โดย...ชวินทร์ ลีนะบรรจง1
นโยบายที่ “ปู” ไม่ยอมแถลงกำลังจะเป็นวิบากกรรมที่ “ปู” เลือกเอง
“ปู” และรัฐบาลขอเธอกำลังมีปัญหากับความไว้วางใจของประชาชน
ประชาชนยอมให้โอกาส “ปู” ก็เพราะการเป็นพี่น้องร่วมสายเลือดมิได้เป็นสิ่งที่ “ปู” สามารถเลือกได้ แต่ “ปู” สามารถเลือกได้ว่า ตนเองเป็นตัวแทนของประชาชนมิใช่ตัวแทนของพี่ชาย
ประชาชนสงสัยและระแวงการเข้ามาสู่อำนาจทางการเมืองของ “ปู” ตั้งแต่วินาทีแรกแล้วเพราะ “ปู” ไม่ยอมให้ประชาชนซักถามโดยตรงหรือผ่านสื่อฯ หรือมีการแถลงจุดยืนของตนเองอย่างชัดเจนว่าจะมีท่าทีหรือนโยบายอย่างไรกับพี่ชายของตนเอง วิบากกรรมจากการมีวาระซ่อนเร้นจึงเกิดขึ้นจากตัวเอง
อย่าลืมว่านโยบายดังกล่าวเป็นเรื่องสาธารณะเพราะพี่ชายของคุณเป็นอดีตผู้นำ เช่น คุณที่ทรยศต่อความไว้วางใจประชาชนและได้ก่อกรรมทำเข็ญกับประเทศนี้มาโดยตลอด เอาง่ายๆ แค่การให้ร้ายต่อสถาบันและกระบวนการยุติธรรมของประเทศก็เป็นเรื่องสาธารณะที่คุณจะต้องดำเนินการเพื่อปกป้องอยู่แล้วมิใช่หรือ จะยอมได้อย่างไรให้มี “ไอ้หรืออี” คนใดมากล่าวให้ร้ายกระบวนการยุติธรรมของประเทศว่าเป็นกระบวนการ “ยุติ” ความเป็นธรรม การบอกกล่าวแต่เพียงว่าเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องจะไปปฏิบัติไม่พอเพียง
การให้คนในรัฐบาลของคุณไปสนับสนุนให้พี่ชายของคุณสามารถเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นนั้น แม้จะเป็นเรื่องของต่างประเทศที่จะพิจารณาดำเนินการก็จริงอยู่ แต่การแถลงของฝ่ายญี่ปุ่นที่กล่าวว่าฝ่ายเราร้องขอก็เป็นการแสดงถึงการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอยู่แล้วมิใช่หรือ ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก็ตาม หากไม่จริงทำไมจึงไม่แถลงตอบโต้ว่าฝ่ายเราโดยรัฐบาลของคุณไม่สามารถไปร้องขอให้อำนวยความสะดวกในการเข้าประเทศกับผู้ร้ายหนีการลงโทษจากศาลได้ และจะต้องร้องขอให้จับตัวมาลงโทษแทนต่างหาก การ “เงียบ” ก็คือ “ยอมรับ” ไม่มีอะไรแปลเป็นอื่นไปได้
ยิ่ง “ปู” เข้ามาดำรงตำแหน่งสาธารณะเช่นนี้ก็ยิ่งสมควรต้องนำตัวเองออกห่างจากการทับซ้อนผลประโยชน์ของคุณและญาติพี่น้อง “ปู” ไม่เรียนรู้บทเรียนบทนี้จากประสบการณ์ของพี่ชายเลยหรืออย่างไรว่ามันก่อให้เกิดบาปกรรมติดตามตัวและลูกเมียไปมากน้อยเพียงใด
การแถลงนโยบายจึงเป็นวิธีการสำคัญที่เป็นเสมือนการปกป้องตนเองต่อการทับซ้อนของผลประโยชน์ เป็นสิ่งที่คุณควรแถลงเป็น “จุดยืน” มาตั้งแต่ต้นไม่ว่านอกหรือในสภา นั่นก็คือ นโยบายเกี่ยวกับพี่ชายของคุณว่าจะดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายได้อย่างไร
นโยบายที่คุณไม่ได้แถลงนี้แหละเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศในยามนี้ การยุติคดีความหลานของคุณเรื่องการเก็บภาษีก็ดี หรือการที่อัยการจะอุทธรณ์โทษจำคุกคดีการหนีภาษีของพี่ชายและพี่สะใภ้ที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินยกประโยชน์ให้จำเลยจากความเคลือบแคลงสงสัยก็ดี ล้วนจะเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า “ปู” เป็นตัวแทนของประชาชน มิใช่ตัวแทนของพี่ชายและครอบครัวของเขาหรือไม่
หน่วยงานเช่น อัยการ คณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กระทรวงการต่างประเทศ หรือกรมสรรพากร แม้จะมีอิสระในการตัดสินใจแต่ต้องอิสระในกรอบของกฎหมายมิใช่ตัดสินใจตามอำเภอใจหรือตามคำสั่งของรัฐบาล
ดูเหมือนว่า “ปู” จะแยกแยะไม่ออกว่าเรื่องใดเป็นเรื่องนโยบาย เรื่องใดเป็นการปฏิบัติของหน่วยงานเพราะหากเพียงแต่คุณให้นโยบายลงไปเพื่อการปฏิบัติว่า ทุกเรื่องหรือคดีที่เกี่ยวข้องกับคุณ พี่ชาย หรือญาติ ให้ดำเนินการให้ถึงที่สุด ยิ่งเกี่ยวข้องใกล้ชิดยิ่งต้องถูกดำเนินการมากกว่าผู้อื่น และแถลงให้ประชาชนรับทราบ ง่ายๆ เพียงแค่นี้คุณก็จะปราศจากข้อสงสัยในการมาทำงานเพื่อประชาชนมิใช่เพื่อพี่ชายของคุณ
การที่สรรพากรยุติเรื่องไม่อุทธรณ์คำพิพากษาไม่เก็บภาษีจากหลานของคุณด้วยเหตุเพียงว่ากรมสรรพากร ยึดถือคำพิพากษาเพียงว่าหุ้นที่พ่อและแม่มาซุกไว้ที่ชื่อลูกทั้งสองมิใช่ของลูก ดังนั้นเงินได้จากการขายหุ้นดังกล่าวจึงเป็นของพ่อแม่ และการนำหุ้นไปขายในตลาดหลักทรัพย์ของพ่อแม่ก็ไม่ต้องเสียภาษีเรื่องนี้จึงยุตินั้น “ปู” คิดว่าลูกน้องของคุณ “ซื่อบื้อ” เอาใจคุณเกินไปหรือไม่
หากจะ “ซื่อบื้อ” แกล้งไม่ฉลาดถือตามคำพิพากษาว่าเป็นหุ้นของพ่อแม่และขายในตลาดหลักทรัพย์ไม่มีภาระภาษีก็แสดงว่าพ่อแม่ของหลานคุณเป็นเจ้าของบริษัทที่เป็นคู่สัญญารับสัมปทานกับรัฐมาตั้งแต่ต้นใช่หรือไม่ แล้วไม่คิดดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมาย ป.ป.ช.หรืออย่างไร หรือไม่คิดให้ ก.ล.ต.ฟ้องร้องแทนประชาชนว่าปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นซึ่งถือเป็นการหลอกหลวงประชาชนอย่างหน้าไม่อาย หรือเป็นเพราะ “ปู” ก็มีส่วนช่วยปกปิดด้วยเช่นกัน แม่ “ปู” อีกหน่อยจะสอนลูก “ปู” เรื่องความซื่อสัตย์ได้อย่างไร
การที่ “ปู” ไม่มีนโยบายในเรื่องพี่ชายของคุณจึงทำให้หลายๆ หน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร ก.ล.ต. อัยการ กระทรวงการต่างประเทศ ตำรวจ ต่างโยนเรื่องไปมาระหว่างกัน กลายเป็น “ไม่มีเจ้าภาพ” ในสำนวนภาษาของพี่ชายคุณนั่นเอง แล้วใครจะสมควรเป็นเจ้าภาพหากไม่ใช่ “ปู” หน่วยงานเหล่านี้มิใช่เป็นหน่วยงานอิสระไม่กินเงินเดือนจากภาษีประชาชน ความมีอิสระจึงต้องอยู่ในกรอบความต้องการของประชาชนผ่านการกำกับของ “ปู” เป็นสำคัญ ไม่อย่างนั้นจะมีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปทำไม
การที่ลูกน้องของ “ปู” ที่เป็นรัฐมนตรีคลังและเคยเป็นอดีตเลขาฯ ก.ล.ต.ประสานเสียงกับอธิบดีกรมสรรพากรบอกว่าเรื่องนี้จบนานแล้วเพราะได้รายงานให้อดีตรัฐมนตรีคลังรับทราบนานแล้วนั้นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ “ปู” ในฐานะเจ้านายสมควรตักเตือน “เขกกะโหลก” เพราะรัฐมนตรีหรือผู้ใดจะรับทราบก็มิได้หมายความว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องไปได้แม้จะไม่มีความเห็นแย้ง มันต้องถูกต้องตามเหตุและผลมิใช่เอา “คน” มาบอกหรืออ้างอิงถูกหรือผิด
ผิดไม่ผิดเป็นผลที่จะปรากฏ เป็นคนละเรื่องกับการดำเนินการเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม เพราะหากเก็บภาษีส่วนนี้ได้ประชาชนส่วนรวมก็จะเสียภาษีน้อยลงไปใช่หรือไม่ แล้วทำไมจึงไม่มีนโยบายเช่นนี้เพื่อคนส่วนรวม เป็นนโยบายที่ดีกว่าอีกหลายๆ นโยบายที่คุณเอามาหาเสียงแล้วพยายามจะบิดพลิ้วไม่ยอมทำเสียอีก
“ปู” ต้องอย่าลืมกำพืดของตนเองว่าทั้งที่มาและคุณสมบัติก่อนมารับตำแหน่งที่สำคัญนี้มิได้มีอะไรเลยที่สามารถบ่งชี้บอกว่า “ปู” มีความสามารถที่โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์จนประสบความสำเร็จสมควรมารับตำแหน่งนี้แต่อย่างใด ถ้าให้ไปหาเสียงเองจะได้ซัก 500 เสียงหรือหารายได้เองสัก 50,000 บาทจะได้หรือไม่ยังสงสัยอยู่
หาก “ปู” คิดจะทำอะไรสักอย่างเพื่อการปรองดองของคนในชาติและสนองตอบต่อพระราโชวาทที่ได้รับเมื่อเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ฯ ก็สมควรที่จะแถลงต่อสาธารณะว่าเป็นนโยบายของ “ปู” ที่จะนำตัวพี่ชายมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพราะเรื่องของชาติอยู่เหนือพี่น้อง
เท่านี้เองไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ก็ได้ชื่อแล้วว่าไม่เสียชาติเกิดให้ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าเป็นคนของแผ่นดิน
แต่หากไม่กระทำเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ประวัติศาสตร์ก็จะจารึกไว้อีกอย่างหนึ่ง ไม่คิดบ้างหรือไม่ว่า “ปู” และญาติพี่น้องจะมีจุดจบแบบ มูบารัค กัดดาฟี มาร์กอส หรือ เฉิน ซุยเปียน ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เขาเหล่านั้นแม้จะอยู่มานานมีอำนาจและ/หรือเงินมหาศาลมากกว่า “ปู” และญาติมากนัก แต่เพราะทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชนจึงมีจุดจบอย่างที่ทราบโดยทั่วไป
เป็นวิบากกรรมที่ “ปู” เลือกเองจริงๆ
*******************
1 The Japan Foundation Fellow บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องแต่อย่างใด
นโยบายที่ “ปู” ไม่ยอมแถลงกำลังจะเป็นวิบากกรรมที่ “ปู” เลือกเอง
“ปู” และรัฐบาลขอเธอกำลังมีปัญหากับความไว้วางใจของประชาชน
ประชาชนยอมให้โอกาส “ปู” ก็เพราะการเป็นพี่น้องร่วมสายเลือดมิได้เป็นสิ่งที่ “ปู” สามารถเลือกได้ แต่ “ปู” สามารถเลือกได้ว่า ตนเองเป็นตัวแทนของประชาชนมิใช่ตัวแทนของพี่ชาย
ประชาชนสงสัยและระแวงการเข้ามาสู่อำนาจทางการเมืองของ “ปู” ตั้งแต่วินาทีแรกแล้วเพราะ “ปู” ไม่ยอมให้ประชาชนซักถามโดยตรงหรือผ่านสื่อฯ หรือมีการแถลงจุดยืนของตนเองอย่างชัดเจนว่าจะมีท่าทีหรือนโยบายอย่างไรกับพี่ชายของตนเอง วิบากกรรมจากการมีวาระซ่อนเร้นจึงเกิดขึ้นจากตัวเอง
อย่าลืมว่านโยบายดังกล่าวเป็นเรื่องสาธารณะเพราะพี่ชายของคุณเป็นอดีตผู้นำ เช่น คุณที่ทรยศต่อความไว้วางใจประชาชนและได้ก่อกรรมทำเข็ญกับประเทศนี้มาโดยตลอด เอาง่ายๆ แค่การให้ร้ายต่อสถาบันและกระบวนการยุติธรรมของประเทศก็เป็นเรื่องสาธารณะที่คุณจะต้องดำเนินการเพื่อปกป้องอยู่แล้วมิใช่หรือ จะยอมได้อย่างไรให้มี “ไอ้หรืออี” คนใดมากล่าวให้ร้ายกระบวนการยุติธรรมของประเทศว่าเป็นกระบวนการ “ยุติ” ความเป็นธรรม การบอกกล่าวแต่เพียงว่าเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องจะไปปฏิบัติไม่พอเพียง
การให้คนในรัฐบาลของคุณไปสนับสนุนให้พี่ชายของคุณสามารถเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นนั้น แม้จะเป็นเรื่องของต่างประเทศที่จะพิจารณาดำเนินการก็จริงอยู่ แต่การแถลงของฝ่ายญี่ปุ่นที่กล่าวว่าฝ่ายเราร้องขอก็เป็นการแสดงถึงการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอยู่แล้วมิใช่หรือ ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก็ตาม หากไม่จริงทำไมจึงไม่แถลงตอบโต้ว่าฝ่ายเราโดยรัฐบาลของคุณไม่สามารถไปร้องขอให้อำนวยความสะดวกในการเข้าประเทศกับผู้ร้ายหนีการลงโทษจากศาลได้ และจะต้องร้องขอให้จับตัวมาลงโทษแทนต่างหาก การ “เงียบ” ก็คือ “ยอมรับ” ไม่มีอะไรแปลเป็นอื่นไปได้
ยิ่ง “ปู” เข้ามาดำรงตำแหน่งสาธารณะเช่นนี้ก็ยิ่งสมควรต้องนำตัวเองออกห่างจากการทับซ้อนผลประโยชน์ของคุณและญาติพี่น้อง “ปู” ไม่เรียนรู้บทเรียนบทนี้จากประสบการณ์ของพี่ชายเลยหรืออย่างไรว่ามันก่อให้เกิดบาปกรรมติดตามตัวและลูกเมียไปมากน้อยเพียงใด
การแถลงนโยบายจึงเป็นวิธีการสำคัญที่เป็นเสมือนการปกป้องตนเองต่อการทับซ้อนของผลประโยชน์ เป็นสิ่งที่คุณควรแถลงเป็น “จุดยืน” มาตั้งแต่ต้นไม่ว่านอกหรือในสภา นั่นก็คือ นโยบายเกี่ยวกับพี่ชายของคุณว่าจะดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายได้อย่างไร
นโยบายที่คุณไม่ได้แถลงนี้แหละเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศในยามนี้ การยุติคดีความหลานของคุณเรื่องการเก็บภาษีก็ดี หรือการที่อัยการจะอุทธรณ์โทษจำคุกคดีการหนีภาษีของพี่ชายและพี่สะใภ้ที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินยกประโยชน์ให้จำเลยจากความเคลือบแคลงสงสัยก็ดี ล้วนจะเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า “ปู” เป็นตัวแทนของประชาชน มิใช่ตัวแทนของพี่ชายและครอบครัวของเขาหรือไม่
หน่วยงานเช่น อัยการ คณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กระทรวงการต่างประเทศ หรือกรมสรรพากร แม้จะมีอิสระในการตัดสินใจแต่ต้องอิสระในกรอบของกฎหมายมิใช่ตัดสินใจตามอำเภอใจหรือตามคำสั่งของรัฐบาล
ดูเหมือนว่า “ปู” จะแยกแยะไม่ออกว่าเรื่องใดเป็นเรื่องนโยบาย เรื่องใดเป็นการปฏิบัติของหน่วยงานเพราะหากเพียงแต่คุณให้นโยบายลงไปเพื่อการปฏิบัติว่า ทุกเรื่องหรือคดีที่เกี่ยวข้องกับคุณ พี่ชาย หรือญาติ ให้ดำเนินการให้ถึงที่สุด ยิ่งเกี่ยวข้องใกล้ชิดยิ่งต้องถูกดำเนินการมากกว่าผู้อื่น และแถลงให้ประชาชนรับทราบ ง่ายๆ เพียงแค่นี้คุณก็จะปราศจากข้อสงสัยในการมาทำงานเพื่อประชาชนมิใช่เพื่อพี่ชายของคุณ
การที่สรรพากรยุติเรื่องไม่อุทธรณ์คำพิพากษาไม่เก็บภาษีจากหลานของคุณด้วยเหตุเพียงว่ากรมสรรพากร ยึดถือคำพิพากษาเพียงว่าหุ้นที่พ่อและแม่มาซุกไว้ที่ชื่อลูกทั้งสองมิใช่ของลูก ดังนั้นเงินได้จากการขายหุ้นดังกล่าวจึงเป็นของพ่อแม่ และการนำหุ้นไปขายในตลาดหลักทรัพย์ของพ่อแม่ก็ไม่ต้องเสียภาษีเรื่องนี้จึงยุตินั้น “ปู” คิดว่าลูกน้องของคุณ “ซื่อบื้อ” เอาใจคุณเกินไปหรือไม่
หากจะ “ซื่อบื้อ” แกล้งไม่ฉลาดถือตามคำพิพากษาว่าเป็นหุ้นของพ่อแม่และขายในตลาดหลักทรัพย์ไม่มีภาระภาษีก็แสดงว่าพ่อแม่ของหลานคุณเป็นเจ้าของบริษัทที่เป็นคู่สัญญารับสัมปทานกับรัฐมาตั้งแต่ต้นใช่หรือไม่ แล้วไม่คิดดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมาย ป.ป.ช.หรืออย่างไร หรือไม่คิดให้ ก.ล.ต.ฟ้องร้องแทนประชาชนว่าปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นซึ่งถือเป็นการหลอกหลวงประชาชนอย่างหน้าไม่อาย หรือเป็นเพราะ “ปู” ก็มีส่วนช่วยปกปิดด้วยเช่นกัน แม่ “ปู” อีกหน่อยจะสอนลูก “ปู” เรื่องความซื่อสัตย์ได้อย่างไร
การที่ “ปู” ไม่มีนโยบายในเรื่องพี่ชายของคุณจึงทำให้หลายๆ หน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร ก.ล.ต. อัยการ กระทรวงการต่างประเทศ ตำรวจ ต่างโยนเรื่องไปมาระหว่างกัน กลายเป็น “ไม่มีเจ้าภาพ” ในสำนวนภาษาของพี่ชายคุณนั่นเอง แล้วใครจะสมควรเป็นเจ้าภาพหากไม่ใช่ “ปู” หน่วยงานเหล่านี้มิใช่เป็นหน่วยงานอิสระไม่กินเงินเดือนจากภาษีประชาชน ความมีอิสระจึงต้องอยู่ในกรอบความต้องการของประชาชนผ่านการกำกับของ “ปู” เป็นสำคัญ ไม่อย่างนั้นจะมีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปทำไม
การที่ลูกน้องของ “ปู” ที่เป็นรัฐมนตรีคลังและเคยเป็นอดีตเลขาฯ ก.ล.ต.ประสานเสียงกับอธิบดีกรมสรรพากรบอกว่าเรื่องนี้จบนานแล้วเพราะได้รายงานให้อดีตรัฐมนตรีคลังรับทราบนานแล้วนั้นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ “ปู” ในฐานะเจ้านายสมควรตักเตือน “เขกกะโหลก” เพราะรัฐมนตรีหรือผู้ใดจะรับทราบก็มิได้หมายความว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องไปได้แม้จะไม่มีความเห็นแย้ง มันต้องถูกต้องตามเหตุและผลมิใช่เอา “คน” มาบอกหรืออ้างอิงถูกหรือผิด
ผิดไม่ผิดเป็นผลที่จะปรากฏ เป็นคนละเรื่องกับการดำเนินการเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม เพราะหากเก็บภาษีส่วนนี้ได้ประชาชนส่วนรวมก็จะเสียภาษีน้อยลงไปใช่หรือไม่ แล้วทำไมจึงไม่มีนโยบายเช่นนี้เพื่อคนส่วนรวม เป็นนโยบายที่ดีกว่าอีกหลายๆ นโยบายที่คุณเอามาหาเสียงแล้วพยายามจะบิดพลิ้วไม่ยอมทำเสียอีก
“ปู” ต้องอย่าลืมกำพืดของตนเองว่าทั้งที่มาและคุณสมบัติก่อนมารับตำแหน่งที่สำคัญนี้มิได้มีอะไรเลยที่สามารถบ่งชี้บอกว่า “ปู” มีความสามารถที่โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์จนประสบความสำเร็จสมควรมารับตำแหน่งนี้แต่อย่างใด ถ้าให้ไปหาเสียงเองจะได้ซัก 500 เสียงหรือหารายได้เองสัก 50,000 บาทจะได้หรือไม่ยังสงสัยอยู่
หาก “ปู” คิดจะทำอะไรสักอย่างเพื่อการปรองดองของคนในชาติและสนองตอบต่อพระราโชวาทที่ได้รับเมื่อเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ฯ ก็สมควรที่จะแถลงต่อสาธารณะว่าเป็นนโยบายของ “ปู” ที่จะนำตัวพี่ชายมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพราะเรื่องของชาติอยู่เหนือพี่น้อง
เท่านี้เองไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ก็ได้ชื่อแล้วว่าไม่เสียชาติเกิดให้ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าเป็นคนของแผ่นดิน
แต่หากไม่กระทำเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ประวัติศาสตร์ก็จะจารึกไว้อีกอย่างหนึ่ง ไม่คิดบ้างหรือไม่ว่า “ปู” และญาติพี่น้องจะมีจุดจบแบบ มูบารัค กัดดาฟี มาร์กอส หรือ เฉิน ซุยเปียน ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เขาเหล่านั้นแม้จะอยู่มานานมีอำนาจและ/หรือเงินมหาศาลมากกว่า “ปู” และญาติมากนัก แต่เพราะทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชนจึงมีจุดจบอย่างที่ทราบโดยทั่วไป
เป็นวิบากกรรมที่ “ปู” เลือกเองจริงๆ
*******************
1 The Japan Foundation Fellow บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องแต่อย่างใด