คำถามของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ตัวแทนพรรคชาติไทยพัฒนา ได้เปิดประเด็นสอบถามไปยัง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง!!!?
เพราะแม้ว่า พล.อ.สนธิ จะได้พยายามพูดในภายหลังจากวันดังกล่าวว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ไม่ได้เกี่ยวข้องหรืออยู่เบื้องหลังการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่ก็เป็นการพูดตามวงของสื่อเล็กๆ บางค่าย โดยที่ไม่ได้เป็นกระแสข่าวมากเหมือนกับวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552 ที่ พล.อ.สนธิได้พูดเหมือนทำให้เกิดความคลุมเครือต่อทั้งประธานองคมนตรีและสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า:
“คำถามบางประการตายแล้วก็ตอบไม่ได้”
พลันที่กระแสข่าวกำลังจะสนใจว่าการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง แกนนำคนเสื้อแดงหลายคนต่างออกมารีบประสานเสียงกันอย่างพร้อมเพรียงในทำนองว่า
“ไม่ต้องสนใจว่าใครอยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร ขอให้ทุกคนเดินหน้าเพื่อความปรองดอง และลืมเรื่องในอดีต”
แม้ดูเหมือนจะเป็นประเด็นเล็กๆ แต่ความจริงแล้วถือเป็นประเด็นใหญ่ เพราะหากการรัฐประหารไม่ได้เกี่ยวข้องกับอำมาตย์อย่างที่ พล.ต.สนั่นพยายามจะตั้งคำถาม ก็ย่อมมีความหมายที่เป็นไปได้หลายประการดังนี้คือ:
หากสมมติว่าสิ่งที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ได้ตั้งคำถามนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้เป็นความจริง และสมมติต่อว่าสิ่งที่มวลชนคนเสื้อแดงได้ถูกแกนนำปลุกให้เชื่อว่า พล.อ.เปรมและอำมาตย์อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารนั้นเป็นเรื่องจริง ก็ย่อมหมายความว่าวันนี้แกนนำคนเสื้อแดงต่างไม่สนใจอุดมการณ์ที่สั่งสอนให้มวลชนเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อโค่นล้มอำมาตย์แล้ว และในท้ายที่สุดต่างก็กลบเกลื่อนบอกให้ “ลืมเรื่องในอดีต” โดยนำเอาเรื่องคำถามของ พล.ต.สนั่นมาเป็นการจัดฉากที่ถูกออกแบบเอาไว้ล่วงหน้า แล้วจับมือกับอำมาตย์เพียงเพราะตัวเองมีอำนาจและผลประโยชน์อยู่ในมือเป็น “อำมาตย์เศรษฐีใหม่” โดยทิ้ง “ศพคนเสื้อแดง” และ “คดีอาญาของคนเสื้อแดง” ให้เป็นเพียงแค่เหยื่อและบันไดในการเข้าสู่อำนาจของตัวเองเท่านั้น อย่างนี้เขาเรียกว่าแกนนำเสื้อแดง “แกล้งโง่”
หรือไม่เช่นนั้นก็แปลว่า สิ่งที่แกนนำคนเสื้อแดงปลุกระดมมาโดยตลอดหลายปีมานั้นเป็นสิ่งที่แกนนำคนเสื้อแดงเข้าใจผิดไปเอง จึงพร้อมจับมือกับอำมาตย์ได้ อย่างนี้เขาเรียกว่าแกนนำเสื้อแดง “โง่จริง”
หรือไม่ใช่นั่นก็หมายความว่าแกนนำคนเสื้อแดงตั้งใจ โดยการปลุกระดมโกหกหลอกลวงมวลชนของตัวเองแบบไร้ยางอาย วันนี้จึงพร้อมจับมือกับอำมาตย์ได้เช่นกัน อย่างนี้เขาเรียกว่าแกนนำเสื้อแดง “ชั่วจริง”
และไม่ว่าจะเป็นการ “แกล้งโง่” หรือ “โง่จริง” หรือ “ชั่วจริง” ถ้าเป็นมวลชนคนเสื้อแดงที่เชื่อในอุดมการณ์และต่อสู้เพื่อความถูกต้องในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ ก็สมควรจะต้องประณามตั้งคำถามแรงๆ แกนนำของตัวเอง
หรือถ้าไม่เป็นเช่นนั้นก็หมายความว่ามวลชนคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ไม่ได้มีอุดมการณ์อะไรเลยและเป็นพวกถูกจูงจมูกที่ไร้สติปัญญาหรือเป็นพวกที่มาด้วยอามิสที่แกนนำเท่านั้น?
เพราะหาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในฐานะประธานองคมนตรีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารแล้ว ก็หมายความว่าการเผชิญหน้าระหว่างอำนาจจะถูกตัดตอนสูงสุดอยู่เพียงแค่การทำรัฐประหารของหัวหน้าคณะรัฐประหารเท่านั้น และหมายความว่าสถาบันตุลาการซึ่งไม่ได้ถูกเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจโดยคณะรัฐประหารได้ดำเนินการไปตามครรลองของกฎหมายที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้มีใครสั่งการได้แต่ประการใด
และไม่ว่าจะมีข้อบกพร่องอย่างไรในอดีตกับสถาบันตุลาการ แต่อย่างน้อยในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ก็ได้พิสูจน์แล้วจากผลสำรวจหลายครั้งว่าประชาชนในประเทศนี้มีความเชื่อถือในความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นกลางของสถาบันศาลมากที่สุด อีกทั้งยังมีหลักฐานที่ปรากฏเป็นเหตุการณ์ “ก่อน” คำพิพากษานั้น ไม่มีนักการเมืองคนใดติดใจว่าจะมีใครมาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยได้ และจะยอมรับผลของการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังปรากฏหลักฐานดังต่อไปนี้
19 มกราคม พ.ศ. 2550 น.ต.ศิธา ทิวารี ในฐานะโฆษกพรรคไทยรักไทย ได้ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีที่นักข่าวถามว่า “หากเนื้อหาของรัฐธรรมนูญไม่ถูกใจนักการเมืองจะทำอย่างไร” น.ต.ศิธา ตอบว่า:
“พรรคการเมืองคงไม่มีสิทธิ์ทำอะไร อยู่ที่ประชาชนลงมติ ถ้าทุกคนส่วนใหญ่รับหลักการใดๆ ทุกคนก็ต้องรับหลักการนั้นด้วย”
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้ให้สัมภาษณ์ก่อนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยล่วงหน้า 1 วันว่า:
“ไม่ว่าผลของคดีจะออกมาอย่างไร ก็จะไม่มีการออกมาประท้วงคำตัดสินและแสดงพลังอะไรทั้งสิ้น.. แม้ในกรณีที่ผลการตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดก็ตาม”
หรือแม้แต่การเข้าสู่คดีความในการซื้อที่ดินรัชดาภิเษกนั้น ได้ปรากฏอย่างชัดเจนถึงคำสัมภาษณ์และคำแถลงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลายครั้งว่าเชื่อมั่นในกระบวนการศาล โดยไม่มีใครติดใจในกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และไม่มีใครติดใจในเรื่องการตัดสินโดยศาลเดียวคือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังตัวอย่างเช่น
8 มกราคม พ.ศ. 2551 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แจกจ่าย “แถลงการณ์” โดยชี้แจงสาเหตุที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทย โดยในแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวปรากฏข้อความบางตอนเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมดังนี้:
“ผมขอเรียนยืนยันว่า คุณหญิงพจมานและผมพร้อมที่จะต่อสู้ทุกคดีและทุกข้อกล่าวหา เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของครอบครัว โดยผมและครอบครัวมีความเชื่อมั่นว่า จะได้รับความเป็นธรรมและความยุติธรรมจากสถาบันตุลาการ... ผมพร้อมที่จะเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์และต่อสู้คดีความตามกระบวนการยุติธรรม...ดังนั้นผมขอเรียนยืนยันต่อพี่น้องชาวไทยว่า เมื่อได้เวลาอันสมควร ผมจะเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผมและครอบครัว ตามกระบวนการยุติธรรมอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปตามหลักนิติธรรมอย่างแน่นอน”
และในวันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้กลับมาประเทศไทย ได้มาแถลงข่าวซ้ำอีกครั้งในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ความตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมว่า:
“เมื่อเหตุการณ์มันคลี่คลายจากการเลือกตั้ง และประชาธิปไตยกลับคืนมาแล้ว ผมจำเป็นที่จะต้องมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์และก็มารักษาชื่อเสียงของผมที่ถูกทำลายอย่างไม่เป็นธรรม...วันนี้ก็ขอกลับมาอยู่บนผืนแผ่นดินไทย คงจะใช้เวลากับการต่อสู้คดี รักษาชื่อเสียงของตัวเองที่ถูกทำลายอย่างไม่เป็นธรรม”
หลักฐานที่นำมาแสดงข้างต้นเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่มีใครไม่พอใจหรือประท้วงกระบวนการที่เกิดขึ้น “ก่อน” คำพิพากษา และทุกคนต่างเชื่อมั่นต่อศาลทั้งสิ้น
ในเวลานั้น ไม่มีใครติงว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือและทำตามใบสั่งของอำมาตย์ไม่สามารถจะไว้วางใจได้
ในเวลานั้น ไม่มีใครติงเป็นการล่วงหน้าว่าจะไม่ยอมรับผลของคำพิพากษาเพราะมี คตส.จัดตั้งมาจากการรัฐประหาร
ในเวลานั้น ไม่มีใครพูดถึงว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นศาลชั้นเดียวที่ไม่สามารถยอมรับได้
ในเวลานั้น ไม่มีใครพูดว่าจะไม่ยอมรับการลงประชามติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพราะบรรยากาศอยู่ในช่วงการรัฐประหารและการประกาศกฎอัยการศึก
แสดงให้เห็นว่า “อำมาตยาธิปไตย” จึงเป็นเพียงวาทกรรมที่ผลิตขึ้นมาในภายหลัง หลังจากที่กลุ่มและพวกทักษิณไม่พอใจผลของคำพิพากษาเท่านั้น จึงผลิตวาทกรรมให้ดูเหมือนว่าการรัฐประหารครั้งนี้จึงต้องมี “อำมาตย์” อยู่เบื้องหลังสั่งการทั้งการ “รัฐประหาร” และ “ศาล” เพื่อให้กลุ่มทักษิณและพวกจะได้มีความชอบธรรมไม่รับคำตัดสินมากขึ้น
แล้วกระบวนการยุติธรรมแบบไหนเล่าที่คนอย่าง นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร จึงจะเรียกมันว่า “ยุติธรรม”
คำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือกระบวนการแบบไหนก็ได้ที่ทักษิณและพวก “ทำผิดแล้วไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องสำนึก และทำผิดแล้วไม่ต้องรับโทษ” ใช่หรือไม่?
เหมือนกับที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดีซุกหุ้นภาค 1 (พ.ศ. 2547) ได้ตัดสินเป็นคุณกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แล้วปรากฏว่าภรรยาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่ลงเสียงสนับสนุนทักษิณในคดีซุกหุ้นภาค 1 ในคราวนั้นบังเอิญในปีเดียวกันถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อีกทั้งมีพยานให้ปากคำว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนได้ถูกนักการเมืองยื่นข้อเสนอให้ลูกชายของตุลาการท่านนั้นซึ่งทำงานอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศย้ายไปเป็นเลขาทูตที่ไหนก็ได้ และตุลาการบางท่านได้อ้างเหตุผลทางการเมืองว่าประชาชนกว่า 11 ล้านคนเลือกมาโดยไม่ได้ใช้เหตุผลตามข้อเท็จจริงและทางกฎหมายที่ได้บัญญัติเอาไว้ จริงหรือไม่?
10 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ต้องถูกบันทึกในประวัติศาสตร์อีกครั้งที่นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้วางถุงขนม 2 ล้านบาท ที่สำนักงานศาลยุติธรรม จนศาลได้พิพากษาสั่งจำคุกนายพิชิฏให้จำคุก 6 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาล อีกทั้งสภาทนายความได้ถอนใบประกอบการวิชาชีพเป็นเวลา 5 ปี
และพรรคเพื่อไทยก็สนับสนุนคนพรรค์นี้ให้มาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีของพรรคเพื่อไทยได้!!!!
เพียงแค่นี้เราก็เห็นได้ชัดแล้วว่า คนอย่างนักโทษชายทักษิณเพรียกหาความยุติธรรมแบบไหน?
หรือจะยกตัวอย่างอีกมุมหนึ่งที่คนอย่างนักโทษชายทักษิณ ที่อ้างว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยเป็นมิกกี้ เมาส์ไม่น่าเชื่อถือ แต่นักโทษชายทักษิณกลับเป็นคนที่ใช้บริการศาลยุติธรรมในการฟ้องร้องในทางคดีอาญาเหล่าผู้ปราศรัยและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมากที่สุด
คนอย่างอดีตผู้พิพากษานายอุดม มั่งมีดี ที่ตัดสินลงโทษจำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในคดีหมิ่นประมาทนายภูมิธรรม เวชยชัย แล้วต่อมาก็กลับขึ้นเวทีของคนเสื้อแดงปราศรัยเลือกข้างคนเสื้อแดงโดยไม่สนใจใคร
และจะว่าไปแล้วคนที่ใช้กระบวนการยุติธรรมชั้นต้นที่เลวร้ายที่สุด ก็ไม่ใช่ คตส.หรอก แต่เป็น ตำรวจ และอัยการในสมัยรัฐบาลระบอบทักษิณ มิใช่หรือที่ดำเนินคดียัดเยียดข้อหาให้กับศัตรูฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาล
ตำรวจยุคทักษิณไม่ใช่หรอกหรือที่ดำเนินคดีข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กับนายสนธิ ลิ้มทองกุล และ น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ มากที่สุดทั่วประเทศไทยในปี 2548?
และเป็นอัยการในยุคนี้ไม่ใช่หรอกหรือที่ไม่ยอมฎีกาคดีที่หลีกเลี่ยงภาษีหุ้น ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์, คุณหญิงพจมาน ชินวัตร, และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน ทั้งๆ ที่ศาลอุทธรณ์กับศาลอาญามีความเห็นแย้งกัน และเป็นอัยการยุคนี้ไม่ใช่หรือที่ดองคดีก่อการร้ายคนเสื้อแดง และสั่งเพิ่มข้อหาให้กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอีก!!!?
คนอย่างนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร เป็นคนที่ได้คืบจะเอาศอก เอาแต่ได้ ไม่รู้จักเสียสละ ไม่สำนึกผิด และไม่ยอมรับผิด แถมยังบอกแต่ว่าจะให้อภัยคนอื่นๆ อีก เมื่อสภาพเป็นเช่นนี้จึงไม่สามารถที่จะเกิดความปรองดองในสังคมไทยได้เลยอย่างแน่นอน
และคนอย่างนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร มักจะเก็บอาการในการสำแดงอำนาจอิทธิพลของตัวเองไว้ไม่อยู่ ดังปรากฏความบางตอนที่นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ได้โฟนอินมาที่สำนักงานของนายตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย บ้านสำโรง-หนองกา ต.รัตนบุรี อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ โดยปราศรัยความตอนหนึ่งว่า:
“ขอให้ทุกคนเข้มแข็ง อดทน ไม่ขัดแย้งกับใคร รัฐบาลกำลังทำงานอย่างเต็มที่ รวมทั้งเรื่องการเยียวยาคนเสื้อแดงทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ขอย้ำว่าอย่าขัดแย้งกัน อีกไม่นานผมก็จะกลับบ้านแล้วเวลานี้ใครมีปัญหาเรื่องอะไร ให้ส่งเรื่องผ่าน ส.ส.ตี๋ใหญ่ ผมจะจัดการให้เรียบร้อยให้เร็วที่สุด เรื่องนักโทษเสื้อแดง ขอให้ใจเย็นๆ ผมกำลังพูดคุยกับผู้พิพากษาอยู่ น่าจะเรียบร้อยทุกอย่าง ถ้ารัฐบาลไม่มีเงินประกันตัวเสื้อแดง ผมจะเอาเงินของผมไปประกันให้ทุกคนเอง และได้ประสานกับแกนนำคนเสื้อแดงอยู่ตลอดเวลา ถ้ากลับมาบ้านจะไม่กลับมาแบบที่ขวัญชัยพูด มันไม่เท่ ต้องกลับมาอย่างเท่ๆ แล้วจะบอกว่าจะกลับมาแบบไหนถึงจะเรียกว่าเท่”
แม้ว่านายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม จะมาแถลงโต้ในประเด็นนี้โดยอ้างว่าศาลไม่ต่อสายคุยกับการเมือง และการเมืองไม่เคยต่อคุยกับศาลนั้น ก็เป็นการพูดเพียงหลักการโดยที่ไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่าเคยมีผู้พิพากษาคนไหนพูดคุยกันผ่านนักการเมืองคนไหนจริงหรือไม่ เพราะหากมีเหตุการณ์เช่นนั้นจริง โฆษกศาลยุติธรรมก็ไม่น่าจะรู้เรื่องการเจรจาส่วนตัวเช่นนั้นได้
ปรากฏการณ์ “ผีเจาะปาก” จึงทำให้สังคมไทยต้องพิจารณาถึงกระบวนพิจารณาของศาลในยุคปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร?
สังคมไทยจึงจำเป็นต้องมองคดีย้อนหลังตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศว่าศาลเลือกตัดสินฝ่ายตรงข้ามทักษิณอย่างไร และตัดสินคดีฝ่ายทักษิณอย่างไร เพียงแค่มองย้อนหลังไปไม่กี่เดือน สังคมไทยย่อมสังเกตเห็นได้ไม่ยากว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร?
และมองต่อไปข้างหน้าว่าคดีที่ศาลอาญาจะดำเนินการต่อไปนั้นจะมี “ผลลัพธ์” ตามที่นักโทษหนีคดีอาญาแผ่นดินทักษิณ ชินวัตร พูดเอาไว้ล่วงหน้าหรือไม่?
แม้ความสั่นคลอนและความเคลือบแคลงสงสัยและถูกตั้งข้อสังเกตต่อศาลจะมีเพิ่มมากขึ้นในวันนี้ (โดยเฉพาะหลังจากที่ทักษิณได้เปิดเผยการติดต่อกับศาลไทย) แต่ก็ยังหวังว่าระบบศาลซึ่งมักจะใช้การตรวจสอบถ่วงดุลกันเองจะยังคงแก้ไขปัญหานี้ให้ผ่านพ้นเพื่อรักษาความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมด้วยตัวเองได้
และที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและสามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองได้ และควรจะเชื่อต่อไปโดยไม่ต้องให้นักการเมืองเข้ามาปฏิรูปศาลก็เพราะเชื่อว่าผู้พิพากษาส่วนใหญ่เป็นคนดี มีศีลธรรม และมีสำนึกอยู่ว่ากำลังปฏิบัติตัวและกระทำการภายใต้ “พระปรมาภิไธย”
เพราะแม้ว่า พล.อ.สนธิ จะได้พยายามพูดในภายหลังจากวันดังกล่าวว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ไม่ได้เกี่ยวข้องหรืออยู่เบื้องหลังการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่ก็เป็นการพูดตามวงของสื่อเล็กๆ บางค่าย โดยที่ไม่ได้เป็นกระแสข่าวมากเหมือนกับวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552 ที่ พล.อ.สนธิได้พูดเหมือนทำให้เกิดความคลุมเครือต่อทั้งประธานองคมนตรีและสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า:
“คำถามบางประการตายแล้วก็ตอบไม่ได้”
พลันที่กระแสข่าวกำลังจะสนใจว่าการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง แกนนำคนเสื้อแดงหลายคนต่างออกมารีบประสานเสียงกันอย่างพร้อมเพรียงในทำนองว่า
“ไม่ต้องสนใจว่าใครอยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร ขอให้ทุกคนเดินหน้าเพื่อความปรองดอง และลืมเรื่องในอดีต”
แม้ดูเหมือนจะเป็นประเด็นเล็กๆ แต่ความจริงแล้วถือเป็นประเด็นใหญ่ เพราะหากการรัฐประหารไม่ได้เกี่ยวข้องกับอำมาตย์อย่างที่ พล.ต.สนั่นพยายามจะตั้งคำถาม ก็ย่อมมีความหมายที่เป็นไปได้หลายประการดังนี้คือ:
หากสมมติว่าสิ่งที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ได้ตั้งคำถามนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้เป็นความจริง และสมมติต่อว่าสิ่งที่มวลชนคนเสื้อแดงได้ถูกแกนนำปลุกให้เชื่อว่า พล.อ.เปรมและอำมาตย์อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารนั้นเป็นเรื่องจริง ก็ย่อมหมายความว่าวันนี้แกนนำคนเสื้อแดงต่างไม่สนใจอุดมการณ์ที่สั่งสอนให้มวลชนเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อโค่นล้มอำมาตย์แล้ว และในท้ายที่สุดต่างก็กลบเกลื่อนบอกให้ “ลืมเรื่องในอดีต” โดยนำเอาเรื่องคำถามของ พล.ต.สนั่นมาเป็นการจัดฉากที่ถูกออกแบบเอาไว้ล่วงหน้า แล้วจับมือกับอำมาตย์เพียงเพราะตัวเองมีอำนาจและผลประโยชน์อยู่ในมือเป็น “อำมาตย์เศรษฐีใหม่” โดยทิ้ง “ศพคนเสื้อแดง” และ “คดีอาญาของคนเสื้อแดง” ให้เป็นเพียงแค่เหยื่อและบันไดในการเข้าสู่อำนาจของตัวเองเท่านั้น อย่างนี้เขาเรียกว่าแกนนำเสื้อแดง “แกล้งโง่”
หรือไม่เช่นนั้นก็แปลว่า สิ่งที่แกนนำคนเสื้อแดงปลุกระดมมาโดยตลอดหลายปีมานั้นเป็นสิ่งที่แกนนำคนเสื้อแดงเข้าใจผิดไปเอง จึงพร้อมจับมือกับอำมาตย์ได้ อย่างนี้เขาเรียกว่าแกนนำเสื้อแดง “โง่จริง”
หรือไม่ใช่นั่นก็หมายความว่าแกนนำคนเสื้อแดงตั้งใจ โดยการปลุกระดมโกหกหลอกลวงมวลชนของตัวเองแบบไร้ยางอาย วันนี้จึงพร้อมจับมือกับอำมาตย์ได้เช่นกัน อย่างนี้เขาเรียกว่าแกนนำเสื้อแดง “ชั่วจริง”
และไม่ว่าจะเป็นการ “แกล้งโง่” หรือ “โง่จริง” หรือ “ชั่วจริง” ถ้าเป็นมวลชนคนเสื้อแดงที่เชื่อในอุดมการณ์และต่อสู้เพื่อความถูกต้องในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ ก็สมควรจะต้องประณามตั้งคำถามแรงๆ แกนนำของตัวเอง
หรือถ้าไม่เป็นเช่นนั้นก็หมายความว่ามวลชนคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ไม่ได้มีอุดมการณ์อะไรเลยและเป็นพวกถูกจูงจมูกที่ไร้สติปัญญาหรือเป็นพวกที่มาด้วยอามิสที่แกนนำเท่านั้น?
เพราะหาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในฐานะประธานองคมนตรีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารแล้ว ก็หมายความว่าการเผชิญหน้าระหว่างอำนาจจะถูกตัดตอนสูงสุดอยู่เพียงแค่การทำรัฐประหารของหัวหน้าคณะรัฐประหารเท่านั้น และหมายความว่าสถาบันตุลาการซึ่งไม่ได้ถูกเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจโดยคณะรัฐประหารได้ดำเนินการไปตามครรลองของกฎหมายที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้มีใครสั่งการได้แต่ประการใด
และไม่ว่าจะมีข้อบกพร่องอย่างไรในอดีตกับสถาบันตุลาการ แต่อย่างน้อยในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ก็ได้พิสูจน์แล้วจากผลสำรวจหลายครั้งว่าประชาชนในประเทศนี้มีความเชื่อถือในความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นกลางของสถาบันศาลมากที่สุด อีกทั้งยังมีหลักฐานที่ปรากฏเป็นเหตุการณ์ “ก่อน” คำพิพากษานั้น ไม่มีนักการเมืองคนใดติดใจว่าจะมีใครมาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยได้ และจะยอมรับผลของการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังปรากฏหลักฐานดังต่อไปนี้
19 มกราคม พ.ศ. 2550 น.ต.ศิธา ทิวารี ในฐานะโฆษกพรรคไทยรักไทย ได้ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีที่นักข่าวถามว่า “หากเนื้อหาของรัฐธรรมนูญไม่ถูกใจนักการเมืองจะทำอย่างไร” น.ต.ศิธา ตอบว่า:
“พรรคการเมืองคงไม่มีสิทธิ์ทำอะไร อยู่ที่ประชาชนลงมติ ถ้าทุกคนส่วนใหญ่รับหลักการใดๆ ทุกคนก็ต้องรับหลักการนั้นด้วย”
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้ให้สัมภาษณ์ก่อนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยล่วงหน้า 1 วันว่า:
“ไม่ว่าผลของคดีจะออกมาอย่างไร ก็จะไม่มีการออกมาประท้วงคำตัดสินและแสดงพลังอะไรทั้งสิ้น.. แม้ในกรณีที่ผลการตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดก็ตาม”
หรือแม้แต่การเข้าสู่คดีความในการซื้อที่ดินรัชดาภิเษกนั้น ได้ปรากฏอย่างชัดเจนถึงคำสัมภาษณ์และคำแถลงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลายครั้งว่าเชื่อมั่นในกระบวนการศาล โดยไม่มีใครติดใจในกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และไม่มีใครติดใจในเรื่องการตัดสินโดยศาลเดียวคือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังตัวอย่างเช่น
8 มกราคม พ.ศ. 2551 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แจกจ่าย “แถลงการณ์” โดยชี้แจงสาเหตุที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทย โดยในแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวปรากฏข้อความบางตอนเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมดังนี้:
“ผมขอเรียนยืนยันว่า คุณหญิงพจมานและผมพร้อมที่จะต่อสู้ทุกคดีและทุกข้อกล่าวหา เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของครอบครัว โดยผมและครอบครัวมีความเชื่อมั่นว่า จะได้รับความเป็นธรรมและความยุติธรรมจากสถาบันตุลาการ... ผมพร้อมที่จะเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์และต่อสู้คดีความตามกระบวนการยุติธรรม...ดังนั้นผมขอเรียนยืนยันต่อพี่น้องชาวไทยว่า เมื่อได้เวลาอันสมควร ผมจะเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผมและครอบครัว ตามกระบวนการยุติธรรมอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปตามหลักนิติธรรมอย่างแน่นอน”
และในวันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้กลับมาประเทศไทย ได้มาแถลงข่าวซ้ำอีกครั้งในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ความตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมว่า:
“เมื่อเหตุการณ์มันคลี่คลายจากการเลือกตั้ง และประชาธิปไตยกลับคืนมาแล้ว ผมจำเป็นที่จะต้องมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์และก็มารักษาชื่อเสียงของผมที่ถูกทำลายอย่างไม่เป็นธรรม...วันนี้ก็ขอกลับมาอยู่บนผืนแผ่นดินไทย คงจะใช้เวลากับการต่อสู้คดี รักษาชื่อเสียงของตัวเองที่ถูกทำลายอย่างไม่เป็นธรรม”
หลักฐานที่นำมาแสดงข้างต้นเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่มีใครไม่พอใจหรือประท้วงกระบวนการที่เกิดขึ้น “ก่อน” คำพิพากษา และทุกคนต่างเชื่อมั่นต่อศาลทั้งสิ้น
ในเวลานั้น ไม่มีใครติงว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือและทำตามใบสั่งของอำมาตย์ไม่สามารถจะไว้วางใจได้
ในเวลานั้น ไม่มีใครติงเป็นการล่วงหน้าว่าจะไม่ยอมรับผลของคำพิพากษาเพราะมี คตส.จัดตั้งมาจากการรัฐประหาร
ในเวลานั้น ไม่มีใครพูดถึงว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นศาลชั้นเดียวที่ไม่สามารถยอมรับได้
ในเวลานั้น ไม่มีใครพูดว่าจะไม่ยอมรับการลงประชามติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพราะบรรยากาศอยู่ในช่วงการรัฐประหารและการประกาศกฎอัยการศึก
แสดงให้เห็นว่า “อำมาตยาธิปไตย” จึงเป็นเพียงวาทกรรมที่ผลิตขึ้นมาในภายหลัง หลังจากที่กลุ่มและพวกทักษิณไม่พอใจผลของคำพิพากษาเท่านั้น จึงผลิตวาทกรรมให้ดูเหมือนว่าการรัฐประหารครั้งนี้จึงต้องมี “อำมาตย์” อยู่เบื้องหลังสั่งการทั้งการ “รัฐประหาร” และ “ศาล” เพื่อให้กลุ่มทักษิณและพวกจะได้มีความชอบธรรมไม่รับคำตัดสินมากขึ้น
แล้วกระบวนการยุติธรรมแบบไหนเล่าที่คนอย่าง นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร จึงจะเรียกมันว่า “ยุติธรรม”
คำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือกระบวนการแบบไหนก็ได้ที่ทักษิณและพวก “ทำผิดแล้วไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องสำนึก และทำผิดแล้วไม่ต้องรับโทษ” ใช่หรือไม่?
เหมือนกับที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดีซุกหุ้นภาค 1 (พ.ศ. 2547) ได้ตัดสินเป็นคุณกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แล้วปรากฏว่าภรรยาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่ลงเสียงสนับสนุนทักษิณในคดีซุกหุ้นภาค 1 ในคราวนั้นบังเอิญในปีเดียวกันถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อีกทั้งมีพยานให้ปากคำว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนได้ถูกนักการเมืองยื่นข้อเสนอให้ลูกชายของตุลาการท่านนั้นซึ่งทำงานอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศย้ายไปเป็นเลขาทูตที่ไหนก็ได้ และตุลาการบางท่านได้อ้างเหตุผลทางการเมืองว่าประชาชนกว่า 11 ล้านคนเลือกมาโดยไม่ได้ใช้เหตุผลตามข้อเท็จจริงและทางกฎหมายที่ได้บัญญัติเอาไว้ จริงหรือไม่?
10 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ต้องถูกบันทึกในประวัติศาสตร์อีกครั้งที่นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้วางถุงขนม 2 ล้านบาท ที่สำนักงานศาลยุติธรรม จนศาลได้พิพากษาสั่งจำคุกนายพิชิฏให้จำคุก 6 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาล อีกทั้งสภาทนายความได้ถอนใบประกอบการวิชาชีพเป็นเวลา 5 ปี
และพรรคเพื่อไทยก็สนับสนุนคนพรรค์นี้ให้มาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีของพรรคเพื่อไทยได้!!!!
เพียงแค่นี้เราก็เห็นได้ชัดแล้วว่า คนอย่างนักโทษชายทักษิณเพรียกหาความยุติธรรมแบบไหน?
หรือจะยกตัวอย่างอีกมุมหนึ่งที่คนอย่างนักโทษชายทักษิณ ที่อ้างว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยเป็นมิกกี้ เมาส์ไม่น่าเชื่อถือ แต่นักโทษชายทักษิณกลับเป็นคนที่ใช้บริการศาลยุติธรรมในการฟ้องร้องในทางคดีอาญาเหล่าผู้ปราศรัยและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมากที่สุด
คนอย่างอดีตผู้พิพากษานายอุดม มั่งมีดี ที่ตัดสินลงโทษจำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในคดีหมิ่นประมาทนายภูมิธรรม เวชยชัย แล้วต่อมาก็กลับขึ้นเวทีของคนเสื้อแดงปราศรัยเลือกข้างคนเสื้อแดงโดยไม่สนใจใคร
และจะว่าไปแล้วคนที่ใช้กระบวนการยุติธรรมชั้นต้นที่เลวร้ายที่สุด ก็ไม่ใช่ คตส.หรอก แต่เป็น ตำรวจ และอัยการในสมัยรัฐบาลระบอบทักษิณ มิใช่หรือที่ดำเนินคดียัดเยียดข้อหาให้กับศัตรูฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาล
ตำรวจยุคทักษิณไม่ใช่หรอกหรือที่ดำเนินคดีข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กับนายสนธิ ลิ้มทองกุล และ น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ มากที่สุดทั่วประเทศไทยในปี 2548?
และเป็นอัยการในยุคนี้ไม่ใช่หรอกหรือที่ไม่ยอมฎีกาคดีที่หลีกเลี่ยงภาษีหุ้น ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์, คุณหญิงพจมาน ชินวัตร, และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน ทั้งๆ ที่ศาลอุทธรณ์กับศาลอาญามีความเห็นแย้งกัน และเป็นอัยการยุคนี้ไม่ใช่หรือที่ดองคดีก่อการร้ายคนเสื้อแดง และสั่งเพิ่มข้อหาให้กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอีก!!!?
คนอย่างนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร เป็นคนที่ได้คืบจะเอาศอก เอาแต่ได้ ไม่รู้จักเสียสละ ไม่สำนึกผิด และไม่ยอมรับผิด แถมยังบอกแต่ว่าจะให้อภัยคนอื่นๆ อีก เมื่อสภาพเป็นเช่นนี้จึงไม่สามารถที่จะเกิดความปรองดองในสังคมไทยได้เลยอย่างแน่นอน
และคนอย่างนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร มักจะเก็บอาการในการสำแดงอำนาจอิทธิพลของตัวเองไว้ไม่อยู่ ดังปรากฏความบางตอนที่นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ได้โฟนอินมาที่สำนักงานของนายตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย บ้านสำโรง-หนองกา ต.รัตนบุรี อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ โดยปราศรัยความตอนหนึ่งว่า:
“ขอให้ทุกคนเข้มแข็ง อดทน ไม่ขัดแย้งกับใคร รัฐบาลกำลังทำงานอย่างเต็มที่ รวมทั้งเรื่องการเยียวยาคนเสื้อแดงทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ขอย้ำว่าอย่าขัดแย้งกัน อีกไม่นานผมก็จะกลับบ้านแล้วเวลานี้ใครมีปัญหาเรื่องอะไร ให้ส่งเรื่องผ่าน ส.ส.ตี๋ใหญ่ ผมจะจัดการให้เรียบร้อยให้เร็วที่สุด เรื่องนักโทษเสื้อแดง ขอให้ใจเย็นๆ ผมกำลังพูดคุยกับผู้พิพากษาอยู่ น่าจะเรียบร้อยทุกอย่าง ถ้ารัฐบาลไม่มีเงินประกันตัวเสื้อแดง ผมจะเอาเงินของผมไปประกันให้ทุกคนเอง และได้ประสานกับแกนนำคนเสื้อแดงอยู่ตลอดเวลา ถ้ากลับมาบ้านจะไม่กลับมาแบบที่ขวัญชัยพูด มันไม่เท่ ต้องกลับมาอย่างเท่ๆ แล้วจะบอกว่าจะกลับมาแบบไหนถึงจะเรียกว่าเท่”
แม้ว่านายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม จะมาแถลงโต้ในประเด็นนี้โดยอ้างว่าศาลไม่ต่อสายคุยกับการเมือง และการเมืองไม่เคยต่อคุยกับศาลนั้น ก็เป็นการพูดเพียงหลักการโดยที่ไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่าเคยมีผู้พิพากษาคนไหนพูดคุยกันผ่านนักการเมืองคนไหนจริงหรือไม่ เพราะหากมีเหตุการณ์เช่นนั้นจริง โฆษกศาลยุติธรรมก็ไม่น่าจะรู้เรื่องการเจรจาส่วนตัวเช่นนั้นได้
ปรากฏการณ์ “ผีเจาะปาก” จึงทำให้สังคมไทยต้องพิจารณาถึงกระบวนพิจารณาของศาลในยุคปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร?
สังคมไทยจึงจำเป็นต้องมองคดีย้อนหลังตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศว่าศาลเลือกตัดสินฝ่ายตรงข้ามทักษิณอย่างไร และตัดสินคดีฝ่ายทักษิณอย่างไร เพียงแค่มองย้อนหลังไปไม่กี่เดือน สังคมไทยย่อมสังเกตเห็นได้ไม่ยากว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร?
และมองต่อไปข้างหน้าว่าคดีที่ศาลอาญาจะดำเนินการต่อไปนั้นจะมี “ผลลัพธ์” ตามที่นักโทษหนีคดีอาญาแผ่นดินทักษิณ ชินวัตร พูดเอาไว้ล่วงหน้าหรือไม่?
แม้ความสั่นคลอนและความเคลือบแคลงสงสัยและถูกตั้งข้อสังเกตต่อศาลจะมีเพิ่มมากขึ้นในวันนี้ (โดยเฉพาะหลังจากที่ทักษิณได้เปิดเผยการติดต่อกับศาลไทย) แต่ก็ยังหวังว่าระบบศาลซึ่งมักจะใช้การตรวจสอบถ่วงดุลกันเองจะยังคงแก้ไขปัญหานี้ให้ผ่านพ้นเพื่อรักษาความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมด้วยตัวเองได้
และที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและสามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองได้ และควรจะเชื่อต่อไปโดยไม่ต้องให้นักการเมืองเข้ามาปฏิรูปศาลก็เพราะเชื่อว่าผู้พิพากษาส่วนใหญ่เป็นคนดี มีศีลธรรม และมีสำนึกอยู่ว่ากำลังปฏิบัติตัวและกระทำการภายใต้ “พระปรมาภิไธย”