xs
xsm
sm
md
lg

ปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเป็นของไทย ตอนที่ 1 แผนที่เถื่อน

เผยแพร่:   โดย: เทพมนตรี ลิมปพยอม

“ศาลโลกมิได้มีอำนาจจะยกดินแดนของประเทศไทยให้กับประเทศกัมพูชาได้” ในคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินตามคำฟ้องของกัมพูชาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 กัมพูชาฟ้องร้องให้ศาลตัดสิน 5 ข้อ ได้แก่

1. ขอให้ศาลชี้ขาดเรื่องแผนที่ว่าเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน (แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000)

2. เส้นเขตแดนที่ปรากฏไว้บนแผนที่เป็นเส้นเขตแดนที่ถูกต้อง

3. ให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา

4. ให้ไทยถอนกำลังยามรักษาการณ์ ตำรวจ ทหารออกจากบริเวณปราสาทพระวิหาร

5. ให้ไทยคืนโบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณปราสาท

ศาลโลกได้ตัดสินตามคำฟ้องของกัมพูชาด้วยการใช้กฎหมายปิดปาก และตัดสินขัดต่อหลักความยุติธรรมและไม่เคารพต่อสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นไว้ก่อนหน้านี้ (อนุสัญญาฉบับ ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907) ศาลโลกได้ตัดสินตามกฎหมายปิดปาก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 โดยตัดสินให้กัมพูชาได้ 3 ข้อ

1.ให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา

2.ให้ไทยถอนกำลังยามรักษาการณ์ ตำรวจ ทหารออกจากบริเวณปราสาทพระวิหาร

3.ให้ไทยคืนโบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณปราสาท

เมื่อศาลตัดสินเสร็จสิ้นแล้ว คณะทนายความฝ่ายไทยได้ทำรายงานมายังรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีใจความสำคัญว่า ศาลไม่กล้าตัดสินเรื่องแผนที่และเป็นการดีที่เรื่องแผนที่นั้นตกไป (แผนที่ 1 : 200,000) และแผนที่ก็มิได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดนีเซีย (เพราะคำฟ้องข้อที่ 1 ตกไป)

ดังนั้น การที่กระทรวงการต่างประเทศกลับไปใช้แผนที่ที่ไม่ถูกต้องและไม่เคารพคำพิพากษาของศาลโลกโดยนำไปใช้บังคับประเทศลาว ในความตกลงไทย-ลาวเมื่อ พ.ศ. 2537 กับทั้งไปใช้เป็นพื้นทางกฎหมายระหว่างประเทศในการจัดทำ MOU 43 ฉบับเถื่อนกับประเทศกัมพูชา และยังปล่อยให้ประเทศกัมพูชาใช้เส้นที่ลากไม่ถูกต้องใน MOU 44 สร้างพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลจนเกิดเอกสิทธิ์ในพื้นที่นั้น

อนึ่ง กัมพูชาลากเส้นผ่ากลางเกาะกูดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปเมื่อ พ.ศ. 2515 โดยขาดพื้นฐานทางกฎหมาย และในที่สุดเมื่อมีการจัดทำ MOU 43 เป้าหมายของกัมพูชามีความชัดเจนมากขึ้นต่อเรื่องที่จะย้ายตำแหน่งของหลักเขตที่ 73 แม้เมื่อตกลงกันไม่ได้ในคณะกรรมาธิการเทคนิคร่วมจนต้องย้ายพื้นที่ตรงนี้ไปสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบกบริเวณอื่น ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่ากัมพูชามีความอุตสาหะที่จะย้ายหลักเขตแดนให้จงได้โดยใช้ในโครงวาดกำกับหลักเขตมาตราส่วน 1 : 20,000 และแผนที่ 1 : 200,000 ที่เป็นแผนที่ปลอมเพราะไม่มีการประชุม ไม่มีการลงนามรับรองจากคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน และแน่นอนศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ได้ตัดสินไม่ยอมรับความถูกต้องและเส้นเขตแดนบนแผนที่

คำถามก็มีอยู่ว่า ทำไมกระทรวงการต่างประเทศจึงไปยอมรับแผนที่ และทำไมเมื่อ MOU เถื่อนทั้งสองฉบับไม่ผ่านรัฐสภาตามบทบัญัติในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่คนเสื้อแดงต้องการหนักหนา อีกทั้งสร้างภาพว่าเคารพรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงไม่มีหน่วยงานของรัฐหน่วยงานไหนแม้กระทั่งกระทรวงการต่างประเทศหรือคณะรัฐธรรมนูญนำไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกันเล่า
กำลังโหลดความคิดเห็น