วานนี้ (28 ธ.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงการคลังเตรียมจะโอนภาระหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 1.14 ล้านล้านบาท ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า จะเป็นสร้างบรรยากาศความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับ ธปท.และการทำให้เกิดภาพความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับธนาคารกลางเช่นนี้จะไม่เป็นผลดีกับประเทศ รวมทั้งการให้สัมภาษณ์จากบุคคลในรัฐบาลยังมีลักษณะพาดพิงกดดันไปยัง ธปท. ซึ่งตรงข้ามกับความเป็นจริง ทั้งนี้ตนอยากจะเตือนว่าท่าทีดังกล่าวจะส่งกระทบกับความเชื่อมั่นในสถานการณ์ ในช่วงที่มีความเปราะบางอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อเรื่องเหล่านี้ขยายวงออกไป นอกจากจะส่งผลกระทบในเนื่องภาพรวมวินัยแล้ว ยังกระทบขีดความสามารถในการบริหารของ ธปท.อาทิ ในเรื่องเงินเฟ้อ การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวน
“การที่ ธปท.ไม่สามารถชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีภาระในเรื่องดูแลไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนเกินไป และเมื่อย้อนกลับไปดูจะเห็นว่า เมื่อมีเหตุการณ์ความผันผวน หน่วยงานต่างๆก็มักให้ ธปท.เข้าไปจัดการ แต่เวลา ธปท.จัดการแล้วมีภาระ ก็ไปบ่นว่าทำไมไม่เอาเงินมาทำแบบอื่น อันนี้คือสิ่งที่เราอยากจะย้ำว่าเราควรจะแก้ไข” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ ยังได้กล่าวถึงแนวทางการป้องกันอุทกภัยของรัฐบาลด้วยว่า ยังไม่มีคำตอบให้ประชาชนมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาอุทกภัยเกิดขึ้นอีกในปีหน้า ทั้งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเคยบอกว่าจะมีคำตอบในสิ้นปีดังนั้นจึงเห็นชัดว่ารัฐบาลขาดความพร้อม และไม่มีโครงการที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้การตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ สุดท้ายก็กลับโยนภาระไปให้หน่วยงานปกติอยู่ดี จึงน่าเป็นห่วงว่าหากไม่มีความคืบหน้าในการจัดการภัยพิบัติแล้ว ประชาชนจะมั่นใจอย่างไร
**อัดอยู่แค่ 5 เดือนจ้องกู้เงินมหาศาล
ด้าน นายสรรเสริญ สมะลาภา ส.ส.กทม. ในฐานะ รมช.คลังเงา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรามีจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะผลักภาระค่าใช้จ่ายไปให้ ธปท. เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากและเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการในการร่างนโยบายของพรรคเพื่อไทย เพราะนโยบายที่ดีต้องปฏิบัติได้จริง แหล่งเงินที่นำมาใช้จ่ายต้องไม่ทำความเดือดร้อนให้ภาคเศรษฐกิจส่วนอื่น ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์กว่า 2 ปีเศษมีการกู้เงินประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท หลายครั้งเป็นการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ไม่ได้ใช้เงินกู้อย่างเต็มวงเงิน เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจไปได้แล้ว เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเราสามารถผลักจีดีพีให้โตได้ถึงร้อยละ 7.8 ในปี 2553 และเป็นประเทศที่เติบโตสูงที่สุดในภูมิภาค เมื่อมาเปรียบเทียบกับรัฐบาลชุดนี้อยู่แค่ 5 เดือนมีแผนจะกู้เงินถึง 1.1 ล้านล้านบาท เรากังวลว่าในเงินจำนวนนี้ 3.5 แสนล้านบาทจะเอาไปตั้งกองทุนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดว่าเนื้อหาในกองทุนจะเอาไปลงทุนด้านใด และยังมีอีกหลายเรื่องที่เราเชื่อว่ารัฐบาลจะต้องกู้เงินอีก
**เชื่อเกาเหลา “กิตติรัตน์-ธีระชัย” เป็นเหตุ
นายสรรเสริญ กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นตนไม่อยากพูดว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ กับนายธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ในเรื่องของการผลักภาระค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งให้ ธปท. เพราะรัฐบาลที่ดีต้องรับผิดชอบตัวเองได้ ไม่ใช่เอาเงินไปทำนโยบายตัวเองเป็นหลัก พอถึงช่วงวิกฤตจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ ก็ผลักภาระให้ ธปท.เป็นคนใช้แทน ซึ่งเรื่องนี้เราเห็นว่าเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง นอกเหนือจะรับผิดชอบตัวเองไม่ได้แล้ว ยังเป็นการล้วงเงินใน ธปท.เอาเงินไปทำส่วนอื่นที่ไม่จำเป็น พอถึงเวลาจำเป็นจริงๆ ก็ไปปล้นเงินจาก ธปท.มา หากรัฐบาลทำครั้งนี้สำเร็จเราก็เชื่อว่าปีหน้าหากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือมีภัยพิบัติอีก รัฐบาลก็จะทำแบบนี้อีก ซึ่งจะกระทบต่อวิกฤตความเชื่อมั่นใน ธปท.และนโยบายการเงิน
**ไม่ให้ราคาจะป้องกันน้ำท่วมได้
ขณะที่ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. ในฐานะโฆษก ครม.เงาพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาถึงมติครม.ที่ออกมาใน 4 เรื่องคือ เรื่องการช่วยเหลือน้ำท่วม ที่ ครม.ได้มีการนำความเห็นของคณะยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) โดยเราเห็นว่าไม่มีมติข้อใดของ ครม.ที่ออกตามความเห็นของ กยน. ซึ่งจะทำให้คนไทยมั่นใจว่าปัญหาน้ำท่วมจะไม่เกิดขึ้นอีกในปีหน้า เนื่องจากงบประมาณที่ใช้ฟื้นฟูและปรับปรุงประสิทธิภาพสิ่งก่อสร้างมีจำนวนน้อยมากคือ 1.7 หมื่ล้านบาทเท่านั้น และไม่ได้เป็นการทำงานที่จบในปีเดียว เพราะถูกแบ่งเป็น 2 ก้อนในปี 2555 จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท และปี 2556 จำนวน 4.5 พันล้านบาท เห็นชัดว่าที่บอกปีหน้าน้ำจะไม่ท่วมเป็นไปได้ยาก เพราะเฉพาะตัวโครงการที่มีงบน้อยแล้ว ยังเป็นโครงการที่คาบเกี่ยว 2 ปี
นายอรรถวิชช์ กล่าวว่า กยน.เองก็ตั้งใจจะตั้งกองทุน กยอ.ที่มีงบประมาณสูงถึง 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งกองทุนนี้ขอเตือนไปยังรัฐบาลว่า ถ้าจะออกโดยการใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ในการกู้ยืมเงินจำนวนนี้ ขอให้ระมัดระวังเพราะหลายโครงการไม่สามารถทำให้แล้วเสร็จภายในปีเดียว ดังนั้น ต้องคำนึงถึงการออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ด้วย เทียบเคียงจากสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ทำโครงการไทยเข้มแข็ง โดยเป็นการออกพ.ร.ก.เงินกู้ก่อนเพราะทำในปีแรก ส่วนงบอีกครึ่งหนึ่งจะทำเป็นพ.ร.บ. ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ไม่ได้ออก ดังนั้น ขอเตือนรัฐบาลระวังในการตั้งกองทุน กยอ.ว่าถ้าใช้วิธีการออก พ.ร.ก.ด้วยอำนาจของครม.โดยตรงทั้งหมดแล้ว สุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะหลายโครงการของรัฐบาลเป็นโครงการระยะยาว
**เย้ยมีตู้เย็นใบเดียวอดใช้ไฟฟรี
นายอรรถวิชช์ กล่าวด้วยว่า การที่รัฐบาลมีมติจะปรับค่าไฟฟรีเดิม 90 หน่วยแรกเป็นแค่ใช้ไฟฟรี 50 หน่วยแรกเริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค.2556 เชื่อว่าตนที่ได้รับประโยชน์จะมีน้อยมาก และบ้านไหนที่มีตู้เย็นจะไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ ซึ่งดูจากนโยบายแล้วหากเปิดไฟ 1 หลอดกับหม้อหุงข้าว 1 ใบก็คงจะได้ประโยชน์จากไฟฟรี 50 หน่วยแรกเท่านั้น
“การที่ ธปท.ไม่สามารถชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีภาระในเรื่องดูแลไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนเกินไป และเมื่อย้อนกลับไปดูจะเห็นว่า เมื่อมีเหตุการณ์ความผันผวน หน่วยงานต่างๆก็มักให้ ธปท.เข้าไปจัดการ แต่เวลา ธปท.จัดการแล้วมีภาระ ก็ไปบ่นว่าทำไมไม่เอาเงินมาทำแบบอื่น อันนี้คือสิ่งที่เราอยากจะย้ำว่าเราควรจะแก้ไข” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ ยังได้กล่าวถึงแนวทางการป้องกันอุทกภัยของรัฐบาลด้วยว่า ยังไม่มีคำตอบให้ประชาชนมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาอุทกภัยเกิดขึ้นอีกในปีหน้า ทั้งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเคยบอกว่าจะมีคำตอบในสิ้นปีดังนั้นจึงเห็นชัดว่ารัฐบาลขาดความพร้อม และไม่มีโครงการที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้การตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ สุดท้ายก็กลับโยนภาระไปให้หน่วยงานปกติอยู่ดี จึงน่าเป็นห่วงว่าหากไม่มีความคืบหน้าในการจัดการภัยพิบัติแล้ว ประชาชนจะมั่นใจอย่างไร
**อัดอยู่แค่ 5 เดือนจ้องกู้เงินมหาศาล
ด้าน นายสรรเสริญ สมะลาภา ส.ส.กทม. ในฐานะ รมช.คลังเงา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรามีจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะผลักภาระค่าใช้จ่ายไปให้ ธปท. เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากและเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการในการร่างนโยบายของพรรคเพื่อไทย เพราะนโยบายที่ดีต้องปฏิบัติได้จริง แหล่งเงินที่นำมาใช้จ่ายต้องไม่ทำความเดือดร้อนให้ภาคเศรษฐกิจส่วนอื่น ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์กว่า 2 ปีเศษมีการกู้เงินประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท หลายครั้งเป็นการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ไม่ได้ใช้เงินกู้อย่างเต็มวงเงิน เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจไปได้แล้ว เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเราสามารถผลักจีดีพีให้โตได้ถึงร้อยละ 7.8 ในปี 2553 และเป็นประเทศที่เติบโตสูงที่สุดในภูมิภาค เมื่อมาเปรียบเทียบกับรัฐบาลชุดนี้อยู่แค่ 5 เดือนมีแผนจะกู้เงินถึง 1.1 ล้านล้านบาท เรากังวลว่าในเงินจำนวนนี้ 3.5 แสนล้านบาทจะเอาไปตั้งกองทุนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดว่าเนื้อหาในกองทุนจะเอาไปลงทุนด้านใด และยังมีอีกหลายเรื่องที่เราเชื่อว่ารัฐบาลจะต้องกู้เงินอีก
**เชื่อเกาเหลา “กิตติรัตน์-ธีระชัย” เป็นเหตุ
นายสรรเสริญ กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นตนไม่อยากพูดว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ กับนายธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ในเรื่องของการผลักภาระค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งให้ ธปท. เพราะรัฐบาลที่ดีต้องรับผิดชอบตัวเองได้ ไม่ใช่เอาเงินไปทำนโยบายตัวเองเป็นหลัก พอถึงช่วงวิกฤตจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ ก็ผลักภาระให้ ธปท.เป็นคนใช้แทน ซึ่งเรื่องนี้เราเห็นว่าเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง นอกเหนือจะรับผิดชอบตัวเองไม่ได้แล้ว ยังเป็นการล้วงเงินใน ธปท.เอาเงินไปทำส่วนอื่นที่ไม่จำเป็น พอถึงเวลาจำเป็นจริงๆ ก็ไปปล้นเงินจาก ธปท.มา หากรัฐบาลทำครั้งนี้สำเร็จเราก็เชื่อว่าปีหน้าหากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือมีภัยพิบัติอีก รัฐบาลก็จะทำแบบนี้อีก ซึ่งจะกระทบต่อวิกฤตความเชื่อมั่นใน ธปท.และนโยบายการเงิน
**ไม่ให้ราคาจะป้องกันน้ำท่วมได้
ขณะที่ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. ในฐานะโฆษก ครม.เงาพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาถึงมติครม.ที่ออกมาใน 4 เรื่องคือ เรื่องการช่วยเหลือน้ำท่วม ที่ ครม.ได้มีการนำความเห็นของคณะยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) โดยเราเห็นว่าไม่มีมติข้อใดของ ครม.ที่ออกตามความเห็นของ กยน. ซึ่งจะทำให้คนไทยมั่นใจว่าปัญหาน้ำท่วมจะไม่เกิดขึ้นอีกในปีหน้า เนื่องจากงบประมาณที่ใช้ฟื้นฟูและปรับปรุงประสิทธิภาพสิ่งก่อสร้างมีจำนวนน้อยมากคือ 1.7 หมื่ล้านบาทเท่านั้น และไม่ได้เป็นการทำงานที่จบในปีเดียว เพราะถูกแบ่งเป็น 2 ก้อนในปี 2555 จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท และปี 2556 จำนวน 4.5 พันล้านบาท เห็นชัดว่าที่บอกปีหน้าน้ำจะไม่ท่วมเป็นไปได้ยาก เพราะเฉพาะตัวโครงการที่มีงบน้อยแล้ว ยังเป็นโครงการที่คาบเกี่ยว 2 ปี
นายอรรถวิชช์ กล่าวว่า กยน.เองก็ตั้งใจจะตั้งกองทุน กยอ.ที่มีงบประมาณสูงถึง 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งกองทุนนี้ขอเตือนไปยังรัฐบาลว่า ถ้าจะออกโดยการใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ในการกู้ยืมเงินจำนวนนี้ ขอให้ระมัดระวังเพราะหลายโครงการไม่สามารถทำให้แล้วเสร็จภายในปีเดียว ดังนั้น ต้องคำนึงถึงการออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ด้วย เทียบเคียงจากสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ทำโครงการไทยเข้มแข็ง โดยเป็นการออกพ.ร.ก.เงินกู้ก่อนเพราะทำในปีแรก ส่วนงบอีกครึ่งหนึ่งจะทำเป็นพ.ร.บ. ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ไม่ได้ออก ดังนั้น ขอเตือนรัฐบาลระวังในการตั้งกองทุน กยอ.ว่าถ้าใช้วิธีการออก พ.ร.ก.ด้วยอำนาจของครม.โดยตรงทั้งหมดแล้ว สุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะหลายโครงการของรัฐบาลเป็นโครงการระยะยาว
**เย้ยมีตู้เย็นใบเดียวอดใช้ไฟฟรี
นายอรรถวิชช์ กล่าวด้วยว่า การที่รัฐบาลมีมติจะปรับค่าไฟฟรีเดิม 90 หน่วยแรกเป็นแค่ใช้ไฟฟรี 50 หน่วยแรกเริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค.2556 เชื่อว่าตนที่ได้รับประโยชน์จะมีน้อยมาก และบ้านไหนที่มีตู้เย็นจะไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ ซึ่งดูจากนโยบายแล้วหากเปิดไฟ 1 หลอดกับหม้อหุงข้าว 1 ใบก็คงจะได้ประโยชน์จากไฟฟรี 50 หน่วยแรกเท่านั้น