วานนี้ (27 มี.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการกกต. แถลงภายหลังการประชุมกกต.ว่า ที่ประชุมกกต.ได้มีมติเพิกถอนสิทธิการสรรหาเป็นส.ว.ของนายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ ส.ว.สรรหา เนื่องจากขาดคุณสมบัติการเข้ารับการสรรหาเป็นส.ว. โดยเป็นผู้เสียสิทธิเลือกตั้ง เพราะไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งส.ส.ปทุมธานี แทนตำแหน่งที่ว่าง เมื่อวันที่11 ม.ค. 52 รวมทั้งไม่ได้แจ้งเหตุแห่งการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
อีกทั้งจากการตรวจสอบพบว่าตั้งแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่เข้ารับการสรรหาเป็นส.ว. เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 54 นั้นไม่มีวันเลือกตั้งในพื้นที่ดังกล่าว หลังจากนี้กกต.จะดำเนินการจัดทำร่างคำวินิจฉัยเพื่อให้กกต.ลงนาม และเสนอต่อศาลฎีกา แผนกคดีเลือกตั้ง เพื่อให้เพิกถอนสิทธิการสรรหา และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี รวมทั้งดำเนินคดีอาญากับนายประจิตต์และองค์กรที่เสนอชื่อด้วยคือกรมสารนิเทศ อย่างไรก็ตามกกต.จะต้องเร่งดำเนินการจัดทำร่างคำวินิจฉัยเพิกถอนสิทธิการสรรหาส.ว.ทั้งหมดให้แล้วเสร็จก่อนถึงวันที่ 11 เม.ย.นี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้กกต.ดำเนินการพิจารณาเร่องร้องคัดค้านให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1ปีนับจากวันที่ประกาศผลการสรรหาส.ว.
อีกด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้ร้องต่อคัดค้านกระบวนสรรหา ส.ว. กล่าวว่า ได้ทำหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดินให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม กรณี ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีมติมอบหมายบุคคลที่มิใช่ผู้พิพากษาศาลฎีกาให้มาทำหน้าที่กรรมการสรรหา ส.ว. โดยถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 113 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้มีมติมอบหมายให้นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ให้มาเป็นกรรมการสรรหา ส.ว.ทั้งที่รู้หรือควรรู้ว่านายมนตรี ไม่ใช่บุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นกรรมการสรรหา ส.ว.ได้ เพราะไม่ใช่ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาแต่อย่างใด หากเป็นเพียงอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เกษียณอายุเมื่อครบ 60 ปีบริบูรณ์ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้พิพากษาในศาลฎีกา และหลังจากเกษียณได้มีตำแหน่งใหม่เป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาเท่านั้น
นายเรืองไกร กล่าวอีกว่า กรณีนี้จึงต้องด้วยการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาซึ่งถือเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรมตามความหมายในรัฐธรรมนุญ ถือว่าอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินที่จะทำการตรวจสอบได้ ดังนั้นจึงขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและข้าราชการตุลาการที่เกี่ยวข้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 244(1) (ก) (ข) และ (ค) ส่งเรื่องไปยังศาลปกครองเพื่อพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า และในขณะนี้ได้ร้องต่อ กกต. เพื่อให้วินิจฉัยว่า การสรรหา ส.ว.คราวที่ผ่านมานั้นต้องเป็นโมฆะ ใช่หรือไม่ พร้อมนี้ได้ส่งสำเนาคำร้องที่เกี่ยวข้องมาเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาด้วย
นายเรืองไกร ยังได้ตอบโต้กรณีนายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม ที่ระบุว่านายมนตรีเป็นผู้พิพากษาในศาลฎีกาคนหนึ่งที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้เป็นกรรมการสรรหา ส.ว.ในสัดส่วนของศาลยุติธรรมได้นั้นว่า ประเด็นนี้อยากจะเห็นด้วย แต่มิอาจทำได้ เนื่องจากขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 113 อย่างชัดเจน เพราะมาตรา 113 นั้น ระบุเฉพาะผู้ที่ยังเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงผู้ที่เคยเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาที่มาทำหน้าที่ผู้พิพากษาอาวุโสด้วยแต่อย่างใด กรณีนี้ จึงอาจเป็นการตีความรัฐธรรมนูญ เกินเลยไปกว่าที่บัญญัติไว้ ซึ่งถ้าดูจาก Flow จะเห็นได้ว่า ไม่สามารถโยงเส้นจากตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสมาเป็นกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาได้เลย.
อีกทั้งจากการตรวจสอบพบว่าตั้งแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่เข้ารับการสรรหาเป็นส.ว. เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 54 นั้นไม่มีวันเลือกตั้งในพื้นที่ดังกล่าว หลังจากนี้กกต.จะดำเนินการจัดทำร่างคำวินิจฉัยเพื่อให้กกต.ลงนาม และเสนอต่อศาลฎีกา แผนกคดีเลือกตั้ง เพื่อให้เพิกถอนสิทธิการสรรหา และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี รวมทั้งดำเนินคดีอาญากับนายประจิตต์และองค์กรที่เสนอชื่อด้วยคือกรมสารนิเทศ อย่างไรก็ตามกกต.จะต้องเร่งดำเนินการจัดทำร่างคำวินิจฉัยเพิกถอนสิทธิการสรรหาส.ว.ทั้งหมดให้แล้วเสร็จก่อนถึงวันที่ 11 เม.ย.นี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้กกต.ดำเนินการพิจารณาเร่องร้องคัดค้านให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1ปีนับจากวันที่ประกาศผลการสรรหาส.ว.
อีกด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้ร้องต่อคัดค้านกระบวนสรรหา ส.ว. กล่าวว่า ได้ทำหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดินให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม กรณี ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีมติมอบหมายบุคคลที่มิใช่ผู้พิพากษาศาลฎีกาให้มาทำหน้าที่กรรมการสรรหา ส.ว. โดยถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 113 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้มีมติมอบหมายให้นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ให้มาเป็นกรรมการสรรหา ส.ว.ทั้งที่รู้หรือควรรู้ว่านายมนตรี ไม่ใช่บุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นกรรมการสรรหา ส.ว.ได้ เพราะไม่ใช่ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาแต่อย่างใด หากเป็นเพียงอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เกษียณอายุเมื่อครบ 60 ปีบริบูรณ์ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้พิพากษาในศาลฎีกา และหลังจากเกษียณได้มีตำแหน่งใหม่เป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาเท่านั้น
นายเรืองไกร กล่าวอีกว่า กรณีนี้จึงต้องด้วยการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาซึ่งถือเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรมตามความหมายในรัฐธรรมนุญ ถือว่าอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินที่จะทำการตรวจสอบได้ ดังนั้นจึงขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและข้าราชการตุลาการที่เกี่ยวข้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 244(1) (ก) (ข) และ (ค) ส่งเรื่องไปยังศาลปกครองเพื่อพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า และในขณะนี้ได้ร้องต่อ กกต. เพื่อให้วินิจฉัยว่า การสรรหา ส.ว.คราวที่ผ่านมานั้นต้องเป็นโมฆะ ใช่หรือไม่ พร้อมนี้ได้ส่งสำเนาคำร้องที่เกี่ยวข้องมาเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาด้วย
นายเรืองไกร ยังได้ตอบโต้กรณีนายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม ที่ระบุว่านายมนตรีเป็นผู้พิพากษาในศาลฎีกาคนหนึ่งที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้เป็นกรรมการสรรหา ส.ว.ในสัดส่วนของศาลยุติธรรมได้นั้นว่า ประเด็นนี้อยากจะเห็นด้วย แต่มิอาจทำได้ เนื่องจากขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 113 อย่างชัดเจน เพราะมาตรา 113 นั้น ระบุเฉพาะผู้ที่ยังเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงผู้ที่เคยเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาที่มาทำหน้าที่ผู้พิพากษาอาวุโสด้วยแต่อย่างใด กรณีนี้ จึงอาจเป็นการตีความรัฐธรรมนูญ เกินเลยไปกว่าที่บัญญัติไว้ ซึ่งถ้าดูจาก Flow จะเห็นได้ว่า ไม่สามารถโยงเส้นจากตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสมาเป็นกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาได้เลย.