ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ ตามที่รัฐกัมพูชาได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าพฤติกรรมรัฐไทยได้ยอมรับแผนที่ 1:200,000 ทุกระวาง และรวมไปถึงระวางดงรักที่รัฐไทยเคยปฏิเสธอย่างแข็งขันในการสู้คดีปราสาทพระวิหารเมื่อ ค.ศ. 1962 ความตกลงไทย-ลาวเมื่อ ค.ศ. 1996 ที่รัฐไทยกระทำกับรัฐลาวเพื่อปักปันเขตแดนกันใหม่ โดยรัฐไทยยืนยันอยู่หลายจุดในเรื่องของแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ว่าเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน-ฝรั่งเศส
แม้ว่าในบางตอนของการปักปันเขตแดนรัฐลาวจะโต้แย้งว่าแผนที่มาตราส่วน1:200,000 นั้น ไม่ใช่ผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ แต่อย่างใด รัฐไทยกลับยืนยันต่อรัฐลาวว่าแผนที่ชุดนี้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ อย่างแน่นอนและยังกล่าวอีกว่ารัฐลาวอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิ์จากฝรั่งเศสจึงอยู่ในสภาพการบังคับใช้แผนที่นี้
เมื่อรัฐไทยทำบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก (MOU43) ค.ศ. 2000 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา รัฐไทยได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ว่า แผนที่ 1:200,000 มีผลผูกพันตามกฎหมายระว่างประเทศ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐกัมพูชา พฤติกรรมของรัฐไทยไม่ได้ปฏิเสธแผนที่เหมือนที่เคยกระทำการอย่างฉ้อฉลและบิดเบือนไว้เมื่อ ค.ศ. 1962
ข้าฯ แต่ศาล พฤติกรรมของรัฐไทยยังปรากฏว่าได้มีการประชุมกันที่จังหวัดอุบลราชธานีในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติการ การสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนหรือที่เรียกกันว่า TOR 2003 ในโอกาสนี้แทนที่รัฐไทยจะปฏิเสธแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 หากแต่กลับตอกย้ำและยอมรับว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ทุกระวางเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ และยังให้ความสำคัญต่อแผนที่อย่างยิ่งยวด พฤติกรรมของรัฐไทยย่อมทำให้ศาลเห็นว่า รัฐไทยไม่เคยปฏิเสธเรื่องแผนที่ชุดนี้อีกเลย แม้รัฐไทยอาจสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดรัฐธรรมนูญของตัวเอง แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหนของรัฐไทยจะนำเอาความตกลงไทย-ลาว และ MOU 43 หรือ TOR 46 ไปดำเนินการตามกฎหมายเลย แม้มีกลุ่มประชาชนชาวไทยในนามคนเสื้อเหลืองหรือกลุ่มอื่นๆ เรียกร้องให้รัฐบาลของรัฐไทยนำบันทึก MOU 43 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรอิสระตีความ รัฐบาลของรัฐไทยก็ไม่เคยยอมทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าว
นั่นก็เป็นเพราะรัฐบาลของรัฐไทยได้ตระหนักดีแล้วว่าแผนที่ 1:200,000 เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ จริงอย่างไม่ต้องสงสัย และทั้งนี้ก็ย่อมเข้าใจตรงกับรัฐบาลของรัฐกัมพูชาแล้วว่า ตลอดแนวพรมแดนด้านตะวันออกทั้งหมดตั้งแต่ประเทศลาว และกัมพูชา รัฐไทยยอมรับสถานะของแผนที่ในภาคผนวกหนึ่งตามอรรถคดีที่รัฐกัมพูชาได้แสดงให้ศาลได้เห็นตั้งแต่ ค.ศ. 1962 แล้ว และบัดนี้รัฐไทยได้แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดและความเข้าใจผิดต่อแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนฯ อย่างเห็นได้ชัด
เส้นเขตแดนตรงบริเวณปราสาทพระวิหารตามแผนที่ระวางดงรักหรือแผนที่ในภาคผนวกหนึ่งได้ปันให้ปราสาทพระวิหาร และบริเวณโดยรอบเป็นของรัฐกัมพูชาอย่างไม่ต้องสงสัย และรัฐไทยพยายามผลักดันประชาชนกัมพูชาออกจากพื้นที่แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะรัฐกัมพูชามีกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า ทำให้รัฐไทยต้องถอยร่นออกไปจนประชิดแค่เขตแดน และเหตุนี้แม่ทัพภาคที่ 2 ซึ่งมีความใกล้ชิดกับรัฐกัมพูชาได้เข้าใจสถานการณ์อย่างถ่องแท้จึงสั่งการไม่ให้ทหารไทยต่อสู้หรือรุกล้ำดินแดนของรัฐกัมพูชาเข้ามาอีกเพราะตระหนักดีเรื่องเส้นเขตแดน
ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ รัฐไทยได้บังอาจนำดินแดนของกัมพูชาไปขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติอยู่หลายปี แต่รัฐกัมพูชาได้ส่งกองทัพไปรักษาอธิปไตยและเส้นเขตแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งที่ภูมะเขือและบริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหาร อย่างไรก็ดี รัฐกัมพูชาประสงค์จะให้ศาลตีความคำพิพากษาในคดีนี้อีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันเส้นเขตแดนตามแผนที่ 1:200,000 ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ รัฐกัมพูชาขอเสนอข้อมูลอันสำคัญที่ทำให้เห็นว่ารัฐไทยมิได้สนใจต่อการกระทำของกัมพูชาบนดินแดนของกัมพูชาด้านปราสาทพระวิหาร รัฐบาลฝรั่งเศสได้เสนอความเห็นมายังรัฐบาลกัมพูชาว่า ปราสาทพระวิหารที่ตั้งอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพราะเป็นสถานที่สำคัญสวยงามเหมาะสมกับนักท่องเที่ยว(อ่านต่อวันพุธหน้า)
แม้ว่าในบางตอนของการปักปันเขตแดนรัฐลาวจะโต้แย้งว่าแผนที่มาตราส่วน1:200,000 นั้น ไม่ใช่ผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ แต่อย่างใด รัฐไทยกลับยืนยันต่อรัฐลาวว่าแผนที่ชุดนี้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ อย่างแน่นอนและยังกล่าวอีกว่ารัฐลาวอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิ์จากฝรั่งเศสจึงอยู่ในสภาพการบังคับใช้แผนที่นี้
เมื่อรัฐไทยทำบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก (MOU43) ค.ศ. 2000 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา รัฐไทยได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ว่า แผนที่ 1:200,000 มีผลผูกพันตามกฎหมายระว่างประเทศ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐกัมพูชา พฤติกรรมของรัฐไทยไม่ได้ปฏิเสธแผนที่เหมือนที่เคยกระทำการอย่างฉ้อฉลและบิดเบือนไว้เมื่อ ค.ศ. 1962
ข้าฯ แต่ศาล พฤติกรรมของรัฐไทยยังปรากฏว่าได้มีการประชุมกันที่จังหวัดอุบลราชธานีในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติการ การสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนหรือที่เรียกกันว่า TOR 2003 ในโอกาสนี้แทนที่รัฐไทยจะปฏิเสธแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 หากแต่กลับตอกย้ำและยอมรับว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ทุกระวางเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ และยังให้ความสำคัญต่อแผนที่อย่างยิ่งยวด พฤติกรรมของรัฐไทยย่อมทำให้ศาลเห็นว่า รัฐไทยไม่เคยปฏิเสธเรื่องแผนที่ชุดนี้อีกเลย แม้รัฐไทยอาจสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดรัฐธรรมนูญของตัวเอง แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหนของรัฐไทยจะนำเอาความตกลงไทย-ลาว และ MOU 43 หรือ TOR 46 ไปดำเนินการตามกฎหมายเลย แม้มีกลุ่มประชาชนชาวไทยในนามคนเสื้อเหลืองหรือกลุ่มอื่นๆ เรียกร้องให้รัฐบาลของรัฐไทยนำบันทึก MOU 43 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรอิสระตีความ รัฐบาลของรัฐไทยก็ไม่เคยยอมทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าว
นั่นก็เป็นเพราะรัฐบาลของรัฐไทยได้ตระหนักดีแล้วว่าแผนที่ 1:200,000 เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ จริงอย่างไม่ต้องสงสัย และทั้งนี้ก็ย่อมเข้าใจตรงกับรัฐบาลของรัฐกัมพูชาแล้วว่า ตลอดแนวพรมแดนด้านตะวันออกทั้งหมดตั้งแต่ประเทศลาว และกัมพูชา รัฐไทยยอมรับสถานะของแผนที่ในภาคผนวกหนึ่งตามอรรถคดีที่รัฐกัมพูชาได้แสดงให้ศาลได้เห็นตั้งแต่ ค.ศ. 1962 แล้ว และบัดนี้รัฐไทยได้แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดและความเข้าใจผิดต่อแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนฯ อย่างเห็นได้ชัด
เส้นเขตแดนตรงบริเวณปราสาทพระวิหารตามแผนที่ระวางดงรักหรือแผนที่ในภาคผนวกหนึ่งได้ปันให้ปราสาทพระวิหาร และบริเวณโดยรอบเป็นของรัฐกัมพูชาอย่างไม่ต้องสงสัย และรัฐไทยพยายามผลักดันประชาชนกัมพูชาออกจากพื้นที่แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะรัฐกัมพูชามีกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า ทำให้รัฐไทยต้องถอยร่นออกไปจนประชิดแค่เขตแดน และเหตุนี้แม่ทัพภาคที่ 2 ซึ่งมีความใกล้ชิดกับรัฐกัมพูชาได้เข้าใจสถานการณ์อย่างถ่องแท้จึงสั่งการไม่ให้ทหารไทยต่อสู้หรือรุกล้ำดินแดนของรัฐกัมพูชาเข้ามาอีกเพราะตระหนักดีเรื่องเส้นเขตแดน
ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ รัฐไทยได้บังอาจนำดินแดนของกัมพูชาไปขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติอยู่หลายปี แต่รัฐกัมพูชาได้ส่งกองทัพไปรักษาอธิปไตยและเส้นเขตแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งที่ภูมะเขือและบริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหาร อย่างไรก็ดี รัฐกัมพูชาประสงค์จะให้ศาลตีความคำพิพากษาในคดีนี้อีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันเส้นเขตแดนตามแผนที่ 1:200,000 ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ รัฐกัมพูชาขอเสนอข้อมูลอันสำคัญที่ทำให้เห็นว่ารัฐไทยมิได้สนใจต่อการกระทำของกัมพูชาบนดินแดนของกัมพูชาด้านปราสาทพระวิหาร รัฐบาลฝรั่งเศสได้เสนอความเห็นมายังรัฐบาลกัมพูชาว่า ปราสาทพระวิหารที่ตั้งอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพราะเป็นสถานที่สำคัญสวยงามเหมาะสมกับนักท่องเที่ยว(อ่านต่อวันพุธหน้า)