วานนี้ ( 13 ก.พ.) นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 ก.พ. เวลา 09.00 น.ศาลรัฐธรรมนูญจะเปิดให้สื่อมวลชนเข้ารับฟังและให้ทีวีถ่ายทอดสด ระหว่างศาลให้คู่กรณี ทั้งผู้ร้องและผู้ถูกร้องมาชี้แจงกรณีที่รับตีความร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวาง ระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และ ร่างพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วย เหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 วงเงิน 1.14ล้านล้านบาท ไว้พิจารณาว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 ซึ่งก็อยากให้ทุกคนตั้งใจฟังให้ดีว่าแต่ละฝ่ายมีเหตุผลอย่างไร เพราะศาลเองมีข้อสงสัยที่จะต้องซักถามในหลายประเด็น
เวลา 10.00 น. พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา แจ้งต่อที่ประชุมว่าขณะนี้ศาลรธน.ได้พิจารณารับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ฝากไปถึงรัฐบาลว่าเรื่องการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท อยู่ใน พรก.ทั้ง 4 ฉบับ และอาจจะมีกู้เพิ่มในปีงบประมาณต่อไป เพราะ ครม.ได้อนุมัติในหลักการสาธารณูปโภคพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาท ซึ่งสองเรื่องผนวกกันคือ การปรับแผนการการบริหารจัดการน้ำจำนวนหนึ่ง และการสร้าง อนาคตของประเทศ แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ ประชาชนเจ้าของประเทศยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน อนาคตของประเทศที่รัฐบาลวางไว้ และการใช้เงินมหาศาลมีรูปธรรมอะไรบ้าง จึงอยากเสนอให้ ครม.ใช้สิทธิตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 179 ประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อแถลงและข้อรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกรัฐสภา เกี่ยวกับการ แผนการสร้างอนาคตของประเทศ และรับฟังความเห็นจากภาคประชาชนว่า เห็นด้วยกับแผนดังกล่าวหรือไม่ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการก่อหนี้ใหม่จำนวนมหาศาล หรือรัฐบาลคิดไปเองโดยยังไม่มีรายละเอียดให้ประชาชนทราบ
วันเดียวกันมีการพิจารณาเรื่องด่วน เรื่อง พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ.2555 และ พ.ร.ก.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555 โดย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง กล่าวว่า ครม. เล็งเห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่อาจไม่หลีกเลี่ยงได้เพื่อฟื้นฟูประเทศและสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ หลังจากประสบปัญหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 ขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้ชัดเจน ประมาณการณ์ว่าจีดีพีลดลง 2.3% ในปี2554 ขยายเพียง 1.5% จากเดิม 4%
โดยมีการส่งผลให้ผู้ประกอบการวินาศภัยด้วย จึงจำเป็นต้องตราพ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ.2555 ส่วนพ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยพ.ศ.2555 วงเงินไม่เกิน 3 แสนล้านบาท จะให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน
เวลาประมาณ 12.20 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ได้เดินทางเข้าร่วมประชุมวุฒิสภา และกล่าวว่า พ.ร.ก.มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุน ภายหลังจากที่ประเทศเกิดมหาอุทกภัย ซึ่งประเด็นนี้ทางรัฐบาลมีแผนงานและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ว่าต้องบูรณะและฟื้นฟูประเทศด้วยเงินจำนวนมาก
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า อยากเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ทบทวนบทบาทตัวเอง ถอนออกไปดีกว่า เพราะถ้าต่อไปเกิดปัญหาติดขัดขึ้นจะต้องโทษพรรคประชาธิปัตย์ด้วย
เวลา 10.00 น. พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา แจ้งต่อที่ประชุมว่าขณะนี้ศาลรธน.ได้พิจารณารับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ฝากไปถึงรัฐบาลว่าเรื่องการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท อยู่ใน พรก.ทั้ง 4 ฉบับ และอาจจะมีกู้เพิ่มในปีงบประมาณต่อไป เพราะ ครม.ได้อนุมัติในหลักการสาธารณูปโภคพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาท ซึ่งสองเรื่องผนวกกันคือ การปรับแผนการการบริหารจัดการน้ำจำนวนหนึ่ง และการสร้าง อนาคตของประเทศ แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ ประชาชนเจ้าของประเทศยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน อนาคตของประเทศที่รัฐบาลวางไว้ และการใช้เงินมหาศาลมีรูปธรรมอะไรบ้าง จึงอยากเสนอให้ ครม.ใช้สิทธิตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 179 ประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อแถลงและข้อรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกรัฐสภา เกี่ยวกับการ แผนการสร้างอนาคตของประเทศ และรับฟังความเห็นจากภาคประชาชนว่า เห็นด้วยกับแผนดังกล่าวหรือไม่ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการก่อหนี้ใหม่จำนวนมหาศาล หรือรัฐบาลคิดไปเองโดยยังไม่มีรายละเอียดให้ประชาชนทราบ
วันเดียวกันมีการพิจารณาเรื่องด่วน เรื่อง พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ.2555 และ พ.ร.ก.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555 โดย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง กล่าวว่า ครม. เล็งเห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่อาจไม่หลีกเลี่ยงได้เพื่อฟื้นฟูประเทศและสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ หลังจากประสบปัญหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 ขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้ชัดเจน ประมาณการณ์ว่าจีดีพีลดลง 2.3% ในปี2554 ขยายเพียง 1.5% จากเดิม 4%
โดยมีการส่งผลให้ผู้ประกอบการวินาศภัยด้วย จึงจำเป็นต้องตราพ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ.2555 ส่วนพ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยพ.ศ.2555 วงเงินไม่เกิน 3 แสนล้านบาท จะให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน
เวลาประมาณ 12.20 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ได้เดินทางเข้าร่วมประชุมวุฒิสภา และกล่าวว่า พ.ร.ก.มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุน ภายหลังจากที่ประเทศเกิดมหาอุทกภัย ซึ่งประเด็นนี้ทางรัฐบาลมีแผนงานและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ว่าต้องบูรณะและฟื้นฟูประเทศด้วยเงินจำนวนมาก
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า อยากเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ทบทวนบทบาทตัวเอง ถอนออกไปดีกว่า เพราะถ้าต่อไปเกิดปัญหาติดขัดขึ้นจะต้องโทษพรรคประชาธิปัตย์ด้วย