นตัวประกันใช่หรือไม่!?
และสำหรับกระบวนการยุติธรรมขั้นใดก็ตามที่บิดเบือนเพียงเพื่อตอบสนองนักการเมืองอย่างไม่ลืมหูลืมตา ก็ต้องไปเสี่ยงเอาเองกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 ซึ่งบัญญัติเอาไว้ว่า:
“ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าการกระทำหรือไม่กระทำนั้น เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องรับโทษ รับโทษหนักขึ้น หรือต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท”
ที่ยังพูดถึงกฎหมายอยู่ก็เพราะเชื่อว่า ผู้พิพากษาส่วนใหญ่เป็นคนดี มีศีลธรรม และยังเป็นที่พึ่งหวังได้ในการกระทำภายใต้พระปรมาภิไธย แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางการถั่งโถมของทุนจากระบอบเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งที่กำลังรุกหนักในการกวาดล้างอุปสรรคเพื่อยึดครองอำนาจและผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มตน
และยังเชื่อเสมอว่า “คนชั่ว” หากแม้ “กฎหมาย” ทำอะไรไม่ได้ แต่สุดท้าย “กฎแห่งกรรม” น่าจะยังหวังที่จะจัดให้ลงโทษ “คนชั่ว” ได้!!!