ASTVผู้จัดการรายวัน- "ทัวร์นกแก้ว"วันแรก ที่ อุตรดิตถ์ แดงยกโขยงให้กำลังใจอื้อ ข้าราชการท้องถิ่นหยุดงานรอต้อนรับแน่น "ปู" สั่ง 3 เดือนทำแผนพยากรณ์น้ำ ส่วนบริหารจัดการน้ำ ส่วนกลาง จังหวัด ท้องถิ่น ต้องประสานงานร่วมกัน พร้อมบูรณาการทุกหน่วยงานตั้งศูนย์พยากรณ์จุดเดียว-เตือนภัยประชาชนแบบไม่สบสน ขณะที่ประชุมครม. ทุ่มกว่า 5 พันล้านสร้างเขื่อนป้องกันนิคมฯ ด้านนิคมฯ โวยยอดขายพื้นที่หดผู้ประกอบการบางกะดีม้วนเสื่อทิ้งพื้นที่
เมื่อเวลา 13.00 น.วานนี้ (13 ก.พ.) ภายหลังการเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะได้เดินทางลงพื้นที่ เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยออกเดินทางออกจากท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 ดอนเมือง ไปลงเครื่องที่ท่าอากาศยานกองบิน 41 จ.พิษณุโลก และเดินทางต่อด้วยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อไปยังจ.อุตรดิตถ์
ต่อมาเวลา 15.00 น. คณะของนายกรัฐมนตรี เดินทางถึงเขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปโครงการพระราชดำริ และการดูแลป่าต้นน้ำ การปลูกป่า ฝายแม้ว การพัฒนาคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์และการเตือนภัยด้านการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน
ทั้งนี้ได้มีประชาชนชาวบ้านจากบ้านน้ำไผ่ อ.น้ำปาด ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ดินโคลนถล่มที่ผ่านมา ให้การต้อนรับ พร้อมมอบสับปะรดห้วยหมุ่น ให้นายกรัฐมนตรีชิม นอกจากนี้ มีชาวบ้านรวมทั้งกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มารอมอบดอกกุหลาบมาให้กำลังใจ กว่า 1 พันคน จากนั้นนายกรัฐมนตรี ได้เข้ารับฟังบรรยายสรุป จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวตอนหนึ่งในที่ประชุมว่า การมาเดินทางลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นครั้งสำคัญ และเป็นการลงพื้นที่เพื่อทำแผนในการบูรณาการร่วมกัน ในพื้นที่ ในการบริหารจัดการต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ใน จ.อุตรดิตถ์ ถือเป็นหัวใจสำคัญของพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งต้องทำการปลูกป่า ทำฝายชะลอน้ำ ปรับการจัดการบริหารน้ำในเขื่อน ซึ่งหลังจากนี้ จะนำต้นแบบการบริหารน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อนำไปใช้กับเขื่อนทั้ง 12 เขื่อน ทั่วประเทศ
ทั้งนี้การประชุมครั้งนี้ อยากให้ทำแผนปลูกป่าให้ชัดเจน เพื่อทำเป็นพื้นที่ชะลอน้ำ โดยยึดโครงการพระราชดำริเป็นต้นแบบ โดยเฉพาะการปลูกหญ้าแฝก นอกจากนี้ยังต้องปรับแผนพยากรณ์ในการเตือนภัย เพื่อไม่เกิดเหตุซ้ำรอยอย่างเช่น อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
**"ปลอด"เตือนระวังใต้ฝุ่น 27 ลูก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงหนึ่งของการฟังบรรยายสรุป นายปลอดประสพ สุรัสวดี ได้รายงานว่า มีการคาดการพยากรณ์ปริมาณน้ำในปีนี้ โดยเป็นการรวบรวมข้อมูล จากกระทรวงวิทยาศาสตร์ ไอซีที และเกษตรฯ ว่า จะมีไต้ฝุ่น 27 ลูก พายุโซนร้อน 3-4 ลูก ระดับน้ำทะเลจะสูงกว่าปีที่ แล้ว 15 ซม. ทำให้การระบายน้ำทำได้ค่อนข้างยาก แต่ปีนี้เราได้คาดการณ์ปริมาณน้ำว่าจะมี 2 หมื่นลบ.ม. ซึ่งจะต้องให้เขื่อนกักเก็บน้ำให้ได้ 5 พันล้าน ลบ.ม. และเก็บในแก้มลิงอีก 5 พันล้าน ลบ.ม. ส่วนที่เหลืออีก 1 หมื่นล้านลบ.ม. ให้ปล่อยผ่านเข้าสู่พื้นที่กทม. ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาระบายน้ำ 45 วัน แต่ยืนยันว่า น้ำจะไม่ท่วมกทม.แน่นอน เราเอาอยู่
นอกจากนี้ในส่วนของระบบเตือนภัย ได้มอบหมายให้ ปภ. รับผิดชอบ แต่ในการสั่งอพยพนั้น ให้เป็นการตัดสินใจของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติหน่วยงานเดียว เพื่อป้องกันความสับสน
ด้านนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ กล่าวรายงานว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 78 ของความจุเขื่อน โดยในเดือนพ.ค. จะพร่องน้ำให้เหลือร้อยละ 45 ให้ได้ แต่ก็ขอเตือนว่า โอกาสที่จะทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำมีสูงหากปริมาณน้ำฝนไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้
** ให้เวลา3 เดือนทำแผนพยากรณ์
ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ และนายปลอดประสพ เร่งดำเนินการจัดทำระบบข้อมูลการพยากรณ์อากาศ และการเตือนภัย ให้เสร็จภายใน 3 เดือน โดยการเตือนภัยจะต้องลงไปถึงระดับหมู่บ้าน
นอกจากนี้สิ่งที่ต้องทำเร่งด่วนอีกเรื่องคือการปลูกป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เร่งจัดทำฝายระบายน้ำ โดยให้ กยน .ชี้จุดในพื้นที่ และทำแผนให้เสร็จในคืนนี้ เพื่อที่จะสั่งการให้ผู้ว่าฯ ดำเนินการปลูกป่าในทันที โดยต้องให้โครงการหลวงเป็นเจ้าภาพ โดยต้องดำเนินการปลุกป่าให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน และขอให้ กยน. และกรมชลประทานไปรวมกันตั้งคณะกรรมกาขึ้นมาดูการระบายน้ำในเขื่อน น้ำทุ่ง และพื้นที่รับน้ำ 1 ชุด เพื่อบริหารจัดการน้ำ
จากนั้นนายกรัฐมนตรี และคณะได้ไปตรวจการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปจาก นายสุรศักดิ์ อรรถเศรษฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ฝ่ายปฏิบัติการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางถึงบริเวณสันเขื่อนสิริกิติ์ ได้การสั่งการให้มีการสำรวจพื้นที่ เพื่อกำหนดจุดติดตั้งกล้องวงจรปิด บนสันเขื่อน ที่จะใช้ในการติดตามตรวจสอบปริมาณน้ำ เพื่อดูแนวโน้มว่าจะมีผลกระทบในพื้นที่ใดบ้าง
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการรับฟังบรรยายสรุปจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการต้นน้ำว่า หลังจากรับฟังบรรยายสรุปครั้งนี้ ตอนเช้าวันที่ 14 ก.พ.จะทำการประชุมสรุปรายละเอียดอีกครั้ง และจากการลงพื้นที่เขื่อนสิริกิติ์ได้คุยกัน 3 หัวข้อใหญ่ๆ โดยเรื่องแรกเป็นการปลูกป่าต้นน้ำ ที่จะทำการบริหารจัดการกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
ส่วนที่สองหลังจากดูเรื่องของเขื่อนแล้วจะดูในเรื่องของระบบเตือนภัย และส่วนที่สามจะดูเรื่องการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน
ทั้งนี้ในส่วนของการปลูกป่า ได้คุยกันว่า ป่าต้นน้ำจะเป็นวิธีการชะลอน้ำในพื้นที่ภาคเหนือที่เป็นต้นน้ำ ซึ่งเราจะมีการกำหนดพื้นที่จากป่าทั้งหมดจะปลูกตรงไหนบ้าง ซึ่งจริงๆแล้วมีโครงการในพระราชดำริหลายโครงการ เช่น โครงการแม่ฟ้าหลวง โดยทางด้านมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงจะเป็นผู้กำหนดพื้นที่ในการที่จะร่วมกันปลูกป่าต้นน้ำ จากนั้นจะเหลือพื้นที่ใน 3 ส่วน โดยพื้นที่ที่ติดแนวชายแดน จะเป็นหน้าที่ของทางกองทัพ ซึ่งจะเน้นเส้นทางของน้ำไหลผ่าน ส่วนเขตอนุรักษ์หรือพื้นที่ชันมากไม่มีชุมชนอยู่จะเป็นหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและส่วนของพื้นที่ชุมชนจะให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงมหาดไทยบูรณาการร่วมกันในการกำหนดพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า แนวทางในการปลูกป่าที่เราเน้นในกิจกรรมหลักๆ คือการปลูกป่าจะทำอย่างไรที่จะช่วยในการชะลอน้ำหรือปลูกต้นไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจหรือพืชเกี่ยวกับพลังงานทดแมน โดยกิจกรรมแรกเราต้องมีการกำหนดพื้นที่ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงมหาดไทยและ กพร.จะกำหนดพื้นที่ร่วมกัน เพื่อมอบหมายงานและภารกิจต่างๆ สิ่งที่เร็วที่สุดที่ต้องทำคือพื้นที่ลาดชันเพื่อให้อุ้มหน้าดินคือการปลูกหญ้าแฟกและการทำฝายชะลอน้ำ เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของการบริหารพื้นที่ต้นน้ำ
**ระบายน้ำต้องคำนึงถึงปลายทางด้วย
สำหรับการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาจะเป็นการบริหารน้ำในเขื่อนอย่างเดียว โดยไม่ได้รวมถึงน้ำในทุ่ง ซึ่งต่อไปอยากให้ทำงานร่วมกันระหว่างการบริหารน้ำในเขื่อนและน้ำในทุ่ง เพราะบางครั้งถ้าปริมาณน้ำในเขื่อนเต็มหรือปล่อยน้ำลงไปแล้วน้ำในทุ่งยังไม่แห้ง ตรงนี้ต้องทำงานให้สัมพันธ์กันมากขึ้นรวมถึงการกำหนดพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยงในการติดตั้งกล้องวงจรปิดด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้งหมดต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาเท่าไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ตั้งเป้าไว้ว่าในจุดใหญ่ๆ อย่างน้อยสามเดือนต้องดูว่าจะเห็นอะไรบ้าง ขอเวลาในการลงพื้นที่ทำงานด้วย โดยสรุปวันนี้ที่คุยกันการบริหารจัดการน้ำตัวเลขการพยากรณ์ต้องเป็นตัวเลขเดียวกัน ต้องคำนึงถึงน้ำทุ่งและน้ำปลายทาง เพื่อให้กระทบประชาชนน้อยที่สุดพร้อมต้องปรับปรุงแผนเตือนภัยลงเป็นแผนปฏิบัติในพื้นที่
เมื่อถามว่า การปรับระดับน้ำในเขื่อนให้น้อยลงจาก 60 % เหลือ 45% จะส่งผลกระทบอะไรตามมาหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรามากรรปับระดับต่ำสุดของน้ำในเขื่อน ซึ่งปกติเขื่อนสิริกิติ์จะเก็บน้ำไว้ 60 %และเหลือพื้นที่ไว้ 30 %ในการรองรับน้ำฝนวันนี้เราปรับเหลือ 45 % แน่นอนสิ่งที่กระทบอาจเกิดน้ำแล้งบ้าง แต่เราคิดว่าจะสามารถดูแลช่วยเหลือเยียวยาในการที่จะให้น้ำได้ อย่างไรก็ตามแผนการระบายน้ำที่มีการคำนวณไว้ทุกวันได้มีการหารือหลังจากเกิดข้อห่วงใยและมีผลกระทบต่อประชาชนในส่วนของปลายน้ำที่อาจไม่เป็นไปตามที่คำนวณ จึงได้เพิ่มขั้นตอนการคำนวณน้ำในเขื่อนบวกน้ำในทุ่งและให้ดูปริมาณน้ำปลายทางด้วย ซึ่งเลข 45% ไม่ใช่เลขตายตัว แต่ต้องปรับการเข้าออกของน้ำให้สัมพันธ์กัน ได้ฝากข้อคิดนี้ต่อคณะทำงานแล้ว คงจะเร่งปรับปรุงระบบขั้นตอนนี้และเชื่อมต่อระบบการเตือนภัยด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเสร็จภารกิจที่จ.อุตรดิตถ์ นายกรัฐมนตรี และคณะเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ กลับ จ.พิษณุโลก เมื่อเวลา 17.30 น.
**ทุ่มกว่า 5 พันล.สร้างเขื่อนป้องกันนิคมอุตฯ
ส่วนในการประชุมครม. เมื่อวานนี้ นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. ได้อนุมัติงบประมาณสร้างเขื่อนในนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบอุตสาหกรรม และสวนอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มก่อสร้างไปแล้วบางส่วน อาทิ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน มีความยาว 11 กม. งบประมาณ 728 ล้านบาท โดยมีแผนการก่อสร้างวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา และกำหนดเสร็จในวันที่ 31 ก.ค. 55
สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ก่อสร้างเขื่อนยาว 8.5 กม. ใช้งบ 272 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างวันที่ 14 ก.พ. 55 เสร็จสิ้นวันที่ 31 ส.ค.55 เขตประกอบอุตสาหกรรมโรจนะ ก่อสร้างเขื่อนยาว 77.6 กม. ใช้งบ 2,233 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างวันที่ 1 ก.พ.เสร็จวันที่ 30 ก.ย. 55 นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ก่อสร้างเขื่อนยาว 13 กม. งบก่อสร้าง 500 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างวันที่ 1 มี.ค.55 เสร็จสิ้นวันที่ 31 ส.ค. 55
สวนอุตสาหกรรมนวนคร สร้างเขื่อนยาว 18 กม. งบประมาณ 700 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างวันที่ 15 ก.พ. 55 กำหนดเสร็จ วันที่ 31 ส.ค.55 และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร สร้างเขื่อนยาว 13 กม.ใช้งบ 400 ล้านบาท โดยมีแผนการก่อสร้างเดือนเม.ย. 55 แลกำหนดเสร็จในวันที่ 31 ส.ค.55
**"มาร์ค"อัดรัฐบาลผุดโครงการรายวัน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คนในรัฐบาล ออกมาเสนอโครงการขนาดใหญ่ ทั้งการสร้างเขื่อนกั้นทะเล และการผันน้ำจากแม่น้ำสาละวินว่า พรรคต้องการให้โจทย์ที่ชัดเจนต่อรัฐบาล ถึงสิ่งที่จำเป็นสำหรับประชาชน ไม่อยากเห็นการพูดถึงโครงการรายวัน แต่ไม่มีความชัดเจน ว่าในภาพรวมการจัดลำดับความสำคัญ หรือความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการอยู่ตรงไหน
"รัฐบาลมุ่งสนใจที่จะหาเงินจำนวนมากมาทำโครงการขนาดใหญ่ ทั้งที่สิ่งที่ประชาชนรอคอยคือ รูปธรรมในการป้องกันปัญหาน้ำในปีนี้ แต่รัฐบาลกลับไม่มีคำตอบให้ เพราะสิ่งที่พูดถึงโครงการขนาดใหญ่ ไม่สามารถแก้ปัญหาปีนี้ได้ ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวที่จำเป็น ก็ควรทำอย่างเป็นระยะ ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไม่มีใครบอกได้ว่า น้ำจะมากแค่ไหน แต่การจัดการน้ำของรัฐบาล ต้องเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงจากปีที่แล้ว นี่คือความคาดหวังของประชาชน และเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังเรียกร้องให้นายกฯตอบคำถาม 10 ข้อ หลังสิ้นสุดการลงพื้นที่ และระหว่างการเดินทางต้องคุยกับประชาชนเกี่ยวกับโครงการในพื้นที่ ว่าเป็นที่ยอมรับหรือไม่ มีทางเลือกอื่นหรือไม่ จะมีผลกระทบ และมีการชดเชยเยียวยาอย่างไร ซึ่งหากมีคำตอบชัดเจน ก็จะสร้างความเชื่อมั่นได้ นอกจากนี้ ยังเห็นว่ารัฐบาลต้องเปิดเผยพื้นที่ที่จะใช้รับน้ำ หรือทำฟลัดเวย์ เพราะถ้ารอให้น้ำมาแล้วค่อยพูดคุย จะยิ่งบริหารได้ยาก จะต้องทำความเข้าใจล่วงหน้า โดยกำหนดกฏกติการ่วมกัน
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่นายกฯ ลงพื้นที่ดูการเตรียมการป้องกันน้ำท่วม ในชื่อ ทัวร์สร้างความสุข สร้างความหวัง แต่คนในหลายพื้นที่กลับคิดว่า เป็นทัวร์สร้างควาทุกข์ หมดความหวัง เพราะนายกฯ มีแผนฮุบที่ดิน 2 ล้านไร่ ทำให้ประชาชนนอนไม่หลับ เพราะไม่แน่ใจว่า จะมีการไปจิ้มตรงบ้านเขาหรือไม่ โดยเฉพาะในพื้นที่บึงบรเพ็ด จ.นครสวรรค์ ที่ต้องการให้เป็นที่รับน้ำ น้ำจะท่วมตลอดปี แสดงว่านายกฯ ลงพื้นที่พร้อมแผนงาน เงาดำ สร้างอ่างเก็บน้ำอย่างนี้ จะเรียกว่าสร้างความสุขได้อย่างไร
** โวย"กิตติรัตน์"ลุยสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชบุรี กล่าวว่า จากการติดตามข่าวจากสื่อมวลชนได้รับทราบคำพูดของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ที่ประกาศจะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นให้ได้นั้น ส่วนตัวไม่อยากขัดหรือคัดค้าน แต่เมื่อฟังนายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ซึ่งอยู่ในพื้นที่ให้ข้อมูลว่า การสร้างเขื่อนเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มกับการลงทุนมหาศาล เพราะจะแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้ จึงอยากถามนายกิตติรัตน์ ว่าได้ศึกษาข้อดีข้อเสียของโครงแล้วดีแล้วหรือยัง หากยังก็อย่าเพิ่งไปประกาศเช่นนั้น
***นิคมฯ โวยยอดขายพื้นที่หด
นายนิพิฐ อรุณวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการบมจ.นวนคร กล่าวว่า วันที่ 15 ก.พ.นี้บริษัทฯจะเริ่มก่อสร้างกำแพงคอนกรีตถาวรเพื่อป้องกันน้ำท่วมโดยคาดว่าจะสเร็จภายในส.ค. ระยะทาง 18 กิโลเมตร เงินลงทุน 600 ล้านบาท โดยบริษัทฯขอการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารออมสินแต่ระหว่างที่ความชัดเจนของเงินสนับสนุนจากภาครัฐที่จะมาช่วย 2 ใน 3 ส่วนและเงินกู้จากออมสินบริษัทฯจึงต้องใช้งบประมาณของบริษัทลงทุนไปก่อนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยอมรับว่าตั้งแต่ต้นปีบริษัทฯได้ทำการขายพื้นที่ไปแล้วเพียง 2-3 รายเท่านั้นและขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาอีก 5รายซึ่งยอมรับว่านักลงทุนที่จะมาซื้อที่ดินค่อนข้างน้อยมากเนื่องจากยังไม่มั่นใจว่าน้ำจะท่วมอีกหรือไม่แม้ว่าจะมั่นใจว่าในเขตประกอบการนวนครจะมีกำแพงที่จะดูแลได้แต่ภายนอกหากท่วมก็จะกระทบต่อระบบขนส่งดังนั้นบริษัทฯจะได้หารือถึงแนวทางการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์กับคมนาคมในเร็วๆนี้
***ผู้ประกอบการบางกะดีเลิกกิจการ
นางสุจินต์ วาสสนิท ผู้จัดการอาวุโส บริษัทสวนอุตสาหกรรมบางกะดี กล่าวว่า โรงงานในสวนอุตสาหกรรมบางกะดีมีทั้งสิ้น 40 แห่งโดยจากภาวะน้ำท่วมส่งผลให้โรงงานเลิกประกอบกิจการไป 2 รายและอีก 6 รายยังไม่มีที่จะกลับมาประกอบการเนื่องจากต้องการรอความชัดเจนถึงแนวทางบริหารจัดการน้ำในภาพรวม
“ขณะนี้นักลงทุนมีคำถามมากถึงความชัดเจนในการบริหารจัดการน้ำของรัฐเนื่องจากแม้ว่าสวนอุตสาหกรรมบางกระดีจะลงทุนทำเขื่อนกั้นน้ำถาวรแต่ระบบถนนท่วมก็ไม่มีประโยชน์จึงต้องการความชัดเจนในส่วนนี้ และส่วนหนึ่งเองเห็นว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันก็จะยิ่งซ้ำเติมมากขึ้น”นางสุจินต์กล่าว
เมื่อเวลา 13.00 น.วานนี้ (13 ก.พ.) ภายหลังการเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะได้เดินทางลงพื้นที่ เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยออกเดินทางออกจากท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 ดอนเมือง ไปลงเครื่องที่ท่าอากาศยานกองบิน 41 จ.พิษณุโลก และเดินทางต่อด้วยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อไปยังจ.อุตรดิตถ์
ต่อมาเวลา 15.00 น. คณะของนายกรัฐมนตรี เดินทางถึงเขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปโครงการพระราชดำริ และการดูแลป่าต้นน้ำ การปลูกป่า ฝายแม้ว การพัฒนาคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์และการเตือนภัยด้านการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน
ทั้งนี้ได้มีประชาชนชาวบ้านจากบ้านน้ำไผ่ อ.น้ำปาด ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ดินโคลนถล่มที่ผ่านมา ให้การต้อนรับ พร้อมมอบสับปะรดห้วยหมุ่น ให้นายกรัฐมนตรีชิม นอกจากนี้ มีชาวบ้านรวมทั้งกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มารอมอบดอกกุหลาบมาให้กำลังใจ กว่า 1 พันคน จากนั้นนายกรัฐมนตรี ได้เข้ารับฟังบรรยายสรุป จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวตอนหนึ่งในที่ประชุมว่า การมาเดินทางลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นครั้งสำคัญ และเป็นการลงพื้นที่เพื่อทำแผนในการบูรณาการร่วมกัน ในพื้นที่ ในการบริหารจัดการต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ใน จ.อุตรดิตถ์ ถือเป็นหัวใจสำคัญของพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งต้องทำการปลูกป่า ทำฝายชะลอน้ำ ปรับการจัดการบริหารน้ำในเขื่อน ซึ่งหลังจากนี้ จะนำต้นแบบการบริหารน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อนำไปใช้กับเขื่อนทั้ง 12 เขื่อน ทั่วประเทศ
ทั้งนี้การประชุมครั้งนี้ อยากให้ทำแผนปลูกป่าให้ชัดเจน เพื่อทำเป็นพื้นที่ชะลอน้ำ โดยยึดโครงการพระราชดำริเป็นต้นแบบ โดยเฉพาะการปลูกหญ้าแฝก นอกจากนี้ยังต้องปรับแผนพยากรณ์ในการเตือนภัย เพื่อไม่เกิดเหตุซ้ำรอยอย่างเช่น อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
**"ปลอด"เตือนระวังใต้ฝุ่น 27 ลูก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงหนึ่งของการฟังบรรยายสรุป นายปลอดประสพ สุรัสวดี ได้รายงานว่า มีการคาดการพยากรณ์ปริมาณน้ำในปีนี้ โดยเป็นการรวบรวมข้อมูล จากกระทรวงวิทยาศาสตร์ ไอซีที และเกษตรฯ ว่า จะมีไต้ฝุ่น 27 ลูก พายุโซนร้อน 3-4 ลูก ระดับน้ำทะเลจะสูงกว่าปีที่ แล้ว 15 ซม. ทำให้การระบายน้ำทำได้ค่อนข้างยาก แต่ปีนี้เราได้คาดการณ์ปริมาณน้ำว่าจะมี 2 หมื่นลบ.ม. ซึ่งจะต้องให้เขื่อนกักเก็บน้ำให้ได้ 5 พันล้าน ลบ.ม. และเก็บในแก้มลิงอีก 5 พันล้าน ลบ.ม. ส่วนที่เหลืออีก 1 หมื่นล้านลบ.ม. ให้ปล่อยผ่านเข้าสู่พื้นที่กทม. ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาระบายน้ำ 45 วัน แต่ยืนยันว่า น้ำจะไม่ท่วมกทม.แน่นอน เราเอาอยู่
นอกจากนี้ในส่วนของระบบเตือนภัย ได้มอบหมายให้ ปภ. รับผิดชอบ แต่ในการสั่งอพยพนั้น ให้เป็นการตัดสินใจของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติหน่วยงานเดียว เพื่อป้องกันความสับสน
ด้านนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ กล่าวรายงานว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 78 ของความจุเขื่อน โดยในเดือนพ.ค. จะพร่องน้ำให้เหลือร้อยละ 45 ให้ได้ แต่ก็ขอเตือนว่า โอกาสที่จะทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำมีสูงหากปริมาณน้ำฝนไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้
** ให้เวลา3 เดือนทำแผนพยากรณ์
ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ และนายปลอดประสพ เร่งดำเนินการจัดทำระบบข้อมูลการพยากรณ์อากาศ และการเตือนภัย ให้เสร็จภายใน 3 เดือน โดยการเตือนภัยจะต้องลงไปถึงระดับหมู่บ้าน
นอกจากนี้สิ่งที่ต้องทำเร่งด่วนอีกเรื่องคือการปลูกป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เร่งจัดทำฝายระบายน้ำ โดยให้ กยน .ชี้จุดในพื้นที่ และทำแผนให้เสร็จในคืนนี้ เพื่อที่จะสั่งการให้ผู้ว่าฯ ดำเนินการปลูกป่าในทันที โดยต้องให้โครงการหลวงเป็นเจ้าภาพ โดยต้องดำเนินการปลุกป่าให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน และขอให้ กยน. และกรมชลประทานไปรวมกันตั้งคณะกรรมกาขึ้นมาดูการระบายน้ำในเขื่อน น้ำทุ่ง และพื้นที่รับน้ำ 1 ชุด เพื่อบริหารจัดการน้ำ
จากนั้นนายกรัฐมนตรี และคณะได้ไปตรวจการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปจาก นายสุรศักดิ์ อรรถเศรษฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ฝ่ายปฏิบัติการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางถึงบริเวณสันเขื่อนสิริกิติ์ ได้การสั่งการให้มีการสำรวจพื้นที่ เพื่อกำหนดจุดติดตั้งกล้องวงจรปิด บนสันเขื่อน ที่จะใช้ในการติดตามตรวจสอบปริมาณน้ำ เพื่อดูแนวโน้มว่าจะมีผลกระทบในพื้นที่ใดบ้าง
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการรับฟังบรรยายสรุปจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการต้นน้ำว่า หลังจากรับฟังบรรยายสรุปครั้งนี้ ตอนเช้าวันที่ 14 ก.พ.จะทำการประชุมสรุปรายละเอียดอีกครั้ง และจากการลงพื้นที่เขื่อนสิริกิติ์ได้คุยกัน 3 หัวข้อใหญ่ๆ โดยเรื่องแรกเป็นการปลูกป่าต้นน้ำ ที่จะทำการบริหารจัดการกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
ส่วนที่สองหลังจากดูเรื่องของเขื่อนแล้วจะดูในเรื่องของระบบเตือนภัย และส่วนที่สามจะดูเรื่องการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน
ทั้งนี้ในส่วนของการปลูกป่า ได้คุยกันว่า ป่าต้นน้ำจะเป็นวิธีการชะลอน้ำในพื้นที่ภาคเหนือที่เป็นต้นน้ำ ซึ่งเราจะมีการกำหนดพื้นที่จากป่าทั้งหมดจะปลูกตรงไหนบ้าง ซึ่งจริงๆแล้วมีโครงการในพระราชดำริหลายโครงการ เช่น โครงการแม่ฟ้าหลวง โดยทางด้านมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงจะเป็นผู้กำหนดพื้นที่ในการที่จะร่วมกันปลูกป่าต้นน้ำ จากนั้นจะเหลือพื้นที่ใน 3 ส่วน โดยพื้นที่ที่ติดแนวชายแดน จะเป็นหน้าที่ของทางกองทัพ ซึ่งจะเน้นเส้นทางของน้ำไหลผ่าน ส่วนเขตอนุรักษ์หรือพื้นที่ชันมากไม่มีชุมชนอยู่จะเป็นหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและส่วนของพื้นที่ชุมชนจะให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงมหาดไทยบูรณาการร่วมกันในการกำหนดพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า แนวทางในการปลูกป่าที่เราเน้นในกิจกรรมหลักๆ คือการปลูกป่าจะทำอย่างไรที่จะช่วยในการชะลอน้ำหรือปลูกต้นไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจหรือพืชเกี่ยวกับพลังงานทดแมน โดยกิจกรรมแรกเราต้องมีการกำหนดพื้นที่ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงมหาดไทยและ กพร.จะกำหนดพื้นที่ร่วมกัน เพื่อมอบหมายงานและภารกิจต่างๆ สิ่งที่เร็วที่สุดที่ต้องทำคือพื้นที่ลาดชันเพื่อให้อุ้มหน้าดินคือการปลูกหญ้าแฟกและการทำฝายชะลอน้ำ เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของการบริหารพื้นที่ต้นน้ำ
**ระบายน้ำต้องคำนึงถึงปลายทางด้วย
สำหรับการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาจะเป็นการบริหารน้ำในเขื่อนอย่างเดียว โดยไม่ได้รวมถึงน้ำในทุ่ง ซึ่งต่อไปอยากให้ทำงานร่วมกันระหว่างการบริหารน้ำในเขื่อนและน้ำในทุ่ง เพราะบางครั้งถ้าปริมาณน้ำในเขื่อนเต็มหรือปล่อยน้ำลงไปแล้วน้ำในทุ่งยังไม่แห้ง ตรงนี้ต้องทำงานให้สัมพันธ์กันมากขึ้นรวมถึงการกำหนดพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยงในการติดตั้งกล้องวงจรปิดด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้งหมดต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาเท่าไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ตั้งเป้าไว้ว่าในจุดใหญ่ๆ อย่างน้อยสามเดือนต้องดูว่าจะเห็นอะไรบ้าง ขอเวลาในการลงพื้นที่ทำงานด้วย โดยสรุปวันนี้ที่คุยกันการบริหารจัดการน้ำตัวเลขการพยากรณ์ต้องเป็นตัวเลขเดียวกัน ต้องคำนึงถึงน้ำทุ่งและน้ำปลายทาง เพื่อให้กระทบประชาชนน้อยที่สุดพร้อมต้องปรับปรุงแผนเตือนภัยลงเป็นแผนปฏิบัติในพื้นที่
เมื่อถามว่า การปรับระดับน้ำในเขื่อนให้น้อยลงจาก 60 % เหลือ 45% จะส่งผลกระทบอะไรตามมาหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรามากรรปับระดับต่ำสุดของน้ำในเขื่อน ซึ่งปกติเขื่อนสิริกิติ์จะเก็บน้ำไว้ 60 %และเหลือพื้นที่ไว้ 30 %ในการรองรับน้ำฝนวันนี้เราปรับเหลือ 45 % แน่นอนสิ่งที่กระทบอาจเกิดน้ำแล้งบ้าง แต่เราคิดว่าจะสามารถดูแลช่วยเหลือเยียวยาในการที่จะให้น้ำได้ อย่างไรก็ตามแผนการระบายน้ำที่มีการคำนวณไว้ทุกวันได้มีการหารือหลังจากเกิดข้อห่วงใยและมีผลกระทบต่อประชาชนในส่วนของปลายน้ำที่อาจไม่เป็นไปตามที่คำนวณ จึงได้เพิ่มขั้นตอนการคำนวณน้ำในเขื่อนบวกน้ำในทุ่งและให้ดูปริมาณน้ำปลายทางด้วย ซึ่งเลข 45% ไม่ใช่เลขตายตัว แต่ต้องปรับการเข้าออกของน้ำให้สัมพันธ์กัน ได้ฝากข้อคิดนี้ต่อคณะทำงานแล้ว คงจะเร่งปรับปรุงระบบขั้นตอนนี้และเชื่อมต่อระบบการเตือนภัยด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเสร็จภารกิจที่จ.อุตรดิตถ์ นายกรัฐมนตรี และคณะเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ กลับ จ.พิษณุโลก เมื่อเวลา 17.30 น.
**ทุ่มกว่า 5 พันล.สร้างเขื่อนป้องกันนิคมอุตฯ
ส่วนในการประชุมครม. เมื่อวานนี้ นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. ได้อนุมัติงบประมาณสร้างเขื่อนในนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบอุตสาหกรรม และสวนอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มก่อสร้างไปแล้วบางส่วน อาทิ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน มีความยาว 11 กม. งบประมาณ 728 ล้านบาท โดยมีแผนการก่อสร้างวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา และกำหนดเสร็จในวันที่ 31 ก.ค. 55
สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ก่อสร้างเขื่อนยาว 8.5 กม. ใช้งบ 272 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างวันที่ 14 ก.พ. 55 เสร็จสิ้นวันที่ 31 ส.ค.55 เขตประกอบอุตสาหกรรมโรจนะ ก่อสร้างเขื่อนยาว 77.6 กม. ใช้งบ 2,233 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างวันที่ 1 ก.พ.เสร็จวันที่ 30 ก.ย. 55 นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ก่อสร้างเขื่อนยาว 13 กม. งบก่อสร้าง 500 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างวันที่ 1 มี.ค.55 เสร็จสิ้นวันที่ 31 ส.ค. 55
สวนอุตสาหกรรมนวนคร สร้างเขื่อนยาว 18 กม. งบประมาณ 700 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างวันที่ 15 ก.พ. 55 กำหนดเสร็จ วันที่ 31 ส.ค.55 และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร สร้างเขื่อนยาว 13 กม.ใช้งบ 400 ล้านบาท โดยมีแผนการก่อสร้างเดือนเม.ย. 55 แลกำหนดเสร็จในวันที่ 31 ส.ค.55
**"มาร์ค"อัดรัฐบาลผุดโครงการรายวัน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คนในรัฐบาล ออกมาเสนอโครงการขนาดใหญ่ ทั้งการสร้างเขื่อนกั้นทะเล และการผันน้ำจากแม่น้ำสาละวินว่า พรรคต้องการให้โจทย์ที่ชัดเจนต่อรัฐบาล ถึงสิ่งที่จำเป็นสำหรับประชาชน ไม่อยากเห็นการพูดถึงโครงการรายวัน แต่ไม่มีความชัดเจน ว่าในภาพรวมการจัดลำดับความสำคัญ หรือความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการอยู่ตรงไหน
"รัฐบาลมุ่งสนใจที่จะหาเงินจำนวนมากมาทำโครงการขนาดใหญ่ ทั้งที่สิ่งที่ประชาชนรอคอยคือ รูปธรรมในการป้องกันปัญหาน้ำในปีนี้ แต่รัฐบาลกลับไม่มีคำตอบให้ เพราะสิ่งที่พูดถึงโครงการขนาดใหญ่ ไม่สามารถแก้ปัญหาปีนี้ได้ ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวที่จำเป็น ก็ควรทำอย่างเป็นระยะ ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไม่มีใครบอกได้ว่า น้ำจะมากแค่ไหน แต่การจัดการน้ำของรัฐบาล ต้องเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงจากปีที่แล้ว นี่คือความคาดหวังของประชาชน และเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังเรียกร้องให้นายกฯตอบคำถาม 10 ข้อ หลังสิ้นสุดการลงพื้นที่ และระหว่างการเดินทางต้องคุยกับประชาชนเกี่ยวกับโครงการในพื้นที่ ว่าเป็นที่ยอมรับหรือไม่ มีทางเลือกอื่นหรือไม่ จะมีผลกระทบ และมีการชดเชยเยียวยาอย่างไร ซึ่งหากมีคำตอบชัดเจน ก็จะสร้างความเชื่อมั่นได้ นอกจากนี้ ยังเห็นว่ารัฐบาลต้องเปิดเผยพื้นที่ที่จะใช้รับน้ำ หรือทำฟลัดเวย์ เพราะถ้ารอให้น้ำมาแล้วค่อยพูดคุย จะยิ่งบริหารได้ยาก จะต้องทำความเข้าใจล่วงหน้า โดยกำหนดกฏกติการ่วมกัน
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่นายกฯ ลงพื้นที่ดูการเตรียมการป้องกันน้ำท่วม ในชื่อ ทัวร์สร้างความสุข สร้างความหวัง แต่คนในหลายพื้นที่กลับคิดว่า เป็นทัวร์สร้างควาทุกข์ หมดความหวัง เพราะนายกฯ มีแผนฮุบที่ดิน 2 ล้านไร่ ทำให้ประชาชนนอนไม่หลับ เพราะไม่แน่ใจว่า จะมีการไปจิ้มตรงบ้านเขาหรือไม่ โดยเฉพาะในพื้นที่บึงบรเพ็ด จ.นครสวรรค์ ที่ต้องการให้เป็นที่รับน้ำ น้ำจะท่วมตลอดปี แสดงว่านายกฯ ลงพื้นที่พร้อมแผนงาน เงาดำ สร้างอ่างเก็บน้ำอย่างนี้ จะเรียกว่าสร้างความสุขได้อย่างไร
** โวย"กิตติรัตน์"ลุยสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชบุรี กล่าวว่า จากการติดตามข่าวจากสื่อมวลชนได้รับทราบคำพูดของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ที่ประกาศจะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นให้ได้นั้น ส่วนตัวไม่อยากขัดหรือคัดค้าน แต่เมื่อฟังนายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ซึ่งอยู่ในพื้นที่ให้ข้อมูลว่า การสร้างเขื่อนเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มกับการลงทุนมหาศาล เพราะจะแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้ จึงอยากถามนายกิตติรัตน์ ว่าได้ศึกษาข้อดีข้อเสียของโครงแล้วดีแล้วหรือยัง หากยังก็อย่าเพิ่งไปประกาศเช่นนั้น
***นิคมฯ โวยยอดขายพื้นที่หด
นายนิพิฐ อรุณวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการบมจ.นวนคร กล่าวว่า วันที่ 15 ก.พ.นี้บริษัทฯจะเริ่มก่อสร้างกำแพงคอนกรีตถาวรเพื่อป้องกันน้ำท่วมโดยคาดว่าจะสเร็จภายในส.ค. ระยะทาง 18 กิโลเมตร เงินลงทุน 600 ล้านบาท โดยบริษัทฯขอการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารออมสินแต่ระหว่างที่ความชัดเจนของเงินสนับสนุนจากภาครัฐที่จะมาช่วย 2 ใน 3 ส่วนและเงินกู้จากออมสินบริษัทฯจึงต้องใช้งบประมาณของบริษัทลงทุนไปก่อนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยอมรับว่าตั้งแต่ต้นปีบริษัทฯได้ทำการขายพื้นที่ไปแล้วเพียง 2-3 รายเท่านั้นและขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาอีก 5รายซึ่งยอมรับว่านักลงทุนที่จะมาซื้อที่ดินค่อนข้างน้อยมากเนื่องจากยังไม่มั่นใจว่าน้ำจะท่วมอีกหรือไม่แม้ว่าจะมั่นใจว่าในเขตประกอบการนวนครจะมีกำแพงที่จะดูแลได้แต่ภายนอกหากท่วมก็จะกระทบต่อระบบขนส่งดังนั้นบริษัทฯจะได้หารือถึงแนวทางการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์กับคมนาคมในเร็วๆนี้
***ผู้ประกอบการบางกะดีเลิกกิจการ
นางสุจินต์ วาสสนิท ผู้จัดการอาวุโส บริษัทสวนอุตสาหกรรมบางกะดี กล่าวว่า โรงงานในสวนอุตสาหกรรมบางกะดีมีทั้งสิ้น 40 แห่งโดยจากภาวะน้ำท่วมส่งผลให้โรงงานเลิกประกอบกิจการไป 2 รายและอีก 6 รายยังไม่มีที่จะกลับมาประกอบการเนื่องจากต้องการรอความชัดเจนถึงแนวทางบริหารจัดการน้ำในภาพรวม
“ขณะนี้นักลงทุนมีคำถามมากถึงความชัดเจนในการบริหารจัดการน้ำของรัฐเนื่องจากแม้ว่าสวนอุตสาหกรรมบางกระดีจะลงทุนทำเขื่อนกั้นน้ำถาวรแต่ระบบถนนท่วมก็ไม่มีประโยชน์จึงต้องการความชัดเจนในส่วนนี้ และส่วนหนึ่งเองเห็นว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันก็จะยิ่งซ้ำเติมมากขึ้น”นางสุจินต์กล่าว