โดย...ชวินทร์ ลีนะบรรจง1
ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลนี้จะต้อง “ลาออก” เพื่อแสดงความรับผิดชอบ
เพราะไร้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
รัฐบาลชุดนี้ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งได้แสดงออกถึงวาระซ่อนเร้นซึ่งความหมิ่นเหม่ต่อผลประโยชน์ทับซ้อนในความพยายามในการช่วยเหลือเครือญาติ นอกเหนือไปจากการไร้ประสิทธิภาพและไร้ความสามารถในการบริหารงานราชการแผ่นดินมาโดยตลอดอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างเป็นรูปธรรม
ปัญหามิใช่อยู่ที่ “น้ำมาก” หากแต่ปัญหาอยู่ที่ “การจัดการ” ของรัฐบาลที่ทำงานไม่เป็นนับตั้งแต่ตัวนายกฯ ลงมาก็ว่าได้ เพราะเมืองไทยมิใช่ไม่เคยมีน้ำท่วมอันเนื่องมาจาก “น้ำมาก” แต่อยู่ที่ “การจัดการ” บริหารน้ำต่างหากที่รัฐบาลชุดนี้ทำไม่เป็น อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลชุดนี้แหละคือต้นเหตุและได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาไปเสียแล้วแทนที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหา
อย่าได้ไปโทษคนหรือสาเหตุอื่นใดเลย เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลก็มีหน้าที่อนุบาลรัฐไม่ว่ารัฐจะอยู่ในสภาพใดหรือเงื่อนไขใดก็ตามแต่ มิเช่นนั้นก็อย่าอาสาเข้ามา การเมืองเป็นเรื่องของการอาสาเข้ามาทำงานเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ประชาชนให้อำนาจแต่ใช้ไม่เป็น
“น้ำมาก” มิได้เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. ก็ว่าได้ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือน้ำท่วมที่เขตอุตสาหกรรมโรจนะเมื่อ 9 ต.ค.จนทำให้โรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้าต้องหยุดการประกอบอย่างไม่มีกำหนดเพราะมีน้ำท่วมสูง
ณ วันนี้เป็นเวลาเกือบ 1 เดือนแล้ว รัฐบาลชุดนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมกลับคืนสู่สภาพปกติได้อย่างใดเลย หากต้องปล่อยให้สภาพน้ำท่วมเป็นไปตามยถากรรมโดยธรรมชาตินั่นคือเมื่อมี “น้ำมาก” ก็ปล่อยให้น้ำท่วมแล้วรอจนน้ำมันลดด้วยตัวมันเอง แสดงว่ามีรัฐบาลชุดนี้หรือไม่มีก็ไม่ทำให้สภาพเศรษฐกิจสังคมแตกต่างอย่างใด แล้วจะมีไปทำไม?
การเป็นรัฐบาลไม่ได้หมายความว่ามีเสียงข้างมากแล้วจะทู่ซี้ “ห้อยโหน” อยู่ในตำแหน่งต่อไปโดยกอดเสียงข้างมากที่เลือกเข้ามาเป็นข้ออ้าง เมื่อทำงานไม่ได้ก็ต้องออกไปเพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ ที่เขามีความสามารถมากกว่าเข้ามาทำงานเพื่ออนุบาลรัฐแทน
อย่าได้อ้างอีกเลยว่ารัฐบาลชุดนี้ยังมีภารกิจฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังน้ำท่วม เพราะหน้าที่ “ป้องกัน” น้ำท่วมที่ง่ายกว่าเพราะทรัพย์สินและความมั่นใจของสาธารณชนยังไม่เสียหายก็ยังไม่สามารถแสดงให้เห็นความสามารถได้แล้วจะปล่อยให้มา “ฟื้นฟู” ซึ่งโดยเปรียบเทียบแล้วเป็นงานยากมากกว่าได้อย่างไร เมื่อสาธารณชนทั้งในและนอกประเทศเขาหมดความมั่นใจรัฐบาลชุดนี้ก็อยู่ต่อไปในตำแหน่งได้ยากเพราะขาดการสนับสนุนร่วมมือ
ความคิดในการ “กู้” เงินเพื่อมาฟื้นฟูของรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ก็ทำให้สาธารณชนกังวลเพิ่มอีกเป็นซ้ำสองหลังจากประสบปัญหาน้ำท่วม ประเทศและประชาชนมีหนี้มากพอแล้ว ทำไมจึงเลือกวิธีก่อหนี้หนีความจริง หนีความผิดที่ตนเองได้ก่อขึ้นมา
หากต้องการเงินเพื่อมาฟื้นฟู ทำไมไม่บอกประชาชนว่าเพราะรัฐบาลชุดนี้บริหารงานผิดพลาด ประชาชนผู้เป็น “เจ้าของ” ประเทศและเป็น “เจ้านาย” ของรัฐบาลชุดนี้จึงต้องเข้ามารับผิดชอบแทนโดยรับภาระจากการขึ้นภาษี การ “กู้” เงินของรัฐบาลเป็นการขึ้นภาษีเช่นกันแต่เป็นการผัดผ่อนการขึ้นภาษีในปัจจุบันไปในอนาคตให้คนรุ่นต่อไปรับภาระแทน
ดูตัวอย่างของการเข้าแก้ไขปัญหาภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ซึนามิ และการรั่วไหลของรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นก็ได้ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมิได้ “กู้” เพื่อมาฟื้นฟูพื้นที่และผู้คนที่ประสบภัยแต่เพียงข้างเดียว หากแต่ยังต้องคิดต่อไปด้วยว่าจะเอาเงินที่ไหนมาคืน แนวทางการ “กู้” จึงต้องประกอบไปด้วยแนวทางการ “คืนเงินกู้” ควบคู่ไปด้วย ซึ่งหมายถึงหากไม่ขายทรัพย์สินที่รัฐมีอยู่ก็ต้องขึ้นภาษี ไม่มีหนทางเลือกอื่นใดอีก
การขายหุ้นในกิจการยาสูบและไปรษณีย์ รวมถึงการขึ้นภาษีประเภทต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นเลือกที่จะกระทำ แล้วรัฐบาลไทยที่มีรายรับชักหน้าไม่ถึงหลังจะทำอย่างไร
ประเด็นหลักหลังน้ำท่วมก็คือ รัฐบาลชุดนี้หรือชุดหน้าจำต้องยกเลิกโครงการประชานิยมที่ไปหาเสียงไว้เพื่อนำเอาเงินที่จะไปใช้ในโครงการดังกล่าวไปใช้ “ฟื้นฟู” สภาพเศรษฐกิจสังคม
จะไปเพิ่มรายได้เป็น 300 บาทต่อวันได้อย่างไร หากโรงงานไม่สามารถจ้างงานได้เพราะน้ำท่วม
จะไปอุดหนุนให้คนซื้อรถคันแรกได้อย่างไรในเมื่อถนนใช้การไม่ได้เพราะน้ำท่วม ขณะที่คนซื้อรถที่อาจตกงานก็ต้องนำเงินไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นมากกว่าหลังน้ำท่วม
จะไปประกันราคาข้าวตันละ 15,000 บาทได้อย่างไร ในเมื่อนาล่มเพราะน้ำท่วม
อย่าได้อ้างเหตุผลเหมือนเลขาสภาพัฒน์ท่านหนึ่งที่เคยกล่าวหลังเกิดคลื่นสึนามิว่าเศรษฐกิจจะเจริญเติบโตมากกว่าเดิมเพราะจะมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ได้คิดให้รอบคอบก่อนพูดว่าที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นก็เพราะ “ทุน” ที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็น ถนน ตึกรามบ้านช่องนั้นเสียหายและต้องการการลงทุนเพื่อชดเชยสิ่งที่เสียหายไป หาใช่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดไม่
นอกเหนือจาก “ทุน” ทางกายภาพที่สูญเสียไปจากน้ำท่วมในครั้งนี้แล้ว ความมั่นใจของประชาชนต่อรัฐบาลและนักการเมืองของรัฐไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการ “ฟื้นฟู”
ความมั่นใจ เป็นสิ่งที่จับต้องก็ไม่ได้ หาซื้อก็ไม่ได้เช่นกัน จะได้มาก็ด้วยการกระทำแต่เพียงทางเดียวเท่านั้น ไม่มีทางลัด รัฐบาลชุดนี้ได้ทำลายความมั่นใจที่สาธารณชนเคยมีไปเรียบร้อยแล้ว
ประเทศไทยเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศมาก็หลายสิบปีแล้ว อาจกล่าวได้ว่านักลงทุนต่างชาติเป็นนายจ้างที่สำคัญของแรงงานไทยก็ว่าได้ สิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ได้กระทำลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความล้มเหลวในการป้องกันน้ำท่วมได้ทำให้มุมมองในความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เพราะนักลงทุนต่างชาติไม่เข้าใจว่าทำไมแค่เรื่องป้องกันน้ำท่วมรัฐบาลชุดนี้ของไทยจึงไม่สามารถทำอะไรได้เลย ปล่อยให้ท่วมได้กว่าครึ่งค่อนประเทศ
โลกาภิวัตน์ได้ทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำตามความถนัดมากขึ้น การผลิตจึงมิได้กระทำให้เสร็จสิ้นภายใต้หลังคาโรงงานเดียวกัน หากแต่กระทำภายใต้หลังคาของหลายโรงงานทั้งในและนอกประเทศ รถยนต์คันหนึ่งหรือกางเกงยีนตัวหนึ่งจึงอาจมีส่วนประกอบและขั้นตอนการผลิตที่มาจากทั่วโลก การหยุดสะดุดในการผลิตชิ้นส่วนจากประเทศหนึ่งจึงสามารถทำให้การผลิตรถยนต์หรือกางเกงยีนไม่สามารถทำต่อไปได้
กรณีโรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้าเป็นตัวอย่างที่ดีว่า นอกจากต้องหยุดการผลิตไปเนื่องจากภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวที่อีสานของญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาแล้ว ยังต้องหยุดการผลิตซ้ำสองอันเนื่องจากน้ำท่วมในประเทศไทยเดือนตุลาคมปีเดียวกันอีกครั้ง
แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือแผ่นดินไหวไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดที่ใดเวลาใด จุดกำเนิดของแผ่นดินไหวก็ใกล้กับที่ตั้งของโรงงานมาก การป้องกันภัยจาก “น้ำมาก” ที่มากับคลื่นสึนามิที่มีต่อทรัพย์สินของเอกชน เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้า ของรัฐบาลญี่ปุ่นจึงทำได้ยากเพราะมีเวลาเตือนภัยล่วงหน้าน้อยมากไม่น่าจะเกิน 30 นาที ทำได้ก็แต่เพียงอพยพผู้คนเท่านั้น
เมื่อเปรียบเทียบกับ “น้ำมาก” ของประเทศไทย “การจัดการ” ของรัฐบาลชุดนี้ของไทยจึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความล้มเหลวในความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างแท้จริง เพราะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับกรณีแผ่นดินไหว “น้ำมาก” เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้าอยู่แล้วในช่วงเวลาเช่นนี้ของประเทศไทย สามารถคาดเดาทิศทางได้ง่าย เดินทางช้าทำให้มีเวลาเตรียมตัวได้มาก
สิ่งสุดท้ายที่จะตอกย้ำความล้มเหลวให้ชัดเจนขึ้นก็คือต้องใช้เวลาเท่าใดรัฐบาลชุดนี้ของไทยจึงจะสามารถทำให้กิจการผลิต เช่น โรงงานฮอนด้า สามารถเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง
ถึงเวลาแล้วที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์จะตัดสินใจ “ลาออก” เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนชาวไทยและเพื่อเปิดโอกาสให้สภาฯ ได้เลือกผู้บริหารชุดใหม่เข้ามาทำงานแทน อันจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน
อย่าได้มายืนงกๆ เงิ่นๆ กล่าวคำว่า “เสียใจ” หรือ “ขอโทษ” หรืออะไรที่เขาเขียนมาให้อ่านอีกต่อไปเลย
**********************
*1 The Japan Foundation Fellow บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องแต่อย่างใด
ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลนี้จะต้อง “ลาออก” เพื่อแสดงความรับผิดชอบ
เพราะไร้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
รัฐบาลชุดนี้ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งได้แสดงออกถึงวาระซ่อนเร้นซึ่งความหมิ่นเหม่ต่อผลประโยชน์ทับซ้อนในความพยายามในการช่วยเหลือเครือญาติ นอกเหนือไปจากการไร้ประสิทธิภาพและไร้ความสามารถในการบริหารงานราชการแผ่นดินมาโดยตลอดอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างเป็นรูปธรรม
ปัญหามิใช่อยู่ที่ “น้ำมาก” หากแต่ปัญหาอยู่ที่ “การจัดการ” ของรัฐบาลที่ทำงานไม่เป็นนับตั้งแต่ตัวนายกฯ ลงมาก็ว่าได้ เพราะเมืองไทยมิใช่ไม่เคยมีน้ำท่วมอันเนื่องมาจาก “น้ำมาก” แต่อยู่ที่ “การจัดการ” บริหารน้ำต่างหากที่รัฐบาลชุดนี้ทำไม่เป็น อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลชุดนี้แหละคือต้นเหตุและได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาไปเสียแล้วแทนที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหา
อย่าได้ไปโทษคนหรือสาเหตุอื่นใดเลย เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลก็มีหน้าที่อนุบาลรัฐไม่ว่ารัฐจะอยู่ในสภาพใดหรือเงื่อนไขใดก็ตามแต่ มิเช่นนั้นก็อย่าอาสาเข้ามา การเมืองเป็นเรื่องของการอาสาเข้ามาทำงานเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ประชาชนให้อำนาจแต่ใช้ไม่เป็น
“น้ำมาก” มิได้เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. ก็ว่าได้ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือน้ำท่วมที่เขตอุตสาหกรรมโรจนะเมื่อ 9 ต.ค.จนทำให้โรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้าต้องหยุดการประกอบอย่างไม่มีกำหนดเพราะมีน้ำท่วมสูง
ณ วันนี้เป็นเวลาเกือบ 1 เดือนแล้ว รัฐบาลชุดนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมกลับคืนสู่สภาพปกติได้อย่างใดเลย หากต้องปล่อยให้สภาพน้ำท่วมเป็นไปตามยถากรรมโดยธรรมชาตินั่นคือเมื่อมี “น้ำมาก” ก็ปล่อยให้น้ำท่วมแล้วรอจนน้ำมันลดด้วยตัวมันเอง แสดงว่ามีรัฐบาลชุดนี้หรือไม่มีก็ไม่ทำให้สภาพเศรษฐกิจสังคมแตกต่างอย่างใด แล้วจะมีไปทำไม?
การเป็นรัฐบาลไม่ได้หมายความว่ามีเสียงข้างมากแล้วจะทู่ซี้ “ห้อยโหน” อยู่ในตำแหน่งต่อไปโดยกอดเสียงข้างมากที่เลือกเข้ามาเป็นข้ออ้าง เมื่อทำงานไม่ได้ก็ต้องออกไปเพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ ที่เขามีความสามารถมากกว่าเข้ามาทำงานเพื่ออนุบาลรัฐแทน
อย่าได้อ้างอีกเลยว่ารัฐบาลชุดนี้ยังมีภารกิจฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังน้ำท่วม เพราะหน้าที่ “ป้องกัน” น้ำท่วมที่ง่ายกว่าเพราะทรัพย์สินและความมั่นใจของสาธารณชนยังไม่เสียหายก็ยังไม่สามารถแสดงให้เห็นความสามารถได้แล้วจะปล่อยให้มา “ฟื้นฟู” ซึ่งโดยเปรียบเทียบแล้วเป็นงานยากมากกว่าได้อย่างไร เมื่อสาธารณชนทั้งในและนอกประเทศเขาหมดความมั่นใจรัฐบาลชุดนี้ก็อยู่ต่อไปในตำแหน่งได้ยากเพราะขาดการสนับสนุนร่วมมือ
ความคิดในการ “กู้” เงินเพื่อมาฟื้นฟูของรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ก็ทำให้สาธารณชนกังวลเพิ่มอีกเป็นซ้ำสองหลังจากประสบปัญหาน้ำท่วม ประเทศและประชาชนมีหนี้มากพอแล้ว ทำไมจึงเลือกวิธีก่อหนี้หนีความจริง หนีความผิดที่ตนเองได้ก่อขึ้นมา
หากต้องการเงินเพื่อมาฟื้นฟู ทำไมไม่บอกประชาชนว่าเพราะรัฐบาลชุดนี้บริหารงานผิดพลาด ประชาชนผู้เป็น “เจ้าของ” ประเทศและเป็น “เจ้านาย” ของรัฐบาลชุดนี้จึงต้องเข้ามารับผิดชอบแทนโดยรับภาระจากการขึ้นภาษี การ “กู้” เงินของรัฐบาลเป็นการขึ้นภาษีเช่นกันแต่เป็นการผัดผ่อนการขึ้นภาษีในปัจจุบันไปในอนาคตให้คนรุ่นต่อไปรับภาระแทน
ดูตัวอย่างของการเข้าแก้ไขปัญหาภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ซึนามิ และการรั่วไหลของรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นก็ได้ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมิได้ “กู้” เพื่อมาฟื้นฟูพื้นที่และผู้คนที่ประสบภัยแต่เพียงข้างเดียว หากแต่ยังต้องคิดต่อไปด้วยว่าจะเอาเงินที่ไหนมาคืน แนวทางการ “กู้” จึงต้องประกอบไปด้วยแนวทางการ “คืนเงินกู้” ควบคู่ไปด้วย ซึ่งหมายถึงหากไม่ขายทรัพย์สินที่รัฐมีอยู่ก็ต้องขึ้นภาษี ไม่มีหนทางเลือกอื่นใดอีก
การขายหุ้นในกิจการยาสูบและไปรษณีย์ รวมถึงการขึ้นภาษีประเภทต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นเลือกที่จะกระทำ แล้วรัฐบาลไทยที่มีรายรับชักหน้าไม่ถึงหลังจะทำอย่างไร
ประเด็นหลักหลังน้ำท่วมก็คือ รัฐบาลชุดนี้หรือชุดหน้าจำต้องยกเลิกโครงการประชานิยมที่ไปหาเสียงไว้เพื่อนำเอาเงินที่จะไปใช้ในโครงการดังกล่าวไปใช้ “ฟื้นฟู” สภาพเศรษฐกิจสังคม
จะไปเพิ่มรายได้เป็น 300 บาทต่อวันได้อย่างไร หากโรงงานไม่สามารถจ้างงานได้เพราะน้ำท่วม
จะไปอุดหนุนให้คนซื้อรถคันแรกได้อย่างไรในเมื่อถนนใช้การไม่ได้เพราะน้ำท่วม ขณะที่คนซื้อรถที่อาจตกงานก็ต้องนำเงินไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นมากกว่าหลังน้ำท่วม
จะไปประกันราคาข้าวตันละ 15,000 บาทได้อย่างไร ในเมื่อนาล่มเพราะน้ำท่วม
อย่าได้อ้างเหตุผลเหมือนเลขาสภาพัฒน์ท่านหนึ่งที่เคยกล่าวหลังเกิดคลื่นสึนามิว่าเศรษฐกิจจะเจริญเติบโตมากกว่าเดิมเพราะจะมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ได้คิดให้รอบคอบก่อนพูดว่าที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นก็เพราะ “ทุน” ที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็น ถนน ตึกรามบ้านช่องนั้นเสียหายและต้องการการลงทุนเพื่อชดเชยสิ่งที่เสียหายไป หาใช่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดไม่
นอกเหนือจาก “ทุน” ทางกายภาพที่สูญเสียไปจากน้ำท่วมในครั้งนี้แล้ว ความมั่นใจของประชาชนต่อรัฐบาลและนักการเมืองของรัฐไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการ “ฟื้นฟู”
ความมั่นใจ เป็นสิ่งที่จับต้องก็ไม่ได้ หาซื้อก็ไม่ได้เช่นกัน จะได้มาก็ด้วยการกระทำแต่เพียงทางเดียวเท่านั้น ไม่มีทางลัด รัฐบาลชุดนี้ได้ทำลายความมั่นใจที่สาธารณชนเคยมีไปเรียบร้อยแล้ว
ประเทศไทยเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศมาก็หลายสิบปีแล้ว อาจกล่าวได้ว่านักลงทุนต่างชาติเป็นนายจ้างที่สำคัญของแรงงานไทยก็ว่าได้ สิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ได้กระทำลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความล้มเหลวในการป้องกันน้ำท่วมได้ทำให้มุมมองในความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เพราะนักลงทุนต่างชาติไม่เข้าใจว่าทำไมแค่เรื่องป้องกันน้ำท่วมรัฐบาลชุดนี้ของไทยจึงไม่สามารถทำอะไรได้เลย ปล่อยให้ท่วมได้กว่าครึ่งค่อนประเทศ
โลกาภิวัตน์ได้ทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำตามความถนัดมากขึ้น การผลิตจึงมิได้กระทำให้เสร็จสิ้นภายใต้หลังคาโรงงานเดียวกัน หากแต่กระทำภายใต้หลังคาของหลายโรงงานทั้งในและนอกประเทศ รถยนต์คันหนึ่งหรือกางเกงยีนตัวหนึ่งจึงอาจมีส่วนประกอบและขั้นตอนการผลิตที่มาจากทั่วโลก การหยุดสะดุดในการผลิตชิ้นส่วนจากประเทศหนึ่งจึงสามารถทำให้การผลิตรถยนต์หรือกางเกงยีนไม่สามารถทำต่อไปได้
กรณีโรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้าเป็นตัวอย่างที่ดีว่า นอกจากต้องหยุดการผลิตไปเนื่องจากภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวที่อีสานของญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาแล้ว ยังต้องหยุดการผลิตซ้ำสองอันเนื่องจากน้ำท่วมในประเทศไทยเดือนตุลาคมปีเดียวกันอีกครั้ง
แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือแผ่นดินไหวไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดที่ใดเวลาใด จุดกำเนิดของแผ่นดินไหวก็ใกล้กับที่ตั้งของโรงงานมาก การป้องกันภัยจาก “น้ำมาก” ที่มากับคลื่นสึนามิที่มีต่อทรัพย์สินของเอกชน เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้า ของรัฐบาลญี่ปุ่นจึงทำได้ยากเพราะมีเวลาเตือนภัยล่วงหน้าน้อยมากไม่น่าจะเกิน 30 นาที ทำได้ก็แต่เพียงอพยพผู้คนเท่านั้น
เมื่อเปรียบเทียบกับ “น้ำมาก” ของประเทศไทย “การจัดการ” ของรัฐบาลชุดนี้ของไทยจึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความล้มเหลวในความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างแท้จริง เพราะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับกรณีแผ่นดินไหว “น้ำมาก” เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้าอยู่แล้วในช่วงเวลาเช่นนี้ของประเทศไทย สามารถคาดเดาทิศทางได้ง่าย เดินทางช้าทำให้มีเวลาเตรียมตัวได้มาก
สิ่งสุดท้ายที่จะตอกย้ำความล้มเหลวให้ชัดเจนขึ้นก็คือต้องใช้เวลาเท่าใดรัฐบาลชุดนี้ของไทยจึงจะสามารถทำให้กิจการผลิต เช่น โรงงานฮอนด้า สามารถเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง
ถึงเวลาแล้วที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์จะตัดสินใจ “ลาออก” เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนชาวไทยและเพื่อเปิดโอกาสให้สภาฯ ได้เลือกผู้บริหารชุดใหม่เข้ามาทำงานแทน อันจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน
อย่าได้มายืนงกๆ เงิ่นๆ กล่าวคำว่า “เสียใจ” หรือ “ขอโทษ” หรืออะไรที่เขาเขียนมาให้อ่านอีกต่อไปเลย
**********************
*1 The Japan Foundation Fellow บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องแต่อย่างใด