ปู”หวั่นฝนหลงฤดู ทำเจ๊ง! ถกกยน. เร่งรัดแผนป้องกัน “นิวัฒน์ธำรง” หลุด! รอโชคดีน้ำน้อยกว่าปีที่แล้ว เปิดแผนทัวร์ติดตามโครงการ 1.7 หมื่นล้าน “ฐิติมา” อ้างจ่าย 5 พันช้า ปชช.ไม่ได้ลงชื่อ-จนท.มีน้อย “มาร์ค” ท้า เปิดแผนเงินแลกถอนตีความพรก.
วานนี้ (3 ก.พ.55) เวลา14.00 น.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประชุมกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยดูความชัดเจนในมาตรการป้องกันน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรม หลังรัฐบาลมีมาตรการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ 3 แสนล้านบาท ท่ามกลางความเป็นห่วงน้ำท่วมรอบใหม่ พร้อมกับซักซ้อมเตรียมความพร้อมก่อนสัญจร "นกแก้ว"ที่จะลงพื้นที่ดูต้นน้ำ ระหว่างวันที่ 13-17 ก.พ. นี้
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยดี ส่วนที่ นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการกยน. ไม่ได้เข้าร่วมประชุมนั้น "ท่านเคยบอกแล้วงานไม่ว่างก็มาไม่ได้ แต่ท่านไม่ได้งอนอะไร"
ที่ประชุม กนย.ได้ดูโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และงบประมาณในระดับหนึ่ง นอกเหนือจากงบที่คณะกรรมการเพื่อให้การช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย(กฟย.) อนุมัติให้สร้างสิ่งที่เสียหายให้กลับคืน 120,000 ล้านบาท ได้อนุมัติไปเกือบ 80,000 ล้านบาท โดยนายกรัฐมนตรีและคณะจะเดินทางลงพื้นที่เพื่อทบทวนแผนงานและติดตามว่าทำไปถึงไหนแล้ว ติดขัดอะไรหรือไม่ และทางรัฐบาลจะช่วยอะไรได้อีก เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันน้ำท่วมดียิ่งขึ้น พร้อมกันนี้จะเป็นการไปดูแผนงานรวมทั้งหมด ตั้งแต่สมัย กฟย.และกยน.ที่ทำเพิ่ม 18,000 ล้านบาท รวมถึง 350,000 ล้านบาท
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีและคณะจะเริ่มเดินทางไปที่เขื่อนสิริกิตติ์เป็นจุดแรกติดตามงาน4 ตอนหลัก ตอนแรกเป็นพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องการปลูกป่า ทำฝายแม้วและดูระบบนิเวศต่างๆ รวมถึงโครงการพระราชดำริ เพื่อชะลอน้ำด้านบน จากนั้นจะดูเรื่องการระบายน้ำตามเขื่อนต่างๆ ทั้งนี้การทำงานจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน โดยดูงาน ในพื้นที่ต้นน้ำ ในจ.อุตรดิตถ์ และจ.พิษณุโลก แะละร่วมเวิร์คช็อปจัดทำแผนของแต่ละจังหวัดให้ละเอียด โดยมีส่วนราชการกลางไปดูอีกชั้น จากนั้นจะลงพื้นที่ต่อเพื่อไปดูอ่างเก็บน้ำบางระกำ จ.พิษณุโลก จ.นครสวรรค์ ดูพื้นที่กลางน้ำ ตั้งแต่จ.พิจิตรถึงจ.ชัยนาท โดยจะดูการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยาทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก รวมถึงประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ประตูน้ำพลเทพ ที่จ.สิงห์บุรี และจ.ลพบุรี
**รอโชคดีน้ำน้อยกว่าปีที่แล้ว
ส่วนที่ จ.พระนครศรีอยุธยา จะดูนิคมอุตสาหกรรม และโบราณสถาน พร้อมทั้งดูพื้นที่รับน้ำ 2 ล้านไร่ที่ได้มีการศึกษาสถานที่ไว้แล้วประมาณ 2-3 จุด ก่อนจะหารือถึงมาตรการเยียวยากับชาวบ้านและตัวแทนภาคอุตสาหกรรม ส่วนพื้นที่ปลายน้ำตอนล่าง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม ฉะเชิงเทรา จะดูเรื่องของการผลักดันน้ำ ระบายน้ำ
ที่ประชุมยังได้หารือกันถึงการระบายน้ำในเขื่อน โดยตามแผนประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีการระบายน้ำทุกวัน ซึ่งจะทำให้น้ำลดลงเรื่อยๆ คาดว่าจะต่ำกว่าระดับน้ำในเขื่อนปีที่แล้ว ส่วนการประเมินสถานการณ์น้ำตรงจุดเขื่อนสิริกิตติ์ ที่จ.อุตรดิดถ์ จะมีการสรุปพยากรณ์น้ำ
นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า ถ้าน้ำเท่าปีที่แล้ว สภาพต้องดีขึ้นกว่าปีที่แล้วแน่นอน แต่เราไม่รู้น้ำจะมีมากน้อยแค่ไหนอย่างไร ถ้าเราโชคดีน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วน่าจะดีกว่าปีที่แล้ว แต่ตอนนี้ไม่มีใครบอกได้
** “ปราโมทย์” พอใจพร้องน้ำในเขื่อน
นายปราโมทย์ ไม้กลัด กรรมการกยน. กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการขับเคลื่อนในหลายเรื่อง โดยนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ให้ดีที่สุด เริ่มตั้งแต่การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน การกำหนดพื้นที่ชะลอน้ำหลาก โดยเฉพาะในส่วนของการพร่องน้ำในเขื่อนที่มีการกำหนดอยู่ในเกณฑ์เท่าไร มอบหมายให้กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ไปดำเนินการ ยกตัวอย่าง เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ก็จะอยู่ที่ราว 42-45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเขื่อนอื่นๆก็ตามความเหมาะสม ให้อยู่เหนือปริมาณน้ำตาย หรือไม่ให้ต่ำกว่าท่อน้ำที่ส่งออกมาผลิตไฟฟ้า โดยเริ่มดำเนินการในช่วงหน้าแล้ง จนถึงวันที่ 1 พ.ค.นี้ และจะมีการสำรองไว้ช่วงหน้าฝนบ้างจำนวนหนึ่ง
“ต้องบอกกับประชาชนว่าอย่าตกใจ ที่มีการบอกว่าพอถึงเดือน พ.ค.น้ำในเขื่อนภูมิพลเหลืออยู่แค่ 45 เปอร์เซ็นต์ รูปแบบนี้เป็นการดำเนินการที่ใช้งานมา 50 ปีแล้ว หรือเรียกกันว่ามาตรน้ำตาย” นายปราโมทย์ ระบุและว่าที่ประชุมพูดคุยกันรู้เรื่องดี อาจจะมีการถกเถียงกันบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา ส่วนการสร้างความมั่นใจกับประชาชนไม่ว่าน้ำจะไม่ท่วมอีกหรือไม่นั้น เป็นเรื่องตอบยาก แต่คงไม่รุนแรงกว่าปี 54 ขึ้นอยู่กับว่าจะอธิบายทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างไร
สำหรับ การกำหนดพื้นที่รับน้ำหนอง หรือพื้นที่ชะลอน้ำหลาก นายปราโมทย์ กล่าวว่า ในความเป็นจริงธรรมชาติเข้าไปอยู่แล้ว พอน้ำมาก็จะไปกระจุกตัวอยู่ในที่นั้นๆ จุดใดบ้างคงยังตอบไม่ได้ เพราะหลายพื้นที่รวมกว่า 2 ล้านไร่ รัฐบาลก็ต้องไปดำเนินการในส่วนของการเยียวยา หรือชดเชยในพื้นที่การเกษตรที่อาจได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่ลงรายละเอียดในส่วนของจำนวนเงิน เรื่องนี้รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบ
ส่วนมาตรการระยะสั้นในขณะนี้ นายปราโมทย์ กล่าวว่า ได้ขับเคลื่อนไปแล้ว โดยมอบให้กทม. ดำเนินการไปหลายอย่าง หากยังตกลงไม่แล้วเสร็จ คงจะเตรียมการไม่ทัน ส่วนเรื่องที่ต้องเน้นในช่วงเข้าสู่ฤดูฝนนั้น สิ่งสำคัญคือการบอกกล่าวข้อมูล แต่ทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจว่าเรามีเวลาขับเคลื่อนได้เพียง 6-7 เดือนเท่านั้น
**"ปลอด" ทำคลอด "กนอช." อีกคณะ
ด้าน นายวิเชียร ชวลิต เลขาธิการ กยน. กล่าวว่า แผนการบริหารจัดการน้ำ และการกำหนดพื้นที่รับน้ำที่กำหนดวงไว้กว้างๆ 2 ล้านไร่นั้น ก็ต้องไปดูอีกว่าประชาชนมีความพร้อมหรือไม่ มีการยอมรับมากน้อยหรือไม่ด้วย ตามแผนเดิมกำหนดไว้ภายในเดือน มี.ค.นี้ แต่ทางกระทรวงเกษตรฯได้รับว่า จะพยายามเร่งให้เสร็จก่อนแผนเดิมสิ่งที่เป็นห่วงคือการดูแลชาวบ้าน จะไม่มีการปล่อยให้ได้รับความเดือดร้อนมาก รวมทั้งค่าตอบแทนชดเชยความเสียหาย แต่ยังไม่ได้ระบุว่าเท่าไร
ที่ประชุมมีการพูดถึงเรื่องการพยากรณ์และการเตือนภัย ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รับไปทำก่อนหน้านี้ นายปลอดประสพก็ได้มารายงานว่ามีการออกแบบระบบการแจ้งเตือน เตรียมความพร้อมไว้แล้ว
สำหรับกรณีการตั้ง คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) นั้น นายชวลิตกล่าวว่า คาดว่าจะสามารถนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 7 ก.พ.นี้ได้ โดย กนอช.จะเป็นเหมือนบอร์ดบริษัท และจะมีสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (สนอช.) เป็นผู้รับนโยบายนำไปปฏิบัติ โดยจะทำไปพร้อมกันระหว่างการออกระเบียบ ครม.เพื่อตั้งเป็นเบื้องต้น และดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 โดยเฉพาะในมาตรา 31 เพื่อปรับปรุงการใช้อำนาจใหม่ เพราะเดิมมาตรา 31 ใช้ได้อำนาจได้เฉพาะเมื่อเกิดภัยขึ้นแล้ว ซึ่งยังมีขั้นตอนอีกหลายส่วน ระหว่างนี้ให้มีองค์กรผ่านการใช้ระเบียบสำนักนายกฯไปพลางก่อน
**ปู”หวั่นฝนหลงฤดู ทำเจ๊ง!
ก่อนหน้านั้นเวลา 10.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ เรียกประชุมรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย ที่บ้านพิษณุโลก เพื่อเข้าหารือหลังจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏรเห็นชอบผ่าน 2 พรก.กู้เงินแล้ว เพื่อเร่งเดินหน้าโครงการของรัฐบาล
แหล่งข่าวที่ประชุมบ้านพิษณุโลก เปิดเผยว่า นายกฯระบุถึงข้อสรุปของกยน.โดยติดตามการปฏิบัติตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยเฉพาะระบบการป้องกันเวลาน้ำท่วม ซึ่งจะตรวจพื้นที่จังหวัดภาคเหนือจนถึงภาคกลางดูความพร้อมของเขื่อน คันกั้นน้ำต่างๆโดยเฉพาะงบปรพมาณที่รัฐบาลจ่ายลงไป เนื่องจากใกล้ฤดูฝน
"เท่าที่ทราบเวลานี้เขื่อนมีการกักเก็บน้ำไว้ 80 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะฝนที่ตกหลงฤดู จะต้องไปดูว่า หากเกิดฝนตกใหญ่จะทำอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เหนือเขื่อน หรือด้านล่างเขื่อน เนื่องจากเกรงว่า จะทำให้น้ำท่วมเหมือนคราวที่แล้ว ขณะเดียวกันจะเข้าไปดูการจ้างงานในพื้นที่เพื่อให้มีการสร้างรายได้ ป้องกันการยักยอกเม็ดเงิน"
ส่วนพื้นที่กทม.จะดำเนินร่วมกับภาคประชาชน และภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่หลายแห่งที่กลัวผลกระทบ จะเข้ามาช่วยดูการเปิด-ปิดประตูน้ำ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของผู้จัดการระบบน้ำ เพราะก่อนหน้านี้เกิดความขัดแย้ง ขณะที่จะมีแผนงานเรียกความเชื่อมั่นของนิคมอุตสาหกรรมกลับมา หลังกระแสข่าวนักลงทุนจะหนีจากประเทศไทยไปหมด
ทั้งนี้มีการแบ่งรัฐมนตรีออกเป็น 2 สาย คือ สายที่1 ลงพื้นที่เพื่อเตรียมจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ ส่วนสายที่2 เป็นการติดตามภารกิจนายกรัฐมนตรี ก่อนจัดประชุมและร่วมทำเวิร์คช็อปของกระทรวงต่างๆ ที่จะต้องมีการเสนอโครงการในวันที่ 8 ก.พ.นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล
**ปูแจงทัวร์ความสุขแก้อุทกภัย
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ว่า นายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีบางส่วนจะเดินทางลงพื้นที่ไปตรวจราชการในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งเราเรียกว่า "ทัวร์เพื่อความสุขและความสุขของประชาชน" ซึ่งรัฐบาลต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนได้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาอุทกภัยมีการทำงานอย่างเป็นระบบ และมีโอกาสลงไปดูพื้นที่จริง โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นหัวหน้าทัวร์ดังกล่าว และจะชี้แจงรายละเอียดในรายการ "รัฐบาลยื่งลักษณ์พบประชาชน" ในวันเสาร์ที่ 11 ก.พ. นี้
**นายกฯลงพื้นที่สรุป “แก่งเสือเต้น”
นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ให้สัมภาษณ์กรณีที่นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เดินทางเข้าพบหารือเตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำท่วม ว่า สัปดาห์หน้าที่นายกฯจะเดินทางไปสำรวจเขื่อน และลุ่มน้าเจ้าพระยา จะตัดสินใจแน่นอนว่าโครงการแก่งเสือเต้นจะเอาหรือไม่ รวมทั้งโครงการเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง และตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไร ดังนั้น ต้องฟังข้อมูลรอบด้าน ต้องพิจารณาจุดที่ลงตัวที่สุด และฝ่ายเอ็นจีโอก็ต้องเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมันแสนหาหัสมาก เที่ยวนี้คงต้องพิสูจน์จริงๆ จะเอาอย่างไร และความคุ้มค่าเป็นอย่างไร ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า และความเสียสละจะเอาอันไหน
**รองปลัดมท.แนะกทม.ลดขั้นตอนจ่าย5พัน
นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า นายยงยุทธ ได้ฝากขอบคุณไปยังกทม. กรณีวันที่3ก.พ.ได้เริ่มดำเนินขุดลอกคูคลองตามที่ รมว.มหาดไทย ได้มีหนังสือสั่งการ ส่วนการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยา ครัวเรือนละ 5,000 บาท ขณะนี้ยังคงล่าช้าอยู่ จึงอยากเสนอแนะให้กทม.อนุมัติเงินให้ครอบคลุมทั้งชุมชนได้เลย เพราะการสำรวจเป็นรายครัวเรือนอย่างในปัจจุบันนั้น ทำให้การจ่ายเงินล่าช้าออกไป มาก
“สำหรับ ประชาชนที่ประสบอุทกภัยที่แท้จริงคงจะไปตัดสิทธิ หรือกำหนดเวลาไม่ได้ ถึงแม้จะหมดเวลาที่ทางรัฐบาล ขยายต่อให้ ประชาชนที่ประสบอุทกภัย ทุกจังหวัดก็ยังสามารถ ส่งเอกสารเพื่อได้อยู่ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด หรือยื่นที่สำนักงานเขตนั้นได้เลย แม้จะเลยกำหนด 45 วัน ก็ยังสามารถทำเรื่องให้สำนักงานเขต ให้ส่งเรื่องไปที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เพื่อส่งต่อให้ทางสำนักงบประมาณ ทำการจัดสรรเงินงบประมาณลงไปเยี่ยวยาต่อไปได้” รองปลัดกล่าว
ส่วนกรณีงบประมาณส่วนกลางเพื่อฟื้นฟูสาธารณูปโภค ได้ถูกพิจารณาลดลงจาก 20,000 กว่าล้าน เหลือเพียง 15,100 ล้านบาทเศษ โดยนายกรัฐมนตรี เป็นห่วง จังหวัดต่างๆที่ยังไม่ได้ดำเนินเสนอขอเข้ามาซึ่งเกรงว่าจะทำให้ชักช้า และจากที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมด้วย นายยงยุทธ ได้ไปตรวจเยี่ยมการทำงานที่สำนักงบประมาณ โดยพบว่ายอดเงินที่โอนไปทั้ง 56 จังหวัดรวมเป็นเงิน 5,332,899,000 ล้านบาท เหลือที่ยังไม่ได้จัดสรรงบประมาณอีก 7,245,205,634 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จะมีการเร่งรัดเงินในส่วนนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 สัปดาห์
ทางรัฐบาล คาดว่าอีก 45 วัน น่าจะดำเนินเสร็จสิ้นทั้งหมดทุกจังหวัด ในส่วนของ เงินเยียวยา 5,000 บาท ส่วนเรื่องเยียวยาอื่น ได้แก่ บ้านพังทั้งหลัง 30,000 บาท เครื่องมือทำกินสูญหาย เป็นเรื่องของรายละเอียด ที่ยังต้องทำการตรวจสอบ
นางฐิติมา ฉายแสง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวว่า หลักการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเรื่องที่ต้องนำเข้าครม. ไม่เหมือนค่าชดเชยการซ่อมแซมบ้าน 10,000 ถึง 30,000 บาท ซึ่งเงินชดเชยการซ่อมแซมบ้านผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจทำได้เลย และเมื่อวันที่ 15 พ.ย.54 ทางกทม.ได้มีการเสนอครม.มาแล้ว 621,355 ครัวเรือน ในวงเงิน 3,106.775 ล้านบาท เมื่อผ่านการอนุมัติของครม.แล้ว กทม.ก็จะไปตรวจสอบรายละเอียดของประชาชนที่มายื่นเรื่อง แต่ปรากฎว่าสามารถรวบรวมได้เพียง 2 แสนกว่าครัวเรือน จาก 621,355 ครัวเรือน
ความสับสนเกิดจากครัวเรือนที่ได้เพียง 2 แสนกว่าครัว และยังขาดอีก 3 แสนกว่าครัวเรือน โดยอาจจะเกิดจากประชาชนยังไม่ได้มาติดต่อกับกทม.หรือกทม.ไม่มีเจ้าหน้าที่เชื่อมโยงกับทางผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต.ที่เป็นต้นทางของแต่ละพื้นที่
ส่วนที่รัฐบาลมีการตั้งข้อสันนิษฐานว่ากทม.ไม่มีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นลงไปตรวจสอบเหมือนต่างจังหวัด ประชาชนที่ยังไม่ได้รับเงินจะต้องทำอย่างไร ดังนั้นประชาชนควรจะไปติดต่อที่กทม. หรือที่เขต เพราะกทม.ก็เคยระบุแล้วว่าไม่จำเป็นต้องมีรูปภาพและไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความ แต่การสื่อสารอาจยังไม่ดีพอ เพราะประชาชนยังสับสนอยู่ รวมถึงความเข้าใจของข้าราชการเองและความเข้าใจของทางกทม.ด้วยหรือไม่ เนื่องจากตอนแรกมีการกำหนดภายใน 45 วัน ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเลย 45 วัน ประชาชนจะไม่ได้เงินเลย ครม.ไม่ได้มีนโยบายที่จะไม่จ่ายเงิน แต่ 45 วันนั้นครม.กำหนดว่าเป็นเวลาการทำงานของราชการ แต่เมื่อเลยกำหนด 45 แล้วต้องมีการนำเข้าครม.เพื่อขอขยายเวลา ดังนั้นกทม.จึงต้องมาขอขยายเวลาเมื่อทำงานไม่ทันเช่นกัน
**มาร์ค ท้าเปิดแผนเงินแลกถอนตีความ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความพรก.2ฉบับเกี่ยวกับการโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูและกู้เงิน3.5แสนล้านบาทของรัฐบาลว่า ไม่ใช่การขัดขวางการบริหารงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาน้ำท่วม พร้อมกับท้าว่าหากรัฐบาลสามารถแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องทำให้กู้เงินทันทีได้ ก็พร้อมที่จะถอนการยื่นตีความในส่วน พรก.กู้เงิน แต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎชัดเจนว่ารัฐบาลไม่สามารถชี้แจงได้ อีกทั้งยังมีงบประมาณปกติในมือเกือบ2แสนล้านบาทเพียงพอต่อการแก้ปัญหา โดยเท่าที่ทราบมีการเบิกจ่ายไปเพียง5 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
นอกจากนี้หากรัฐบาลต้องการกู้เงินในขณะนี้ก็สามารถกู้ได้ผ่านการจัดทำงบประมาณตามปกติได้อีกถึง 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินเดียวกับที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ระบุว่า มีแผนที่จะใช้จ่ายงวดแรกในจำนวน 1.5 แสนล้านบาทด้วยเช่นเดียวกัน สะท้อนว่าการออก พรก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทนั้นไม่ใช่ความจำเป็นเร่งด่วน จึงไม่ควรโทษฝ่ายค้านที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้รัฐบาลปฏิบัติตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ โดยรัฐบาลต้องไม่ฉกฉวยโอกาสนำเรื่องน้ำท่วมและความทุกข์ของประชาชนมาเป็นข้ออ้างในการกู้เงิน ทั้งที่หลายเรื่องไม่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาน้ำ อีกทั้งการกู้เงินโดยไม่จำเป็นจะเป็นภาระดอกเบี้ยที่ประชาชนต้องแบกรับ ซึ่งรัฐบาลจะต้องตระหนักในเรื่องนี้ด้วย
ทั้งนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลใส่ใจในการบริหารจัดการน้ำมากกว่าการหมกมุ่นกับการกู้เงิน เพราะในขณะนี้ใกล้ถึงหน้าฝนแล้วและประชาชนรอคอยการแก้ปัญหาของรัฐบาลอยู่ พร้อมกับตั้งความหวังว่าการเดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจความพร้อมในการระบายน้ำของนายกฯในวันที่ 13-17 ก.พ.นี้จะเห็นรูปธรรมที่ชัดเจน
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เราสงสัยว่าข้อมูลบางอย่างที่จะนำมาเปิดเผยในช่วงบ่ายของเมื่อวันที่ 2 ม.ค.ซึ่งเป็นข้อมูลที่รุนแรงและอาจได้รับผลกระทบในพ.ร.ก. โดยมีการนำไปพูดในห้องวิปฝ่ายค้าน ซึ่งก็มีการสงสัยว่ามีการแอบดักฟังในห้องวิปหรือไม่ รัฐบาลถึงได้ร้อนรนในการหนีการตรวจสอบ ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัย พ.ร.ก.ที่ยื่นตีความไปทั้ง 2 ฉบับ เราก็จะนำข้อมูลตรงนี้ไปยื่นประกอบเพิ่มเติมด้วย
วานนี้ (3 ก.พ.55) เวลา14.00 น.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประชุมกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยดูความชัดเจนในมาตรการป้องกันน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรม หลังรัฐบาลมีมาตรการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ 3 แสนล้านบาท ท่ามกลางความเป็นห่วงน้ำท่วมรอบใหม่ พร้อมกับซักซ้อมเตรียมความพร้อมก่อนสัญจร "นกแก้ว"ที่จะลงพื้นที่ดูต้นน้ำ ระหว่างวันที่ 13-17 ก.พ. นี้
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยดี ส่วนที่ นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการกยน. ไม่ได้เข้าร่วมประชุมนั้น "ท่านเคยบอกแล้วงานไม่ว่างก็มาไม่ได้ แต่ท่านไม่ได้งอนอะไร"
ที่ประชุม กนย.ได้ดูโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และงบประมาณในระดับหนึ่ง นอกเหนือจากงบที่คณะกรรมการเพื่อให้การช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย(กฟย.) อนุมัติให้สร้างสิ่งที่เสียหายให้กลับคืน 120,000 ล้านบาท ได้อนุมัติไปเกือบ 80,000 ล้านบาท โดยนายกรัฐมนตรีและคณะจะเดินทางลงพื้นที่เพื่อทบทวนแผนงานและติดตามว่าทำไปถึงไหนแล้ว ติดขัดอะไรหรือไม่ และทางรัฐบาลจะช่วยอะไรได้อีก เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันน้ำท่วมดียิ่งขึ้น พร้อมกันนี้จะเป็นการไปดูแผนงานรวมทั้งหมด ตั้งแต่สมัย กฟย.และกยน.ที่ทำเพิ่ม 18,000 ล้านบาท รวมถึง 350,000 ล้านบาท
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีและคณะจะเริ่มเดินทางไปที่เขื่อนสิริกิตติ์เป็นจุดแรกติดตามงาน4 ตอนหลัก ตอนแรกเป็นพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องการปลูกป่า ทำฝายแม้วและดูระบบนิเวศต่างๆ รวมถึงโครงการพระราชดำริ เพื่อชะลอน้ำด้านบน จากนั้นจะดูเรื่องการระบายน้ำตามเขื่อนต่างๆ ทั้งนี้การทำงานจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน โดยดูงาน ในพื้นที่ต้นน้ำ ในจ.อุตรดิตถ์ และจ.พิษณุโลก แะละร่วมเวิร์คช็อปจัดทำแผนของแต่ละจังหวัดให้ละเอียด โดยมีส่วนราชการกลางไปดูอีกชั้น จากนั้นจะลงพื้นที่ต่อเพื่อไปดูอ่างเก็บน้ำบางระกำ จ.พิษณุโลก จ.นครสวรรค์ ดูพื้นที่กลางน้ำ ตั้งแต่จ.พิจิตรถึงจ.ชัยนาท โดยจะดูการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยาทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก รวมถึงประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ประตูน้ำพลเทพ ที่จ.สิงห์บุรี และจ.ลพบุรี
**รอโชคดีน้ำน้อยกว่าปีที่แล้ว
ส่วนที่ จ.พระนครศรีอยุธยา จะดูนิคมอุตสาหกรรม และโบราณสถาน พร้อมทั้งดูพื้นที่รับน้ำ 2 ล้านไร่ที่ได้มีการศึกษาสถานที่ไว้แล้วประมาณ 2-3 จุด ก่อนจะหารือถึงมาตรการเยียวยากับชาวบ้านและตัวแทนภาคอุตสาหกรรม ส่วนพื้นที่ปลายน้ำตอนล่าง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม ฉะเชิงเทรา จะดูเรื่องของการผลักดันน้ำ ระบายน้ำ
ที่ประชุมยังได้หารือกันถึงการระบายน้ำในเขื่อน โดยตามแผนประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีการระบายน้ำทุกวัน ซึ่งจะทำให้น้ำลดลงเรื่อยๆ คาดว่าจะต่ำกว่าระดับน้ำในเขื่อนปีที่แล้ว ส่วนการประเมินสถานการณ์น้ำตรงจุดเขื่อนสิริกิตติ์ ที่จ.อุตรดิดถ์ จะมีการสรุปพยากรณ์น้ำ
นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า ถ้าน้ำเท่าปีที่แล้ว สภาพต้องดีขึ้นกว่าปีที่แล้วแน่นอน แต่เราไม่รู้น้ำจะมีมากน้อยแค่ไหนอย่างไร ถ้าเราโชคดีน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วน่าจะดีกว่าปีที่แล้ว แต่ตอนนี้ไม่มีใครบอกได้
** “ปราโมทย์” พอใจพร้องน้ำในเขื่อน
นายปราโมทย์ ไม้กลัด กรรมการกยน. กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการขับเคลื่อนในหลายเรื่อง โดยนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ให้ดีที่สุด เริ่มตั้งแต่การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน การกำหนดพื้นที่ชะลอน้ำหลาก โดยเฉพาะในส่วนของการพร่องน้ำในเขื่อนที่มีการกำหนดอยู่ในเกณฑ์เท่าไร มอบหมายให้กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ไปดำเนินการ ยกตัวอย่าง เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ก็จะอยู่ที่ราว 42-45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเขื่อนอื่นๆก็ตามความเหมาะสม ให้อยู่เหนือปริมาณน้ำตาย หรือไม่ให้ต่ำกว่าท่อน้ำที่ส่งออกมาผลิตไฟฟ้า โดยเริ่มดำเนินการในช่วงหน้าแล้ง จนถึงวันที่ 1 พ.ค.นี้ และจะมีการสำรองไว้ช่วงหน้าฝนบ้างจำนวนหนึ่ง
“ต้องบอกกับประชาชนว่าอย่าตกใจ ที่มีการบอกว่าพอถึงเดือน พ.ค.น้ำในเขื่อนภูมิพลเหลืออยู่แค่ 45 เปอร์เซ็นต์ รูปแบบนี้เป็นการดำเนินการที่ใช้งานมา 50 ปีแล้ว หรือเรียกกันว่ามาตรน้ำตาย” นายปราโมทย์ ระบุและว่าที่ประชุมพูดคุยกันรู้เรื่องดี อาจจะมีการถกเถียงกันบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา ส่วนการสร้างความมั่นใจกับประชาชนไม่ว่าน้ำจะไม่ท่วมอีกหรือไม่นั้น เป็นเรื่องตอบยาก แต่คงไม่รุนแรงกว่าปี 54 ขึ้นอยู่กับว่าจะอธิบายทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างไร
สำหรับ การกำหนดพื้นที่รับน้ำหนอง หรือพื้นที่ชะลอน้ำหลาก นายปราโมทย์ กล่าวว่า ในความเป็นจริงธรรมชาติเข้าไปอยู่แล้ว พอน้ำมาก็จะไปกระจุกตัวอยู่ในที่นั้นๆ จุดใดบ้างคงยังตอบไม่ได้ เพราะหลายพื้นที่รวมกว่า 2 ล้านไร่ รัฐบาลก็ต้องไปดำเนินการในส่วนของการเยียวยา หรือชดเชยในพื้นที่การเกษตรที่อาจได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่ลงรายละเอียดในส่วนของจำนวนเงิน เรื่องนี้รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบ
ส่วนมาตรการระยะสั้นในขณะนี้ นายปราโมทย์ กล่าวว่า ได้ขับเคลื่อนไปแล้ว โดยมอบให้กทม. ดำเนินการไปหลายอย่าง หากยังตกลงไม่แล้วเสร็จ คงจะเตรียมการไม่ทัน ส่วนเรื่องที่ต้องเน้นในช่วงเข้าสู่ฤดูฝนนั้น สิ่งสำคัญคือการบอกกล่าวข้อมูล แต่ทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจว่าเรามีเวลาขับเคลื่อนได้เพียง 6-7 เดือนเท่านั้น
**"ปลอด" ทำคลอด "กนอช." อีกคณะ
ด้าน นายวิเชียร ชวลิต เลขาธิการ กยน. กล่าวว่า แผนการบริหารจัดการน้ำ และการกำหนดพื้นที่รับน้ำที่กำหนดวงไว้กว้างๆ 2 ล้านไร่นั้น ก็ต้องไปดูอีกว่าประชาชนมีความพร้อมหรือไม่ มีการยอมรับมากน้อยหรือไม่ด้วย ตามแผนเดิมกำหนดไว้ภายในเดือน มี.ค.นี้ แต่ทางกระทรวงเกษตรฯได้รับว่า จะพยายามเร่งให้เสร็จก่อนแผนเดิมสิ่งที่เป็นห่วงคือการดูแลชาวบ้าน จะไม่มีการปล่อยให้ได้รับความเดือดร้อนมาก รวมทั้งค่าตอบแทนชดเชยความเสียหาย แต่ยังไม่ได้ระบุว่าเท่าไร
ที่ประชุมมีการพูดถึงเรื่องการพยากรณ์และการเตือนภัย ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รับไปทำก่อนหน้านี้ นายปลอดประสพก็ได้มารายงานว่ามีการออกแบบระบบการแจ้งเตือน เตรียมความพร้อมไว้แล้ว
สำหรับกรณีการตั้ง คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) นั้น นายชวลิตกล่าวว่า คาดว่าจะสามารถนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 7 ก.พ.นี้ได้ โดย กนอช.จะเป็นเหมือนบอร์ดบริษัท และจะมีสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (สนอช.) เป็นผู้รับนโยบายนำไปปฏิบัติ โดยจะทำไปพร้อมกันระหว่างการออกระเบียบ ครม.เพื่อตั้งเป็นเบื้องต้น และดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 โดยเฉพาะในมาตรา 31 เพื่อปรับปรุงการใช้อำนาจใหม่ เพราะเดิมมาตรา 31 ใช้ได้อำนาจได้เฉพาะเมื่อเกิดภัยขึ้นแล้ว ซึ่งยังมีขั้นตอนอีกหลายส่วน ระหว่างนี้ให้มีองค์กรผ่านการใช้ระเบียบสำนักนายกฯไปพลางก่อน
**ปู”หวั่นฝนหลงฤดู ทำเจ๊ง!
ก่อนหน้านั้นเวลา 10.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ เรียกประชุมรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย ที่บ้านพิษณุโลก เพื่อเข้าหารือหลังจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏรเห็นชอบผ่าน 2 พรก.กู้เงินแล้ว เพื่อเร่งเดินหน้าโครงการของรัฐบาล
แหล่งข่าวที่ประชุมบ้านพิษณุโลก เปิดเผยว่า นายกฯระบุถึงข้อสรุปของกยน.โดยติดตามการปฏิบัติตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยเฉพาะระบบการป้องกันเวลาน้ำท่วม ซึ่งจะตรวจพื้นที่จังหวัดภาคเหนือจนถึงภาคกลางดูความพร้อมของเขื่อน คันกั้นน้ำต่างๆโดยเฉพาะงบปรพมาณที่รัฐบาลจ่ายลงไป เนื่องจากใกล้ฤดูฝน
"เท่าที่ทราบเวลานี้เขื่อนมีการกักเก็บน้ำไว้ 80 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะฝนที่ตกหลงฤดู จะต้องไปดูว่า หากเกิดฝนตกใหญ่จะทำอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เหนือเขื่อน หรือด้านล่างเขื่อน เนื่องจากเกรงว่า จะทำให้น้ำท่วมเหมือนคราวที่แล้ว ขณะเดียวกันจะเข้าไปดูการจ้างงานในพื้นที่เพื่อให้มีการสร้างรายได้ ป้องกันการยักยอกเม็ดเงิน"
ส่วนพื้นที่กทม.จะดำเนินร่วมกับภาคประชาชน และภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่หลายแห่งที่กลัวผลกระทบ จะเข้ามาช่วยดูการเปิด-ปิดประตูน้ำ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของผู้จัดการระบบน้ำ เพราะก่อนหน้านี้เกิดความขัดแย้ง ขณะที่จะมีแผนงานเรียกความเชื่อมั่นของนิคมอุตสาหกรรมกลับมา หลังกระแสข่าวนักลงทุนจะหนีจากประเทศไทยไปหมด
ทั้งนี้มีการแบ่งรัฐมนตรีออกเป็น 2 สาย คือ สายที่1 ลงพื้นที่เพื่อเตรียมจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ ส่วนสายที่2 เป็นการติดตามภารกิจนายกรัฐมนตรี ก่อนจัดประชุมและร่วมทำเวิร์คช็อปของกระทรวงต่างๆ ที่จะต้องมีการเสนอโครงการในวันที่ 8 ก.พ.นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล
**ปูแจงทัวร์ความสุขแก้อุทกภัย
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ว่า นายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีบางส่วนจะเดินทางลงพื้นที่ไปตรวจราชการในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งเราเรียกว่า "ทัวร์เพื่อความสุขและความสุขของประชาชน" ซึ่งรัฐบาลต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนได้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาอุทกภัยมีการทำงานอย่างเป็นระบบ และมีโอกาสลงไปดูพื้นที่จริง โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นหัวหน้าทัวร์ดังกล่าว และจะชี้แจงรายละเอียดในรายการ "รัฐบาลยื่งลักษณ์พบประชาชน" ในวันเสาร์ที่ 11 ก.พ. นี้
**นายกฯลงพื้นที่สรุป “แก่งเสือเต้น”
นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ให้สัมภาษณ์กรณีที่นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เดินทางเข้าพบหารือเตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำท่วม ว่า สัปดาห์หน้าที่นายกฯจะเดินทางไปสำรวจเขื่อน และลุ่มน้าเจ้าพระยา จะตัดสินใจแน่นอนว่าโครงการแก่งเสือเต้นจะเอาหรือไม่ รวมทั้งโครงการเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง และตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไร ดังนั้น ต้องฟังข้อมูลรอบด้าน ต้องพิจารณาจุดที่ลงตัวที่สุด และฝ่ายเอ็นจีโอก็ต้องเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมันแสนหาหัสมาก เที่ยวนี้คงต้องพิสูจน์จริงๆ จะเอาอย่างไร และความคุ้มค่าเป็นอย่างไร ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า และความเสียสละจะเอาอันไหน
**รองปลัดมท.แนะกทม.ลดขั้นตอนจ่าย5พัน
นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า นายยงยุทธ ได้ฝากขอบคุณไปยังกทม. กรณีวันที่3ก.พ.ได้เริ่มดำเนินขุดลอกคูคลองตามที่ รมว.มหาดไทย ได้มีหนังสือสั่งการ ส่วนการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยา ครัวเรือนละ 5,000 บาท ขณะนี้ยังคงล่าช้าอยู่ จึงอยากเสนอแนะให้กทม.อนุมัติเงินให้ครอบคลุมทั้งชุมชนได้เลย เพราะการสำรวจเป็นรายครัวเรือนอย่างในปัจจุบันนั้น ทำให้การจ่ายเงินล่าช้าออกไป มาก
“สำหรับ ประชาชนที่ประสบอุทกภัยที่แท้จริงคงจะไปตัดสิทธิ หรือกำหนดเวลาไม่ได้ ถึงแม้จะหมดเวลาที่ทางรัฐบาล ขยายต่อให้ ประชาชนที่ประสบอุทกภัย ทุกจังหวัดก็ยังสามารถ ส่งเอกสารเพื่อได้อยู่ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด หรือยื่นที่สำนักงานเขตนั้นได้เลย แม้จะเลยกำหนด 45 วัน ก็ยังสามารถทำเรื่องให้สำนักงานเขต ให้ส่งเรื่องไปที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เพื่อส่งต่อให้ทางสำนักงบประมาณ ทำการจัดสรรเงินงบประมาณลงไปเยี่ยวยาต่อไปได้” รองปลัดกล่าว
ส่วนกรณีงบประมาณส่วนกลางเพื่อฟื้นฟูสาธารณูปโภค ได้ถูกพิจารณาลดลงจาก 20,000 กว่าล้าน เหลือเพียง 15,100 ล้านบาทเศษ โดยนายกรัฐมนตรี เป็นห่วง จังหวัดต่างๆที่ยังไม่ได้ดำเนินเสนอขอเข้ามาซึ่งเกรงว่าจะทำให้ชักช้า และจากที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมด้วย นายยงยุทธ ได้ไปตรวจเยี่ยมการทำงานที่สำนักงบประมาณ โดยพบว่ายอดเงินที่โอนไปทั้ง 56 จังหวัดรวมเป็นเงิน 5,332,899,000 ล้านบาท เหลือที่ยังไม่ได้จัดสรรงบประมาณอีก 7,245,205,634 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จะมีการเร่งรัดเงินในส่วนนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 สัปดาห์
ทางรัฐบาล คาดว่าอีก 45 วัน น่าจะดำเนินเสร็จสิ้นทั้งหมดทุกจังหวัด ในส่วนของ เงินเยียวยา 5,000 บาท ส่วนเรื่องเยียวยาอื่น ได้แก่ บ้านพังทั้งหลัง 30,000 บาท เครื่องมือทำกินสูญหาย เป็นเรื่องของรายละเอียด ที่ยังต้องทำการตรวจสอบ
นางฐิติมา ฉายแสง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวว่า หลักการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเรื่องที่ต้องนำเข้าครม. ไม่เหมือนค่าชดเชยการซ่อมแซมบ้าน 10,000 ถึง 30,000 บาท ซึ่งเงินชดเชยการซ่อมแซมบ้านผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจทำได้เลย และเมื่อวันที่ 15 พ.ย.54 ทางกทม.ได้มีการเสนอครม.มาแล้ว 621,355 ครัวเรือน ในวงเงิน 3,106.775 ล้านบาท เมื่อผ่านการอนุมัติของครม.แล้ว กทม.ก็จะไปตรวจสอบรายละเอียดของประชาชนที่มายื่นเรื่อง แต่ปรากฎว่าสามารถรวบรวมได้เพียง 2 แสนกว่าครัวเรือน จาก 621,355 ครัวเรือน
ความสับสนเกิดจากครัวเรือนที่ได้เพียง 2 แสนกว่าครัว และยังขาดอีก 3 แสนกว่าครัวเรือน โดยอาจจะเกิดจากประชาชนยังไม่ได้มาติดต่อกับกทม.หรือกทม.ไม่มีเจ้าหน้าที่เชื่อมโยงกับทางผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต.ที่เป็นต้นทางของแต่ละพื้นที่
ส่วนที่รัฐบาลมีการตั้งข้อสันนิษฐานว่ากทม.ไม่มีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นลงไปตรวจสอบเหมือนต่างจังหวัด ประชาชนที่ยังไม่ได้รับเงินจะต้องทำอย่างไร ดังนั้นประชาชนควรจะไปติดต่อที่กทม. หรือที่เขต เพราะกทม.ก็เคยระบุแล้วว่าไม่จำเป็นต้องมีรูปภาพและไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความ แต่การสื่อสารอาจยังไม่ดีพอ เพราะประชาชนยังสับสนอยู่ รวมถึงความเข้าใจของข้าราชการเองและความเข้าใจของทางกทม.ด้วยหรือไม่ เนื่องจากตอนแรกมีการกำหนดภายใน 45 วัน ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเลย 45 วัน ประชาชนจะไม่ได้เงินเลย ครม.ไม่ได้มีนโยบายที่จะไม่จ่ายเงิน แต่ 45 วันนั้นครม.กำหนดว่าเป็นเวลาการทำงานของราชการ แต่เมื่อเลยกำหนด 45 แล้วต้องมีการนำเข้าครม.เพื่อขอขยายเวลา ดังนั้นกทม.จึงต้องมาขอขยายเวลาเมื่อทำงานไม่ทันเช่นกัน
**มาร์ค ท้าเปิดแผนเงินแลกถอนตีความ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความพรก.2ฉบับเกี่ยวกับการโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูและกู้เงิน3.5แสนล้านบาทของรัฐบาลว่า ไม่ใช่การขัดขวางการบริหารงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาน้ำท่วม พร้อมกับท้าว่าหากรัฐบาลสามารถแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องทำให้กู้เงินทันทีได้ ก็พร้อมที่จะถอนการยื่นตีความในส่วน พรก.กู้เงิน แต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎชัดเจนว่ารัฐบาลไม่สามารถชี้แจงได้ อีกทั้งยังมีงบประมาณปกติในมือเกือบ2แสนล้านบาทเพียงพอต่อการแก้ปัญหา โดยเท่าที่ทราบมีการเบิกจ่ายไปเพียง5 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
นอกจากนี้หากรัฐบาลต้องการกู้เงินในขณะนี้ก็สามารถกู้ได้ผ่านการจัดทำงบประมาณตามปกติได้อีกถึง 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินเดียวกับที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ระบุว่า มีแผนที่จะใช้จ่ายงวดแรกในจำนวน 1.5 แสนล้านบาทด้วยเช่นเดียวกัน สะท้อนว่าการออก พรก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทนั้นไม่ใช่ความจำเป็นเร่งด่วน จึงไม่ควรโทษฝ่ายค้านที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้รัฐบาลปฏิบัติตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ โดยรัฐบาลต้องไม่ฉกฉวยโอกาสนำเรื่องน้ำท่วมและความทุกข์ของประชาชนมาเป็นข้ออ้างในการกู้เงิน ทั้งที่หลายเรื่องไม่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาน้ำ อีกทั้งการกู้เงินโดยไม่จำเป็นจะเป็นภาระดอกเบี้ยที่ประชาชนต้องแบกรับ ซึ่งรัฐบาลจะต้องตระหนักในเรื่องนี้ด้วย
ทั้งนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลใส่ใจในการบริหารจัดการน้ำมากกว่าการหมกมุ่นกับการกู้เงิน เพราะในขณะนี้ใกล้ถึงหน้าฝนแล้วและประชาชนรอคอยการแก้ปัญหาของรัฐบาลอยู่ พร้อมกับตั้งความหวังว่าการเดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจความพร้อมในการระบายน้ำของนายกฯในวันที่ 13-17 ก.พ.นี้จะเห็นรูปธรรมที่ชัดเจน
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เราสงสัยว่าข้อมูลบางอย่างที่จะนำมาเปิดเผยในช่วงบ่ายของเมื่อวันที่ 2 ม.ค.ซึ่งเป็นข้อมูลที่รุนแรงและอาจได้รับผลกระทบในพ.ร.ก. โดยมีการนำไปพูดในห้องวิปฝ่ายค้าน ซึ่งก็มีการสงสัยว่ามีการแอบดักฟังในห้องวิปหรือไม่ รัฐบาลถึงได้ร้อนรนในการหนีการตรวจสอบ ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัย พ.ร.ก.ที่ยื่นตีความไปทั้ง 2 ฉบับ เราก็จะนำข้อมูลตรงนี้ไปยื่นประกอบเพิ่มเติมด้วย