ข้อ 1. ผู้เขียนประหลาดใจต่อการประกาศของนักการเมืองที่เป็นรัฐบาลที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยอ้างว่า เป็นสิทธิของพรรคเพื่อไทยที่จะทำได้ เพราะได้มีการหาเสียงว่าจะแก้รัฐธรรมนูญไว้กับประชาชน เมื่อชนะการเลือกตั้งก็ต้องทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน เพราะถือเป็นประชามติที่ให้พรรคเพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญได้และเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะเดียวกัน น.ป.ช. หรือคนเสื้อแดงซึ่งเป็นมวลชนของพรรคเพื่อไทยก็ออกมาเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจะรวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวน 50,000 คน เพื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เต็มรูปแบบทั้งฉบับ และมีกลุ่มบุคคล “นิติราษฎร์” ตลอดจนคณะกรรมการตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติหรือ คอป. ออกมาแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน และท้ายสุดคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ ( คอ.นธ ) ซึ่งตั้งขึ้นโดยมติค.ร.ม.ก็ได้เสนอให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยให้อำนาจกลุ่มบุคคล 34 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีมายกร่างรัฐธรรมนูญ
เหตุที่ประหลาดใจก็เพราะว่า รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก (Rigid Constitution) ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่าย (Flexible Constitution) นักการเมือง นักวิชาการ นักกฎหมาย และนักปกครองที่มีความเชี่ยวชาญจะต้องทราบได้เป็นอย่างดีว่า รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากนั้นจะมีหลักการของการแก้ไขที่จำกัด การแก้ไขจะต้องมีข้อขัดข้องในการใช้รัฐธรรมนูญมาตราหนึ่งมาตราใดในการบริหารประเทศ หรือขัดแย้งต่อความเป็นอยู่แห่งประชาคมของประเทศ มิใช่ว่าผลของรัฐธรรมนูญมาตราใดมีไว้เพื่อควบคุมการทุจริตคอรัปชั่น มีไว้เพื่อควบคุมให้พรรคการเมืองต้องรับผิดชอบต่อพรรคการเมืองให้มีวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต ก็จะแก้ไขเพื่อไม่ให้มีการควบคุมพรรคการเมือง อันจะทำให้ระบบพรรคการเมืองล้มเหลว หรือจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำความผิดอาญา โดยจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากนั้น หาอาจทำได้ไม่
ตามหลักการวิชาการแล้ว ที่มาของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากมีที่มาอย่างไร การยกเลิกเพิกถอนหรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็จะต้องทำอย่างเดียวกัน เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 ออกใช้บังคับโดยการออกเสียงประชามติ การยกเลิกเพิกถอนเพื่อที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ก็จะต้องกระทำโดยประชามติเช่นเดียวกัน คือต้องได้รับความเห็นชอบจากมติของมหาชนเสียก่อน
รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้วางระบบการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจแห่งรัฐในการทำหน้าที่ของอำนาจอธิปไตยไว้สามอำนาจ แยกต่างหากจากกันคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งทั้งสามอำนาจมีความสมดุลตามขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วัฒนธรรม คุณธรรม และจริยธรรม กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐและความสัมพันธ์กับประชาชน รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากจึงเป็นรัฐธรรมนูญที่ทรงไว้ซึ่งอำนาจอันเป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยการลงประชามติ (Organic and Fundamental Law) คุณลักษณะของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากก็เพื่อเป็นพื้นฐานของการปกครองของคนในชาติได้อย่างเสมอภาคและมีความสมดุลกัน อันเป็นหลักแห่งความมั่นคงของประเทศ รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากไม่อาจแก้ไขได้ตามอำเภอใจของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งและเข้ามาเป็นรัฐบาล เพราะรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากเป็นรัฐธรรมนูญที่ป้องกันการมีอำนาจเบ็ดเสร็จของพรรคการเมืองเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน
รัฐธรรมนูญที่ใช้ในปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราอื่น ๆ ทุกมาตราจึงได้นำมาบัญญัติเพื่อให้แก้ไขได้ไว้เป็นการเฉพาะ โดยบัญญัติไว้ในมาตร 291 ในหมวด 15 (หมวด 15 มีเพียงมาตราเดียว) โดยมาตรา 291 ให้อำนาจบุคคล 4 กลุ่มที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้คือ (1) คณะรัฐมนตรี ( 2 ) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (4) จากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยกลุ่มบุคคลทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว ผู้ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องมี “ญัตติ” (Motion) ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งก็คือต้องแสดงถึงวัตถุประสงค์หรือความขัดแย้งในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่จะขอแก้ไขในมาตราดังกล่าวด้วยว่ามีความประสงค์หรือข้อขัดแย้งที่ไม่อาจใช้รัฐธรรมนูญในมาตรานั้น ๆ อย่างไร การแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราอื่นในรัฐธรรมนูญจึงขอแก้ไขได้โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญตามมาตร 291 ยกเว้นมาตรา 291 ที่จะข้อแก้ไขไม่ได้ เพราะไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใดที่จะให้อำนาจผู้ใดขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไว้เลย รัฐธรรมนูญมาตรา 291 จึงไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้ นอกจากจะขอแก้ไขมาตรา 291 โดยการลงประชามติของมหาชนเสียก่อนตามหลักวิชาการของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก การที่มีผู้จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ ส.ส.ร. หรือคณะบุคคลเพื่อเข้ามาดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ว่า ส.ส.ร. หรือคณะบุคคลจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่หรือจะมาโดยวิธีใดก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะไม่มีรัฐธรรมนูญให้อำนาจกระทำได้เลย และไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใดที่บัญญัติรับรองอำนาจหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. หรือคณะบุคคลคณะใดให้มีอำนาจหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญไว้แต่อย่างใด ดังนั้นการดำเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. และจะให้ ส.ส.ร. มาดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราอื่น ๆ นั้น ก็เป็นการใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และการยกร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. ก็เป็นการใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. มาดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแต่เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 2550
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อให้คณะบุคคลมาเป็น ส.ส.ร. และมีอำนาจแก้ไขหรือยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้น หรือการที่คณะกรรมการ คอ.นธ จะจัดให้มีคณะบุคคลจากหลากหลายอาชีพเข้ามาเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าคณะบุคคลดังกล่าวจะแต่งตั้งโดยใครก็ตาม การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่เข้าข่ายต่อการกระทำความผิดที่มีโทษทางอาญา หรือจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ สุ่มเสี่ยงต่อการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ให้เป็นระบบเผด็จการผูกขาดโดยพรรคการเมืองและมวลชนของพรรคการเมือง ซึ่งสามารถรวบอำนาจให้มาอยู่ในอาณัติของพรรคการเมืองและมวลชนของพรรคการเมืองได้โดยคณะบุคคลที่เป็น ส.ส.ร. หรือคณะบุคคลที่คณะกรรมการ คอ.นธ.เสนอให้เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ อันนำไปสู่ลัทธิการปกครองในรูปแบบใหม่ (แต่เป็นลัทธิเก่า) ซึ่งเรียกว่า “ ลัทธิรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ” (Totalitarianism)
“ ลัทธิรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ” ไม่ใช่เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นลัทธิที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย เพราะเป็นการปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยไปเป็นอำนาจอธิปไตยของพรรคการเมืองและมวลชนของพรรคการเมือง แม้จะมีการเลือกตั้งต่อไปในอนาคต ก็ไม่อาจลบล้าง “ลัทธิรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ” ดังกล่าวได้เลย เพราะได้นำมาบัญญัติเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญสร้างการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จผูกขาดให้เป็นของพรรคการเมืองไปแล้วโดยสมบูรณ์
ดังนั้นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตราอื่นๆในรัฐธรรมนูญจะกระทำได้ก็โดยอาศัยอำนาจและตามเงื่อนไขที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เท่านั้น แต่ไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้เกิดอำนาจในทางรัฐสภาเพื่อไปสร้างองค์กรคณะบุคคล หรือสร้างองค์กร ส.ส.ร.ให้มีอำนาจพิเศษเหนือรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมาได้เลย การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 จึงต้องไปผ่านประชามติเสียก่อน มิฉะนั้นจะกลายเป็นการใช้อำนาจทางรัฐสภาเพื่อล้มล้าง เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยให้กลายไปเป็นอำนาจอธิปไตยเป็นของพรรคการเมืองและมวลชนของพรรคการเมือง ซึ่งก็คืออำนาจอธิปไตยเป็นของคณะบุคคล ( Oligarchy ) ที่ชนะการเลือกตั้งมาเป็นรัฐบาลเท่านั้น การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการปฏิวัติโดยทางรัฐสภา อันเป็นการทรยศทางการเมือง
( Knifing ) ต่อประชาชนนั่นเอง เพราะการเป็นตัวแทนมาใช้อำนาจปกครองประชาชนนั้นเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่เป็นตัวแทนของผู้ที่เลือกตั้งมาเท่านั้น
ข้อ 2. การเอาเรื่องการหาเสียงไว้กับประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้สอดคล้องกับที่หาเสียงไว้นั้นไม่อาจกระทำได้ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นความต้องการของพรรคการเมืองจึงได้นำมาหาเสียง และการหาเสียงต้องทำในหลายรูปแบบเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง มีการเสนอให้ผลประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านต่อประชาชน การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงให้จึงมิได้หมายความว่า การลงคะแนนเสียงให้นั้นเป็นความต้องการของประชาชนที่จะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ การเลือกตั้งทั่วไปไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ชนะการเลือกตั้งที่ได้เป็นรัฐบาลจะมีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แต่อย่างใดเลย เพราะการลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไปเป็นการลงคะแนนเพื่อมอบอำนาจให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งมาทำหน้าที่ในทางบริหารและทางนิติบัญญัติเท่านั้นไม่ใช่มอบอำนาจให้มาทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรวบอำนาจเบ็ดเสร็จได้ พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งและได้เป็นรัฐบาล จึงไม่มีสิทธิที่จะอ้างว่าเป็นตัวแทนของประชาชนที่จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่ได้หาเสียงไว้ได้ การหาเสียงโดยเอาการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาใช้ในการหาเสียง หรือการเอาการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาเป็นนโยบายของรัฐบาล เป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นได้ว่าพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลนั้นมีนโยบายที่จะล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ “ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ” ให้กลายเป็น “ อำนาจอธิปไตยไปเป็นของพรรคการเมืองหรือของรัฐบาล ” นโยบายของรัฐบาลจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญและละเมิดอำนาจอธิปไตยที่ “ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยทั้งปวง ” ( การหาเสียงเลือกตั้งที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการแสดงเจตนาที่จะล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หากไม่มีเหตุผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะหาเสียง ก็เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ ก.ก.ต.จะต้องตรวจสอบและดำเนินการในขณะเลือกตั้งนั้น )
ข้อ 3. นโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเป็นนโยบายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 โดยรัฐบาลไม่ได้ยึดมั่นในการปกครอบระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำแถลงนโยบายของรัฐบาลในหน้า 1 ว่า “ บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และครอบคลุมถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติในหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย...................”
และคำแถลงนโยบายของรัฐบาลหน้า 11 ข้อ 1.16 ว่า “ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่มีประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านทางการออกเสียงประชามติ ”
นโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภานั้น หากได้วิเคราะห์ตามหลักวิชาการแล้วจะเห็นได้ว่า เป็นนโยบายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ ประการแรก รัฐบาลไม่ได้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีอำนาจการปกครองสามอำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการทางศาล โดยอำนาจทั้งสามเป็นอำนาจของปวงชนชาวไทย ซึ่งต้องมีดุลยภาพในการตรวจสอบและคานอำนาจกันอย่างมีประสิทธิภาพ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจทั้งสามทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล แต่รัฐบาลยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นการที่รัฐบาลยอมรับเฉพาะอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหาร ซึ่งเป็นอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นที่มาของคณะรัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น แต่ไม่ยอมรับอำนาจตุลาการ และอำนาจในองค์กรอื่นของรัฐทุกองค์กร ซึ่งก็คือรัฐบาลไม่ยอมรับอำนาจการปกครองที่มาจากระบบคุณธรรม วัฒนธรรม นิติประเพณี ระบบคุณค่าทางความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในทางวิชาการ หรือเรียกง่ายๆว่า “ ระบบคุณธรรมและวิชาการ ” คือ ไม่ยอมรับสถาบันตุลาการ สถาบันทหาร สถาบันข้าราชการพลเรือน สถาบันธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะที่มาของอำนาจตุลาการ สถาบันทหาร สถาบันข้าราชการพลเรือน และสถาบันธนาคารแห่งประเทศไทยล้วนเป็นผู้ที่ใช้อำนาจรัฐที่มาจาก “ ระบบคุณธรรมและวิชาการ ” ทั้งสิ้น ซึ่งระบบดังกล่าวไม่มีอยู่ในระบบรัฐสภา เพราะบุคคลในระบบรัฐสภาจะมาจาก ความพึงพอใจของประชาชนที่เลือกตั้งมา หรือมาจากความเป็นผู้กว้างขวางในหมู่ประชาชนที่เลือกตั้งมาเท่านั้น บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาไม่ได้ถูกกำหนดอย่างเข้มงวดโดยพื้นฐานของความเป็นคนที่มีคุณธรรม มีวัฒนธรรม มีวินัยหรือจรรยาบรรณ มีความรู้ ความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในทางวิชาการ แต่อย่างใด ซึ่งรัฐบาลก็ได้แสดงออกถึงการไม่ยอมรับในระบบคุณธรรมและวิชาการ เพราะได้มีความพยายามแก้ไขกฎหมายที่ควบคุมระบบคุณธรรมและวิชาการของสถาบันทหาร หรือทำการโยกย้ายข้าราชการพลเรือนตามความต้องการของฝ่ายการเมือง โดยไม่คำนึงถึงระบบคุณธรรมและวิชาการในองค์กรสถาบันข้าราชการพลเรือน วางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักนิติธรรมโดยการออกพระราชกำหนดมาใช้บังคับกับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานต่อสาธารณชนในการบริหารราชการของรัฐบาลมาเป็นระยะ ๆ แล้ว
ประการที่สอง รัฐธรรมนูญ 2550 ให้หลักประกันการเป็นประชาธิปไตย คือ สิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนไว้ครอบคลุมทุกด้าน ตามรัฐธรรมนูญในหมวด 1 ถึงหมวดที่ 5 แต่รัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะบริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ในหมวด 1 ถึงหมวดที่ 4 ในเรื่องพระมหากษัตริย์ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหน้าที่ของชนชาวไทยแต่อย่างใด โดยรัฐบาลจะบริหารประเทศเฉพาะในหมวด 5 คือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น [ ซึ่งมีความหมายนัยสำคัญจะต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ให้ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติสามารถออกกฎหมาย และปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์และประชาชนในทางลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ หรือของประชาชนอย่างไรก็ได้ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของคนเฉพาะบางคน บางกลุ่มก็ได้ ฯลฯ ]
ประการที่สาม รัฐบาลมีนโยบายที่จะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยองค์กรพิเศษนอกรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระ สภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระแม้จะมีการเลือกตั้งหรือคัดเลือกหรือแต่งตั้งเป็นคณะบุคคลเข้ามาก็ไม่ทำให้สภาร่างรัฐธรรมนูญหรือคณะบุคคลดังกล่าว นั้นมีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและมีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญได้แต่อย่างใดไม่ ในกรณีดังกล่าวจะต้องมีการทำประชามติเสียก่อนว่า จะยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 หรือไม่ และจะต้องทำประชามติเสียก่อนว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระ หรือมีคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญได้หรือไม่เสียก่อน หากรัฐบาลหรือรัฐสภาไม่ดำเนินการในประเด็นนี้ให้เรียบร้อยเสียก่อน รัฐบาลและรัฐสภาจะอยู่ในจุดเสี่ยงการเป็นผู้กระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรในข้อหาเป็นกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ได้
นโยบายของรัฐบาลมีความชัดเจนในข้อ 1.16 ที่จะไม่ใช้รัฐธรรมนูญ 2550 แต่จะใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในการปกครองประเทศ นโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภานั้นส่อเจตนาที่ล้มล้าง หรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ แต่การล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่มิได้ทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายย่อมไม่เป็นความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ตามกฎหมายอาญามาตรา 113 แต่นโยบายของรัฐบาลที่หมิ่นเหม่ต่อความผิดอาญาในข้อหาเป็นกบฏต่อราชอาณาจักรไทยอาจเกิดขึ้นได้ หากมีประชาชนไม่เห็นด้วยและออกมาต่อต้านคัดค้านจนรัฐบาลต้องใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายต่อประชาชนผู้คัดค้าน หรือมีมวลชนของพรรคการเมืองเข้าไปก่อกวน ขัดขวางกลุ่มมวลชนที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญและเกิดการใช้กำลังกันขึ้นแล้ว การดำเนินการล้มล้างเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของรัฐบาลตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ก็เข้าข่ายของการกระทำความผิดอาญาในข้อหาเป็นกบฏตามมาตรา 113 ทันที เพราะการที่รัฐบาลมีนโยบายล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นเจตนาที่ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าจะเกิดการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายกันขึ้นได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาจะโดยรัฐบาลเป็นผู้เสนอหรือไม่ ย่อมสุ่มเสี่ยงที่รัฐสภาและรัฐบาล และผู้ที่ร่วมในขบวนการจะร่วมกันเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในข้อหาเป็นกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 (1 ) ทั้งสิ้น
และจากนโยบายดังกล่าว หากปรากฏเป็นรูปธรรมขึ้นเพราะมีผู้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราใดมาตราหนึ่ง หรือร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะมาตรา 291 โดยมีการยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ก็จะปรากฏหลักฐานต่อสาธารณชนโดยชัดแจ้งว่านโยบายของรัฐบาลนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญในทันที ซึ่งจะเกิดปัญหาในทางรัฐธรรมนูญว่าประมุขฝ่ายนิติบัญญัติจะรับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดังกล่าวไว้ได้หรือไม่ และถ้าประมุขฝ่ายนิติบัญญัติรับเรื่องไว้พิจารณาโดยที่รู้แล้วว่า นโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภานั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว แต่จะดำเนินเรื่องเสนอต่อรัฐสภาให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือพิจารณารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว ก็จะเกิดผลเป็นวิกฤติทางรัฐสภาในทันที เพราะการรับไว้พิจารณาของประมุขฝ่ายนิติบัญญัตินั้นจะมีผลเป็นการจงใจกระทำการอันขัดต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ซึ่งจะเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ซึ่งอาจจะถูกถอดถอน ถูกดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 157 หรืออาจถึงขั้นพยายามกระทำความผิดตามมาตรา 113 (1) ได้
ข้อ 4 นโยบายของรัฐบาลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ได้แถลงต่อรัฐสภาเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ว่า นโยบายตามข้อบังคับของพรรคการเมืองขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน นโยบายตามข้อบังคับของพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลระบุข้อความตอนหนึ่งว่า “ พรรคเพื่อไทยมุ่งเน้นการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมืองไทยให้เกิดความมั่นคงและเสริมสร้างความเชื่อมั่นว่า สถาบันการเมืองคือสถาบันที่มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพในการรับใช้พี่น้องปวงชนชาวไทยในทุกภาคส่วน ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยของชาติให้เข้มแข็งอย่างมีประสิทธิภาพและก่อเกิดประสิทธิผล เสริมสร้างความผาสุกแก่ปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง โดยมีจุดยืนอย่างหนักแน่น มั่นคง และแน่วแน่ในการปฏิรูปกระบวนการใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ อันเป็นโครงสร้างหลักแห่งระบอบประชาธิปไตยที่มาจากความต้องการของปวงชนชาวไทยด้วยกรรมวิธีบนวิถีแห่งความเป็นประชาธิปไตยของความเป็นประชาธิปไตยแห่งสากลโลก”
โดยนัยความหมายตามนโยบายของพรรคดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงจุดยืนอย่างหนักแน่นมั่นคงในการที่จะล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 และใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยแห่งสากลโลก เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต่างจากประชาธิปไตยแห่งสากลโลกที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แม้รัฐธรรมนูญ 2550 จะมาจากความต้องการของประชาชนชาวไทยโดยผ่านการลงประชามติมาแล้วก็ตาม พรรคการเมืองก็เห็นว่าไม่ใช่เป็นรัฐธรรมนูญอันเป็นโครงสร้างหลักแห่งระบอบประชาธิปไตย เพราะโครงสร้างหลักแห่งระบอบประชาธิปไตยตามนัยนโยบายพรรคที่ได้กำหนดไว้ก็คือ พรรคการเมืองต้องเป็นสถาบันที่มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพที่สามารถผูกขาดการรับใช้ประชาชนชาวไทยได้ทุกภาคส่วน ซึ่งก็คือ พรรคการเมืองเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจรัฐทั้งปวงเพื่อรับใช้ประชาชนโดยพรรคการเมืองเท่านั้น
เจตนารมณ์ในการจัดตั้งพรรคการเมืองที่มีนโยบายโดยนัยดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 65 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 9 วรรคแรก มาตรา 10 วรรคสอง (1) เพราะการจัดตั้งพรรคการเมืองก็เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชน และดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เมื่อข้อบังคับพรรคการเมืองมีนโยบาย โดยมีเจตนารมณ์ไม่ต้องการรัฐธรรมนูญ 2550 ใช้บริหารประเทศและต้องการจะล้มล้างไป เพราะไม่เป็นประชาธิปไตยตามวิถีทางความเป็นประชาธิปไตยแห่งสากลโลก แต่เป็นประชาธิปไตยที่มีอำนาจการปกครองสามอำนาจโดยมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อพรรคการเมืองได้จดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีลักษณะหรือความมุ่งหมายที่ขัดหรือแย้งต่อหลักพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 65 พ.ร.บ. ว่าด้วยพรรคการเมือง ฯ มาตรา 9 , มาตรา 10 วรรคสอง (1) การขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองจึงอยู่ในข่ายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่ง กกต. จะรับจดทะเบียนให้ไม่ได้ และไม่มีอำนาจที่จะจดทะเบียนให้ได้ แต่เมื่อได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองให้ จึงเป็นการที่ กกต. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อบังคับและนโยบายของพรรคการเมืองว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายแล้ว การรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองที่มีเจตนารมณ์ของพรรคการเมืองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะพรรคการเมืองต้องการให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแห่งสากลโลกซึ่งไม่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ/หรือให้มีการปกครองเพียงสองอำนาจ จึงมีผลกระทบต่อการเลือกตั้งอย่างรุนแรง เพราะการตรวจสอบรับรองโดยรับจดทะเบียนพรรคการเมืองของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิใช่เป็นการรับรองสิทธิของพรรคการเมืองเพื่อให้พรรคการเมืองมีสิทธิส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งลงเลือกตั้งเท่านั้น แต่เป็นการรับรองให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งไปใช้สิทธิลงคะแนนให้พรรคการเมืองซึ่งมีเจตนารมณ์ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจากการจดทะเบียนให้พรรคการเมืองดังกล่าวด้วย ซึ่งจะมีผลในทางรัฐธรรมนูญหลายประการและมีข้อขัดแย้งในการบริหารประเทศอย่างมหาศาล (โดยผู้เขียนจะไม่เข้าไปสู่รายละเอียดในผลทางรัฐธรรมนูญดังกล่าว)
ข้อ 5. เมื่อปรากฏเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่า ได้มีความพยายามของบุคคลหลายกลุ่ม หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะโดยคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คปอ. (ซึ่งรัฐบาลได้นำเอาความเห็นของ คปอ. ซึ่งยังไม่ปรากฏความเห็นที่เป็นรูปธรรมเข้าไปเป็นนโยบายของรัฐบาลในข้อ 1.1.3) หรือข้อเสนอของกลุ่ม “ นิติราษฎร์ ” ที่จะให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือมีการรณรงค์รวบรวมรายชื่อประชาชน 50,000 คน ของมวลชนพรรคการเมืองเพื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือข้อเสนอของคณะกรรมการคอ.นธ ที่ให้ร่างรัฐธรรมนูญโดยใช้คณะบุคคลให้มีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเอง ล้วนเป็นการกระทำเพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลอันเป็นนโยบายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น การเสนอเรื่องเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะรัฐธรรมนูญมีข้อขัดแย้งในการใช้บังคับกับประชาชน หรือไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนแต่อย่างใดไม่ แต่เป็นการกระทำเพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายของพรรคการเมือง และนโยบายของรัฐบาลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญเท่านั้น กรณีจึงเข้าข่ายเป็นการสมรู้ร่วมคิดกัน การกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นการกระทำของ “ ตัวแปรต้น” หรือ “ ตัวแปรอิสระ ” ( Independent Variable ) ที่จะนำพารัฐบาล และรัฐสภาไปสู่ทางตัน (Deadlock หรือ Cal de sac) ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เพราะนโยบายของรัฐบาลและนโยบายตามข้อบังคับของพรรคการเมืองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จะปรากฏผลการขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น หากได้มีการดำเนินการเป็นรูปธรรมทางรัฐสภา ซึ่งเป็นหนทางที่อาจถูกถอดถอน ถูกดำเนินคดีอาญา หรือถูกยุบพรรคการเมืองได้
เพราะเมื่อความปรากฏผลเป็นรูปธรรมต่อสาธารณชนถึงการดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายข้อบังคับของพรรคการเมือง และนโยบายของรัฐบาลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ ก.ก.ต. ซึ่งเป็นผู้ควบคุมข้อบังคับพรรคการเมือง มีหน้าที่ตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญโดยตรงที่จะต้องตรวจสอบนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งหากนโยบายของพรรคการเมืองขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว พรรคการเมืองก็อยู่ในข่ายที่ ก.ก.ต. จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ฯ มาตรา 94 ต่อไป
และหากความปรากฏเป็นรูปธรรมต่อประธานรัฐสภาหรือรัฐสภาว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการขอแก้ไขมาตรา 291 อันมิใช่เป็นการขอแก้ไขมาตราอื่น ๆ ในรัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว ประธานรัฐสภาจะรับไว้เป็นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่ได้เลย เพราะไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 136 (16) และมาตรา 291 การแก้ไขมาตรา 291 จะต้องผ่านประชามติเสียก่อน ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ในมาตราอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่มาตรา 291) หรือเป็นรัฐธรรมนูญที่ยกร่างใหม่ ที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือเป็นไปตามนโยบายของพรรคการเมืองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามหลักสากลโลกที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว ประธานรัฐสภาจะรับไว้เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาไม่ได้เลย และหากประธานสภารับไว้โดยประธานรัฐสภาเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่มีนโยบายตามข้อบังคับพรรคการเมืองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว ประธานรัฐสภาอาจจะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว เพราะเป็นการดำเนินการโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐสภาก็ไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาให้ได้
ข้อ 6. การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีข่าวปรากฏต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีรัฐบาลที่จะขอแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ควบคู่ไปกับการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 โดยจะให้ย้อนเวลาไปถึงวันเวลาที่มีการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 แก้ไขมาตรา 237 เรื่องการตัดสิทธิหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งก็คือเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและมีผลกระทบในทางเสียหายกับนักการเมือง พรรคการเมือง ที่ต้องถูกดำเนินคดี ในข้อหาทุจริตถูกยึดทรัพย์ ถูกตัดสิทธิไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินการทางการเมือง การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงมิใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญมีข้อขัดข้อง ข้อขัดแย้งในการใช้รัฐธรรมนูญกับประโยชน์ส่วนได้เสียของมหาชนแต่อย่างใด การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้มีสาเหตุจากกฎหมายรัฐธรรมนูญมีข้อบกพร่อง แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดจากบาดแผลของจิตใจ (Psychic Trauma) ของนักการเมือง หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง และมวลชนของพรรคการเมืองเท่านั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญอันเนื่องมาจากบาดแผลของจิตใจของนักการเมือง พรรคการเมืองดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเรื่องการปรองดอง
( Reconciliation) และจะใช้ทฤษฎีการปรองดองกับกรณีนี้ไม่ได้เลย เพราะเป็นคนละเรื่อง คนละกรณีกัน แต่ในทางตรงกันข้ามการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีที่มาจากพื้นฐานของบาดแผลทางจิตใจของนักการเมืองนั้น จะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไร้ซึ่งบรรทัดฐาน ( Normlessness ) สิ่งที่จะตามมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็คือ การได้มาซึ่งระบบรวบอำนาจเสร็จเด็ดขาด อันเป็นที่มาแห่งอำนาจทรราชย์ (Tyrant) ที่ถาวรเท่านั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายตามข้อบังคับของพรรคการเมือง และนโยบายของรัฐบาลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยจะให้มีอำนาจการปกครองในระบอบรัฐสภาที่มีเพียงสองอำนาจ คือ อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ และเป็นประชาธิปไตยที่เป็นสากลโลกไม่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ก็เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อแย่งชิงอำนาจอธิปไตยไปจากปวงชนชาวไทยโดยวิถีทางทางการเมืองโดยทางรัฐสภา การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นการทรยศต่อประชาชนและต่อประเทศชาตินั่นเอง และหากมีความรุนแรงเกิดขึ้น รัฐบาลและรัฐสภาก็จะกลายเป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นกบฏต่อแผ่นดินได้เช่นกัน
รัฐสภาและรัฐบาลควรไตร่ตรองให้รอบคอบ เพราะกระบวนการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางรัฐธรรมนูญก็คือ การแขวนคอตนเองตายเท่านั้น
10 ม.ค.55
เหตุที่ประหลาดใจก็เพราะว่า รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก (Rigid Constitution) ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่าย (Flexible Constitution) นักการเมือง นักวิชาการ นักกฎหมาย และนักปกครองที่มีความเชี่ยวชาญจะต้องทราบได้เป็นอย่างดีว่า รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากนั้นจะมีหลักการของการแก้ไขที่จำกัด การแก้ไขจะต้องมีข้อขัดข้องในการใช้รัฐธรรมนูญมาตราหนึ่งมาตราใดในการบริหารประเทศ หรือขัดแย้งต่อความเป็นอยู่แห่งประชาคมของประเทศ มิใช่ว่าผลของรัฐธรรมนูญมาตราใดมีไว้เพื่อควบคุมการทุจริตคอรัปชั่น มีไว้เพื่อควบคุมให้พรรคการเมืองต้องรับผิดชอบต่อพรรคการเมืองให้มีวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต ก็จะแก้ไขเพื่อไม่ให้มีการควบคุมพรรคการเมือง อันจะทำให้ระบบพรรคการเมืองล้มเหลว หรือจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำความผิดอาญา โดยจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากนั้น หาอาจทำได้ไม่
ตามหลักการวิชาการแล้ว ที่มาของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากมีที่มาอย่างไร การยกเลิกเพิกถอนหรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็จะต้องทำอย่างเดียวกัน เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 ออกใช้บังคับโดยการออกเสียงประชามติ การยกเลิกเพิกถอนเพื่อที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ก็จะต้องกระทำโดยประชามติเช่นเดียวกัน คือต้องได้รับความเห็นชอบจากมติของมหาชนเสียก่อน
รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้วางระบบการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจแห่งรัฐในการทำหน้าที่ของอำนาจอธิปไตยไว้สามอำนาจ แยกต่างหากจากกันคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งทั้งสามอำนาจมีความสมดุลตามขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วัฒนธรรม คุณธรรม และจริยธรรม กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐและความสัมพันธ์กับประชาชน รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากจึงเป็นรัฐธรรมนูญที่ทรงไว้ซึ่งอำนาจอันเป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยการลงประชามติ (Organic and Fundamental Law) คุณลักษณะของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากก็เพื่อเป็นพื้นฐานของการปกครองของคนในชาติได้อย่างเสมอภาคและมีความสมดุลกัน อันเป็นหลักแห่งความมั่นคงของประเทศ รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากไม่อาจแก้ไขได้ตามอำเภอใจของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งและเข้ามาเป็นรัฐบาล เพราะรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากเป็นรัฐธรรมนูญที่ป้องกันการมีอำนาจเบ็ดเสร็จของพรรคการเมืองเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน
รัฐธรรมนูญที่ใช้ในปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราอื่น ๆ ทุกมาตราจึงได้นำมาบัญญัติเพื่อให้แก้ไขได้ไว้เป็นการเฉพาะ โดยบัญญัติไว้ในมาตร 291 ในหมวด 15 (หมวด 15 มีเพียงมาตราเดียว) โดยมาตรา 291 ให้อำนาจบุคคล 4 กลุ่มที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้คือ (1) คณะรัฐมนตรี ( 2 ) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (4) จากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยกลุ่มบุคคลทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว ผู้ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องมี “ญัตติ” (Motion) ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งก็คือต้องแสดงถึงวัตถุประสงค์หรือความขัดแย้งในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่จะขอแก้ไขในมาตราดังกล่าวด้วยว่ามีความประสงค์หรือข้อขัดแย้งที่ไม่อาจใช้รัฐธรรมนูญในมาตรานั้น ๆ อย่างไร การแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราอื่นในรัฐธรรมนูญจึงขอแก้ไขได้โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญตามมาตร 291 ยกเว้นมาตรา 291 ที่จะข้อแก้ไขไม่ได้ เพราะไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใดที่จะให้อำนาจผู้ใดขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไว้เลย รัฐธรรมนูญมาตรา 291 จึงไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้ นอกจากจะขอแก้ไขมาตรา 291 โดยการลงประชามติของมหาชนเสียก่อนตามหลักวิชาการของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก การที่มีผู้จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ ส.ส.ร. หรือคณะบุคคลเพื่อเข้ามาดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ว่า ส.ส.ร. หรือคณะบุคคลจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่หรือจะมาโดยวิธีใดก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะไม่มีรัฐธรรมนูญให้อำนาจกระทำได้เลย และไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใดที่บัญญัติรับรองอำนาจหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. หรือคณะบุคคลคณะใดให้มีอำนาจหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญไว้แต่อย่างใด ดังนั้นการดำเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. และจะให้ ส.ส.ร. มาดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราอื่น ๆ นั้น ก็เป็นการใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และการยกร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. ก็เป็นการใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. มาดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแต่เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 2550
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อให้คณะบุคคลมาเป็น ส.ส.ร. และมีอำนาจแก้ไขหรือยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้น หรือการที่คณะกรรมการ คอ.นธ จะจัดให้มีคณะบุคคลจากหลากหลายอาชีพเข้ามาเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าคณะบุคคลดังกล่าวจะแต่งตั้งโดยใครก็ตาม การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่เข้าข่ายต่อการกระทำความผิดที่มีโทษทางอาญา หรือจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ สุ่มเสี่ยงต่อการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ให้เป็นระบบเผด็จการผูกขาดโดยพรรคการเมืองและมวลชนของพรรคการเมือง ซึ่งสามารถรวบอำนาจให้มาอยู่ในอาณัติของพรรคการเมืองและมวลชนของพรรคการเมืองได้โดยคณะบุคคลที่เป็น ส.ส.ร. หรือคณะบุคคลที่คณะกรรมการ คอ.นธ.เสนอให้เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ อันนำไปสู่ลัทธิการปกครองในรูปแบบใหม่ (แต่เป็นลัทธิเก่า) ซึ่งเรียกว่า “ ลัทธิรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ” (Totalitarianism)
“ ลัทธิรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ” ไม่ใช่เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นลัทธิที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย เพราะเป็นการปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยไปเป็นอำนาจอธิปไตยของพรรคการเมืองและมวลชนของพรรคการเมือง แม้จะมีการเลือกตั้งต่อไปในอนาคต ก็ไม่อาจลบล้าง “ลัทธิรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ” ดังกล่าวได้เลย เพราะได้นำมาบัญญัติเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญสร้างการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จผูกขาดให้เป็นของพรรคการเมืองไปแล้วโดยสมบูรณ์
ดังนั้นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตราอื่นๆในรัฐธรรมนูญจะกระทำได้ก็โดยอาศัยอำนาจและตามเงื่อนไขที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เท่านั้น แต่ไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้เกิดอำนาจในทางรัฐสภาเพื่อไปสร้างองค์กรคณะบุคคล หรือสร้างองค์กร ส.ส.ร.ให้มีอำนาจพิเศษเหนือรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมาได้เลย การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 จึงต้องไปผ่านประชามติเสียก่อน มิฉะนั้นจะกลายเป็นการใช้อำนาจทางรัฐสภาเพื่อล้มล้าง เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยให้กลายไปเป็นอำนาจอธิปไตยเป็นของพรรคการเมืองและมวลชนของพรรคการเมือง ซึ่งก็คืออำนาจอธิปไตยเป็นของคณะบุคคล ( Oligarchy ) ที่ชนะการเลือกตั้งมาเป็นรัฐบาลเท่านั้น การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการปฏิวัติโดยทางรัฐสภา อันเป็นการทรยศทางการเมือง
( Knifing ) ต่อประชาชนนั่นเอง เพราะการเป็นตัวแทนมาใช้อำนาจปกครองประชาชนนั้นเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่เป็นตัวแทนของผู้ที่เลือกตั้งมาเท่านั้น
ข้อ 2. การเอาเรื่องการหาเสียงไว้กับประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้สอดคล้องกับที่หาเสียงไว้นั้นไม่อาจกระทำได้ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นความต้องการของพรรคการเมืองจึงได้นำมาหาเสียง และการหาเสียงต้องทำในหลายรูปแบบเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง มีการเสนอให้ผลประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านต่อประชาชน การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงให้จึงมิได้หมายความว่า การลงคะแนนเสียงให้นั้นเป็นความต้องการของประชาชนที่จะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ การเลือกตั้งทั่วไปไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ชนะการเลือกตั้งที่ได้เป็นรัฐบาลจะมีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แต่อย่างใดเลย เพราะการลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไปเป็นการลงคะแนนเพื่อมอบอำนาจให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งมาทำหน้าที่ในทางบริหารและทางนิติบัญญัติเท่านั้นไม่ใช่มอบอำนาจให้มาทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรวบอำนาจเบ็ดเสร็จได้ พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งและได้เป็นรัฐบาล จึงไม่มีสิทธิที่จะอ้างว่าเป็นตัวแทนของประชาชนที่จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่ได้หาเสียงไว้ได้ การหาเสียงโดยเอาการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาใช้ในการหาเสียง หรือการเอาการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาเป็นนโยบายของรัฐบาล เป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นได้ว่าพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลนั้นมีนโยบายที่จะล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ “ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ” ให้กลายเป็น “ อำนาจอธิปไตยไปเป็นของพรรคการเมืองหรือของรัฐบาล ” นโยบายของรัฐบาลจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญและละเมิดอำนาจอธิปไตยที่ “ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยทั้งปวง ” ( การหาเสียงเลือกตั้งที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการแสดงเจตนาที่จะล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หากไม่มีเหตุผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะหาเสียง ก็เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ ก.ก.ต.จะต้องตรวจสอบและดำเนินการในขณะเลือกตั้งนั้น )
ข้อ 3. นโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเป็นนโยบายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 โดยรัฐบาลไม่ได้ยึดมั่นในการปกครอบระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำแถลงนโยบายของรัฐบาลในหน้า 1 ว่า “ บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และครอบคลุมถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติในหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย...................”
และคำแถลงนโยบายของรัฐบาลหน้า 11 ข้อ 1.16 ว่า “ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่มีประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านทางการออกเสียงประชามติ ”
นโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภานั้น หากได้วิเคราะห์ตามหลักวิชาการแล้วจะเห็นได้ว่า เป็นนโยบายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ ประการแรก รัฐบาลไม่ได้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีอำนาจการปกครองสามอำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการทางศาล โดยอำนาจทั้งสามเป็นอำนาจของปวงชนชาวไทย ซึ่งต้องมีดุลยภาพในการตรวจสอบและคานอำนาจกันอย่างมีประสิทธิภาพ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจทั้งสามทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล แต่รัฐบาลยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นการที่รัฐบาลยอมรับเฉพาะอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหาร ซึ่งเป็นอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นที่มาของคณะรัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น แต่ไม่ยอมรับอำนาจตุลาการ และอำนาจในองค์กรอื่นของรัฐทุกองค์กร ซึ่งก็คือรัฐบาลไม่ยอมรับอำนาจการปกครองที่มาจากระบบคุณธรรม วัฒนธรรม นิติประเพณี ระบบคุณค่าทางความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในทางวิชาการ หรือเรียกง่ายๆว่า “ ระบบคุณธรรมและวิชาการ ” คือ ไม่ยอมรับสถาบันตุลาการ สถาบันทหาร สถาบันข้าราชการพลเรือน สถาบันธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะที่มาของอำนาจตุลาการ สถาบันทหาร สถาบันข้าราชการพลเรือน และสถาบันธนาคารแห่งประเทศไทยล้วนเป็นผู้ที่ใช้อำนาจรัฐที่มาจาก “ ระบบคุณธรรมและวิชาการ ” ทั้งสิ้น ซึ่งระบบดังกล่าวไม่มีอยู่ในระบบรัฐสภา เพราะบุคคลในระบบรัฐสภาจะมาจาก ความพึงพอใจของประชาชนที่เลือกตั้งมา หรือมาจากความเป็นผู้กว้างขวางในหมู่ประชาชนที่เลือกตั้งมาเท่านั้น บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาไม่ได้ถูกกำหนดอย่างเข้มงวดโดยพื้นฐานของความเป็นคนที่มีคุณธรรม มีวัฒนธรรม มีวินัยหรือจรรยาบรรณ มีความรู้ ความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในทางวิชาการ แต่อย่างใด ซึ่งรัฐบาลก็ได้แสดงออกถึงการไม่ยอมรับในระบบคุณธรรมและวิชาการ เพราะได้มีความพยายามแก้ไขกฎหมายที่ควบคุมระบบคุณธรรมและวิชาการของสถาบันทหาร หรือทำการโยกย้ายข้าราชการพลเรือนตามความต้องการของฝ่ายการเมือง โดยไม่คำนึงถึงระบบคุณธรรมและวิชาการในองค์กรสถาบันข้าราชการพลเรือน วางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักนิติธรรมโดยการออกพระราชกำหนดมาใช้บังคับกับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานต่อสาธารณชนในการบริหารราชการของรัฐบาลมาเป็นระยะ ๆ แล้ว
ประการที่สอง รัฐธรรมนูญ 2550 ให้หลักประกันการเป็นประชาธิปไตย คือ สิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนไว้ครอบคลุมทุกด้าน ตามรัฐธรรมนูญในหมวด 1 ถึงหมวดที่ 5 แต่รัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะบริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ในหมวด 1 ถึงหมวดที่ 4 ในเรื่องพระมหากษัตริย์ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหน้าที่ของชนชาวไทยแต่อย่างใด โดยรัฐบาลจะบริหารประเทศเฉพาะในหมวด 5 คือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น [ ซึ่งมีความหมายนัยสำคัญจะต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ให้ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติสามารถออกกฎหมาย และปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์และประชาชนในทางลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ หรือของประชาชนอย่างไรก็ได้ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของคนเฉพาะบางคน บางกลุ่มก็ได้ ฯลฯ ]
ประการที่สาม รัฐบาลมีนโยบายที่จะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยองค์กรพิเศษนอกรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระ สภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระแม้จะมีการเลือกตั้งหรือคัดเลือกหรือแต่งตั้งเป็นคณะบุคคลเข้ามาก็ไม่ทำให้สภาร่างรัฐธรรมนูญหรือคณะบุคคลดังกล่าว นั้นมีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและมีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญได้แต่อย่างใดไม่ ในกรณีดังกล่าวจะต้องมีการทำประชามติเสียก่อนว่า จะยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 หรือไม่ และจะต้องทำประชามติเสียก่อนว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระ หรือมีคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญได้หรือไม่เสียก่อน หากรัฐบาลหรือรัฐสภาไม่ดำเนินการในประเด็นนี้ให้เรียบร้อยเสียก่อน รัฐบาลและรัฐสภาจะอยู่ในจุดเสี่ยงการเป็นผู้กระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรในข้อหาเป็นกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ได้
นโยบายของรัฐบาลมีความชัดเจนในข้อ 1.16 ที่จะไม่ใช้รัฐธรรมนูญ 2550 แต่จะใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในการปกครองประเทศ นโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภานั้นส่อเจตนาที่ล้มล้าง หรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ แต่การล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่มิได้ทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายย่อมไม่เป็นความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ตามกฎหมายอาญามาตรา 113 แต่นโยบายของรัฐบาลที่หมิ่นเหม่ต่อความผิดอาญาในข้อหาเป็นกบฏต่อราชอาณาจักรไทยอาจเกิดขึ้นได้ หากมีประชาชนไม่เห็นด้วยและออกมาต่อต้านคัดค้านจนรัฐบาลต้องใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายต่อประชาชนผู้คัดค้าน หรือมีมวลชนของพรรคการเมืองเข้าไปก่อกวน ขัดขวางกลุ่มมวลชนที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญและเกิดการใช้กำลังกันขึ้นแล้ว การดำเนินการล้มล้างเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของรัฐบาลตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ก็เข้าข่ายของการกระทำความผิดอาญาในข้อหาเป็นกบฏตามมาตรา 113 ทันที เพราะการที่รัฐบาลมีนโยบายล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นเจตนาที่ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าจะเกิดการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายกันขึ้นได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาจะโดยรัฐบาลเป็นผู้เสนอหรือไม่ ย่อมสุ่มเสี่ยงที่รัฐสภาและรัฐบาล และผู้ที่ร่วมในขบวนการจะร่วมกันเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในข้อหาเป็นกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 (1 ) ทั้งสิ้น
และจากนโยบายดังกล่าว หากปรากฏเป็นรูปธรรมขึ้นเพราะมีผู้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราใดมาตราหนึ่ง หรือร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะมาตรา 291 โดยมีการยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ก็จะปรากฏหลักฐานต่อสาธารณชนโดยชัดแจ้งว่านโยบายของรัฐบาลนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญในทันที ซึ่งจะเกิดปัญหาในทางรัฐธรรมนูญว่าประมุขฝ่ายนิติบัญญัติจะรับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดังกล่าวไว้ได้หรือไม่ และถ้าประมุขฝ่ายนิติบัญญัติรับเรื่องไว้พิจารณาโดยที่รู้แล้วว่า นโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภานั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว แต่จะดำเนินเรื่องเสนอต่อรัฐสภาให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือพิจารณารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว ก็จะเกิดผลเป็นวิกฤติทางรัฐสภาในทันที เพราะการรับไว้พิจารณาของประมุขฝ่ายนิติบัญญัตินั้นจะมีผลเป็นการจงใจกระทำการอันขัดต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ซึ่งจะเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ซึ่งอาจจะถูกถอดถอน ถูกดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 157 หรืออาจถึงขั้นพยายามกระทำความผิดตามมาตรา 113 (1) ได้
ข้อ 4 นโยบายของรัฐบาลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ได้แถลงต่อรัฐสภาเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ว่า นโยบายตามข้อบังคับของพรรคการเมืองขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน นโยบายตามข้อบังคับของพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลระบุข้อความตอนหนึ่งว่า “ พรรคเพื่อไทยมุ่งเน้นการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมืองไทยให้เกิดความมั่นคงและเสริมสร้างความเชื่อมั่นว่า สถาบันการเมืองคือสถาบันที่มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพในการรับใช้พี่น้องปวงชนชาวไทยในทุกภาคส่วน ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยของชาติให้เข้มแข็งอย่างมีประสิทธิภาพและก่อเกิดประสิทธิผล เสริมสร้างความผาสุกแก่ปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง โดยมีจุดยืนอย่างหนักแน่น มั่นคง และแน่วแน่ในการปฏิรูปกระบวนการใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ อันเป็นโครงสร้างหลักแห่งระบอบประชาธิปไตยที่มาจากความต้องการของปวงชนชาวไทยด้วยกรรมวิธีบนวิถีแห่งความเป็นประชาธิปไตยของความเป็นประชาธิปไตยแห่งสากลโลก”
โดยนัยความหมายตามนโยบายของพรรคดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงจุดยืนอย่างหนักแน่นมั่นคงในการที่จะล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 และใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยแห่งสากลโลก เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต่างจากประชาธิปไตยแห่งสากลโลกที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แม้รัฐธรรมนูญ 2550 จะมาจากความต้องการของประชาชนชาวไทยโดยผ่านการลงประชามติมาแล้วก็ตาม พรรคการเมืองก็เห็นว่าไม่ใช่เป็นรัฐธรรมนูญอันเป็นโครงสร้างหลักแห่งระบอบประชาธิปไตย เพราะโครงสร้างหลักแห่งระบอบประชาธิปไตยตามนัยนโยบายพรรคที่ได้กำหนดไว้ก็คือ พรรคการเมืองต้องเป็นสถาบันที่มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพที่สามารถผูกขาดการรับใช้ประชาชนชาวไทยได้ทุกภาคส่วน ซึ่งก็คือ พรรคการเมืองเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจรัฐทั้งปวงเพื่อรับใช้ประชาชนโดยพรรคการเมืองเท่านั้น
เจตนารมณ์ในการจัดตั้งพรรคการเมืองที่มีนโยบายโดยนัยดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 65 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 9 วรรคแรก มาตรา 10 วรรคสอง (1) เพราะการจัดตั้งพรรคการเมืองก็เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชน และดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เมื่อข้อบังคับพรรคการเมืองมีนโยบาย โดยมีเจตนารมณ์ไม่ต้องการรัฐธรรมนูญ 2550 ใช้บริหารประเทศและต้องการจะล้มล้างไป เพราะไม่เป็นประชาธิปไตยตามวิถีทางความเป็นประชาธิปไตยแห่งสากลโลก แต่เป็นประชาธิปไตยที่มีอำนาจการปกครองสามอำนาจโดยมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อพรรคการเมืองได้จดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีลักษณะหรือความมุ่งหมายที่ขัดหรือแย้งต่อหลักพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 65 พ.ร.บ. ว่าด้วยพรรคการเมือง ฯ มาตรา 9 , มาตรา 10 วรรคสอง (1) การขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองจึงอยู่ในข่ายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่ง กกต. จะรับจดทะเบียนให้ไม่ได้ และไม่มีอำนาจที่จะจดทะเบียนให้ได้ แต่เมื่อได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองให้ จึงเป็นการที่ กกต. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อบังคับและนโยบายของพรรคการเมืองว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายแล้ว การรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองที่มีเจตนารมณ์ของพรรคการเมืองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะพรรคการเมืองต้องการให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแห่งสากลโลกซึ่งไม่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ/หรือให้มีการปกครองเพียงสองอำนาจ จึงมีผลกระทบต่อการเลือกตั้งอย่างรุนแรง เพราะการตรวจสอบรับรองโดยรับจดทะเบียนพรรคการเมืองของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิใช่เป็นการรับรองสิทธิของพรรคการเมืองเพื่อให้พรรคการเมืองมีสิทธิส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งลงเลือกตั้งเท่านั้น แต่เป็นการรับรองให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งไปใช้สิทธิลงคะแนนให้พรรคการเมืองซึ่งมีเจตนารมณ์ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจากการจดทะเบียนให้พรรคการเมืองดังกล่าวด้วย ซึ่งจะมีผลในทางรัฐธรรมนูญหลายประการและมีข้อขัดแย้งในการบริหารประเทศอย่างมหาศาล (โดยผู้เขียนจะไม่เข้าไปสู่รายละเอียดในผลทางรัฐธรรมนูญดังกล่าว)
ข้อ 5. เมื่อปรากฏเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่า ได้มีความพยายามของบุคคลหลายกลุ่ม หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะโดยคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คปอ. (ซึ่งรัฐบาลได้นำเอาความเห็นของ คปอ. ซึ่งยังไม่ปรากฏความเห็นที่เป็นรูปธรรมเข้าไปเป็นนโยบายของรัฐบาลในข้อ 1.1.3) หรือข้อเสนอของกลุ่ม “ นิติราษฎร์ ” ที่จะให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือมีการรณรงค์รวบรวมรายชื่อประชาชน 50,000 คน ของมวลชนพรรคการเมืองเพื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือข้อเสนอของคณะกรรมการคอ.นธ ที่ให้ร่างรัฐธรรมนูญโดยใช้คณะบุคคลให้มีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเอง ล้วนเป็นการกระทำเพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลอันเป็นนโยบายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น การเสนอเรื่องเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะรัฐธรรมนูญมีข้อขัดแย้งในการใช้บังคับกับประชาชน หรือไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนแต่อย่างใดไม่ แต่เป็นการกระทำเพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายของพรรคการเมือง และนโยบายของรัฐบาลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญเท่านั้น กรณีจึงเข้าข่ายเป็นการสมรู้ร่วมคิดกัน การกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นการกระทำของ “ ตัวแปรต้น” หรือ “ ตัวแปรอิสระ ” ( Independent Variable ) ที่จะนำพารัฐบาล และรัฐสภาไปสู่ทางตัน (Deadlock หรือ Cal de sac) ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เพราะนโยบายของรัฐบาลและนโยบายตามข้อบังคับของพรรคการเมืองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จะปรากฏผลการขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น หากได้มีการดำเนินการเป็นรูปธรรมทางรัฐสภา ซึ่งเป็นหนทางที่อาจถูกถอดถอน ถูกดำเนินคดีอาญา หรือถูกยุบพรรคการเมืองได้
เพราะเมื่อความปรากฏผลเป็นรูปธรรมต่อสาธารณชนถึงการดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายข้อบังคับของพรรคการเมือง และนโยบายของรัฐบาลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ ก.ก.ต. ซึ่งเป็นผู้ควบคุมข้อบังคับพรรคการเมือง มีหน้าที่ตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญโดยตรงที่จะต้องตรวจสอบนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งหากนโยบายของพรรคการเมืองขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว พรรคการเมืองก็อยู่ในข่ายที่ ก.ก.ต. จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ฯ มาตรา 94 ต่อไป
และหากความปรากฏเป็นรูปธรรมต่อประธานรัฐสภาหรือรัฐสภาว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการขอแก้ไขมาตรา 291 อันมิใช่เป็นการขอแก้ไขมาตราอื่น ๆ ในรัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว ประธานรัฐสภาจะรับไว้เป็นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่ได้เลย เพราะไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 136 (16) และมาตรา 291 การแก้ไขมาตรา 291 จะต้องผ่านประชามติเสียก่อน ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ในมาตราอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่มาตรา 291) หรือเป็นรัฐธรรมนูญที่ยกร่างใหม่ ที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือเป็นไปตามนโยบายของพรรคการเมืองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามหลักสากลโลกที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว ประธานรัฐสภาจะรับไว้เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาไม่ได้เลย และหากประธานสภารับไว้โดยประธานรัฐสภาเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่มีนโยบายตามข้อบังคับพรรคการเมืองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว ประธานรัฐสภาอาจจะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว เพราะเป็นการดำเนินการโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐสภาก็ไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาให้ได้
ข้อ 6. การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีข่าวปรากฏต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีรัฐบาลที่จะขอแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ควบคู่ไปกับการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 โดยจะให้ย้อนเวลาไปถึงวันเวลาที่มีการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 แก้ไขมาตรา 237 เรื่องการตัดสิทธิหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งก็คือเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและมีผลกระทบในทางเสียหายกับนักการเมือง พรรคการเมือง ที่ต้องถูกดำเนินคดี ในข้อหาทุจริตถูกยึดทรัพย์ ถูกตัดสิทธิไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินการทางการเมือง การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงมิใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญมีข้อขัดข้อง ข้อขัดแย้งในการใช้รัฐธรรมนูญกับประโยชน์ส่วนได้เสียของมหาชนแต่อย่างใด การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้มีสาเหตุจากกฎหมายรัฐธรรมนูญมีข้อบกพร่อง แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดจากบาดแผลของจิตใจ (Psychic Trauma) ของนักการเมือง หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง และมวลชนของพรรคการเมืองเท่านั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญอันเนื่องมาจากบาดแผลของจิตใจของนักการเมือง พรรคการเมืองดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเรื่องการปรองดอง
( Reconciliation) และจะใช้ทฤษฎีการปรองดองกับกรณีนี้ไม่ได้เลย เพราะเป็นคนละเรื่อง คนละกรณีกัน แต่ในทางตรงกันข้ามการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีที่มาจากพื้นฐานของบาดแผลทางจิตใจของนักการเมืองนั้น จะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไร้ซึ่งบรรทัดฐาน ( Normlessness ) สิ่งที่จะตามมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็คือ การได้มาซึ่งระบบรวบอำนาจเสร็จเด็ดขาด อันเป็นที่มาแห่งอำนาจทรราชย์ (Tyrant) ที่ถาวรเท่านั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายตามข้อบังคับของพรรคการเมือง และนโยบายของรัฐบาลที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยจะให้มีอำนาจการปกครองในระบอบรัฐสภาที่มีเพียงสองอำนาจ คือ อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ และเป็นประชาธิปไตยที่เป็นสากลโลกไม่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ก็เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อแย่งชิงอำนาจอธิปไตยไปจากปวงชนชาวไทยโดยวิถีทางทางการเมืองโดยทางรัฐสภา การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นการทรยศต่อประชาชนและต่อประเทศชาตินั่นเอง และหากมีความรุนแรงเกิดขึ้น รัฐบาลและรัฐสภาก็จะกลายเป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นกบฏต่อแผ่นดินได้เช่นกัน
รัฐสภาและรัฐบาลควรไตร่ตรองให้รอบคอบ เพราะกระบวนการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางรัฐธรรมนูญก็คือ การแขวนคอตนเองตายเท่านั้น
10 ม.ค.55