กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ใช่เป็นทรัพย์สิน จะใช้วิธีการเอา “เนื้อเต่ายำเต่า” โดยจะใช้มาตรา 291 มาเป็นกระสาย เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น หาทำได้ไม่
การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยโดยมีการเสนอร่างขอแก้ไขตามที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น ไม่ใช่เป็นการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แต่เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 อันเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ด้วยเหตุผลคือ
1. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่ใช่เป็นการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 291 เพราะไม่ได้มีการปฏิบัติการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยไม่มีญัตติ ( Motion) ของการขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 มาตราใด ผู้ที่ขอแก้ไขจะต้องมีญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยต้องแสดงวัตถุประสงค์หรือมีข้อขัดแย้ง ข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญมาตราใดที่ไม่สามารถใช้บังคับหรือใช้ปฏิบัติได้ หรือรัฐธรรมนูญมาตราใดขัดต่อสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อสาธารณะประโยชน์ของประชาชนที่จะใช้รัฐธรรมนูญมาตรานั้นๆอย่างไร หรือจะแก้ไขมาตราใดเพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทย อย่างไร เมื่อไม่มีญัตติที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราใดแล้ว รัฐสภาจะรับไว้พิจารณาไม่ได้เลย เพราะการดำเนินการต่อไปเป็นการทำหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 291 และผิดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 136 ( 16 ) การแก้ไขมาตรา 291 ต้องดำเนินการตามมาตรา 136 (16) เท่านั้น
ตามหลักวิชาการแล้วรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก ( Rigid Constitution ) การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรอื่นๆ จะแก้ไขได้โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เท่านั้น ส่วนการจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั้น เป็นกรณีที่ไม่อาจกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 291 แต่ต้องดำเนินการตามมาตรา 136 (16) เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก รัฐธรรมนูญได้บัญญัติแยกการแก้ไขไว้ต่างหากจากกัน เพื่อมิให้มีการใช้อำนาจยกเลิกหรือแก้ไขหรือจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินที่เข้ามามีอำนาจตามรัฐธรรมนูญนี้
รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขได้ ตามหลักวิชาการแล้วรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากมีที่มาอย่างไร การแก้ไขก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 มีที่มาจากการทำประชามติ การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ก็ต้องทำประชามติหรือได้รับความเห็นชอบจากมติของมหาชนเสียก่อนว่า ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ได้หรือไม่ รัฐธรรมนูญจึงได้บัญญัติให้ “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291” เป็นการประชุมร่วมกันของรัฐสภาไว้ในมาตรา 136 (16 ) โดยรัฐสภาต้องประชุมร่วมกันหากมีความคิดหรือมีปัญหาที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 หาใช่จัดทำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 แล้วเสนอให้รัฐสภาพิจารณาเลยนั้น ไม่อาจทำได้ จะต้องมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา 136 (16 )ให้ได้ข้อยุติเสียก่อน ว่าจะแก้ไขหรือไม่ ด้วยวิธีการอย่างไร จึงจะจัดทำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ตามข้อยุติของการประชุมรัฐสภาได้ เพราะอำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 มิใช่เป็นอำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือเป็นของรัฐบาลมาดำเนินการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้ได้อำนาจไปแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้แต่อย่างใดไม่ เพราะเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 อันเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 โดยใช้รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 มาเป็นเครื่องมืออย่างฉ้อฉล เพื่อจะทำการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หาได้ไม่ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หากรัฐสภาได้มีการดำเนินการพิจารณาต่อไปก็จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาอันเป็นความผิดทางอาญามาตรา 157 ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และเป็นการใช้สิทธิโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญที่จะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 136(16) ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291
การใช้สิทธิและเสรีภาพในรัฐสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาในรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ การใช้สิทธิของคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพในฐานะเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งไม่ใช่เป็นผู้แทนของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือเป็นผู้แทนเฉพาะบุคคลที่เลือกตนเข้ามาเท่านั้น รวมทั้งเป็นผู้แทนของทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาที่ยังไม่ได้เกิดในขณะเลือกตั้งแต่ภายหลังเกิดมาและอยู่รอดเป็นทารก ซึ่งเป็นปวงชนชาวไทยทั้งสิ้น และการใช้อำนาจนิติบัญญัติ ( อำนาจออกกฎหมาย ) โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการใช้อำนาจที่มีผลผูกพันประชาชนทั้งประเทศ และผูกพันอนาคตของชาติด้วย ดังนั้นการใช้สิทธิและเสรีภาพของสมาชิกรัฐสภา จึงเป็นสิทธิและเสรีภาพในการทำหน้าที่เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย ซึ่งผูกพันอนาคตของประชาชาติไว้ทั้งสิ้น สมาชิกรัฐสภาโดยเฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่ใช่เป็นตัวแทนของพรรคการเมืองแม้จะสังกัดพรรคการเมืองก็ตาม เพราะการจัดตั้งพรรคการเมืองก็ต้องเป็นพรรคการเมืองที่มีเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชน ไม่ใช่เจตนารมณ์ของกลุ่มคนหรือของบุคคลใด และพรรคการเมืองต้องดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยสมาชิกรัฐสภาจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550นั้น หาได้ไม่ ( ร.ธ.น. มาตรา 65 วรรคแรก 68 วรรคแรก ) ดังนั้นการใช้สิทธิและเสรีภาพของสมาชิกรัฐสภา จึงไม่อยู่ในความผูกพันแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ( ร.ธ.น. มาตรา 122 )
การใช้สิทธิและเสรีภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรครัฐบาลและคณะรัฐมนตรีที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 คือจะทำเพื่อประโยชน์แก่พรรคการเมืองที่ตนสังกัดอยู่ไม่ได้ แต่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย และต้องปราศจากการขัดกันกับแห่งผลประโยชน์ของปวงชนชาวไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นเพียงผู้แทนหรือตัวแทนของปวงชนชาวไทย ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย การใช้สิทธิและเสรีภาพของสมาชิกรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีจะก้าวล่วงละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของปวงชนชาวไทยซึ่งเป็นตัวการและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยไม่ได้ เมื่อมีการกระทำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรีที่จะยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับกับปวงชนชาวไทยโดยไม่มีมติของมหาชนเสียก่อน ทั้งไม่ได้นำปัญหาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ผ่านการประชุมร่วมของรัฐสภาตามมาตรา 136 (16) เสียก่อนนั้น ย่อมเป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ และละเมิดสิทธิ เสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของปวงชนชาวไทยที่จะต้องสูญเสียรัฐธรรมนูญ 2550 ปวงชนชาวไทยทุกคนจึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีที่ได้ร่วมกันเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาโดยตรง และปวงชนชาวไทยเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีกับพรรคการเมือง สมาชิกรัฐสภาหากมีการรับพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งในทางกฎหมายและในทางรัฐธรรมนูญ
2. ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย ตามที่ปรากฏต่อสาธารณะ ( ไทยโพสต์ 7 ก.พ.2555 ) จะมีข้อความในมาตรา 4 ว่า “ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 6 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาตรา 291/1 ถึง 291/16 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550” แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เป็นการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของ “ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” อันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 โดยอ้างการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อใช้ช่องทางของมาตรา 291 มาคุ้มครองการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่จะนำมาใช้เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ได้ แต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 136 (16) และมาตรา 291 การกระทำดังกล่าวจึงเข้าข่ายเป็นการจงใจใช้อำนาจ หน้าที่โดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 65 , 68 , 122, 136 ( 16 ) 291 , 270
ทั้งเมื่อปรากฏข้อความตามมาตรา 291/1 ถึง มาตรา 291/16 ก็ยิ่งเป็นการยืนยันได้ชัดเจนว่า ไม่ใช่เป็นกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 แต่เป็นบทบัญญัติให้มีคณะบุคคลซึ่งมีอำนาจพิเศษในการล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 โดยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้แทน คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ และให้อำนาจตนเองคือรัฐสภามีอำนาจเลือกคณะบุคคลซึ่งเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ด้วย ให้อำนาจพิเศษคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต.ที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของกกต.ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ให้เป็นผู้มีอำนาจให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีอำนาจดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติในรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำขึ้นได้ ให้มีอำนาจประกาศรับรองการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของคณะบุคคลดังกล่าวได้อีกด้วยฯลฯ อันเป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั่นเอง เพราะได้ให้อำนาจพิเศษแก่กกต.ที่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ 2550 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งสิ้นทุกมาตรา ทั้งให้อำนาจคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา เสนอรัฐสภาให้รัฐสภามีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้อีก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ……พุทธศักราช…. . จึงเป็นร่างแก้ไขที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และเป็นร่างที่ยกเลิกล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 โดยให้อำนาจพิเศษของสภาร่างรัฐธรรมนูญ วิธีการดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อได้อำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 และเป็นการกระทำที่ส่อให้เห็นว่า เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 , 122, 136 (16), 291 , 270 และขัดต่อบริบทของรัฐธรรมนูญ 2550
3. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้อำนาจตนเอง (รัฐสภา) ตั้งองค์กรพิเศษที่นอกเหนือจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 คือสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นไปตามหลักการและเหตุผล หรือตามเจตนารมณ์ที่พรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาลได้กำหนดไว้ จึงเป็นการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญตามเจตนารมณ์ของพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาล ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่ได้ระบุไว้ในหลักการและเหตุผลไว้เป็นการเฉพาะ ( Specific Objective ) แล้วว่า รัฐธรรมนูญที่จัดทำใหม่นั้น จะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้พรรคการเมืองต้องมีความมั่นคง และสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเกิดผลรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่มีการถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ไม่มีหน่วยงานที่จะตรวจสอบการทุจริตคอร์ปชั่นของทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารเป็นผู้ควบคุมองค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระเพื่อให้มีการปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ ควบคุมการใช้ดุลพินิจขององค์กรอิสระและองค์กรตุลาการได้ ทั้งนี้เพื่อให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งมีอำนาจเบ็ดเสร็จเพื่อบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน
สภาร่างรัฐธรรมนูญจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ต้องอยู่ในหลักการและเหตุผลที่กำหนดไว้ในหลักการและเหตุผลตามที่กำหนดไว้ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 นี้เท่านั้น ซึ่งก็คือต้องจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามเจตนารมณ์ของพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาลที่ได้เสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นี้ไว้ และจะจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ไม่อยู่ในหลักการและเหตุผลอันอยู่นอกเหนือเจตนารมณ์ของพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาลไม่ได้เลย เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนดเจตนารมณ์ของพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาลไว้แต่ต้นแล้ว แม้จะมีการลงมติของมหาชนภายหลัง ก็เป็นเพียงพิธีการเพื่ออาศัยมติของมหาชนมารับรองเจตนารมณ์ของพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาลที่เสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั่น
4. ในบันทึกหลักการและเหตุผลจะปรากฏสาเหตุของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่สืบทอดมาจากอำนาจของการทำรัฐประหาร จึงไม่เป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน แต่เป็นรัฐธรรมนูญที่สืบทอดมาจากอำนาจของการทำรัฐประหาร อันเป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว ก็เท่ากับว่าพรรครัฐบาลได้ยอมรับว่า การบริหารราชการแผ่นดินของพรรครัฐบาลที่ได้เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน โดยการเลือกตั้งในขณะนี้ซึ่งเป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญที่สืบทอดมาจากการทำรัฐประหารนั้น ก็เป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน หลักการและเหตุผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงเป็นเหตุผลที่ขัดแย้งกันเองอยู่ในตัว และขัดต่อหลักเหตุผลในทางกฎหมาย เพราะการเข้ามาเป็นรัฐบาลของพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังคงเป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญที่มาจากการทำรัฐประหารอยู่นั่นเองแม้จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แล้วก็ตาม ตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 จึงหาใช่เป็นเพราะรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นผลมาจากการทำรัฐประหารแต่อย่างใดไม่ แต่ตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นการกระทำเพื่อให้ได้อำนาจในการปกครองประเทศของพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาล โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ 2550
การอ้างรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นผลมาจากการทำรัฐประหารนั้น เป็นการอ้างเหตุการณ์ในอดีต เพื่อหวังผลจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สร้างอำนาจเบ็ดเสร็จหรือรวบอำนาจเบ็ดเสร็จไว้กับพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคการเมืองที่มีอำนาจปกครองอยู่ในขณะนี้นั้น มีอำนาจอยู่ไปอย่างถาวรและยาวนานตลอดไปนั่นเอง การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงเป็นเรื่องของการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ของพรรคการเมืองกับอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และมิใช่เป็นเรื่องรัฐธรรมนูญที่มาจากการทำรัฐประหารที่ ไม่เป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่ ตามหลักการและเหตุผลที่อ้างเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงเป็นหลักการและเหตุผลที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่ได้เลย เพราะเป็นการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อผลประโยชน์ของพรรคการเมืองเพื่อรวบอำนาจเบ็ดเสร็จไว้เป็นของพรรคการเมืองซึ่งเป็นรัฐบาลในขณะนี้เท่านั้น
ตามประวัติศาสตร์ทางทฤษฎีของการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ( Revolution ) แม้จะมีแนวคิดว่าการปฏิวัติเป็นพลังเชิงทำลายอย่างยิ่งก็ตาม แต่ชาวกรีกโบราณก็ยังมองการปฏิวัติมีเป็นความเป็นไปได้ต่อเมื่อคำสอนทางศีลธรรมและทางศาสนาของสังคมเสื่อมทรามลงอย่างที่สุด จอห์น มิลตัน ( John Milton ) กวีชาวอังกฤษ เห็นว่า การปฏิวัติเป็นสิทธิของสังคมในการป้องกันตนเองจากทรราชที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด เพื่อสร้างระเบียบใหม่ซึ่งสะท้อนความต้องการอย่างแท้จริงของประชาชน และการปฏิวัติเป็นวิธีการในการบรรลุสู่เสรีภาพ อิมมานูเอล คานท์ ( Immamuel Kant ) นักปรัชญาชาวเยอรมันในศตวรรษที่ 18 เชื่อว่าการปฏิวัติเป็นพลังสำหรับการก้าวรุดหน้าของมนุษยชาติ การปฏิวัติคือ “ ก้าวที่เป็นธรรมชาติ” สู่การทำให้พื้นฐานทางจริยธรรมสูงขึ้นสำหรับสังคมเป็นความจริงขึ้นมา เฮเกิล ( Hegel) นักปรัชญาชาวเยอรมันเห็นว่า การปฏิวัติคือการทำให้ชะตากรรมของมนุษย์บรรลุสู่ความสมบูรณ์แบบ และผู้นำที่ปฏิวัติมีความจำเป็นในการกระตุ้นและดำเนินการปฏิรูป ทฤษฎีของเฮเกิลเป็นรากฐานสำหรับคาร์ล มาร์กซ ( Karl Marx ) นักคิดนักปฏิวัติที่มีอิทธิพล ในเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้น ( Class Struggle) ซึ่งถือว่าเป็นการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและสังคมที่ปราศจากชนชั้น ( สังคมคอมมิวนิสต์ )
การปฏิวัติหรือรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อ 19 กันยายน 2549 จึงมิใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุและไม่มีผล แต่เป็นเรื่องที่มีผลอันมาจากเหตุ และมิใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อมุ่งทำลายหลักประชาธิปไตยเป็นการเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใดเลย การมีและการใช้รัฐธรรมนูญ 2550 มิใช่เป็นการได้อำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดไม่ เพราะมิได้มีการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารมาโดยรัฐธรรมนูญ 2550 มาเป็นรัฐบาลในขณะนี้แต่อย่างใดทั้งสิ้น แต่อำนาจการปกครองของพรรคการเมืองที่ร่วมเป็นรัฐบาลและเป็นคณะรัฐมนตรีในขณะนี้นั้น มาจากการเลือกตั้งตามหลักประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ 2550 นั่นเอง กรณีจึงไม่มีเหตุโดยรัฐธรรมนูญ 2550ที่พรรคร่วมรัฐบาลหรือรัฐบาลจะมีอำนาจหน้าที่และมีสิทธิ เสรีภาพที่จะยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยอ้างว่าเป็นการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 ได้แต่อย่างใดไม่
ประวัติศาสตร์ของชาติที่เกิดขึ้นโดยมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ไม่ก่อให้เกิดอำนาจ หน้าที่ หรือ สิทธิที่ผูกขาดแก่นักการเมือง หรือมวลชนของพรรคการเมืองที่จะดำเนินการเพื่อให้พรรคการเมืองมีอำนาจผูกขาด และสืบทอดอำนาจผูกขาดของพรรคการเมือง โดยการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ได้แต่อย่างใด เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่เลวร้ายยิ่งกว่าการปฏิวัติรัฐประหารเสียอีก เพราะเป็นการเอาอำนาจของปวงชนชาวไทยไปใช้โดยฉ้อฉล ตระบัดสัตย์ที่ให้ไว้ต่อรัฐสภาตามที่ได้ปฏิญาณไว้ว่า “ จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” เพราะเป็นการใช้อำนาจทางรัฐสภาเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ให้อำนาจอธิปไตยเป็นของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลและของมวลชนของพรรคการเมืองเท่านั้น เป็นการแยกประชาชนจากการเป็นปวงชนชาวไทยไปเป็นมวลชนของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นมวลชนของชนชั้นปกครอง เพื่อรักษาฐานอำนาจผูกขาดของชนชั้นปกครองไว้
5. ตามร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 136 ด้วยโดยเพิ่มข้อความในมาตรา 136 ว่า “ (17 ) การให้ความเห็นชอบสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 ( 2 )” อันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 136 พร้อมกับการขอแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 โดยไม่มี ” ญัตติ” ของการแก้ไขมาตรา 136 แต่อย่างใด การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 136 ดังกล่าว จึงเป็นการแก้ไขเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการแก้ไขหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญได้ทุกเวลาที่ต้องการจะแก้ไขหรือยกเลิก และเป็นการแก้ไขเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลใด หรือคณะบุคคลใดขึ้นมาเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้แก้ไขหรือจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ได้ตามคำสั่ง หรือการบงการของพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลได้ตามอำเภอใจ การแก้ไขเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจของพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลดังกล่าว เป็นการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือพรรคการเมืองของตน เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยขัดต่อหลักประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ให้อำนาจอธิปไตยกลายเป็นของพรรคการเมืองและนักการเมือง ซึ่งก็คือเป็นระบบผูกขาดทางรัฐสภา เป็นการปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยไปเป็นอำนาจอธิปไตยของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งมาเป็นรัฐบาลเท่านั้น การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 อันเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
การใช้สิทธิและเสรีภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคร่วมรัฐบาล ของคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 ตามร่างที่ได้ยื่นต่อประธานรัฐสภานั้น ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ และศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของปวงชนชาวไทย ประธานรัฐสภา(ซึ่งสวมหมวกหลายใบ)ในฐานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย มีอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย จะต้องตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของตน พรรคการเมืองของตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทยซึ่งเป็นตัวการและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ที่จะรับและนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเข้าสู้วาระการประชุมรัฐสภาได้หรือไม่ เพราะสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยจะมีผลกระทบในทันทีที่ประธานรัฐสภานำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวรับไว้เข้าสู่การพิจารณาของสภา และการดำเนินการพิจารณาของรัฐสภาในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ดังกล่าว ก็มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยด้วยเช่นกัน ปวงชนชาวไทยทุกคนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพที่จะไม่มีรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดังกล่าว ย่อมจะมีสิทธิที่จะต่อต้านโดยสันติวิธีในการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นได้ โดยการใช้สิทธิทางศาลในการดำเนินคดีอาญาได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 หรือใช้สิทธิทางอัยการสูงสุดเพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งยกเลิกการกระทำดังกล่าว ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการพรรคการเมืองที่ถูกยุบเป็นเวลา 5 ปีได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 , 68 , 69 , 122, 136 (16 ) , 270 หรือใช้สิทธิทางคณะกรรมการปปช.ได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 275 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ และในกรณีที่เป็นเรื่องของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นมติของพรรคการเมืองตามข้อบังคับของพรรคการเมือง ก็สามารถใช้สิทธิทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต.ได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 , 65 , 68 , 69 , 237 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 17 , 18 , 94
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยการเสนอร่างแก้ไขเข้าสู่การประชุมรัฐสภา โดยปราศจากการประชุมร่วมของรัฐสภาอันเป็นการกระทำโดยผิดขั้นตอน การดำเนินการที่จะต้องให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเกี่ยวกัน “ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291” ว่าสมควรแก้ไขหรือไม่อย่างไร และจะแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 136 ( 16 ) ก่อนที่จะเสนอร่างแก้ไขมาตรา 291 เสียก่อนั้น ย่อมสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะไม่มีสมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมประชุม เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 นอกจากสมาชิกรัฐสภาที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น และการกระทำดังกล่าวของพรรคร่วมรัฐบาลก็สุ่มเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีอาญาและการถูกยุบพรรคการเมืองอย่างยิ่ง
17/2/55
การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยโดยมีการเสนอร่างขอแก้ไขตามที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น ไม่ใช่เป็นการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แต่เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 อันเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ด้วยเหตุผลคือ
1. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่ใช่เป็นการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 291 เพราะไม่ได้มีการปฏิบัติการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยไม่มีญัตติ ( Motion) ของการขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 มาตราใด ผู้ที่ขอแก้ไขจะต้องมีญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยต้องแสดงวัตถุประสงค์หรือมีข้อขัดแย้ง ข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญมาตราใดที่ไม่สามารถใช้บังคับหรือใช้ปฏิบัติได้ หรือรัฐธรรมนูญมาตราใดขัดต่อสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อสาธารณะประโยชน์ของประชาชนที่จะใช้รัฐธรรมนูญมาตรานั้นๆอย่างไร หรือจะแก้ไขมาตราใดเพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทย อย่างไร เมื่อไม่มีญัตติที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราใดแล้ว รัฐสภาจะรับไว้พิจารณาไม่ได้เลย เพราะการดำเนินการต่อไปเป็นการทำหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 291 และผิดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 136 ( 16 ) การแก้ไขมาตรา 291 ต้องดำเนินการตามมาตรา 136 (16) เท่านั้น
ตามหลักวิชาการแล้วรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก ( Rigid Constitution ) การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรอื่นๆ จะแก้ไขได้โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เท่านั้น ส่วนการจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั้น เป็นกรณีที่ไม่อาจกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 291 แต่ต้องดำเนินการตามมาตรา 136 (16) เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก รัฐธรรมนูญได้บัญญัติแยกการแก้ไขไว้ต่างหากจากกัน เพื่อมิให้มีการใช้อำนาจยกเลิกหรือแก้ไขหรือจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินที่เข้ามามีอำนาจตามรัฐธรรมนูญนี้
รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขได้ ตามหลักวิชาการแล้วรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากมีที่มาอย่างไร การแก้ไขก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 มีที่มาจากการทำประชามติ การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ก็ต้องทำประชามติหรือได้รับความเห็นชอบจากมติของมหาชนเสียก่อนว่า ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ได้หรือไม่ รัฐธรรมนูญจึงได้บัญญัติให้ “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291” เป็นการประชุมร่วมกันของรัฐสภาไว้ในมาตรา 136 (16 ) โดยรัฐสภาต้องประชุมร่วมกันหากมีความคิดหรือมีปัญหาที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 หาใช่จัดทำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 แล้วเสนอให้รัฐสภาพิจารณาเลยนั้น ไม่อาจทำได้ จะต้องมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา 136 (16 )ให้ได้ข้อยุติเสียก่อน ว่าจะแก้ไขหรือไม่ ด้วยวิธีการอย่างไร จึงจะจัดทำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ตามข้อยุติของการประชุมรัฐสภาได้ เพราะอำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 มิใช่เป็นอำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือเป็นของรัฐบาลมาดำเนินการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้ได้อำนาจไปแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้แต่อย่างใดไม่ เพราะเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 อันเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 โดยใช้รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 มาเป็นเครื่องมืออย่างฉ้อฉล เพื่อจะทำการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หาได้ไม่ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หากรัฐสภาได้มีการดำเนินการพิจารณาต่อไปก็จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาอันเป็นความผิดทางอาญามาตรา 157 ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และเป็นการใช้สิทธิโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญที่จะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 136(16) ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291
การใช้สิทธิและเสรีภาพในรัฐสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาในรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ การใช้สิทธิของคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพในฐานะเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งไม่ใช่เป็นผู้แทนของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือเป็นผู้แทนเฉพาะบุคคลที่เลือกตนเข้ามาเท่านั้น รวมทั้งเป็นผู้แทนของทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาที่ยังไม่ได้เกิดในขณะเลือกตั้งแต่ภายหลังเกิดมาและอยู่รอดเป็นทารก ซึ่งเป็นปวงชนชาวไทยทั้งสิ้น และการใช้อำนาจนิติบัญญัติ ( อำนาจออกกฎหมาย ) โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการใช้อำนาจที่มีผลผูกพันประชาชนทั้งประเทศ และผูกพันอนาคตของชาติด้วย ดังนั้นการใช้สิทธิและเสรีภาพของสมาชิกรัฐสภา จึงเป็นสิทธิและเสรีภาพในการทำหน้าที่เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย ซึ่งผูกพันอนาคตของประชาชาติไว้ทั้งสิ้น สมาชิกรัฐสภาโดยเฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่ใช่เป็นตัวแทนของพรรคการเมืองแม้จะสังกัดพรรคการเมืองก็ตาม เพราะการจัดตั้งพรรคการเมืองก็ต้องเป็นพรรคการเมืองที่มีเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชน ไม่ใช่เจตนารมณ์ของกลุ่มคนหรือของบุคคลใด และพรรคการเมืองต้องดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยสมาชิกรัฐสภาจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550นั้น หาได้ไม่ ( ร.ธ.น. มาตรา 65 วรรคแรก 68 วรรคแรก ) ดังนั้นการใช้สิทธิและเสรีภาพของสมาชิกรัฐสภา จึงไม่อยู่ในความผูกพันแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ( ร.ธ.น. มาตรา 122 )
การใช้สิทธิและเสรีภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรครัฐบาลและคณะรัฐมนตรีที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 คือจะทำเพื่อประโยชน์แก่พรรคการเมืองที่ตนสังกัดอยู่ไม่ได้ แต่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย และต้องปราศจากการขัดกันกับแห่งผลประโยชน์ของปวงชนชาวไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นเพียงผู้แทนหรือตัวแทนของปวงชนชาวไทย ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย การใช้สิทธิและเสรีภาพของสมาชิกรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีจะก้าวล่วงละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของปวงชนชาวไทยซึ่งเป็นตัวการและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยไม่ได้ เมื่อมีการกระทำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรีที่จะยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับกับปวงชนชาวไทยโดยไม่มีมติของมหาชนเสียก่อน ทั้งไม่ได้นำปัญหาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ผ่านการประชุมร่วมของรัฐสภาตามมาตรา 136 (16) เสียก่อนนั้น ย่อมเป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ และละเมิดสิทธิ เสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของปวงชนชาวไทยที่จะต้องสูญเสียรัฐธรรมนูญ 2550 ปวงชนชาวไทยทุกคนจึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีที่ได้ร่วมกันเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาโดยตรง และปวงชนชาวไทยเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีกับพรรคการเมือง สมาชิกรัฐสภาหากมีการรับพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งในทางกฎหมายและในทางรัฐธรรมนูญ
2. ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย ตามที่ปรากฏต่อสาธารณะ ( ไทยโพสต์ 7 ก.พ.2555 ) จะมีข้อความในมาตรา 4 ว่า “ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 6 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาตรา 291/1 ถึง 291/16 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550” แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เป็นการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของ “ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” อันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 โดยอ้างการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อใช้ช่องทางของมาตรา 291 มาคุ้มครองการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่จะนำมาใช้เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ได้ แต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 136 (16) และมาตรา 291 การกระทำดังกล่าวจึงเข้าข่ายเป็นการจงใจใช้อำนาจ หน้าที่โดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 65 , 68 , 122, 136 ( 16 ) 291 , 270
ทั้งเมื่อปรากฏข้อความตามมาตรา 291/1 ถึง มาตรา 291/16 ก็ยิ่งเป็นการยืนยันได้ชัดเจนว่า ไม่ใช่เป็นกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 แต่เป็นบทบัญญัติให้มีคณะบุคคลซึ่งมีอำนาจพิเศษในการล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 โดยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้แทน คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ และให้อำนาจตนเองคือรัฐสภามีอำนาจเลือกคณะบุคคลซึ่งเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ด้วย ให้อำนาจพิเศษคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต.ที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของกกต.ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ให้เป็นผู้มีอำนาจให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีอำนาจดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติในรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำขึ้นได้ ให้มีอำนาจประกาศรับรองการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของคณะบุคคลดังกล่าวได้อีกด้วยฯลฯ อันเป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั่นเอง เพราะได้ให้อำนาจพิเศษแก่กกต.ที่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ 2550 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งสิ้นทุกมาตรา ทั้งให้อำนาจคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา เสนอรัฐสภาให้รัฐสภามีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้อีก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ……พุทธศักราช…. . จึงเป็นร่างแก้ไขที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และเป็นร่างที่ยกเลิกล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 โดยให้อำนาจพิเศษของสภาร่างรัฐธรรมนูญ วิธีการดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อได้อำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 และเป็นการกระทำที่ส่อให้เห็นว่า เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 , 122, 136 (16), 291 , 270 และขัดต่อบริบทของรัฐธรรมนูญ 2550
3. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้อำนาจตนเอง (รัฐสภา) ตั้งองค์กรพิเศษที่นอกเหนือจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 คือสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นไปตามหลักการและเหตุผล หรือตามเจตนารมณ์ที่พรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาลได้กำหนดไว้ จึงเป็นการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญตามเจตนารมณ์ของพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาล ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่ได้ระบุไว้ในหลักการและเหตุผลไว้เป็นการเฉพาะ ( Specific Objective ) แล้วว่า รัฐธรรมนูญที่จัดทำใหม่นั้น จะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้พรรคการเมืองต้องมีความมั่นคง และสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเกิดผลรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่มีการถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ไม่มีหน่วยงานที่จะตรวจสอบการทุจริตคอร์ปชั่นของทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารเป็นผู้ควบคุมองค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระเพื่อให้มีการปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ ควบคุมการใช้ดุลพินิจขององค์กรอิสระและองค์กรตุลาการได้ ทั้งนี้เพื่อให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งมีอำนาจเบ็ดเสร็จเพื่อบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน
สภาร่างรัฐธรรมนูญจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ต้องอยู่ในหลักการและเหตุผลที่กำหนดไว้ในหลักการและเหตุผลตามที่กำหนดไว้ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 นี้เท่านั้น ซึ่งก็คือต้องจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามเจตนารมณ์ของพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาลที่ได้เสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นี้ไว้ และจะจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ไม่อยู่ในหลักการและเหตุผลอันอยู่นอกเหนือเจตนารมณ์ของพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาลไม่ได้เลย เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนดเจตนารมณ์ของพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาลไว้แต่ต้นแล้ว แม้จะมีการลงมติของมหาชนภายหลัง ก็เป็นเพียงพิธีการเพื่ออาศัยมติของมหาชนมารับรองเจตนารมณ์ของพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาลที่เสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั่น
4. ในบันทึกหลักการและเหตุผลจะปรากฏสาเหตุของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่สืบทอดมาจากอำนาจของการทำรัฐประหาร จึงไม่เป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน แต่เป็นรัฐธรรมนูญที่สืบทอดมาจากอำนาจของการทำรัฐประหาร อันเป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว ก็เท่ากับว่าพรรครัฐบาลได้ยอมรับว่า การบริหารราชการแผ่นดินของพรรครัฐบาลที่ได้เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน โดยการเลือกตั้งในขณะนี้ซึ่งเป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญที่สืบทอดมาจากการทำรัฐประหารนั้น ก็เป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน หลักการและเหตุผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงเป็นเหตุผลที่ขัดแย้งกันเองอยู่ในตัว และขัดต่อหลักเหตุผลในทางกฎหมาย เพราะการเข้ามาเป็นรัฐบาลของพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังคงเป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญที่มาจากการทำรัฐประหารอยู่นั่นเองแม้จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แล้วก็ตาม ตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 จึงหาใช่เป็นเพราะรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นผลมาจากการทำรัฐประหารแต่อย่างใดไม่ แต่ตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นการกระทำเพื่อให้ได้อำนาจในการปกครองประเทศของพรรคร่วมรัฐบาลและรัฐบาล โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ 2550
การอ้างรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นผลมาจากการทำรัฐประหารนั้น เป็นการอ้างเหตุการณ์ในอดีต เพื่อหวังผลจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สร้างอำนาจเบ็ดเสร็จหรือรวบอำนาจเบ็ดเสร็จไว้กับพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคการเมืองที่มีอำนาจปกครองอยู่ในขณะนี้นั้น มีอำนาจอยู่ไปอย่างถาวรและยาวนานตลอดไปนั่นเอง การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงเป็นเรื่องของการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ของพรรคการเมืองกับอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และมิใช่เป็นเรื่องรัฐธรรมนูญที่มาจากการทำรัฐประหารที่ ไม่เป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่ ตามหลักการและเหตุผลที่อ้างเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงเป็นหลักการและเหตุผลที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่ได้เลย เพราะเป็นการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อผลประโยชน์ของพรรคการเมืองเพื่อรวบอำนาจเบ็ดเสร็จไว้เป็นของพรรคการเมืองซึ่งเป็นรัฐบาลในขณะนี้เท่านั้น
ตามประวัติศาสตร์ทางทฤษฎีของการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ( Revolution ) แม้จะมีแนวคิดว่าการปฏิวัติเป็นพลังเชิงทำลายอย่างยิ่งก็ตาม แต่ชาวกรีกโบราณก็ยังมองการปฏิวัติมีเป็นความเป็นไปได้ต่อเมื่อคำสอนทางศีลธรรมและทางศาสนาของสังคมเสื่อมทรามลงอย่างที่สุด จอห์น มิลตัน ( John Milton ) กวีชาวอังกฤษ เห็นว่า การปฏิวัติเป็นสิทธิของสังคมในการป้องกันตนเองจากทรราชที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด เพื่อสร้างระเบียบใหม่ซึ่งสะท้อนความต้องการอย่างแท้จริงของประชาชน และการปฏิวัติเป็นวิธีการในการบรรลุสู่เสรีภาพ อิมมานูเอล คานท์ ( Immamuel Kant ) นักปรัชญาชาวเยอรมันในศตวรรษที่ 18 เชื่อว่าการปฏิวัติเป็นพลังสำหรับการก้าวรุดหน้าของมนุษยชาติ การปฏิวัติคือ “ ก้าวที่เป็นธรรมชาติ” สู่การทำให้พื้นฐานทางจริยธรรมสูงขึ้นสำหรับสังคมเป็นความจริงขึ้นมา เฮเกิล ( Hegel) นักปรัชญาชาวเยอรมันเห็นว่า การปฏิวัติคือการทำให้ชะตากรรมของมนุษย์บรรลุสู่ความสมบูรณ์แบบ และผู้นำที่ปฏิวัติมีความจำเป็นในการกระตุ้นและดำเนินการปฏิรูป ทฤษฎีของเฮเกิลเป็นรากฐานสำหรับคาร์ล มาร์กซ ( Karl Marx ) นักคิดนักปฏิวัติที่มีอิทธิพล ในเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้น ( Class Struggle) ซึ่งถือว่าเป็นการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและสังคมที่ปราศจากชนชั้น ( สังคมคอมมิวนิสต์ )
การปฏิวัติหรือรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อ 19 กันยายน 2549 จึงมิใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุและไม่มีผล แต่เป็นเรื่องที่มีผลอันมาจากเหตุ และมิใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อมุ่งทำลายหลักประชาธิปไตยเป็นการเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใดเลย การมีและการใช้รัฐธรรมนูญ 2550 มิใช่เป็นการได้อำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดไม่ เพราะมิได้มีการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารมาโดยรัฐธรรมนูญ 2550 มาเป็นรัฐบาลในขณะนี้แต่อย่างใดทั้งสิ้น แต่อำนาจการปกครองของพรรคการเมืองที่ร่วมเป็นรัฐบาลและเป็นคณะรัฐมนตรีในขณะนี้นั้น มาจากการเลือกตั้งตามหลักประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ 2550 นั่นเอง กรณีจึงไม่มีเหตุโดยรัฐธรรมนูญ 2550ที่พรรคร่วมรัฐบาลหรือรัฐบาลจะมีอำนาจหน้าที่และมีสิทธิ เสรีภาพที่จะยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยอ้างว่าเป็นการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 ได้แต่อย่างใดไม่
ประวัติศาสตร์ของชาติที่เกิดขึ้นโดยมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ไม่ก่อให้เกิดอำนาจ หน้าที่ หรือ สิทธิที่ผูกขาดแก่นักการเมือง หรือมวลชนของพรรคการเมืองที่จะดำเนินการเพื่อให้พรรคการเมืองมีอำนาจผูกขาด และสืบทอดอำนาจผูกขาดของพรรคการเมือง โดยการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ได้แต่อย่างใด เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่เลวร้ายยิ่งกว่าการปฏิวัติรัฐประหารเสียอีก เพราะเป็นการเอาอำนาจของปวงชนชาวไทยไปใช้โดยฉ้อฉล ตระบัดสัตย์ที่ให้ไว้ต่อรัฐสภาตามที่ได้ปฏิญาณไว้ว่า “ จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” เพราะเป็นการใช้อำนาจทางรัฐสภาเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ให้อำนาจอธิปไตยเป็นของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลและของมวลชนของพรรคการเมืองเท่านั้น เป็นการแยกประชาชนจากการเป็นปวงชนชาวไทยไปเป็นมวลชนของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นมวลชนของชนชั้นปกครอง เพื่อรักษาฐานอำนาจผูกขาดของชนชั้นปกครองไว้
5. ตามร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 136 ด้วยโดยเพิ่มข้อความในมาตรา 136 ว่า “ (17 ) การให้ความเห็นชอบสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 ( 2 )” อันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 136 พร้อมกับการขอแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 โดยไม่มี ” ญัตติ” ของการแก้ไขมาตรา 136 แต่อย่างใด การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 136 ดังกล่าว จึงเป็นการแก้ไขเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการแก้ไขหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญได้ทุกเวลาที่ต้องการจะแก้ไขหรือยกเลิก และเป็นการแก้ไขเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลใด หรือคณะบุคคลใดขึ้นมาเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้แก้ไขหรือจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ได้ตามคำสั่ง หรือการบงการของพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลได้ตามอำเภอใจ การแก้ไขเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจของพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลดังกล่าว เป็นการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือพรรคการเมืองของตน เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยขัดต่อหลักประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ให้อำนาจอธิปไตยกลายเป็นของพรรคการเมืองและนักการเมือง ซึ่งก็คือเป็นระบบผูกขาดทางรัฐสภา เป็นการปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยไปเป็นอำนาจอธิปไตยของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งมาเป็นรัฐบาลเท่านั้น การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 อันเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
การใช้สิทธิและเสรีภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคร่วมรัฐบาล ของคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 ตามร่างที่ได้ยื่นต่อประธานรัฐสภานั้น ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ และศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของปวงชนชาวไทย ประธานรัฐสภา(ซึ่งสวมหมวกหลายใบ)ในฐานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย มีอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย จะต้องตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของตน พรรคการเมืองของตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทยซึ่งเป็นตัวการและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ที่จะรับและนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเข้าสู้วาระการประชุมรัฐสภาได้หรือไม่ เพราะสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยจะมีผลกระทบในทันทีที่ประธานรัฐสภานำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวรับไว้เข้าสู่การพิจารณาของสภา และการดำเนินการพิจารณาของรัฐสภาในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ดังกล่าว ก็มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยด้วยเช่นกัน ปวงชนชาวไทยทุกคนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพที่จะไม่มีรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดังกล่าว ย่อมจะมีสิทธิที่จะต่อต้านโดยสันติวิธีในการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นได้ โดยการใช้สิทธิทางศาลในการดำเนินคดีอาญาได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 หรือใช้สิทธิทางอัยการสูงสุดเพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งยกเลิกการกระทำดังกล่าว ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการพรรคการเมืองที่ถูกยุบเป็นเวลา 5 ปีได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 , 68 , 69 , 122, 136 (16 ) , 270 หรือใช้สิทธิทางคณะกรรมการปปช.ได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 275 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ และในกรณีที่เป็นเรื่องของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นมติของพรรคการเมืองตามข้อบังคับของพรรคการเมือง ก็สามารถใช้สิทธิทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต.ได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 , 65 , 68 , 69 , 237 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 17 , 18 , 94
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยการเสนอร่างแก้ไขเข้าสู่การประชุมรัฐสภา โดยปราศจากการประชุมร่วมของรัฐสภาอันเป็นการกระทำโดยผิดขั้นตอน การดำเนินการที่จะต้องให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเกี่ยวกัน “ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291” ว่าสมควรแก้ไขหรือไม่อย่างไร และจะแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 136 ( 16 ) ก่อนที่จะเสนอร่างแก้ไขมาตรา 291 เสียก่อนั้น ย่อมสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะไม่มีสมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมประชุม เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 นอกจากสมาชิกรัฐสภาที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น และการกระทำดังกล่าวของพรรคร่วมรัฐบาลก็สุ่มเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีอาญาและการถูกยุบพรรคการเมืองอย่างยิ่ง
17/2/55