เรื่องที่เขียนในวันนี้ผมเชื่อว่า ท่านผู้อ่านส่วนใหญ่คงไม่ทราบ เพราะเป็นข่าวธุรกิจเล็กๆ ขอเริ่มที่ข่าวดีสองข่าวก่อนแล้วค่อยตามด้วยข่าวร้ายหนึ่งข่าว ผมว่าน่าสนใจนะครับ
ข่าวแรกจากเอเอสทีวีผู้จัดการพาดหัวว่า “จุดพลุแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ในอีสาน ยันศักยภาพสูง-เหนือกว่าซาอุฯ” (10 มกราคม 54 อ่านแล้วรู้สึกตื่นเต้น) เนื้อข่าวเป็นการเปิดเผยของนายทรงภพ พลจันทร์ รักษาการอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ว่า
“รัฐเตรียมเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 เน้นพื้นที่ภาคอีสาน แย้มมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสูงคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณในอ่าวไทย ยันศักยภาพรองรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือผลิตก๊าซเอ็นจีวีป้อนได้ทั้งอีสาน คาดใหญ่กว่าซาอุฯ โดยระบุว่าขณะนี้ไทยมีความพร้อมในการเปิดสัมปทานสำรวจ และขุดเจาะปิโตรเลียมรอบใหม่โดยรอเพียงการตัดสินใจของรัฐบาลว่า จะตัดสินใจดำเนินการช่วงไหน ปัจจุบันแปลงปิโตรเลียมที่มีศักยภาพเหลืออยู่ทั่วประเทศมีประมาณ 30 แปลง โดยจะเปิดให้ผู้สนใจยื่นประมูลคราวละ 5 แปลง ซึ่งต่างจากครั้งที่ผ่านมาเปิดให้ขอสัมปทานทั้งปีในทั่วประเทศ และพบปัญหาหลายด้าน เช่น การถอนตัวเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกต่ำลง สำหรับพื้นที่ที่มีศักภาพเปิดสัมปทานในรอบที่ 21 คือ พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแหล่งปิโตรเลียมที่มีศักยภาพสูงกว่าแหล่งสัมปทานในอ่าวไทย หรือในภาคกลาง ที่เปิดสัมปทานไปจนเต็มพื้นที่เกือบหมดแล้ว ซึ่งการให้ความสำคัญกับการสำรวจปิโตรเลียมในภาคอีสานมาก เพราะการเปิดสัมปทานในรอบที่ 19 และ 20 เมื่อปี 2548 บริษัทที่ขอสัปทานสำรวจพบก๊าซในภาคอีสานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากพบก๊าซในปริมาณที่มากพอจะสามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เพิ่มเติม หรือนำมาผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (เอ็นจีวี) ขายให้ประชาชนในแถบอีสานได้”
รองอธิบดีฯ สรุปว่า “ผมบอกได้คำเดียวว่า ถ้าเราเจอก๊าซในทุกโครงสร้างของภาคอีสาน ผมว่าไทยจะใหญ่กว่าประเทศซาอุดีอาระเบียเสียอีก แต่ที่ผ่านมาโอกาสเจอก๊าซในภาคอีสานอยู่ที่ 20% เมื่อเทียบกับอ่าวไทยเจอในระดับ 50-60% และบางโครงสร้างที่ขุดเจาะสำรวจต้องใช้เวลากว่า 20 ปีถึงจะเจอหลุมก๊าซฯ”
อ้าว! มีโอกาสเพียง 20% เอง อย่างไรก็ตามผมถือว่ายังไม่ใช่ข่าวร้ายนะ ไปที่ข่าวดีชิ้นที่สองจากมติชนออนไลน์ (8 สิงหาคม 54) ครับ
ผู้ให้ข่าวยังคงเป็นท่านเดิมเป็นเรื่องต่อเนื่องว่า “คาดว่าจะเปิดประมูลในไตรมาสแรกของปี 2555 การประมูลดังกล่าวจะแก้ไขระเบียบการประมูล เพื่อความยุติธรรมและโปร่งใสมากยิ่งขึ้น เช่น การทยอยเปิดสัมปทานครั้งละ 5 แปลง การกำหนดให้มีการวางเงินประกันการลงทุน เพื่อป้องกันการทิ้งสัมปทาน ภายหลังได้รับการคัดเลือกแล้ว”
ข่าวชิ้นนี้ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “การลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย จากอดีตจนถึงปี 2553 มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท เป็นเงินลงทุนด้านการสำรวจปิโตรเลียมประมาณ 1.591 แสนล้านบาท ด้านการพัฒนาแหล่ง 7.573 แสนล้านบาท ด้านการผลิตและขายประมาณ 2.79 แสนล้านบาท และเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานประมาณ 1.09 แสนล้านบาท ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปี 2553 การลงทุนสำรวจ
ปิโตรเลียม มีมูลค่าเฉลี่ยกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี โดยในปี 2553 มีมูลค่าสูงถึง 1.45 แสนล้านบาท มีการเจาะหลุมสำรวจ 500-600 หลุมต่อปี”
โดยปกติคนเรามักจะสนใจเฉพาะข่าวใหญ่ๆ ที่อยู่ในกระแส เมื่ออ่านเนื้อข่าวแล้วหากไม่ได้ติดตามเรื่องนั้นๆ มาดีพอก็จะหาประเด็นโต้แย้งหรือข้อสงสัยได้ยาก ตัวอย่างจากสองข่าวนี้หากคิดผิวเผินก็น่าจะถือว่าเป็นข่าวดีทั้งนั้น
แต่ถ้ามีข้อมูล เราก็จะสงสัยว่า ไหนๆ มีการแก้ไขระเบียบการประมูลแล้ว ทำไมไม่แก้ไขประเด็นอัตราค่าภาคหลวงด้วย เพราะเราเก็บในอัตราที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก รายงานเรื่อง ธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ ภาคที่สอง” โดยคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภาได้เคยตั้งข้อสังเกตว่า
“ระหว่างปี 2546-2551 ประเทศทั่วโลกตื่นตัวต่อการปรับปรุงส่วนแบ่งรายได้จากปิโตรเลียมให้สูงขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชน เนื่องจากเป็นช่วงที่ราคาปิโตรเลียมมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ตัวอย่างรัฐและประเทศที่มีการปรับส่วนแบ่งรายได้จากปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น ได้แก่ มาเลเซีย คาซัคสถาน เวเนซุเอลา โบลิเวีย อินเดีย รัฐเซีย อังกฤษ แองโกล่า อัลจีเรีย ลิเบีย ทรินิแดดแอนโทบาโค่ รัฐอลาสกาของสหรัฐอเมริกา และรัฐอัลเบอร์ท่าของแคนาดา
ส่วนประเทศไทยนอกจากไม่ได้ปรับวิธีการให้สัมปทานที่มีส่วนแบ่งกำไร หรือปรับส่วนแบ่งรายได้อย่างประเทศอื่นแล้ว ในปี 2550 ยังมีการแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียมหลายครั้งในการเพิ่มอำนาจให้กับรัฐมนตรีและอธิบดี ทั้งการให้สัมปทานและแก้ไขสัมปทานอย่างเบ็ดเสร็จโดยยกเลิกข้อจำกัดทั้งจำนวนแปลงสัมปทานจาก 4-5 แปลง เป็นไม่จำกัดแปลงและไม่จำกัดพื้นที่ และยังแก้ไขให้รัฐมนตรีสามารถพิจารณาลดหย่อนค่าภาคหลวงจากเดิมไม่เกินร้อยละ 30 เป็นไม่เกินร้อยละ 90 ทั้งที่ค่าภาคหลวงที่รัฐได้อยู่ในอัตราต่ำที่สุดอยู่แล้วคือร้อยละ 5-15”
นี่เป็นข่าวร้ายใช่ไหม? แต่ยังมีร้ายกว่านี้อีกครับ คือบริษัทที่ได้รับสัมปทานขุดเจาะไปตั้งบริษัทลูกมารับซื้อก๊าซที่ปากหลุมด้วยราคาต่ำกว่าตลาดโลกถึง 40 - 67% ทั้งนี้เพื่อให้จำนวนเงินค่าภาคหลวงที่ประชาชนไทยได้รับต่ำลงไปอีก ดังตารางเปรียบเทียบข้างล่างนี้
ส่งผลให้ บมจ.ปตท.มีกำไรหลังหักภาษีแล้ว 9 เดือนแรกของปี 53 ถึงกว่า 7.4 หมื่นล้านบาท นี่ยังไม่นับกำไรส่วนที่เป็นบริษัทลูกที่มีต่างชาติถือหุ้นอีกประมาณ 40 ถึง 48% เช่น Suez International Energy และ Chevron
ข้อสงสัยอีกข้อหนึ่งคือ นับถึงปี 2553 มีการลงทุนรวมทั้งหมด 1.3 ล้านล้านบาท แล้วเขาได้ปิโตรเลียมไปคิดเป็นมูลค่าเท่าใด คำตอบนับถึงปี 2550 (ย้ำถึง 2550) มูลค่าปิโตรเลียมทั้งสิ้น 1.9 ล้านล้านบาท บริษัทกำไรอื้อเลย นี่เป็นแค่มูลค่าที่ถูกกดให้ต่ำกว่าตลาดโลกตามที่วุฒิสภาตั้งข้อสังเกตแล้วนะ
ผมเขียนเรื่องนี้สองครั้งแล้ว แต่สังคมส่วนใหญ่ยังไม่สนใจ หรือว่านี่คือข่าวร้ายชิ้นที่สองครับ
ข่าวแรกจากเอเอสทีวีผู้จัดการพาดหัวว่า “จุดพลุแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ในอีสาน ยันศักยภาพสูง-เหนือกว่าซาอุฯ” (10 มกราคม 54 อ่านแล้วรู้สึกตื่นเต้น) เนื้อข่าวเป็นการเปิดเผยของนายทรงภพ พลจันทร์ รักษาการอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ว่า
“รัฐเตรียมเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 เน้นพื้นที่ภาคอีสาน แย้มมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสูงคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณในอ่าวไทย ยันศักยภาพรองรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือผลิตก๊าซเอ็นจีวีป้อนได้ทั้งอีสาน คาดใหญ่กว่าซาอุฯ โดยระบุว่าขณะนี้ไทยมีความพร้อมในการเปิดสัมปทานสำรวจ และขุดเจาะปิโตรเลียมรอบใหม่โดยรอเพียงการตัดสินใจของรัฐบาลว่า จะตัดสินใจดำเนินการช่วงไหน ปัจจุบันแปลงปิโตรเลียมที่มีศักยภาพเหลืออยู่ทั่วประเทศมีประมาณ 30 แปลง โดยจะเปิดให้ผู้สนใจยื่นประมูลคราวละ 5 แปลง ซึ่งต่างจากครั้งที่ผ่านมาเปิดให้ขอสัมปทานทั้งปีในทั่วประเทศ และพบปัญหาหลายด้าน เช่น การถอนตัวเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกต่ำลง สำหรับพื้นที่ที่มีศักภาพเปิดสัมปทานในรอบที่ 21 คือ พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแหล่งปิโตรเลียมที่มีศักยภาพสูงกว่าแหล่งสัมปทานในอ่าวไทย หรือในภาคกลาง ที่เปิดสัมปทานไปจนเต็มพื้นที่เกือบหมดแล้ว ซึ่งการให้ความสำคัญกับการสำรวจปิโตรเลียมในภาคอีสานมาก เพราะการเปิดสัมปทานในรอบที่ 19 และ 20 เมื่อปี 2548 บริษัทที่ขอสัปทานสำรวจพบก๊าซในภาคอีสานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากพบก๊าซในปริมาณที่มากพอจะสามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เพิ่มเติม หรือนำมาผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (เอ็นจีวี) ขายให้ประชาชนในแถบอีสานได้”
รองอธิบดีฯ สรุปว่า “ผมบอกได้คำเดียวว่า ถ้าเราเจอก๊าซในทุกโครงสร้างของภาคอีสาน ผมว่าไทยจะใหญ่กว่าประเทศซาอุดีอาระเบียเสียอีก แต่ที่ผ่านมาโอกาสเจอก๊าซในภาคอีสานอยู่ที่ 20% เมื่อเทียบกับอ่าวไทยเจอในระดับ 50-60% และบางโครงสร้างที่ขุดเจาะสำรวจต้องใช้เวลากว่า 20 ปีถึงจะเจอหลุมก๊าซฯ”
อ้าว! มีโอกาสเพียง 20% เอง อย่างไรก็ตามผมถือว่ายังไม่ใช่ข่าวร้ายนะ ไปที่ข่าวดีชิ้นที่สองจากมติชนออนไลน์ (8 สิงหาคม 54) ครับ
ผู้ให้ข่าวยังคงเป็นท่านเดิมเป็นเรื่องต่อเนื่องว่า “คาดว่าจะเปิดประมูลในไตรมาสแรกของปี 2555 การประมูลดังกล่าวจะแก้ไขระเบียบการประมูล เพื่อความยุติธรรมและโปร่งใสมากยิ่งขึ้น เช่น การทยอยเปิดสัมปทานครั้งละ 5 แปลง การกำหนดให้มีการวางเงินประกันการลงทุน เพื่อป้องกันการทิ้งสัมปทาน ภายหลังได้รับการคัดเลือกแล้ว”
ข่าวชิ้นนี้ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “การลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย จากอดีตจนถึงปี 2553 มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท เป็นเงินลงทุนด้านการสำรวจปิโตรเลียมประมาณ 1.591 แสนล้านบาท ด้านการพัฒนาแหล่ง 7.573 แสนล้านบาท ด้านการผลิตและขายประมาณ 2.79 แสนล้านบาท และเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานประมาณ 1.09 แสนล้านบาท ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปี 2553 การลงทุนสำรวจ
ปิโตรเลียม มีมูลค่าเฉลี่ยกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี โดยในปี 2553 มีมูลค่าสูงถึง 1.45 แสนล้านบาท มีการเจาะหลุมสำรวจ 500-600 หลุมต่อปี”
โดยปกติคนเรามักจะสนใจเฉพาะข่าวใหญ่ๆ ที่อยู่ในกระแส เมื่ออ่านเนื้อข่าวแล้วหากไม่ได้ติดตามเรื่องนั้นๆ มาดีพอก็จะหาประเด็นโต้แย้งหรือข้อสงสัยได้ยาก ตัวอย่างจากสองข่าวนี้หากคิดผิวเผินก็น่าจะถือว่าเป็นข่าวดีทั้งนั้น
แต่ถ้ามีข้อมูล เราก็จะสงสัยว่า ไหนๆ มีการแก้ไขระเบียบการประมูลแล้ว ทำไมไม่แก้ไขประเด็นอัตราค่าภาคหลวงด้วย เพราะเราเก็บในอัตราที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก รายงานเรื่อง ธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ ภาคที่สอง” โดยคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภาได้เคยตั้งข้อสังเกตว่า
“ระหว่างปี 2546-2551 ประเทศทั่วโลกตื่นตัวต่อการปรับปรุงส่วนแบ่งรายได้จากปิโตรเลียมให้สูงขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชน เนื่องจากเป็นช่วงที่ราคาปิโตรเลียมมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ตัวอย่างรัฐและประเทศที่มีการปรับส่วนแบ่งรายได้จากปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น ได้แก่ มาเลเซีย คาซัคสถาน เวเนซุเอลา โบลิเวีย อินเดีย รัฐเซีย อังกฤษ แองโกล่า อัลจีเรีย ลิเบีย ทรินิแดดแอนโทบาโค่ รัฐอลาสกาของสหรัฐอเมริกา และรัฐอัลเบอร์ท่าของแคนาดา
ส่วนประเทศไทยนอกจากไม่ได้ปรับวิธีการให้สัมปทานที่มีส่วนแบ่งกำไร หรือปรับส่วนแบ่งรายได้อย่างประเทศอื่นแล้ว ในปี 2550 ยังมีการแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียมหลายครั้งในการเพิ่มอำนาจให้กับรัฐมนตรีและอธิบดี ทั้งการให้สัมปทานและแก้ไขสัมปทานอย่างเบ็ดเสร็จโดยยกเลิกข้อจำกัดทั้งจำนวนแปลงสัมปทานจาก 4-5 แปลง เป็นไม่จำกัดแปลงและไม่จำกัดพื้นที่ และยังแก้ไขให้รัฐมนตรีสามารถพิจารณาลดหย่อนค่าภาคหลวงจากเดิมไม่เกินร้อยละ 30 เป็นไม่เกินร้อยละ 90 ทั้งที่ค่าภาคหลวงที่รัฐได้อยู่ในอัตราต่ำที่สุดอยู่แล้วคือร้อยละ 5-15”
นี่เป็นข่าวร้ายใช่ไหม? แต่ยังมีร้ายกว่านี้อีกครับ คือบริษัทที่ได้รับสัมปทานขุดเจาะไปตั้งบริษัทลูกมารับซื้อก๊าซที่ปากหลุมด้วยราคาต่ำกว่าตลาดโลกถึง 40 - 67% ทั้งนี้เพื่อให้จำนวนเงินค่าภาคหลวงที่ประชาชนไทยได้รับต่ำลงไปอีก ดังตารางเปรียบเทียบข้างล่างนี้
ส่งผลให้ บมจ.ปตท.มีกำไรหลังหักภาษีแล้ว 9 เดือนแรกของปี 53 ถึงกว่า 7.4 หมื่นล้านบาท นี่ยังไม่นับกำไรส่วนที่เป็นบริษัทลูกที่มีต่างชาติถือหุ้นอีกประมาณ 40 ถึง 48% เช่น Suez International Energy และ Chevron
ข้อสงสัยอีกข้อหนึ่งคือ นับถึงปี 2553 มีการลงทุนรวมทั้งหมด 1.3 ล้านล้านบาท แล้วเขาได้ปิโตรเลียมไปคิดเป็นมูลค่าเท่าใด คำตอบนับถึงปี 2550 (ย้ำถึง 2550) มูลค่าปิโตรเลียมทั้งสิ้น 1.9 ล้านล้านบาท บริษัทกำไรอื้อเลย นี่เป็นแค่มูลค่าที่ถูกกดให้ต่ำกว่าตลาดโลกตามที่วุฒิสภาตั้งข้อสังเกตแล้วนะ
ผมเขียนเรื่องนี้สองครั้งแล้ว แต่สังคมส่วนใหญ่ยังไม่สนใจ หรือว่านี่คือข่าวร้ายชิ้นที่สองครับ