เสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย
ไม่ได้บอกว่านักการเมืองสามารถทำอะไรก็ได้
นอกจากความล้าสมัยในด้านการให้บริการที่ไปรษณีย์ต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้แล้ว ขนาดของมันยังทำให้ไปรษณีย์มีปัญหา ในกิจการด้านการธนาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับฝากเงินที่มีบัญชีเงินฝากสูงถึง 57 ล้านบัญชีหรือเกือบครึ่งของจำนวนประชากรประมาณ 120 ล้านคน ในด้านการประกันภัยก็มีกรมธรรม์ประกันภัยแบบออมทรัพย์มากที่สุด มีสาขาที่ทำการกว่า 24,000 แห่งและพนักงานกว่า 200,000 คนทั่วประเทศ
การแปรรูปไปรษณีย์จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากด้วยเหตุผลสองประการคือ ไปรษณีย์ขาดประสิทธิภาพในการบริหารเงินฝากอันเป็นหนี้สินที่สำคัญเพราะไม่สามารถปล่อยสินเชื่อด้วยตนเองโดยไม่เกิดมีหนี้เสีย (NPL) สูงได้เช่นที่ธนาคารพาณิชย์เอกชนทำ และการมีหลายหน้าที่ทำให้เกิดการสนับสนุนข้ามกิจการหรือ cross subsidized ทำให้กิจการที่ขาดทุน เช่น กิจการด้านไปรษณีย์ ยังดำรงคงอยู่ได้ก็เพราะนำเอาผลกำไรจากกิจการด้านการธนาคารหรือประกันภัยมาชดเชยสนับสนุนซึ่งไม่เป็นผลดีเพราะเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด
นายโคะอิซูมิใช้เวลากว่า 4 ปีในการร่างและผ่านกฎหมายแปรรูปกิจการไปรษณีย์ไปได้ในปี 2005 ด้วยคะแนนเสียงอย่างเฉียดฉิวเพราะส.ส.ในพรรคของเขาส่วนหนึ่งที่นำโดยนายชิซูกะ คะเมอิ (亀井 静香) ส.ส. 8 สมัย อดีตตำรวจเก่า “กบฏ” ไม่ออกเสียงสนับสนุนกฎหมายดังกล่าวที่เสนอโดยรัฐบาล
แต่ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือการที่สภาสูงคว่ำกฎหมายแปรรูปที่ผ่านไปจากสภาล่าง ทำให้นายโคะอิซูมิตัดสินใจยุบสภาเลือกตั้งใหม่ในทันทีเพื่อขอฉันทามติจากประชาชนอีกครั้งในปี 2005 ว่าจะยินดีให้ปฏิรูปกิจการไปรษณีย์ตามที่เขาเสนอหรือไม่
ผลปรากฏว่านายโคะอิซูมิได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากประชาชนโดยพรรคเสรีประชาธิปไตยของเขาชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลายได้เสียงข้างมากในสภา ทำให้เขาสามารถผ่านกฎหมายแปรรูปกิจการไปรษณีย์ไปได้ในปีนั้น
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้กลับไม่จบ ภายหลังจากที่นายโคะอิซูมิลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและนายกฯ ในปี 2006 กระบวนการแปรรูปตามกฎหมายที่ได้ผ่านสภาไปถูกพรรคประชาชนใหม่ (People’s New Party) ที่ตั้งขึ้นมาใหม่นำโดยนายคะเมอิที่ถูกขับออกจากพรรคเสรีประชาธิปไตยไปร่วมมือกับฝ่ายค้านพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan) ที่มีนายอิชิโร่ โอซาว่าผู้นำในขณะนั้นเสนอกฎหมาย “แช่เย็น” เพื่อถ่วงเวลาการแปรรูปไปรษณีย์ในปลายปี 2007 ออกไปอีก 10 ปี
แม้ว่ากฎหมาย “แช่เย็น” จะไม่ผ่านการเห็นชอบในปลายปี 2008 จากสภาล่างที่พรรคเสรีประชาธิปไตยคุมเสียงข้างมากอยู่ก็ตาม แต่พรรคฝ่ายค้านและแค้นทั้งสองก็อาศัยประเด็นนี้มาหาเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2009
ประเด็นหลักของความพยายาม “ย้อนอดีต” มิให้มีการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ของพรรคฝ่ายค้านทั้งสองพรรคก็คือ ข้ออ้างของการเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินของ “คนชนบท” หากมีการยุบสาขาที่ทำการไปรษณีย์ที่ขาดทุน และนำเอากิจการด้านการเงินออกไปจากไปรษณีย์ มีการเสนอให้ลดขนาดไปรษณีย์ให้เล็กลงโดยไม่แปรรูปแยกหน้าที่ไปรษณีย์กับสถาบันการเงินออกจากกัน
เมื่อพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นสามารถชนะการเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในสภา รัฐบาลที่นำโดยนายฮะโตยามะจึงได้เสนอกฎหมายใหม่เพื่อ “แช่เย็น” การขายหุ้น Japan Post Holdings จนถึงปี 2017 เพื่อมิให้มีการแปรรูปนำหุ้นออกขายตามที่นายโคะอิซูมิได้ทำเอาไว้ ตามข้อเสนอของนายคะเมอิ ศัตรูคนสำคัญของนายโคะอิซูมิในการแปรรูปไปรษณีย์ มีการขยายวงเงินการรับฝากเงินจากบัญชีละ 10 ล้านเยนมาเป็น 20 ล้านเยนและขยายวงเงินการคุ้มครองกรมธรรม์ที่ออกโดยไปรษณีย์จาก 13 ล้านเยนมาเป็น 25 ล้านเยนต่อกรมธรรม์
ดูไปแล้วเหมือนว่าพรรคทั้งสองจะทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ของประชาชนในการชะลอการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรืออีกนัยหนึ่งไม่ขายทรัพย์สินของรัฐและเพิ่มประโยชน์ที่รัฐวิสาหกิจให้กับประชาชนที่ถูกจำกัดไว้ เช่น วงเงินรับฝากเงิน และ ทุนประกันฯ ให้มากขึ้น
แต่เรื่องการผลิกนโยบายนี้ของญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกับหลายๆ นโยบายในรัฐบาลปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนจากการประกันรายได้ของรัฐบาลอภิสิทธิ์มาเป็นการประกันราคาข้าวอีกครั้ง
ประเด็นก็คือ นักการเมืองทำไปเพื่อเป็นผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่หรือเพียงเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง เจือสมประโยชน์ของคนส่วนน้อยกับประโยชน์ของนักการเมืองเข้าด้วยกัน นักการเมืองสามารถพลิกนโยบายกลับไปมาได้อยู่แล้ว แต่การรักษากฎหมายที่แม้ตนจะไม่ได้เป็นผู้ออกก็เป็นการทำไปเพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม
นักการเมืองเมื่อผ่านการหาเสียงไปแล้วมัก “ลืมตัว” อยู่เป็นประจำว่าตนเองเป็น “ตัวแทน” ประชาชนทั้งประเทศ มิใช่ตัวแทนของตนเองหรือพรรคหรือพวกหรือของจังหวัดใด
ประโยชน์ต่อสาธารณะของการแปรรูปไปรษณีย์มาเป็น 4 กิจการตามหน้าที่ในรูปแบบของบริษัทจำกัดเป็นการทำเพื่อมิให้นักการเมืองสามารถเข้ามาก่อหนี้สาธารณะผ่านการสั่งการให้ไปรษณีย์นำเงินฝากที่หามาได้มาซื้อพันธบัตรอันเป็นหนี้สินของรัฐบาลโดยหลีกเลี่ยงการขึ้นภาษีนักการเมืองจึงสามารถนำเงินจากการขายพันธบัตรไปใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลที่มักเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพและเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตนเอง การ “ลดขนาด” ไปรษณีย์โดยไม่แยกหน้าที่สถาบันการเงินออกจากกิจการไปรษณีย์มิได้ตอบโจทย์ในเรื่องนี้แต่อย่างใด
ในทางตรงกันข้าม การ “เพิ่มขนาด” โดยการเพิ่มขนาดหนี้สินจากการรับฝากเงินตามนโยบายของนายคะเมอิ ไม่ว่าจะโดยการรับฝากเงินในรูปแบบของบัญชีเงินฝากหรือกรมธรรม์แบบออมทรัพย์เป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมกันในการแข่งขันหรือ level playing field ให้เกิดขึ้นกับกิจการด้านธนาคารพาณิชย์และการประกันภัยของเอกชน เพราะรัฐในระบบทุนนิยมมิได้มีหน้าที่เข้ามาค้าขายแข่งกับเอกชน เนื่องจากอำนาจรัฐจะสร้างความได้เปรียบในกิจการที่เป็นของรัฐ (รัฐวิสาหกิจ) เช่น การไม่ต้องมีเงินสำรองจากการฝากเงิน หรือการประกันเงินฝากโดยนัยจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นบ่อเกิดของการสร้างความไม่มีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นและเป็นภาระทางการเงินให้กับประชาชนโดยรัฐบาลอย่างไม่จำเป็นหากมีการบริหารผิดพลาดที่มีตัวอย่างให้เห็นอยู่เนืองๆ
อีกประเด็นที่หลบซ่อนอยู่ก็คือการหาเสียงกับพนักงานไปรษณีย์กว่า 200,000 คนทั่วประเทศที่อาจจะต้องตกงานเพราะมีการยุบเลิกที่ทำการไปรษณีย์ที่ขาดทุน
อาจเป็นโชคดีของคนญี่ปุ่นที่นายโอซาว่าไม่ได้เป็นนายกฯ และรัฐบาลของนายฮะโตยามะที่รับเอานโยบายแบบพลิกขั้วในเรื่องการแปรรูปไปรษณีย์ของนายคะเมอิอยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานรัฐบาลต่อมาของนายคังก็ง่อนแง่นและสาละวนอยู่กับการเอาตัวรอดจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ มิเช่นนั้นการพลิกนโยบายอาจขยายผลไปมากกว่านี้
อย่างไรก็ตามปัญหาในเรื่องนี้ก็คงหนีไม่พ้นการตัดสินใจของนายโนดะนายกฯ คนปัจจุบันจากพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นพรรคเดียวกับนายโอซาว่า นายฮะโตยามะ และนายคัง ที่ยังมีเวลาอยู่ในตำแหน่งตามวาระถึงปี 2013 ซึ่งหากพิจารณาจากถ้อยแถลงของนายโนดะแล้วการแปรรูปไปรษณีย์เพื่อขายหาเงินมาบูรณะพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติเพื่อลดภาระประชาชนจากการขึ้นภาษีเป็นหนึ่งในนโยบายของเขา
แม้ว่าอาจมีการต่อต้านภายในพรรคของเขาเพราะเป็นหนึ่งในนโยบายที่พรรคเอามาหาเสียงเข้าสู่สภา แต่การถูกดำเนินคดีเข้าสู่ศาลของนายโอซาว่าในกรณีการรับเงินบริจาคทางการเมืองอย่างผิดกฎหมายน่าจะทำให้แรงต่อต้านจากกลุ่มของนายโอซาว่าซึ่งมีส.ส.ในสังกัดมากที่สุดลดน้อยลง ในขณะที่แรงสนับสนุนจากประชาชนในการไม่แปรรูปไปรษณีย์มีน้อยกว่าที่ต้องการให้แปรรูปมาก ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจการสนับสนุนพรรคของนายคะเมอิที่มีส.ส.ในสังกัดไม่กี่คนที่อยู่ในระดับใกล้ศูนย์ ในทางตรงกันข้ามฉันทามติของประชาชนในการแปรรูปไปรษณีย์ยังคงอยู่ในระดับสูง
นายโนดะจึงมีโอกาสเป็นนายกฯ ที่ได้รับความนิยมดังเช่นนายกฯ โคะอิซูมิเคยได้รับหากตัดสินใจไปในทางที่ประชาชนต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการปฏิรูปเศรษฐกิจผ่านการแปรรูปไปรษณีย์ สำคัญว่ากล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่
เรื่องการแปรรูปไปรษณีย์นี้จึงคล้ายกับข้อเสนอในการแก้กฎหมายย้อนหลังเพื่อให้ทักษิณพ้นผิดของกลุ่มนิติราษฎร์ เป็นลักษณะการแก้กฎหมายให้เข้ากับพฤติกรรมคนที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ไม่ใช่ปรับพฤติกรรมคนให้เข้ากับกฎหมายเพื่อจะได้อยู่ด้วยกันได้เพราะมีมาตรฐานเดียว
**************
1 The Japan Foundation Fellow บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องแต่อย่างใด
ไม่ได้บอกว่านักการเมืองสามารถทำอะไรก็ได้
นอกจากความล้าสมัยในด้านการให้บริการที่ไปรษณีย์ต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้แล้ว ขนาดของมันยังทำให้ไปรษณีย์มีปัญหา ในกิจการด้านการธนาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับฝากเงินที่มีบัญชีเงินฝากสูงถึง 57 ล้านบัญชีหรือเกือบครึ่งของจำนวนประชากรประมาณ 120 ล้านคน ในด้านการประกันภัยก็มีกรมธรรม์ประกันภัยแบบออมทรัพย์มากที่สุด มีสาขาที่ทำการกว่า 24,000 แห่งและพนักงานกว่า 200,000 คนทั่วประเทศ
การแปรรูปไปรษณีย์จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากด้วยเหตุผลสองประการคือ ไปรษณีย์ขาดประสิทธิภาพในการบริหารเงินฝากอันเป็นหนี้สินที่สำคัญเพราะไม่สามารถปล่อยสินเชื่อด้วยตนเองโดยไม่เกิดมีหนี้เสีย (NPL) สูงได้เช่นที่ธนาคารพาณิชย์เอกชนทำ และการมีหลายหน้าที่ทำให้เกิดการสนับสนุนข้ามกิจการหรือ cross subsidized ทำให้กิจการที่ขาดทุน เช่น กิจการด้านไปรษณีย์ ยังดำรงคงอยู่ได้ก็เพราะนำเอาผลกำไรจากกิจการด้านการธนาคารหรือประกันภัยมาชดเชยสนับสนุนซึ่งไม่เป็นผลดีเพราะเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด
นายโคะอิซูมิใช้เวลากว่า 4 ปีในการร่างและผ่านกฎหมายแปรรูปกิจการไปรษณีย์ไปได้ในปี 2005 ด้วยคะแนนเสียงอย่างเฉียดฉิวเพราะส.ส.ในพรรคของเขาส่วนหนึ่งที่นำโดยนายชิซูกะ คะเมอิ (亀井 静香) ส.ส. 8 สมัย อดีตตำรวจเก่า “กบฏ” ไม่ออกเสียงสนับสนุนกฎหมายดังกล่าวที่เสนอโดยรัฐบาล
แต่ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือการที่สภาสูงคว่ำกฎหมายแปรรูปที่ผ่านไปจากสภาล่าง ทำให้นายโคะอิซูมิตัดสินใจยุบสภาเลือกตั้งใหม่ในทันทีเพื่อขอฉันทามติจากประชาชนอีกครั้งในปี 2005 ว่าจะยินดีให้ปฏิรูปกิจการไปรษณีย์ตามที่เขาเสนอหรือไม่
ผลปรากฏว่านายโคะอิซูมิได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากประชาชนโดยพรรคเสรีประชาธิปไตยของเขาชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลายได้เสียงข้างมากในสภา ทำให้เขาสามารถผ่านกฎหมายแปรรูปกิจการไปรษณีย์ไปได้ในปีนั้น
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้กลับไม่จบ ภายหลังจากที่นายโคะอิซูมิลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและนายกฯ ในปี 2006 กระบวนการแปรรูปตามกฎหมายที่ได้ผ่านสภาไปถูกพรรคประชาชนใหม่ (People’s New Party) ที่ตั้งขึ้นมาใหม่นำโดยนายคะเมอิที่ถูกขับออกจากพรรคเสรีประชาธิปไตยไปร่วมมือกับฝ่ายค้านพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan) ที่มีนายอิชิโร่ โอซาว่าผู้นำในขณะนั้นเสนอกฎหมาย “แช่เย็น” เพื่อถ่วงเวลาการแปรรูปไปรษณีย์ในปลายปี 2007 ออกไปอีก 10 ปี
แม้ว่ากฎหมาย “แช่เย็น” จะไม่ผ่านการเห็นชอบในปลายปี 2008 จากสภาล่างที่พรรคเสรีประชาธิปไตยคุมเสียงข้างมากอยู่ก็ตาม แต่พรรคฝ่ายค้านและแค้นทั้งสองก็อาศัยประเด็นนี้มาหาเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2009
ประเด็นหลักของความพยายาม “ย้อนอดีต” มิให้มีการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ของพรรคฝ่ายค้านทั้งสองพรรคก็คือ ข้ออ้างของการเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินของ “คนชนบท” หากมีการยุบสาขาที่ทำการไปรษณีย์ที่ขาดทุน และนำเอากิจการด้านการเงินออกไปจากไปรษณีย์ มีการเสนอให้ลดขนาดไปรษณีย์ให้เล็กลงโดยไม่แปรรูปแยกหน้าที่ไปรษณีย์กับสถาบันการเงินออกจากกัน
เมื่อพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นสามารถชนะการเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในสภา รัฐบาลที่นำโดยนายฮะโตยามะจึงได้เสนอกฎหมายใหม่เพื่อ “แช่เย็น” การขายหุ้น Japan Post Holdings จนถึงปี 2017 เพื่อมิให้มีการแปรรูปนำหุ้นออกขายตามที่นายโคะอิซูมิได้ทำเอาไว้ ตามข้อเสนอของนายคะเมอิ ศัตรูคนสำคัญของนายโคะอิซูมิในการแปรรูปไปรษณีย์ มีการขยายวงเงินการรับฝากเงินจากบัญชีละ 10 ล้านเยนมาเป็น 20 ล้านเยนและขยายวงเงินการคุ้มครองกรมธรรม์ที่ออกโดยไปรษณีย์จาก 13 ล้านเยนมาเป็น 25 ล้านเยนต่อกรมธรรม์
ดูไปแล้วเหมือนว่าพรรคทั้งสองจะทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ของประชาชนในการชะลอการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรืออีกนัยหนึ่งไม่ขายทรัพย์สินของรัฐและเพิ่มประโยชน์ที่รัฐวิสาหกิจให้กับประชาชนที่ถูกจำกัดไว้ เช่น วงเงินรับฝากเงิน และ ทุนประกันฯ ให้มากขึ้น
แต่เรื่องการผลิกนโยบายนี้ของญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกับหลายๆ นโยบายในรัฐบาลปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนจากการประกันรายได้ของรัฐบาลอภิสิทธิ์มาเป็นการประกันราคาข้าวอีกครั้ง
ประเด็นก็คือ นักการเมืองทำไปเพื่อเป็นผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่หรือเพียงเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง เจือสมประโยชน์ของคนส่วนน้อยกับประโยชน์ของนักการเมืองเข้าด้วยกัน นักการเมืองสามารถพลิกนโยบายกลับไปมาได้อยู่แล้ว แต่การรักษากฎหมายที่แม้ตนจะไม่ได้เป็นผู้ออกก็เป็นการทำไปเพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม
นักการเมืองเมื่อผ่านการหาเสียงไปแล้วมัก “ลืมตัว” อยู่เป็นประจำว่าตนเองเป็น “ตัวแทน” ประชาชนทั้งประเทศ มิใช่ตัวแทนของตนเองหรือพรรคหรือพวกหรือของจังหวัดใด
ประโยชน์ต่อสาธารณะของการแปรรูปไปรษณีย์มาเป็น 4 กิจการตามหน้าที่ในรูปแบบของบริษัทจำกัดเป็นการทำเพื่อมิให้นักการเมืองสามารถเข้ามาก่อหนี้สาธารณะผ่านการสั่งการให้ไปรษณีย์นำเงินฝากที่หามาได้มาซื้อพันธบัตรอันเป็นหนี้สินของรัฐบาลโดยหลีกเลี่ยงการขึ้นภาษีนักการเมืองจึงสามารถนำเงินจากการขายพันธบัตรไปใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลที่มักเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพและเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตนเอง การ “ลดขนาด” ไปรษณีย์โดยไม่แยกหน้าที่สถาบันการเงินออกจากกิจการไปรษณีย์มิได้ตอบโจทย์ในเรื่องนี้แต่อย่างใด
ในทางตรงกันข้าม การ “เพิ่มขนาด” โดยการเพิ่มขนาดหนี้สินจากการรับฝากเงินตามนโยบายของนายคะเมอิ ไม่ว่าจะโดยการรับฝากเงินในรูปแบบของบัญชีเงินฝากหรือกรมธรรม์แบบออมทรัพย์เป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมกันในการแข่งขันหรือ level playing field ให้เกิดขึ้นกับกิจการด้านธนาคารพาณิชย์และการประกันภัยของเอกชน เพราะรัฐในระบบทุนนิยมมิได้มีหน้าที่เข้ามาค้าขายแข่งกับเอกชน เนื่องจากอำนาจรัฐจะสร้างความได้เปรียบในกิจการที่เป็นของรัฐ (รัฐวิสาหกิจ) เช่น การไม่ต้องมีเงินสำรองจากการฝากเงิน หรือการประกันเงินฝากโดยนัยจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นบ่อเกิดของการสร้างความไม่มีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นและเป็นภาระทางการเงินให้กับประชาชนโดยรัฐบาลอย่างไม่จำเป็นหากมีการบริหารผิดพลาดที่มีตัวอย่างให้เห็นอยู่เนืองๆ
อีกประเด็นที่หลบซ่อนอยู่ก็คือการหาเสียงกับพนักงานไปรษณีย์กว่า 200,000 คนทั่วประเทศที่อาจจะต้องตกงานเพราะมีการยุบเลิกที่ทำการไปรษณีย์ที่ขาดทุน
อาจเป็นโชคดีของคนญี่ปุ่นที่นายโอซาว่าไม่ได้เป็นนายกฯ และรัฐบาลของนายฮะโตยามะที่รับเอานโยบายแบบพลิกขั้วในเรื่องการแปรรูปไปรษณีย์ของนายคะเมอิอยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานรัฐบาลต่อมาของนายคังก็ง่อนแง่นและสาละวนอยู่กับการเอาตัวรอดจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ มิเช่นนั้นการพลิกนโยบายอาจขยายผลไปมากกว่านี้
อย่างไรก็ตามปัญหาในเรื่องนี้ก็คงหนีไม่พ้นการตัดสินใจของนายโนดะนายกฯ คนปัจจุบันจากพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นพรรคเดียวกับนายโอซาว่า นายฮะโตยามะ และนายคัง ที่ยังมีเวลาอยู่ในตำแหน่งตามวาระถึงปี 2013 ซึ่งหากพิจารณาจากถ้อยแถลงของนายโนดะแล้วการแปรรูปไปรษณีย์เพื่อขายหาเงินมาบูรณะพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติเพื่อลดภาระประชาชนจากการขึ้นภาษีเป็นหนึ่งในนโยบายของเขา
แม้ว่าอาจมีการต่อต้านภายในพรรคของเขาเพราะเป็นหนึ่งในนโยบายที่พรรคเอามาหาเสียงเข้าสู่สภา แต่การถูกดำเนินคดีเข้าสู่ศาลของนายโอซาว่าในกรณีการรับเงินบริจาคทางการเมืองอย่างผิดกฎหมายน่าจะทำให้แรงต่อต้านจากกลุ่มของนายโอซาว่าซึ่งมีส.ส.ในสังกัดมากที่สุดลดน้อยลง ในขณะที่แรงสนับสนุนจากประชาชนในการไม่แปรรูปไปรษณีย์มีน้อยกว่าที่ต้องการให้แปรรูปมาก ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจการสนับสนุนพรรคของนายคะเมอิที่มีส.ส.ในสังกัดไม่กี่คนที่อยู่ในระดับใกล้ศูนย์ ในทางตรงกันข้ามฉันทามติของประชาชนในการแปรรูปไปรษณีย์ยังคงอยู่ในระดับสูง
นายโนดะจึงมีโอกาสเป็นนายกฯ ที่ได้รับความนิยมดังเช่นนายกฯ โคะอิซูมิเคยได้รับหากตัดสินใจไปในทางที่ประชาชนต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการปฏิรูปเศรษฐกิจผ่านการแปรรูปไปรษณีย์ สำคัญว่ากล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่
เรื่องการแปรรูปไปรษณีย์นี้จึงคล้ายกับข้อเสนอในการแก้กฎหมายย้อนหลังเพื่อให้ทักษิณพ้นผิดของกลุ่มนิติราษฎร์ เป็นลักษณะการแก้กฎหมายให้เข้ากับพฤติกรรมคนที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ไม่ใช่ปรับพฤติกรรมคนให้เข้ากับกฎหมายเพื่อจะได้อยู่ด้วยกันได้เพราะมีมาตรฐานเดียว
**************
1 The Japan Foundation Fellow บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องแต่อย่างใด