ASTVผู้จัดการรายวัน - บิ๊กคลังโต้ "ธีระชัย" เผยประเทศไทยอาจติดกับดักการคลังใน 3 ปี หากไม่เร่งจัดการ ปัญหาภาระต้นทุนเงินกู้รัฐบาล เหตุใกล้เต็มเพดาน 15% แจงกู้เงินไม่ใช้ปัญหา หากบริหารจัดการให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจกลับมา พร้อมออกพันธบัตรออมทรัพย์ หากรัฐบาลไฟเขียว ขณะที่ "กรณ์" ชี้ความเห็น "ธีระชัย" ช่วยเพิ่มน้ำหนักฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ เพราะทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนกู้เงินโดยออกเป็น พ.ร.ก.
จากกรณีที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ระบุว่าตัวเลขอัตราส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณที่แท้จริงอยู่ที่ 9.33% ไม่ใช่ 12% ตามที่รัฐบาลอ้างเพื่อขอออก พ.ร.ก.เงินกู้ 4 ฉบับ นั้น นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า การจัดทำงบประมาณของประเทศไทยกำลังเผชิญหน้าปัญหากับดักทางการคลัง หากอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่รัฐบาลยังต้องการใช้เงินกู้เพิ่มขึ้น เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ จะทำให้การตั้งงบประมาณเพื่อการชำระหนี้และเงินต้นของรัฐบาลเต็มเพดานที่กำหนดไว้ 15% ทำให้รัฐบาลต้องออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) บริหารจัดการหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.14 ล้านล้านบาทให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เพื่อจะทำให้มีเงินงบประมาณที่เคยชำระภาระดอกเบี้ยหนี้ดังกล่าวปีละประมาณ 6 หมื่นล้านบาท มาใช้เพื่อการชำระหนี้เงินต้นของรัฐบาลได้
โดยนับจากปี 2540 รัฐบาลตั้งงบประมาณ เพื่อการชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยปีละประมาณ 11-13% ของงบประมาณรายจ่ายหรือประมาณ 4.7 หมื่นล้านบาท จากกรอบความยั่งยืนทางการคลังกำหนดไว้ไม่เกิน 15% และเพิ่มขึ้นมาโดยตลาด โดยในปี 2554 ตั้งงบประมาณเพื่อการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2.22 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่ตั้งไว้ 2.16 แสนล้านบาท แต่ในงบประมาณปี 2555 การตั้งงบประมาณดังกล่าวลดเหลือ 1.71 แสนล้านบาทเท่านั้น โดยเป็นการชำระหนี้เงินต้นของรัฐบาลเพียง 1,378 ล้านบาท ที่เหลือ 1.69 แสนล้านบาทเป็นการชำระดอกเบี้ยหนี้รัฐบาลอย่างเดียวและยังไม่รวมกับหนี้รัฐวิสาหกิจอีก 5.1 หมื่นล้านบาท
“ครั้งแรกที่เสนอไปในงบประมาณปี 2555 สัดส่วนการชำระหนี้ดังกล่าวประมาณ 11% แต่รัฐบาลถูกตัดงบประมาณเหลือเพียง 9.33% เพราะมีเงินงบประมาณรายได้มีจำกัดเพียง 1.98 ล้านล้านบาท ขณะที่งบประมาณรายจ่ายสูงถึง 2.38 ล้านล้านบาท และส่วนใหญ่เป็นงบประมาณรายจ่ายประจำจากนโยบายรัฐบาล ทำให้ไม่มีงบลงทุน จึงต้องดึงจากส่วนของงบเพื่อการชำระหนี้ออกไป ด้วยการชำระดอกเบี้ยเท่านั้น ขณะที่เงินต้นที่ครบกำหนดชำระก็ใช้วิธีการยืดการชำระหนี้ออกไป” นายจักฤศฏิ์กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์กล่าวต่อว่า ปัจจุบันกรอบการก่อหนี้ของรัฐบาลไม่ได้มีปัญหาอะไร ยังสามารถกู้เงินเพิ่มเติมได้ โดยไม่กระทบต่อวินัยทางการคลัง แต่สิ่งสำคัญคือต้นทุนเงินกู้มากกว่าว่าจะต้องอยู่ในระดับใดที่จะไม่เป็นภาระต่องบประมาณ ซึ่งต้องบริหารจัดการต้นทุนให้ดี ซึ่งที่ผ่านมาต้นทุนทางการเงินของรัฐบาลก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยกู้ยืมเฉลี่ย 4% ก็ลดเหลือประมาณ 3% ตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของพันธบัตรรัฐบาล การกู้หรือก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล ต้องดูว่า มีความคุ้มค่าของเงินหรือไม่ หากนำไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และมีรายได้กลับมา รวมถึงเมื่อลงทุนแล้วประชาชนได้ประโยชน์ มีการบริโภค รัฐบาลก็จะได้เม็ดเงินกลับมาในรูปภาษี สัดส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ก็จะไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด
สำหรับแนวทางการบริหารจัดการพ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท เพื่อการลงทุนในการป้องกันน้ำท่วมนั้น หากมีการู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์จนถึง 5 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาทและจะปรับเป็นการออกพันธบัตรออมทรัพย์ เพื่อขายให้กับประชาชนทั่วไปตามนโยบายของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็สามารถทำได้ เพราในปีงบประมาณ 2555 มีกรอบวงเงินสำหรับการออกพันธบัตรออมทรัพย์ให้กับประชาชนอยู่แล้ว 1 แสนล้านบาท รอเพียงนโยบายจากรัฐบาลและจังหวะเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น
"กรณ์" ชี้ข้อมูล "ธีระชัย" มีน้ำหนัก
นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ออกมาระบุว่ามีความคลาดเคลื่อนในเรื่องของการกำหนดตัวเลขหนี้ต่องบประมาณสูงกว่าข้อเท็จจริง ว่า เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับคำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ตีความ พ.ร.ก.กู้เงิน ว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เพราะ นายธีระชัยเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน ทั้ง 4 ฉบับ ใน ครม.ชุดที่ผ่านมา
ส่วนรัฐบาลจะมีการทบทวนร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน ทั้ง 4 ฉบับ หรือไม่ ก็ต้องถามกลับไปว่า รัฐบาลได้ดำเนินการไปถึงขั้นตอนใด แต่ในส่วนของพรรค ก็พร้อมจะดำเนินการตรวจสอบทุกด้าน เพราะย้ำมาตลอดว่า รัฐบาล ไม่ควรหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากระบบสภา และคิดว่า ผู้ที่ดำเนินการในเรื่องนี้ จะต้องรับผิดชอบ เพราะความพยายามหลายเรื่อง
"การโอนหนี้ให้กับ ธปท.หรือ การซุกหุ้น ปตท. นั้น ถือเป็นความพยายามตกแต่งบัญชี เพื่อให้ประเทศชาติดูร่ำรวย ก็จะเป็นการบั่นทอนความน่าเชื่อถือของนักธุรกิจ ทั้งไทยและต่างประเทศ" นายกรณ์กล่าว.
จากกรณีที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ระบุว่าตัวเลขอัตราส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณที่แท้จริงอยู่ที่ 9.33% ไม่ใช่ 12% ตามที่รัฐบาลอ้างเพื่อขอออก พ.ร.ก.เงินกู้ 4 ฉบับ นั้น นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า การจัดทำงบประมาณของประเทศไทยกำลังเผชิญหน้าปัญหากับดักทางการคลัง หากอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่รัฐบาลยังต้องการใช้เงินกู้เพิ่มขึ้น เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ จะทำให้การตั้งงบประมาณเพื่อการชำระหนี้และเงินต้นของรัฐบาลเต็มเพดานที่กำหนดไว้ 15% ทำให้รัฐบาลต้องออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) บริหารจัดการหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.14 ล้านล้านบาทให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เพื่อจะทำให้มีเงินงบประมาณที่เคยชำระภาระดอกเบี้ยหนี้ดังกล่าวปีละประมาณ 6 หมื่นล้านบาท มาใช้เพื่อการชำระหนี้เงินต้นของรัฐบาลได้
โดยนับจากปี 2540 รัฐบาลตั้งงบประมาณ เพื่อการชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยปีละประมาณ 11-13% ของงบประมาณรายจ่ายหรือประมาณ 4.7 หมื่นล้านบาท จากกรอบความยั่งยืนทางการคลังกำหนดไว้ไม่เกิน 15% และเพิ่มขึ้นมาโดยตลาด โดยในปี 2554 ตั้งงบประมาณเพื่อการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2.22 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่ตั้งไว้ 2.16 แสนล้านบาท แต่ในงบประมาณปี 2555 การตั้งงบประมาณดังกล่าวลดเหลือ 1.71 แสนล้านบาทเท่านั้น โดยเป็นการชำระหนี้เงินต้นของรัฐบาลเพียง 1,378 ล้านบาท ที่เหลือ 1.69 แสนล้านบาทเป็นการชำระดอกเบี้ยหนี้รัฐบาลอย่างเดียวและยังไม่รวมกับหนี้รัฐวิสาหกิจอีก 5.1 หมื่นล้านบาท
“ครั้งแรกที่เสนอไปในงบประมาณปี 2555 สัดส่วนการชำระหนี้ดังกล่าวประมาณ 11% แต่รัฐบาลถูกตัดงบประมาณเหลือเพียง 9.33% เพราะมีเงินงบประมาณรายได้มีจำกัดเพียง 1.98 ล้านล้านบาท ขณะที่งบประมาณรายจ่ายสูงถึง 2.38 ล้านล้านบาท และส่วนใหญ่เป็นงบประมาณรายจ่ายประจำจากนโยบายรัฐบาล ทำให้ไม่มีงบลงทุน จึงต้องดึงจากส่วนของงบเพื่อการชำระหนี้ออกไป ด้วยการชำระดอกเบี้ยเท่านั้น ขณะที่เงินต้นที่ครบกำหนดชำระก็ใช้วิธีการยืดการชำระหนี้ออกไป” นายจักฤศฏิ์กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์กล่าวต่อว่า ปัจจุบันกรอบการก่อหนี้ของรัฐบาลไม่ได้มีปัญหาอะไร ยังสามารถกู้เงินเพิ่มเติมได้ โดยไม่กระทบต่อวินัยทางการคลัง แต่สิ่งสำคัญคือต้นทุนเงินกู้มากกว่าว่าจะต้องอยู่ในระดับใดที่จะไม่เป็นภาระต่องบประมาณ ซึ่งต้องบริหารจัดการต้นทุนให้ดี ซึ่งที่ผ่านมาต้นทุนทางการเงินของรัฐบาลก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยกู้ยืมเฉลี่ย 4% ก็ลดเหลือประมาณ 3% ตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของพันธบัตรรัฐบาล การกู้หรือก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล ต้องดูว่า มีความคุ้มค่าของเงินหรือไม่ หากนำไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และมีรายได้กลับมา รวมถึงเมื่อลงทุนแล้วประชาชนได้ประโยชน์ มีการบริโภค รัฐบาลก็จะได้เม็ดเงินกลับมาในรูปภาษี สัดส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ก็จะไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด
สำหรับแนวทางการบริหารจัดการพ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท เพื่อการลงทุนในการป้องกันน้ำท่วมนั้น หากมีการู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์จนถึง 5 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาทและจะปรับเป็นการออกพันธบัตรออมทรัพย์ เพื่อขายให้กับประชาชนทั่วไปตามนโยบายของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็สามารถทำได้ เพราในปีงบประมาณ 2555 มีกรอบวงเงินสำหรับการออกพันธบัตรออมทรัพย์ให้กับประชาชนอยู่แล้ว 1 แสนล้านบาท รอเพียงนโยบายจากรัฐบาลและจังหวะเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น
"กรณ์" ชี้ข้อมูล "ธีระชัย" มีน้ำหนัก
นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ออกมาระบุว่ามีความคลาดเคลื่อนในเรื่องของการกำหนดตัวเลขหนี้ต่องบประมาณสูงกว่าข้อเท็จจริง ว่า เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับคำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ตีความ พ.ร.ก.กู้เงิน ว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เพราะ นายธีระชัยเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน ทั้ง 4 ฉบับ ใน ครม.ชุดที่ผ่านมา
ส่วนรัฐบาลจะมีการทบทวนร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน ทั้ง 4 ฉบับ หรือไม่ ก็ต้องถามกลับไปว่า รัฐบาลได้ดำเนินการไปถึงขั้นตอนใด แต่ในส่วนของพรรค ก็พร้อมจะดำเนินการตรวจสอบทุกด้าน เพราะย้ำมาตลอดว่า รัฐบาล ไม่ควรหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากระบบสภา และคิดว่า ผู้ที่ดำเนินการในเรื่องนี้ จะต้องรับผิดชอบ เพราะความพยายามหลายเรื่อง
"การโอนหนี้ให้กับ ธปท.หรือ การซุกหุ้น ปตท. นั้น ถือเป็นความพยายามตกแต่งบัญชี เพื่อให้ประเทศชาติดูร่ำรวย ก็จะเป็นการบั่นทอนความน่าเชื่อถือของนักธุรกิจ ทั้งไทยและต่างประเทศ" นายกรณ์กล่าว.