xs
xsm
sm
md
lg

ปลัดมท.ของขึ้น! จวกการเมือง“อยุธยา-ปทุม”ขวางน้ำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้ (20 ก.พ.)ที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์(พล.ม.2รอ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปเป็นประธานในพิธีปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ที่ อ.ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรีว่า ตามนโยบายของ รัฐบาลมุ่งเน้นป่าต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งเราจะไปดูที่ป่าต้นน้ำ เฉพาะอย่างยิ่งตามแนวชายแดน ทั้งนี้เรา ต้องเปลี่ยนจากคำว่า ผู้บุกรุก เป็นคำว่า ผู้พิทักษ์ โดยเราต้องช่วยกันดูแลและใช้ทุกวิถีทาง สิ่งที่เราทำสำเร็จมาแล้ว คือ ดอยตุงโมเดล คือ ดูแลประชาชนแล้วให้ประชาชนมาดูแลป่า
“ผมคิดว่า แก้ได้และข้อสำคัญคือ แก้ให้คนเรายอมรับในกติกา และกฎหมายที่มีอยู่ ถ้าทุกคนยังมองว่า ไม่อยากให้น้ำท่วม แต่ทุกคนยังปลูกบ้านหลังคูคอลงอยู่ สื่อต้องไปชี้แจง ไปบอกเขา ถึงเวลาต้องเดือดร้อน จ่ายเงิน 5 พันบาทคุ้มค่าหรือไม่ ไม่คุ้มหรอก ดังนั้นบ้านไม่ควรอยู่ริมคลองเพราะผิดกฎหมาย ผมไม่ได้ไปรังแก คนจน แต่ถ้าจะทำให้บ้านเมืองมีระเบียบ ไม่มีปัญหา ก็ต้องช่วยกันเคารพกฎหมาย ไม่ว่าใครทั้งสิ้น”ผบ.ทบ.กล่าว
สอดคล้องกับ นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า หนักใจกับปัญหาการบุกรุก พื้นที่ตามบึงรับน้ำ และคูคลองต่างๆ ตามที่รัฐบาลวางแผนไว้สำหรับป้องกันอุทกภัย เนื่องจากประชาชนทุก จังหวัด บุกรุกกันหมด แม้แต่ในกรุงเทพมหานคร เจ้าท่าก็ดี จังหวัดต่าง ๆ หรือกทม.ก็ดี ควรจะตั้งเป็นวาระของแต่ ละจังหวัดในการจัดการผู้บุกรุก เพราะปัญหาขณะนี้ หลายบึงรับน้ำเหลือพื้นที่แค่ 50 % อย่างไรก็ตาม พอจัดการ เรื่องนี้เข้า ก็ถูกมองว่าเป็นประเด็นทางการเมืองอีก เพราะคนที่มาบุกรุกก็ตั้งคำถามว่าทำไมบุกรุกแรก ๆ ยังไม่ยอม จัดการ ทำไมถึงมาทำเอาช่วงนี้ ซึ่งนี่เป็นข้อบกพร่องของประเทศเรา นักการเมืองเอาใจประชาชนให้พื้นที่หลวง ไปใช้สิทธิ์กันได้ ข้าราชการก็วางเฉย ปล่อยปละละเลยมาตลอด ทำให้ปัญหายังคาอยู่ถึงทุกวันนี้
“ผู้ว่าฯคนไหนเอาจริง พอเจอการเมืองแทรกซ้อนนี้ก็เหนื่อยมาก การเมืองเขาก็หนุนบอกให้ปล่อยไปเถอะของหลวง เยอะมาก ป่าเขาก็กลายเป็นมีเจ้าของอีก ผมก็ดำเนินคดีมาตลอด หากจะทำจริงจัง ต้องปฏิรูปกันเยอะ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดคงต้องจริงจังกับเรื่องนี้ เพราะพื้นที่รับน้ำอย่างไรต้องทำ และก็จ่ายค่าตอบแทนให้เขาไป เพราะส่วนหนึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนาน”นายประชากล่าว
สำหรับการใช้ที่นาเป็นพื้นที่รับน้ำนั้น กยน. จะตรวจสอบเจ้าของพื้นที่เสียก่อน ถ้าเป็นเกษตรกรในพื้นที่ก็ยินดีที่จะจ่ายค่าชดเชย เพราะที่นาโดนน้ำท่วมก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรอยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับว่ามีพื้นที่ที่เป็นของนายทุนจำนวนมากที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร โดยเฉพาะใน จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.ปทุมธานี จึงต้องเข้มงวดเพื่อไม่ให้ใครมาสวมสิทธิ์รับเงินชดเชย
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นผู้ตรวจสอบว่าพื้นที่รับมากมีเกษตรกรจำนวนเท่าใด และใครลงทะเบียนว่าเป็นเกษตรกรในพื้นที่ ส่วนกระทรวงมหาดไทยจะกำหนดกฎเกณฑ์เรื่องที่ดิน ทั้งนี้ กยน.และกระทรวงเกษตรฯ จัดหาได้แล้วทั้งสิ้นประมาณ 1.4 ล้านไร่ โดยแบ่งออกเป็นพื้นที่กลางน้ำตอนบน 431,258 ไร่ รับน้ำได้ 828 ล้านลบ.ม., พื้นที่กลางน้ำตอนล่าง 969,140 ไร่ รับน้ำได้ 1860.70 ล้านลบ.ม. ส่วนที่รอกระทรวงเกษตรฯสำรวจเพิ่มเติมคงเหลืออีก 599,602 ไร่ เพื่อให้รองรับน้ำเพ่มเติมอีก 1,031.30 ล้านลบ.ม. และจะกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชย รวมถึงพื้นที่รับน้ำได้ทันก่อนฤดูน้ำหลากอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้แจ้งความคืบหน้าการให้เงินช่วยเหลือเยียวยา 5,000 บาท ใน 31 จังหวัด ว่า ได้จ่ายไปแล้ว 1,773,023 ครัวเรือน คิดเป็น88.37% ส่วนที่เหลิออีก 11.63% นั้นหาตัวผู้รับผลประโยชน์ไม่พบ
ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา มีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณากระทู้ถามด่วนเรื่อง การดำเนินงานของกยน.โดยนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ตามที่ กยน. มีแผน8 ด้าน วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท แต่ยังไม่ปรากฏถึงความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม จะมีแนวทางแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบสถานการณ์น้ำ โดยเฉพาะการเบิกจ่ายตามแผนจัดการน้ำ หากคิดบนสมมุติฐานถ้าน้ำท่วมเท่าเดิม ฝนตกเท่าเดิม จะจัดการน้ำอย่างไร พื้นที่ใช้ทำแก้มลิง จุดไหนแน่ ฝากถึงรัฐบาลว่าอย่าให้เกิดภาพการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองเหมือนที่ผ่านมาอีก
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชี้แจงตอนหนึ่งว่า ขณะนี้ได้พร่องน้ำตลอด เป็นไปไม่ได้ที่จะปล่อยให้น้ำท่วมซ้ำซากเป็นปีที่สอง ขอเลือกยอมเสี่ยงกับฝนแล้ง ก็ยอมรับกันตรงๆ แต่เชื่อว่าด้วย ปริมาณน้ำขนาดนี้คงไม่แล้ง ประเมินแล้วฝนแล้งการเยียวยาช่วยเหลือทำได้ง่ายกว่า ดังนั้นยอมฝนแล้งดีกว่าน้ำท่วม ขณะเดียวกันสั่งเปิดประตูระบายน้ำทุกเขื่อน
ดังนั้นจะเหลือปริมาณน้ำที่เป็นตัวปัญหาคือ 15,000-10,000 ล้านลบม. โดยระบายลง 3 แม่น้ำ คือ เจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง ให้วิ่งลงมาวันละไม่เกิน 3,000 ล้านลบม. หากบริหารจัดการได้อย่างนี้น้ำจะหมดภายใน เดือน พ.ย. สิ่งที่จะทำได้คือต้องทะลุทะลวงคูคลองทั้งห--ลาย นอกจากนี้ปีนี้เรายึดตามหลักพระราชดำริในการจัดทำและวางแผนการใช้เครื่องดันน้ำตามจุดต่างๆ ซึ่งดูแล้วน่าจะดีกว่าปีที่ผ่านมา
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่าปีที่แล้วรัฐบาลทำบ้าๆ ทำให้คนตายนั้น นายปลอดประสพ ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้คงมีผู้ว่ากทม. เท่านั้นที่ทำบ้าๆ เช่น การประกาศให้เชื่อตนคนเดียว ประกาศขอรับผิดชอบว่าน้ำ จะไม่ท่วม กทม. แต่สุดท้ายก็ท่วม กทม. หรือไม่ยอมเปิดประตูน้ำจนทำให้น้ำท่วมไปทั่วปริมณฑล รวมไปถึงการ สั่งอพยพประชาชนเมื่อน้ำท่วมมากแล้ว ทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงเพราะหนีไม่ทัน
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ใช้ กยน.ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 30 คน ซึ่งล้วนเป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับปลัดกระทรวงและอธิบดี และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการน้ำ เป็น องค์คณะแบบ Multi-disciplinary approach เข้าสังเคราะห์ปัญหา (Synthesis) และให้คำแนะนำการแก้ปัญหาน้ำซึ่ง สลับซับซ้อนไปด้วยเรื่องนิเวศวิทยา วิศวกรรม ผังเมือง เศรษฐกิจและสังคม หรือแม้แต่เรื่องการเมือง
กำลังโหลดความคิดเห็น