โปรดเกล้าฯ พ.ร.ก.กู้เงิน 4 ฉบับแล้ว ลงราชกิจจาฯ มีผลบังคับใช้ 27 ม.ค.นี้ ด้าน “ส.ว.คำนูณ” ยันเดินหน้าคัดค้าน ระบุ ส่อขัดรัฐธรรมนูญ ม.184 วรรค 2 ไม่เข้าข่ายกรณีฉุกเฉินจำเป็นรีบด่วนฯ เร่งล่าชื่อ ส.ว.ส่งศาล รธน.วินิจฉัย ภายในวันอังคารนี้
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา 17.00 น.วันนี้ (26 ม.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชกำหนด 4 ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 4 ม.ค.55 แล้ว ได้แก่ 1.พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 (วงเงินกู้ประมาณ 3.5 แสนล้านบาท) 2.พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ.2555
3.พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ.2555 และ 4.พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 (การโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านบาทไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหาร) จากนั้นจะมีการนำพระราชกำหนดทั้ง 4 ฉบับ ลงในราชกิจจานุบเกษา และในวันที่ 27 ม.ค.และจะมีการทำหนังสือแจ้งให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อให้นำพระราชกำหนดส่งไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ด้าน นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า เนื่องจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 4 ฉบับ ได้ประกาศในราชกิจจาฯ แล้ว ทาง ส.ว.และ ตามมติของคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา ให้เข้าชื่อกันคัดค้านตามมาตรา 185 เพื่อยื่นผ่านประธานวุฒิสภาเสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก.นี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 2 หรือไม่ ในการตรา พ.ร.ก.ว่าเป็น “กรณีฉุกเฉินจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้”
ทั้งนี้ ได้รวบรวมรายชื่อ ส.ว.ได้ 1 ใน 3 แล้ว โดยจะเปิดให้ลงชื่อได้อีกในวันศุกร์ และ วันจันทร์ที่จะเป็นวันประชุมวุฒิสภาจนถึงช่วงบ่าย ซึ่งคาดว่า จะสามารถยื่นผ่านประธานได้ในวันจันทร์ หรือวันอังคาร ที่จะถึงนี้ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นายคำนูณ ได้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีการออก พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 1.14 ล้านล้านบาท ว่า รัฐบาลควรเร่งทำเรื่องถึงสำนักราชเลขาธิการ ขอถอนร่าง พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท ออกมาเพื่อทบทวน เนื่องจากมีกระแสคัดค้านสูง แม้แต่ใน ครม.นัดอนุมัติร่าง พ.ร.ก.นี้ เมื่อวันที่ 4 ม.ค.ก็ตัดสินใจไปบนพื้นฐานข้อมูลที่อาจจะไม่ถูกต้องในประเด็นสัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณ ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับเงื่อนไขรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคสองในการตรา พ.ร.ก.ว่าเป็น “กรณีฉุกเฉินจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้” จริงหรือไม่
“ไม่เสียหน้าหรอก เมื่อรู้ว่าผิดพลาด หรือสับสนในข้อมูลของหน่วยราชการที่ขัดแย้งกัน และมีกระแสท้วงติงจากสังคม ก็ใช้ความกล้าหาญทำในสิ่งถูกต้องขอถอนเรื่องออกมาทบทวนเพื่อทำให้ถูกต้องทั้งเนื้อหาและกระบวนการโดยทำเป็นร่าง พ.ร.บ.ตามปกติ แม้จะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่รัฐบาลในอดีตก็เคยทำครับ อย่าว่าแต่ร่าง พ.ร.ก.ที่มีขั้นตอนเร่งด่วน อาจทำให้ไม่รอบคอบได้เลยแม้แต่ร่าง พ.ร.บ.ที่ต้องผ่านขั้นตอน 2 สภา ที่น่าจะรอบคอบแล้วก็ยังเคยมีการพบข้อผิดพลาดเมื่อยื่นทูลเกล้าฯไปแล้ว รัฐบาลในอดีตก็ยังเคยขอถอนเรื่องกลับออกมาเลย ไปตายคาศาลรัฐธรรมนูญไม่เพียงแต่จะเสียหน้าแต่เสี่ยงเสียชีวิตทางการเมือง” นายคำนูณกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา 17.00 น.วันนี้ (26 ม.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชกำหนด 4 ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 4 ม.ค.55 แล้ว ได้แก่ 1.พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 (วงเงินกู้ประมาณ 3.5 แสนล้านบาท) 2.พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ.2555
3.พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ.2555 และ 4.พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 (การโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านบาทไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหาร) จากนั้นจะมีการนำพระราชกำหนดทั้ง 4 ฉบับ ลงในราชกิจจานุบเกษา และในวันที่ 27 ม.ค.และจะมีการทำหนังสือแจ้งให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อให้นำพระราชกำหนดส่งไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ด้าน นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า เนื่องจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 4 ฉบับ ได้ประกาศในราชกิจจาฯ แล้ว ทาง ส.ว.และ ตามมติของคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา ให้เข้าชื่อกันคัดค้านตามมาตรา 185 เพื่อยื่นผ่านประธานวุฒิสภาเสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก.นี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 2 หรือไม่ ในการตรา พ.ร.ก.ว่าเป็น “กรณีฉุกเฉินจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้”
ทั้งนี้ ได้รวบรวมรายชื่อ ส.ว.ได้ 1 ใน 3 แล้ว โดยจะเปิดให้ลงชื่อได้อีกในวันศุกร์ และ วันจันทร์ที่จะเป็นวันประชุมวุฒิสภาจนถึงช่วงบ่าย ซึ่งคาดว่า จะสามารถยื่นผ่านประธานได้ในวันจันทร์ หรือวันอังคาร ที่จะถึงนี้ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นายคำนูณ ได้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีการออก พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 1.14 ล้านล้านบาท ว่า รัฐบาลควรเร่งทำเรื่องถึงสำนักราชเลขาธิการ ขอถอนร่าง พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท ออกมาเพื่อทบทวน เนื่องจากมีกระแสคัดค้านสูง แม้แต่ใน ครม.นัดอนุมัติร่าง พ.ร.ก.นี้ เมื่อวันที่ 4 ม.ค.ก็ตัดสินใจไปบนพื้นฐานข้อมูลที่อาจจะไม่ถูกต้องในประเด็นสัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณ ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับเงื่อนไขรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคสองในการตรา พ.ร.ก.ว่าเป็น “กรณีฉุกเฉินจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้” จริงหรือไม่
“ไม่เสียหน้าหรอก เมื่อรู้ว่าผิดพลาด หรือสับสนในข้อมูลของหน่วยราชการที่ขัดแย้งกัน และมีกระแสท้วงติงจากสังคม ก็ใช้ความกล้าหาญทำในสิ่งถูกต้องขอถอนเรื่องออกมาทบทวนเพื่อทำให้ถูกต้องทั้งเนื้อหาและกระบวนการโดยทำเป็นร่าง พ.ร.บ.ตามปกติ แม้จะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่รัฐบาลในอดีตก็เคยทำครับ อย่าว่าแต่ร่าง พ.ร.ก.ที่มีขั้นตอนเร่งด่วน อาจทำให้ไม่รอบคอบได้เลยแม้แต่ร่าง พ.ร.บ.ที่ต้องผ่านขั้นตอน 2 สภา ที่น่าจะรอบคอบแล้วก็ยังเคยมีการพบข้อผิดพลาดเมื่อยื่นทูลเกล้าฯไปแล้ว รัฐบาลในอดีตก็ยังเคยขอถอนเรื่องกลับออกมาเลย ไปตายคาศาลรัฐธรรมนูญไม่เพียงแต่จะเสียหน้าแต่เสี่ยงเสียชีวิตทางการเมือง” นายคำนูณกล่าว