ASTVผู้จัดการรายวัน -“มาร์ค”ซัด “ปู”เลิกโยนบาปขรก.พร่องน้ำมั่ว แขวะ! รอดูเหยื่อรายต่อไปหลังตั้ง “กนอช.” ด้าน “มท.1” ยัน กยน.ชี้ขาดพื้นที่แก้มลิง 2 ล้านไร่ ย้ำปชช.รับผลกระทบเวนคืนจะดูแลพิเศษ ส่วน “เติ้ง”แย่งซีนนายกฯพบ ผู้ว่ากทม. ตั้ง “นิกร”ประสาน “กรมชลฯ-กทม.”หวั่นผิดใจอีก
วานนี้ (10 ก.พ.55) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวถึงการเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลจาก เหตุการณ์น้ำ ท่วมที่ อ.เสนา และ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า จะเห็นว่า รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ชี้แจงไปคนละทาง ถือว่าไม่เป็นผลดี ส่วนที่มีข่าวว่านายกรัฐมนตรีไม่พอใจกรมชลประทาน ที่มีการพร่องน้ำแล้ว ไม่แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รับมือได้ทัน เท่าที่ตนจำได้ ก่อนหน้านี้มีข่าวว่านายกรัฐมนตรีเป็นคนสั่งให้พร่องน้ำ ได้เลย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเท่ากับว่าระบบการบริหารน้ำยังไม่มีการปรับปรุง ไม่มีเอกภาพ แล้วจะทำให้ประชาชนมั่นใจได้อย่างไร ความจริงน่าจะเอาเวลาไปทำเรื่องนี้ให้เรียบร้อยมากกว่า ไปจัดงานเลี้ยงของ ศปภ. ในคืนวันเดียวกันนี้
ส่วนกรณีนี้เหมือนนายกรัฐมนตรีจะโยนความผิดให้หน่วยราชการหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลบอกว่ามีกลไกที่ให้นายกรัฐมนตรีรับผิดชอบ ในการบริหารจัดการเองแล้ว จะโยนไปที่ไหนอีก ถ้าโยนกลับไปที่หน่วยงานก็แสดงว่าคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานก็ไม่ได้ทำงาน จึงอยากถามว่า คนทำหน้าที่ประสานในเรื่องนี้คือใคร เมื่อรัฐบาลตั้งให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการประสานงาน จึงสะท้อนว่า เกิดความไม่พร้อมเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้นในสัปดาห์หน้าที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปทุกพื้นที่ หวังว่าจะมีคำตอบว่าจะบริหารจัดการอย่างไร เพราะถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ เท่ากับรัฐบาลไม่มีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำในปีนี้ และจะมีแต่ความเสียหายรออยู่ข้างหน้า ทั้งนี้ ตนได้พบกับนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่รัฐสภา ยังได้บอกว่า ไม่น่าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ ซึ่งนายปลอดประสพ บอกว่ากำลังลงพื้นที่
นายชวนนท์โกมาลย์สุต โฆษกปชป. กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาระบุน้ำท่วมอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุทยา เกิดจากความตั้งใจปล่อยน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิตต์ ถามว่าเป็นนายกฯประเภทไหน ตั้งใจปล่อยน้ำมารังแกประชาชน ถ้ารู้ก่อนทำไมไม่เตือน แต่ผอ.เขื่อนภูมิพลกลับบอกว่าไม่ใช่ เป็นการปล่อยน้ำเพิ่มเติมเพื่อทำนา และนำไปใช้ในระบบชลประทานได้หมด และ สาเหตุมาจากฝน ตกที่ปลายน้ำ แล้วประชาชนจะเชื่อได้อย่างไร พูดกันคนละอย่าง ข้อมูลพัลวันไปหมด ถามว่าที่น.ส.ยิ่งลักษณ์พูดว่าจะสร้างฟลัดเวย์ และแก้มลิง เหนือจังหวัดนครสวรรค์ 1 ล้านไร่ และเหนืออยุทธยา 1 ล้านไร่ก่อนน้ำมา วันนี้ยัง ไม่กำหนดพื้นที่ จึงฟันธงได้ว่าถ้านายกฯยังมีกิจกรรมเสริมจังหวะทุกวันแบบนี้ พวกเราไม่รอดน้ำท่วมปี 2555 แน่นอน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และในฐานะประธานคณะกรรมการการประสานงานและ สนับสนุนโครงการหลวง (กปส.) กล่าวยอมรับกรณีที่มีการพร่องน้ำและไม่ได้ชี้แจงให้ประชาชนว่า อาจเกิดจาก การประสานงานและการบริหารจัดการ โดยจะมีการนำปัญหาทั้งหมดตั้งแต่วันแรกมาย้อนมาปรับปรุงระบบการเตือนภัย เรื่องของการปล่อยน้ำ การสำรวจหน้าดิน ความลึก ลักษณะน้ำ การเชื่อมต่อเขื่อนต่างๆ สามารถการรับน้น้ำของเขื่อน โดยจะมีการปรับปรุงทั้งหมด คาดต้องใช้เวลาในการศึกษาพอสมควร
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุถึงผลการประชุมว่า มีการพูดคุยในเรื่องของโครงการการอนุรักษ์หน้า ดิน ปลูกป่า โดยเฉพาะการอนุรักษ์พืชชีวภาพ ซึ่งตรงกับแผนของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.) ที่จะเร่งการการบริหารการพัฒนาเรื่องของการบริหารจัดการในช่วงต้นน้ำ โดย จะมีการบูรณาการร่วมกันโดยใช้แนวของประธานมูลนิธิ โครงการหลวงเป็นแนวทาง ซึ่งทางรัฐบาลจะมีการ มอบหมายให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้สำรวจพื้นที่ และร่วมบูรณาการในการ จัดการปลูกป่า ตามที่ทางโครงการหลวงได้ดำเนินการก่อนหน้านี้ และจะมีการกำหนดพื้นที่ต้นน้ำ เพื่อใช้เป็น แหล่ง ปลูกป่า ชะลอน้ำ หรือเป็นพื้นที่ทางการเกษตร รวมถึงการกำหนดพื้นที่ที่ให้ผู้รับผิดชอบ โดยมุ่งเน้นใน พื้นที่ที่จะใช้ในการชะลอน้ำ ภายใน 3-4 เดือนนี้
ที่กระทรวงมหาดไทย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทยกล่าวถึงกรณีที่ชาวบ้านอาจได้รับผลกระทบหากมีการจัดทำแก้มลิงและจัดสรรพื้นที่ทางน้ำหลาก (ฟลัดเวย์) ที่รัฐบาลเตรียมเวนคืนที่ดินประมาณ 2 ล้านไร่เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาว ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.) เสนอว่า อาจกระทบกับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตั้งแต่แรก จึงต้องเข้าไปทำความเข้าใจกับประชาชนและดูแลความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่อยากให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของพื้นที่ได้รับผลกระทบเข้าใจว่า หากไม่มีการทำพื้นที่ฟลัดเวย์ หรือทำแก้มลิงขึ้น ประชาชนก็จะเดือดร้อนเช่นเดียวกัน
ดังนั้นเราจะใช้หลักการ 1.เอาใจเขามาใส่ใจเรา 2.ทำความเข้าใจกัน และ 3.ใช้หลักของการชดเชยเยียวยา โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.) จะเข้าใจเรื่องพวกนี้ได้ดีมาก ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินพื้นที่แก้มลิงควรจะอยู่ตรงไหน โดยที่รัฐบาลจะเป็นผู้ทำความเข้าใจกับประชาชน ให้ทางจังหวัดและนักวิชาการไปชี้แจงกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ขณะเดียวกันรัฐบาลจะดูแลเป็นพิเศษ โดยจะใช้วิธีการเวนคืนที่ดินและหาที่อยู่ให้ใหม่ ในที่ประชาชนเขาพอใจ
ทั้งนี้ในช่วงที่เดินทางลงพื้นที่แก้ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคกลางร่วมกับนายกรัฐมนตรี จะไปชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน รวมถึงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
วันเดียวกัน เวลา 11.00 น. ที่ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายนิกร จำนง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้าหารือกับม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. และคณะผู้บริหารกทม.ในการหลักการบริหารจัดการน้ำ
นายบรรหาร กล่าวก่อนการเข้าหารือว่า ตนเองมีความเป็นห่วงพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างหนัก วันนี้จึงมาหารือถึงแนวทางร่วมกันกับกทม.ในการจัดการน้ำ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับ กรมชลประทาน ซึ่งตนเองจะให้นายนิกร จำนงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ประสานการทำงานร่วมกัน เพราะที่ผ่านมาระหว่างกทม.กับรัฐบาลอาจมีปัญหาการทำงานร่วมกัน โดยมองว่าสาเหตุมาจากขาดการประสานงานที่ดี ดังนั้นเชื่อว่าปีนี้จะไม่มีปัญหาในการทำงานร่วมกับ กทม.อย่างแน่นอน
จากนั้นเวลา 12.00 น. นายบรรหาร กล่าวภายหลังการหารือว่า ต่อไปนี้การปรับเปลี่ยนการพร่องหรือระบายน้ำจะต้องดูทุกสัปดาห์
“ผมเป็นห่วงมาก ดังนั้นผมจะเพิ่มเครื่องสูบน้ำที่คลองรังสิต 24 ชุด และดำเนินการติดตั้งให้แล้วเสร็จภายในพฤษภาคมนี้ ซึ่งจะช่วยให้ระบายน้ำจากคลองรังสิตลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จาก 75 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 108 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะช่วยทางฝั่งตะวันออก ส่วนทางฝั่งตะวันตกก็จะพยายามประคับประคองให้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ถ้าได้มีการประสานงานกันสถานการณ์น้ำปีนี้ก็จะเบาบางลง” นายบรรหาร กล่าว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ต่อไปนี้หากมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการน้ำ กทม.สามารถแจ้งให้นายนิกร รับทราบได้ทันที เพื่อให้การประสานงานเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักระบายน้ำ (สนน.) กล่าวว่า การตั้งนายนิกร ขึ้นมาเพื่อประสานงานระหว่างกรมชลประทาน กับกทม.นั้น ไม่ได้หมายความว่าที่ผ่านมาการประสานงานของกทม.กับกรมชลประทานไม่มีประสิทธิภาพ แต่นายนิกร เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความรู้ความเข้าใจและสามารถประสานงานไปยังรัฐบาลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยไม่ติดขัด อย่างไรก็ตามการตั้งผู้ประสานงานขึ้นมาจะทำให้ปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ เบาบางลง แต่ไม่หมายความว่าน้ำจะไม่ท่วม กรุงเทพฯ
***สื่อนอกถามรบ.แผนป้องกันน้ำท่วม
วอลล์สตรีทเจอร์นัล ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับแผนความพร้อมของรัฐบาลในการป้องกันน้ำท่วมว่า ขณะที่รัฐบาลเพื่อไทย ประกาศว่ากำลังดำเนินมาตรการป้องกันวิกฤตอุทกภัยเกิดขึ้นซ้ำรอยปีที่ผ่านมา บรรดาผู้เชี่ยวชาญก็ได้แสดงความกังวลถึงเมกะโปรเจกต์บางโครงการของรัฐบาล เช่น การสร้างพนังกั้นน้ำตลอดริมเจ้าพระยา ที่อาจเสร็จไม่ทันฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงในอีกไมกี่เดือน
ฝนที่ตกหนักไม่ลืมหูลืมตาในปี 2011 เป็นผลให้เกิดอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษ ชาวไทยเสียชีวิตไปหลายร้อยราย นิคมอุตสาหกรรมในภาคกลางจมน้ำกันถ้วนหน้า เศรษฐกิจเสียหายมูลค่าหลายพันด้านดอลลาร์ ในเอกสารที่นักเศรษฐศาสตร์จากโกลด์แมน แซคส์ ส่งถึงลูกค้าช่วงต้นสัปดาห์นี้ ระบุว่า มีความเสี่ยงที่บริษัทต่างชาติจะย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทย หากปีนี้ยังเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยเดิม
คาดกันว่า ฤดูมรสุมจะมาถึงอีกครั้งช่วงเดือนพฤษภาคม สามเดือนต่อจากนี้ รัฐบาลกำลังดำเนินการตามแผนการป้องกันอุทกภัยด้วยงบประมาณกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 350,000 ล้านบาท) ซึ่งว่ากันว่าจะช่วยลดความเสี่ยงน้ำท่วมซ้ำ มาตรการเบื้องต้นประกอบด้วย การขุดลอกคูคลอง การเสริมความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำเดิมที่มีอยู่ และการสร้างพื้นที่สำหรับรับมวลน้ำ เป็นต้น
โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐบาลยังรวมถึงการสร้างอ่างเก็บน้ำแห่งใหม่ และการตั้งพนังกั้นน้ำขึ้นตามลำน้ำเจ้าพระยา วอลล์สตรีทเจอร์นัล รายงาน
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ตั้งองค์กรจัดการน้ำเบ็ดเสร็จ “ซิงเกิล คอมมานด์” ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่งเป็นประธาน เพื่อควบคุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนป้องกันน้ำท่วม เช่น กรุงเทพมหานคร และกรมชลประทาน ฝ่ายผู้สนับสนุนแผนนี้เชื่อว่า จะช่วยปรับปรุงการบริหารงาน และป้องกันความขัดแย้งระหว่างองค์กรซึ่งนักวิชาการมองว่า เป็นปัญหาซ้ำเติมวิกฤตน้ำท่วมในปีที่แล้ว ข้อมูลล่าสุดจากรัฐบาลยังระบุว่า จะมีการซ้อมแผนป้องกันน้ำท่วมใหญ่ในเดือนสิงหาคม เพื่อทดสอบความพร้อม
ขณะเดียวกัน การนิคมอุตสาหรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอข้อเรียกร้องให้รัฐบาลอนุมัติเงินช่วยเหลือและเงินกู้แก่บริษัทเอกชน เพื่อสร้างพนังกั้นน้ำรอบสวนอุตสาหกรรมที่เพิ่งถูกน้ำท่วมหนัก อย่างไรก็ตาม รายละเอียดในข้อกฎหมายและตัวเลขงบประมาณยังไม่มีความชัดเจน
วอลล์สตรีทเจอร์นัล ระบุว่า ล่าสุด รัฐบาลไทยประกาศเป้าหมายจะสร้างกำแพงป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยงริมแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาวกว่า 300 กิโลเมตร โดยกำแพงเหล่านี้จะเริ่มต้นจากอุทัยธานี เรื่อยมาจนถึงอยุธยา กระนั้นก็ดี ผู้เชี่ยวชาญหรือแม้กระทั่งชาวบ้านต่างพากันสงสัยว่า จะดำเนินการเสร็จทันฤดูฝนนี้หรือไม่
วานนี้ (10 ก.พ.55) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวถึงการเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลจาก เหตุการณ์น้ำ ท่วมที่ อ.เสนา และ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า จะเห็นว่า รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ชี้แจงไปคนละทาง ถือว่าไม่เป็นผลดี ส่วนที่มีข่าวว่านายกรัฐมนตรีไม่พอใจกรมชลประทาน ที่มีการพร่องน้ำแล้ว ไม่แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รับมือได้ทัน เท่าที่ตนจำได้ ก่อนหน้านี้มีข่าวว่านายกรัฐมนตรีเป็นคนสั่งให้พร่องน้ำ ได้เลย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเท่ากับว่าระบบการบริหารน้ำยังไม่มีการปรับปรุง ไม่มีเอกภาพ แล้วจะทำให้ประชาชนมั่นใจได้อย่างไร ความจริงน่าจะเอาเวลาไปทำเรื่องนี้ให้เรียบร้อยมากกว่า ไปจัดงานเลี้ยงของ ศปภ. ในคืนวันเดียวกันนี้
ส่วนกรณีนี้เหมือนนายกรัฐมนตรีจะโยนความผิดให้หน่วยราชการหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลบอกว่ามีกลไกที่ให้นายกรัฐมนตรีรับผิดชอบ ในการบริหารจัดการเองแล้ว จะโยนไปที่ไหนอีก ถ้าโยนกลับไปที่หน่วยงานก็แสดงว่าคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานก็ไม่ได้ทำงาน จึงอยากถามว่า คนทำหน้าที่ประสานในเรื่องนี้คือใคร เมื่อรัฐบาลตั้งให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการประสานงาน จึงสะท้อนว่า เกิดความไม่พร้อมเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้นในสัปดาห์หน้าที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปทุกพื้นที่ หวังว่าจะมีคำตอบว่าจะบริหารจัดการอย่างไร เพราะถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ เท่ากับรัฐบาลไม่มีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำในปีนี้ และจะมีแต่ความเสียหายรออยู่ข้างหน้า ทั้งนี้ ตนได้พบกับนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่รัฐสภา ยังได้บอกว่า ไม่น่าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ ซึ่งนายปลอดประสพ บอกว่ากำลังลงพื้นที่
นายชวนนท์โกมาลย์สุต โฆษกปชป. กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาระบุน้ำท่วมอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุทยา เกิดจากความตั้งใจปล่อยน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิตต์ ถามว่าเป็นนายกฯประเภทไหน ตั้งใจปล่อยน้ำมารังแกประชาชน ถ้ารู้ก่อนทำไมไม่เตือน แต่ผอ.เขื่อนภูมิพลกลับบอกว่าไม่ใช่ เป็นการปล่อยน้ำเพิ่มเติมเพื่อทำนา และนำไปใช้ในระบบชลประทานได้หมด และ สาเหตุมาจากฝน ตกที่ปลายน้ำ แล้วประชาชนจะเชื่อได้อย่างไร พูดกันคนละอย่าง ข้อมูลพัลวันไปหมด ถามว่าที่น.ส.ยิ่งลักษณ์พูดว่าจะสร้างฟลัดเวย์ และแก้มลิง เหนือจังหวัดนครสวรรค์ 1 ล้านไร่ และเหนืออยุทธยา 1 ล้านไร่ก่อนน้ำมา วันนี้ยัง ไม่กำหนดพื้นที่ จึงฟันธงได้ว่าถ้านายกฯยังมีกิจกรรมเสริมจังหวะทุกวันแบบนี้ พวกเราไม่รอดน้ำท่วมปี 2555 แน่นอน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และในฐานะประธานคณะกรรมการการประสานงานและ สนับสนุนโครงการหลวง (กปส.) กล่าวยอมรับกรณีที่มีการพร่องน้ำและไม่ได้ชี้แจงให้ประชาชนว่า อาจเกิดจาก การประสานงานและการบริหารจัดการ โดยจะมีการนำปัญหาทั้งหมดตั้งแต่วันแรกมาย้อนมาปรับปรุงระบบการเตือนภัย เรื่องของการปล่อยน้ำ การสำรวจหน้าดิน ความลึก ลักษณะน้ำ การเชื่อมต่อเขื่อนต่างๆ สามารถการรับน้น้ำของเขื่อน โดยจะมีการปรับปรุงทั้งหมด คาดต้องใช้เวลาในการศึกษาพอสมควร
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุถึงผลการประชุมว่า มีการพูดคุยในเรื่องของโครงการการอนุรักษ์หน้า ดิน ปลูกป่า โดยเฉพาะการอนุรักษ์พืชชีวภาพ ซึ่งตรงกับแผนของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.) ที่จะเร่งการการบริหารการพัฒนาเรื่องของการบริหารจัดการในช่วงต้นน้ำ โดย จะมีการบูรณาการร่วมกันโดยใช้แนวของประธานมูลนิธิ โครงการหลวงเป็นแนวทาง ซึ่งทางรัฐบาลจะมีการ มอบหมายให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้สำรวจพื้นที่ และร่วมบูรณาการในการ จัดการปลูกป่า ตามที่ทางโครงการหลวงได้ดำเนินการก่อนหน้านี้ และจะมีการกำหนดพื้นที่ต้นน้ำ เพื่อใช้เป็น แหล่ง ปลูกป่า ชะลอน้ำ หรือเป็นพื้นที่ทางการเกษตร รวมถึงการกำหนดพื้นที่ที่ให้ผู้รับผิดชอบ โดยมุ่งเน้นใน พื้นที่ที่จะใช้ในการชะลอน้ำ ภายใน 3-4 เดือนนี้
ที่กระทรวงมหาดไทย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทยกล่าวถึงกรณีที่ชาวบ้านอาจได้รับผลกระทบหากมีการจัดทำแก้มลิงและจัดสรรพื้นที่ทางน้ำหลาก (ฟลัดเวย์) ที่รัฐบาลเตรียมเวนคืนที่ดินประมาณ 2 ล้านไร่เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาว ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.) เสนอว่า อาจกระทบกับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตั้งแต่แรก จึงต้องเข้าไปทำความเข้าใจกับประชาชนและดูแลความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่อยากให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของพื้นที่ได้รับผลกระทบเข้าใจว่า หากไม่มีการทำพื้นที่ฟลัดเวย์ หรือทำแก้มลิงขึ้น ประชาชนก็จะเดือดร้อนเช่นเดียวกัน
ดังนั้นเราจะใช้หลักการ 1.เอาใจเขามาใส่ใจเรา 2.ทำความเข้าใจกัน และ 3.ใช้หลักของการชดเชยเยียวยา โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.) จะเข้าใจเรื่องพวกนี้ได้ดีมาก ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินพื้นที่แก้มลิงควรจะอยู่ตรงไหน โดยที่รัฐบาลจะเป็นผู้ทำความเข้าใจกับประชาชน ให้ทางจังหวัดและนักวิชาการไปชี้แจงกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ขณะเดียวกันรัฐบาลจะดูแลเป็นพิเศษ โดยจะใช้วิธีการเวนคืนที่ดินและหาที่อยู่ให้ใหม่ ในที่ประชาชนเขาพอใจ
ทั้งนี้ในช่วงที่เดินทางลงพื้นที่แก้ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคกลางร่วมกับนายกรัฐมนตรี จะไปชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน รวมถึงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
วันเดียวกัน เวลา 11.00 น. ที่ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายนิกร จำนง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้าหารือกับม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. และคณะผู้บริหารกทม.ในการหลักการบริหารจัดการน้ำ
นายบรรหาร กล่าวก่อนการเข้าหารือว่า ตนเองมีความเป็นห่วงพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างหนัก วันนี้จึงมาหารือถึงแนวทางร่วมกันกับกทม.ในการจัดการน้ำ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับ กรมชลประทาน ซึ่งตนเองจะให้นายนิกร จำนงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ประสานการทำงานร่วมกัน เพราะที่ผ่านมาระหว่างกทม.กับรัฐบาลอาจมีปัญหาการทำงานร่วมกัน โดยมองว่าสาเหตุมาจากขาดการประสานงานที่ดี ดังนั้นเชื่อว่าปีนี้จะไม่มีปัญหาในการทำงานร่วมกับ กทม.อย่างแน่นอน
จากนั้นเวลา 12.00 น. นายบรรหาร กล่าวภายหลังการหารือว่า ต่อไปนี้การปรับเปลี่ยนการพร่องหรือระบายน้ำจะต้องดูทุกสัปดาห์
“ผมเป็นห่วงมาก ดังนั้นผมจะเพิ่มเครื่องสูบน้ำที่คลองรังสิต 24 ชุด และดำเนินการติดตั้งให้แล้วเสร็จภายในพฤษภาคมนี้ ซึ่งจะช่วยให้ระบายน้ำจากคลองรังสิตลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จาก 75 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 108 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะช่วยทางฝั่งตะวันออก ส่วนทางฝั่งตะวันตกก็จะพยายามประคับประคองให้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ถ้าได้มีการประสานงานกันสถานการณ์น้ำปีนี้ก็จะเบาบางลง” นายบรรหาร กล่าว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ต่อไปนี้หากมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการน้ำ กทม.สามารถแจ้งให้นายนิกร รับทราบได้ทันที เพื่อให้การประสานงานเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักระบายน้ำ (สนน.) กล่าวว่า การตั้งนายนิกร ขึ้นมาเพื่อประสานงานระหว่างกรมชลประทาน กับกทม.นั้น ไม่ได้หมายความว่าที่ผ่านมาการประสานงานของกทม.กับกรมชลประทานไม่มีประสิทธิภาพ แต่นายนิกร เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความรู้ความเข้าใจและสามารถประสานงานไปยังรัฐบาลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยไม่ติดขัด อย่างไรก็ตามการตั้งผู้ประสานงานขึ้นมาจะทำให้ปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ เบาบางลง แต่ไม่หมายความว่าน้ำจะไม่ท่วม กรุงเทพฯ
***สื่อนอกถามรบ.แผนป้องกันน้ำท่วม
วอลล์สตรีทเจอร์นัล ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับแผนความพร้อมของรัฐบาลในการป้องกันน้ำท่วมว่า ขณะที่รัฐบาลเพื่อไทย ประกาศว่ากำลังดำเนินมาตรการป้องกันวิกฤตอุทกภัยเกิดขึ้นซ้ำรอยปีที่ผ่านมา บรรดาผู้เชี่ยวชาญก็ได้แสดงความกังวลถึงเมกะโปรเจกต์บางโครงการของรัฐบาล เช่น การสร้างพนังกั้นน้ำตลอดริมเจ้าพระยา ที่อาจเสร็จไม่ทันฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงในอีกไมกี่เดือน
ฝนที่ตกหนักไม่ลืมหูลืมตาในปี 2011 เป็นผลให้เกิดอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษ ชาวไทยเสียชีวิตไปหลายร้อยราย นิคมอุตสาหกรรมในภาคกลางจมน้ำกันถ้วนหน้า เศรษฐกิจเสียหายมูลค่าหลายพันด้านดอลลาร์ ในเอกสารที่นักเศรษฐศาสตร์จากโกลด์แมน แซคส์ ส่งถึงลูกค้าช่วงต้นสัปดาห์นี้ ระบุว่า มีความเสี่ยงที่บริษัทต่างชาติจะย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทย หากปีนี้ยังเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยเดิม
คาดกันว่า ฤดูมรสุมจะมาถึงอีกครั้งช่วงเดือนพฤษภาคม สามเดือนต่อจากนี้ รัฐบาลกำลังดำเนินการตามแผนการป้องกันอุทกภัยด้วยงบประมาณกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 350,000 ล้านบาท) ซึ่งว่ากันว่าจะช่วยลดความเสี่ยงน้ำท่วมซ้ำ มาตรการเบื้องต้นประกอบด้วย การขุดลอกคูคลอง การเสริมความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำเดิมที่มีอยู่ และการสร้างพื้นที่สำหรับรับมวลน้ำ เป็นต้น
โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐบาลยังรวมถึงการสร้างอ่างเก็บน้ำแห่งใหม่ และการตั้งพนังกั้นน้ำขึ้นตามลำน้ำเจ้าพระยา วอลล์สตรีทเจอร์นัล รายงาน
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ตั้งองค์กรจัดการน้ำเบ็ดเสร็จ “ซิงเกิล คอมมานด์” ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่งเป็นประธาน เพื่อควบคุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนป้องกันน้ำท่วม เช่น กรุงเทพมหานคร และกรมชลประทาน ฝ่ายผู้สนับสนุนแผนนี้เชื่อว่า จะช่วยปรับปรุงการบริหารงาน และป้องกันความขัดแย้งระหว่างองค์กรซึ่งนักวิชาการมองว่า เป็นปัญหาซ้ำเติมวิกฤตน้ำท่วมในปีที่แล้ว ข้อมูลล่าสุดจากรัฐบาลยังระบุว่า จะมีการซ้อมแผนป้องกันน้ำท่วมใหญ่ในเดือนสิงหาคม เพื่อทดสอบความพร้อม
ขณะเดียวกัน การนิคมอุตสาหรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอข้อเรียกร้องให้รัฐบาลอนุมัติเงินช่วยเหลือและเงินกู้แก่บริษัทเอกชน เพื่อสร้างพนังกั้นน้ำรอบสวนอุตสาหกรรมที่เพิ่งถูกน้ำท่วมหนัก อย่างไรก็ตาม รายละเอียดในข้อกฎหมายและตัวเลขงบประมาณยังไม่มีความชัดเจน
วอลล์สตรีทเจอร์นัล ระบุว่า ล่าสุด รัฐบาลไทยประกาศเป้าหมายจะสร้างกำแพงป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยงริมแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาวกว่า 300 กิโลเมตร โดยกำแพงเหล่านี้จะเริ่มต้นจากอุทัยธานี เรื่อยมาจนถึงอยุธยา กระนั้นก็ดี ผู้เชี่ยวชาญหรือแม้กระทั่งชาวบ้านต่างพากันสงสัยว่า จะดำเนินการเสร็จทันฤดูฝนนี้หรือไม่