โดย...ชวินทร์ ลีนะบรรจง1
แนวคิดของโรงเรียน “คนเสื้อแดง” และ “เพื่อไทย”
คือ “รัฐไทยใหม่” ที่ต้องแตกต่างไปจากประเทศไทยแน่นอน
แล้วแนวคิดของธรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ฯลฯ คืออะไร
โคโนซุเกะ มัตซึชิตะ เจ้าพ่อแห่งการบริหารของญี่ปุ่นที่ไม่เพียงสร้างอาณาจักรผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ามัตซึชิตะหรือที่รู้จักในปัจจุบันคือ พานาโซนิค ให้เป็นกระดูกสันหลังของญี่ปุ่นในยุคสร้างชาติ แต่ยังมีมรดกอีกอันหนึ่งที่เขาได้สร้างขึ้นมาและกำลังผลิดอกออกผล สิ่งนั้นคือสถาบันสร้างผู้นำประเทศที่รู้จักในชื่อของ Matsushita Institute of Government and Management
นายโนดะ ก่อนที่จะเข้ามาสู่การเมืองจนได้ตำแหน่งนายกฯ เป็นเด็กบ้านนอกคนหนึ่งจากจังหวัดชิบะ มีบิดาเป็นข้าราชการทหารยศไม่สูงนัก ไม่มีเส้นสายทางการเมือง ไม่ร่ำรวย และไม่มีชื่อเสียงที่ใครๆ รู้จัก แถมพูดในที่สาธารณะไม่เป็นจนต้องออกมาหัดยืนพูดหาเสียงหน้าสถานีรถไฟทุกเช้า
แต่การเข้ามาเป็นนักเรียนรุ่นแรก 1 ใน 26 คนจากผู้สมัคร 907 คนของสถาบันของมัตซึชิตะเมื่อกว่า 30 ปีก่อนน่าจะเรียกได้ว่าเปลี่ยนแปลงชีวิตของนายโนดะไปอย่างสิ้นเชิง เพราะได้เรียนฟรี มีเงินเดือน แถมได้อาศัยชื่อเสียงของนายมัตซึชิตะเป็นใบเบิกทาง
นายมัตซึชิตะสร้างสถาบันมัตซึชิตะนี้ขึ้นมาน่าจะด้วยปรัชญาหรือแนวคิดที่ว่า ประเทศก็เหมือนบริษัทต้องการคนเก่งคนดีเข้ามาทำงาน ประสบการณ์จากสงครามโลกครั้งที่สองได้สอนให้รู้ว่าความล่มจมของประเทศญี่ปุ่นอันเนื่องมาจากการเข้าสู่สงครามนั้นมิได้มาจากลัทธิทางการทหารแต่เพียงลำพัง แต่สาเหตุที่อาจจะสำคัญมากกว่าก็คือความล้มเหลวของการเมืองญี่ปุ่น คุณภาพของนักการเมืองจึงมีความสำคัญมากกว่าอำนาจทางการทหาร
การสร้างบริษัทประเทศญี่ปุ่น หรือ Japan Inc. ด้วยการสร้างคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อเข้าสู่การเมืองเพื่อสร้างชาติจึงเป็นปรัชญาและแนวคิดของนายมัตซึชิตะในการก่อตั้งสถาบันมัตซึชิตะแห่งนี้
นายมัตซึชิตะจึงยอมควักกระเป๋าด้วยเงินกว่า 7 พันล้านเยนให้กับสถาบันมัตซึชิตะเพื่อสร้างนักการเมืองพันธุ์ใหม่ให้กับประเทศญี่ปุ่น เพราะเขาเรียนรู้จากประสบการณ์ของการเป็นผู้เสียภาษีอันดับต้นๆ ของประเทศว่า ภาษีที่เขาเสียไปนั้นถูกนักการเมืองนำไปใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายในขณะที่ประชาชนอย่างเขาหรือใครๆ อีกหลายคนกว่าจะได้เงินมาแต่ละเยนก็แสนลำบาก
รัฐบาลญี่ปุ่นหลายๆ รัฐบาลสร้างหนี้สาธารณะอย่างต่อเนื่องมาเป็นลำดับจากประมาณ 5.6 ล้านล้านเยนเมื่อกว่า 30 ปีก่อนมาเป็นกว่า 67 ล้านล้านเยนในปัจจุบันทั้งๆ มีการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุกปี นี่คือข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ของสวัสดิการสังคมที่แย่ลงของประชาชนญี่ปุ่นโดยรวม และการที่ญี่ปุ่นกำลังจะเข้าสู่สังคมของคนแก่ที่มีอัตราการเกิดและจำนวนประชากรลดลงยิ่งทำให้ภาระในการชดใช้คืนหนี้สาธารณะเหล่านี้ทำได้ยากขึ้นหากไม่เพิ่มอัตราภาษีเพราะจะมีคนในวัยทำงานที่มีรายได้ที่สามารถเสียภาษีน้อยลงไปเรื่อยๆ ขณะที่มีคนนอกวัยทำงานไม่เสียภาษีมากขึ้น
รัฐที่ไม่มีภาษี หรือ state without tax จึงเป็นแนวคิดของสถาบันมัตซึชิตะ เพราะนักการเมืองมีหน้าที่หลักในการสร้างความกินดีอยู่ดี การลดภาระภาษีที่ประชาชนจะต้องเสียถือเป็นมาตรการรูปธรรม เพราะการไม่ถูกเก็บภาษีหรือเก็บภาษีให้น้อยที่สุดของประชาชนถือเป็นการเพิ่มสวัสดิการสังคมสร้างความกินดีอยู่ดีอย่างแท้จริง
นักการเมืองจึงมิได้มีหน้าที่มาเพิ่มภาษี หรือกู้ยืม อันเป็นการหลีกเลี่ยงการขึ้นภาษีในปัจจุบัน แต่ต้องไปเสียภาษีเพิ่มในอนาคตแทน เพื่อที่จะนำเงินไปใช้จ่ายเองผ่านโครงการต่างๆ ของรัฐบาลโดยข้ออ้างของการสร้างสวัสดิการให้สังคม ประชาชนสามารถเลือกตัดสินใจใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของตนได้เองโดยไม่ต้องให้รัฐเข้าแทรกแซงเก็บเงินจากคนหนึ่งไปจ่ายให้อีกคนหนึ่ง มิพักที่จะกล่าวถึงประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินภาษีของหน่วยงานของรัฐ
การเข้ามาแทรกแซงกลไกตลาด เช่น การประกันหรือจำนำราคาข้าว โครงการบ้านหลังแรก รถคันแรก แจกคอมพิวเตอร์ให้เด็ก รถเมล์รถไฟฟรีในประเทศไทยที่ทำโดยรัฐบาลจึงเป็นตัวอย่างเข้าข่ายทำให้สวัสดิการสังคมของประเทศลดลงทั้งสิ้นเพราะไม่ใช่หน้าที่ของรัฐแต่ประการใด
การจัดทำงบประมาณในระยะยาวเพื่อให้มีการวางแผนการใช้จ่ายอันจะทำให้รู้สถานะทางการคลังที่ดีมากว่าที่จะมาจัดทำแบบปีต่อปีที่มักจะทำกันแบบลวกๆ ไม่มีเป้าหมาย หรือการให้รัฐบาลสำรองหรือเก็บเงินออมจากงบประมาณร้อยละ 1-2 ต่อปี จะทำให้รัฐบาลมีเงินมาใช้เป็นงบประมาณโดยไม่ต้องเก็บภาษีจากประชาชนในระยะยาว เหล่านี้คือแนวคิดเกี่ยวกับ รัฐที่ไม่มีภาษี ของนายมัตซึชิตะ
นายโนดะถือได้ว่าเป็นศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จของสถาบัน นายมัตซึชิตะในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ “ตาแหลม” มองเห็นแววของนายโนดะจึงรับเข้ามาศึกษา หากมองทอดตาออกไปจะเห็นว่ามีศิษย์เก่าจากสถาบันแห่งนี้มากหน้าหลายตาในวงการเมือง เช่น นายเกมบะ (รุ่น 8) รัฐมนตรีต่างประเทศในปัจจุบัน หรือ นายมายเอฮาระ(รุ่น 8) อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศและผู้ชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคร่วมกับนายโนดะ เป็นต้น จากจำนวน 38 คนในปัจจุบันที่เข้าสู่การเมืองมีทั้งฝ่ายพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน
อย่างไรก็ตาม “ฝัน” ของนายมัตซึชิตะ อาจเป็นความจริงแค่ครึ่งเดียวเพราะแม้จะสร้างคนเพื่อเข้าสู่การเมืองและเป็นนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล 28 คนและอยู่ในรัฐบาลเกือบ 10 คนที่เป็นศิษย์เก่าจากสถาบันมัตซึชิตะ แต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครเอาใจใส่กับปรัชญาและแนวคิดของนายมัตซึชิตะเกี่ยวกับ “รัฐที่ไม่มีภาษี” แต่อย่างใด เพราะการขึ้นภาษีดูเหมือนว่าจะเป็นวาระอันดับแรกๆ ในรัฐบาลของนายโนดะศิษย์รุ่นแรกแถมยังเป็นกรรมการสถาบันมัตซึชิตะเสียอีก
ประเด็นเรื่องปรัชญาและแนวคิดเพื่อนำมาเป็นรากฐานของสถาบันการศึกษาดูเหมือนจะถูกละเลยมิได้เอาใจใส่เท่าที่ควรทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญ อย่างน้อยก็ทำให้สามารถประเมินกระบวนการผลิตและผลผลิตของสถาบันนั้นๆ ได้ว่าเป็นไปเจตนารมณ์ของการก่อตั้งหรือไม่ ไม่ต้องมีแบบฟอร์มหรือสถาบันอื่นใดมาประเมินให้ยุ่งยากวุ่นวายนอกเหนือไปจากการสร้างเอกลักษณ์ในผลผลิต
ปัญหาเรื่องการศึกษาในประเทศไทยประการหนึ่งก็คือ สถาบันการศึกษาไม่ได้เน้นหรือแสดงออกอย่างชัดแจ้งว่า ปรัชญาหรือแนวคิดในการก่อตั้งสถาบันของตนเป็นอย่างไร เมื่อขาดหรือไม่ยึดถืออย่างจริงจังในสิ่งนี้ก็ไม่มีเอกลักษณ์ ทำให้ขาดซึ่งตัวตนและแนวทางในการบรรลุวัตถุประสงค์ สถาบันการศึกษานั้นก็ขาดซึ่งจุดยืนในสังคม ผลผลิต เช่น นักศึกษา หรือผลงาน เช่น งานวิจัย ก็ขาดซึ่งแนวคิดอันเป็นเอกลักษณ์
เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ ตัวอย่างของอาจารย์กลุ่มหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่เรียกตนเองว่า “นิติราษฎร์” ที่ออกมาเรียกร้องให้มีการ “ออกกฎหมายให้สิ่งที่ตายไปแล้วให้กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมา” เช่น รัฐธรรมนูญหลายฉบับก่อนหน้า หรือผู้ที่ถูกคำพิพากษาเด็ดขาด เช่น ทักษิณ จะไม่เกิดขึ้นเลยหากมหาวิทยาลัยยึดถือปรัชญาหรือแนวคิดในการก่อตั้งอย่างชัดเจน
เรื่องนี้มิใช่ความเห็นต่างหรือเสรีภาพในการแสดงออก หากแต่เป็นเรื่องของหลักการที่เป็นพื้นฐาน จะออกความเห็นเช่นนั้นได้ก็ต้องมีข้อพิสูจน์ให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าความเห็นของกลุ่มตนนั้นสอดคล้องกับปรัชญาและแนวคิดของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นที่ทำงานที่ตนเองสังกัดอยู่
เพราะตอนเข้ารับราชการก็ต้องเซ็นรับทราบว่าเห็นด้วยกับระบบการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ หรือในช่วงหลังต้องยินยอมไปสอนที่รังสิต หากใครไม่เห็นด้วยก็อย่าเข้ามาเป็นพวกหรืออย่ามาลงเรือลำเดียวกันก็เท่านั้นเอง ยิ่งเป็นบุคคลที่รับทุนยิ่งต้องมีสำนึก
ผู้บริหารสถาบันการศึกษาจึงไม่ควรละเลยไม่เอาใจใส่ปรัชญาและแนวคิดของตนเองว่าคืออะไร การแกล้ง “ทำมึน” โดยอ้างว่าเป็นเสรีภาพทางวิชาการนั้นดูจะเป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง สถาบันการศึกษามิใช่มีเพียงอาจารย์ อาคารสถานที่ และทำให้นักเรียนเรียนจบก็เพียงพอแล้ว หากแต่ยังต้องมีปรัชญาและแนวคิดเป็นหลักการพื้นฐานว่าสถาบันนี้ตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร ผลิตคนที่จบออกไปสอดคล้องกันหรือไม่
โรงเรียนและหมู่บ้าน “คนเสื้อแดง” ที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยเป็นตัวอย่างที่ดีว่าก่อตั้งขึ้นมาด้วยแนวคิดสร้าง “รัฐไทยใหม่” ซึ่งมิใช่ประเทศไทยที่เรารู้จักอย่างแน่นอน มิเช่นนั้นจะเรียกว่า “รัฐไทยใหม่” ไปทำไม
**********************
*1 The Japan Foundation Fellow บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องแต่อย่างใด
แนวคิดของโรงเรียน “คนเสื้อแดง” และ “เพื่อไทย”
คือ “รัฐไทยใหม่” ที่ต้องแตกต่างไปจากประเทศไทยแน่นอน
แล้วแนวคิดของธรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ฯลฯ คืออะไร
โคโนซุเกะ มัตซึชิตะ เจ้าพ่อแห่งการบริหารของญี่ปุ่นที่ไม่เพียงสร้างอาณาจักรผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ามัตซึชิตะหรือที่รู้จักในปัจจุบันคือ พานาโซนิค ให้เป็นกระดูกสันหลังของญี่ปุ่นในยุคสร้างชาติ แต่ยังมีมรดกอีกอันหนึ่งที่เขาได้สร้างขึ้นมาและกำลังผลิดอกออกผล สิ่งนั้นคือสถาบันสร้างผู้นำประเทศที่รู้จักในชื่อของ Matsushita Institute of Government and Management
นายโนดะ ก่อนที่จะเข้ามาสู่การเมืองจนได้ตำแหน่งนายกฯ เป็นเด็กบ้านนอกคนหนึ่งจากจังหวัดชิบะ มีบิดาเป็นข้าราชการทหารยศไม่สูงนัก ไม่มีเส้นสายทางการเมือง ไม่ร่ำรวย และไม่มีชื่อเสียงที่ใครๆ รู้จัก แถมพูดในที่สาธารณะไม่เป็นจนต้องออกมาหัดยืนพูดหาเสียงหน้าสถานีรถไฟทุกเช้า
แต่การเข้ามาเป็นนักเรียนรุ่นแรก 1 ใน 26 คนจากผู้สมัคร 907 คนของสถาบันของมัตซึชิตะเมื่อกว่า 30 ปีก่อนน่าจะเรียกได้ว่าเปลี่ยนแปลงชีวิตของนายโนดะไปอย่างสิ้นเชิง เพราะได้เรียนฟรี มีเงินเดือน แถมได้อาศัยชื่อเสียงของนายมัตซึชิตะเป็นใบเบิกทาง
นายมัตซึชิตะสร้างสถาบันมัตซึชิตะนี้ขึ้นมาน่าจะด้วยปรัชญาหรือแนวคิดที่ว่า ประเทศก็เหมือนบริษัทต้องการคนเก่งคนดีเข้ามาทำงาน ประสบการณ์จากสงครามโลกครั้งที่สองได้สอนให้รู้ว่าความล่มจมของประเทศญี่ปุ่นอันเนื่องมาจากการเข้าสู่สงครามนั้นมิได้มาจากลัทธิทางการทหารแต่เพียงลำพัง แต่สาเหตุที่อาจจะสำคัญมากกว่าก็คือความล้มเหลวของการเมืองญี่ปุ่น คุณภาพของนักการเมืองจึงมีความสำคัญมากกว่าอำนาจทางการทหาร
การสร้างบริษัทประเทศญี่ปุ่น หรือ Japan Inc. ด้วยการสร้างคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อเข้าสู่การเมืองเพื่อสร้างชาติจึงเป็นปรัชญาและแนวคิดของนายมัตซึชิตะในการก่อตั้งสถาบันมัตซึชิตะแห่งนี้
นายมัตซึชิตะจึงยอมควักกระเป๋าด้วยเงินกว่า 7 พันล้านเยนให้กับสถาบันมัตซึชิตะเพื่อสร้างนักการเมืองพันธุ์ใหม่ให้กับประเทศญี่ปุ่น เพราะเขาเรียนรู้จากประสบการณ์ของการเป็นผู้เสียภาษีอันดับต้นๆ ของประเทศว่า ภาษีที่เขาเสียไปนั้นถูกนักการเมืองนำไปใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายในขณะที่ประชาชนอย่างเขาหรือใครๆ อีกหลายคนกว่าจะได้เงินมาแต่ละเยนก็แสนลำบาก
รัฐบาลญี่ปุ่นหลายๆ รัฐบาลสร้างหนี้สาธารณะอย่างต่อเนื่องมาเป็นลำดับจากประมาณ 5.6 ล้านล้านเยนเมื่อกว่า 30 ปีก่อนมาเป็นกว่า 67 ล้านล้านเยนในปัจจุบันทั้งๆ มีการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุกปี นี่คือข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ของสวัสดิการสังคมที่แย่ลงของประชาชนญี่ปุ่นโดยรวม และการที่ญี่ปุ่นกำลังจะเข้าสู่สังคมของคนแก่ที่มีอัตราการเกิดและจำนวนประชากรลดลงยิ่งทำให้ภาระในการชดใช้คืนหนี้สาธารณะเหล่านี้ทำได้ยากขึ้นหากไม่เพิ่มอัตราภาษีเพราะจะมีคนในวัยทำงานที่มีรายได้ที่สามารถเสียภาษีน้อยลงไปเรื่อยๆ ขณะที่มีคนนอกวัยทำงานไม่เสียภาษีมากขึ้น
รัฐที่ไม่มีภาษี หรือ state without tax จึงเป็นแนวคิดของสถาบันมัตซึชิตะ เพราะนักการเมืองมีหน้าที่หลักในการสร้างความกินดีอยู่ดี การลดภาระภาษีที่ประชาชนจะต้องเสียถือเป็นมาตรการรูปธรรม เพราะการไม่ถูกเก็บภาษีหรือเก็บภาษีให้น้อยที่สุดของประชาชนถือเป็นการเพิ่มสวัสดิการสังคมสร้างความกินดีอยู่ดีอย่างแท้จริง
นักการเมืองจึงมิได้มีหน้าที่มาเพิ่มภาษี หรือกู้ยืม อันเป็นการหลีกเลี่ยงการขึ้นภาษีในปัจจุบัน แต่ต้องไปเสียภาษีเพิ่มในอนาคตแทน เพื่อที่จะนำเงินไปใช้จ่ายเองผ่านโครงการต่างๆ ของรัฐบาลโดยข้ออ้างของการสร้างสวัสดิการให้สังคม ประชาชนสามารถเลือกตัดสินใจใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของตนได้เองโดยไม่ต้องให้รัฐเข้าแทรกแซงเก็บเงินจากคนหนึ่งไปจ่ายให้อีกคนหนึ่ง มิพักที่จะกล่าวถึงประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินภาษีของหน่วยงานของรัฐ
การเข้ามาแทรกแซงกลไกตลาด เช่น การประกันหรือจำนำราคาข้าว โครงการบ้านหลังแรก รถคันแรก แจกคอมพิวเตอร์ให้เด็ก รถเมล์รถไฟฟรีในประเทศไทยที่ทำโดยรัฐบาลจึงเป็นตัวอย่างเข้าข่ายทำให้สวัสดิการสังคมของประเทศลดลงทั้งสิ้นเพราะไม่ใช่หน้าที่ของรัฐแต่ประการใด
การจัดทำงบประมาณในระยะยาวเพื่อให้มีการวางแผนการใช้จ่ายอันจะทำให้รู้สถานะทางการคลังที่ดีมากว่าที่จะมาจัดทำแบบปีต่อปีที่มักจะทำกันแบบลวกๆ ไม่มีเป้าหมาย หรือการให้รัฐบาลสำรองหรือเก็บเงินออมจากงบประมาณร้อยละ 1-2 ต่อปี จะทำให้รัฐบาลมีเงินมาใช้เป็นงบประมาณโดยไม่ต้องเก็บภาษีจากประชาชนในระยะยาว เหล่านี้คือแนวคิดเกี่ยวกับ รัฐที่ไม่มีภาษี ของนายมัตซึชิตะ
นายโนดะถือได้ว่าเป็นศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จของสถาบัน นายมัตซึชิตะในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ “ตาแหลม” มองเห็นแววของนายโนดะจึงรับเข้ามาศึกษา หากมองทอดตาออกไปจะเห็นว่ามีศิษย์เก่าจากสถาบันแห่งนี้มากหน้าหลายตาในวงการเมือง เช่น นายเกมบะ (รุ่น 8) รัฐมนตรีต่างประเทศในปัจจุบัน หรือ นายมายเอฮาระ(รุ่น 8) อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศและผู้ชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคร่วมกับนายโนดะ เป็นต้น จากจำนวน 38 คนในปัจจุบันที่เข้าสู่การเมืองมีทั้งฝ่ายพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน
อย่างไรก็ตาม “ฝัน” ของนายมัตซึชิตะ อาจเป็นความจริงแค่ครึ่งเดียวเพราะแม้จะสร้างคนเพื่อเข้าสู่การเมืองและเป็นนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล 28 คนและอยู่ในรัฐบาลเกือบ 10 คนที่เป็นศิษย์เก่าจากสถาบันมัตซึชิตะ แต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครเอาใจใส่กับปรัชญาและแนวคิดของนายมัตซึชิตะเกี่ยวกับ “รัฐที่ไม่มีภาษี” แต่อย่างใด เพราะการขึ้นภาษีดูเหมือนว่าจะเป็นวาระอันดับแรกๆ ในรัฐบาลของนายโนดะศิษย์รุ่นแรกแถมยังเป็นกรรมการสถาบันมัตซึชิตะเสียอีก
ประเด็นเรื่องปรัชญาและแนวคิดเพื่อนำมาเป็นรากฐานของสถาบันการศึกษาดูเหมือนจะถูกละเลยมิได้เอาใจใส่เท่าที่ควรทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญ อย่างน้อยก็ทำให้สามารถประเมินกระบวนการผลิตและผลผลิตของสถาบันนั้นๆ ได้ว่าเป็นไปเจตนารมณ์ของการก่อตั้งหรือไม่ ไม่ต้องมีแบบฟอร์มหรือสถาบันอื่นใดมาประเมินให้ยุ่งยากวุ่นวายนอกเหนือไปจากการสร้างเอกลักษณ์ในผลผลิต
ปัญหาเรื่องการศึกษาในประเทศไทยประการหนึ่งก็คือ สถาบันการศึกษาไม่ได้เน้นหรือแสดงออกอย่างชัดแจ้งว่า ปรัชญาหรือแนวคิดในการก่อตั้งสถาบันของตนเป็นอย่างไร เมื่อขาดหรือไม่ยึดถืออย่างจริงจังในสิ่งนี้ก็ไม่มีเอกลักษณ์ ทำให้ขาดซึ่งตัวตนและแนวทางในการบรรลุวัตถุประสงค์ สถาบันการศึกษานั้นก็ขาดซึ่งจุดยืนในสังคม ผลผลิต เช่น นักศึกษา หรือผลงาน เช่น งานวิจัย ก็ขาดซึ่งแนวคิดอันเป็นเอกลักษณ์
เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ ตัวอย่างของอาจารย์กลุ่มหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่เรียกตนเองว่า “นิติราษฎร์” ที่ออกมาเรียกร้องให้มีการ “ออกกฎหมายให้สิ่งที่ตายไปแล้วให้กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมา” เช่น รัฐธรรมนูญหลายฉบับก่อนหน้า หรือผู้ที่ถูกคำพิพากษาเด็ดขาด เช่น ทักษิณ จะไม่เกิดขึ้นเลยหากมหาวิทยาลัยยึดถือปรัชญาหรือแนวคิดในการก่อตั้งอย่างชัดเจน
เรื่องนี้มิใช่ความเห็นต่างหรือเสรีภาพในการแสดงออก หากแต่เป็นเรื่องของหลักการที่เป็นพื้นฐาน จะออกความเห็นเช่นนั้นได้ก็ต้องมีข้อพิสูจน์ให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าความเห็นของกลุ่มตนนั้นสอดคล้องกับปรัชญาและแนวคิดของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นที่ทำงานที่ตนเองสังกัดอยู่
เพราะตอนเข้ารับราชการก็ต้องเซ็นรับทราบว่าเห็นด้วยกับระบบการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ หรือในช่วงหลังต้องยินยอมไปสอนที่รังสิต หากใครไม่เห็นด้วยก็อย่าเข้ามาเป็นพวกหรืออย่ามาลงเรือลำเดียวกันก็เท่านั้นเอง ยิ่งเป็นบุคคลที่รับทุนยิ่งต้องมีสำนึก
ผู้บริหารสถาบันการศึกษาจึงไม่ควรละเลยไม่เอาใจใส่ปรัชญาและแนวคิดของตนเองว่าคืออะไร การแกล้ง “ทำมึน” โดยอ้างว่าเป็นเสรีภาพทางวิชาการนั้นดูจะเป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง สถาบันการศึกษามิใช่มีเพียงอาจารย์ อาคารสถานที่ และทำให้นักเรียนเรียนจบก็เพียงพอแล้ว หากแต่ยังต้องมีปรัชญาและแนวคิดเป็นหลักการพื้นฐานว่าสถาบันนี้ตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร ผลิตคนที่จบออกไปสอดคล้องกันหรือไม่
โรงเรียนและหมู่บ้าน “คนเสื้อแดง” ที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยเป็นตัวอย่างที่ดีว่าก่อตั้งขึ้นมาด้วยแนวคิดสร้าง “รัฐไทยใหม่” ซึ่งมิใช่ประเทศไทยที่เรารู้จักอย่างแน่นอน มิเช่นนั้นจะเรียกว่า “รัฐไทยใหม่” ไปทำไม
**********************
*1 The Japan Foundation Fellow บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องแต่อย่างใด