ASTVผู้จัดการรายวัน-ไทยอ่วม! สหรัฐฯ อินเดีย แท็กทีมกินโต๊ะไทยในเวที WTO อัดนโยบายจำนำทำกลไกตลาดข้าวโลกบิดเบือน เตรียมหารือ "กิตติรัตน์"กำหนดท่าทีชี้แจง "ยรรยง"ยืนยันไม่ผิดกฎเกณฑ์
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า คณะผู้แทนไทยที่รับผิดชอบงานในองค์การการค้าโลก (WTO) จะขอหารือกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เพื่อทราบความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลไทย ที่จะนำไปใช้ชี้แจงนโยบายการค้าของประเทศไทยต่อ WTO ที่กำหนดมีขึ้นในเดือนพ.ย.นี้ เพราะขณะนี้หลายประเทศยักษ์ใหญ่ เช่น สหรัฐฯ และอินเดีย ได้ตั้งคำถามกับไทยถึงนโยบายการอุดหนุนสินค้าเกษตร โดยเฉพาะโครงการรับจำนำที่รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการอยู่ อาจทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกถูกบิดเบือน และมีการอุดหนุนที่เกินขอบเขตที่ WTO กำหนด คือ ไม่เกิน 1.9 หมื่นล้านบาท/ปี
ทั้งนี้ คณะผู้แทนไทยได้กำหนดแนวทางชี้แจงกับ WTO ไว้ระดับหนึ่งแล้ว โดยยืนยันว่าการดำเนินการของไทยไม่ได้ผิดหลักการของ WTO และเชื่อว่าจะสามารถชี้แจงให้ประเทศสมาชิกเข้าใจได้ เพราะการดูแลราคาสินค้าเกษตรของไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับที่หลายประเทศที่เป็นสมาชิก WTO ดำเนินการอยู่ แต่หากมีประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับการชี้แจงของไทย และได้รับความเสียหายก็สามารถฟ้องร้องต่อไทยได้
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การอุดหนุนที่ WTO กลัว คือ การอุดหนุนที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้า และราคาขายสินค้าในประเทศนั้นๆ ต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ประเทศคู่แข่งได้รับความเสียหาย จากการขายสินค้าชนิดเดียวกันไม่ได้ หรืออาจต้องขายราคาต่ำตาม เพื่อให้ขายได้จนขาดทุน ดังนั้น WTO จึงต้องการให้ประเทศสมาชิกลดการอุดหนุน ทั้งภายใน และการส่งออก แตกตางจากกรณีการรับจำนำข้าวของรัฐบาลไทย ถือเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร เพราะจะทำให้ราคาข้าวไทยสูงขึ้นทั้งในประเทศ และราคาส่งออก ซึ่งคู่แข่งของไทยก็จะได้ประโยชน์จากราคาข้าวที่สูงขึ้นตามราคาข้าวไทย และไม่คิดว่า จะมีใครเสียประโยชน์ เพราะคู่แข่งก็ขายข้าวได้สูงขึ้นตาม อย่างกรณีเวียดนาม ที่เมื่อราคาข้าวไทยสูงขึ้น จะถึงให้ราคาข้าวเวียดนามสูงขึ้นตามไปด้วยทันที
สำหรับงบประมาณที่รัฐบาลตั้งเป็นเงินทุนหมุนเวียนการรับจำนำข้าว 4 แสนล้านบาทนั้น ไม่ได้หมายความว่า เมื่อดำเนินนโยบายรับจำนำแล้ว เงินจำนวนดังกล่าวจะสูญไปทั้งหมด หรือรัฐจะต้องเกิดความเสียหาย โดยไม่ได้ประโยชน์ใดๆ กลับคืนมา แต่เงินก้อนดังกล่าวเป็นเงินทุนหมุนเวียน ที่เมื่อใช้ออกไปแล้วก็จะมีเงินก้อนใหม่กลับเข้ามา เมื่อรัฐรับจำนำข้าวได้แล้ว ก็จะมีการระบายออกไปต่างประเทศ และจะมีเงินไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
"ไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงมีการจับจ้องนโยบายรับจำนำครั้งนี้กันนัก เพราะไทยมีนโยบายรับจำนำมาโดยตลอด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ขายข้าวได้ในราคาสูงขึ้น ถือเป็นการยกระดับรายได้ และชีวิตความเป็นอยู่ อยากบอกให้คนที่ปล่อยข่าวว่าต่างประเทศกำลังจับตานโยบายนี้ เพราะกลัวจะเป็นการอุดหนุนเกินวงเงินที่ผูกพันไว้ใน WTO หยุดพูดได้แล้ว อยากให้ทำเพื่อประเทศชาติบ้าง และอยากถามว่า รับจำนำแล้วราคาข้าวไทยสูงขึ้น ก็จะฉุดให้ราคาข้าวคู่แข่งสูงขึ้นด้วย แล้วอย่างนี้มีใครเสียหายหรือไม่"นายยรรยงกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า คณะผู้แทนไทยที่รับผิดชอบงานในองค์การการค้าโลก (WTO) จะขอหารือกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เพื่อทราบความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลไทย ที่จะนำไปใช้ชี้แจงนโยบายการค้าของประเทศไทยต่อ WTO ที่กำหนดมีขึ้นในเดือนพ.ย.นี้ เพราะขณะนี้หลายประเทศยักษ์ใหญ่ เช่น สหรัฐฯ และอินเดีย ได้ตั้งคำถามกับไทยถึงนโยบายการอุดหนุนสินค้าเกษตร โดยเฉพาะโครงการรับจำนำที่รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการอยู่ อาจทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกถูกบิดเบือน และมีการอุดหนุนที่เกินขอบเขตที่ WTO กำหนด คือ ไม่เกิน 1.9 หมื่นล้านบาท/ปี
ทั้งนี้ คณะผู้แทนไทยได้กำหนดแนวทางชี้แจงกับ WTO ไว้ระดับหนึ่งแล้ว โดยยืนยันว่าการดำเนินการของไทยไม่ได้ผิดหลักการของ WTO และเชื่อว่าจะสามารถชี้แจงให้ประเทศสมาชิกเข้าใจได้ เพราะการดูแลราคาสินค้าเกษตรของไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับที่หลายประเทศที่เป็นสมาชิก WTO ดำเนินการอยู่ แต่หากมีประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับการชี้แจงของไทย และได้รับความเสียหายก็สามารถฟ้องร้องต่อไทยได้
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การอุดหนุนที่ WTO กลัว คือ การอุดหนุนที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้า และราคาขายสินค้าในประเทศนั้นๆ ต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ประเทศคู่แข่งได้รับความเสียหาย จากการขายสินค้าชนิดเดียวกันไม่ได้ หรืออาจต้องขายราคาต่ำตาม เพื่อให้ขายได้จนขาดทุน ดังนั้น WTO จึงต้องการให้ประเทศสมาชิกลดการอุดหนุน ทั้งภายใน และการส่งออก แตกตางจากกรณีการรับจำนำข้าวของรัฐบาลไทย ถือเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร เพราะจะทำให้ราคาข้าวไทยสูงขึ้นทั้งในประเทศ และราคาส่งออก ซึ่งคู่แข่งของไทยก็จะได้ประโยชน์จากราคาข้าวที่สูงขึ้นตามราคาข้าวไทย และไม่คิดว่า จะมีใครเสียประโยชน์ เพราะคู่แข่งก็ขายข้าวได้สูงขึ้นตาม อย่างกรณีเวียดนาม ที่เมื่อราคาข้าวไทยสูงขึ้น จะถึงให้ราคาข้าวเวียดนามสูงขึ้นตามไปด้วยทันที
สำหรับงบประมาณที่รัฐบาลตั้งเป็นเงินทุนหมุนเวียนการรับจำนำข้าว 4 แสนล้านบาทนั้น ไม่ได้หมายความว่า เมื่อดำเนินนโยบายรับจำนำแล้ว เงินจำนวนดังกล่าวจะสูญไปทั้งหมด หรือรัฐจะต้องเกิดความเสียหาย โดยไม่ได้ประโยชน์ใดๆ กลับคืนมา แต่เงินก้อนดังกล่าวเป็นเงินทุนหมุนเวียน ที่เมื่อใช้ออกไปแล้วก็จะมีเงินก้อนใหม่กลับเข้ามา เมื่อรัฐรับจำนำข้าวได้แล้ว ก็จะมีการระบายออกไปต่างประเทศ และจะมีเงินไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
"ไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงมีการจับจ้องนโยบายรับจำนำครั้งนี้กันนัก เพราะไทยมีนโยบายรับจำนำมาโดยตลอด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ขายข้าวได้ในราคาสูงขึ้น ถือเป็นการยกระดับรายได้ และชีวิตความเป็นอยู่ อยากบอกให้คนที่ปล่อยข่าวว่าต่างประเทศกำลังจับตานโยบายนี้ เพราะกลัวจะเป็นการอุดหนุนเกินวงเงินที่ผูกพันไว้ใน WTO หยุดพูดได้แล้ว อยากให้ทำเพื่อประเทศชาติบ้าง และอยากถามว่า รับจำนำแล้วราคาข้าวไทยสูงขึ้น ก็จะฉุดให้ราคาข้าวคู่แข่งสูงขึ้นด้วย แล้วอย่างนี้มีใครเสียหายหรือไม่"นายยรรยงกล่าว