**ไม่ทำผิดกฎหมาย...ไม่ทำเพื่อคนๆเดียว
**คำแก้ตัวที่คนในรัฐบาลโดยเฉพาะ “เป็ดเหลิม” ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการออกพระราชกฤษฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของรัฐบาล นำมาโกหกปลิ้นปล้อนกับสังคม
หลังจากที่ความลับแตก ถูกจับได้ว่ามีความพยายามช่วยเหลือ ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้ารัฐบาลตัวจริง ที่หลบหนีคดีอาญาอยู่ต่างแดน ได้รับการอภัยโทษโดยไม่ต้องติดคุก และเป็นคดีความผิดฐานทุจริตได้กลับประเทศไทย
ด้วยการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบพระราชกกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) พระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2554 เนื่องในวโรกาศวันมหามงคล 5 ธันวาคม 2554 ที่เอื้อประโยชน์ให้ ทักษิณ ชินวัตร ผู้หลบหนีคดีตามหมายจับของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ตัดสินจำคุกสองปีทักษิณ ในคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ
ด้วยการตัดคุณลักษณะ ข้อยกเว้นบุคคลที่จะได้รับการอภัยโทษที่เดิม พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2553 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มีการระบุว่า ให้ยกเว้นความผิดในคดียาเสพติด และทุจริตออกไป รวมถึงมีกระแสข่าวว่า มีการระบุไว้ด้วยว่าผู้จะได้รับการอภัยโทษไม่ต้องอยู่ในที่คุมขัง แต่ต้องมีอายุเกิน 60 ปี และโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
จนถึงขณะนี้ หลังความลับถูกเปิดเผย รัฐบาลก็ยังไม่ยอมชี้แจงข้อเท็จจริงถึงรายละเอียดของกฎหมายฉบับนี้ด้วยการอ้างว่า
**เป็นความลับ –ยังไม่ได้ข้อยุติ
ต้องรอให้กระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการกฤษฏีกาส่งเรื่องกลับมายังรัฐบาลอีกครั้งก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ
การไม่แจงทุกข้อสงสัย และทำให้ทุกอย่างหายคลุมเครือ ทั้งที่เป็นหลักของการบริหารประเทศแบบธรรมาภิบาล คือ ทุกการใช้อำนาจของรัฐบาล ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ยิ่งเมื่อรัฐบาลท่องสูตรแก้ตัวไปแบบซื้อเวลาไปเรื่อยๆ ว่า
**ไม่ทำผิดกฎหมาย... ไม่ได้ทำเพื่อคนๆเดียว
แต่พฤติกรรมมันขัดแย้งกัน สิ่งนี้ก็ยิ่งทำให้สังคมยิ่งเห็นว่า เรื่องนี้ต้องมีความผิดปกติอย่างแน่นอน เพราะกระบวนการเสนอออกพ.ร.ฎ.ฉบับนี้ มีความไม่ชอบมาพากลหลายอย่างที่ถูกสังคมจับ ได้ไล่ทัน
การไม่ยอมทำความจริงให้ปรากฏของคนในรัฐบาล จึงย่อมไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ไล่ตั้งแต่ “เป็ดเหลิม” ซึ่งนอกจากดูแลเรื่องการอภัยโทษแล้ว ยังทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา รวมถึงคนที่เกี่ยวข้องอย่าง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม และพ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ที่ทักษิณ ส่งมารับตำแหน่งเพื่อทำภารกิจนี้โดยเฉพาะ ต่างปิดปากเงียบ
ในช่วงนี้ก็ต้องดูไปว่า ตอนจบของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร จะทำให้กระแสต่อต้านจากหลายฝ่ายมีมากน้อยขนาดไหน กับการทนไม่ได้ที่รัฐบาลออกกฎหมายโดยไม่ชอบเพื่อต้องการช่วยคนๆ เดียวอย่างทักษิณ ชินวัตร แต่สิ่งนี้กำลังขยายผลเป็นเรื่องใหญ่ที่จะทำให้เป็นเชื้อไฟที่กำลังทำให้ประชาชนเกิดความขัดแย้งทางความคิดกันขึ้นแล้ว
ระหว่างฝ่ายสนับสนุน คือพวกเสื้อแดง-คนเลือกพรรคเพื่อไทย กับฝ่ายประชาชนหลายภาคส่วน ที่จะไม่ยอมให้ความไม่ถูกต้องครั้งนี้เกิดขึ้นได้ เพราะหากรัฐบาลกระทำสิ่งนี้สำเร็จ
**มันคือชัยชนะของทักษิณ แต่คือความพ่ายแพ้พลังทางศีลธรรม ความพ่ายแพ้และสิ้นความศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมไทย และความพ่ายแพ้ของประเทศไทย
**เนื่องจากนับจากนี้ไป หากใครคิดจะทำชั่ว โกงกินปล้นชาติ โกงแผ่นดิน ก็จะทำกันไปแล้วหากถูกจับได้ ก็ใช้อำนาจเงิน อำนาจการเมืองมาซื้อความถูกต้อง ด้วยการทำลายหลักกฎหมายและความถูกต้องของประเทศ
ความเสื่อมของรัฐบาลที่กำลังมาถึงในตอนนี้ โดยเฉพาะตัว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สมรู้ร่วมคิดกับทักษิณ ด้วยการวางแผนทำลายหลัก นิติรัฐ-นิติธรรม ที่ยิ่งลักษณ์ อ้างมาตลอดว่าจะทำงานการเมืองแบบยึดหลักนิติรัฐ-นิติธรรม แต่ลับหลังทำลายกฎเกณฑ์บ้านเมืองอย่างหน้าด้านเพื่อช่วยให้ทักษิณรอดพ้นความผิด กลับมาประเทศไทย
**เมื่อรัฐบาลชั่ว ผู้นำไร้ยางอาย กระทำการเยี่ยงนี้ ถ้าเรื่องนี้สำเร็จ สงสัยที่พูดกันว่า คุกมีไว้ขังหมา ก็ท่าจะจริง
กระบวนการหลังจากนี้ มีข่าวว่ารัฐบาลกำลังเร่งรีบอย่างหนัก เพื่อให้ทุกอย่างทัน “เส้นตาย” ก่อน 5 ธันวาคม 2554 แม้ “เป็ดเหลิม” จะอ้างว่า ยังเหลือขั้นตอนอีกมาก เช่น ต้องส่งให้กระทรวงยุติธรรม ที่มีกรรมการกลั่นกรองเรื่องนี้พิจารณาอีกครั้งก่อน แล้วก็ต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบ ร่างพระราชกฤษฏีกาดังกล่าวว่ามีข้อคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่
จากนั้นถึงค่อยเอากลับมาเข้าที่ประชุมครม. เพื่อส่งเรื่องไปตามขั้นตอนของการขอพระราชทานอภัยโทษ ก็คือครม.ต้องส่งเรื่องผ่านสำนักราชเลขาธิการ และจากนั้นก่อนนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ก็ต้องให้คณะองคมนตรีพิจารณาตรวจสอบก่อน ซึ่งเรื่องที่มีความสำคัญเช่นนี้ ก็คาดว่าอาจมีการเรียกประชุมองคมนตรีทั้งหมด เพื่อถามความเห็นในข้อกฎหมายจากองคมนตรีหลายคนเสียก่อน
กระนั้นกระบวนการของคนหลายกลุ่มที่มีการแสดงความเห็นในเชิงข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริง นอกจากเรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงเรื่องนี้ให้กระจ่างมากกว่านี้ โดยเฉพาะควรมีการเปิดเผยร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวต่อสังคมทั้งหมด
**อีกส่วนหนึ่งก็เห็นว่า สามารถยับยั้ง และตรวจสอบเรื่องนี้เป็นกรณีเร่งด่วน ผ่านช่องทางกฎหมาย
เช่น ข้อคิดเห็นที่ว่าการที่รัฐบาลจะเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวโดยให้รวมถึงผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติด และคอร์รัปชันด้วย ถือว่าขัดกับกฏหมายอภัยโทษอย่างชัดเจน ประชาชนสามารถยื่นเรื่องต่อศาลปกครองให้วินิจฉัยได้ ตามมาตรา 3 กับ มาตรา 11 (2) ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดี 2542 เพื่อให้ศาลปกครองสูงสุงวินิจฉัยให้ยกเลิกได้
หรือการจะล่าชื่อประชาชน และล่าชื่อสมาชิกรัฐสภา เพื่อยื่นถอดถอนรัฐมนตรีทั้งคณะที่ร่วมประชุมเห็นชอบพระราชกกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2554 อันอาจจะเป็นการยับยั้งให้รัฐบาลหยุดความคิดนี้ก่อนจะสำเร็จ
รวมถึงการเคลื่อนไหวขององค์กรภาคประชาชน หลายกลุ่มที่กำลังรอดูท่าทีในเรื่องนี้อยู่ อย่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งก็มีประชาชนจำนวนมากประกาศแล้วว่าพร้อมจะออกมาเป็นแนวร่วมด้วย เพราะทนเห็นรัฐบาลชั่วกระทำการล่วงละเมิดพระราชอำนาจไม่ไหวแล้ว
การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่จะเกิดขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งความตื่นตัวของคนไทยที่อาจจะเป็นความหวังเล็กๆ ให้กับคนที่รักความถูกต้องได้ร่วมกันเป็นพลังที่จะต่อต้านความชั่วของนักการเมืองในรัฐบาลชุดนี้
ขณะที่ฝ่ายผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการดังกล่าว อย่างคณะกรรมการกฤษฏีกา หรือคณะองคมนตรี ก็อยู่ที่ตัวกรรมการกฤษฏีกา และองคมนตรีแต่ละท่านว่าจะมีความคิดเห็นอย่างไร เมื่อมีการส่งเรื่องนี้ไปให้พิจารณา
ความเห็นของกรรมการกฤษฏีกา แม้อาจจะไม่ผูกพันกับฝ่ายบริหาร แต่หากกฤษฏีกามีความเห็น ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.ฎ.ดังกล่าวของรัฐบาลแล้วบอก เรื่องนี้ให้สังคมรับทราบอีกทั้งทำความเห็นไปถึงรัฐบาลเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนที่รัฐบาลจะกระทำสิ่งนี้ ก็เป็นการทำให้รัฐบาลหมดความชอบธรรมที่จะออกกฎชั่วนี้ได้
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าคนในรัฐบาลถามความเห็นคนในกฤษฎีกาบางคนด้วยวาจา 2 ครั้ง โดยมีการเอาร่างพ.ร.ฎ.ดังกล่าวไปให้ดู ว่าเห็นอย่างไร ซึ่งคนในกฤษฎีกาที่มีคนในรัฐบาลไปถามความเห็น ก็ให้ทัศนะในข้อกฎหมายมาว่า
หลังตรวจดูร่างที่รัฐบาลจะเสนอแล้ว ไม่เห็นด้วยกับคุณสมบัติของผู้จะได้รับการอภัยโทษ แต่จะนำไปปรึกษาหารือกันในที่ประชุมกรรมการกฤษฏีกา แล้วก็มีข่าวว่า มีการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดกัน
** จนสุดท้ายออกมาเป็นร่างพ.ร.ฎ.ลับ ที่ยังถูกปกปิดจนถึงทุกวันนี้
**คำแก้ตัวที่คนในรัฐบาลโดยเฉพาะ “เป็ดเหลิม” ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการออกพระราชกฤษฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของรัฐบาล นำมาโกหกปลิ้นปล้อนกับสังคม
หลังจากที่ความลับแตก ถูกจับได้ว่ามีความพยายามช่วยเหลือ ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้ารัฐบาลตัวจริง ที่หลบหนีคดีอาญาอยู่ต่างแดน ได้รับการอภัยโทษโดยไม่ต้องติดคุก และเป็นคดีความผิดฐานทุจริตได้กลับประเทศไทย
ด้วยการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบพระราชกกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) พระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2554 เนื่องในวโรกาศวันมหามงคล 5 ธันวาคม 2554 ที่เอื้อประโยชน์ให้ ทักษิณ ชินวัตร ผู้หลบหนีคดีตามหมายจับของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ตัดสินจำคุกสองปีทักษิณ ในคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ
ด้วยการตัดคุณลักษณะ ข้อยกเว้นบุคคลที่จะได้รับการอภัยโทษที่เดิม พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2553 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มีการระบุว่า ให้ยกเว้นความผิดในคดียาเสพติด และทุจริตออกไป รวมถึงมีกระแสข่าวว่า มีการระบุไว้ด้วยว่าผู้จะได้รับการอภัยโทษไม่ต้องอยู่ในที่คุมขัง แต่ต้องมีอายุเกิน 60 ปี และโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
จนถึงขณะนี้ หลังความลับถูกเปิดเผย รัฐบาลก็ยังไม่ยอมชี้แจงข้อเท็จจริงถึงรายละเอียดของกฎหมายฉบับนี้ด้วยการอ้างว่า
**เป็นความลับ –ยังไม่ได้ข้อยุติ
ต้องรอให้กระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการกฤษฏีกาส่งเรื่องกลับมายังรัฐบาลอีกครั้งก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ
การไม่แจงทุกข้อสงสัย และทำให้ทุกอย่างหายคลุมเครือ ทั้งที่เป็นหลักของการบริหารประเทศแบบธรรมาภิบาล คือ ทุกการใช้อำนาจของรัฐบาล ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ยิ่งเมื่อรัฐบาลท่องสูตรแก้ตัวไปแบบซื้อเวลาไปเรื่อยๆ ว่า
**ไม่ทำผิดกฎหมาย... ไม่ได้ทำเพื่อคนๆเดียว
แต่พฤติกรรมมันขัดแย้งกัน สิ่งนี้ก็ยิ่งทำให้สังคมยิ่งเห็นว่า เรื่องนี้ต้องมีความผิดปกติอย่างแน่นอน เพราะกระบวนการเสนอออกพ.ร.ฎ.ฉบับนี้ มีความไม่ชอบมาพากลหลายอย่างที่ถูกสังคมจับ ได้ไล่ทัน
การไม่ยอมทำความจริงให้ปรากฏของคนในรัฐบาล จึงย่อมไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ไล่ตั้งแต่ “เป็ดเหลิม” ซึ่งนอกจากดูแลเรื่องการอภัยโทษแล้ว ยังทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา รวมถึงคนที่เกี่ยวข้องอย่าง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม และพ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ที่ทักษิณ ส่งมารับตำแหน่งเพื่อทำภารกิจนี้โดยเฉพาะ ต่างปิดปากเงียบ
ในช่วงนี้ก็ต้องดูไปว่า ตอนจบของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร จะทำให้กระแสต่อต้านจากหลายฝ่ายมีมากน้อยขนาดไหน กับการทนไม่ได้ที่รัฐบาลออกกฎหมายโดยไม่ชอบเพื่อต้องการช่วยคนๆ เดียวอย่างทักษิณ ชินวัตร แต่สิ่งนี้กำลังขยายผลเป็นเรื่องใหญ่ที่จะทำให้เป็นเชื้อไฟที่กำลังทำให้ประชาชนเกิดความขัดแย้งทางความคิดกันขึ้นแล้ว
ระหว่างฝ่ายสนับสนุน คือพวกเสื้อแดง-คนเลือกพรรคเพื่อไทย กับฝ่ายประชาชนหลายภาคส่วน ที่จะไม่ยอมให้ความไม่ถูกต้องครั้งนี้เกิดขึ้นได้ เพราะหากรัฐบาลกระทำสิ่งนี้สำเร็จ
**มันคือชัยชนะของทักษิณ แต่คือความพ่ายแพ้พลังทางศีลธรรม ความพ่ายแพ้และสิ้นความศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมไทย และความพ่ายแพ้ของประเทศไทย
**เนื่องจากนับจากนี้ไป หากใครคิดจะทำชั่ว โกงกินปล้นชาติ โกงแผ่นดิน ก็จะทำกันไปแล้วหากถูกจับได้ ก็ใช้อำนาจเงิน อำนาจการเมืองมาซื้อความถูกต้อง ด้วยการทำลายหลักกฎหมายและความถูกต้องของประเทศ
ความเสื่อมของรัฐบาลที่กำลังมาถึงในตอนนี้ โดยเฉพาะตัว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สมรู้ร่วมคิดกับทักษิณ ด้วยการวางแผนทำลายหลัก นิติรัฐ-นิติธรรม ที่ยิ่งลักษณ์ อ้างมาตลอดว่าจะทำงานการเมืองแบบยึดหลักนิติรัฐ-นิติธรรม แต่ลับหลังทำลายกฎเกณฑ์บ้านเมืองอย่างหน้าด้านเพื่อช่วยให้ทักษิณรอดพ้นความผิด กลับมาประเทศไทย
**เมื่อรัฐบาลชั่ว ผู้นำไร้ยางอาย กระทำการเยี่ยงนี้ ถ้าเรื่องนี้สำเร็จ สงสัยที่พูดกันว่า คุกมีไว้ขังหมา ก็ท่าจะจริง
กระบวนการหลังจากนี้ มีข่าวว่ารัฐบาลกำลังเร่งรีบอย่างหนัก เพื่อให้ทุกอย่างทัน “เส้นตาย” ก่อน 5 ธันวาคม 2554 แม้ “เป็ดเหลิม” จะอ้างว่า ยังเหลือขั้นตอนอีกมาก เช่น ต้องส่งให้กระทรวงยุติธรรม ที่มีกรรมการกลั่นกรองเรื่องนี้พิจารณาอีกครั้งก่อน แล้วก็ต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบ ร่างพระราชกฤษฏีกาดังกล่าวว่ามีข้อคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่
จากนั้นถึงค่อยเอากลับมาเข้าที่ประชุมครม. เพื่อส่งเรื่องไปตามขั้นตอนของการขอพระราชทานอภัยโทษ ก็คือครม.ต้องส่งเรื่องผ่านสำนักราชเลขาธิการ และจากนั้นก่อนนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ก็ต้องให้คณะองคมนตรีพิจารณาตรวจสอบก่อน ซึ่งเรื่องที่มีความสำคัญเช่นนี้ ก็คาดว่าอาจมีการเรียกประชุมองคมนตรีทั้งหมด เพื่อถามความเห็นในข้อกฎหมายจากองคมนตรีหลายคนเสียก่อน
กระนั้นกระบวนการของคนหลายกลุ่มที่มีการแสดงความเห็นในเชิงข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริง นอกจากเรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงเรื่องนี้ให้กระจ่างมากกว่านี้ โดยเฉพาะควรมีการเปิดเผยร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวต่อสังคมทั้งหมด
**อีกส่วนหนึ่งก็เห็นว่า สามารถยับยั้ง และตรวจสอบเรื่องนี้เป็นกรณีเร่งด่วน ผ่านช่องทางกฎหมาย
เช่น ข้อคิดเห็นที่ว่าการที่รัฐบาลจะเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวโดยให้รวมถึงผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติด และคอร์รัปชันด้วย ถือว่าขัดกับกฏหมายอภัยโทษอย่างชัดเจน ประชาชนสามารถยื่นเรื่องต่อศาลปกครองให้วินิจฉัยได้ ตามมาตรา 3 กับ มาตรา 11 (2) ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดี 2542 เพื่อให้ศาลปกครองสูงสุงวินิจฉัยให้ยกเลิกได้
หรือการจะล่าชื่อประชาชน และล่าชื่อสมาชิกรัฐสภา เพื่อยื่นถอดถอนรัฐมนตรีทั้งคณะที่ร่วมประชุมเห็นชอบพระราชกกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2554 อันอาจจะเป็นการยับยั้งให้รัฐบาลหยุดความคิดนี้ก่อนจะสำเร็จ
รวมถึงการเคลื่อนไหวขององค์กรภาคประชาชน หลายกลุ่มที่กำลังรอดูท่าทีในเรื่องนี้อยู่ อย่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งก็มีประชาชนจำนวนมากประกาศแล้วว่าพร้อมจะออกมาเป็นแนวร่วมด้วย เพราะทนเห็นรัฐบาลชั่วกระทำการล่วงละเมิดพระราชอำนาจไม่ไหวแล้ว
การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่จะเกิดขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งความตื่นตัวของคนไทยที่อาจจะเป็นความหวังเล็กๆ ให้กับคนที่รักความถูกต้องได้ร่วมกันเป็นพลังที่จะต่อต้านความชั่วของนักการเมืองในรัฐบาลชุดนี้
ขณะที่ฝ่ายผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการดังกล่าว อย่างคณะกรรมการกฤษฏีกา หรือคณะองคมนตรี ก็อยู่ที่ตัวกรรมการกฤษฏีกา และองคมนตรีแต่ละท่านว่าจะมีความคิดเห็นอย่างไร เมื่อมีการส่งเรื่องนี้ไปให้พิจารณา
ความเห็นของกรรมการกฤษฏีกา แม้อาจจะไม่ผูกพันกับฝ่ายบริหาร แต่หากกฤษฏีกามีความเห็น ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.ฎ.ดังกล่าวของรัฐบาลแล้วบอก เรื่องนี้ให้สังคมรับทราบอีกทั้งทำความเห็นไปถึงรัฐบาลเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนที่รัฐบาลจะกระทำสิ่งนี้ ก็เป็นการทำให้รัฐบาลหมดความชอบธรรมที่จะออกกฎชั่วนี้ได้
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าคนในรัฐบาลถามความเห็นคนในกฤษฎีกาบางคนด้วยวาจา 2 ครั้ง โดยมีการเอาร่างพ.ร.ฎ.ดังกล่าวไปให้ดู ว่าเห็นอย่างไร ซึ่งคนในกฤษฎีกาที่มีคนในรัฐบาลไปถามความเห็น ก็ให้ทัศนะในข้อกฎหมายมาว่า
หลังตรวจดูร่างที่รัฐบาลจะเสนอแล้ว ไม่เห็นด้วยกับคุณสมบัติของผู้จะได้รับการอภัยโทษ แต่จะนำไปปรึกษาหารือกันในที่ประชุมกรรมการกฤษฏีกา แล้วก็มีข่าวว่า มีการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดกัน
** จนสุดท้ายออกมาเป็นร่างพ.ร.ฎ.ลับ ที่ยังถูกปกปิดจนถึงทุกวันนี้