ปรัชญาและแนวคิดเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม
เพราะมันสะท้อนถึงตัวตนหรือเอกลักษณ์ว่าเป็นคนอย่างไร
การแก้ไขปัญหาโดยการขึ้นภาษีดูจะเป็นวิธีการที่นักการเมืองโดยทั่วไปไม่ชอบใช้มากที่สุดก็ว่าได้ แต่ก็เป็นเรื่องแปลกที่ประเทศญี่ปุ่นโดยการนำของนายกฯ โนดะหลังประสบเหตุแผ่นดินไหวเมื่อ 11 มีนาคมที่ผ่านมาและต้องการเงินไปฟื้นฟูกลับเลือกใช้
ประเด็นที่เป็นข้อด้อยของมาตรการทางการคลังประเภทภาษีนี้ก็คือ ภาษีเป็นเรื่องของการบังคับจัดเก็บ ดังนั้นจึงไม่ได้ถามว่าผู้เสียภาษียินดีหรือไม่เพียงใดที่จะเสียภาษี การจะบอกว่าสังคมจะมีสวัสดิการหรือ welfare ที่ดีขึ้นเมื่อเก็บภาษีจากคนหนึ่งแล้วนำไปให้อีกคนหนึ่งด้วยการอุดหนุน (เก็บภาษีเป็นลบ)นั้นไม่สามารถบอกได้ เพราะเงิน 1 บาทของคนแต่ละคนมี “ค่า” ไม่เท่ากัน บาทที่ล้านของคนรวยมี “ค่า” ไม่เท่ากับบาทที่ร้อยของคนจนแน่นอน
ดูการให้สัมภาษณ์ของปลัดกระทรวงพาณิชย์ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างก็ได้ว่ามีความเข้าใจในประเด็นเรื่องนี้มากน้อยเพียงใดสมควรเป็นผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานหรือไม่
“ไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงมีการจับจ้องนโยบายรับจำนำครั้งนี้กันนัก เพราะไทยมีนโยบายรับจำนำมาโดยตลอด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ขายข้าวได้ในราคาสูงขึ้น ถือเป็นการยกระดับรายได้ และชีวิตความเป็นอยู่ อยากบอกให้คนที่ปล่อยข่าวว่าต่างประเทศกำลังจับตานโยบายนี้ เพราะกลัวจะเป็นการอุดหนุนเกินวงเงินที่ผูกพันไว้ใน WTO หยุดพูดได้แล้ว อยากให้ทำเพื่อประเทศชาติบ้าง และอยากถามว่า รับจำนำแล้วราคาข้าวไทยสูงขึ้น ก็จะฉุดให้ราคาข้าวคู่แข่งสูงขึ้นด้วย แล้วอย่างนี้มีใครเสียหายหรือไม่” นายยรรยง กล่าว
การประกันราคาข้าวหรือจำนำราคาข้าวเป็นการขึ้นภาษีอย่างหนึ่งที่ฝ่ายผู้บริโภคเป็นผู้จ่ายจากส่วนต่างของราคาข้าวที่แพงขึ้นกว่าความจริง ในขณะที่ผู้ขายข้าวที่อาจเป็นได้ทั้ง ชาวนา โรงสี ฯลฯ จะเป็นผู้ได้รับภาษีนี้ในรูปของเงินอุดหนุนที่เก็บมาจากผู้บริโภคเพื่อใช้ประกันราคาข้าว แต่ประเด็นก็คือจะบอกได้อย่างไรว่าประโยชน์ของคนกินข้าวมากกว่าประโยชน์ของผู้ขายจนต้องเก็บเงิน (ภาษี) มาช่วย ถ้าไม่มีข้าวมาจำนำนโยบายประกันรายได้ที่กำลังจะถูกเลิกไปจะดีกว่าใช่หรือไม่ ถ้าใช่แล้วทำไมจึงไม่คัดค้านปล่อยให้เสียหายมาตั้งนาน อย่าอ้างว่าทำเพื่อชาติเลย บางกรณีอย่างเช่นการประกันราคาข้าวเช่นนี้หากไม่ทำก็เป็นประโยชน์กับชาติเหมือนกันเพราะทำไปแล้วชาติเสียหาย
ภาษีจึงแตกต่างไปจากมาตรการทางการคลัง เช่น การใช้จ่ายเงินผ่านงบประมาณของรัฐที่ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับประโยชน์จะยินดีไม่ขัดข้องที่จะรับ ส่วนมากในทุกประเทศต้องทำเป็นกฎหมายเพื่อขออนุญาตจากประชาชนให้รัฐบาลในฐานะตัวแทนของรัฐสามารถนำเงิน เช่น รายได้จากภาษีที่เก็บเข้ามาเอาไปใช้จ่ายได้
ดังนั้นงบประมาณจึงมีลักษณะที่ต้องผูกพันหมายหัวหรือ ear mark เอาไว้ว่าจะนำไปใช้จ่ายในเรื่องอะไร โครงการใด จะมาตั้งเป็นงบฉุกเฉินลอยๆเอาไว้โดยไม่ระบุวัตถุประสงค์หรือระบุวัตถุประสงค์อย่างกว้างๆ เป็นจำนวนมากเหมือนที่รัฐบาลทักษิณในอดีตทำมาในงบกลางฯ หรืองบจากกองสลากฯ นั้นไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะงบประมาณเป็นเงินของประชาชนจะใช้ต้องขออนุญาตและต้องบอกวัตถุประสงค์ให้แน่ชัด ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ก็ปรากฏให้เห็นแล้วว่ามีการนำเงินนี้ไปใช้จ่ายตามอำเภอใจในโครงการที่ไม่ได้ขออนุญาตจากประชาชนผ่านสภา
จะเสียหายหรือไม่อย่างไรไม่ใช่เรื่องที่นักการเมืองหรือข้าราชการจะมาตัดสินเอาตามลำพังได้ แต่ข้อสำคัญก็คือต้องมาขออนุญาตใช้จ่ายเงินก่อนจะใช้ นี่คือหลักการ
นักการเมืองจึงไม่นิยมมาตรการทางการคลังด้านภาษีเพราะเป็นสิ่งที่ดูเหมือนว่าประชาชนที่เป็นผู้เลือกนักการเมืองไม่ชอบก็เลยไม่ทำ แต่ประเด็นพื้นฐานก็คือ เมื่อไม่ทำหรือไม่เก็บภาษีแล้วจะเอาเงินที่ไหนไปใช้จ่ายตามที่ได้ “หาเสียง” เอาไว้ผ่านงบประมาณรายจ่ายที่มักมีแต่เพิ่มไม่มีลด
นี่คือสิ่งที่ขัดแย้งในตัวนักการเมืองที่นิยมหาเสียงแบบเอาใจประชาชนผ่านนโยบายประชานิยมเพราะมีแต่พูดถึงเรื่องของการ “หาเอามาให้” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเพิ่มเงินในกระเป๋า หรือการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการแบบ “ฟรี” จากภาครัฐเนื่องจากประชาชนนิยม แต่ไม่พูดเลยว่าจะหาเงินจากที่ใดมาใช้ “เงิน” นั้นเสกขึ้นมาไม่ได้แน่นอน
นายโนดะในฐานะนายกฯ ต้องการ “ฟื้นฟู” พื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ ต้องการเงินไปใช้จ่ายในงบประมาณที่ต้องตั้งเพิ่มขึ้นมา นายโนดะอาจเลือกวิธีการกู้ยืมเงินแทนการเก็บภาษีก็ได้ แต่พันธบัตรหรือหนี้สินของรัฐที่เกิดขึ้นนั้นมิใช่เป็นความมั่งคั่ง หรือ wealth ของรัฐหรือประชาชนโดยรวมแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามหนี้เหล่านี้คือหนี้สาธารณะที่ประชาชนทุกคนต่างต้องมีส่วนในการชดใช้
นักการเมืองอาจคิดว่าตนเองฉลาดเลือกที่จะตั้งเพดานหนี้สาธารณะไว้ระดับหนึ่ง เช่น ที่ร้อยละ 5-60 ของ GDP เพื่อให้ประชาชน “เบาใจ” แล้วเลือกที่จะออกพันธบัตรใหม่มาขายเพื่อหาเงินไปใช้พันธบัตรเก่าที่ครบอายุไถ่ถอนหรือถึงกำหนดชำระเงิน เรียกว่าเป็นการ roll-over หรือหมุนหนี้ต่อไปในอนาคตเรื่อยๆ โดยไม่คิดจะใช้คืนหนี้นี้แต่อย่างใด เพราะส่วนใหญ่แล้วอายุรัฐบาลมักจะสั้นกว่าอายุไถ่ถอนพันธบัตร คนก่อหนี้จึงมักไม่ได้เป็นคนใช้หนี้ ดังนั้นระดับหนี้สาธารณะแม้จะคงที่ก็ไม่ได้บอกว่าสุขภาพด้านการคลังของประเทศดีแต่ประการใด
ในทำนองเดียวกัน เงินคงคลังที่มักจะถูกเข้าใจผิดว่าแสดงถึงสถานะทางการคลังที่ดี หากมองในแง่ของค่าเสียโอกาสแล้วการมีระดับของเงินคงคลังสูงหมายถึงประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินตามโครงการของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากตั้งรายจ่ายไว้เกินความสามารถในการใช้ ทำให้ต้องเก็บภาษีจากประชาชนเกินความจำเป็น ดังนั้นไม่ว่าจะมีเงินคงคลังอยู่มากหรือน้อยก็ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ว่าสถานะทางการคลังดีหรือเลวแต่ประการใด เพราะเป็นเงินส่วนที่รัฐบาลใช้จ่ายตามกฎหมายงบประมาณรายจ่ายได้ไม่หมด ดังนั้นเมื่อเหลือจ่ายก็ต้องคืนคลังกลายเป็นเงินคงคลัง
ทางเลือกในการฟื้นฟูของรัฐบาลนายโนดะจึงมุ่งไปที่รายได้จากภาษีและการขายทรัพย์สินของรัฐเพื่อมารองรับค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูเป็นการชั่วคราว ประเด็นก็คือ จะเลือกการขึ้นมาภาษีใด
การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีผู้บริโภคดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าภาษีเงินได้ในแง่ที่ว่าประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้เท่าเทียมกันเพราะเก็บจากการบริโภค ดังนั้นจึงมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ภาษีเงินได้มีข้อดีตรงที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติจะไม่ต้องรับภาระเพราะไม่มีรายได้จะเสียภาษีบุคคลหรือนิติบุคคล เป็นการให้ “แต้มต่อ” แต่ก็มีข้อเสียที่สำคัญคือภาระตกอยู่เฉพาะกับคนที่มีรายได้ซึ่งไม่ครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแน่นอนและเป็นรายได้ที่เข้ามาไม่สม่ำเสมอ
ท่าทีของนายโนดะดูจะมุ่งไปที่การเพิ่มภาษีเงินได้มากกว่าภาษีการบริโภคโดยอ้างว่าภาษีการบริโภคได้ถูกตั้งเป้าหมายเอาไว้เพื่อสวัสดิการสังคมซึ่งอาจจะต้องมาตีความว่าการฟื้นฟูลงทุนในสิ่งปลูกสร้างใหม่นั้นเป็นสวัสดิการสังคมหรือไม่ ดังนั้นหากจะขึ้นภาษีเงินได้พร้อมกับการขายทรัพย์สินของรัฐ หากจะให้อยู่ในกรอบภาระของคนรุ่นนี้ ผู้มีเงินได้ญี่ปุ่นอาจจะต้องเสียภาษีเป็นเงินเพิ่มอีกประมาณร้อยละ 5-6 ของจำนวนเงินภาษีที่เคยเสียไปอีก 10 ปีภาษี
แต่ข้อวิพากษ์ที่สำคัญเกี่ยวกับนโยบายภาษีของนายโนดะก็คือ เขาเป็นศิษย์รุ่นแรกที่จบจากสถาบัน Matsushita Institute of Government and Management ที่ถือได้ว่าเป็นโรงเรียนสร้างผู้นำของญี่ปุ่นของนาย โคโนซูเกะ มัตซึชิตะ ผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตเครื่องไฟฟ้าชั้นนำมัตซึชิตะ และแนวคิดอันหนึ่งที่สำคัญของสถาบันนี้ก็คือ “รัฐที่ไม่มีภาษี” แต่นายโนดะดูเหมือนจะดำเนินนโยบายไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับแนวคิดที่ได้รับการสั่งสอนมาทั้งที่ตนเองก็เป็นคณะกรรมการสถาบันฯ นี้มาก่อนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีและนายกฯ
เหตุใดนายโนดะจึงปฏิเสธและทำในทางตรงกันข้ามปรัชญาและแนวคิดของ “โรงเรียน” หรือ school of thought ที่ตนเองได้รับการสั่งสอนมา แถมยังเป็นผู้ควบคุมด้านนโยบายของโรงเรียนนี้อีกด้วย
* * * * *
ขอแถมท้ายด้วยข่าวล่ามาช้า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ศาลกรุงโตเกียวได้ตัดสินจำคุกผู้ใกล้ชิดนายโคอิชิโร่ โอซาว่า 3 คนจากความผิดในข้อหารับเงินบริจาคทางการเมืองอย่างผิดกฎหมายตั้งแต่ 1-3 ปีซึ่งจะมีผลอย่างมากต่อการพิจารณาคดีเดียวกันนี้ของนายโอซาว่าที่จะเริ่มขึ้นในเดือนหน้านี้เพราะทั้ง 3 คนเป็นผู้ที่ทำงานให้นายโอซาว่า มีตำแหน่งที่รับเงินเดือนจากรัฐในฐานะผู้ช่วย ส.ส.
นายโอซาว่า จาก “ขาใหญ่” ทางการเมืองอดีตตัวเก็งนายกฯ อาจจะต้องจบชีวิตทางการเมืองหากศาลเห็นด้วยกับข้อกล่าวหาเช่นเดียวกับที่ผู้ใกล้ชิดทั้ง 3 คนของเขา ประเด็นสำคัญก็คือคดีนายโอซาว่าถูกนำขึ้นพิจารณาในศาลได้ก็ด้วยสามัญชน 11 คนมิใช่จากอัยการเพราะอัยการสั่งไม่ฟ้อง แต่ 検察審査会 อ่านว่า เคนซัดซึชินซะไค (Committee for the Inquest Prosecution) คณะที่ 5 ของกรุงโตเกียวจำนวน 11 คนที่เป็นหน่วยงานอิสระตามกฎหมายมีความเห็นว่า การที่อัยการสั่งไม่ฟ้องนายโอซาว่านั้นไม่เหมาะสม สมควรให้ดำเนินคดี (ดูรายละเอียดในตอนที่ 8)
เมื่อเปรียบเทียบกับที่อัยการ “ตัดตอน” ทำตัวเป็นผู้พิพากษาเสียเองในกรณีไม่ยื่นฎีกาคดีภาษีหรือในอีกหลายๆ คดีที่สังคมมีความเคลือบแคลงสงสัย สมควรแล้วหรือยังที่ควรจะมีกรรมการอิสระเช่นนี้บ้างเพื่อตรวจสอบให้ประชาชนคลายความสงสัยที่มีต่ออัยการว่าได้ทำงานตามปรัชญาและแนวคิดในการมีอัยการเป็น “ทนาย” ของแผ่นดินหรือไม่
*1 The Japan Foundation Fellow บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องแต่อย่างใด
เพราะมันสะท้อนถึงตัวตนหรือเอกลักษณ์ว่าเป็นคนอย่างไร
การแก้ไขปัญหาโดยการขึ้นภาษีดูจะเป็นวิธีการที่นักการเมืองโดยทั่วไปไม่ชอบใช้มากที่สุดก็ว่าได้ แต่ก็เป็นเรื่องแปลกที่ประเทศญี่ปุ่นโดยการนำของนายกฯ โนดะหลังประสบเหตุแผ่นดินไหวเมื่อ 11 มีนาคมที่ผ่านมาและต้องการเงินไปฟื้นฟูกลับเลือกใช้
ประเด็นที่เป็นข้อด้อยของมาตรการทางการคลังประเภทภาษีนี้ก็คือ ภาษีเป็นเรื่องของการบังคับจัดเก็บ ดังนั้นจึงไม่ได้ถามว่าผู้เสียภาษียินดีหรือไม่เพียงใดที่จะเสียภาษี การจะบอกว่าสังคมจะมีสวัสดิการหรือ welfare ที่ดีขึ้นเมื่อเก็บภาษีจากคนหนึ่งแล้วนำไปให้อีกคนหนึ่งด้วยการอุดหนุน (เก็บภาษีเป็นลบ)นั้นไม่สามารถบอกได้ เพราะเงิน 1 บาทของคนแต่ละคนมี “ค่า” ไม่เท่ากัน บาทที่ล้านของคนรวยมี “ค่า” ไม่เท่ากับบาทที่ร้อยของคนจนแน่นอน
ดูการให้สัมภาษณ์ของปลัดกระทรวงพาณิชย์ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างก็ได้ว่ามีความเข้าใจในประเด็นเรื่องนี้มากน้อยเพียงใดสมควรเป็นผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานหรือไม่
“ไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงมีการจับจ้องนโยบายรับจำนำครั้งนี้กันนัก เพราะไทยมีนโยบายรับจำนำมาโดยตลอด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ขายข้าวได้ในราคาสูงขึ้น ถือเป็นการยกระดับรายได้ และชีวิตความเป็นอยู่ อยากบอกให้คนที่ปล่อยข่าวว่าต่างประเทศกำลังจับตานโยบายนี้ เพราะกลัวจะเป็นการอุดหนุนเกินวงเงินที่ผูกพันไว้ใน WTO หยุดพูดได้แล้ว อยากให้ทำเพื่อประเทศชาติบ้าง และอยากถามว่า รับจำนำแล้วราคาข้าวไทยสูงขึ้น ก็จะฉุดให้ราคาข้าวคู่แข่งสูงขึ้นด้วย แล้วอย่างนี้มีใครเสียหายหรือไม่” นายยรรยง กล่าว
การประกันราคาข้าวหรือจำนำราคาข้าวเป็นการขึ้นภาษีอย่างหนึ่งที่ฝ่ายผู้บริโภคเป็นผู้จ่ายจากส่วนต่างของราคาข้าวที่แพงขึ้นกว่าความจริง ในขณะที่ผู้ขายข้าวที่อาจเป็นได้ทั้ง ชาวนา โรงสี ฯลฯ จะเป็นผู้ได้รับภาษีนี้ในรูปของเงินอุดหนุนที่เก็บมาจากผู้บริโภคเพื่อใช้ประกันราคาข้าว แต่ประเด็นก็คือจะบอกได้อย่างไรว่าประโยชน์ของคนกินข้าวมากกว่าประโยชน์ของผู้ขายจนต้องเก็บเงิน (ภาษี) มาช่วย ถ้าไม่มีข้าวมาจำนำนโยบายประกันรายได้ที่กำลังจะถูกเลิกไปจะดีกว่าใช่หรือไม่ ถ้าใช่แล้วทำไมจึงไม่คัดค้านปล่อยให้เสียหายมาตั้งนาน อย่าอ้างว่าทำเพื่อชาติเลย บางกรณีอย่างเช่นการประกันราคาข้าวเช่นนี้หากไม่ทำก็เป็นประโยชน์กับชาติเหมือนกันเพราะทำไปแล้วชาติเสียหาย
ภาษีจึงแตกต่างไปจากมาตรการทางการคลัง เช่น การใช้จ่ายเงินผ่านงบประมาณของรัฐที่ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับประโยชน์จะยินดีไม่ขัดข้องที่จะรับ ส่วนมากในทุกประเทศต้องทำเป็นกฎหมายเพื่อขออนุญาตจากประชาชนให้รัฐบาลในฐานะตัวแทนของรัฐสามารถนำเงิน เช่น รายได้จากภาษีที่เก็บเข้ามาเอาไปใช้จ่ายได้
ดังนั้นงบประมาณจึงมีลักษณะที่ต้องผูกพันหมายหัวหรือ ear mark เอาไว้ว่าจะนำไปใช้จ่ายในเรื่องอะไร โครงการใด จะมาตั้งเป็นงบฉุกเฉินลอยๆเอาไว้โดยไม่ระบุวัตถุประสงค์หรือระบุวัตถุประสงค์อย่างกว้างๆ เป็นจำนวนมากเหมือนที่รัฐบาลทักษิณในอดีตทำมาในงบกลางฯ หรืองบจากกองสลากฯ นั้นไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะงบประมาณเป็นเงินของประชาชนจะใช้ต้องขออนุญาตและต้องบอกวัตถุประสงค์ให้แน่ชัด ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ก็ปรากฏให้เห็นแล้วว่ามีการนำเงินนี้ไปใช้จ่ายตามอำเภอใจในโครงการที่ไม่ได้ขออนุญาตจากประชาชนผ่านสภา
จะเสียหายหรือไม่อย่างไรไม่ใช่เรื่องที่นักการเมืองหรือข้าราชการจะมาตัดสินเอาตามลำพังได้ แต่ข้อสำคัญก็คือต้องมาขออนุญาตใช้จ่ายเงินก่อนจะใช้ นี่คือหลักการ
นักการเมืองจึงไม่นิยมมาตรการทางการคลังด้านภาษีเพราะเป็นสิ่งที่ดูเหมือนว่าประชาชนที่เป็นผู้เลือกนักการเมืองไม่ชอบก็เลยไม่ทำ แต่ประเด็นพื้นฐานก็คือ เมื่อไม่ทำหรือไม่เก็บภาษีแล้วจะเอาเงินที่ไหนไปใช้จ่ายตามที่ได้ “หาเสียง” เอาไว้ผ่านงบประมาณรายจ่ายที่มักมีแต่เพิ่มไม่มีลด
นี่คือสิ่งที่ขัดแย้งในตัวนักการเมืองที่นิยมหาเสียงแบบเอาใจประชาชนผ่านนโยบายประชานิยมเพราะมีแต่พูดถึงเรื่องของการ “หาเอามาให้” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเพิ่มเงินในกระเป๋า หรือการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการแบบ “ฟรี” จากภาครัฐเนื่องจากประชาชนนิยม แต่ไม่พูดเลยว่าจะหาเงินจากที่ใดมาใช้ “เงิน” นั้นเสกขึ้นมาไม่ได้แน่นอน
นายโนดะในฐานะนายกฯ ต้องการ “ฟื้นฟู” พื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ ต้องการเงินไปใช้จ่ายในงบประมาณที่ต้องตั้งเพิ่มขึ้นมา นายโนดะอาจเลือกวิธีการกู้ยืมเงินแทนการเก็บภาษีก็ได้ แต่พันธบัตรหรือหนี้สินของรัฐที่เกิดขึ้นนั้นมิใช่เป็นความมั่งคั่ง หรือ wealth ของรัฐหรือประชาชนโดยรวมแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามหนี้เหล่านี้คือหนี้สาธารณะที่ประชาชนทุกคนต่างต้องมีส่วนในการชดใช้
นักการเมืองอาจคิดว่าตนเองฉลาดเลือกที่จะตั้งเพดานหนี้สาธารณะไว้ระดับหนึ่ง เช่น ที่ร้อยละ 5-60 ของ GDP เพื่อให้ประชาชน “เบาใจ” แล้วเลือกที่จะออกพันธบัตรใหม่มาขายเพื่อหาเงินไปใช้พันธบัตรเก่าที่ครบอายุไถ่ถอนหรือถึงกำหนดชำระเงิน เรียกว่าเป็นการ roll-over หรือหมุนหนี้ต่อไปในอนาคตเรื่อยๆ โดยไม่คิดจะใช้คืนหนี้นี้แต่อย่างใด เพราะส่วนใหญ่แล้วอายุรัฐบาลมักจะสั้นกว่าอายุไถ่ถอนพันธบัตร คนก่อหนี้จึงมักไม่ได้เป็นคนใช้หนี้ ดังนั้นระดับหนี้สาธารณะแม้จะคงที่ก็ไม่ได้บอกว่าสุขภาพด้านการคลังของประเทศดีแต่ประการใด
ในทำนองเดียวกัน เงินคงคลังที่มักจะถูกเข้าใจผิดว่าแสดงถึงสถานะทางการคลังที่ดี หากมองในแง่ของค่าเสียโอกาสแล้วการมีระดับของเงินคงคลังสูงหมายถึงประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินตามโครงการของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากตั้งรายจ่ายไว้เกินความสามารถในการใช้ ทำให้ต้องเก็บภาษีจากประชาชนเกินความจำเป็น ดังนั้นไม่ว่าจะมีเงินคงคลังอยู่มากหรือน้อยก็ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ว่าสถานะทางการคลังดีหรือเลวแต่ประการใด เพราะเป็นเงินส่วนที่รัฐบาลใช้จ่ายตามกฎหมายงบประมาณรายจ่ายได้ไม่หมด ดังนั้นเมื่อเหลือจ่ายก็ต้องคืนคลังกลายเป็นเงินคงคลัง
ทางเลือกในการฟื้นฟูของรัฐบาลนายโนดะจึงมุ่งไปที่รายได้จากภาษีและการขายทรัพย์สินของรัฐเพื่อมารองรับค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูเป็นการชั่วคราว ประเด็นก็คือ จะเลือกการขึ้นมาภาษีใด
การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีผู้บริโภคดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าภาษีเงินได้ในแง่ที่ว่าประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้เท่าเทียมกันเพราะเก็บจากการบริโภค ดังนั้นจึงมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ภาษีเงินได้มีข้อดีตรงที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติจะไม่ต้องรับภาระเพราะไม่มีรายได้จะเสียภาษีบุคคลหรือนิติบุคคล เป็นการให้ “แต้มต่อ” แต่ก็มีข้อเสียที่สำคัญคือภาระตกอยู่เฉพาะกับคนที่มีรายได้ซึ่งไม่ครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแน่นอนและเป็นรายได้ที่เข้ามาไม่สม่ำเสมอ
ท่าทีของนายโนดะดูจะมุ่งไปที่การเพิ่มภาษีเงินได้มากกว่าภาษีการบริโภคโดยอ้างว่าภาษีการบริโภคได้ถูกตั้งเป้าหมายเอาไว้เพื่อสวัสดิการสังคมซึ่งอาจจะต้องมาตีความว่าการฟื้นฟูลงทุนในสิ่งปลูกสร้างใหม่นั้นเป็นสวัสดิการสังคมหรือไม่ ดังนั้นหากจะขึ้นภาษีเงินได้พร้อมกับการขายทรัพย์สินของรัฐ หากจะให้อยู่ในกรอบภาระของคนรุ่นนี้ ผู้มีเงินได้ญี่ปุ่นอาจจะต้องเสียภาษีเป็นเงินเพิ่มอีกประมาณร้อยละ 5-6 ของจำนวนเงินภาษีที่เคยเสียไปอีก 10 ปีภาษี
แต่ข้อวิพากษ์ที่สำคัญเกี่ยวกับนโยบายภาษีของนายโนดะก็คือ เขาเป็นศิษย์รุ่นแรกที่จบจากสถาบัน Matsushita Institute of Government and Management ที่ถือได้ว่าเป็นโรงเรียนสร้างผู้นำของญี่ปุ่นของนาย โคโนซูเกะ มัตซึชิตะ ผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตเครื่องไฟฟ้าชั้นนำมัตซึชิตะ และแนวคิดอันหนึ่งที่สำคัญของสถาบันนี้ก็คือ “รัฐที่ไม่มีภาษี” แต่นายโนดะดูเหมือนจะดำเนินนโยบายไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับแนวคิดที่ได้รับการสั่งสอนมาทั้งที่ตนเองก็เป็นคณะกรรมการสถาบันฯ นี้มาก่อนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีและนายกฯ
เหตุใดนายโนดะจึงปฏิเสธและทำในทางตรงกันข้ามปรัชญาและแนวคิดของ “โรงเรียน” หรือ school of thought ที่ตนเองได้รับการสั่งสอนมา แถมยังเป็นผู้ควบคุมด้านนโยบายของโรงเรียนนี้อีกด้วย
* * * * *
ขอแถมท้ายด้วยข่าวล่ามาช้า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ศาลกรุงโตเกียวได้ตัดสินจำคุกผู้ใกล้ชิดนายโคอิชิโร่ โอซาว่า 3 คนจากความผิดในข้อหารับเงินบริจาคทางการเมืองอย่างผิดกฎหมายตั้งแต่ 1-3 ปีซึ่งจะมีผลอย่างมากต่อการพิจารณาคดีเดียวกันนี้ของนายโอซาว่าที่จะเริ่มขึ้นในเดือนหน้านี้เพราะทั้ง 3 คนเป็นผู้ที่ทำงานให้นายโอซาว่า มีตำแหน่งที่รับเงินเดือนจากรัฐในฐานะผู้ช่วย ส.ส.
นายโอซาว่า จาก “ขาใหญ่” ทางการเมืองอดีตตัวเก็งนายกฯ อาจจะต้องจบชีวิตทางการเมืองหากศาลเห็นด้วยกับข้อกล่าวหาเช่นเดียวกับที่ผู้ใกล้ชิดทั้ง 3 คนของเขา ประเด็นสำคัญก็คือคดีนายโอซาว่าถูกนำขึ้นพิจารณาในศาลได้ก็ด้วยสามัญชน 11 คนมิใช่จากอัยการเพราะอัยการสั่งไม่ฟ้อง แต่ 検察審査会 อ่านว่า เคนซัดซึชินซะไค (Committee for the Inquest Prosecution) คณะที่ 5 ของกรุงโตเกียวจำนวน 11 คนที่เป็นหน่วยงานอิสระตามกฎหมายมีความเห็นว่า การที่อัยการสั่งไม่ฟ้องนายโอซาว่านั้นไม่เหมาะสม สมควรให้ดำเนินคดี (ดูรายละเอียดในตอนที่ 8)
เมื่อเปรียบเทียบกับที่อัยการ “ตัดตอน” ทำตัวเป็นผู้พิพากษาเสียเองในกรณีไม่ยื่นฎีกาคดีภาษีหรือในอีกหลายๆ คดีที่สังคมมีความเคลือบแคลงสงสัย สมควรแล้วหรือยังที่ควรจะมีกรรมการอิสระเช่นนี้บ้างเพื่อตรวจสอบให้ประชาชนคลายความสงสัยที่มีต่ออัยการว่าได้ทำงานตามปรัชญาและแนวคิดในการมีอัยการเป็น “ทนาย” ของแผ่นดินหรือไม่
*1 The Japan Foundation Fellow บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องแต่อย่างใด