แม้ภาพลักษณ์เมืองไทยจะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในอดีต และเป็นครัวโลกในปัจจุบันนั้น ก็ใช่ว่าจะสามารถรับประกันว่าระบบอาหารของประเทศจะมีความมั่นคงตามไปด้วยแต่อย่างใด ด้วยในกระแสโลกาภิวัตน์อำนาจทุน เทคโนโลยี และกฎหมายได้ทวีคูณความรุนแรงในการกดทับ กีดกันเกษตรกรรายย่อยที่เป็นฐานการผลิตหลักของระบบเกษตรกรรมและอาหารของไทย ทั้งในมิติการผลิต การกระจายอาหาร และการตลาด จนปรากฏผลรูปธรรมออกมาเป็นสุขภาวะอ่อนแอทั้งของผู้ผลิตและผู้บริโภค
เหตุปัจจัยนี้ทำให้ผู้บริโภคและเกษตรกรราย่อยส่วนใหญ่ประสบชะตากรรมเลวร้ายคล้ายกันเพราะต่างตกอยู่ภายใต้การครอบงำทิศทางจากบรรษัทเกษตร และอาหารยักษ์ใหญ่ที่ปิดกั้นทางเลือกหลากหลายไว้เหมือนๆ กัน ดังที่ผู้บริโภคไม่ได้เลือกวิถีบริโภคอาหารหลากหลายตามระบบนิเวศและวัฒนธรรม เช่นกันกับเกษตรกรก็ไม่สามารถเลือกวิถีเกษตรกรรมหลากหลายตามระบบภูมิปัญญาและนวัตกรรมท้องถิ่น
ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้บริโภคและเกษตรกรรายย่อย จึงไม่อาจปฏิบัติการแค่การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคที่จะมาขจัดภาวะทุพโภชนาการและภาวะโรคอ้วนที่กำลังรุมเร้าคนไทยเท่านั้น แต่ต้องก้าวหน้าถึงขั้นปฏิรูประบบเกษตรกรรมและอาหารในเชิงโครงสร้างในทุกข้อต่อโซ่ของห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ระบบการผลิตอาหารที่มีความมั่นคง ปลอดภัย เป็นธรรม และเกื้อกูล จนถึงระบบการกระจายอาหารและการตลาดที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรมทั้งทางกายภาพและเศรษฐกิจ ซึ่งต้องการพลังหนุนเคลื่อนนโยบาย (policy advocacy) อย่างกว้างขวางจากภาคประชาสังคม
จังหวะก้าวหนักแน่นในการกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชนจนถึงประเทศชาติที่จะแปรเป็นนโยบายและกฎหมายจึงเป็นดั่ง ‘เข็มทิศ’ กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ไปพ้นจากอาณัติอิทธิพลของบรรษัทเกษตรและอาหารระดับชาติและข้ามชาติที่ต้องการกำไรสูงสุดได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถธำรงรักษาฐานทรัพยากรอาหารและวัฒนธรรมประเพณีที่เกื้อกูลระบบนิเวศอย่างยั่งยืนได้เช่นกัน
โดยกระบวนการขับเคลื่อนนอกเหนือจากมุ่งบูรณาการเป้าหมายกับองค์กรรัฐและประชาสังคมที่เคลื่อนไหวในการพิทักษ์สิทธิเกษตรกรรายย่อยและผู้บริโภคในฐานะพลังการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังต้องสร้างเสริมสมรรถนะ (competency) ของเกษตรกรและผู้บริโภคให้รู้เท่าทันอาหารทั้งในแง่มุมของความปลอดภัย แหล่งที่มา จนถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตกับบรรษัท โดยเฉพาะอาหารอุตสาหกรรมที่จำหน่ายในตลาดโมเดิร์นเทรดจากระบบเกษตรพันธสัญญา (contract farming)
อีกนัยหนึ่งคือการกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารบนกรอบแนวคิดวิเคราะห์สถานการณ์ความเป็นไปได้ที่เลวร้ายสุด (worst-case scenario) จะสามารถต้านทานกระแสโลกาภิวัตน์ได้ในฐานะเครื่องมือทางนโยบาย (policy instrument) ที่มาจากการเตรียมพร้อมสรรพกำลังทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร พันธกิจ และวิสัยทัศน์ที่เท่าทันพลวัตสถานการณ์การรุกคืบของทุนข้ามชาติที่มีอำนาจเหนือการเมืองในขอบเขตของการค้าเสรี (FTA) และกลไกตลาดที่กลายมาเป็นกฎระเบียบโลกที่ครอบงำทิศทางการผลิตจนถึงการกระจายอาหาร และการผูกขาดปัจจัยการผลิตจนถึงช่องทางทางการตลาด
การสร้างทางเลือกทางยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนามาเป็นทางเลือกทางนโยบาย กฎหมาย มาตรการ แผนงาน และโครงการต่างๆ ทั้งที่กำหนดโดยภาครัฐและริเริ่มโดยภาคประชาสังคมที่แสวงหาความเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรมมากขึ้น จึงต้องการกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะจากผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบทางสังคม เช่นกันกับการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจในกฎหมายสูงสุดที่ก็เรียกร้องการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางเช่นกันอันจะนำไปสู่จุดหมายการเป็น ‘ทางเลือกที่เหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง’ เพราะผ่านการวิเคราะห์ ประเมิน และเปรียบเทียบอย่างสมเหตุสมผลจากทางเลือกทั้งหมดที่มี
ทั้งนี้แนวทางการสร้างทางเลือกทางยุทธศาสตร์และนโยบายที่ทลายพันธะพึ่งพิงทุนโดยการปฏิรูประบบเกษตรกรรมและอาหารเพื่อสร้างความเป็นธรรม และความมั่นคงทางอาหารตามระบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรลดต้นทุนไม่ใช่ไม่มีผู้สนับสนุนมาก่อน โดยเฉพาะจากกลุ่มเกษตรกรและองค์กรภาคประชาสังคมที่เท่าทันทุน หรือยังไม่เป็นที่รู้จักกันของสังคมวงกว้างเพราะปัจจุบันก็มีผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ต้องการผลผลิตปลอดสาร หากแต่ที่ไม่ได้เป็นทางเลือกก็เนื่องมาจากผู้ตัดสินใจในเชิงยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐมักตัดสินใจเพื่อปกป้องสถานภาพตนเองจากการที่มีผลประโยชน์ผูกพันกับธุรกิจเกษตรเคมีทั้งในรูปแบบเงินสนับสนุนพรรคการเมืองต้นสังกัด หรือถึงขั้นเป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วนธุรกิจเกษตรเสียเอง
ทางเลือกทางยุทธศาสตร์และนโยบายที่มีความเป็นไปได้ในการปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหารที่ริ่เริ่มและหนักแน่นในกระบวนการมีส่วนร่วมของ ‘เวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2’ นอกจากจะสร้างบรรยากาศสร้างสรรค์ริ่เริ่มแล้ว ยังเพิ่มจำนวนทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ในทางเทคนิคและเศรษฐกิจเพราะผ่านการเคี่ยวกรำประสบการณ์ของเกษตรกร มีตัวแบบประสบความสำเร็จในวิถีเกษตรทางเลือก และมีองค์ความรู้ที่สมเหตุสมผลถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนระบบ
ที่สำคัญทางเลือกในภาคเกษตรกรรมยังกลายมาเป็นทางเลือกสำคัญในการคัดง้างยุทธศาสตร์และนโยบายเกษตรกรรมกระแสหลัก และอุตสาหกรรมไม่สะอาดที่ทำลายแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนที่บรรจุไว้ตั้งแต่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 และฉบับที่ 11 ที่กำหนดเป้าหมายการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเชิงพื้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี ครอบครัวเกษตรกรพึ่งพาตนเองทางอาหารจากไร่นาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ในปี 2559 และยกเลิกขึ้นทะเบียนสารเคมีเกษตรอันตรายร้ายแรง รวมถึงนโยบายส่งเสริมตลาดสีเขียว ตลาดท้องถิ่น วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น และระบบเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชน (CSA)
ประเด็นเร่งด่วนการปฏิรูปคือการสร้างความเป็นธรรมในระบบเกษตรพันธสัญญา การเข้าถึงระบบกระจายอาหาร และการสร้างกลไกสิทธิทางอาหาร (right to food) โดยเฉพาะกับกลุ่มเปราะบางทางสังคม
คุณูปการของการยอมรับทางเลือกในการปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหารจะแผ้วถางอำนาจการเจรจาต่อรอง (negotiation) ของภาคประชาชนเกษตรกรและผู้บริโภคที่ตกเป็นฝ่ายตั้งรับมานานได้ ในขณะเดียวกันกระบวนการปฏิรูปนี้ก็ท้าทายผู้ได้ประโยชน์จากการครอบครองปัจจัยการผลิตด้านเกษตรและผูกขาดทุกข้อต่อห่วงโซ่อาหารที่สร้างวิกฤตความมั่นคงทางอาหารให้จำยอมปรับเปลี่ยนบทบาท เพราะไม่อาจต้านทานการมีส่วนร่วมตัดสินใจในเชิงยุทธศาสตร์และนโยบายของภาคประชาสังคมได้อีกต่อไป!
เหตุปัจจัยนี้ทำให้ผู้บริโภคและเกษตรกรราย่อยส่วนใหญ่ประสบชะตากรรมเลวร้ายคล้ายกันเพราะต่างตกอยู่ภายใต้การครอบงำทิศทางจากบรรษัทเกษตร และอาหารยักษ์ใหญ่ที่ปิดกั้นทางเลือกหลากหลายไว้เหมือนๆ กัน ดังที่ผู้บริโภคไม่ได้เลือกวิถีบริโภคอาหารหลากหลายตามระบบนิเวศและวัฒนธรรม เช่นกันกับเกษตรกรก็ไม่สามารถเลือกวิถีเกษตรกรรมหลากหลายตามระบบภูมิปัญญาและนวัตกรรมท้องถิ่น
ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้บริโภคและเกษตรกรรายย่อย จึงไม่อาจปฏิบัติการแค่การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคที่จะมาขจัดภาวะทุพโภชนาการและภาวะโรคอ้วนที่กำลังรุมเร้าคนไทยเท่านั้น แต่ต้องก้าวหน้าถึงขั้นปฏิรูประบบเกษตรกรรมและอาหารในเชิงโครงสร้างในทุกข้อต่อโซ่ของห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ระบบการผลิตอาหารที่มีความมั่นคง ปลอดภัย เป็นธรรม และเกื้อกูล จนถึงระบบการกระจายอาหารและการตลาดที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรมทั้งทางกายภาพและเศรษฐกิจ ซึ่งต้องการพลังหนุนเคลื่อนนโยบาย (policy advocacy) อย่างกว้างขวางจากภาคประชาสังคม
จังหวะก้าวหนักแน่นในการกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชนจนถึงประเทศชาติที่จะแปรเป็นนโยบายและกฎหมายจึงเป็นดั่ง ‘เข็มทิศ’ กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ไปพ้นจากอาณัติอิทธิพลของบรรษัทเกษตรและอาหารระดับชาติและข้ามชาติที่ต้องการกำไรสูงสุดได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถธำรงรักษาฐานทรัพยากรอาหารและวัฒนธรรมประเพณีที่เกื้อกูลระบบนิเวศอย่างยั่งยืนได้เช่นกัน
โดยกระบวนการขับเคลื่อนนอกเหนือจากมุ่งบูรณาการเป้าหมายกับองค์กรรัฐและประชาสังคมที่เคลื่อนไหวในการพิทักษ์สิทธิเกษตรกรรายย่อยและผู้บริโภคในฐานะพลังการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังต้องสร้างเสริมสมรรถนะ (competency) ของเกษตรกรและผู้บริโภคให้รู้เท่าทันอาหารทั้งในแง่มุมของความปลอดภัย แหล่งที่มา จนถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตกับบรรษัท โดยเฉพาะอาหารอุตสาหกรรมที่จำหน่ายในตลาดโมเดิร์นเทรดจากระบบเกษตรพันธสัญญา (contract farming)
อีกนัยหนึ่งคือการกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารบนกรอบแนวคิดวิเคราะห์สถานการณ์ความเป็นไปได้ที่เลวร้ายสุด (worst-case scenario) จะสามารถต้านทานกระแสโลกาภิวัตน์ได้ในฐานะเครื่องมือทางนโยบาย (policy instrument) ที่มาจากการเตรียมพร้อมสรรพกำลังทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร พันธกิจ และวิสัยทัศน์ที่เท่าทันพลวัตสถานการณ์การรุกคืบของทุนข้ามชาติที่มีอำนาจเหนือการเมืองในขอบเขตของการค้าเสรี (FTA) และกลไกตลาดที่กลายมาเป็นกฎระเบียบโลกที่ครอบงำทิศทางการผลิตจนถึงการกระจายอาหาร และการผูกขาดปัจจัยการผลิตจนถึงช่องทางทางการตลาด
การสร้างทางเลือกทางยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนามาเป็นทางเลือกทางนโยบาย กฎหมาย มาตรการ แผนงาน และโครงการต่างๆ ทั้งที่กำหนดโดยภาครัฐและริเริ่มโดยภาคประชาสังคมที่แสวงหาความเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรมมากขึ้น จึงต้องการกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะจากผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบทางสังคม เช่นกันกับการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจในกฎหมายสูงสุดที่ก็เรียกร้องการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางเช่นกันอันจะนำไปสู่จุดหมายการเป็น ‘ทางเลือกที่เหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง’ เพราะผ่านการวิเคราะห์ ประเมิน และเปรียบเทียบอย่างสมเหตุสมผลจากทางเลือกทั้งหมดที่มี
ทั้งนี้แนวทางการสร้างทางเลือกทางยุทธศาสตร์และนโยบายที่ทลายพันธะพึ่งพิงทุนโดยการปฏิรูประบบเกษตรกรรมและอาหารเพื่อสร้างความเป็นธรรม และความมั่นคงทางอาหารตามระบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรลดต้นทุนไม่ใช่ไม่มีผู้สนับสนุนมาก่อน โดยเฉพาะจากกลุ่มเกษตรกรและองค์กรภาคประชาสังคมที่เท่าทันทุน หรือยังไม่เป็นที่รู้จักกันของสังคมวงกว้างเพราะปัจจุบันก็มีผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ต้องการผลผลิตปลอดสาร หากแต่ที่ไม่ได้เป็นทางเลือกก็เนื่องมาจากผู้ตัดสินใจในเชิงยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐมักตัดสินใจเพื่อปกป้องสถานภาพตนเองจากการที่มีผลประโยชน์ผูกพันกับธุรกิจเกษตรเคมีทั้งในรูปแบบเงินสนับสนุนพรรคการเมืองต้นสังกัด หรือถึงขั้นเป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วนธุรกิจเกษตรเสียเอง
ทางเลือกทางยุทธศาสตร์และนโยบายที่มีความเป็นไปได้ในการปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหารที่ริ่เริ่มและหนักแน่นในกระบวนการมีส่วนร่วมของ ‘เวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2’ นอกจากจะสร้างบรรยากาศสร้างสรรค์ริ่เริ่มแล้ว ยังเพิ่มจำนวนทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ในทางเทคนิคและเศรษฐกิจเพราะผ่านการเคี่ยวกรำประสบการณ์ของเกษตรกร มีตัวแบบประสบความสำเร็จในวิถีเกษตรทางเลือก และมีองค์ความรู้ที่สมเหตุสมผลถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนระบบ
ที่สำคัญทางเลือกในภาคเกษตรกรรมยังกลายมาเป็นทางเลือกสำคัญในการคัดง้างยุทธศาสตร์และนโยบายเกษตรกรรมกระแสหลัก และอุตสาหกรรมไม่สะอาดที่ทำลายแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนที่บรรจุไว้ตั้งแต่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 และฉบับที่ 11 ที่กำหนดเป้าหมายการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเชิงพื้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี ครอบครัวเกษตรกรพึ่งพาตนเองทางอาหารจากไร่นาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ในปี 2559 และยกเลิกขึ้นทะเบียนสารเคมีเกษตรอันตรายร้ายแรง รวมถึงนโยบายส่งเสริมตลาดสีเขียว ตลาดท้องถิ่น วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น และระบบเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชน (CSA)
ประเด็นเร่งด่วนการปฏิรูปคือการสร้างความเป็นธรรมในระบบเกษตรพันธสัญญา การเข้าถึงระบบกระจายอาหาร และการสร้างกลไกสิทธิทางอาหาร (right to food) โดยเฉพาะกับกลุ่มเปราะบางทางสังคม
คุณูปการของการยอมรับทางเลือกในการปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหารจะแผ้วถางอำนาจการเจรจาต่อรอง (negotiation) ของภาคประชาชนเกษตรกรและผู้บริโภคที่ตกเป็นฝ่ายตั้งรับมานานได้ ในขณะเดียวกันกระบวนการปฏิรูปนี้ก็ท้าทายผู้ได้ประโยชน์จากการครอบครองปัจจัยการผลิตด้านเกษตรและผูกขาดทุกข้อต่อห่วงโซ่อาหารที่สร้างวิกฤตความมั่นคงทางอาหารให้จำยอมปรับเปลี่ยนบทบาท เพราะไม่อาจต้านทานการมีส่วนร่วมตัดสินใจในเชิงยุทธศาสตร์และนโยบายของภาคประชาสังคมได้อีกต่อไป!