วานนี้ (31 ม.ค.)น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง มาตรการรับมือช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงว่า จะต้องมีการเร่งระบายน้ำ ซึ่งได้สั่งการให้ทางกรมชลประทานเร่งระบายในเขื่อน ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ และต้องให้สัมพันธ์กัน ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เตรียมข้อมูลในเรื่องการเตือนภัย ซึ่งจะได้ช่วยเตือนข่าวสารให้ประชาชน พร้อมสั่งการให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับผู้ว่าราชการกทม. รับผิดชอบการขุดลอกคูคลองทั้งหมด ซึ่งทุกอย่างคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จก่อนช่วงฤดูฝนที่จะถึงนี้
ส่วนการแก้ไขปัญหาระบายน้ำระยะยาว จะต้องหาพื้นที่ทำแก้มลิงจำนวนมากในหลายจุด ซึ่งจะไล่ตั้งแต่ช่วงต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยจะทำให้มากที่สุด โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีพื้นที่ราบมาก ทั้งนี้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา คงต้องทำควบคู่กันไปกับการหาพื้นที่รับน้ำด้วย ซึ่งเมื่อหาพื้นที่ชัดเจนแล้วจะประกาศให้ประชาชนรับทราบ
"ยอมรับว่าทุกอย่างไม่สามารถทำเสร็จได้ภายในปีนี้ สำหรับการขุดทำแก้มลิงคงไม่เสร็จในปีนี้ ส่วนการทำแหล่งรับน้ำต้องไปคุยกับมวลชน ซึ่งพื้นที่รับน้ำนั้นคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือกยน. ได้หารือแล้วแจ้งว่าจะต้องหาพื้นที่รับน้ำถึง 2 ล้านไร่ ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ และได้คุยถึงมาตรการเยียวยาเรียบร้อยแล้ว" นายกฯกล่าว
นอกจากนี้ รัฐบาลจะดูในเรื่องของคันกั้นน้ำซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมาทุกจังหวัดจะปกป้องในส่วนของพื้นที่ตัวเอง ในวันนี้จะต้องมีบางพื้นที่ที่ขวางทางระบายน้ำ ก็ต้องขอให้เปิดทางให้น้ำไหลลงคลอง ที่จะมีการขุดทั้งปลายน้ำฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก และในส่วนของพื้นที่แต่ละจังหวัดนั้น จะย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเตรียมแผนการเตือนภัยป้องกันภัยพิบัติแล้ว ส่วนการปรับระดับน้ำจะดูว่าระดับต่ำสุดจะปรับได้เท่าไร ซึ่งคณะกรรมการได้พยายามคำนึงถึงการเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งการแก้ไขปัญหาภัยแล้งจะเร่งดำเนินการตามมา โดยในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมทุ่ง เนื่องจากต้องเก็บน้ำไว้ใช้ในภาคเกษตร
ด้านการเยียวยาประชาชน 5 พันบาทยังเป็นปัญหาอยู่นั้น นายกฯ กล่าวว่า อาจจะเป็นการเข้าใจผิดเรื่องของการสื่อสารมากกว่า โดยให้มีการสำรวจให้แล้วเสร็จโดยเร็วและจะมีการเร่งติดตามให้สำนักงบประมาณเร่งจ่ายเงินเยียวยาให้ถึงมือประชาชน
ต่อข้อถามว่า นายกฯพอจะบอกได้หรือไม่ว่าปีนี้รัฐบาลจะพยายามไม่ให้น้ำท่วมอีก นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ก็พยายามให้เต็มที่เลยค่ะ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับทุกคนด้วย ทั้งมวลชน ทั้งความร่วมมือของทุกฝ่ายเพราะว่างานนี้ต้องได้รับการบูรณาการอย่างแท้จริง ก็ต้องขอแรงที่จะช่วยกัน
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและวางระบบการบริหารจัดการน้ำ หรือ กยน. แถลงว่า รัฐบาล และ กยน. ได้อนุมัติ 6 โครงการ เพื่อบริหารจัดการน้ำ เช่น การจัดทำคลังข้อมูลน้ำระบบการเตือนภัยการพยากรณ์ โดยใช้ งบประมาณราว 7,000 ล้านบาท ด้านการจัดตั้งคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ จะมีการจัดทำแผนข้อมูลน้ำ เช่น ระดับความ สูง การวัดระดับกระแสน้ำ หรือทิศทางการไหลของน้ำ รวมถึงยังมีการจัดทำคลัง ข้อมูลระบบดาวเทียม การติดตั้ง กล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV ตามประตูระบายน้ำสำคัญ การสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ศูนย์ข้อมูลภาพถ่ายผ่านดาวเทียม
ส่วนการเตือนภัย จะเตือนภัยผ่านระบบสมาร์ทโฟน การกระจ่ายข่าวผ่านสื่อต่างๆ การจัดตั้งระบบคอลล์เซ็นเตอร์ เพื่อให้ข้อมูลน้ำกับประชาชน ซึ่งโครงการดังกล่าว คาดว่า น่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือน มิ.ย.-ก.ค. นี้
ทั้งนี้ อยากให้ประชาชนมั่นใจว่าหลังจากการทำงานของ กยน.ก่อนที่ฤดูฝนจะมา ประชาชนจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นข้อมูลจากทางเดียว และหากเกิดภัยพิบัติต่างๆประชาชนจะได้รับข้อมูลเตือนภัยที่ทันเวลาและทั่วถึง อีกทั้งหน่วยงานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะไม่สับสนว่าเมื่อเกิดภัยพิบัติหน่วยงานใดต้องรับผิดชอบบ้างเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงต่อกัน
“กรรมการ กยน.ลาออกไม่ได้ ถ้าลาออกก็ต้องลาออกจากความเป็นเพื่อนผมด้วย เพราะคบกันมากว่า40 ปี และที่ผ่านมามีหลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งผมมองว่าเป็นข้อแนะนำที่ดี และผู้แนะนำส่วนใหญ่ก็เป็นเพื่อนกันทั้งนั้น และแผนรับมือน้ำของรัฐบาลจับต้องได้” นายปลอดประสพ กล่าว
**“ปู”สั่งปรับทัวร์ลุ่มน้ำ 9 จังหวัด
แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า การเดินทางทัวร์ลุ่มน้ำ 9 จังหวัดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาน้ำ อาทิ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายธีระ วงษ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาคาทรรพ รัฐมนตรีว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายนิวัติธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวิทยา บูรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เลขาสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นายวิเชียร ชวลิต เลขาฯกยน. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท อธิบดีกรมเจ้าท่า และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กยน. โดยทั้งหมดพักค้างคืน 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา และลพบุรี
สำหรับกำหนดการลงพื้นที่ของนายกฯ และครม.เสร็จแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ โดยนายกฯให้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดในส่วนของจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอยุธยา เพราะนายกฯเห็นความสำคัญในการจัดการลุ่มน้ำตอนบน และลุ่มน้ำตอนล่าง ซึ่งจังหวัดพิษณุโลก จะอยู่ในส่วนของลุ่มน้ำยม โดยนายกฯให้กระทรวงมหาดไทยไปดูเรื่องของงบประมาณ เพราะยังไม่มีความชัดเจนว่างบฯประมาณจะลงไปจุดไหนบ้าง พร้อมทั้งให้กยน.ลงไปทำแผนงานก่อนนายกฯลงพื้นที่
ส่วนพื้นที่จังหวัดอยุธยานายกฯได้เน้นให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยว และนิคมอุตสาหกรรม พร้อมทั้งหาพื้นที่รับน้ำ 2 ล้านไร่ทั่วประเทศ ตามที่กยน.เสนอ โดยนายกฯให้ไปดูว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะใช้พื้นที่ไหนรองรับน้ำ เนื่องจากต้องเรื่องของการเยียวยา โดยมอบหมายให้นายกิตติรัตน์รับผิดชอบในเรื่องนี้ นอกจากนี้นายกฯยังขอให้นายกิตติรัตน์หารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อหาแนวทางร่วมกัน โดยเบื้องต้นรัฐบาลวางแนวทางในการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ในการสร้างคันกั้นน้ำให้กับตัวเอง ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดต้องเสร็จเรียบร้อยภายในศุกร์นี้
ส่วนความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกยน.นั้น ผู้ใหญ่ในรัฐบาลมองว่า เป็นเกมการเมืองที่ผู้ออกมาให้ข่าวต้องการเรียกความสำคัญให้กับตัวเอง และตัวกยน.เองทำหน้าที่ในวางแผนเท่านั้น และหมดวาระไปโดยปริยาย หลังจากมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาอีกชุดเพื่อบริหารจัดการเรื่องน้ำโดยเฉพาะ เชื่อว่ากรรมการที่ออกมาพูดก็เพื่อต้องการเข้าไปเป็นคณะทำงานในชุดที่จะตั้งขึ้นหลังจากนี้
**เชื่อปี 55 กทม.-ปริมณทลท่วมครึ่งเดียว
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เปิดเผยภายหลังการหารือกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถึงการลงพื้นที่พบปะประชาชน ในวันที่ 14-17 ก.พ.นี้ ซึ่งจะเป็นการลงพื้นที่เพื่อดูต้นน้ำในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วย ว่า ในวันที่ 13 ก.พ.จะไปดูพื้นที่ต้นน้ำ และไล่ลงมาเรื่อยๆ โดยในวันที่ 17 ก.พ.จะไปตรวจดูบริเวณประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ โดยจะดูแนวทางและหลักการในการจัดการน้ำเพื่อให้ประชาชนเข้าใจเป็นรูปธรรม ความจริงแล้วหลักการนั้นไม่ได้ยุ่งยากอะไร เป็นการชะลอน้ำไว้ที่ต้นน้ำ กักเก็บไว้ ส่วนกลางน้ำก็พยายามหน่วงไว้ และปลายน้ำก็เริ่มระบายออก อย่างไรก็ตาม แต่ละโครงการที่ทำนั้นไม่ได้สะเปะสะปะ และมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ตอนแรกอาจจะดูกระจัดกระจาย แต่ว่าแต่ละโครงการนั้นมีหลักการ ไม่ได้มั่ว ดูเผลินๆอาจเหมือนมั่วแต่ความจริงไม่ใช่
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการพูดคุยถึงเรื่องจุดรับน้ำหรือไม่ ดร.อานนท์ กล่าวว่า ในพื้นที่น้ำนองนั้น เป็นพื้นที่ที่เกิดน้ำนองเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว เบื้องต้นอาจจะไม่ทำทั้งหมด อาจจะทำเพียง 2 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่น้ำนองมีมากกว่านั้น และต่อไปจะมีการบริหารพื้นที่น้ำนองเพื่อควบคุมการไหลเข้าออกของน้ำ และจะมีการฟื้นฟูเยียวยาและส่งเสริมเรื่องการประกอบอาชีพในพื้นที่ ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นได้ด้วย โดยกลุ่มแรกอยู่ที่ จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จนมาถึง จ.นครสวรรค์ และใต้นครสวรรค์ลงมาจะอยู่แถว จ.อยุธยา ไปจนถึงอ.สามพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยชะลอน้ำได้เยอะ โดยเริ่มต้นจะนำร่องในเรื่องนี้ก่อนและถ้าได้ผลดีจะค่อยๆขยาย
"สมมุติฝนเหมือนปี 54 เราจะสามารถป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโดยรอบกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ โดยปริมาณน้ำจะเหลือเพียงครึ่งเดียว ถ้าในเชิงพื้นที่ เชิงความลึก และระยะเวลา คือยังมีท่วมอยู่ ในกรณีที่เราบริหารจัดการโดยใช้มาตรการที่เสนอในปีนี้ คือทุกอย่างทำได้ตามแผน" ดร.อานนท์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีจุดไหนที่ยังเป็นกังวลและเป็นอุปสรรคบ้างหรือไม่ ดร.อานนท์ กล่าวว่า มีเรื่องพื้นที่น้ำนอง เพราะมาตรการในการบริหารจัดการเพื่อลดน้ำท่วมขังในพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และพื้นที่เมือง หลักหนึ่งเราต้องยืดระยะเวลาการท่วมขังในพื้นที่ทุ่งรับน้ำ เช่น ปีที่แล้วเริ่มท่วมเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ถ้าปีนี้ฝนเหมือนปี 54 ประมาณเดือนพฤษภาคมก็จะมีน้ำท่วมขังแล้ว แต่การท่วมขังนานก็จริง แต่น้ำจะไม่ลึก ทั้งนี้ปริมาณน้ำสูงสุดประมาณกลางเดือนตุลาคมที่ล้อมรอบกทม.อยู่ที่ 6-7 พันล้านลูกบาศก์เมตร แต่ถ้ามาตรการทุกอย่างที่ทำอยู่สำเร็จจะคุมปริมาณน้ำสูงสุดอยู่ที่ 4 พันล้านลูกบาศก์เมตร ต้องยอมรับว่ามีท่วมอยู่แต่เราคาดว่าฝนไม่น่าจะเลวร้ายไปกว่าปีที่แล้ว แต่ถ้าโชคร้ายหรือแย่กว่าปีที่แล้ว หากการบริหารจัดการน้ำดีผลก็น่าจะดีกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เรามั่นใจว่าปริมาณน้ำจะน้อยกว่าปีที่แล้วแน่ๆ อยู่ที่ว่าจะน้อยมากหรือน้อยแค่ไหน
เมื่อถามว่า มีความกังวลปัญหามวลชนที่อยู่ในพื้นที่ 2 ล้านไร่หรือไม่ ดร.อานนท์ กล่าวว่า เราจะเรียกว่ากลัวก็ไม่ได้ คำว่ากลัวแต่ถ้าไม่ทำงานก็ไม่ได้ เราควรจะพูดกันตั้งแต่ต้นๆ เพราะขนาดนี้เรายังมีเวลาในการทำความเข้าใจ ซึ่งในสัปดาห์นี้คณะทำงานชุดที่นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งขึ้นจะดำเนินการ และตนก็เป็นที่ปรึกษาในคณะทำงานชุดนี้ด้วย อย่างไรก็ตามพื้นที่รับน้ำ 2 ล้านไร่นั้นจะต้องใช้ในปีนี้ด้วย
ส่วนการแก้ไขปัญหาระบายน้ำระยะยาว จะต้องหาพื้นที่ทำแก้มลิงจำนวนมากในหลายจุด ซึ่งจะไล่ตั้งแต่ช่วงต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยจะทำให้มากที่สุด โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีพื้นที่ราบมาก ทั้งนี้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา คงต้องทำควบคู่กันไปกับการหาพื้นที่รับน้ำด้วย ซึ่งเมื่อหาพื้นที่ชัดเจนแล้วจะประกาศให้ประชาชนรับทราบ
"ยอมรับว่าทุกอย่างไม่สามารถทำเสร็จได้ภายในปีนี้ สำหรับการขุดทำแก้มลิงคงไม่เสร็จในปีนี้ ส่วนการทำแหล่งรับน้ำต้องไปคุยกับมวลชน ซึ่งพื้นที่รับน้ำนั้นคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือกยน. ได้หารือแล้วแจ้งว่าจะต้องหาพื้นที่รับน้ำถึง 2 ล้านไร่ ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ และได้คุยถึงมาตรการเยียวยาเรียบร้อยแล้ว" นายกฯกล่าว
นอกจากนี้ รัฐบาลจะดูในเรื่องของคันกั้นน้ำซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมาทุกจังหวัดจะปกป้องในส่วนของพื้นที่ตัวเอง ในวันนี้จะต้องมีบางพื้นที่ที่ขวางทางระบายน้ำ ก็ต้องขอให้เปิดทางให้น้ำไหลลงคลอง ที่จะมีการขุดทั้งปลายน้ำฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก และในส่วนของพื้นที่แต่ละจังหวัดนั้น จะย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเตรียมแผนการเตือนภัยป้องกันภัยพิบัติแล้ว ส่วนการปรับระดับน้ำจะดูว่าระดับต่ำสุดจะปรับได้เท่าไร ซึ่งคณะกรรมการได้พยายามคำนึงถึงการเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งการแก้ไขปัญหาภัยแล้งจะเร่งดำเนินการตามมา โดยในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมทุ่ง เนื่องจากต้องเก็บน้ำไว้ใช้ในภาคเกษตร
ด้านการเยียวยาประชาชน 5 พันบาทยังเป็นปัญหาอยู่นั้น นายกฯ กล่าวว่า อาจจะเป็นการเข้าใจผิดเรื่องของการสื่อสารมากกว่า โดยให้มีการสำรวจให้แล้วเสร็จโดยเร็วและจะมีการเร่งติดตามให้สำนักงบประมาณเร่งจ่ายเงินเยียวยาให้ถึงมือประชาชน
ต่อข้อถามว่า นายกฯพอจะบอกได้หรือไม่ว่าปีนี้รัฐบาลจะพยายามไม่ให้น้ำท่วมอีก นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ก็พยายามให้เต็มที่เลยค่ะ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับทุกคนด้วย ทั้งมวลชน ทั้งความร่วมมือของทุกฝ่ายเพราะว่างานนี้ต้องได้รับการบูรณาการอย่างแท้จริง ก็ต้องขอแรงที่จะช่วยกัน
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและวางระบบการบริหารจัดการน้ำ หรือ กยน. แถลงว่า รัฐบาล และ กยน. ได้อนุมัติ 6 โครงการ เพื่อบริหารจัดการน้ำ เช่น การจัดทำคลังข้อมูลน้ำระบบการเตือนภัยการพยากรณ์ โดยใช้ งบประมาณราว 7,000 ล้านบาท ด้านการจัดตั้งคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ จะมีการจัดทำแผนข้อมูลน้ำ เช่น ระดับความ สูง การวัดระดับกระแสน้ำ หรือทิศทางการไหลของน้ำ รวมถึงยังมีการจัดทำคลัง ข้อมูลระบบดาวเทียม การติดตั้ง กล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV ตามประตูระบายน้ำสำคัญ การสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ศูนย์ข้อมูลภาพถ่ายผ่านดาวเทียม
ส่วนการเตือนภัย จะเตือนภัยผ่านระบบสมาร์ทโฟน การกระจ่ายข่าวผ่านสื่อต่างๆ การจัดตั้งระบบคอลล์เซ็นเตอร์ เพื่อให้ข้อมูลน้ำกับประชาชน ซึ่งโครงการดังกล่าว คาดว่า น่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือน มิ.ย.-ก.ค. นี้
ทั้งนี้ อยากให้ประชาชนมั่นใจว่าหลังจากการทำงานของ กยน.ก่อนที่ฤดูฝนจะมา ประชาชนจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นข้อมูลจากทางเดียว และหากเกิดภัยพิบัติต่างๆประชาชนจะได้รับข้อมูลเตือนภัยที่ทันเวลาและทั่วถึง อีกทั้งหน่วยงานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะไม่สับสนว่าเมื่อเกิดภัยพิบัติหน่วยงานใดต้องรับผิดชอบบ้างเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงต่อกัน
“กรรมการ กยน.ลาออกไม่ได้ ถ้าลาออกก็ต้องลาออกจากความเป็นเพื่อนผมด้วย เพราะคบกันมากว่า40 ปี และที่ผ่านมามีหลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งผมมองว่าเป็นข้อแนะนำที่ดี และผู้แนะนำส่วนใหญ่ก็เป็นเพื่อนกันทั้งนั้น และแผนรับมือน้ำของรัฐบาลจับต้องได้” นายปลอดประสพ กล่าว
**“ปู”สั่งปรับทัวร์ลุ่มน้ำ 9 จังหวัด
แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า การเดินทางทัวร์ลุ่มน้ำ 9 จังหวัดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาน้ำ อาทิ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายธีระ วงษ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาคาทรรพ รัฐมนตรีว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายนิวัติธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวิทยา บูรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เลขาสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นายวิเชียร ชวลิต เลขาฯกยน. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท อธิบดีกรมเจ้าท่า และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กยน. โดยทั้งหมดพักค้างคืน 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา และลพบุรี
สำหรับกำหนดการลงพื้นที่ของนายกฯ และครม.เสร็จแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ โดยนายกฯให้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดในส่วนของจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอยุธยา เพราะนายกฯเห็นความสำคัญในการจัดการลุ่มน้ำตอนบน และลุ่มน้ำตอนล่าง ซึ่งจังหวัดพิษณุโลก จะอยู่ในส่วนของลุ่มน้ำยม โดยนายกฯให้กระทรวงมหาดไทยไปดูเรื่องของงบประมาณ เพราะยังไม่มีความชัดเจนว่างบฯประมาณจะลงไปจุดไหนบ้าง พร้อมทั้งให้กยน.ลงไปทำแผนงานก่อนนายกฯลงพื้นที่
ส่วนพื้นที่จังหวัดอยุธยานายกฯได้เน้นให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยว และนิคมอุตสาหกรรม พร้อมทั้งหาพื้นที่รับน้ำ 2 ล้านไร่ทั่วประเทศ ตามที่กยน.เสนอ โดยนายกฯให้ไปดูว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะใช้พื้นที่ไหนรองรับน้ำ เนื่องจากต้องเรื่องของการเยียวยา โดยมอบหมายให้นายกิตติรัตน์รับผิดชอบในเรื่องนี้ นอกจากนี้นายกฯยังขอให้นายกิตติรัตน์หารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อหาแนวทางร่วมกัน โดยเบื้องต้นรัฐบาลวางแนวทางในการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ในการสร้างคันกั้นน้ำให้กับตัวเอง ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดต้องเสร็จเรียบร้อยภายในศุกร์นี้
ส่วนความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกยน.นั้น ผู้ใหญ่ในรัฐบาลมองว่า เป็นเกมการเมืองที่ผู้ออกมาให้ข่าวต้องการเรียกความสำคัญให้กับตัวเอง และตัวกยน.เองทำหน้าที่ในวางแผนเท่านั้น และหมดวาระไปโดยปริยาย หลังจากมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาอีกชุดเพื่อบริหารจัดการเรื่องน้ำโดยเฉพาะ เชื่อว่ากรรมการที่ออกมาพูดก็เพื่อต้องการเข้าไปเป็นคณะทำงานในชุดที่จะตั้งขึ้นหลังจากนี้
**เชื่อปี 55 กทม.-ปริมณทลท่วมครึ่งเดียว
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เปิดเผยภายหลังการหารือกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถึงการลงพื้นที่พบปะประชาชน ในวันที่ 14-17 ก.พ.นี้ ซึ่งจะเป็นการลงพื้นที่เพื่อดูต้นน้ำในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วย ว่า ในวันที่ 13 ก.พ.จะไปดูพื้นที่ต้นน้ำ และไล่ลงมาเรื่อยๆ โดยในวันที่ 17 ก.พ.จะไปตรวจดูบริเวณประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ โดยจะดูแนวทางและหลักการในการจัดการน้ำเพื่อให้ประชาชนเข้าใจเป็นรูปธรรม ความจริงแล้วหลักการนั้นไม่ได้ยุ่งยากอะไร เป็นการชะลอน้ำไว้ที่ต้นน้ำ กักเก็บไว้ ส่วนกลางน้ำก็พยายามหน่วงไว้ และปลายน้ำก็เริ่มระบายออก อย่างไรก็ตาม แต่ละโครงการที่ทำนั้นไม่ได้สะเปะสะปะ และมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ตอนแรกอาจจะดูกระจัดกระจาย แต่ว่าแต่ละโครงการนั้นมีหลักการ ไม่ได้มั่ว ดูเผลินๆอาจเหมือนมั่วแต่ความจริงไม่ใช่
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการพูดคุยถึงเรื่องจุดรับน้ำหรือไม่ ดร.อานนท์ กล่าวว่า ในพื้นที่น้ำนองนั้น เป็นพื้นที่ที่เกิดน้ำนองเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว เบื้องต้นอาจจะไม่ทำทั้งหมด อาจจะทำเพียง 2 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่น้ำนองมีมากกว่านั้น และต่อไปจะมีการบริหารพื้นที่น้ำนองเพื่อควบคุมการไหลเข้าออกของน้ำ และจะมีการฟื้นฟูเยียวยาและส่งเสริมเรื่องการประกอบอาชีพในพื้นที่ ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นได้ด้วย โดยกลุ่มแรกอยู่ที่ จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จนมาถึง จ.นครสวรรค์ และใต้นครสวรรค์ลงมาจะอยู่แถว จ.อยุธยา ไปจนถึงอ.สามพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยชะลอน้ำได้เยอะ โดยเริ่มต้นจะนำร่องในเรื่องนี้ก่อนและถ้าได้ผลดีจะค่อยๆขยาย
"สมมุติฝนเหมือนปี 54 เราจะสามารถป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโดยรอบกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ โดยปริมาณน้ำจะเหลือเพียงครึ่งเดียว ถ้าในเชิงพื้นที่ เชิงความลึก และระยะเวลา คือยังมีท่วมอยู่ ในกรณีที่เราบริหารจัดการโดยใช้มาตรการที่เสนอในปีนี้ คือทุกอย่างทำได้ตามแผน" ดร.อานนท์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีจุดไหนที่ยังเป็นกังวลและเป็นอุปสรรคบ้างหรือไม่ ดร.อานนท์ กล่าวว่า มีเรื่องพื้นที่น้ำนอง เพราะมาตรการในการบริหารจัดการเพื่อลดน้ำท่วมขังในพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และพื้นที่เมือง หลักหนึ่งเราต้องยืดระยะเวลาการท่วมขังในพื้นที่ทุ่งรับน้ำ เช่น ปีที่แล้วเริ่มท่วมเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ถ้าปีนี้ฝนเหมือนปี 54 ประมาณเดือนพฤษภาคมก็จะมีน้ำท่วมขังแล้ว แต่การท่วมขังนานก็จริง แต่น้ำจะไม่ลึก ทั้งนี้ปริมาณน้ำสูงสุดประมาณกลางเดือนตุลาคมที่ล้อมรอบกทม.อยู่ที่ 6-7 พันล้านลูกบาศก์เมตร แต่ถ้ามาตรการทุกอย่างที่ทำอยู่สำเร็จจะคุมปริมาณน้ำสูงสุดอยู่ที่ 4 พันล้านลูกบาศก์เมตร ต้องยอมรับว่ามีท่วมอยู่แต่เราคาดว่าฝนไม่น่าจะเลวร้ายไปกว่าปีที่แล้ว แต่ถ้าโชคร้ายหรือแย่กว่าปีที่แล้ว หากการบริหารจัดการน้ำดีผลก็น่าจะดีกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เรามั่นใจว่าปริมาณน้ำจะน้อยกว่าปีที่แล้วแน่ๆ อยู่ที่ว่าจะน้อยมากหรือน้อยแค่ไหน
เมื่อถามว่า มีความกังวลปัญหามวลชนที่อยู่ในพื้นที่ 2 ล้านไร่หรือไม่ ดร.อานนท์ กล่าวว่า เราจะเรียกว่ากลัวก็ไม่ได้ คำว่ากลัวแต่ถ้าไม่ทำงานก็ไม่ได้ เราควรจะพูดกันตั้งแต่ต้นๆ เพราะขนาดนี้เรายังมีเวลาในการทำความเข้าใจ ซึ่งในสัปดาห์นี้คณะทำงานชุดที่นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งขึ้นจะดำเนินการ และตนก็เป็นที่ปรึกษาในคณะทำงานชุดนี้ด้วย อย่างไรก็ตามพื้นที่รับน้ำ 2 ล้านไร่นั้นจะต้องใช้ในปีนี้ด้วย