จากการติดตามทำความเข้าใจในเรื่องจีน ทั้งในยุคปฏิวัติ ยุคสร้างสรรค์สังคมนิยม ยุคปฏิรูปและเปิดประเทศ พบว่า จุดเปลี่ยนที่พลิกชะตากรรมของคนจีนบนผืนแผ่นดินใหญ่ ตลอดจนคนจีนทั่วโลก กันคือ “หลักคิดชี้นำ” ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน จากที่เคยผิดพลาดเพราะยึดตำรา (“ลัทธิตำรา”ในสมัยแรกเริ่มปฏิวัติ) และยึดบุคคล (“ลัทธิบูชาบุคคล” ในสมัยสร้างสรรค์สังคมนิยม) มาเป็นถูกต้องเพราะยึด “ความจริง” ซึ่งความจริงที่ว่า หมายถึงความจริงระดับสัจธรรมหรือกฎเกณฑ์ ที่เป็นแก่นแท้ของปัญหา ดำรงอยู่และดำเนินไปโดยไม่ขึ้นกับจิตใจของคนเรา อันเป็นความจริงที่ต้องเคารพและหาทางปรับแนวคิดของตนให้สอดคล้องตามนั้น
ในยุคปฏิวัติ เหมา เจ๋อตงเป็นผู้นำเสนอหลักคิดที่ถูกต้อง ต่อสู้เอาชนะหลักคิดที่ผิดพลาดได้ แต่ต่อมาในยุคสร้างสรรค์สังคมนิยม เหมา เจ๋อตงมาผิดพลาดเสียเอง ปล่อยให้คำพูดของตนกลายเป็นสิ่งถูกต้องโดยไม่ต้องได้รับการพิสูจน์จากการปฏิบัติ จนกระทั่งสิ้นชีวิตไปแล้ว เติ้งเสี่ยวผิงจึงรณรงค์ให้ทั่วทั้งพรรคปรับหลักคิดใหม่ โดยยึดเอาความเป็นจริงเป็นตัวตั้ง ใช้การปฏิบัติเป็นตัววัดความถูกต้องของสัจธรรม
ปัจจุบัน หลักคิดนี้เป็นหลักยึดพื้นฐานของพรรคฯ จีน นำมาใช้ในทุกกรณี รวมทั้งการนำเอาหลักลัทธิมาร์กซ์มาปรับใช้กับประเทศจีน ก็ถือเอาความเป็นจริงเป็นตัวตั้ง ฉันใดฉันนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็พร้อมที่จะรับเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่มิใช่ลัทธิมาร์กซ์ แต่สอดคล้องกับสภาวะเป็นจริงมาปรับใช้กับประเทศจีน
นี่คือรากฐานทางปรัชญาของประโยคอมตะที่ว่า “แมวขาว แมวดำ ขอให้จับหนูได้ ก็เป็นแมวที่ดี”
แน่ละ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ยึดมั่นในอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ ดำเนินการสร้างชาติให้เจริญรุ่งเรือง ตามหลักสังคมนิยม เพื่อบรรลุสู่ความอุดมสมบูรณ์ยิ่งกว่าประเทศทุนนิยมใดๆ ในโลกนี้ สิ่งที่พวกเขายึดมั่นก็คือ จุดยืน ทัศนะ และวิธีการที่จะนำไปสู่การเกิดขึ้นของสังคมในอุดมคติ ตามการวินิจฉัยของปรมาจารย์ ดังนั้น “แมวที่ดี” ในความหมายของพวกเขา ก็คือแมวที่สามารถช่วยให้พวกเขาสร้างสังคมนิยมให้เติบใหญ่เข้มแข็ง
อีกนัยหนึ่ง อะไรก็ได้ที่ช่วยให้พวกเขาสร้างชาติจีนให้เป็นรัฐสังคมนิยมที่เจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้ารอบด้าน คนจีนสามารถมีอิสรภาพในการพัฒนาตนเองอย่างรอบด้านยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ก็ “ดี” ทั้งนั้น
อย่าเด็ดขาด อย่าสำคัญผิดว่า จีนใช้กลไกตลาด เกิดเศรษฐีพันล้าน แล้วจีนจะเปลี่ยนเป็นรัฐทุนนิยม
ความจริงแล้ว จีนนำเอากลไกตลาดมาปรับใช้ในระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมของจีน โดยสร้างเป็น “ระบบเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน” มิใช่ระบบเศรษฐกิจตลาดทุนนิยม ดังที่มีอยู่ในกลุ่มประเทศตะวันตกทั่วไป
ด้วยหลักคิดดังกล่าว จีนจึงสร้างตลาดเงิน ตลาดทุน และอื่นๆ อีกมาก อย่างไม่รีรอ ตามหลักทฤษฎี “แมว” ซึ่งผู้เขียนขอขยายความว่า “ดีเอาหมด”
การทำงานของตลาดเงินตลาดทุน จะต้องช่วยให้ระบบเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยมแบบจีนเข้มแข็งใหญ่โต ไม่น้อยไปกว่าของประเทศมหาอำนาจทุนนิยมใดๆ ในโลก ดังนั้น ความยิ่งใหญ่ของกลุ่มบริษัทจีน ทั้งที่เป็นของรัฐ ของส่วนรวม หรือของเอกชน ถึงที่สุดแล้ว ก็จะต้องแสดงบทบาทไปในทางที่ช่วยเสริมความยิ่งใหญ่ของเศรษฐกิจโดยรวมในระบอบสังคมนิยมจีน หรือแม้แต่บริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนประเทศจีน ถึงที่สุดแล้ว ก็ต้องรับเงื่อนไขของจีน ในการสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจจีน มิใช่เข้าไปกอบโกยผลประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย
เมื่อเอาหลักทฤษฎีลัทธิมาร์กซ์มาเทียบ ก็ไม่ยากที่จะพบว่า สิ่งที่กำลังดำเนินไปในประเทศจีน ตามหลักคิดชี้นำดังกล่าวของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ล้วนแต่อิงอยู่กับหลักการวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ของคาร์ล มาร์กซ์ ที่ว่า พลังการผลิตคือพลังต้นตอกระบวนการพัฒนาของสังคมมนุษย์ การปรับปฏิรูป หรือปฏิวัติ ระบบและกลไกต่างๆ ของสังคม ถึงที่สุดแล้ว ก็เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของพลังการผลิตยิ่งๆ ขึ้นนั่นเอง
เติ้งเสี่ยวผิง นำเอาหลักทฤษฎีนี้ไปอธิบายการสร้างสังคมนิยมจีนว่า ก็คือ การ “ปลดปล่อยพลังการผลิต พัฒนาพลังการผลิต” เพื่อบรรลุสู่ “ความมั่งคั่งร่วมกัน” ซึ่งจะทำได้ด้วยการ “ปฏิวัติ” หรือ “ปฏิรูป” ซึ่งในอดีต เมื่อจีนยังถูกมหาอำนาจครอบงำ ก็ดำเนินการปลดปล่อยพลังการผลิตด้วยการ “ปฏิวัติ” ปัจจุบันนี้ จีนกำลังดำเนินการ “ปลดปล่อย” และ “พัฒนา” พลังการผลิตด้วยการ “ปฏิรูป” ระบบ กลไกต่างๆ ในทุกๆด้าน
ทำกันอย่างไร ผู้เขียนขออธิบายโดยสังเขป ในรูปของกระบวนการ “ปลดปล่อย” และ “พัฒนา” พลังการผลิต ด้วยการ “ปฏิวัติ” และ “ปฏิรูป” ระบบต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ (ระบบความสัมพันธ์ทางการผลิต) การเมือง(ระบบประชาธิปไตยประชาชน) สังคม (ระบบชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน หลักประกันสังคมและระบบสวัสดิการ) และความคิดทฤษฎี (ระบบปัญญา)
การปฏิวัติหรือปฏิรูป ระบบความสัมพันธ์ทางการผลิต ระบบการเมืองการปกครอง ระบบชีวิตสังคม ระบบความคิดปัญญา ฯลฯ ผลคือ พลังการผลิตจะได้รับการ “ปลดปล่อย” และ “พัฒนา” ไปตามการ “ปฏิวัติ” หรือ “ปฏิรูป” ของระบบต่างๆ อย่างเป็นพลวัต ไม่มีวันสิ้นสุด และดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ที่แน่นอน โดยมักจะเริ่มต้นกันที่ความคิดทฤษฎี เนื่องจากสภาวะเป็นจริงของความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตกับความสัมพันธ์ทางการผลิต (ในระดับโครงสร้างพื้นฐาน) จะสะท้อนออกมาเป็นความคิดความอ่านและทัศนะใหม่ๆในกลุ่มคนที่มีเงื่อนไขในสังคม เกิดการสั่นสะเทือนทางปัญญารับรู้ ก่อตัวเป็นชุดปัญญาใหม่ที่สะท้อนกฎเกณฑ์พัฒนาการสังคมแห่งอนาคต ต่อสู้เอาชนะชุดปัญญาเก่าที่หลุดหล่น ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของความเป็นจริงแห่งยุคสมัย แล้วก้าวขึ้นสู่ฐานะนำ กำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยกลุ่มบุคคลที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นนำใหม่ของสังคม ทำการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ชัยชนะของพลังทางการเมืองใหม่ ที่ติดอาวุธทางความคิดด้วยปัญญาชุดใหม่ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของอำนาจการเมืองอย่างขนานใหญ่ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระบบความสัมพันธ์ทางการผลิต ซึ่งจะกระตุ้นพลังการผลิตให้พัฒนาก้าวหน้ายิ่งกว่าในอดีตที่ผ่านมา สามารถยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ให้สูงขึ้นไปอีก
อาจกล่าวได้ว่า กระบวนการ “ปลดปล่อย” และ “พัฒนา” พลังการผลิต ที่กำลังดำเนินไปในประเทศจีน มีความเป็น “สากล” ที่คณะผู้นำการบริหารประเทศต่างๆ ไม่ว่าทุนนิยมหรือสังคมนิยม กำลังกล่าวขวัญถึง (ไชน่าโมเดล)
แต่ ณ วันนี้ ดูเหมือนจะมีเพียงจีนเท่านั้น ที่สามารถทำได้ และเห็นผลจริง ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะกระบวนการดังกล่าว ตั้งอยู่บนฐานทฤษฎีลัทธิมาร์กซ์ ชุดปัญญาชี้นำการปฏิบัติของพรรคและรัฐบาลจีน จึงทำให้การคิดและทำดำเนินไปอย่างไม่ขัดเขิน “ดีเอาหมด” ส่วนประเทศอื่นส่วนใหญ่ยังติดยึดอยู่กับความคิดหรือรูปการสำนึกแบบเดิมๆ ใช้ชุดปัญญาทุนนิยมชี้นำ การคิดและทำ จึงยังฝืดและฝืน “เอาดีไม่ได้”
ในยุคปฏิวัติ เหมา เจ๋อตงเป็นผู้นำเสนอหลักคิดที่ถูกต้อง ต่อสู้เอาชนะหลักคิดที่ผิดพลาดได้ แต่ต่อมาในยุคสร้างสรรค์สังคมนิยม เหมา เจ๋อตงมาผิดพลาดเสียเอง ปล่อยให้คำพูดของตนกลายเป็นสิ่งถูกต้องโดยไม่ต้องได้รับการพิสูจน์จากการปฏิบัติ จนกระทั่งสิ้นชีวิตไปแล้ว เติ้งเสี่ยวผิงจึงรณรงค์ให้ทั่วทั้งพรรคปรับหลักคิดใหม่ โดยยึดเอาความเป็นจริงเป็นตัวตั้ง ใช้การปฏิบัติเป็นตัววัดความถูกต้องของสัจธรรม
ปัจจุบัน หลักคิดนี้เป็นหลักยึดพื้นฐานของพรรคฯ จีน นำมาใช้ในทุกกรณี รวมทั้งการนำเอาหลักลัทธิมาร์กซ์มาปรับใช้กับประเทศจีน ก็ถือเอาความเป็นจริงเป็นตัวตั้ง ฉันใดฉันนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็พร้อมที่จะรับเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่มิใช่ลัทธิมาร์กซ์ แต่สอดคล้องกับสภาวะเป็นจริงมาปรับใช้กับประเทศจีน
นี่คือรากฐานทางปรัชญาของประโยคอมตะที่ว่า “แมวขาว แมวดำ ขอให้จับหนูได้ ก็เป็นแมวที่ดี”
แน่ละ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ยึดมั่นในอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ ดำเนินการสร้างชาติให้เจริญรุ่งเรือง ตามหลักสังคมนิยม เพื่อบรรลุสู่ความอุดมสมบูรณ์ยิ่งกว่าประเทศทุนนิยมใดๆ ในโลกนี้ สิ่งที่พวกเขายึดมั่นก็คือ จุดยืน ทัศนะ และวิธีการที่จะนำไปสู่การเกิดขึ้นของสังคมในอุดมคติ ตามการวินิจฉัยของปรมาจารย์ ดังนั้น “แมวที่ดี” ในความหมายของพวกเขา ก็คือแมวที่สามารถช่วยให้พวกเขาสร้างสังคมนิยมให้เติบใหญ่เข้มแข็ง
อีกนัยหนึ่ง อะไรก็ได้ที่ช่วยให้พวกเขาสร้างชาติจีนให้เป็นรัฐสังคมนิยมที่เจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้ารอบด้าน คนจีนสามารถมีอิสรภาพในการพัฒนาตนเองอย่างรอบด้านยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ก็ “ดี” ทั้งนั้น
อย่าเด็ดขาด อย่าสำคัญผิดว่า จีนใช้กลไกตลาด เกิดเศรษฐีพันล้าน แล้วจีนจะเปลี่ยนเป็นรัฐทุนนิยม
ความจริงแล้ว จีนนำเอากลไกตลาดมาปรับใช้ในระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมของจีน โดยสร้างเป็น “ระบบเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน” มิใช่ระบบเศรษฐกิจตลาดทุนนิยม ดังที่มีอยู่ในกลุ่มประเทศตะวันตกทั่วไป
ด้วยหลักคิดดังกล่าว จีนจึงสร้างตลาดเงิน ตลาดทุน และอื่นๆ อีกมาก อย่างไม่รีรอ ตามหลักทฤษฎี “แมว” ซึ่งผู้เขียนขอขยายความว่า “ดีเอาหมด”
การทำงานของตลาดเงินตลาดทุน จะต้องช่วยให้ระบบเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยมแบบจีนเข้มแข็งใหญ่โต ไม่น้อยไปกว่าของประเทศมหาอำนาจทุนนิยมใดๆ ในโลก ดังนั้น ความยิ่งใหญ่ของกลุ่มบริษัทจีน ทั้งที่เป็นของรัฐ ของส่วนรวม หรือของเอกชน ถึงที่สุดแล้ว ก็จะต้องแสดงบทบาทไปในทางที่ช่วยเสริมความยิ่งใหญ่ของเศรษฐกิจโดยรวมในระบอบสังคมนิยมจีน หรือแม้แต่บริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนประเทศจีน ถึงที่สุดแล้ว ก็ต้องรับเงื่อนไขของจีน ในการสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจจีน มิใช่เข้าไปกอบโกยผลประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย
เมื่อเอาหลักทฤษฎีลัทธิมาร์กซ์มาเทียบ ก็ไม่ยากที่จะพบว่า สิ่งที่กำลังดำเนินไปในประเทศจีน ตามหลักคิดชี้นำดังกล่าวของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ล้วนแต่อิงอยู่กับหลักการวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ของคาร์ล มาร์กซ์ ที่ว่า พลังการผลิตคือพลังต้นตอกระบวนการพัฒนาของสังคมมนุษย์ การปรับปฏิรูป หรือปฏิวัติ ระบบและกลไกต่างๆ ของสังคม ถึงที่สุดแล้ว ก็เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของพลังการผลิตยิ่งๆ ขึ้นนั่นเอง
เติ้งเสี่ยวผิง นำเอาหลักทฤษฎีนี้ไปอธิบายการสร้างสังคมนิยมจีนว่า ก็คือ การ “ปลดปล่อยพลังการผลิต พัฒนาพลังการผลิต” เพื่อบรรลุสู่ “ความมั่งคั่งร่วมกัน” ซึ่งจะทำได้ด้วยการ “ปฏิวัติ” หรือ “ปฏิรูป” ซึ่งในอดีต เมื่อจีนยังถูกมหาอำนาจครอบงำ ก็ดำเนินการปลดปล่อยพลังการผลิตด้วยการ “ปฏิวัติ” ปัจจุบันนี้ จีนกำลังดำเนินการ “ปลดปล่อย” และ “พัฒนา” พลังการผลิตด้วยการ “ปฏิรูป” ระบบ กลไกต่างๆ ในทุกๆด้าน
ทำกันอย่างไร ผู้เขียนขออธิบายโดยสังเขป ในรูปของกระบวนการ “ปลดปล่อย” และ “พัฒนา” พลังการผลิต ด้วยการ “ปฏิวัติ” และ “ปฏิรูป” ระบบต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ (ระบบความสัมพันธ์ทางการผลิต) การเมือง(ระบบประชาธิปไตยประชาชน) สังคม (ระบบชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน หลักประกันสังคมและระบบสวัสดิการ) และความคิดทฤษฎี (ระบบปัญญา)
การปฏิวัติหรือปฏิรูป ระบบความสัมพันธ์ทางการผลิต ระบบการเมืองการปกครอง ระบบชีวิตสังคม ระบบความคิดปัญญา ฯลฯ ผลคือ พลังการผลิตจะได้รับการ “ปลดปล่อย” และ “พัฒนา” ไปตามการ “ปฏิวัติ” หรือ “ปฏิรูป” ของระบบต่างๆ อย่างเป็นพลวัต ไม่มีวันสิ้นสุด และดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ที่แน่นอน โดยมักจะเริ่มต้นกันที่ความคิดทฤษฎี เนื่องจากสภาวะเป็นจริงของความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตกับความสัมพันธ์ทางการผลิต (ในระดับโครงสร้างพื้นฐาน) จะสะท้อนออกมาเป็นความคิดความอ่านและทัศนะใหม่ๆในกลุ่มคนที่มีเงื่อนไขในสังคม เกิดการสั่นสะเทือนทางปัญญารับรู้ ก่อตัวเป็นชุดปัญญาใหม่ที่สะท้อนกฎเกณฑ์พัฒนาการสังคมแห่งอนาคต ต่อสู้เอาชนะชุดปัญญาเก่าที่หลุดหล่น ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของความเป็นจริงแห่งยุคสมัย แล้วก้าวขึ้นสู่ฐานะนำ กำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยกลุ่มบุคคลที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นนำใหม่ของสังคม ทำการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ชัยชนะของพลังทางการเมืองใหม่ ที่ติดอาวุธทางความคิดด้วยปัญญาชุดใหม่ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของอำนาจการเมืองอย่างขนานใหญ่ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระบบความสัมพันธ์ทางการผลิต ซึ่งจะกระตุ้นพลังการผลิตให้พัฒนาก้าวหน้ายิ่งกว่าในอดีตที่ผ่านมา สามารถยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ให้สูงขึ้นไปอีก
อาจกล่าวได้ว่า กระบวนการ “ปลดปล่อย” และ “พัฒนา” พลังการผลิต ที่กำลังดำเนินไปในประเทศจีน มีความเป็น “สากล” ที่คณะผู้นำการบริหารประเทศต่างๆ ไม่ว่าทุนนิยมหรือสังคมนิยม กำลังกล่าวขวัญถึง (ไชน่าโมเดล)
แต่ ณ วันนี้ ดูเหมือนจะมีเพียงจีนเท่านั้น ที่สามารถทำได้ และเห็นผลจริง ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะกระบวนการดังกล่าว ตั้งอยู่บนฐานทฤษฎีลัทธิมาร์กซ์ ชุดปัญญาชี้นำการปฏิบัติของพรรคและรัฐบาลจีน จึงทำให้การคิดและทำดำเนินไปอย่างไม่ขัดเขิน “ดีเอาหมด” ส่วนประเทศอื่นส่วนใหญ่ยังติดยึดอยู่กับความคิดหรือรูปการสำนึกแบบเดิมๆ ใช้ชุดปัญญาทุนนิยมชี้นำ การคิดและทำ จึงยังฝืดและฝืน “เอาดีไม่ได้”