จุดเปลี่ยนสำคัญของวิกฤตอุทกภัยประเทศไทย คือ การที่ความโกลาหลรุนแรงขยับเข้าใกล้ศูนย์กลางกรุงเทพมหานครมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะนอกจากจะนำความขัดแย้งแตกแยกมาสู่ผู้คนทั้งที่อยู่ในศูนย์กลางด้วยกันเอง และระหว่างศูนย์กลางกับรอบนอกแล้ว ยังสร้างสภาวะแห่งการเอารัดเอาเปรียบกลุ่มผู้เสียเปรียบทางสังคมโดยสาธารณชนไม่ได้ใส่ใจรับรู้ถึงการถูกเอาเปรียบเหล่านั้นเพราะอยู่ไกลศูนย์กลาง
ความรับผิดชอบร่วมกันอันเป็นจริยธรรมตรงข้ามกับความเอารัดเอาเปรียบจึงไม่มีที่ทางในภาวะวิกฤตแต่อย่างใด ในอุทกภัยไทยการหายไปของเสียงที่ไร้เสียง (voiceless) จึงไม่มีสิ่งใดให้สาธารณะคำนึงถึง ถึงแม้สัดส่วนของคนกลุ่มนี้ที่ส่วนใหญ่เป็นคนจนเมืองและเกษตรกรรายย่อยจะมีจำนวนมากมาย
ในพิบัติภัย การทำให้เสียงที่ไร้เสียงมีเสียง (voice) จึงสำคัญ ในกลุ่มคนจนเมืองจึงต้องฟื้นคืนวิถีชีวิตปกติที่ทำมาหากินและมีที่พักพิงอาศัย ในขณะกลุ่มเกษตรกรรายย่อยนอกเหนือไปจากมาตรการเยียวยาด้านการเงินจากรัฐแล้ว การสร้างความเป็นธรรมในนามของความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างเกษตรกรกับบรรษัทธุรกิจเกษตรก็สำคัญยิ่งยวด โดยเฉพาะเกษตรพันธสัญญา (contract farming) ที่เกษตรกรกลายมาเป็นผู้รับความเสี่ยงเพียงลำพังในช่วงพิบัติภัย เช่น อุทกภัยครานี้ที่ความสูญเสียกระหน่ำแต่เกษตรกรฝ่ายเดียว ทั้งๆ ในช่วงปกติก็ต้องแบกรับความเสี่ยงจากการผลิต ตลาด และราคา อยู่แล้ว
ลำพังการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเสียหายหลังประสบภัยธรรมชาติจากภาครัฐไม่เพียงพอถึงแม้ว่าปีนี้จะมีการปรับอัตราการช่วยเหลือมากขึ้นกว่าทุกๆ ปีก็ตามที เพราะที่สุดแล้วอาจประสบปัญหาค่าช่วยเหลือต่อไร่น้อย กระบวนการล่าช้ามากขั้นตอน ตลอดจนการคอร์รัปชัน ดังปีก่อนหน้า
นอกจากนั้นการประกันภัยทางการเกษตรซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันความเสี่ยงภัยที่ช่วยให้เกษตรกรได้รับการชดเชยต้นทุนการผลิตที่เสียหาย และในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาชีพแก่เกษตรกรที่ขาดความมั่นคงมาช้านานเพราะปัจจัยการผลิตตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ พันธุกรรม ที่ดิน น้ำ ล้วนถูกผูกขาดควบคุมโดยบรรษัทธุรกิจเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ ก็ยังคงประสบปัญหาด้านนำไปปฏิบัติเพราะมีขั้นตอนยุ่งยากและต้นทุนสูงในการวินิจฉัยและประเมินระดับความเสียหาย รวมถึงการจ่ายสินไหมทดแทน
การจัดลำดับความสำคัญของรัฐในการบริหารจัดการอุทกภัยไม่เพียงทำให้พื้นที่เกษตรกลายเป็นพื้นที่รองรับน้ำจำนวนมหาศาลแทนพื้นที่อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจที่มีกรุงเทพฯ เป็นสถานีสุดท้ายเท่านั้น ทว่ายังสร้าง ‘สภาวะหนี้สินถาวร’ แก่เกษตรกรด้วย เพราะในความรุนแรงของวิกฤตพิบัติภัยการเกษตรที่ครอบคลุมทั่วไทยและยืดเยื้อยาวนานในหลายจังหวัดได้ทำให้เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากจากทั้งสิ้น 2 ล้านรายที่ประสบภัย
นาข้าวเสียหาย 9.99 ล้านไร่ พืชไร่ 1.87 ล้านไร่ บ่อปลา 215,719 ไร่ บ่อกุ้ง/ปู/หอย 53,567 ไร่ และสัตว์ 30.32 ล้านตัว ไม่สามารถเข้าถึงการเยียวยาช่วยเหลือได้ทันท่วงที หรือไม่ได้เลย หรือเลวร้ายกว่าก็ในกรณีเกษตรพันธสัญญาที่เกษตรกรรายย่อยไม่ได้รับความเป็นธรรมจากบรรษัทธุรกิจการเกษตรที่จะใช้ธรรมาภิบาล และจรรยาบรรณทางการค้าแสดงความรับผิดชอบต่อความสูญเสียร่วมกันอันเป็นผลมาจากภัยธรรมชาติผสานการบริหารจัดการภัยพิบัติของรัฐอันเป็นปัจจัยที่เกษตรกรควบคุมไม่ได้
ดังนั้นห้วงยามพิบัติภัยจึงเป็นห้วงยามพิสูจน์ศักยภาพภาครัฐในการบริหารจัดการภัยพิบัติที่ไม่ใช่แค่คลี่คลายวิกฤตเฉพาะหน้า แต่หมายถึงการเยียวยาช่วยเหลือที่ไม่เหลื่อมล้ำระหว่างภาคเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรม ชนบทกับเมือง และคนจนเมืองกับคนชนชั้นกลางในระยะยาวทั้งในรูปของเม็ดเงินและการเอาใจใส่ดูแล เท่าๆ กับเป็นด่านทดสอบจรรยาบรรณทางการค้าของบรรษัทธุรกิจเกษตรว่ามองเกษตรกรคู่สัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญาด้วยสายตาแบบใดระหว่างหุ้นส่วนธุรกิจหรือลูกไล่ในห่วงโซ่ธุรกิจ
กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรธุรกิจ (CSR) ที่บรรษัทธุรกิจเกษตรทุ่มงบประมาณทำจึงเป็นเพียงภาพลักษณ์องค์กรที่ถูกฉาบทับประดับด้วยคริสตัลแวววาวที่กลวงเปล่าข้างในเพราะไม่ได้ห่วงใย หรือแสดงความรับผิดชอบร่วมกับเกษตรกรในฐานะ ‘หุ้นส่วนผลประโยชน์’ ในการผลิตทางการเกษตร เพราะเมื่อเกิดพิบัติภัยเกษตรกรรายย่อยคู่สัญญามักถูกผลักเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ร่ำไป
ในสัมพันธภาพทางอำนาจที่เหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมระหว่างคู่สัญญาเกษตรกรรายย่อยกับบรรษัทธุรกิจการเกษตร ได้ทำให้ระบบเกษตรพันธสัญญาที่ควรเป็นเครื่องมือลดความเสี่ยงด้านราคา และสร้างเสถียรภาพด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร ตลอดจนพัฒนาระบบเกษตรไทยในส่วนของพืชเศรษฐกิจ ถูกเปลี่ยนทิศทางไปในการมุ่งสนองประโยชน์บรรษัทบนความเสียเปรียบของเกษตรกรรายย่อยมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่โดยปกติแล้วโครงสร้างการเกษตรเมืองไทยก็ถูกครอบงำทิศทางการพัฒนาจากบรรษัทธุรกิจการเกษตรระดับชาติและข้ามชาติที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมากอยู่แล้วในระดับของนโยบายและกฎหมาย
ภายในห้วงวิกฤต การถูกเอารัดเอาเปรียบยิ่งเด่นชัดขึ้นมากจากการไม่ร่วมรับผิดชอบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ โดยอ้างว่าสัญญาทั้งแบบลายลักษณ์อักษรและปากเปล่าไม่ได้ผูกมัดไว้ หรือไม่ก็ขึ้นราคาปัจจัยการผลิตตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง โดยอ้างสถานการณ์ภัยพิบัติทำให้สินค้าขาดแคลนเป็นที่ต้องการมาก
แม้ว่าในขณะเดียวกันนั้นกลุ่มประชาสังคมต่างๆ จะมอบเมล็ดพันธุ์และพันธุกรรมสัตว์ให้แก่เกษตรกรที่เดือดร้อนแสนสาหัสจากอุทกภัยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในนามของผ้าป่าเมล็ดพันธุ์หรือคาราวานเมล็ดพันธุ์ อันจะเป็นการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารและอาชีพเกษตรกรระยะยาวเพราะหมายถึงรายได้ที่จะได้มาอย่างเป็นอิสระปราศจากพันธนาการของทุนที่เข้ามาเบียดบังลิดรอน
เหตุนี้จึงต้องทบทวนแนวคิดว่าด้วยการรับผิดชอบร่วมกันในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ และการบริหารจัดการของรัฐเพื่อปกป้องพื้นที่หนึ่งเหนือพื้นที่หนึ่ง อย่างน้อยในมิติเกษตรพันธสัญญาก็ต้องกำหนดให้บรรษัทธุรกิจการเกษตรต้องเข้ามาร่วมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตร่วมกับเกษตรกรผู้ลงทุนให้ใช้ที่ดินหรือลงแรงงาน ตามข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ว่าด้วยการสร้างความเป็นธรรมในระบบเกษตร เช่นกันกับกรณีคนชั้นในกรุงเทพฯ ก็ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อคนจนเมืองเขตรอบนอกที่ทำให้ใช้ชีวิตได้ปกติเพราะน้ำไม่ท่วมเนื่องมาจากถูกเบนให้ไปท่วมบ้านเรือนอื่นแทนที่
ที่สำคัญไม่ว่าจะติดป้ายการแสดงความรับผิดชอบร่วมกันนี้ว่า ‘จริยธรรม’ หรือ ‘จรรยาบรรณ’ ที่ดูเสมือนจะหาข้อยุติสิ้นสุดไม่ได้ในแง่ของการสร้างความพึงพอใจ แต่ในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่ต้องการความเป็นธรรมเสมอเหมือนกัน การแสดงความรับผิดชอบร่วมกันก็เป็นอิฐก้อนแรกของการก่อสร้างสะพานสายความเป็นธรรมที่ทอดตัวยาวไกลในสังคมเหลื่อมล้ำได้!
ความรับผิดชอบร่วมกันอันเป็นจริยธรรมตรงข้ามกับความเอารัดเอาเปรียบจึงไม่มีที่ทางในภาวะวิกฤตแต่อย่างใด ในอุทกภัยไทยการหายไปของเสียงที่ไร้เสียง (voiceless) จึงไม่มีสิ่งใดให้สาธารณะคำนึงถึง ถึงแม้สัดส่วนของคนกลุ่มนี้ที่ส่วนใหญ่เป็นคนจนเมืองและเกษตรกรรายย่อยจะมีจำนวนมากมาย
ในพิบัติภัย การทำให้เสียงที่ไร้เสียงมีเสียง (voice) จึงสำคัญ ในกลุ่มคนจนเมืองจึงต้องฟื้นคืนวิถีชีวิตปกติที่ทำมาหากินและมีที่พักพิงอาศัย ในขณะกลุ่มเกษตรกรรายย่อยนอกเหนือไปจากมาตรการเยียวยาด้านการเงินจากรัฐแล้ว การสร้างความเป็นธรรมในนามของความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างเกษตรกรกับบรรษัทธุรกิจเกษตรก็สำคัญยิ่งยวด โดยเฉพาะเกษตรพันธสัญญา (contract farming) ที่เกษตรกรกลายมาเป็นผู้รับความเสี่ยงเพียงลำพังในช่วงพิบัติภัย เช่น อุทกภัยครานี้ที่ความสูญเสียกระหน่ำแต่เกษตรกรฝ่ายเดียว ทั้งๆ ในช่วงปกติก็ต้องแบกรับความเสี่ยงจากการผลิต ตลาด และราคา อยู่แล้ว
ลำพังการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเสียหายหลังประสบภัยธรรมชาติจากภาครัฐไม่เพียงพอถึงแม้ว่าปีนี้จะมีการปรับอัตราการช่วยเหลือมากขึ้นกว่าทุกๆ ปีก็ตามที เพราะที่สุดแล้วอาจประสบปัญหาค่าช่วยเหลือต่อไร่น้อย กระบวนการล่าช้ามากขั้นตอน ตลอดจนการคอร์รัปชัน ดังปีก่อนหน้า
นอกจากนั้นการประกันภัยทางการเกษตรซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันความเสี่ยงภัยที่ช่วยให้เกษตรกรได้รับการชดเชยต้นทุนการผลิตที่เสียหาย และในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาชีพแก่เกษตรกรที่ขาดความมั่นคงมาช้านานเพราะปัจจัยการผลิตตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ พันธุกรรม ที่ดิน น้ำ ล้วนถูกผูกขาดควบคุมโดยบรรษัทธุรกิจเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ ก็ยังคงประสบปัญหาด้านนำไปปฏิบัติเพราะมีขั้นตอนยุ่งยากและต้นทุนสูงในการวินิจฉัยและประเมินระดับความเสียหาย รวมถึงการจ่ายสินไหมทดแทน
การจัดลำดับความสำคัญของรัฐในการบริหารจัดการอุทกภัยไม่เพียงทำให้พื้นที่เกษตรกลายเป็นพื้นที่รองรับน้ำจำนวนมหาศาลแทนพื้นที่อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจที่มีกรุงเทพฯ เป็นสถานีสุดท้ายเท่านั้น ทว่ายังสร้าง ‘สภาวะหนี้สินถาวร’ แก่เกษตรกรด้วย เพราะในความรุนแรงของวิกฤตพิบัติภัยการเกษตรที่ครอบคลุมทั่วไทยและยืดเยื้อยาวนานในหลายจังหวัดได้ทำให้เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากจากทั้งสิ้น 2 ล้านรายที่ประสบภัย
นาข้าวเสียหาย 9.99 ล้านไร่ พืชไร่ 1.87 ล้านไร่ บ่อปลา 215,719 ไร่ บ่อกุ้ง/ปู/หอย 53,567 ไร่ และสัตว์ 30.32 ล้านตัว ไม่สามารถเข้าถึงการเยียวยาช่วยเหลือได้ทันท่วงที หรือไม่ได้เลย หรือเลวร้ายกว่าก็ในกรณีเกษตรพันธสัญญาที่เกษตรกรรายย่อยไม่ได้รับความเป็นธรรมจากบรรษัทธุรกิจการเกษตรที่จะใช้ธรรมาภิบาล และจรรยาบรรณทางการค้าแสดงความรับผิดชอบต่อความสูญเสียร่วมกันอันเป็นผลมาจากภัยธรรมชาติผสานการบริหารจัดการภัยพิบัติของรัฐอันเป็นปัจจัยที่เกษตรกรควบคุมไม่ได้
ดังนั้นห้วงยามพิบัติภัยจึงเป็นห้วงยามพิสูจน์ศักยภาพภาครัฐในการบริหารจัดการภัยพิบัติที่ไม่ใช่แค่คลี่คลายวิกฤตเฉพาะหน้า แต่หมายถึงการเยียวยาช่วยเหลือที่ไม่เหลื่อมล้ำระหว่างภาคเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรม ชนบทกับเมือง และคนจนเมืองกับคนชนชั้นกลางในระยะยาวทั้งในรูปของเม็ดเงินและการเอาใจใส่ดูแล เท่าๆ กับเป็นด่านทดสอบจรรยาบรรณทางการค้าของบรรษัทธุรกิจเกษตรว่ามองเกษตรกรคู่สัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญาด้วยสายตาแบบใดระหว่างหุ้นส่วนธุรกิจหรือลูกไล่ในห่วงโซ่ธุรกิจ
กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรธุรกิจ (CSR) ที่บรรษัทธุรกิจเกษตรทุ่มงบประมาณทำจึงเป็นเพียงภาพลักษณ์องค์กรที่ถูกฉาบทับประดับด้วยคริสตัลแวววาวที่กลวงเปล่าข้างในเพราะไม่ได้ห่วงใย หรือแสดงความรับผิดชอบร่วมกับเกษตรกรในฐานะ ‘หุ้นส่วนผลประโยชน์’ ในการผลิตทางการเกษตร เพราะเมื่อเกิดพิบัติภัยเกษตรกรรายย่อยคู่สัญญามักถูกผลักเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ร่ำไป
ในสัมพันธภาพทางอำนาจที่เหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมระหว่างคู่สัญญาเกษตรกรรายย่อยกับบรรษัทธุรกิจการเกษตร ได้ทำให้ระบบเกษตรพันธสัญญาที่ควรเป็นเครื่องมือลดความเสี่ยงด้านราคา และสร้างเสถียรภาพด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร ตลอดจนพัฒนาระบบเกษตรไทยในส่วนของพืชเศรษฐกิจ ถูกเปลี่ยนทิศทางไปในการมุ่งสนองประโยชน์บรรษัทบนความเสียเปรียบของเกษตรกรรายย่อยมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่โดยปกติแล้วโครงสร้างการเกษตรเมืองไทยก็ถูกครอบงำทิศทางการพัฒนาจากบรรษัทธุรกิจการเกษตรระดับชาติและข้ามชาติที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมากอยู่แล้วในระดับของนโยบายและกฎหมาย
ภายในห้วงวิกฤต การถูกเอารัดเอาเปรียบยิ่งเด่นชัดขึ้นมากจากการไม่ร่วมรับผิดชอบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ โดยอ้างว่าสัญญาทั้งแบบลายลักษณ์อักษรและปากเปล่าไม่ได้ผูกมัดไว้ หรือไม่ก็ขึ้นราคาปัจจัยการผลิตตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง โดยอ้างสถานการณ์ภัยพิบัติทำให้สินค้าขาดแคลนเป็นที่ต้องการมาก
แม้ว่าในขณะเดียวกันนั้นกลุ่มประชาสังคมต่างๆ จะมอบเมล็ดพันธุ์และพันธุกรรมสัตว์ให้แก่เกษตรกรที่เดือดร้อนแสนสาหัสจากอุทกภัยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในนามของผ้าป่าเมล็ดพันธุ์หรือคาราวานเมล็ดพันธุ์ อันจะเป็นการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารและอาชีพเกษตรกรระยะยาวเพราะหมายถึงรายได้ที่จะได้มาอย่างเป็นอิสระปราศจากพันธนาการของทุนที่เข้ามาเบียดบังลิดรอน
เหตุนี้จึงต้องทบทวนแนวคิดว่าด้วยการรับผิดชอบร่วมกันในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ และการบริหารจัดการของรัฐเพื่อปกป้องพื้นที่หนึ่งเหนือพื้นที่หนึ่ง อย่างน้อยในมิติเกษตรพันธสัญญาก็ต้องกำหนดให้บรรษัทธุรกิจการเกษตรต้องเข้ามาร่วมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตร่วมกับเกษตรกรผู้ลงทุนให้ใช้ที่ดินหรือลงแรงงาน ตามข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ว่าด้วยการสร้างความเป็นธรรมในระบบเกษตร เช่นกันกับกรณีคนชั้นในกรุงเทพฯ ก็ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อคนจนเมืองเขตรอบนอกที่ทำให้ใช้ชีวิตได้ปกติเพราะน้ำไม่ท่วมเนื่องมาจากถูกเบนให้ไปท่วมบ้านเรือนอื่นแทนที่
ที่สำคัญไม่ว่าจะติดป้ายการแสดงความรับผิดชอบร่วมกันนี้ว่า ‘จริยธรรม’ หรือ ‘จรรยาบรรณ’ ที่ดูเสมือนจะหาข้อยุติสิ้นสุดไม่ได้ในแง่ของการสร้างความพึงพอใจ แต่ในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่ต้องการความเป็นธรรมเสมอเหมือนกัน การแสดงความรับผิดชอบร่วมกันก็เป็นอิฐก้อนแรกของการก่อสร้างสะพานสายความเป็นธรรมที่ทอดตัวยาวไกลในสังคมเหลื่อมล้ำได้!