การเคลื่อนย้ายฐานทรัพยากรอาหาร (food resource shift) อย่างกว้างขวางรุนแรงจนกลายเป็นการแย่งชิงทรัพยากรตามแรงเหวี่ยงของพลังโลกาภิวัตน์ได้คุกคามความมั่นคงทางอาหาร (food security) ที่ถักทอเป็นตาข่ายคุ้มครองทางสังคม (social safety net) ของคนปลายอ้อปลายแขมจนผุพัง พลังการแสวงหากำไรสูงสุดและอรรถประโยชน์สูงสุดของบรรษัทยักษ์ใหญ่และประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจนอกจากจะละเมิดสิทธิมนุษยชนในการเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอ (adequate food) แล้ว ยังเป็นการสร้างเสถียรภาพความมั่นคงทางอาหารจากความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนยากจนหนึ่งเพื่อสนองความต้องการของประชาชนในอีกดินแดนหนึ่งซึ่งร่ำรวยกว่า โดยไม่แยแสชะตากรรมอดอยากของเจ้าของที่ดินแต่อย่างใด
ดังปรากฏการณ์ฉกฉวยที่ดินปลูกพืชอาหารในนามการลงทุนเกษตรกรรมขนาดใหญ่ (land grab) ในประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาที่ปะทุเป็นความขัดแย้งรุนแรงหลายพื้นที่อันเนื่องมาจากประชาชนในประเทศเหล่านั้นต้องเผชิญภาวะอดอยากหิวโหยบนผืนแผ่นดินแม่ที่กลายเป็นแปลงปลูกพืชอาหารขนาดใหญ่ที่ส่งผลผลิตทั้งหมดที่ผลิตได้ไปประเทศเจ้าของเงินลงทุนที่พลเมืองอิ่มหมีพีมันจนเป็นโรคอ้วน
อีกทั้งบรรดาบรรษัทเกษตรและอาหารข้ามชาติที่มีอำนาจเหนือรัฐชาติยังมักสวมบทโจรสลัดชีวภาพ (Bio-piracy) ฉกชิงพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่มีคุณค่าทางยา และอาหารผ่านปฏิบัติกลไกกฎหมายระหว่างประเทศและกลไกการค้าเสรีที่มีองค์การการค้าโลก (WTO) จัดระเบียบความสัมพันธ์ให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามอันกลายเป็นกรอบจำกัดการต้านทาน และกำจัดการต่อต้านหรือกระทั่งทวงถามความเป็นธรรมจากการใช้วัตถุดิบของประเทศยากจนมาพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) ที่มีมูลค่ามหาศาลในอุตสาหกรรมยาของประเทศร่ำรวยที่ท้ายสุดก็มุ่งทำกำไรสูงสุด (maximum profit) จนละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศเจ้าของวัตถุดิบที่เข้าไม่ถึงยา โดยเฉพาะโรคเอดส์/เอชไอวีที่เป็นภัยคุกคามสำคัญ
การพึ่งพาทรัพยากรอาหารนำเข้ามากขึ้นเรื่อยๆ ของประเทศอุตสาหกรรมทำให้ประเทศที่ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกทั้งหลายรวมถึงไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้านเกษตรกรรมใหม่ให้รองรับกับความต้องการอาหารที่มากขึ้น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพหากต้องการธำรงความมั่นคงทางอาหารของประเทศตนเองไว้
ในขณะเดียวกันก็รักษาส่วนแบ่งทางการตลาดอาหารโลกไว้ได้ ด้วยในปัจจุบันเสถียรภาพอาหารโลกเปราะบาง ยิ่งประชากรโลก 1 ใน 7 กำลังเผชิญภาวะอดอยากหิวโหยด้วยแล้วก็ทำให้ความขัดแย้งด้านอาหารพร้อมจะปะทุเป็นสงครามติดอาวุธหลังเป็นสงครามเศรษฐกิจมานาน
การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงเพื่อเปลี่ยนผ่านไทยไปสู่การเป็นประเทศส่งออกอาหารที่มีมูลค่าเศรษฐกิจสูงขึ้นเพราะปลอดภัยสูงขึ้น ขณะเดียวกันคนไทยก็ไม่ต้องเผชิญทวิลักษณ์ทุพโภชนาการกับโรคอ้วน จึงต้องการมากกว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หรือลดทอนปรากฏการณ์เหลือเพียงเพราะเกษตรกรขาดความรู้ความชำนาญในการทำเกษตรเพราะอาศัยแต่ดินฟ้าอากาศและสารเคมี โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเกษตรเสียใหม่ให้ไปพ้นจากเกษตรเคมีที่ตลอดห่วงโซ่การผลิตอิงอาศัยน้ำมัน
โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่นับวันราคาจะสูงขึ้นเพราะน้ำมันซึ่งเป็นวัตถุดิบการผลิตร่อยหรอลงรวดเร็ว และแหล่งน้ำมันสำรองส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคที่มีความขัดแย้งสูงจากการที่ประเทศมหาอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจแย่งชิงกัน รวมทั้งยังเป็นต้นเหตุมลพิษ มลภาวะ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเป็นเหตุปัจจัยให้ระบบนิเวศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงถูกทำลายลงไป
กล่าวอีกนัยหนึ่งซึ่งถึงที่สุดน่าจะเป็นทางเลือกดีที่สุดของประเทศส่งออกอาหารแต่ต้องนำเข้าพลังงานสุทธิที่มีเกษตรกรรายย่อยมหาศาลเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว และผู้คนมากมายถูกมะเร็งร้ายรุมเร้าคือการที่ภาครัฐต้องเข้ามาร่วมกับภาคประชาสังคมและเกษตรกรรักษ์สุขภาวะในการมุ่งมั่นพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่กระบวนการผลิตประณีต ปลอดภัยทั้งกับผู้ผลิตและผู้บริโภค ตลอดจนพึ่งพิงตนเองได้ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ยันการสร้างระบบตลาดที่เป็นธรรมเพื่อกระจายผลผลิต
เพราะท้ายสุดกระบวนการปฏิรูปคุณภาพชีวิตเกษตรกรบนฐานความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชนนอกจากสร้างความมั่งคั่งสู่เกษตรกรรายย่อย เสริมภูมิคุ้มกันความมั่นคงทางอาหารระดับประเทศบนฐานรากครอบครัวและชุมชนได้แล้ว ที่สำคัญยังสามารถปลดแอกโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ผูกติดกับพลังงานน้ำมันได้ในทางหนึ่งด้วย โดยเฉพาะการผลิตอาหารที่ไทยมีต้นทุนทางสังคมและทรัพยากรธรรมชาติมากเพียงพอพ้นพึ่งพิงพลังงานฟอสซิล ขณะที่ประเทศอื่นๆ ทำไม่ได้ ไม่เท่านั้นอาหารยังเป็นเงื่อนไขขัดแย้งทั้งในระดับประเทศที่ระเบิดเป็นจลาจลแย่งชิงอาหาร หรือระหว่างประเทศที่ลุกลามเป็นสงครามทรัพยากร
ทั้งนี้ภัยคุกคามถาวรของมวลมนุษยชาติจากการขาดแคลนอาหารและทุพโภชนาการจึงเป็นบทพิสูจน์ศักยภาพไทยว่าจะดำรงสถานะการเป็นประเทศส่งออกอาหารลำดับต้นๆ ของโลกไว้ได้อย่างไรโดยเกษตรกรรายย่อยมั่งคั่ง ผู้บริโภคปลอดภัย และประเทศชาติมั่นคงทางอาหาร อีกทั้งจะประยุกต์ใช้เงื่อนไขนี้อย่างไรในการสร้าง ‘เวทีความร่วมมือสาธารณะ’ ที่ทุกภาคส่วนร่วมปฏิรูประบบเกษตรกรรมและอาหารที่ไม่ถูกทุนครอบงำ
โดยเฉพาะการทบทวนแนวคิดเกษตรพันธสัญญา (contract farming) ที่หลายฝ่ายวาดภาพว่าเป็นทางออกเดียวของสังคมไทยในฐานะเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะในที่สุดไม่เพียงมีปัญหาตัวสัญญาไม่เป็นธรรม โมเดลธุรกิจไม่มองเกษตรกรเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ ทว่ายังสัมพันธ์กับวิกฤตฉกฉวยที่ดินไปปลูกพืชอาหารเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศที่ลงทุนหรือหวังแค่กำไรของบรรษัทยักษ์ใหญ่
ศูนย์กลางการแย่งชิงทรัพยากรในอนาคตจึงเลื่อนไหลไปที่อาหารมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นดั่งพลังงานที่เป็นศูนย์กลางความขัดแย้งในปัจจุบัน ตามหลักเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศความอยู่รอดของประเทศต่างๆ มาจากอาหารมากกว่าน้ำมัน เมื่ออุปสงค์ (demand) สูงกว่าอุปทาน (supply) ความขัดแย้งรุนแรงจึงเกิดตามมาได้ ไทยในฐานะประเทศส่งออกอาหารเลี้ยงพลเมืองโลกจึงต้องเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปรไปทั้งด้านพลังงาน พิบัติภัยธรรมชาติ และความขัดแย้งที่จะกระทบฐานการผลิต
เหตุปัจจัยนี้ภัยคุกคามความมั่นคงทางอาหารคือภัยคุกคามความมั่นคงมวลมนุษยชาติ (human security) การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงประเทศชาติ ตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ สอดคล้องกับระบบนิเวศ และรอดพ้นจากการแก่งแย่งทรัพยากรน้ำมัน จึงเป็น ‘กระบวนทัศน์มั่งคงมั่งคั่งยั่งยืน’ ที่จะทลายข้อจำกัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกษตรเคมีทำไว้ได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm shift) ที่สำคัญของไทยในการสร้างความมั่นคงของประเทศ
ดังปรากฏการณ์ฉกฉวยที่ดินปลูกพืชอาหารในนามการลงทุนเกษตรกรรมขนาดใหญ่ (land grab) ในประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาที่ปะทุเป็นความขัดแย้งรุนแรงหลายพื้นที่อันเนื่องมาจากประชาชนในประเทศเหล่านั้นต้องเผชิญภาวะอดอยากหิวโหยบนผืนแผ่นดินแม่ที่กลายเป็นแปลงปลูกพืชอาหารขนาดใหญ่ที่ส่งผลผลิตทั้งหมดที่ผลิตได้ไปประเทศเจ้าของเงินลงทุนที่พลเมืองอิ่มหมีพีมันจนเป็นโรคอ้วน
อีกทั้งบรรดาบรรษัทเกษตรและอาหารข้ามชาติที่มีอำนาจเหนือรัฐชาติยังมักสวมบทโจรสลัดชีวภาพ (Bio-piracy) ฉกชิงพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่มีคุณค่าทางยา และอาหารผ่านปฏิบัติกลไกกฎหมายระหว่างประเทศและกลไกการค้าเสรีที่มีองค์การการค้าโลก (WTO) จัดระเบียบความสัมพันธ์ให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามอันกลายเป็นกรอบจำกัดการต้านทาน และกำจัดการต่อต้านหรือกระทั่งทวงถามความเป็นธรรมจากการใช้วัตถุดิบของประเทศยากจนมาพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) ที่มีมูลค่ามหาศาลในอุตสาหกรรมยาของประเทศร่ำรวยที่ท้ายสุดก็มุ่งทำกำไรสูงสุด (maximum profit) จนละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศเจ้าของวัตถุดิบที่เข้าไม่ถึงยา โดยเฉพาะโรคเอดส์/เอชไอวีที่เป็นภัยคุกคามสำคัญ
การพึ่งพาทรัพยากรอาหารนำเข้ามากขึ้นเรื่อยๆ ของประเทศอุตสาหกรรมทำให้ประเทศที่ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกทั้งหลายรวมถึงไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้านเกษตรกรรมใหม่ให้รองรับกับความต้องการอาหารที่มากขึ้น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพหากต้องการธำรงความมั่นคงทางอาหารของประเทศตนเองไว้
ในขณะเดียวกันก็รักษาส่วนแบ่งทางการตลาดอาหารโลกไว้ได้ ด้วยในปัจจุบันเสถียรภาพอาหารโลกเปราะบาง ยิ่งประชากรโลก 1 ใน 7 กำลังเผชิญภาวะอดอยากหิวโหยด้วยแล้วก็ทำให้ความขัดแย้งด้านอาหารพร้อมจะปะทุเป็นสงครามติดอาวุธหลังเป็นสงครามเศรษฐกิจมานาน
การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงเพื่อเปลี่ยนผ่านไทยไปสู่การเป็นประเทศส่งออกอาหารที่มีมูลค่าเศรษฐกิจสูงขึ้นเพราะปลอดภัยสูงขึ้น ขณะเดียวกันคนไทยก็ไม่ต้องเผชิญทวิลักษณ์ทุพโภชนาการกับโรคอ้วน จึงต้องการมากกว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หรือลดทอนปรากฏการณ์เหลือเพียงเพราะเกษตรกรขาดความรู้ความชำนาญในการทำเกษตรเพราะอาศัยแต่ดินฟ้าอากาศและสารเคมี โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเกษตรเสียใหม่ให้ไปพ้นจากเกษตรเคมีที่ตลอดห่วงโซ่การผลิตอิงอาศัยน้ำมัน
โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่นับวันราคาจะสูงขึ้นเพราะน้ำมันซึ่งเป็นวัตถุดิบการผลิตร่อยหรอลงรวดเร็ว และแหล่งน้ำมันสำรองส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคที่มีความขัดแย้งสูงจากการที่ประเทศมหาอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจแย่งชิงกัน รวมทั้งยังเป็นต้นเหตุมลพิษ มลภาวะ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเป็นเหตุปัจจัยให้ระบบนิเวศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงถูกทำลายลงไป
กล่าวอีกนัยหนึ่งซึ่งถึงที่สุดน่าจะเป็นทางเลือกดีที่สุดของประเทศส่งออกอาหารแต่ต้องนำเข้าพลังงานสุทธิที่มีเกษตรกรรายย่อยมหาศาลเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว และผู้คนมากมายถูกมะเร็งร้ายรุมเร้าคือการที่ภาครัฐต้องเข้ามาร่วมกับภาคประชาสังคมและเกษตรกรรักษ์สุขภาวะในการมุ่งมั่นพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่กระบวนการผลิตประณีต ปลอดภัยทั้งกับผู้ผลิตและผู้บริโภค ตลอดจนพึ่งพิงตนเองได้ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ยันการสร้างระบบตลาดที่เป็นธรรมเพื่อกระจายผลผลิต
เพราะท้ายสุดกระบวนการปฏิรูปคุณภาพชีวิตเกษตรกรบนฐานความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชนนอกจากสร้างความมั่งคั่งสู่เกษตรกรรายย่อย เสริมภูมิคุ้มกันความมั่นคงทางอาหารระดับประเทศบนฐานรากครอบครัวและชุมชนได้แล้ว ที่สำคัญยังสามารถปลดแอกโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ผูกติดกับพลังงานน้ำมันได้ในทางหนึ่งด้วย โดยเฉพาะการผลิตอาหารที่ไทยมีต้นทุนทางสังคมและทรัพยากรธรรมชาติมากเพียงพอพ้นพึ่งพิงพลังงานฟอสซิล ขณะที่ประเทศอื่นๆ ทำไม่ได้ ไม่เท่านั้นอาหารยังเป็นเงื่อนไขขัดแย้งทั้งในระดับประเทศที่ระเบิดเป็นจลาจลแย่งชิงอาหาร หรือระหว่างประเทศที่ลุกลามเป็นสงครามทรัพยากร
ทั้งนี้ภัยคุกคามถาวรของมวลมนุษยชาติจากการขาดแคลนอาหารและทุพโภชนาการจึงเป็นบทพิสูจน์ศักยภาพไทยว่าจะดำรงสถานะการเป็นประเทศส่งออกอาหารลำดับต้นๆ ของโลกไว้ได้อย่างไรโดยเกษตรกรรายย่อยมั่งคั่ง ผู้บริโภคปลอดภัย และประเทศชาติมั่นคงทางอาหาร อีกทั้งจะประยุกต์ใช้เงื่อนไขนี้อย่างไรในการสร้าง ‘เวทีความร่วมมือสาธารณะ’ ที่ทุกภาคส่วนร่วมปฏิรูประบบเกษตรกรรมและอาหารที่ไม่ถูกทุนครอบงำ
โดยเฉพาะการทบทวนแนวคิดเกษตรพันธสัญญา (contract farming) ที่หลายฝ่ายวาดภาพว่าเป็นทางออกเดียวของสังคมไทยในฐานะเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะในที่สุดไม่เพียงมีปัญหาตัวสัญญาไม่เป็นธรรม โมเดลธุรกิจไม่มองเกษตรกรเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ ทว่ายังสัมพันธ์กับวิกฤตฉกฉวยที่ดินไปปลูกพืชอาหารเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศที่ลงทุนหรือหวังแค่กำไรของบรรษัทยักษ์ใหญ่
ศูนย์กลางการแย่งชิงทรัพยากรในอนาคตจึงเลื่อนไหลไปที่อาหารมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นดั่งพลังงานที่เป็นศูนย์กลางความขัดแย้งในปัจจุบัน ตามหลักเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศความอยู่รอดของประเทศต่างๆ มาจากอาหารมากกว่าน้ำมัน เมื่ออุปสงค์ (demand) สูงกว่าอุปทาน (supply) ความขัดแย้งรุนแรงจึงเกิดตามมาได้ ไทยในฐานะประเทศส่งออกอาหารเลี้ยงพลเมืองโลกจึงต้องเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปรไปทั้งด้านพลังงาน พิบัติภัยธรรมชาติ และความขัดแย้งที่จะกระทบฐานการผลิต
เหตุปัจจัยนี้ภัยคุกคามความมั่นคงทางอาหารคือภัยคุกคามความมั่นคงมวลมนุษยชาติ (human security) การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงประเทศชาติ ตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ สอดคล้องกับระบบนิเวศ และรอดพ้นจากการแก่งแย่งทรัพยากรน้ำมัน จึงเป็น ‘กระบวนทัศน์มั่งคงมั่งคั่งยั่งยืน’ ที่จะทลายข้อจำกัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกษตรเคมีทำไว้ได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm shift) ที่สำคัญของไทยในการสร้างความมั่นคงของประเทศ