กมธ.วุฒิสภาจัดเสวนา"มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา" อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ ระบุไทย-กัมพูชา ต่างฝ่ายต่างให้สัมปทานพลังงานแก่เอกชน เพื่ออ้างเขตแดนตัวเอง แนะฝ่ายการเมืองอย่าล้วงลูกคณะทำงาน ยัน"เกาะกูด" เป็นของไทยทั้งเกาะ "เสริมสุข" ชี้ ศาลโลก-คกก.มรดกโลก มีพิรุธรับลูกกันชัดเจน แปลกใจศาลตัดสินเกินคำร้อง อัดกองทัพหละหลวม นั่งบื้อปล่อยเขมรปักธง-ตัดถนน
วานนี้ ( 26 ส.ค.) ที่โรงแรมรอยัล ริเวอร์ ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง"มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา" ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วุฒิสภา 7 คณะ อาทิ กมธ.ต่างประเทศ กมธ.การปกครอง และกมธ.การทหาร เป็นต้น โดยพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคทางทะเลฝ่ายไทย กล่าวตอนหนึ่งว่า ประเด็นเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอ่าวไทย-กัมพูชา ที่รัฐบาลสองฝ่ายไม่สามารถตกลงเรื่องเขตแดนได้ พบว่ามีมากถึง 2.6 หมื่นตร.กม. และมีแหล่งพลังงานอยู่มหาศาล เบื้องต้นเชื่อว่าแหล่งพลังงาน จะอยู่ในฝั่งไทยมากกกว่าฝั่งกัมพูชา เนื่องจากลักษณะสัณฐานของภูมิประเทศที่มีส่วนเว้า ซึ่งขณะนี้ยอมรับว่าในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้มีการให้สัมปทานบริษัทเอกชน ที่จะเข้ามาขุดเจาะหาพลังงานกันแล้ว โดยรัฐบาลไทยได้ให้สัมปทานไปแล้วตั้งแต่ปี 2511 กับหลายบริษัท เช่น บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และบริษัทปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นต้น เช่นเดียวกับรัฐบาลกัมพูชา ที่ให้สัมปทานกับบริษัทเอกชน ตั้งปี 2540
"ในพื้นที่สัมปทานในพื้นที่กัมพูชายังมีปัญหาคือหากขุดก๊าซแล้วจะไปไหนต่อ เพราะทางประเทศกัมพูชาไม่มีท่อก๊าซ และไม่มีโรงแยกก๊าซ ที่ผ่านมารัฐบาลกัมพูชาคิดว่าจะขายให้กับฝั่งไทย แต่ก็มีปัญหาด้านการเมืองก่อน แต่คิดว่าปัญหานี้น่าจะเจรจากันได้เร็วๆ นี้ ส่วนผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อน ที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะเป็นประเด็นผลโยชน์ของบุคคล ผมไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น เพราะมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่หลายหน่วยงาน เรื่องการเจรจานี้ยังมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่ ดังนั้นไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล คณะทำงานชุดนี้ยังทำงานอยู่ ควรปล่อยให้คณะนี้ทำงานต่อไป อย่าได้ล้วงลูกและเรื่องซุกผลประโยชน์ ผมว่าไม่มีทาง เพราะตั้งแต่โบราณกระบวนการเจรจาได้ถูกเซทไว้อย่างเป็นระบบแล้ว" พล.ร.อ.ถนอม กล่าว
ทั้งนี้ พล.ร.อ.ถนอม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการบรรยาย ว่า การตั้งข้อสังเกตของหลายฝ่ายที่กังวลในประเด็นแหล่งพลังงานทางอ่าวไทย ที่ผ่านมาทั้ง 2 ประเทศประกาศว่า เป็นพื้นที่ของตนเองฝ่ายเดียว ซึ่งไม่มีผลรับรองทางกฎหมาย เพราะตามกฎบัตรสหประชาชาติ ระบุว่า ในพื้นที่ทับซ้อนต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศให้ได้ข้อยุติก่อน
ขณะนี้ตนเห็นว่าแนวทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ต้องมีการเจรจากัน และมีขั้นตอนอีกมาก ดังนั้นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนด้านพลังงาน จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เพราะการเจรจาเรื่องผลประโยชน์ดังกล่าว ต้องมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุทกศาสตร์ กระทรวงการต่างประเทศ กรมแผนที่ทางทหาร กรมสนธิสัญญา กรมเชื้อเพลิง เป็นต้น และที่สำคัญต้องผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา ตามกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
พล.ร.อ.ถนอม กล่าวอีกว่า สำหรับข้อกังวลเรื่องกรณีที่ศาลโลกกำลังวินิจฉัยเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ยืนยันว่า การพิจารณาของศาลโลกจะพิจารณาเฉพาะการปักปันทางบก ถึงหลักเขตที่ 73 ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องถึงเขตแดนทางทะเล และไม่ได้ผ่ากลางเกาะกูด อย่างที่หลายฝ่ายซึ่งไม่มีความเข้าใจออกมาวิจารณ์ เพราะในอดีตมีหลักฐานที่ฝ่ายกัมพูชา ยอมรับว่าเกาะกูดเป็นของไทยหลายอย่างอีกด้วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีมติให้ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อไป พล.ร.อ.ถนอม กล่าวว่า มติครม. ดังกล่าวยังไม่ได้มีการยกเลิก เป็นเพียงการเห็นชอบในหลักการเท่านั้น และส่งเรื่องต่อให้กระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งขณะนี้เรื่องยังคงค้างอยู่
ดังนั้นเป็นหน้าที่ที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องพิจารณาต่อไป ความเห็นส่วนตัวมองว่า หากมีการยกเลิกเอ็มโอยู 44 นั้นเท่ากับเป็นการล้มการเจรจาที่ผ่านมาตั้งปี 2513 ซึ่งหากเป็นไปตามนั้น ไม่รู้กี่ปีจะได้ใช้พลังงานในพื้นที่ดังกล่าว
ด้าน นางอานิก อัมระนันท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ซึ่งได้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายด้วย เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า สาเหตุที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้ยกเลิกเอ็มโอยู 44 อย่างเด็ดขาด โดยการนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภานั้น เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งกรณีที่ครม.ชุดที่แล้ว ให้ความเห็นชอบในหลักการ เพื่อยกเลิกนั้น เป็นเพียงการแสดงจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยกับเส้นเขตแดนทางทะเลที่กัมพูชาได้เขียนขึ้น
ส่วนสาเหตุที่มาเรียกร้องในรัฐบาลชุดใหม่ เป็นเพราะต้องแสดงจุดยืนว่า เราคัดค้านและในเอ็มโอยู 44 ยังไม่มีการตกลงเรื่องการจัดสรรพลังงานที่แน่ชัด เกรงว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่งได้
ทั้งนี้ ในช่วงการอภิปรายหัวข้อ “จากศาลโลกถึงมรดกโลกปราสาทพระวิหารกับปัญหาพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา” นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการอาวุโสฝ่ายความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ตั้งข้อสังเกตว่า กระบวนการของคณะกรรมการมรดกโลก และศาลโลก มีลักษณะรับลูกกัน เพราะโดยหลักแล้ว ศาลไม่มีหน้าที่พิจารณาเกินคำร้องของฝ่ายกัมพูชา โดยเฉพาะกรณีที่คณะกรรมการมรดกโลกเสนอให้มีการบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร แล้วมาปรากฏ ในคำวินิจฉัยของศาลโลก จึงเห็นว่าที่ผ่านมากัมพูชาได้ล็อบบี้ประเทศต่างๆไว้หมดแล้ว ทำให้ประเทศไทยตกในฐานะผู้เสียเปรียบ
ดังนั้นตนจึงเห็นด้วยที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ตัดสินใจวอล์กเอาต์ จากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก เพราะมิเช่นนั้นฝ่ายไทยต้องยอมรับการเข้ามาบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ร่วมกับชาติต่างๆ
ส่วนการที่ศาลโลกให้ถอนทหารทั้ง 2 ฝ่าย เพราะไทยยืนยันหลักฐานว่า มีกองกำลังกัมพูชาอยู่ในพื้นที่ และเป็นชนวนของการปะทะ ซึ่งศาลโลกก็ตัดสินในสิ่งที่กัมพูชาก็ตกใจ เพราะที่ผ่านมาดูเหมือนฝ่ายกัมพูชา จะได้ใจ เนื่องจากมีหลายสิ่งที่รัฐบาลไทยหละหลวม ทำให้กัมพูชารุกคืบได้ตลอด โดยเฉพาะเรื่องธงชาติที่ปักอยู่ในเขตไทยชัดเจน รวมไปถึงถนนที่มีการตัดเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งฝ่ายความมั่นคงกลับไม่ยอมทำอะไร ทุกวันนี้ปล่อยให้ทหารกัมพูชาขึ้นไปยังเขาพระวิหารและพื้นที่ 4.6 ตร.กม.อย่างเสรี ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของกองทัพบก ที่บางครั้ง กองทัพไม่พยายามชี้แจงเรื่องอธิปไตยของชาติ
วานนี้ ( 26 ส.ค.) ที่โรงแรมรอยัล ริเวอร์ ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง"มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา" ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วุฒิสภา 7 คณะ อาทิ กมธ.ต่างประเทศ กมธ.การปกครอง และกมธ.การทหาร เป็นต้น โดยพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคทางทะเลฝ่ายไทย กล่าวตอนหนึ่งว่า ประเด็นเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอ่าวไทย-กัมพูชา ที่รัฐบาลสองฝ่ายไม่สามารถตกลงเรื่องเขตแดนได้ พบว่ามีมากถึง 2.6 หมื่นตร.กม. และมีแหล่งพลังงานอยู่มหาศาล เบื้องต้นเชื่อว่าแหล่งพลังงาน จะอยู่ในฝั่งไทยมากกกว่าฝั่งกัมพูชา เนื่องจากลักษณะสัณฐานของภูมิประเทศที่มีส่วนเว้า ซึ่งขณะนี้ยอมรับว่าในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้มีการให้สัมปทานบริษัทเอกชน ที่จะเข้ามาขุดเจาะหาพลังงานกันแล้ว โดยรัฐบาลไทยได้ให้สัมปทานไปแล้วตั้งแต่ปี 2511 กับหลายบริษัท เช่น บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และบริษัทปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นต้น เช่นเดียวกับรัฐบาลกัมพูชา ที่ให้สัมปทานกับบริษัทเอกชน ตั้งปี 2540
"ในพื้นที่สัมปทานในพื้นที่กัมพูชายังมีปัญหาคือหากขุดก๊าซแล้วจะไปไหนต่อ เพราะทางประเทศกัมพูชาไม่มีท่อก๊าซ และไม่มีโรงแยกก๊าซ ที่ผ่านมารัฐบาลกัมพูชาคิดว่าจะขายให้กับฝั่งไทย แต่ก็มีปัญหาด้านการเมืองก่อน แต่คิดว่าปัญหานี้น่าจะเจรจากันได้เร็วๆ นี้ ส่วนผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อน ที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะเป็นประเด็นผลโยชน์ของบุคคล ผมไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น เพราะมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่หลายหน่วยงาน เรื่องการเจรจานี้ยังมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่ ดังนั้นไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล คณะทำงานชุดนี้ยังทำงานอยู่ ควรปล่อยให้คณะนี้ทำงานต่อไป อย่าได้ล้วงลูกและเรื่องซุกผลประโยชน์ ผมว่าไม่มีทาง เพราะตั้งแต่โบราณกระบวนการเจรจาได้ถูกเซทไว้อย่างเป็นระบบแล้ว" พล.ร.อ.ถนอม กล่าว
ทั้งนี้ พล.ร.อ.ถนอม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการบรรยาย ว่า การตั้งข้อสังเกตของหลายฝ่ายที่กังวลในประเด็นแหล่งพลังงานทางอ่าวไทย ที่ผ่านมาทั้ง 2 ประเทศประกาศว่า เป็นพื้นที่ของตนเองฝ่ายเดียว ซึ่งไม่มีผลรับรองทางกฎหมาย เพราะตามกฎบัตรสหประชาชาติ ระบุว่า ในพื้นที่ทับซ้อนต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศให้ได้ข้อยุติก่อน
ขณะนี้ตนเห็นว่าแนวทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ต้องมีการเจรจากัน และมีขั้นตอนอีกมาก ดังนั้นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนด้านพลังงาน จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เพราะการเจรจาเรื่องผลประโยชน์ดังกล่าว ต้องมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุทกศาสตร์ กระทรวงการต่างประเทศ กรมแผนที่ทางทหาร กรมสนธิสัญญา กรมเชื้อเพลิง เป็นต้น และที่สำคัญต้องผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา ตามกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
พล.ร.อ.ถนอม กล่าวอีกว่า สำหรับข้อกังวลเรื่องกรณีที่ศาลโลกกำลังวินิจฉัยเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ยืนยันว่า การพิจารณาของศาลโลกจะพิจารณาเฉพาะการปักปันทางบก ถึงหลักเขตที่ 73 ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องถึงเขตแดนทางทะเล และไม่ได้ผ่ากลางเกาะกูด อย่างที่หลายฝ่ายซึ่งไม่มีความเข้าใจออกมาวิจารณ์ เพราะในอดีตมีหลักฐานที่ฝ่ายกัมพูชา ยอมรับว่าเกาะกูดเป็นของไทยหลายอย่างอีกด้วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีมติให้ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อไป พล.ร.อ.ถนอม กล่าวว่า มติครม. ดังกล่าวยังไม่ได้มีการยกเลิก เป็นเพียงการเห็นชอบในหลักการเท่านั้น และส่งเรื่องต่อให้กระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งขณะนี้เรื่องยังคงค้างอยู่
ดังนั้นเป็นหน้าที่ที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องพิจารณาต่อไป ความเห็นส่วนตัวมองว่า หากมีการยกเลิกเอ็มโอยู 44 นั้นเท่ากับเป็นการล้มการเจรจาที่ผ่านมาตั้งปี 2513 ซึ่งหากเป็นไปตามนั้น ไม่รู้กี่ปีจะได้ใช้พลังงานในพื้นที่ดังกล่าว
ด้าน นางอานิก อัมระนันท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ซึ่งได้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายด้วย เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า สาเหตุที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้ยกเลิกเอ็มโอยู 44 อย่างเด็ดขาด โดยการนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภานั้น เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งกรณีที่ครม.ชุดที่แล้ว ให้ความเห็นชอบในหลักการ เพื่อยกเลิกนั้น เป็นเพียงการแสดงจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยกับเส้นเขตแดนทางทะเลที่กัมพูชาได้เขียนขึ้น
ส่วนสาเหตุที่มาเรียกร้องในรัฐบาลชุดใหม่ เป็นเพราะต้องแสดงจุดยืนว่า เราคัดค้านและในเอ็มโอยู 44 ยังไม่มีการตกลงเรื่องการจัดสรรพลังงานที่แน่ชัด เกรงว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่งได้
ทั้งนี้ ในช่วงการอภิปรายหัวข้อ “จากศาลโลกถึงมรดกโลกปราสาทพระวิหารกับปัญหาพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา” นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการอาวุโสฝ่ายความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ตั้งข้อสังเกตว่า กระบวนการของคณะกรรมการมรดกโลก และศาลโลก มีลักษณะรับลูกกัน เพราะโดยหลักแล้ว ศาลไม่มีหน้าที่พิจารณาเกินคำร้องของฝ่ายกัมพูชา โดยเฉพาะกรณีที่คณะกรรมการมรดกโลกเสนอให้มีการบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร แล้วมาปรากฏ ในคำวินิจฉัยของศาลโลก จึงเห็นว่าที่ผ่านมากัมพูชาได้ล็อบบี้ประเทศต่างๆไว้หมดแล้ว ทำให้ประเทศไทยตกในฐานะผู้เสียเปรียบ
ดังนั้นตนจึงเห็นด้วยที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ตัดสินใจวอล์กเอาต์ จากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก เพราะมิเช่นนั้นฝ่ายไทยต้องยอมรับการเข้ามาบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ร่วมกับชาติต่างๆ
ส่วนการที่ศาลโลกให้ถอนทหารทั้ง 2 ฝ่าย เพราะไทยยืนยันหลักฐานว่า มีกองกำลังกัมพูชาอยู่ในพื้นที่ และเป็นชนวนของการปะทะ ซึ่งศาลโลกก็ตัดสินในสิ่งที่กัมพูชาก็ตกใจ เพราะที่ผ่านมาดูเหมือนฝ่ายกัมพูชา จะได้ใจ เนื่องจากมีหลายสิ่งที่รัฐบาลไทยหละหลวม ทำให้กัมพูชารุกคืบได้ตลอด โดยเฉพาะเรื่องธงชาติที่ปักอยู่ในเขตไทยชัดเจน รวมไปถึงถนนที่มีการตัดเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งฝ่ายความมั่นคงกลับไม่ยอมทำอะไร ทุกวันนี้ปล่อยให้ทหารกัมพูชาขึ้นไปยังเขาพระวิหารและพื้นที่ 4.6 ตร.กม.อย่างเสรี ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของกองทัพบก ที่บางครั้ง กองทัพไม่พยายามชี้แจงเรื่องอธิปไตยของชาติ