ASTVผู้จัดการรายวัน - ศธ.เปิดห้องรับเด็กฝากโดยเฉพาะ เปลี่ยนชื่อ “แป๊ะเจี๊ยะ” เป็น “เงินบริจาค” ชี้การบริจาคมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ นักวิชาการค้านเปิดรับบริจาคแลกที่นั่งเรียน เย้ยในทางปฏิบัติไม่มีโปร่งใส แถมตรวจสอบยาก ผุดนายหน้าวิ่งเต้น ด้านประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติพ้อผิดหวัง ชี้ปัญหาวิ่งเต้นเส้นสายกลับมาหนักกว่าเก่า
วานนี้(13 ก.พ.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดประชุมผู้อำนวยการโรงเรียนประจำจังหวัดทั่วประเทศ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์พิเศษและผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดย ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างมอบนโยบายเรื่องรับนักเรียนปีการศึกษา2555 ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ว่า มีคนถามตนมามากเกี่ยวกับเรื่องการรับนักเรียน ซึ่งตนอยากให้การรับนักเรียนมีความโปร่งใสเป็นธรรม มีคนมาฝากเด็กกับตนบ้างก็ประกาศชัดเจนไปว่าตนไม่รับฝากนักเรียน ให้จัดการไปตามระเบียบ เข้าใจว่ามีโควต้ารูปแบบต่าง ๆ อยู่ โควต้าในเขตพื้นที่ก็มีจำนวนหนึ่งก็ให้เอาคะแนนมาดูและจัดการตามนั้น
“มีคนถามผมเรื่อยๆ เรื่องแป๊ะเจี๊ยะ ซึ่งผมเปลี่ยนชื่อเป็นเงินบริจาคแล้ว ฉะนั้นถ้าสถานศึกษาแห่งไหน บอกว่างบประมาณที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จัดให้ไม่พอจะรับเงินบริจาคก็ประกาศให้โปร่งใส อาจจัดห้องเรียนในส่วนเพิ่มเติมไป แต่เด็กก็ต้องมีความสามารถพอสมควร ถ้าไม่มีความสามารถเลย ก็คงไม่ไหว โดยจะมีห้องเรียนเฉพาะอีกห้อง และต้องเอาเงินบริจาคมากระจายให้ทั่วโรงเรียน เรื้องนี้ผมขอฝากกับผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อไปจะไม่มีแป๊ะเจี๊ยะ มีแต่การบริจาค สมัยดึกดำบรรพ์ในยุคกรีก การศึกษาจัดโดยการบริจาคเงินของคนพอมีฐานะ มีฉะนั้นแล้ว ทุกคนต้องจ้างครูเก่ง ๆ ไปสอนลูกตัวเองในบ้าน ซึ่งมีอยู่คนเดียวมันก็เป็นไปไม่ได้”ศ.ดร.สุชาติกล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ขอฝากโรงเรียนเก่ง ๆ ให้ช่วยเพิ่มโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง เพราะปัจจุบันทุกคนแย้งกันเข้าโรงเรียนดัง เพราะฉะนั้นโรงเรียนกลุ่มนี้ เช่น โรงเรียนสวนกุหลายวิทยาลัย โรงเรียนสตรีวิทยา และโรงเรียนสาธิตต่าง ๆ ควรจะเข้าไปช่วยดูแลโรงเรียนที่ยังด้อยคุณภาพและต้องการความช่วยเหลือให้มากขึ้น ขอให้เพิ่มจำนวนโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องเป็นสองเท่า เพราะจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่ายังมีโรงเรียนที่มีปัญหาด้านคุณภาพกว่าหมื่นโรง ที่เหลือสองหมื่นโรงก็ยังมีความไม่เท่าเทียมกันอยู่
ศ.ดร.สุชาติ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ตนขอฝากโรงเรียนให้ความสำคัญกันการสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีนด้วย โดยในวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์นี้ ตนจะเดินทางไปสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ซึ่งจะมีการลงนามในข้อตกลงพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน โดยรัฐบาลจีนจะส่งครูจีนจำนวน 5,000 คนมาช่วยสอนในโรงเรียนของไทย และให้ทุนครูไทยไปพัฒนาการเรียนการสอนอภาษาจีน ที่ประเทศจีนอีก 1,000 ทุน ส่วนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้น จะมีการจัดหาครูจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ หรืออย่างน้อยต้องเป็นครูที่จบเอกอังกฤษโดยตรงมาสอนเด็กซึ่งตนกำลังหารือกับนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ว่าถ้าจำเป็น อาจจะมีการให้รับชาวต่างชาติที่เป็นนักท่องเที่ยวแบ็คแพ็คมาอบรมวิธีการสอนเพื่อให้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ เพราะบางโรงเรียนไม่มีความสามารถที่จะจัดจ้างครูชาวต่างชาติได้จริง ๆ ทำให้โอกาสของเด็กแต่ละโรงเรียนไม่เทียมกัน
“ผมยังเห็นด้วยกับการเลื่อนเปิดเทอมให้สอดคล้องกับประเทศอาเซียน เพราะปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาจำนวนมากจัดการเรียนการสอนในระบบอินเตอร์อยู่แล้ว ก็สมควรเลื่อนการเปิดภาคเรียนของสถานศึกษาให้ตรงกับประเทศอาเซียน ไม่เช่นนั้นนักเรียนที่ไปเรียนต่อต่างประเทศก็จะเสียเวลาเรียนไปอีก 1 ปี”ศ.ดร.สุชาติ กล่าว
ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นโยบาย รมว.ศึกษาธิการ ที่ให้โรงเรียนดังเปิดห้องเรียนเพิ่มเติมเพื่อรับเด็กของผู้บริจาคเงินให้โรงเรียนนั้น เป็นเพียงการเปลี่ยนสารจากคำว่า “แป๊ะเจี๊ย” ให้ดูดีขึ้น แต่เมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริงจะไม่มีวันโปร่งใส เพราะโดยธรรมชาติของระบบเช่นนี้ไม่เคยเกิดความโปร่งใสได้ สุดท้ายก็จะเกิดการวิ่งเต้นฝากเด็ก มีการเรียกรับเงินเพื่อแลกที่เรียน เงินที่เรียกมาจากผู้ปกครองก็คงไม่เข้าโรงเรียน และสุดท้ายการรับเด็กจะกลายเป็นสีเทาอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น จะต้องระมัดระวังให้มาก
“ถ้าทำแบบนั้นจะเกิดความไม่ตรงไปตรงมาอย่างแน่นอนและตรวจสอบยากด้วย เกิดขบวนการนายหน้าวิ่งฝากเด็ก รวมทั้งเป็นการเปิดช่องให้ผู้มีอำนาจการเมืองหรือการเงินแทรกแซงการรับนักเรียนได้ เกิดความเหลื่อมล้ำ ผู้ในอำนาจการเมือง หรือผู้ที่มีฐานะการเงินที่ดี จะได้เปรียบ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนี้ พูดเรื่อง 2 มาตรฐาน พูดเรื่องความเหลื่อมล้ำ มาตลอด ทำอย่างนี้ก็เท่ากับกลืนน้ำลายเสียเอง ขอย้ำว่า เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องของการแบ่งปัน เอาเงินบริจาคคนรวยมากระจายในโรงเรียน แต่เป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยน เป็นเรื่องของความอยุติธรรมในสังคม “ รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้อาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีในหมู่นักเรียนด้วย นักเรียนทั่วไปจะรู้สึกว่า นักเรียนที่เข้าด้วยโควตาบริจาคเงินเป็นพวกอภิสิทธิ์ชน โดยเฉพาะนักเรียนที่ต้องพลาดโอกาสเข้าโรงเรียนดังเพราะถูกเด็กกลุ่มบริจาคเบียดที่นั่งนั้น อาจรู้สึกรุนแรงกับเด็กกลุ่มนี้ได้
ขณะที่ นายอำนวย สุนทรโชติ ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ กล่าวว่า ถ้าทำแบบนี้ แป๊ะเจี๊ยะจะกลับมาโดยเฉพาะการที่ท่านรมต.ศึกษา ได้แถลงนโยบายการรับนักเรียนปี 2555 โดยไม่ได้ระบุมาตรการที่จะต้องทำคือ1.ไม่ได้กำหนดให้ชัดเจนว่าเงื่อนไขพิเศษคืออะไร 2.ไม่ได้กำหนดให้การรับเด็กมีรอบเดียว 3.ไม่ได้กำหนดให้การตรวจสอบดำเนินการโดยคนนอกกระทรวง 4.ไม่ได้กำหนดขั้นตอนการรายงานข้อมูลเพื่อการตรวจสอบให้ชัดเจน
“การกระทำดังกล่าวจะทำให้ปัญหาแป๊ะเจี๊ยะและการฝากเด็กกลับมารุนแรงเหมือนเดิม ทั้งๆที่ปี 2555เราสามารถแก้ปัญหานี้ไปได้เกือบหมดแล้ว และโรงเรียนแข่งขันสูงก็ลดลงไปจำนวนมากมาย เราไม่น่าที่จะกลับไปที่เดิมอีก ผมขอแสดงความผิดหวังอย่างแรงต่อท่านรมต.ท่านนี้ และผมจะดำเนินการทุกอย่ายงเพื่อหยุดปัญหานี้ให้ได้ แม้กระทรวงจะไม่สนับสนุนก็ตาม”นายอำนวยกล่าว.
วานนี้(13 ก.พ.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดประชุมผู้อำนวยการโรงเรียนประจำจังหวัดทั่วประเทศ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์พิเศษและผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดย ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างมอบนโยบายเรื่องรับนักเรียนปีการศึกษา2555 ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ว่า มีคนถามตนมามากเกี่ยวกับเรื่องการรับนักเรียน ซึ่งตนอยากให้การรับนักเรียนมีความโปร่งใสเป็นธรรม มีคนมาฝากเด็กกับตนบ้างก็ประกาศชัดเจนไปว่าตนไม่รับฝากนักเรียน ให้จัดการไปตามระเบียบ เข้าใจว่ามีโควต้ารูปแบบต่าง ๆ อยู่ โควต้าในเขตพื้นที่ก็มีจำนวนหนึ่งก็ให้เอาคะแนนมาดูและจัดการตามนั้น
“มีคนถามผมเรื่อยๆ เรื่องแป๊ะเจี๊ยะ ซึ่งผมเปลี่ยนชื่อเป็นเงินบริจาคแล้ว ฉะนั้นถ้าสถานศึกษาแห่งไหน บอกว่างบประมาณที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จัดให้ไม่พอจะรับเงินบริจาคก็ประกาศให้โปร่งใส อาจจัดห้องเรียนในส่วนเพิ่มเติมไป แต่เด็กก็ต้องมีความสามารถพอสมควร ถ้าไม่มีความสามารถเลย ก็คงไม่ไหว โดยจะมีห้องเรียนเฉพาะอีกห้อง และต้องเอาเงินบริจาคมากระจายให้ทั่วโรงเรียน เรื้องนี้ผมขอฝากกับผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อไปจะไม่มีแป๊ะเจี๊ยะ มีแต่การบริจาค สมัยดึกดำบรรพ์ในยุคกรีก การศึกษาจัดโดยการบริจาคเงินของคนพอมีฐานะ มีฉะนั้นแล้ว ทุกคนต้องจ้างครูเก่ง ๆ ไปสอนลูกตัวเองในบ้าน ซึ่งมีอยู่คนเดียวมันก็เป็นไปไม่ได้”ศ.ดร.สุชาติกล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ขอฝากโรงเรียนเก่ง ๆ ให้ช่วยเพิ่มโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง เพราะปัจจุบันทุกคนแย้งกันเข้าโรงเรียนดัง เพราะฉะนั้นโรงเรียนกลุ่มนี้ เช่น โรงเรียนสวนกุหลายวิทยาลัย โรงเรียนสตรีวิทยา และโรงเรียนสาธิตต่าง ๆ ควรจะเข้าไปช่วยดูแลโรงเรียนที่ยังด้อยคุณภาพและต้องการความช่วยเหลือให้มากขึ้น ขอให้เพิ่มจำนวนโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องเป็นสองเท่า เพราะจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่ายังมีโรงเรียนที่มีปัญหาด้านคุณภาพกว่าหมื่นโรง ที่เหลือสองหมื่นโรงก็ยังมีความไม่เท่าเทียมกันอยู่
ศ.ดร.สุชาติ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ตนขอฝากโรงเรียนให้ความสำคัญกันการสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีนด้วย โดยในวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์นี้ ตนจะเดินทางไปสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ซึ่งจะมีการลงนามในข้อตกลงพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน โดยรัฐบาลจีนจะส่งครูจีนจำนวน 5,000 คนมาช่วยสอนในโรงเรียนของไทย และให้ทุนครูไทยไปพัฒนาการเรียนการสอนอภาษาจีน ที่ประเทศจีนอีก 1,000 ทุน ส่วนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้น จะมีการจัดหาครูจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ หรืออย่างน้อยต้องเป็นครูที่จบเอกอังกฤษโดยตรงมาสอนเด็กซึ่งตนกำลังหารือกับนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ว่าถ้าจำเป็น อาจจะมีการให้รับชาวต่างชาติที่เป็นนักท่องเที่ยวแบ็คแพ็คมาอบรมวิธีการสอนเพื่อให้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ เพราะบางโรงเรียนไม่มีความสามารถที่จะจัดจ้างครูชาวต่างชาติได้จริง ๆ ทำให้โอกาสของเด็กแต่ละโรงเรียนไม่เทียมกัน
“ผมยังเห็นด้วยกับการเลื่อนเปิดเทอมให้สอดคล้องกับประเทศอาเซียน เพราะปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาจำนวนมากจัดการเรียนการสอนในระบบอินเตอร์อยู่แล้ว ก็สมควรเลื่อนการเปิดภาคเรียนของสถานศึกษาให้ตรงกับประเทศอาเซียน ไม่เช่นนั้นนักเรียนที่ไปเรียนต่อต่างประเทศก็จะเสียเวลาเรียนไปอีก 1 ปี”ศ.ดร.สุชาติ กล่าว
ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นโยบาย รมว.ศึกษาธิการ ที่ให้โรงเรียนดังเปิดห้องเรียนเพิ่มเติมเพื่อรับเด็กของผู้บริจาคเงินให้โรงเรียนนั้น เป็นเพียงการเปลี่ยนสารจากคำว่า “แป๊ะเจี๊ย” ให้ดูดีขึ้น แต่เมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริงจะไม่มีวันโปร่งใส เพราะโดยธรรมชาติของระบบเช่นนี้ไม่เคยเกิดความโปร่งใสได้ สุดท้ายก็จะเกิดการวิ่งเต้นฝากเด็ก มีการเรียกรับเงินเพื่อแลกที่เรียน เงินที่เรียกมาจากผู้ปกครองก็คงไม่เข้าโรงเรียน และสุดท้ายการรับเด็กจะกลายเป็นสีเทาอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น จะต้องระมัดระวังให้มาก
“ถ้าทำแบบนั้นจะเกิดความไม่ตรงไปตรงมาอย่างแน่นอนและตรวจสอบยากด้วย เกิดขบวนการนายหน้าวิ่งฝากเด็ก รวมทั้งเป็นการเปิดช่องให้ผู้มีอำนาจการเมืองหรือการเงินแทรกแซงการรับนักเรียนได้ เกิดความเหลื่อมล้ำ ผู้ในอำนาจการเมือง หรือผู้ที่มีฐานะการเงินที่ดี จะได้เปรียบ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนี้ พูดเรื่อง 2 มาตรฐาน พูดเรื่องความเหลื่อมล้ำ มาตลอด ทำอย่างนี้ก็เท่ากับกลืนน้ำลายเสียเอง ขอย้ำว่า เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องของการแบ่งปัน เอาเงินบริจาคคนรวยมากระจายในโรงเรียน แต่เป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยน เป็นเรื่องของความอยุติธรรมในสังคม “ รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้อาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีในหมู่นักเรียนด้วย นักเรียนทั่วไปจะรู้สึกว่า นักเรียนที่เข้าด้วยโควตาบริจาคเงินเป็นพวกอภิสิทธิ์ชน โดยเฉพาะนักเรียนที่ต้องพลาดโอกาสเข้าโรงเรียนดังเพราะถูกเด็กกลุ่มบริจาคเบียดที่นั่งนั้น อาจรู้สึกรุนแรงกับเด็กกลุ่มนี้ได้
ขณะที่ นายอำนวย สุนทรโชติ ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ กล่าวว่า ถ้าทำแบบนี้ แป๊ะเจี๊ยะจะกลับมาโดยเฉพาะการที่ท่านรมต.ศึกษา ได้แถลงนโยบายการรับนักเรียนปี 2555 โดยไม่ได้ระบุมาตรการที่จะต้องทำคือ1.ไม่ได้กำหนดให้ชัดเจนว่าเงื่อนไขพิเศษคืออะไร 2.ไม่ได้กำหนดให้การรับเด็กมีรอบเดียว 3.ไม่ได้กำหนดให้การตรวจสอบดำเนินการโดยคนนอกกระทรวง 4.ไม่ได้กำหนดขั้นตอนการรายงานข้อมูลเพื่อการตรวจสอบให้ชัดเจน
“การกระทำดังกล่าวจะทำให้ปัญหาแป๊ะเจี๊ยะและการฝากเด็กกลับมารุนแรงเหมือนเดิม ทั้งๆที่ปี 2555เราสามารถแก้ปัญหานี้ไปได้เกือบหมดแล้ว และโรงเรียนแข่งขันสูงก็ลดลงไปจำนวนมากมาย เราไม่น่าที่จะกลับไปที่เดิมอีก ผมขอแสดงความผิดหวังอย่างแรงต่อท่านรมต.ท่านนี้ และผมจะดำเนินการทุกอย่ายงเพื่อหยุดปัญหานี้ให้ได้ แม้กระทรวงจะไม่สนับสนุนก็ตาม”นายอำนวยกล่าว.