ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยและมีมติว่า พ.ร.ก. 2 ฉบับ ที่ยื่นตีความโดยพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ว.คำนูณ สิทธิสมาน ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
โดย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 ( พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้าน ) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ (9 ต่อ 0)
ส่วน พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันเงิน พ.ศ.2555 ( พ.ร.ก.โอนหนี้ 1.14 ล้านล้านบาท) มีมติ 7 ต่อ 2
2 เสียงข้างน้อยที่เห็นว่าการโอนหนี้ไปกองไว้ที่แบงก์ชาติ ขัดรัฐธรรมนูญ คือ นายชัช ชลวร และ นายจรัญ ภักดีธนากุล
โดยเห็นว่า พ.ร.ก.โอนหนี้ฯ สามารถออกเป็นพระราชบัญญัติได้ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร สามารถร่วมพิจารณาอภิปรายในรายละเอียดเนื้อหาได้ โดยเฉพาะเห็นว่า พ.ร.ก.โอนหนี้ฯ ที่มีการเสนอนั้น รัฐบาลยังไม่มีแผนงานที่ชัดเจน จึงไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ตามเงื่อนไขการออกพ.ร.ก.
ขณะที่ตุลาการเสียงข้างมากที่เห็นว่า พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะมีสาเหตุเนื่องมาจากวิกฤตการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ จึงมีความจำเป็นรีบด่วน ที่จะต้องใช้มาตรการป้องกัน และเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ประกอบกับยังไม่มีกรณีชี้ให้เห็นว่า ครม. ตราพ.ร.ก.ขึ้นมาโดยไม่สุจริต หรือใช้ดุลพินิจบิดเบือนหลักการรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ช่วงก่อนที่จะมีการตัดสินชี้ขาด ทางฝ่ายรัฐบาลก็ออกอาการเกรงว่า พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับจะไม่ผ่าน จึงเตรียมแผน 2 ไว้แล้วว่า หากไม่ผ่านรัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องลาออก แค่นำ พ.ร.ก.กลับไปทำเป็น พ.ร.บ. โดยเสนอเข้าสภาเพื่อพิจารณา 3 วาระรวด ก็ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด
สาเหตุที่รัฐบาลกลัวว่าจะไม่ผ่าน ไม่ใช่เรื่องข้อกฎหมาย แต่รัฐบาลคิดถึงเรื่องตัวบุคคล โดยมองว่า นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ มีความใกล้ชิดกับ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ และยังฟ้องคดีหมิ่นประมาทต่อนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เช่นเดียวกับนายจรูญ อินทจาร
ส่วนนายเฉลิมพล เอกอุรุ ก็มีนามสกุลเดียวกับส.ส.ประชาธิปัตย์ ขณะที่ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ นายจรัญ ภักดีธนากุล และนายนุรักษ์ มาประณีต ก็เคยได้รับการแต่งตั้งจาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จึงมองว่า ตุลาการเหล่านี้ อยู่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล
เมื่อพ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับผ่าน ต่อจากนี้ประชาชน ก็ได้แต่เฝ้ามองการถลุงงบประมาณ เพื่อพวกพ้อง คนในรัฐบาลไปก็แล้วกัน!!
โดย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 ( พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้าน ) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ (9 ต่อ 0)
ส่วน พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันเงิน พ.ศ.2555 ( พ.ร.ก.โอนหนี้ 1.14 ล้านล้านบาท) มีมติ 7 ต่อ 2
2 เสียงข้างน้อยที่เห็นว่าการโอนหนี้ไปกองไว้ที่แบงก์ชาติ ขัดรัฐธรรมนูญ คือ นายชัช ชลวร และ นายจรัญ ภักดีธนากุล
โดยเห็นว่า พ.ร.ก.โอนหนี้ฯ สามารถออกเป็นพระราชบัญญัติได้ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร สามารถร่วมพิจารณาอภิปรายในรายละเอียดเนื้อหาได้ โดยเฉพาะเห็นว่า พ.ร.ก.โอนหนี้ฯ ที่มีการเสนอนั้น รัฐบาลยังไม่มีแผนงานที่ชัดเจน จึงไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ตามเงื่อนไขการออกพ.ร.ก.
ขณะที่ตุลาการเสียงข้างมากที่เห็นว่า พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะมีสาเหตุเนื่องมาจากวิกฤตการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ จึงมีความจำเป็นรีบด่วน ที่จะต้องใช้มาตรการป้องกัน และเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ประกอบกับยังไม่มีกรณีชี้ให้เห็นว่า ครม. ตราพ.ร.ก.ขึ้นมาโดยไม่สุจริต หรือใช้ดุลพินิจบิดเบือนหลักการรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ช่วงก่อนที่จะมีการตัดสินชี้ขาด ทางฝ่ายรัฐบาลก็ออกอาการเกรงว่า พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับจะไม่ผ่าน จึงเตรียมแผน 2 ไว้แล้วว่า หากไม่ผ่านรัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องลาออก แค่นำ พ.ร.ก.กลับไปทำเป็น พ.ร.บ. โดยเสนอเข้าสภาเพื่อพิจารณา 3 วาระรวด ก็ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด
สาเหตุที่รัฐบาลกลัวว่าจะไม่ผ่าน ไม่ใช่เรื่องข้อกฎหมาย แต่รัฐบาลคิดถึงเรื่องตัวบุคคล โดยมองว่า นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ มีความใกล้ชิดกับ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ และยังฟ้องคดีหมิ่นประมาทต่อนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เช่นเดียวกับนายจรูญ อินทจาร
ส่วนนายเฉลิมพล เอกอุรุ ก็มีนามสกุลเดียวกับส.ส.ประชาธิปัตย์ ขณะที่ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ นายจรัญ ภักดีธนากุล และนายนุรักษ์ มาประณีต ก็เคยได้รับการแต่งตั้งจาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จึงมองว่า ตุลาการเหล่านี้ อยู่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล
เมื่อพ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับผ่าน ต่อจากนี้ประชาชน ก็ได้แต่เฝ้ามองการถลุงงบประมาณ เพื่อพวกพ้อง คนในรัฐบาลไปก็แล้วกัน!!