ASTVผู้จัดการรายวัน-"คำนูณ" จับมือส.ว. 68 คน ยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ตีความ พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟู 1.14 ล้านบาท ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ พร้อมเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศใช้ ฝ่ายค้านย้ำหากพ.ร.ก.ขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลต้องรับผิดชอบ ครม.ถกเครียดวางหมากรับมือสภาฯ ถล่ม 2พ.ร.ก. ย้อนศร หากศาลชี้ไม่ขัด "มาร์ค"พร้อมลาออกหรือไม่
เมื่อวานนี้ (31 ม.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา พร้อมด้วยสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 68 คนได้เข้าชื่อเสนอความเห็นต่อพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ว่า พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 2 เพราะไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพราะฉะนั้น จะขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 185 คือ ส.ว. 1 ใน 5 หรือ 30 คนขึ้นไป ยื่นเรื่องต่อประธานวุฒิสภาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
นายคำนูณ กล่าวว่า หากครม.จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณในการก่อสร้าง และซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการอย่างเร่งด่วน ก็ไม่ควรปล่อยให้มีการปรับลดงบประมาณรายจ่ายของกระทรวงคมนาคม ในร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555
ทั้งนี้ ปัจจุบันครม. มีวงเงินงบประมาณในการดำเนินกิจการหรือโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัยได้อยู่แล้ว จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 และในส่วนของเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้ ยังมีงบประมาณในส่วนที่ครม.จะได้จากพ.ร.ก.อื่นๆ อีก 3 ฉบับด้วย
นายคำนูณกล่าวด้วยว่า การแถลงต่อสาธารณะของ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง ที่มีการระบุว่า รัฐบาลยังสามารถกู้ยืมเงินเพิ่มเติมได้อีกเป็นจำนวนมาก เพราะภาระหนี้สาธารณะต่องบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปัจจุบัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.33 จึงยังคงกู้ยืมเงินเพื่อมาใช้จ่ายได้อีกร้อยละ 5.67 จึงจะครบสัดส่วนเพดานเงินกู้ร้อยละ 15 ข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น กลับไม่ได้เป็นไปตามที่ครม. ใช้ในการอนุมัติ พ.ร.ก.ฉบับนี้
“ก่อนการตรา พ.ร.ก.ฉบับนี้ ปรากฏข้อโต้แย้งในสังคมอย่างกว้างขวาง จากบุคคลต่างๆ แม้แต่รัฐมนตรีร่วมครม.ด้วยกันเอง ครม.จึงควรต้องเสนอพ.ร.ก.ฉบับนี้เป็นร่างพ.ร.บ. ต่อรัฐสภา เพื่อให้มีการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ จะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการชำระหนี้ดังกล่าว และเป็นการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน การคลังของประเทศได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นที่ย่อมรับจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย"นายคำนูณกล่าว
นายคำนูญยังกล่าวภายหลังว่า ตนเห็นว่า พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน สำหรับผลการยื่นครั้งนี้จะออกมาเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการชี้แจงถึงความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐบาล และผู้ยื่นคำร้อง รวมถึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ
ด้านพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของคำร้อง และรายชื่อของ ส.ว. ภายใน 3 วัน ซึ่งหากมีรายชื่อเกินกว่า 30 รายชื่อก็ถือว่า ถูกต้องไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตาม สำหรับ พ.ร.ก. อีก 2 ฉบับ ก็จะเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรตามปกติ เพื่อให้มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ ส่วนอีก 2 ฉบับ ที่มีการยื่นให้ศาลตีความนั้น สภาฯ จะต้องชลอการพิจารณาไว้ก่อน จนกว่าศาลจะวินิจฉัยแล้วเสร็จ หากขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ถือว่าไม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้น
ทั้งนี้ สำหรับ พ.ร.ก. 4 ฉบับที่ครม.เห็นชอบ คือ 1.พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 2.พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ.2555 3.พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ.2555 และ 4.พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 (พ.ร.ก.โอนหนี้ฯ)
**หากพ.ร.ก.ไม่ผ่าน เจอยื่นถอดถอน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ที่ประชุมวิปฝ่ายค้าน ได้เชิญผู้แทนของกระทรวงการคลัง มาเพื่อหารือถึงเรื่องพ.ร.ก. 4 ฉบับ ซึ่งจะมีการบรรจุเป็นวาระในที่ประชุมสภาฯ สัปดาห์นี้ แต่ในส่วนของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 (พ.ร.ก.โอนหนี้ฯ) จะต้องถูกชะลอออกไปก่อน เนื่องจาก พ.ร.ก. ทั้ง 2 ฉบับ ได้ถูกทาง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ว.ได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความไปก่อนหน้านี้แล้ว และจะต้องรอจนคำวินิจฉัยของศาลออกมาก่อน หากศาลมีความเห็นว่า พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับ ขัดต่อหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบ และอย่างน้อยที่สุด ก็คงจะมีการยื่นถอดถอน ในข้อหาจงใจกระทำความผิด
** เชื่อไม่เกิน 1 เดือนรู้ผลตีความ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการยื่นตีความ พ.ร.ก. 2 ฉบับว่า การดำเนินการทั้งหมดนั้น มีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เร่งรัดว่า ต้องส่ง และศาลต้องพิจารณาอย่างรวดเร็ว เพราะการออกพ.ร.ก. เป็นเรื่องเร่งด่วน จากนี้ไปขั้นตอนคงไม่มีอะไรซับซ้อน การพิจารณาก็คงจะไม่นานมาก ไม่น่าจะเกิน 1 เดือน ขณะเดียวกันการดำเนินการตามกฎหมาย ก็สามารถทำต่อไปได้ เพราะไม่ได้มีข้อห้ามไว้
ทั้งนี้ กฎหมายยังมีผลบังคับใช้ ยกเว้นว่าในที่สุดแล้วศาลวินิจฉัยว่า ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถึงจะเป็นโมฆะ
ส่วนกรณีที่ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า พ.ร.ก. 2 ฉบับนี้ ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไรนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า อยู่ที่มารยาททางการเมือง พรรคยื่นตีความ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายตรงนี้ แต่มุ่งไปที่กฎหมาย 2 ฉบับนี้ ที่เห็นว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
***ครม.ถกเครียดปชป.ยื่นตีความ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้ใช้เวลาหารือนานเป็นพิเศษเพื่อเตรียมการรับมือการอภิปรายของฝ่ายค้านกรณีรัฐบาลออกพ.ร.ก.การกู้เงินจำนวน 4 ฉบับ โดยเฉพาะกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยพ.ร.ก. 2 ใน 4 ฉบับ คือ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 ว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 เพราะไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน
ทั้งนี้ ครม.ได้วิเคราะห์ถึงขอบข่ายการออกพ.ร.ก.ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งฝ่ายค้านมุ่งโจมตี ว่า ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ไม่เข้าขอบข่ายกรณีเหตุฉุกเฉินที่ต้องออกพ.ร.ก.ได้ ซึ่งครม.แสดงความมั่นใจว่า รัฐบาลมีอำนาจในการออกพ.ร.ก.ได้ และไม่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ กล่าวต่อที่ประชุมว่า เหตุจำเป็นเร่งด่วนนั้น เราสามารถอธิบายได้ เนื่องจาก 3 เดือนจากนี้ สถานการณ์ภัยธรรมชาติอาจทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดอุทกภัยส่งผลกระทบประชาชน อีกทั้งปริมาณน้ำในเขื่อนอยู่ในระดับที่มีนัยยะสำคัญ ต้องรีบพร่องน้ำในเขื่อนออก ตรงนี้ก็เป็นคำตอบถึงความจำเป็น เร่งด่วน ที่รัฐบาลต้องออกพรก.เพื่อนำงบประมาณมาเร่งดำเนินการเยียวยา ฟื้นฟู ในระยะสั้น และระยะยาวที่กำลังเกิดขึ้น
***"ปู"สบช่องแจงพ.ร.ก.ออกทีวี
นายอนุสรณ์กล่าวต่อว่า นายกฯ ได้แสดงความเห็นด้วย และเห็นว่าไม่ใช่แค่ชี้แจงพ.ร.ก. 2 ฉบับที่ฝ่ายค้านยื่นศาลรัฐธรรมนูญ แต่ควรชี้แจง พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกัน จากนั้น นายกฯ ได้สอบถาม ครม.ถึงกระบวนการที่ฝ่ายค้านยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไปถึงไหนแล้ว ซึ่งมีการแจ้งว่า เรื่องยังอยู่ที่ประธานสภา ยังไม่ไปถึงมือศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เมื่อการหารือมาถึงตรงนี้ จึงมีเสียงสนับสนุนจะเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ถ่ายทอดสดให้ประชาชนทราบ ในที่สุด ครม.ได้มอบหมายให้ นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข และนายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข ไปประสานกับวิปรัฐบาลเพื่อแจ้งกับประธานสภา เปิดให้มีการอภิปราย พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับตามที่นายกฯ ต้องการ
***ชพน.หนุน"โต้ง"ไม่ต้องลาออก
นายอนุสรณ์กล่าวอีกว่า ในที่ประชุม นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวและการกีฬา จากพรรคชาติไทยพัฒนา ได้กล่าวว่า ฝ่ายค้านบอกว่า หาก พ.ร.ก. 2 ฉบับขัดต่อรัฐธรรมนูญ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก ตนเองเห็นว่า ไม่ต้องลาออก เพราะเป็นเรื่องของการขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ส่วนนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ เสริมว่า สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ออกพ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ตอนนั้น พรรคเพื่อไทย โดยนายประเกียรติ นาสิมา ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ อภิปรายเช้า ยื่นบ่าย ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจฝ่ายบริหารทำได้ ดังนั้น ในกรณี พ.ร.ก. 2 ฉบับนี้ คำวินิจฉัยคงจะออกมาเป็นไปในบรรทัดฐานเดียวกัน ซึ่งจะไม่ทำให้การบริหารของรัฐบาลหยุดชะงักลง เพียงแต่ตอนนั้นประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นคุณชัช ชลวร แต่ตอนนี้ เป็นคุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ทั้งนี้ ในที่สุด นายกฯ ย้ำถึงการเตรียมทีมการอภิปรายในสภาด้วยว่า มอบหมายให้นายกิตติรัตน์ เป็นผู้ชี้แจงหลัก หากมีการตอบโต้ประเด็นทางการเมือง มอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ อภิปราย
**ท้ากลับถ้าไม่ขัด"มาร์ค"ลาออกหรือไม่
นายอนุสรณ์กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาท้าทาย หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับ ขัดรัฐธรรมนูญขอให้นายกิตติรัตน์ แสดงความรับผิดชอบลาออกจากตำแหน่ง ก็ขอท้ากลับไปว่าหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก.กู้เงิน ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส.และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมลาออกจากตำแหน่งหรือไม่
ด้านน.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข กล่าวภายหลังได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ไปประสานกับทางสภาในการขอให้มีการถ่ายทอดสดช่วงพิจารณาพ.ร.ก.2 ฉบับ ว่า ได้ประสานกับทางสภาฯ แล้ว ตกลงที่จะให้มีการถ่ายทอดสดช่อง 11 ซึ่งสภาจะเริ่มประชุมในเวลา 13.00 น.
**"ปู"ดิ้นเรียกซักซ้อมแจงพ.ร.ก.กู้2ฉบับ
แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้เรียก นายกิตติรัตน์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการกยน. บางส่วน หารือในการเตรียมความพร้อมรับมือในการชี้แจง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้าง อนาคตประเทศ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้สินเงินกู้ที่กระทรวงการคลัง กู้เพื่อช่วย เหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อโอนหนี้ไปให้ธปท.ต่อสภา
เมื่อวานนี้ (31 ม.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา พร้อมด้วยสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 68 คนได้เข้าชื่อเสนอความเห็นต่อพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ว่า พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 2 เพราะไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพราะฉะนั้น จะขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 185 คือ ส.ว. 1 ใน 5 หรือ 30 คนขึ้นไป ยื่นเรื่องต่อประธานวุฒิสภาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
นายคำนูณ กล่าวว่า หากครม.จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณในการก่อสร้าง และซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการอย่างเร่งด่วน ก็ไม่ควรปล่อยให้มีการปรับลดงบประมาณรายจ่ายของกระทรวงคมนาคม ในร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555
ทั้งนี้ ปัจจุบันครม. มีวงเงินงบประมาณในการดำเนินกิจการหรือโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัยได้อยู่แล้ว จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 และในส่วนของเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้ ยังมีงบประมาณในส่วนที่ครม.จะได้จากพ.ร.ก.อื่นๆ อีก 3 ฉบับด้วย
นายคำนูณกล่าวด้วยว่า การแถลงต่อสาธารณะของ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง ที่มีการระบุว่า รัฐบาลยังสามารถกู้ยืมเงินเพิ่มเติมได้อีกเป็นจำนวนมาก เพราะภาระหนี้สาธารณะต่องบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปัจจุบัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.33 จึงยังคงกู้ยืมเงินเพื่อมาใช้จ่ายได้อีกร้อยละ 5.67 จึงจะครบสัดส่วนเพดานเงินกู้ร้อยละ 15 ข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น กลับไม่ได้เป็นไปตามที่ครม. ใช้ในการอนุมัติ พ.ร.ก.ฉบับนี้
“ก่อนการตรา พ.ร.ก.ฉบับนี้ ปรากฏข้อโต้แย้งในสังคมอย่างกว้างขวาง จากบุคคลต่างๆ แม้แต่รัฐมนตรีร่วมครม.ด้วยกันเอง ครม.จึงควรต้องเสนอพ.ร.ก.ฉบับนี้เป็นร่างพ.ร.บ. ต่อรัฐสภา เพื่อให้มีการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ จะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการชำระหนี้ดังกล่าว และเป็นการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน การคลังของประเทศได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นที่ย่อมรับจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย"นายคำนูณกล่าว
นายคำนูญยังกล่าวภายหลังว่า ตนเห็นว่า พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน สำหรับผลการยื่นครั้งนี้จะออกมาเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการชี้แจงถึงความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐบาล และผู้ยื่นคำร้อง รวมถึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ
ด้านพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของคำร้อง และรายชื่อของ ส.ว. ภายใน 3 วัน ซึ่งหากมีรายชื่อเกินกว่า 30 รายชื่อก็ถือว่า ถูกต้องไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตาม สำหรับ พ.ร.ก. อีก 2 ฉบับ ก็จะเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรตามปกติ เพื่อให้มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ ส่วนอีก 2 ฉบับ ที่มีการยื่นให้ศาลตีความนั้น สภาฯ จะต้องชลอการพิจารณาไว้ก่อน จนกว่าศาลจะวินิจฉัยแล้วเสร็จ หากขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ถือว่าไม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้น
ทั้งนี้ สำหรับ พ.ร.ก. 4 ฉบับที่ครม.เห็นชอบ คือ 1.พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 2.พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ.2555 3.พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ.2555 และ 4.พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 (พ.ร.ก.โอนหนี้ฯ)
**หากพ.ร.ก.ไม่ผ่าน เจอยื่นถอดถอน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ที่ประชุมวิปฝ่ายค้าน ได้เชิญผู้แทนของกระทรวงการคลัง มาเพื่อหารือถึงเรื่องพ.ร.ก. 4 ฉบับ ซึ่งจะมีการบรรจุเป็นวาระในที่ประชุมสภาฯ สัปดาห์นี้ แต่ในส่วนของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 (พ.ร.ก.โอนหนี้ฯ) จะต้องถูกชะลอออกไปก่อน เนื่องจาก พ.ร.ก. ทั้ง 2 ฉบับ ได้ถูกทาง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ว.ได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความไปก่อนหน้านี้แล้ว และจะต้องรอจนคำวินิจฉัยของศาลออกมาก่อน หากศาลมีความเห็นว่า พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับ ขัดต่อหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบ และอย่างน้อยที่สุด ก็คงจะมีการยื่นถอดถอน ในข้อหาจงใจกระทำความผิด
** เชื่อไม่เกิน 1 เดือนรู้ผลตีความ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการยื่นตีความ พ.ร.ก. 2 ฉบับว่า การดำเนินการทั้งหมดนั้น มีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เร่งรัดว่า ต้องส่ง และศาลต้องพิจารณาอย่างรวดเร็ว เพราะการออกพ.ร.ก. เป็นเรื่องเร่งด่วน จากนี้ไปขั้นตอนคงไม่มีอะไรซับซ้อน การพิจารณาก็คงจะไม่นานมาก ไม่น่าจะเกิน 1 เดือน ขณะเดียวกันการดำเนินการตามกฎหมาย ก็สามารถทำต่อไปได้ เพราะไม่ได้มีข้อห้ามไว้
ทั้งนี้ กฎหมายยังมีผลบังคับใช้ ยกเว้นว่าในที่สุดแล้วศาลวินิจฉัยว่า ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถึงจะเป็นโมฆะ
ส่วนกรณีที่ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า พ.ร.ก. 2 ฉบับนี้ ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไรนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า อยู่ที่มารยาททางการเมือง พรรคยื่นตีความ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายตรงนี้ แต่มุ่งไปที่กฎหมาย 2 ฉบับนี้ ที่เห็นว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
***ครม.ถกเครียดปชป.ยื่นตีความ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้ใช้เวลาหารือนานเป็นพิเศษเพื่อเตรียมการรับมือการอภิปรายของฝ่ายค้านกรณีรัฐบาลออกพ.ร.ก.การกู้เงินจำนวน 4 ฉบับ โดยเฉพาะกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยพ.ร.ก. 2 ใน 4 ฉบับ คือ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 ว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 เพราะไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน
ทั้งนี้ ครม.ได้วิเคราะห์ถึงขอบข่ายการออกพ.ร.ก.ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งฝ่ายค้านมุ่งโจมตี ว่า ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ไม่เข้าขอบข่ายกรณีเหตุฉุกเฉินที่ต้องออกพ.ร.ก.ได้ ซึ่งครม.แสดงความมั่นใจว่า รัฐบาลมีอำนาจในการออกพ.ร.ก.ได้ และไม่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ กล่าวต่อที่ประชุมว่า เหตุจำเป็นเร่งด่วนนั้น เราสามารถอธิบายได้ เนื่องจาก 3 เดือนจากนี้ สถานการณ์ภัยธรรมชาติอาจทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดอุทกภัยส่งผลกระทบประชาชน อีกทั้งปริมาณน้ำในเขื่อนอยู่ในระดับที่มีนัยยะสำคัญ ต้องรีบพร่องน้ำในเขื่อนออก ตรงนี้ก็เป็นคำตอบถึงความจำเป็น เร่งด่วน ที่รัฐบาลต้องออกพรก.เพื่อนำงบประมาณมาเร่งดำเนินการเยียวยา ฟื้นฟู ในระยะสั้น และระยะยาวที่กำลังเกิดขึ้น
***"ปู"สบช่องแจงพ.ร.ก.ออกทีวี
นายอนุสรณ์กล่าวต่อว่า นายกฯ ได้แสดงความเห็นด้วย และเห็นว่าไม่ใช่แค่ชี้แจงพ.ร.ก. 2 ฉบับที่ฝ่ายค้านยื่นศาลรัฐธรรมนูญ แต่ควรชี้แจง พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกัน จากนั้น นายกฯ ได้สอบถาม ครม.ถึงกระบวนการที่ฝ่ายค้านยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไปถึงไหนแล้ว ซึ่งมีการแจ้งว่า เรื่องยังอยู่ที่ประธานสภา ยังไม่ไปถึงมือศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เมื่อการหารือมาถึงตรงนี้ จึงมีเสียงสนับสนุนจะเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ถ่ายทอดสดให้ประชาชนทราบ ในที่สุด ครม.ได้มอบหมายให้ นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข และนายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข ไปประสานกับวิปรัฐบาลเพื่อแจ้งกับประธานสภา เปิดให้มีการอภิปราย พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับตามที่นายกฯ ต้องการ
***ชพน.หนุน"โต้ง"ไม่ต้องลาออก
นายอนุสรณ์กล่าวอีกว่า ในที่ประชุม นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวและการกีฬา จากพรรคชาติไทยพัฒนา ได้กล่าวว่า ฝ่ายค้านบอกว่า หาก พ.ร.ก. 2 ฉบับขัดต่อรัฐธรรมนูญ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก ตนเองเห็นว่า ไม่ต้องลาออก เพราะเป็นเรื่องของการขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ส่วนนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ เสริมว่า สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ออกพ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ตอนนั้น พรรคเพื่อไทย โดยนายประเกียรติ นาสิมา ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ อภิปรายเช้า ยื่นบ่าย ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจฝ่ายบริหารทำได้ ดังนั้น ในกรณี พ.ร.ก. 2 ฉบับนี้ คำวินิจฉัยคงจะออกมาเป็นไปในบรรทัดฐานเดียวกัน ซึ่งจะไม่ทำให้การบริหารของรัฐบาลหยุดชะงักลง เพียงแต่ตอนนั้นประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นคุณชัช ชลวร แต่ตอนนี้ เป็นคุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ทั้งนี้ ในที่สุด นายกฯ ย้ำถึงการเตรียมทีมการอภิปรายในสภาด้วยว่า มอบหมายให้นายกิตติรัตน์ เป็นผู้ชี้แจงหลัก หากมีการตอบโต้ประเด็นทางการเมือง มอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ อภิปราย
**ท้ากลับถ้าไม่ขัด"มาร์ค"ลาออกหรือไม่
นายอนุสรณ์กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาท้าทาย หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับ ขัดรัฐธรรมนูญขอให้นายกิตติรัตน์ แสดงความรับผิดชอบลาออกจากตำแหน่ง ก็ขอท้ากลับไปว่าหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก.กู้เงิน ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส.และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมลาออกจากตำแหน่งหรือไม่
ด้านน.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข กล่าวภายหลังได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ไปประสานกับทางสภาในการขอให้มีการถ่ายทอดสดช่วงพิจารณาพ.ร.ก.2 ฉบับ ว่า ได้ประสานกับทางสภาฯ แล้ว ตกลงที่จะให้มีการถ่ายทอดสดช่อง 11 ซึ่งสภาจะเริ่มประชุมในเวลา 13.00 น.
**"ปู"ดิ้นเรียกซักซ้อมแจงพ.ร.ก.กู้2ฉบับ
แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้เรียก นายกิตติรัตน์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการกยน. บางส่วน หารือในการเตรียมความพร้อมรับมือในการชี้แจง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้าง อนาคตประเทศ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้สินเงินกู้ที่กระทรวงการคลัง กู้เพื่อช่วย เหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อโอนหนี้ไปให้ธปท.ต่อสภา