ASTVผู้จัดการรายวัน-วงเสวนากสม. แก้วิกฤตน้ำท่วม"ณรงค์" ระบุมีหลักฐานชัดรัฐบริหารผิดพลาด คาดสัปดาห์หน้าสภาทนายความยื่นฟ้อง ห่วงรัฐไม่มีมาตรการรับมือ ทำบริษัทประกัน-นักลงทุนต่างชาติหนี ด้านผู้บริหารทีมกรุ๊ป แนะหาพื้นที่ใต้นครสวรรค์ทำแก้มลิงรับน้ำ พร้อมสร้างแฟลตให้ชุมชนรุกคูคลองอยู่ ขณะที่ภาคแรงงานโอด รัฐช่วยเหลือไม่ตรงจุด แถมถูกซ้ำเติมรับน้ำที่เต็มไปด้วยสารเคมีจาการสูบออกของนิคม
วานนี้ ( 22 ธ.ค. ) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดสัมมนา เรื่อง “วิกฤตน้ำท่วมกับสิทธิมนุษยชน” โดยนายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการบริหารและวิศวกรแหล่งน้ำทีมกรุ๊ป กล่าวว่า ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมปีหน้านั้น ตนเห็นว่าจะต้องมีการหาพื้นที่ให้น้ำอยู่ อย่างเช่นภาคกลางตอนบน ตั้งแต่ จ.นครสวรรค์ลงมา ต้องหาพื้นที่ทำแก้มลิงเพื่อรับน้ำ และพยายามระบายน้ำลงสู่ช่องทางต่างๆ ซึ่งขณะนี้ทราบว่าทางกรมชลประทาน ได้มีการเตรียม 8 พื้นที่ที่จะทำเป็นร่องน้ำไว้สำหรับระบายน้ำ ซึ่งบางส่วนในพื้นที่ดังกล่าว อาจจะเป็นต้องยอมให้น้ำท่วม และใช้วิธีการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหาย
** รัฐแก้น้ำท่วมละเมิดสิทธิฯ
อย่างไรก็ตาม มาตรการในระยะสั้นที่จะรองรับภัยน้ำท่วม ตนเห็นว่าจะต้องมีการปรับปรุงคูคลองต่าง และเครื่องสูบน้ำ โดยเฉพาะการบุกรุกคูคลองที่พบว่ามีมากจากปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา และทำให้การระบายน้ำทำได้ไม่ดี พร้อมกันนี้ควรจะทำที่อยู่อาศัยในลักษณะแฟลตให้ผู้ที่บุกรุกพื้นที่คูคลองได้มีที่อยู่ใหม่ เช่น ชุมชนที่มีการรุกคลองบางซื่อ คลองเปรมประชากร เพราะหากจะย้ายคนเหล่านี้ออกไปอยู่พื้นที่อื่น เขาก็จะไม่ยอม และจำเป็นที่จะต้องมีการทำคลองขนาดใหญ่ คู่ขนานกับถนนวงแหวนรอบสาม
ทั้งนี้ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นมีข้อสังเกตว่า การบริหารจัดการของรัฐหลายกรณีเป็นการกระทบสิทธิของบุคคล เช่น มีการกั้นแนวบิ๊กแบ็ก เพื่อไม่ให้น้ำเข้ากทม. แต่ก็ทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ด้านข้างต้องรับสภาวะน้ำท่วมสูง หรือการที่คนในเขตสายไหม ซึ่งอยู่ในเขตปกครองของกทม. ไม่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วม แต่คนรับน้ำแทนอยู่ในเขต ลาดสวาย จ.ปทุมธานี ซึ่งคนลาดสวาย ก็มองว่าตนเองมีสิทธิน้อยกว่าคนสายไหม เพราะไม่ได้อยู่ในเขตกทม. ใช่หรือไม่ การกระทบสิทธิของบุคคล และชุมชนในลักษณะดังกล่าวกำลังกลายเป็นคำถามว่า มีฐานทางกฎหมายที่พวกเขาสามารถใช้ดำเนินการกับรัฐได้หรือไม่ ซึ่งรัฐควรที่จะเข้าไปดูแล และจัดการการก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาบานปลาย
** เกษตรฯ-มหาดไทยบกพร่อง
ด้านนายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ได้เราต้องยอมรับในภูมินิเวศของไทยก่อนว่าแผ่นดินของเราเป็นพื้นที่ลาดจากเหนือลงใต้ เมื่อ 700 ปีก่อน กทม.และ จ.สุพรรณบุรี อยู่ใต้ทะเล และ จ.พระนครศรีอยุธยา ก็เป็นหนองได้ชื่อว่าหนองโสน ส่วน จ.ปทุมธานี ชื่อมีความหมายว่า บัวใหญ่ แต่นโยบายรัฐก็ผิดพลาดที่มีไปยกให้สองเมืองนี้เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม และการที่ตนได้ขอให้สภาทนายความยื่นฟ้องรัฐบาล ซึ่งก็จะมีการยื่นฟ้องภาย 3-4 วันนี้ เนื่องมาจากเห็นว่าน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ก็มาจากการบริหารงานผิดพลาดของรัฐ เพราะหากไปดูข้อมูลจะเห็นว่า ตั้งแต่มี.ค. -มิ.ย. 54 มีพายุ ทั้งไห่หม่า นกเต็น เข้าไทยรวมทั้งหมด 4ลูก เกิดน้ำท่วมในภาคกลางตอนบน วันที่ 16 ส.ค. 54 ครม.มีมติให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรฯ ติดตามประเมินว่าน้ำท่วมในจังหวัดดังกล่าวแล้วน้ำจะมีทิศทางการไหลอย่างไร
แต่ปรากฏว่าจนถึงต.ค. ที่เกิดน้ำท่วมกทม. กลับไม่มีรายงานหรือส่งสัญญาณจากทั้งสองกระทรวงที่นายกฯ สั่งให้ดำเนินการติดตาม ซึ่งถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่
** บริษัทประกันเจ๊ง 6 แสนล้าน
นายณรงค์ กล่าวต่อว่า จนถึงขณะนี้รัฐยังไม่มีแผนออกมาว่าจะป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีต่อไปอย่างไร ซึ่งทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสในการลงทุน เพราะในแง่ภาพรวมเศรษฐกิจ หลังเหตุการณ์น้ำท่วมสิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คือเรื่องการลงทุน โดยทางบริษัทประกันต่างชาติ ได้มีการสรุปความเสียหายภาคอุตสาหกรรมจากเหตุน้ำท่วมสูงถึง 2 หมื่นล้านดอลล่าสหรัฐ หรือ 6 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทประกันต่างชาติระบุว่า จะไม่รับทำประกันให้ภาคอุตสาหกรรม ถ้ารัฐยังไม่มีการสร้างหลักประกันในเรื่องการป้องกันภัยน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้น หากเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
** ชุมชนรับสารพิษรง.อุตสาหกรรม
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ตนเห็นว่าสิทธิของประชาชนที่ควรจะได้รับเป็นอันดับแรกคือ สิทธิของการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งในส่วนของภาคแรงงานเหตุน้ำท่วมที่เกิดขึ้นผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมไม่มีโอกาสได้รับรู้ล่วงหน้าก่อนเลยว่า น้ำจะเข้ามาในนิคมฯ เมื่อใด เพราะรัฐบาลและผู้บริหารนิคมฯ ปกปิดข้อมูลตลอด เมื่อน้ำเข้าสู่โรงงานส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานกลายเป็นผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิทั้งในเรื่องความปลอดภัย และไม่สามารถปกป้องบ้านของตนเองได้ รวมทั้งนิคมฯไม่มีมาตรการรองรับดูแลผู้ใช้แรงงานเรื่องที่พักอาศัย
นอกจากนี้หลังน้ำลด รัฐยังมีนโยบายเร่งกู้นิคมอุตสาหกรรม โดยอ้างว่า เมื่อโรงงานเปิดได้ผู้ใช้แรงงานก็จะได้กลับไปทำงานได้ แต่การเร่งกู้นิคมฯ ก็ไม่ได้มีการตรวจสอบสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ โดยมีการสูบน้ำออกจกนิคมฯ สู่ชุมชน ทำให้ชุมชนรอบนิคมฯได้รับกระทบ ซึ่งได้มีการนำน้ำที่มีการปล่อยออกมาไปตรวจคุณภาพ และนำเรื่องมาร้องกสม. อีกทั้งการที่รัฐบาลอ้างว่าจะช่วยเหลือแรงงานโดยให้แรงงานสามารถกู้เงินจากกองทุนประกันสังคมได้คนละ 5,000 บาทนั้น ก็ไม่ได้เป็นการช่วยผู้ใช้แรงงานจริง เพราะการกู้หากไม่มีสลิปเงินเดือน และมีรายได้ต่อเดือนไม่ถึง 6,000 บาท ก็ไม่สามารถกู้ได้ และการคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 ซึ่งสูงกว่าการที่ให้นายจ้างกู้ในวงเงินที่มากกว่า และมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าถึงร้อยละ 2.5 ซึ่งการแก้ไขปัญหาของภาครัฐในขณะนี้ กำลังถูกจับตาจากนักลงทุนต่างประเทศ เพราะถ้ายังไม่มี่มาตรการที่สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องการป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้นักลงทุนก็จะมาเข้ามาลงทุน ขณะเดียวกันในส่วนของภาคประชาชน ตนเห็นว่านอกจากรัฐวางแผนรับมือควรให้ความรู้และฝึกการรับมือเพื่อหนีภัยต่างๆด้วย
วานนี้ ( 22 ธ.ค. ) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดสัมมนา เรื่อง “วิกฤตน้ำท่วมกับสิทธิมนุษยชน” โดยนายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการบริหารและวิศวกรแหล่งน้ำทีมกรุ๊ป กล่าวว่า ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมปีหน้านั้น ตนเห็นว่าจะต้องมีการหาพื้นที่ให้น้ำอยู่ อย่างเช่นภาคกลางตอนบน ตั้งแต่ จ.นครสวรรค์ลงมา ต้องหาพื้นที่ทำแก้มลิงเพื่อรับน้ำ และพยายามระบายน้ำลงสู่ช่องทางต่างๆ ซึ่งขณะนี้ทราบว่าทางกรมชลประทาน ได้มีการเตรียม 8 พื้นที่ที่จะทำเป็นร่องน้ำไว้สำหรับระบายน้ำ ซึ่งบางส่วนในพื้นที่ดังกล่าว อาจจะเป็นต้องยอมให้น้ำท่วม และใช้วิธีการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหาย
** รัฐแก้น้ำท่วมละเมิดสิทธิฯ
อย่างไรก็ตาม มาตรการในระยะสั้นที่จะรองรับภัยน้ำท่วม ตนเห็นว่าจะต้องมีการปรับปรุงคูคลองต่าง และเครื่องสูบน้ำ โดยเฉพาะการบุกรุกคูคลองที่พบว่ามีมากจากปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา และทำให้การระบายน้ำทำได้ไม่ดี พร้อมกันนี้ควรจะทำที่อยู่อาศัยในลักษณะแฟลตให้ผู้ที่บุกรุกพื้นที่คูคลองได้มีที่อยู่ใหม่ เช่น ชุมชนที่มีการรุกคลองบางซื่อ คลองเปรมประชากร เพราะหากจะย้ายคนเหล่านี้ออกไปอยู่พื้นที่อื่น เขาก็จะไม่ยอม และจำเป็นที่จะต้องมีการทำคลองขนาดใหญ่ คู่ขนานกับถนนวงแหวนรอบสาม
ทั้งนี้ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นมีข้อสังเกตว่า การบริหารจัดการของรัฐหลายกรณีเป็นการกระทบสิทธิของบุคคล เช่น มีการกั้นแนวบิ๊กแบ็ก เพื่อไม่ให้น้ำเข้ากทม. แต่ก็ทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ด้านข้างต้องรับสภาวะน้ำท่วมสูง หรือการที่คนในเขตสายไหม ซึ่งอยู่ในเขตปกครองของกทม. ไม่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วม แต่คนรับน้ำแทนอยู่ในเขต ลาดสวาย จ.ปทุมธานี ซึ่งคนลาดสวาย ก็มองว่าตนเองมีสิทธิน้อยกว่าคนสายไหม เพราะไม่ได้อยู่ในเขตกทม. ใช่หรือไม่ การกระทบสิทธิของบุคคล และชุมชนในลักษณะดังกล่าวกำลังกลายเป็นคำถามว่า มีฐานทางกฎหมายที่พวกเขาสามารถใช้ดำเนินการกับรัฐได้หรือไม่ ซึ่งรัฐควรที่จะเข้าไปดูแล และจัดการการก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาบานปลาย
** เกษตรฯ-มหาดไทยบกพร่อง
ด้านนายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ได้เราต้องยอมรับในภูมินิเวศของไทยก่อนว่าแผ่นดินของเราเป็นพื้นที่ลาดจากเหนือลงใต้ เมื่อ 700 ปีก่อน กทม.และ จ.สุพรรณบุรี อยู่ใต้ทะเล และ จ.พระนครศรีอยุธยา ก็เป็นหนองได้ชื่อว่าหนองโสน ส่วน จ.ปทุมธานี ชื่อมีความหมายว่า บัวใหญ่ แต่นโยบายรัฐก็ผิดพลาดที่มีไปยกให้สองเมืองนี้เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม และการที่ตนได้ขอให้สภาทนายความยื่นฟ้องรัฐบาล ซึ่งก็จะมีการยื่นฟ้องภาย 3-4 วันนี้ เนื่องมาจากเห็นว่าน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ก็มาจากการบริหารงานผิดพลาดของรัฐ เพราะหากไปดูข้อมูลจะเห็นว่า ตั้งแต่มี.ค. -มิ.ย. 54 มีพายุ ทั้งไห่หม่า นกเต็น เข้าไทยรวมทั้งหมด 4ลูก เกิดน้ำท่วมในภาคกลางตอนบน วันที่ 16 ส.ค. 54 ครม.มีมติให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรฯ ติดตามประเมินว่าน้ำท่วมในจังหวัดดังกล่าวแล้วน้ำจะมีทิศทางการไหลอย่างไร
แต่ปรากฏว่าจนถึงต.ค. ที่เกิดน้ำท่วมกทม. กลับไม่มีรายงานหรือส่งสัญญาณจากทั้งสองกระทรวงที่นายกฯ สั่งให้ดำเนินการติดตาม ซึ่งถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่
** บริษัทประกันเจ๊ง 6 แสนล้าน
นายณรงค์ กล่าวต่อว่า จนถึงขณะนี้รัฐยังไม่มีแผนออกมาว่าจะป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีต่อไปอย่างไร ซึ่งทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสในการลงทุน เพราะในแง่ภาพรวมเศรษฐกิจ หลังเหตุการณ์น้ำท่วมสิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คือเรื่องการลงทุน โดยทางบริษัทประกันต่างชาติ ได้มีการสรุปความเสียหายภาคอุตสาหกรรมจากเหตุน้ำท่วมสูงถึง 2 หมื่นล้านดอลล่าสหรัฐ หรือ 6 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทประกันต่างชาติระบุว่า จะไม่รับทำประกันให้ภาคอุตสาหกรรม ถ้ารัฐยังไม่มีการสร้างหลักประกันในเรื่องการป้องกันภัยน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้น หากเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
** ชุมชนรับสารพิษรง.อุตสาหกรรม
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ตนเห็นว่าสิทธิของประชาชนที่ควรจะได้รับเป็นอันดับแรกคือ สิทธิของการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งในส่วนของภาคแรงงานเหตุน้ำท่วมที่เกิดขึ้นผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมไม่มีโอกาสได้รับรู้ล่วงหน้าก่อนเลยว่า น้ำจะเข้ามาในนิคมฯ เมื่อใด เพราะรัฐบาลและผู้บริหารนิคมฯ ปกปิดข้อมูลตลอด เมื่อน้ำเข้าสู่โรงงานส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานกลายเป็นผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิทั้งในเรื่องความปลอดภัย และไม่สามารถปกป้องบ้านของตนเองได้ รวมทั้งนิคมฯไม่มีมาตรการรองรับดูแลผู้ใช้แรงงานเรื่องที่พักอาศัย
นอกจากนี้หลังน้ำลด รัฐยังมีนโยบายเร่งกู้นิคมอุตสาหกรรม โดยอ้างว่า เมื่อโรงงานเปิดได้ผู้ใช้แรงงานก็จะได้กลับไปทำงานได้ แต่การเร่งกู้นิคมฯ ก็ไม่ได้มีการตรวจสอบสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ โดยมีการสูบน้ำออกจกนิคมฯ สู่ชุมชน ทำให้ชุมชนรอบนิคมฯได้รับกระทบ ซึ่งได้มีการนำน้ำที่มีการปล่อยออกมาไปตรวจคุณภาพ และนำเรื่องมาร้องกสม. อีกทั้งการที่รัฐบาลอ้างว่าจะช่วยเหลือแรงงานโดยให้แรงงานสามารถกู้เงินจากกองทุนประกันสังคมได้คนละ 5,000 บาทนั้น ก็ไม่ได้เป็นการช่วยผู้ใช้แรงงานจริง เพราะการกู้หากไม่มีสลิปเงินเดือน และมีรายได้ต่อเดือนไม่ถึง 6,000 บาท ก็ไม่สามารถกู้ได้ และการคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 ซึ่งสูงกว่าการที่ให้นายจ้างกู้ในวงเงินที่มากกว่า และมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าถึงร้อยละ 2.5 ซึ่งการแก้ไขปัญหาของภาครัฐในขณะนี้ กำลังถูกจับตาจากนักลงทุนต่างประเทศ เพราะถ้ายังไม่มี่มาตรการที่สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องการป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้นักลงทุนก็จะมาเข้ามาลงทุน ขณะเดียวกันในส่วนของภาคประชาชน ตนเห็นว่านอกจากรัฐวางแผนรับมือควรให้ความรู้และฝึกการรับมือเพื่อหนีภัยต่างๆด้วย