และแล้วประเทศนี้ก็กำลังจะเริ่มกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่กันอีกครั้งหนึ่ง นัยว่า “เพื่อให้เป็นประชาธิปไตย” เหมือนก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
นี่คือ “กับดักความคิด” อันยิ่งใหญ่ !
มักจะมีคำพูดหรู ๆ กันว่าถ้าเป็นนักประชาธิปไตยจริง ๆ แล้วต้องยอมรับว่าในระบอบประชาธิปไตยไม่อนุญาตให้มีเงื่อนไขในการทำรัฐประหารได้ เพราะไม่ว่ารัฐบาลจะมีความผิดพลาดอย่างไรก็ต้องแก้ไขโดยกลไกระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ดังนั้นการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงไม่อาจจะยอมรับได้ ใครยอมรับถือว่าไม่ใช่นักประชาธิปไตย
ที่จริงมันก็ถูก
แต่ถูกภายใต้เงื่อนไขว่าระบอบ ณ ขณะนั้นต้องเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ ไม่ใช่ประชาธิปไตยแต่เพียงรูปแบบทว่าเนื้อหาไม่ใช่ ถ้าเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ อย่างในนานาอารยประเทศแล้วแน่นอนว่าไม่ว่ารัฐบาลจะทำผิดพลาดอย่างไรก็ไม่ก่อให้เกิดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การรัฐประหาร เพราะกลไกของระบอบสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ไม่ยาก ดีไม่ดีไม่ต้องให้กลไกเดินหน้าคนที่เป็นรัฐบาลก็จะตัดสินใจอำลาตำแหน่งเองตามมารยาทและมาตรฐานที่สังคมวางไว้เป็นประเพณี ส่วนคนถืออาวุธนั้นเรื่องยึดอำนาจรัฐไม่เคยอยู่ในพจนานุกรมความคิดของเขา
ประเด็นที่ต้องพูดกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าคือเมืองไทยก่อน 19 กันยายน 2549 เป็นประชาธิปไตยจริงๆ หรือไม่
หรือขยายประเด็นให้กว้างขึ้นก็คือเมืองไทยตั้งแต่หลัง 24 มิถุนายน 2475 ได้เคยเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ มาอย่างต่อเนื่องหรือไม่
กับดักความคิดที่คนไทยส่วนใหญ่ติดอยู่มาโดยตลอดคือเป็นประชาธิปไตยบ้างเป็นบางช่วง เพราะ “มีการเลือกตั้ง” หรือเพราะมีรัฐธรรมนูญฉบับนั้นฉบับนี้ที่บอกว่า “มีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยที่สุด” ซึ่งบ้างก็ว่ารัฐธรรมนูญ 2489 บ้างก็ว่ารัฐธรรมนูญ 2517 รวมทั้งรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ระยะสี่ห้ามาปีมานี้ถูกอ้างอิงมากที่สุดว่าเป็นประชาธิปไตยที่สุดเพราะมาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและนำเอามาตรการที่ทันสมัยจากประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกมาประยุกต์บรรจุไว้
แต่ถ้าเราไม่ติดอยู่ในกับดักความคิดนี้ ?
เราจะเห็นได้ว่าระบอบการปกครองก่อน 19 กันยายน 2549 หากแต่เป็นระบอบเผด็จการอีกประเภทหนึ่งคือเผด็จการรัฐสภา หรืออีกนัยหนึ่งที่ท่านศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ท่านเรียกให้เข้าใจง่ายขึ้นในชั้นหลังๆ ว่า “ระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง” หรือ “ระบอบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา” มันจึงเปิดโอกาสให้มีเงื่อนไขในการรัฐประหารได้ การรัฐประหารก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากเปลี่ยนระบอบกลับไปเป็น “ระบอบเผด็จการทหาร”
นี่คือสิ่งที่ดำรงอยู่ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2475 คือการสลับสับเปลี่ยนกันครองประเทศระหว่างระบอบเผด็จการรัฐสภาฯ กับระบอบเผด็จการทหาร
ความไม่ชอบธรรมของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หาได้ทำให้รัฐบาลและระบอบการเมืองก่อน 19 กันยายน 2549 ชอบธรรมขึ้นไม่
ไม่ต้องอรรถาธิบายด้วยภาษาของศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ก็ได้ คณิน บุญสุวรรณที่ระยะหลังขึ้นเวทีคนเสื้อแดงด้วยก็เคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่งตั้งแต่ปี 2547 ชื่อว่ารัฐธรรมนูญตายแล้ว รัฐธรรมนูญ 2540 ในมุมมองของเขาถูกฆาตกรรมโดยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นศพไปก่อนหน้ารัฐประหารไม่น้อยกว่าสองสามปีแล้ว
วิกฤตของประเทศเกิดจากระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง
ถ้าจะแก้ไขก็มีแต่ต้องทำลายระบอบนั้นในทันที !
ความไม่ชอบธรรมของการรัฐประหาร 19 กันนยายน 2549 ในมุมมองของผมไม่ได้อยู่ที่เหตุในการทำรัฐประหาร แต่อยู่ที่เมื่อทำแล้วกลับพยายาม “สวมตอ” ระบอบเผด็จการรัฐสภาฯเดิม โดยใช้กุศโลบายทุกวิธีสลายพรรคการเมืองที่ครองอำนาจอยู่เดิม ดึงออกมาก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ แล้วเร่งรัดจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยตรารัฐธรรมนูญที่คิดผิด ๆ ว่าจะทำให้พรรคการเมืองใหม่ของตนชนะเลือกตั้ง แล้วถอดเครื่องแบบออกมานั่งเป็นรัฐบาลแทนที่ภายใต้กับดักความคิดเดิมว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย
แปลกแต่จริง อดีตหัวหน้าคณะรัฐประหารคณะนั้นวันนี้ก็ยังมาตั้งพรรคการเมืองมี 2 – 3 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
แถมยังเป็นคณะกรรมาธิการปรองดองฯอีกต่างหาก
ในมุมมองของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ที่ท่านยืนยันมาตั้งแต่ปี 2535 โน่นแล้ว วิธีการแก้ไขในเบื้องต้นที่ต้องทำทันทีหลังหลุดออกจากกับดักความคิดแล้วก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตัดบทบัญญัติอย่างน้อย ๆ สองสามประการ คือ (1) ยกเลิกบทบังคับผู้สมัคร ส.ส.ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง (2) ยกเลิกบทบัญญัติให้พรรคการเมืองมีอำนาจให้ ส.ส.ที่ไม่ปฏิบัติตามคำบงการสามารถพ้นจากตำแหน่ง ได้ (3) ยกเลิกบทบัญญัติบังคับให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากส.ส.เท่านั้น
จากนั้นขั้นต่อไปก็คือเริ่มกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อการปฏิรูปการเมือง และการปฏิรูปประเทศ โดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้มีประสบการณ์ในการบริหารบ้านเมืองร่วมกับผู้เชี่ยวชาญโดยผ่านระบบการคัดเลือกจากรัฐบุรุษหรือผู้นำ ในความหมายของ Statesman ไม่ใช่ในลักษณะของ “สภา” หรือ “สมัชชา” ที่มีที่มาหลากหลาย
ขั้นสุดท้ายเมื่อได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องทำเสร็จพร้อมกันแล้วให้นำมาผ่านการลงประชามติจากประชาชนโดยตรง
ไม่ว่าใครจะเห็นพ้องหรือเห็นต่างอย่างไรท่านก็ยืนยันของท่านอย่างนี้มา 20 ปีแล้วนับตั้งแต่นำข้อเขียนเรื่อง “รัฐธรรมนูญ : โครงสร้างและกลไกทางกฎหมาย” เสนอต่อที่ประชุมในการสัมมนาทางวิชาการที่โรงแรมเอเชีย จัดโดยสถาบันนโยบายศึกษา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2534 และเป็นหัวหน้าคณะวิจัยรวมทั้งเขียนบทความต่อเนื่องด้วยตนเองตลอด 2 ปีต่อมา ก่อนจะตกรวบยอดเป็นบทสรุปด้วยการเขียนบทความขนาดยาวเรื่อง “Constitutionalism : ทางออกของประเทศไทย” ลงในนสพ.ผู้จัดการรายวันช่วงเดือนเมษายน 2537 และจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มโดยสถาบันนโยบายศึกษาในอีก 3 เดือนต่อมา
หนังสือ “Constitutionalism : ทางออกของประเทศไทย” เดี๋ยวนี้กลายเป็นตำราคลาสสิกไปแล้ว
ศ.นพ.ประเวศ วะสีก็เคยนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์กับการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) เมื่อปี 2537 และเป็นรากฐานที่นำไปสู่การแก้ไขมาตรา 211 รัฐธรรมนูญ 2534 ในปี 2539 ก่อให้เกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญ 2540 ขึ้นมาในที่สุด
แม้นวัตกรรมทางการเมืองหลายอย่างในรัฐธรรมนูญ 2540 จะมาจากแนวคิดวิชากฎหมายมหาชนยุคใหม่ แต่หลักสำคัญที่สุดสองสามประการที่กล่าวข้างต้นไม่ได้รับการแก้ไข
ผลที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2540 ในที่สุดจึงคือการกระชับอำนาจให้กับระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง
ล่าสุดแนวความคิดทางวิชาการนี้มาปรากฏเป็นแก่นแกนทางความคิดของกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์
ไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหนคนไทยจึงจะหลุดพ้นไปจาก “กับดักความคิด” นี้
หรือจะตายไปพร้อมกับมัน !
นี่คือ “กับดักความคิด” อันยิ่งใหญ่ !
มักจะมีคำพูดหรู ๆ กันว่าถ้าเป็นนักประชาธิปไตยจริง ๆ แล้วต้องยอมรับว่าในระบอบประชาธิปไตยไม่อนุญาตให้มีเงื่อนไขในการทำรัฐประหารได้ เพราะไม่ว่ารัฐบาลจะมีความผิดพลาดอย่างไรก็ต้องแก้ไขโดยกลไกระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ดังนั้นการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงไม่อาจจะยอมรับได้ ใครยอมรับถือว่าไม่ใช่นักประชาธิปไตย
ที่จริงมันก็ถูก
แต่ถูกภายใต้เงื่อนไขว่าระบอบ ณ ขณะนั้นต้องเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ ไม่ใช่ประชาธิปไตยแต่เพียงรูปแบบทว่าเนื้อหาไม่ใช่ ถ้าเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ อย่างในนานาอารยประเทศแล้วแน่นอนว่าไม่ว่ารัฐบาลจะทำผิดพลาดอย่างไรก็ไม่ก่อให้เกิดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การรัฐประหาร เพราะกลไกของระบอบสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ไม่ยาก ดีไม่ดีไม่ต้องให้กลไกเดินหน้าคนที่เป็นรัฐบาลก็จะตัดสินใจอำลาตำแหน่งเองตามมารยาทและมาตรฐานที่สังคมวางไว้เป็นประเพณี ส่วนคนถืออาวุธนั้นเรื่องยึดอำนาจรัฐไม่เคยอยู่ในพจนานุกรมความคิดของเขา
ประเด็นที่ต้องพูดกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าคือเมืองไทยก่อน 19 กันยายน 2549 เป็นประชาธิปไตยจริงๆ หรือไม่
หรือขยายประเด็นให้กว้างขึ้นก็คือเมืองไทยตั้งแต่หลัง 24 มิถุนายน 2475 ได้เคยเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ มาอย่างต่อเนื่องหรือไม่
กับดักความคิดที่คนไทยส่วนใหญ่ติดอยู่มาโดยตลอดคือเป็นประชาธิปไตยบ้างเป็นบางช่วง เพราะ “มีการเลือกตั้ง” หรือเพราะมีรัฐธรรมนูญฉบับนั้นฉบับนี้ที่บอกว่า “มีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยที่สุด” ซึ่งบ้างก็ว่ารัฐธรรมนูญ 2489 บ้างก็ว่ารัฐธรรมนูญ 2517 รวมทั้งรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ระยะสี่ห้ามาปีมานี้ถูกอ้างอิงมากที่สุดว่าเป็นประชาธิปไตยที่สุดเพราะมาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและนำเอามาตรการที่ทันสมัยจากประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกมาประยุกต์บรรจุไว้
แต่ถ้าเราไม่ติดอยู่ในกับดักความคิดนี้ ?
เราจะเห็นได้ว่าระบอบการปกครองก่อน 19 กันยายน 2549 หากแต่เป็นระบอบเผด็จการอีกประเภทหนึ่งคือเผด็จการรัฐสภา หรืออีกนัยหนึ่งที่ท่านศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ท่านเรียกให้เข้าใจง่ายขึ้นในชั้นหลังๆ ว่า “ระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง” หรือ “ระบอบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา” มันจึงเปิดโอกาสให้มีเงื่อนไขในการรัฐประหารได้ การรัฐประหารก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากเปลี่ยนระบอบกลับไปเป็น “ระบอบเผด็จการทหาร”
นี่คือสิ่งที่ดำรงอยู่ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2475 คือการสลับสับเปลี่ยนกันครองประเทศระหว่างระบอบเผด็จการรัฐสภาฯ กับระบอบเผด็จการทหาร
ความไม่ชอบธรรมของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หาได้ทำให้รัฐบาลและระบอบการเมืองก่อน 19 กันยายน 2549 ชอบธรรมขึ้นไม่
ไม่ต้องอรรถาธิบายด้วยภาษาของศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ก็ได้ คณิน บุญสุวรรณที่ระยะหลังขึ้นเวทีคนเสื้อแดงด้วยก็เคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่งตั้งแต่ปี 2547 ชื่อว่ารัฐธรรมนูญตายแล้ว รัฐธรรมนูญ 2540 ในมุมมองของเขาถูกฆาตกรรมโดยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นศพไปก่อนหน้ารัฐประหารไม่น้อยกว่าสองสามปีแล้ว
วิกฤตของประเทศเกิดจากระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง
ถ้าจะแก้ไขก็มีแต่ต้องทำลายระบอบนั้นในทันที !
ความไม่ชอบธรรมของการรัฐประหาร 19 กันนยายน 2549 ในมุมมองของผมไม่ได้อยู่ที่เหตุในการทำรัฐประหาร แต่อยู่ที่เมื่อทำแล้วกลับพยายาม “สวมตอ” ระบอบเผด็จการรัฐสภาฯเดิม โดยใช้กุศโลบายทุกวิธีสลายพรรคการเมืองที่ครองอำนาจอยู่เดิม ดึงออกมาก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ แล้วเร่งรัดจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยตรารัฐธรรมนูญที่คิดผิด ๆ ว่าจะทำให้พรรคการเมืองใหม่ของตนชนะเลือกตั้ง แล้วถอดเครื่องแบบออกมานั่งเป็นรัฐบาลแทนที่ภายใต้กับดักความคิดเดิมว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย
แปลกแต่จริง อดีตหัวหน้าคณะรัฐประหารคณะนั้นวันนี้ก็ยังมาตั้งพรรคการเมืองมี 2 – 3 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
แถมยังเป็นคณะกรรมาธิการปรองดองฯอีกต่างหาก
ในมุมมองของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ที่ท่านยืนยันมาตั้งแต่ปี 2535 โน่นแล้ว วิธีการแก้ไขในเบื้องต้นที่ต้องทำทันทีหลังหลุดออกจากกับดักความคิดแล้วก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตัดบทบัญญัติอย่างน้อย ๆ สองสามประการ คือ (1) ยกเลิกบทบังคับผู้สมัคร ส.ส.ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง (2) ยกเลิกบทบัญญัติให้พรรคการเมืองมีอำนาจให้ ส.ส.ที่ไม่ปฏิบัติตามคำบงการสามารถพ้นจากตำแหน่ง ได้ (3) ยกเลิกบทบัญญัติบังคับให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากส.ส.เท่านั้น
จากนั้นขั้นต่อไปก็คือเริ่มกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อการปฏิรูปการเมือง และการปฏิรูปประเทศ โดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้มีประสบการณ์ในการบริหารบ้านเมืองร่วมกับผู้เชี่ยวชาญโดยผ่านระบบการคัดเลือกจากรัฐบุรุษหรือผู้นำ ในความหมายของ Statesman ไม่ใช่ในลักษณะของ “สภา” หรือ “สมัชชา” ที่มีที่มาหลากหลาย
ขั้นสุดท้ายเมื่อได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องทำเสร็จพร้อมกันแล้วให้นำมาผ่านการลงประชามติจากประชาชนโดยตรง
ไม่ว่าใครจะเห็นพ้องหรือเห็นต่างอย่างไรท่านก็ยืนยันของท่านอย่างนี้มา 20 ปีแล้วนับตั้งแต่นำข้อเขียนเรื่อง “รัฐธรรมนูญ : โครงสร้างและกลไกทางกฎหมาย” เสนอต่อที่ประชุมในการสัมมนาทางวิชาการที่โรงแรมเอเชีย จัดโดยสถาบันนโยบายศึกษา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2534 และเป็นหัวหน้าคณะวิจัยรวมทั้งเขียนบทความต่อเนื่องด้วยตนเองตลอด 2 ปีต่อมา ก่อนจะตกรวบยอดเป็นบทสรุปด้วยการเขียนบทความขนาดยาวเรื่อง “Constitutionalism : ทางออกของประเทศไทย” ลงในนสพ.ผู้จัดการรายวันช่วงเดือนเมษายน 2537 และจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มโดยสถาบันนโยบายศึกษาในอีก 3 เดือนต่อมา
หนังสือ “Constitutionalism : ทางออกของประเทศไทย” เดี๋ยวนี้กลายเป็นตำราคลาสสิกไปแล้ว
ศ.นพ.ประเวศ วะสีก็เคยนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์กับการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) เมื่อปี 2537 และเป็นรากฐานที่นำไปสู่การแก้ไขมาตรา 211 รัฐธรรมนูญ 2534 ในปี 2539 ก่อให้เกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญ 2540 ขึ้นมาในที่สุด
แม้นวัตกรรมทางการเมืองหลายอย่างในรัฐธรรมนูญ 2540 จะมาจากแนวคิดวิชากฎหมายมหาชนยุคใหม่ แต่หลักสำคัญที่สุดสองสามประการที่กล่าวข้างต้นไม่ได้รับการแก้ไข
ผลที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2540 ในที่สุดจึงคือการกระชับอำนาจให้กับระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง
ล่าสุดแนวความคิดทางวิชาการนี้มาปรากฏเป็นแก่นแกนทางความคิดของกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์
ไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหนคนไทยจึงจะหลุดพ้นไปจาก “กับดักความคิด” นี้
หรือจะตายไปพร้อมกับมัน !