ไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีศักยภาพการผลิตภาคเกษตรขนาดเป็นครัวของโลกได้ หากในขณะเดียวกันก็คงความลักลั่นย้อนแย้ง (Paradox) ในตัวเองไว้ได้เหนียวแน่นจากการมีภาวะพร่องโภชนาการ (Undernutrition) ขาดสารอาหารที่จำเป็นของร่างกาย กับภาวะโภชนาการเกิน (Overnutrition) ได้รับสารอาหารมากเกินความจำเป็น อันนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บจนถึงขั้นเสียชีวิตของประชากรด้วยกันทั้งสิ้น
รูปแบบชีวิตสุดโต่งทั้งสองด้านของเหรียญนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางอาหาร (Food Insecurity) ของประชากรไทยที่ในด้านหนึ่งก็นำภาวะโรคอ้วน (Obesity) มาสู่ผู้คนเมือง ขณะที่อีกฟากก็เป็นภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) ของคนจนชนบทและเมือง ทางออกจากสภาวการณ์เลวร้ายรุนแรงในห้วงธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร และอาหารแผ่ปีกขยายครอบคลุมเกือบทุกปริมณฑลประเทศ นับแต่ต้นธารยันปลายธารระบบการกระจายอาหารที่อำนาจรวมศูนย์ของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ได้สร้างบทเรียนราคาแพงจากการขาดแคลนและเข้าไม่ถึงอาหารยามพิบัติภัยก็คือ ‘การปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อสร้างสังคมเป็นธรรม’
การถากถางเส้นทางความเป็นธรรมทางสังคมที่คำนึงถึงความเสียเปรียบของคนส่วนใหญ่ในประเทศจะปัดปฏิเสธการปฏิรูประบบเกษตรกรรมไปไม่ได้ เพราะกว่า 20 ล้านคนหรือราว 1 ใน 3 ของประชากรไทยเกี่ยวข้องกับการเกษตรในแง่มุมพึ่งพิงอาศัยทั้งในยามปกติและวิกฤต การปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อสร้างความมั่นคงแก่เกษตรกรรายย่อยผู้เป็นฐานการผลิตสำคัญของภาคเกษตรไทย ด้วยการสร้างเสริมอำนาจในการจัดการทรัพยากรไม่เพียงสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับประเทศ (National Food Security) ที่จะลดทอนความรุนแรงของปรากฏการณ์ข้าวยากหมากแพงจากราคาอาหารแปรปรวนผันผวนสูงและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดบ่อยครั้งขึ้นเท่านั้น ทว่ายังหมายถึงการปลดเปลื้องคนส่วนใหญ่ในชาติออกจากพันธนาการหนี้สินและอำนาจเหนือตลาดของบรรษัทธุรกิจการเกษตรยักษ์ใหญ่อีกด้วย
ซึ่งรวมถึงการสร้างสุขภาวะคนไทยให้ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไปจากการได้บริโภคพืชผัก เนื้อสัตว์ อาหารที่มีความหลากหลายมากกว่าจะมาจากสายพานการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม และการโฆษณาชวนเชื่อจนกลายเป็นวัฒนธรรมอาหารที่เข้าถึงคนหมู่มากในสังคมที่นึกคิดอะไรไม่ออกก็เข้าซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ดิสเคานต์สโตร์ หรือคอนวีเนียนสโตร์ แทนที่ตลาดสด เพียงเพื่อจะหยิบอาหารที่เหมือนกันทั้งรสชาติและรูปแบบออกมา แม้ว่าหน้าตาหีบห่อบรรจุภัณฑ์จะต่างกันไป แต่ข้างในไม่ต่างกัน
ต่างจากการสร้างเสริมโอกาสเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงและมีอำนาจจัดการฐานทรัพยากรที่สำคัญ โดยเฉพาะที่ดิน แหล่งน้ำ และพันธุกรรม เพราะนอกจากจะลดความเสี่ยงและต้นทุนการผลิตรจากการไม่ต้องพึ่งพิงปัจจัยการผลิตของบรรษัทธุรกิจการเกษตรแล้ว ยังทำให้คนไทยได้บริโภคอาหารที่มีความหลากหลายทั้งทางรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการจนเป็นส่วนหนึ่งซึ่งทำให้สุขภาวะคนไทยดีขึ้นด้วยได้
ในทำนองเดียวกันรสชาติอาหารไทยที่สร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยให้เป็นครัวโลกที่อร่อยก็ไม่ได้มาจากแปลงปลูกพืชขนาดใหญ่ แต่มาจากความหลากหลายของรสชาติพืชผักสมุนไพรที่ถูกปลูกเพาะโดยเกษตรกรรายย่อยในแต่ละท้องถิ่นเป็นสำคัญ อันเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ที่กำลังสูญสลายไปจากผืนแผ่นดินไทยจากการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐ และปลูกพืชเชิงเดี่ยวตามการกระตุ้นของบรรษัทธุรกิจการเกษตรที่ใช้รูปแบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ดึงเกษตรกรรรายย่อยเข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ที่สุดแล้วไม่น้อยจะชอกช้ำจากพันธสัญญาไม่เป็นธรรมที่ไม่ร่วมรับความเสี่ยงร่วมกันกับเกษตรกรเพราะไม่ได้มองเกษตรกรรายย่อยเป็นหุ้นส่วนการผลิต
ดังนี้ข้อเสนอคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ว่าด้วยการเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรโดยเร่งรัดสร้างแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำขนาดเล็กในไร่นาโดยรัฐกระจายอำนาจการตัดสินใจและงบประมาณในการสร้างและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กให้กลุ่มเกษตรกรร่วมกับท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดแผนและปฏิบัติการเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยที่ต้องการทำเกษตรนอกฤดูกาลแต่อยู่นอกพื้นที่ชลประทานเข้าถึงแหล่งน้ำได้ง่าย ทั่วถึง และควบคุมกันเองได้ จึงมีคุณูปการต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือนและประเทศชาติ
ขณะเดียวกันก็ต้องคุ้มครองสนับสนุนการพัฒนาพันธุกรรมพืชและสัตว์ท้องถิ่นเพื่อคลี่คลายวิกฤตการแย่งชิงทรัพยากรพันธุกรรมซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาการเกษตรและการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านต่างๆ ของประเทศไทย โดยการสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมในท้องถิ่น การกำหนดให้มีกฎหมายรองรับสิทธิชุมชนเหนือทรัพยากรพันธุกรรมในท้องถิ่น การควบคุมกลไกการผูกขาดพันธุกรรมท้องถิ่น และการสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรให้มีความรู้ความสามารถในการปรับปรุงพันธุกรรมพืชและสัตว์ รวมถึงการกระจายอำนาจให้ชุมชนเข้าถึงทรัพยากรที่สำคัญต่อการเกษตรทั้งด้านที่ดิน น้ำ และพันธุกรรมท้องถิ่น
ทั้งนี้การปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อสร้างสังคมเป็นธรรม โดยการสร้างเสริมอำนาจการจัดการฐานทรัพยากรของเกษตรกรรายย่อยโดยกำหนดหมุดหมายอยู่ที่การลดทอนการถูกเอารัดเอาเปรียบจากอาณัติอิทธิพลของบรรษัทเกษตรและอาหารไม่เพียงก่อคุณูปการต่อเกษตรกรรายย่อยโดยตรง แต่ประชาชนยังได้ประโยชน์จากการมีอาหารหลากหลายที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อร่อย และสมเหตุสมผลด้านราคา ไว้บริโภคสมกับการเป็นครัวโลกของประเทศไทยที่ทำให้สิทธิทางอาหาร (Right to Food) ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องบรรลุเป็นจริงด้วย
รูปแบบชีวิตสุดโต่งทั้งสองด้านของเหรียญนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางอาหาร (Food Insecurity) ของประชากรไทยที่ในด้านหนึ่งก็นำภาวะโรคอ้วน (Obesity) มาสู่ผู้คนเมือง ขณะที่อีกฟากก็เป็นภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) ของคนจนชนบทและเมือง ทางออกจากสภาวการณ์เลวร้ายรุนแรงในห้วงธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร และอาหารแผ่ปีกขยายครอบคลุมเกือบทุกปริมณฑลประเทศ นับแต่ต้นธารยันปลายธารระบบการกระจายอาหารที่อำนาจรวมศูนย์ของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ได้สร้างบทเรียนราคาแพงจากการขาดแคลนและเข้าไม่ถึงอาหารยามพิบัติภัยก็คือ ‘การปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อสร้างสังคมเป็นธรรม’
การถากถางเส้นทางความเป็นธรรมทางสังคมที่คำนึงถึงความเสียเปรียบของคนส่วนใหญ่ในประเทศจะปัดปฏิเสธการปฏิรูประบบเกษตรกรรมไปไม่ได้ เพราะกว่า 20 ล้านคนหรือราว 1 ใน 3 ของประชากรไทยเกี่ยวข้องกับการเกษตรในแง่มุมพึ่งพิงอาศัยทั้งในยามปกติและวิกฤต การปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อสร้างความมั่นคงแก่เกษตรกรรายย่อยผู้เป็นฐานการผลิตสำคัญของภาคเกษตรไทย ด้วยการสร้างเสริมอำนาจในการจัดการทรัพยากรไม่เพียงสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับประเทศ (National Food Security) ที่จะลดทอนความรุนแรงของปรากฏการณ์ข้าวยากหมากแพงจากราคาอาหารแปรปรวนผันผวนสูงและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดบ่อยครั้งขึ้นเท่านั้น ทว่ายังหมายถึงการปลดเปลื้องคนส่วนใหญ่ในชาติออกจากพันธนาการหนี้สินและอำนาจเหนือตลาดของบรรษัทธุรกิจการเกษตรยักษ์ใหญ่อีกด้วย
ซึ่งรวมถึงการสร้างสุขภาวะคนไทยให้ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไปจากการได้บริโภคพืชผัก เนื้อสัตว์ อาหารที่มีความหลากหลายมากกว่าจะมาจากสายพานการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม และการโฆษณาชวนเชื่อจนกลายเป็นวัฒนธรรมอาหารที่เข้าถึงคนหมู่มากในสังคมที่นึกคิดอะไรไม่ออกก็เข้าซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ดิสเคานต์สโตร์ หรือคอนวีเนียนสโตร์ แทนที่ตลาดสด เพียงเพื่อจะหยิบอาหารที่เหมือนกันทั้งรสชาติและรูปแบบออกมา แม้ว่าหน้าตาหีบห่อบรรจุภัณฑ์จะต่างกันไป แต่ข้างในไม่ต่างกัน
ต่างจากการสร้างเสริมโอกาสเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงและมีอำนาจจัดการฐานทรัพยากรที่สำคัญ โดยเฉพาะที่ดิน แหล่งน้ำ และพันธุกรรม เพราะนอกจากจะลดความเสี่ยงและต้นทุนการผลิตรจากการไม่ต้องพึ่งพิงปัจจัยการผลิตของบรรษัทธุรกิจการเกษตรแล้ว ยังทำให้คนไทยได้บริโภคอาหารที่มีความหลากหลายทั้งทางรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการจนเป็นส่วนหนึ่งซึ่งทำให้สุขภาวะคนไทยดีขึ้นด้วยได้
ในทำนองเดียวกันรสชาติอาหารไทยที่สร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยให้เป็นครัวโลกที่อร่อยก็ไม่ได้มาจากแปลงปลูกพืชขนาดใหญ่ แต่มาจากความหลากหลายของรสชาติพืชผักสมุนไพรที่ถูกปลูกเพาะโดยเกษตรกรรายย่อยในแต่ละท้องถิ่นเป็นสำคัญ อันเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ที่กำลังสูญสลายไปจากผืนแผ่นดินไทยจากการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐ และปลูกพืชเชิงเดี่ยวตามการกระตุ้นของบรรษัทธุรกิจการเกษตรที่ใช้รูปแบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ดึงเกษตรกรรรายย่อยเข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ที่สุดแล้วไม่น้อยจะชอกช้ำจากพันธสัญญาไม่เป็นธรรมที่ไม่ร่วมรับความเสี่ยงร่วมกันกับเกษตรกรเพราะไม่ได้มองเกษตรกรรายย่อยเป็นหุ้นส่วนการผลิต
ดังนี้ข้อเสนอคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ว่าด้วยการเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรโดยเร่งรัดสร้างแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำขนาดเล็กในไร่นาโดยรัฐกระจายอำนาจการตัดสินใจและงบประมาณในการสร้างและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กให้กลุ่มเกษตรกรร่วมกับท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดแผนและปฏิบัติการเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยที่ต้องการทำเกษตรนอกฤดูกาลแต่อยู่นอกพื้นที่ชลประทานเข้าถึงแหล่งน้ำได้ง่าย ทั่วถึง และควบคุมกันเองได้ จึงมีคุณูปการต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือนและประเทศชาติ
ขณะเดียวกันก็ต้องคุ้มครองสนับสนุนการพัฒนาพันธุกรรมพืชและสัตว์ท้องถิ่นเพื่อคลี่คลายวิกฤตการแย่งชิงทรัพยากรพันธุกรรมซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาการเกษตรและการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านต่างๆ ของประเทศไทย โดยการสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมในท้องถิ่น การกำหนดให้มีกฎหมายรองรับสิทธิชุมชนเหนือทรัพยากรพันธุกรรมในท้องถิ่น การควบคุมกลไกการผูกขาดพันธุกรรมท้องถิ่น และการสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรให้มีความรู้ความสามารถในการปรับปรุงพันธุกรรมพืชและสัตว์ รวมถึงการกระจายอำนาจให้ชุมชนเข้าถึงทรัพยากรที่สำคัญต่อการเกษตรทั้งด้านที่ดิน น้ำ และพันธุกรรมท้องถิ่น
ทั้งนี้การปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อสร้างสังคมเป็นธรรม โดยการสร้างเสริมอำนาจการจัดการฐานทรัพยากรของเกษตรกรรายย่อยโดยกำหนดหมุดหมายอยู่ที่การลดทอนการถูกเอารัดเอาเปรียบจากอาณัติอิทธิพลของบรรษัทเกษตรและอาหารไม่เพียงก่อคุณูปการต่อเกษตรกรรายย่อยโดยตรง แต่ประชาชนยังได้ประโยชน์จากการมีอาหารหลากหลายที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อร่อย และสมเหตุสมผลด้านราคา ไว้บริโภคสมกับการเป็นครัวโลกของประเทศไทยที่ทำให้สิทธิทางอาหาร (Right to Food) ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องบรรลุเป็นจริงด้วย