“คีย์โน้ต” หรือ “เสียงหลัก” การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจีนในปี ค.ศ.2012 ตามการกำหนดของ “ศูนย์กลางพรรค” ที่ปรากฏออกในรายงานการประชุมงานเศรษฐกิจประจำปี ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคมที่ผ่านมา ก็คือ “คืบหน้าอย่างมั่นคง” (อุ่นจงฉิวจิ้น) บนฐานของการสร้างความมั่นคง ทุกฝ่ายจะต้อง “หาทาง” ขยับขยายงานเศรษฐกิจของตน ให้พัฒนาเติบใหญ่ต่อไป
ในทางปฏิบัติ หน่วยงานทุกระดับในทุกกระทรวงทบวงกรม จะจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง โดยการ “จูน” แผนงาน และระดมสรรพกำลังที่มีอยู่ของตน ให้เข้ากันกับ “เสียงหลัก” นี้
อย่างเช่นกระทรวงรถไฟ ที่ได้สร้างปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่ในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง จนก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำโลก แต่ก็เต็มไปด้วยความหวือหวาและหวาดเสียว จนเกิดช่องโหว่ทางด้านการบริหารจัดการ มีการรั่วไหล ทำแผนใหญ่เกินไป ก่อหนี้เกินจำเป็น จนเกิดความเสี่ยง และนำไปสู่ความบกพร่องทางเทคนิค กระทบต่อมาตรฐานของรถไฟ และนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยในการเดินทางในที่สุด ซึ่งไม่สอดคล้องอย่างยิ่งกับปรัชญาการพัฒนาประเทศ “อย่างเป็นวิทยาศาสตร์” ที่ถือเอา “คน”เป็นฐาน
ภายหลังจากการเปลี่ยนตัวผู้บริหารสูงสุดแล้ว กระทรวงรถไฟได้ใช้มาตรการเฉียบขาด ลดระดับความร้อนแรงลงมาเป็นลำดับ เช่น ลดความเร็ว ลดจำนวนขบวนรถที่ให้บริการ และลดค่าโดยสาร เป็นต้น ดำเนินการอุดช่องโหว่ทางด้านบริหารจัดการ ปรับปรุงสมรรถภาพการทำงานของระบบต่างๆ จนถึงปลายปีนี้ ก็เข้าสู่สภาวะที่สามารถให้บริการในระดับมาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงปรับผังการเดินรถ ความเร็วรถ และจำนวนขบวนรถใหม่ ให้ตั้งอยู่บนมาตรฐานความก้าวหน้าที่มีพร้อมแล้ว
สรุปคือ งานของกระทรวงรถไฟได้เคลื่อนเข้าสู่สภาวะของความ “อุ่น” มีเสถียรภาพ และบนความมีเสถียรภาพนี้ กระทรวงรถไฟก็สามารถ “หาทาง” ขยายงานต่อไป ทั้งการระดมทุนและการก่อสร้าง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (รวมทั้งการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทยด้วย)
ในกรณีตรงกันข้าม บางหน่วยงาน งานกลับนิ่ง เพราะเน้นแต่ความ “อุ่น” มากเกินไป ก็จำเป็นจะต้องปรับแนวคิด แผนงานกันใหม่ “หาทาง” ให้งานเดินหน้า ซึ่งทั้งหมดนั้น ยังต้องเป็นไปตามนโยบายหลักของรัฐบาลที่เน้นการ “ขยายอุปสงค์ในประเทศ” (คั่วต้าเน่ยซวี) ที่ได้ทุ่มเงินถึง 4 ล้านล้านหยวน กระตุ้นอุปสงค์หรือความต้องการภายในประเทศ โดยเน้นไปยังการเพิ่มความต้องการบริโภคของประชาชน เพื่อยันกับผลกระทบของวิกฤตการเงินสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 จนสามารถรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนให้อยู่ในระดับสูง ไปพร้อมๆ กับยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้อยู่ดีกินดียิ่งขึ้นไปอีก
อีกนัยหนึ่ง การปรับกำลังทางเศรษฐกิจการผลิต การบริการของจีน ในหลายๆ ปีที่ผ่านมา กำลังเป็นไปตามนโยบายหลักของรัฐบาลจีน ขยายอุปสงค์ภายในประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนมากขึ้น กระตุ้นให้ประชาชนบริโภคมากขึ้น
ดังนั้น “อุ่นจงอิ่วจิ้น” (เสียงหลักของปี ค.ศ. 2012) ถึงยังไงก็ต้องประสานสอดกับนโยบายใหญ่ “คั่วต้าเน่ยซวี” อยู่ตลอดเวลา
พอถึงตรงนี้ เราก็พอจะถึง “บางอ้อ” ได้แล้วว่า ถึงที่สุดแล้ว “อุ่นจงฉิวจิ้น” ก็เพื่อทำให้นโยบาย “คั่วต้าเน่ยซวี” ปรากฏเป็นจริง สะท้อนถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดยุทธศาสตร์ของคณะผู้นำหรือ “ศูนย์กลางพรรค” ในการบริหารประเทศ มุ่งดำเนินการพัฒนาประเทศ ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่อง อย่างมั่นคงทรงเสถียรภาพ ประชาชนอยู่ดีกินดียิ่งขึ้น
ดูแล้ว หากสหรัฐฯ และอียูยังคงจมปลักอยู่กับวิกฤต (ที่ตัวเองก่อขึ้น) เศรษฐกิจยังย่ำแย่อยู่เช่นนี้ อีกไม่กี่ปี เศรษฐกิจจีนก็จะโตแซงหน้าไปอีกหลายขุม ประชาชนชาวจีนก็จะยิ่งอยู่ดีกินดี มีความหวัง เกิดความเชื่อมั่นในวิถีชีวิตของตน เกิดความศรัทธาต่อพรรคและรัฐบาล ตลอดจนการปกครองในระบอบสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน
บรรลุเป้าหมายตามอุดมการณ์ของพวกเขา ที่ว่า เมื่อเศรษฐกิจดีแล้ว รัฐบาลมีเงินเยอะ ประชาชนมีงานทำ การกินการอยู่ และอะไรต่อมิอะไร ที่ดีๆ ก็จะตามมา ค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่ๆ ที่สะท้อนความล้ำเลิศของระบอบสังคมนิยม (เหนือกว่าทุนนิยม) ในความเป็นมนุษย์จึงจะปรากฏขึ้นได้จริง
เฉพาะหน้านี้ สิ่งที่พวกเขาจะต้องแก้ไขก็คือ ความแตกต่างของรายได้ระหว่างคนรวยกับคนไม่รวย ซึ่งเป็นที่มาสำคัญของความไม่เป็นธรรมทางสังคมในประเทศจีน ดังนั้น ในการประชุมงานทางเศรษฐกิจครั้งนี้ คณะผู้นำพรรคจีน จึงระบุชัดเจนว่าต้อง “เพิ่มสัดส่วนรายได้ของชนชั้นกลาง”
เรื่องนี้ เป็นประเด็นที่นักวิชาการทางด้านเศรษฐกิจสังคมของประเทศจีนให้ความสำคัญมาก และตีความไปในทำนองเดียวกันว่า พรรคและรัฐบาลจีน มุ่งขยายฐานของ “คนชั้นกลาง” ให้ใหญ่ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมจีน
ในทัศนะของผู้เขียน การเพิ่มสัดส่วนรายได้ของประชาชน ก็เพื่อสร้างความมั่งคั่งในหมู่ประชาชนจำนวนหลายร้อยล้านคน ให้เกิดดุลยภาพหรือเท่าเทียมกับความมั่งคั่งของบรรดาเศรษฐีจีนที่รวยอื้อซ่ามาก่อนคนอื่น ตามการพัฒนาก้าวหน้าของเศรษฐกิจจีนในยุค “ปฏิรูป-เปิดกว้าง” ตามหลักปรัชญาสังคมของเติ้งเสี่ยวผิง ที่ว่า สังคมนิยมก็คือการสร้าง “ความมั่งคั่งร่วมกัน” (ก้งถงฟู่อวี้)
จึงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า “เสียงหลัก” (คืบหน้าอย่างมั่นคง) “นโยบายหลัก” (ขยายอุปสงค์ภายในประเทศ) กับ “ทฤษฎีหลัก” (ความมั่งคั่งร่วมกัน) เชื่อมโยงกันอย่างเป็นเอกภาพบนเส้นเดียวกัน
ในทางปฏิบัติ หน่วยงานทุกระดับในทุกกระทรวงทบวงกรม จะจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง โดยการ “จูน” แผนงาน และระดมสรรพกำลังที่มีอยู่ของตน ให้เข้ากันกับ “เสียงหลัก” นี้
อย่างเช่นกระทรวงรถไฟ ที่ได้สร้างปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่ในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง จนก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำโลก แต่ก็เต็มไปด้วยความหวือหวาและหวาดเสียว จนเกิดช่องโหว่ทางด้านการบริหารจัดการ มีการรั่วไหล ทำแผนใหญ่เกินไป ก่อหนี้เกินจำเป็น จนเกิดความเสี่ยง และนำไปสู่ความบกพร่องทางเทคนิค กระทบต่อมาตรฐานของรถไฟ และนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยในการเดินทางในที่สุด ซึ่งไม่สอดคล้องอย่างยิ่งกับปรัชญาการพัฒนาประเทศ “อย่างเป็นวิทยาศาสตร์” ที่ถือเอา “คน”เป็นฐาน
ภายหลังจากการเปลี่ยนตัวผู้บริหารสูงสุดแล้ว กระทรวงรถไฟได้ใช้มาตรการเฉียบขาด ลดระดับความร้อนแรงลงมาเป็นลำดับ เช่น ลดความเร็ว ลดจำนวนขบวนรถที่ให้บริการ และลดค่าโดยสาร เป็นต้น ดำเนินการอุดช่องโหว่ทางด้านบริหารจัดการ ปรับปรุงสมรรถภาพการทำงานของระบบต่างๆ จนถึงปลายปีนี้ ก็เข้าสู่สภาวะที่สามารถให้บริการในระดับมาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงปรับผังการเดินรถ ความเร็วรถ และจำนวนขบวนรถใหม่ ให้ตั้งอยู่บนมาตรฐานความก้าวหน้าที่มีพร้อมแล้ว
สรุปคือ งานของกระทรวงรถไฟได้เคลื่อนเข้าสู่สภาวะของความ “อุ่น” มีเสถียรภาพ และบนความมีเสถียรภาพนี้ กระทรวงรถไฟก็สามารถ “หาทาง” ขยายงานต่อไป ทั้งการระดมทุนและการก่อสร้าง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (รวมทั้งการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทยด้วย)
ในกรณีตรงกันข้าม บางหน่วยงาน งานกลับนิ่ง เพราะเน้นแต่ความ “อุ่น” มากเกินไป ก็จำเป็นจะต้องปรับแนวคิด แผนงานกันใหม่ “หาทาง” ให้งานเดินหน้า ซึ่งทั้งหมดนั้น ยังต้องเป็นไปตามนโยบายหลักของรัฐบาลที่เน้นการ “ขยายอุปสงค์ในประเทศ” (คั่วต้าเน่ยซวี) ที่ได้ทุ่มเงินถึง 4 ล้านล้านหยวน กระตุ้นอุปสงค์หรือความต้องการภายในประเทศ โดยเน้นไปยังการเพิ่มความต้องการบริโภคของประชาชน เพื่อยันกับผลกระทบของวิกฤตการเงินสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 จนสามารถรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนให้อยู่ในระดับสูง ไปพร้อมๆ กับยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้อยู่ดีกินดียิ่งขึ้นไปอีก
อีกนัยหนึ่ง การปรับกำลังทางเศรษฐกิจการผลิต การบริการของจีน ในหลายๆ ปีที่ผ่านมา กำลังเป็นไปตามนโยบายหลักของรัฐบาลจีน ขยายอุปสงค์ภายในประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนมากขึ้น กระตุ้นให้ประชาชนบริโภคมากขึ้น
ดังนั้น “อุ่นจงอิ่วจิ้น” (เสียงหลักของปี ค.ศ. 2012) ถึงยังไงก็ต้องประสานสอดกับนโยบายใหญ่ “คั่วต้าเน่ยซวี” อยู่ตลอดเวลา
พอถึงตรงนี้ เราก็พอจะถึง “บางอ้อ” ได้แล้วว่า ถึงที่สุดแล้ว “อุ่นจงฉิวจิ้น” ก็เพื่อทำให้นโยบาย “คั่วต้าเน่ยซวี” ปรากฏเป็นจริง สะท้อนถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดยุทธศาสตร์ของคณะผู้นำหรือ “ศูนย์กลางพรรค” ในการบริหารประเทศ มุ่งดำเนินการพัฒนาประเทศ ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่อง อย่างมั่นคงทรงเสถียรภาพ ประชาชนอยู่ดีกินดียิ่งขึ้น
ดูแล้ว หากสหรัฐฯ และอียูยังคงจมปลักอยู่กับวิกฤต (ที่ตัวเองก่อขึ้น) เศรษฐกิจยังย่ำแย่อยู่เช่นนี้ อีกไม่กี่ปี เศรษฐกิจจีนก็จะโตแซงหน้าไปอีกหลายขุม ประชาชนชาวจีนก็จะยิ่งอยู่ดีกินดี มีความหวัง เกิดความเชื่อมั่นในวิถีชีวิตของตน เกิดความศรัทธาต่อพรรคและรัฐบาล ตลอดจนการปกครองในระบอบสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน
บรรลุเป้าหมายตามอุดมการณ์ของพวกเขา ที่ว่า เมื่อเศรษฐกิจดีแล้ว รัฐบาลมีเงินเยอะ ประชาชนมีงานทำ การกินการอยู่ และอะไรต่อมิอะไร ที่ดีๆ ก็จะตามมา ค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่ๆ ที่สะท้อนความล้ำเลิศของระบอบสังคมนิยม (เหนือกว่าทุนนิยม) ในความเป็นมนุษย์จึงจะปรากฏขึ้นได้จริง
เฉพาะหน้านี้ สิ่งที่พวกเขาจะต้องแก้ไขก็คือ ความแตกต่างของรายได้ระหว่างคนรวยกับคนไม่รวย ซึ่งเป็นที่มาสำคัญของความไม่เป็นธรรมทางสังคมในประเทศจีน ดังนั้น ในการประชุมงานทางเศรษฐกิจครั้งนี้ คณะผู้นำพรรคจีน จึงระบุชัดเจนว่าต้อง “เพิ่มสัดส่วนรายได้ของชนชั้นกลาง”
เรื่องนี้ เป็นประเด็นที่นักวิชาการทางด้านเศรษฐกิจสังคมของประเทศจีนให้ความสำคัญมาก และตีความไปในทำนองเดียวกันว่า พรรคและรัฐบาลจีน มุ่งขยายฐานของ “คนชั้นกลาง” ให้ใหญ่ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมจีน
ในทัศนะของผู้เขียน การเพิ่มสัดส่วนรายได้ของประชาชน ก็เพื่อสร้างความมั่งคั่งในหมู่ประชาชนจำนวนหลายร้อยล้านคน ให้เกิดดุลยภาพหรือเท่าเทียมกับความมั่งคั่งของบรรดาเศรษฐีจีนที่รวยอื้อซ่ามาก่อนคนอื่น ตามการพัฒนาก้าวหน้าของเศรษฐกิจจีนในยุค “ปฏิรูป-เปิดกว้าง” ตามหลักปรัชญาสังคมของเติ้งเสี่ยวผิง ที่ว่า สังคมนิยมก็คือการสร้าง “ความมั่งคั่งร่วมกัน” (ก้งถงฟู่อวี้)
จึงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า “เสียงหลัก” (คืบหน้าอย่างมั่นคง) “นโยบายหลัก” (ขยายอุปสงค์ภายในประเทศ) กับ “ทฤษฎีหลัก” (ความมั่งคั่งร่วมกัน) เชื่อมโยงกันอย่างเป็นเอกภาพบนเส้นเดียวกัน