รมว.ศึกษาฯ ยันไม่ยุบ ร.ร.เล็ก แต่ให้ สพฐ.ไปหารือ อปท.และทำหลักเกณฑ์ และให้มีการถ่ายโอนเพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพ ด้านนักวิชาการเอาด้วยแนวคิดถ่ายโอน แต่ต้องไม่ลืมสอบถามความเห็นของชุมชน หรือท้องถิ่น และเตรียมความพร้อมให้ดีก่อน
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงนโยบายต้องการถ่ายโอนโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีอยู่กว่า 10,000 โรง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่า แนวทางดังกล่าวไม่ใช่หมายถึงว่าจะให้ยุบโรงเรียนทั้ง 10,000 โรง แต่เนื่องจากขณะนี้พบว่ามีโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 20 โรงที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และอีก 2,000 โรง ที่มีนักเรียนต่ำกว่า 10 คน ดังนั้น จึงมอบให้ สพฐ.ไปจัดทำเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยให้หารือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และครู ว่า จะทำเช่นไรที่จะพัฒนาการเรียนการสอนของเด็กให้มีคุณภาพ เช่น โรงเรียนไม่มีไฟฟ้า แต่ใกล้บ้าน แต่เด็กอาจไม่มีอนาคต แต่ถ้าให้เด็กไปเรียนโรงเรียนไกลบ้าน แต่มีเครื่องมืออุปกรณ์การเรียน คอมพิวเตอร์จะดีกว่าหรือไม่ แล้วได้การศึกษาที่มีคุณภาพ อันนี้ก็ให้ไปหารือกัน
“จะไปยุบโรงเรียนขนาดเล็กทั้ง 10,000 โรงเรียน คงไม่ได้ แต่ในบางพื้นที่ที่จำเป็นต้องมีแต่ขาดแคลนก็จะนำโครงการโรงเรียนพี่ช่วยโรงเรียนน้องเข้ามาช่วยดูแลด้านการศึกษา เพื่อรวมพลังทุกภาคส่วนให้มาร่วมจัดการศึกษา ครูที่ต้องย้ายก็จะได้เงินเดือนเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม เพื่อให้เด็กมีอนาคต โดยการบริหารจัดการก็เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป สำหรับโรงเรียนแห่งไหนทำไม่ได้ ก็อาจจะใช้สื่อทางไกล จัดครูเก่งไปให้ แต่ขอให้การจัดการศึกษาได้มีคุณภาพ ถ้าขาดงบประมาณ ก็จะของบประมาณเพิ่มให้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ยากจน มีงบประมาณด้านการศึกษาไม่มากนัก และนำงบประมาณไปซื้ออย่างอื่นมากไป รวมถึงมีการคอร์รัปชันงบประมาณกันจำนวนมาก ถ้าสามารถลดการคอร์รัปชันลงได้ ก็จะสามารถนำมาปรับปรุงโรงเรียนได้ทั้งหมด สามารถนำงบประมาณไปจ้างครูสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีน”ศ.ดร.สุชาติ กล่าว
ด้าน รศ.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬ่าลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในหลักการจำเป็นต้องโอนแต่อย่าโอนทั้งหมดโดยไม่สอบถามความคิดเห็นของคนในชุมชนหรือท้องถิ่น รวมถึงดูความพร้อมในเรื่องต่างๆ ให้ดีก่อน ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหา เพราะปัจจุบันโรงเรียนขนาดเล็กมีหลายระดับ ทั้งระดับที่สามารถดูแลบริหารจัดการตัวเองได้ ซึ่งก็ควรให้เขาอยู่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต่อไป ส่วนระดับที่เข้าขั้นโคม่า จนไม่สามารถดูแลตัวเองได้นั้น ตนคิดว่า ก็มีความจำเป็นต้องถ่ายโอนให้ อปท.รับไปดูแล แต่คิดว่า คงไม่ถึง 10,000 โรงเรียน เพราะถ้าเยอะขนาดนั้นอาจจะเกิดปัญหาได้ ทั้งนี้ การถ่ายโอนโรงเรียนขนาดเล็กต้องไม่ใช่การโอนภาระไปให้ท้องถิ่น โดยจะต้องมีการลงนามความร่วมมือที่ชัดเจน ว่า จะต้องดูแลเรื่องคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงต้องดูแลปัญหาสวัสดิการของครูที่โอนไปด้วย เพราะที่เป็นปัญหามาตลอด คือ ครูที่ถ่ายโอนไปจะได้รับสวัสดิการไม่เท่ากับครูของ สพฐ.
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงนโยบายต้องการถ่ายโอนโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีอยู่กว่า 10,000 โรง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่า แนวทางดังกล่าวไม่ใช่หมายถึงว่าจะให้ยุบโรงเรียนทั้ง 10,000 โรง แต่เนื่องจากขณะนี้พบว่ามีโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 20 โรงที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และอีก 2,000 โรง ที่มีนักเรียนต่ำกว่า 10 คน ดังนั้น จึงมอบให้ สพฐ.ไปจัดทำเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยให้หารือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และครู ว่า จะทำเช่นไรที่จะพัฒนาการเรียนการสอนของเด็กให้มีคุณภาพ เช่น โรงเรียนไม่มีไฟฟ้า แต่ใกล้บ้าน แต่เด็กอาจไม่มีอนาคต แต่ถ้าให้เด็กไปเรียนโรงเรียนไกลบ้าน แต่มีเครื่องมืออุปกรณ์การเรียน คอมพิวเตอร์จะดีกว่าหรือไม่ แล้วได้การศึกษาที่มีคุณภาพ อันนี้ก็ให้ไปหารือกัน
“จะไปยุบโรงเรียนขนาดเล็กทั้ง 10,000 โรงเรียน คงไม่ได้ แต่ในบางพื้นที่ที่จำเป็นต้องมีแต่ขาดแคลนก็จะนำโครงการโรงเรียนพี่ช่วยโรงเรียนน้องเข้ามาช่วยดูแลด้านการศึกษา เพื่อรวมพลังทุกภาคส่วนให้มาร่วมจัดการศึกษา ครูที่ต้องย้ายก็จะได้เงินเดือนเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม เพื่อให้เด็กมีอนาคต โดยการบริหารจัดการก็เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป สำหรับโรงเรียนแห่งไหนทำไม่ได้ ก็อาจจะใช้สื่อทางไกล จัดครูเก่งไปให้ แต่ขอให้การจัดการศึกษาได้มีคุณภาพ ถ้าขาดงบประมาณ ก็จะของบประมาณเพิ่มให้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ยากจน มีงบประมาณด้านการศึกษาไม่มากนัก และนำงบประมาณไปซื้ออย่างอื่นมากไป รวมถึงมีการคอร์รัปชันงบประมาณกันจำนวนมาก ถ้าสามารถลดการคอร์รัปชันลงได้ ก็จะสามารถนำมาปรับปรุงโรงเรียนได้ทั้งหมด สามารถนำงบประมาณไปจ้างครูสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีน”ศ.ดร.สุชาติ กล่าว
ด้าน รศ.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬ่าลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในหลักการจำเป็นต้องโอนแต่อย่าโอนทั้งหมดโดยไม่สอบถามความคิดเห็นของคนในชุมชนหรือท้องถิ่น รวมถึงดูความพร้อมในเรื่องต่างๆ ให้ดีก่อน ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหา เพราะปัจจุบันโรงเรียนขนาดเล็กมีหลายระดับ ทั้งระดับที่สามารถดูแลบริหารจัดการตัวเองได้ ซึ่งก็ควรให้เขาอยู่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต่อไป ส่วนระดับที่เข้าขั้นโคม่า จนไม่สามารถดูแลตัวเองได้นั้น ตนคิดว่า ก็มีความจำเป็นต้องถ่ายโอนให้ อปท.รับไปดูแล แต่คิดว่า คงไม่ถึง 10,000 โรงเรียน เพราะถ้าเยอะขนาดนั้นอาจจะเกิดปัญหาได้ ทั้งนี้ การถ่ายโอนโรงเรียนขนาดเล็กต้องไม่ใช่การโอนภาระไปให้ท้องถิ่น โดยจะต้องมีการลงนามความร่วมมือที่ชัดเจน ว่า จะต้องดูแลเรื่องคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงต้องดูแลปัญหาสวัสดิการของครูที่โอนไปด้วย เพราะที่เป็นปัญหามาตลอด คือ ครูที่ถ่ายโอนไปจะได้รับสวัสดิการไม่เท่ากับครูของ สพฐ.