ASTVผู้จัดการรายวัน -ปปง. เผยประเทศไทยอาจถูกขึ้นแบล็กลิสต์ ประเทศเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่จะมีการประกาศในวันที่ 20 ก.พ.นี้ หลังยังไม่ออกกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปรามปราบการฟอกเงินและต่อต้านการก่อการร้าย ระบุจะส่งผลการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ “ พ.ต.อ.สีหนาท” ระดมแวดวงการเงิน-ตลาดทุนหาแนวทางรับมือด่วน
พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เปิดเผยว่า ปปง.ได้ประชุมหารือกับคณะผู้แทนจากกลุ่มความร่วมมือต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิก (The Asia Pacific Group on Money Laundering หรือ APG) และผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund หรือ IMF) เกี่ยวกับการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Financial Action Task Force on Money Laundering - FATF) ที่จะจัดขึ้นภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 นี้ ซึ่งประเทศไทยมีแนวโน้มจะถูกปรับลดไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ต้องถูกเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงิน
สำหรับผลกระทบหากไทยถูกขึ้นบัญชีดำ จะส่งผลต่อการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศไทย เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จึงผูกพันตามข้อ 7 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ ที่จะต้องปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ และ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะออกมาตรการและดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายในเรื่องนี้อย่างเข้มงวด
ส่วนแนวทางการแก้ไข ที่ประเทศไทยจะสามารถพ้นจากการถูกปรับลดไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงิน คือ การเร่งผลักดันให้รัฐสภาผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้ จากการประเมินในปี 2552 ระบุว่า ประเทศไทยมีข้อบกพร่องด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งไทยได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องตามผลการประเมิน ต่อมา ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ประธาน FATF ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสรุปว่า ประเทศไทยยังคงมีข้อบกพร่องเชิงยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) บางประการ
พร้อมกันนี้ ได้ขอให้ประเทศไทยดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่อง 3 เรื่อง คือ 1. เรื่องแก้ไขกฎหมายกำหนดให้การสนับสนุนทางเงินแก่การการก่อการร้ายเป็นความผิดอาญาอย่างครบถ้วน 2.เรื่องดำเนินมาตรการในการตรวจสอบและอายัดทรัพย์สินของผู้ก่อการร้าย และ3.เรื่องการปรับปรุงการกำกับดูแลสถาบันการเงินและธุรกิจต่างๆเกี่ยวกับด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่ การก่อการร้าย (AML/CFT) ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เพื่อให้สอดคล้องและครอบคลุมเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว
พ.ต.อ. สีหนาท กล่าวว่า ปปง.ได้ประชุมร่วมกับสถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)รวมถึงตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้เตรียมพร้อมรับมือหากประเทศไทยถูกประกาศว่าเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่มีความเสี่ยงในเรื่องของการฟอกเงินและสนับสนุนการก่อการร้าย ซึ่งหากไทยถูกประกาศขึ้นรายชื่อจะส่งผลให้การค้าขายและการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ มีปัญหา หรือเกิดความล่าช้า และอาจส่งผลให้ต้นทุนในการทำธุรกิจของไทยเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งFATF จะมีการประชุมในวันที่ 13-.17 ก.พ.นี้ประเทศฝรั่งเศส
พ.ต.อ. สีหนาท กล่าวว่า ขณะนี้ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับจัดทำเสร็จแล้ว รอการอนุมัติจากบอร์ดปปง.ส่วนสาเหตุที่ล่าช้าเพราะที่ผ่านมา 3 ปีไม่มีบอร์ด ปปง.เพิ่งจะมีการแต่งตั้งขึ้นมาปลายปีที่ผ่านมา ก็เร่งทำเรื่องนี้ ซึ่งหลังผ่านบอร์ด ปปง.แล้วจะนำเข้าครม.เมื่อผ่านแล้วจึงให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วจึงเข้าสู่การพิจารณาจาก 2 สภาก่อนที่จะออกเป็นกฎหมายมาบังคับใช้
พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เปิดเผยว่า ปปง.ได้ประชุมหารือกับคณะผู้แทนจากกลุ่มความร่วมมือต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิก (The Asia Pacific Group on Money Laundering หรือ APG) และผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund หรือ IMF) เกี่ยวกับการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Financial Action Task Force on Money Laundering - FATF) ที่จะจัดขึ้นภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 นี้ ซึ่งประเทศไทยมีแนวโน้มจะถูกปรับลดไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ต้องถูกเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงิน
สำหรับผลกระทบหากไทยถูกขึ้นบัญชีดำ จะส่งผลต่อการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศไทย เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จึงผูกพันตามข้อ 7 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ ที่จะต้องปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ และ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะออกมาตรการและดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายในเรื่องนี้อย่างเข้มงวด
ส่วนแนวทางการแก้ไข ที่ประเทศไทยจะสามารถพ้นจากการถูกปรับลดไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงิน คือ การเร่งผลักดันให้รัฐสภาผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้ จากการประเมินในปี 2552 ระบุว่า ประเทศไทยมีข้อบกพร่องด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งไทยได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องตามผลการประเมิน ต่อมา ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ประธาน FATF ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสรุปว่า ประเทศไทยยังคงมีข้อบกพร่องเชิงยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) บางประการ
พร้อมกันนี้ ได้ขอให้ประเทศไทยดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่อง 3 เรื่อง คือ 1. เรื่องแก้ไขกฎหมายกำหนดให้การสนับสนุนทางเงินแก่การการก่อการร้ายเป็นความผิดอาญาอย่างครบถ้วน 2.เรื่องดำเนินมาตรการในการตรวจสอบและอายัดทรัพย์สินของผู้ก่อการร้าย และ3.เรื่องการปรับปรุงการกำกับดูแลสถาบันการเงินและธุรกิจต่างๆเกี่ยวกับด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่ การก่อการร้าย (AML/CFT) ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เพื่อให้สอดคล้องและครอบคลุมเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว
พ.ต.อ. สีหนาท กล่าวว่า ปปง.ได้ประชุมร่วมกับสถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)รวมถึงตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้เตรียมพร้อมรับมือหากประเทศไทยถูกประกาศว่าเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่มีความเสี่ยงในเรื่องของการฟอกเงินและสนับสนุนการก่อการร้าย ซึ่งหากไทยถูกประกาศขึ้นรายชื่อจะส่งผลให้การค้าขายและการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ มีปัญหา หรือเกิดความล่าช้า และอาจส่งผลให้ต้นทุนในการทำธุรกิจของไทยเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งFATF จะมีการประชุมในวันที่ 13-.17 ก.พ.นี้ประเทศฝรั่งเศส
พ.ต.อ. สีหนาท กล่าวว่า ขณะนี้ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับจัดทำเสร็จแล้ว รอการอนุมัติจากบอร์ดปปง.ส่วนสาเหตุที่ล่าช้าเพราะที่ผ่านมา 3 ปีไม่มีบอร์ด ปปง.เพิ่งจะมีการแต่งตั้งขึ้นมาปลายปีที่ผ่านมา ก็เร่งทำเรื่องนี้ ซึ่งหลังผ่านบอร์ด ปปง.แล้วจะนำเข้าครม.เมื่อผ่านแล้วจึงให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วจึงเข้าสู่การพิจารณาจาก 2 สภาก่อนที่จะออกเป็นกฎหมายมาบังคับใช้