ASTVผู้จัดการรายวัน- “วรรณรัตน์”อ้ำอึ้งไม่รับปากนิคมฯ ตะวันออกจะรอดจากน้ำท่วมหรือไม่ ด้านเอกชนเตรียมทำใจตัวใครตัวมัน จี้ถึงเวลาออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว ขณะที่การว่างงานทะลุ 6 แสนคน ส.อ.ท.ชงรัฐชะลอขึ้นค่าจ้าง เว้นการส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม พร้อมดึงเงินกองทุนกรณีว่างงาน 5หมื่นกว่าล้านอุ้ม ด้าน “กิตติรัตน์” ชี้ต้องเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานป้องกันน้ำท่วมซ้ำ เพื่อสร้างความมั่นใจนักลงทุนต่างประเทศยังคงลงทุนในไทยต่อ เตรียมประสานแบงก์ช่วยเหลือผู้ประกอบการน้ำท่วม
วานนี้(19ต.ค.) น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมได้หารือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)และนักธุรกิจที่เกี่ยวข้องเช่น องค์การส่งเสริมการค้าประเทศของญี่ปุ่น(เจโทร) และหอการค้าต่างประเทศญี่ปุ่น (เจซีซี) ซึ่งหลังการหารือน.พ.วรรณรัตน์กล่าวถึงกรณีที่มีผู้สอบถามถึงความมั่นใจว่ารัฐบาลจะดูแลนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกให้รอดจากภาวะน้ำท่วมได้หรือไม่ว่า เรื่องดังกล่าวทางน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเองก็ระบุว่ามวลน้ำมีมากกว่าที่เคยเกิดขึ้น ประกอบกับระบบการระบายน้ำมีขีดจำกัดซึ่งรัฐบาลมีความห่วงใยและจะพยายามดูแลผลกระทบให้มากที่สุด
สำหรับข้อเสนอเอกชนที่ต้องการให้ออกพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)นั้นรัฐบาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องประกาศใช้เพราะมาตรการต่างๆ ที่ทำอยู่มีการประสานกับทุกส่วนอยู่แล้ว การออกหรือไม่ออกแนวทางปฏิบัติไม่ต่างกันและตรงกันข้ามการประกาศออกไปอาจมีผลเสียกว่าโดยเฉพาะเรื่องการประกันภัย ส่วนข้อเสนอเอกชนต่างๆ ขอให้ส.อ.ท.รวบรวมมาอีกครั้งเพื่อที่จะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในวันอังคารหน้าเพื่อกำหนดมาตรการดูแลเพิ่มเติมต่อไป
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการส.อ.ท.กล่าวว่า คิดว่าถึงเวลาที่รัฐควรออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วเพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยกรณีที่เกรงว่าจะมีปัญหาว่าประกันภัยอาจไปอ้างได้ไม่เห็นจะเกี่ยวกันเพราะนี่คือสถานการณ์น้ำท่วมไม่ใช่สงครามอย่างที่ราชประสงค์ เพราะที่ผ่านมาการดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มีปัญหา ไม่มีความเด็ดขาดในเรื่องการให้ข้อมูล และบริหารจัดการโดยเฉพาะการกั้นน้ำบางพื้นที่ถูกชาวบ้านไปรื้อที่ผ่านมามีปัญหามากกรณีที่ภาครัฐมีการวางแนวกระสอบทราย แต่คนในพื้นที่ก็ไปรื้อถอนควบคุมไม่ได้
นายเคียวอิจิ ทานาดะ ประธานหอการค้าไทย-ญี่ปุ่น หรือ เจซีซี กล่าวว่า ประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตสำคัญของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ จากเดิมเคยประเมินว่าจะผลิตได้กว่า 1.8 ล้านคันในปี’54 แต่ก็จะทำได้ไม่ตามเป้าหมาย เพราะโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำคัญหลายแห่งไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้กระบวนการทั้งหมดต้องหยุดชะงักจากนี้รัฐบาลต้องให้ข้อมูลรวมถึงบริหารการจัดการเรื่องการปล่อยน้ำให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้กระทบกับเขตอุตสาหกรรมในด้านตะวันออก ซึ่งหากปล่อยให้เกิดปัญหา ก็จะเกิดผลเสียต่อความเชื่อมั่นการลงทุนเป็นอย่างมาก
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธาน ส.อ.ท. สายงานแรงงาน กล่าวว่า จากข้อมูลกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด เมื่อวันที่ 18 ต.ค. พบว่าใน 20 จังหวัด มีลูกจ้างได้รับผลกระทบน้ำท่วมแล้ว 6.63 แสนราย และสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ 1.41 หมื่นแห่ง เฉพาะในส่วนของจังหวัดปทุมธานีมีแรงงานที่ได้รับผลกระทบ 2.18 แสนราย สถานประกอบการ 3.32 พันแห่งจึงต้องการให้รัฐชะลอการขึ้นค่าจ้าง ขั้นต่ำ 300 บาท ใน 7 จังหวัด และปรับขึ้น 40% ในจังหวัดอื่นๆ ออกไปเป็นต้นปี’56 จากเดิมเริ่ม 1 เม.ย.54 เว้นการนำส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม 5% ระยะเวลา 1 ปี โดยลูกจ้างยังคงสิทธิประโยชน์ แนวทางที่ ให้กระทรวงแรงงานพิจารณานำเงินจากกองทุนประกันสังคมที่ดูแลเรื่องการว่างงาน มาจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างช่วงปิดกิจการชั่วคราว เป็นระยะเวลา 3-6 เดือน โดยไม่มีการเลิกจ้าง ซึ่งปัจจุบันกองทุนมีเงินรวม 8.33 แสนล้านบาท เป็นเงินกองทุนกรณีว่างงาน 5.56 หมื่นล้านบาท ซึ่งตามปกติจะนำมาใช้จ่ายเป็นเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 180 วัน หรือจ่ายกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง 30%ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 90 วัน
**ระวังนิคมอุตสาหกรรมบางกระดี่-ลาดกระบัง**
นายอาทิตย์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ในจ.ปทุมธานีถูกน้ำท่วมเต็มพื้นที่ไปแล้วมีลูกจ้างได้รับผลกระทบกว่า 1.75 แสนคน จากสถานประกอบการ 227 แห่ง ทำให้สถานประกอบการต้องหยุดกิจการชั่วคราวและลูกจ้างต้องหยุดงาน ส่วนนิคมอุตสาหกรรมที่ต้องเฝ้าระวังจะถูกน้ำเข้าท่วมในขณะนี้คือ นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี จ.ปทุมธานีซึ่งมีลูกจ้างกว่า 1.2 หมื่นคนและสถานประกอบการ 44 แห่ง รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯซึ่งมีลูกจ้าง 48,000 คนและสถานประกอบการ 203 แห่ง อย่างไรก็ตาม สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 2 แห่งได้ปิดกิจการชั่วคราวและสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานไปก่อนหน้านี้แล้ว
**ผู้ประกอบการในปทุมฯ80%ลดจ่ายเงินเดือน**
“อธิบดี กสร. กล่าวด้วยว่า ได้รับรายงานจากสวัสดิการฯปทุมธานีและกทม.ว่า สถานประกอบการในจ.ปทุมธานีที่ถูกน้ำท่วมจำนวน 20% ของสถานประกอบการกลุ่มนี้จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้าง 100% ของเงินเดือนทั้งหมดและอีก 80% ของสถานประกอบการจ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้าง 75% ส่วนสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังที่หยุดกิจการชั่วคราวได้จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้าง 100% อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์เบื้องต้นจะมีลูกจ้างที่เสี่ยงต่อการตกงานประมาณ 1 แสนคน เฉพาะในจังหวัดอยุธยา แต่ในส่วนของจังหวัดปทุมธานียังไม่สามารถประเมินได้ ทั้งนี้ จะต้องรอดูสถานการณ์น้ำอีก 5-6 วัน”
** “โต้ง”เร่งลงทุนโครงสร้างฟื้นฐานป้องกันน้ำท่วมซ้ำ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีนี้มีความรุนแรงมาก ซึ่งรัฐบาลจะต้องมีการทำงบประมาณขาดดุลมากขึ้นและออกพระราชบัญญัติ(พรบ.)กู้เงินจำนวนมาก เพื่อนำมาใช้ในการช่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่าวม และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมในปีหน้า เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนตรงในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ไม่มีการย้ายฐานการผลิตหรือการลงทุนออกจากประเทศไทย โดยเรื่องดังกล่าวจะต้องรีบดำเนินการโดยเร็ว
สำหรับขณะนี้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือกับผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งทางรัฐบาลจะมีการเจรจากับทางธนาคารพาณิชย์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการน้ำท่วมซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยเหลือแก่ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ให้สามารถกลับมาผลิตได้ในการยืดหนี้ หรือ ยกเว้นการคิดอัตราดอกเบี้ย หรือการให้วงเงินใหม่แก่ลูกค้าในการซ่อมแซม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์บ้างแต่เป็นเรื่องที่สมควร ซึ่งหากธนาคารพาณิขย์มีการช่วยเหลือแล้ว ทางภาครัฐจะมีการช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์เช่นกัน
“จากปัญหาน้ำท่วมขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาผู้ประกอบการจะมีหนี้เสีย และ จะไม่เกิดการว่างงาน เพราะ ประกันสังคมจะเข้าไปดูแลในการหางานและ ช่วยเหลือทางด้านการเงิน ซึ่งจากความเสียหายทำให้รัฐบาลจะต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจำนวนหลายแสนล้าน เพราะ มูลค่าเท่าไรรัฐบาลต้องมีการลงทุน ส่วนในเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้นนั้น หากเราไม่มีแนวทางแก้ปัญหาตลาดหุ้นไม่ชอบ แต่หากชัดเจนตลาดหุ้นก็จะมั่นใจ ซึ่งรัฐบาลพยายามเต็มที่ในการฟื้นฟูวิกฤตครั้งนี้”
สำหรับในเรื่องนโยบายรัฐในเรื่องการขึ้นค่าแรง 300 บาทนั้น ในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมาได้มีการประชุมระหว่างลูกค้า และนายจ้างและรัฐบาล ซึ่งที่ประชุมมติในการขึ้นค่าแรงดังกล่าว ว่าจะยังคงขึ้นค่าแรงแต่จากปัญหาน้ำท่วมก็จะเริ่มมีผลบังคับใช้ 1 เมษายน 2555 จากเดิมที่จะมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2555 ส่วนในเรื่องการให้แท็บเล็ตนั้นยังคงเดินหน้าเหมือนเดิม เพราะมองเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน โดยนโยบายในการดำเนินการนั้นไม่ควรเดินหน้าต่อ จากเป็นนโยบายที่ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
วานนี้(19ต.ค.) น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมได้หารือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)และนักธุรกิจที่เกี่ยวข้องเช่น องค์การส่งเสริมการค้าประเทศของญี่ปุ่น(เจโทร) และหอการค้าต่างประเทศญี่ปุ่น (เจซีซี) ซึ่งหลังการหารือน.พ.วรรณรัตน์กล่าวถึงกรณีที่มีผู้สอบถามถึงความมั่นใจว่ารัฐบาลจะดูแลนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกให้รอดจากภาวะน้ำท่วมได้หรือไม่ว่า เรื่องดังกล่าวทางน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเองก็ระบุว่ามวลน้ำมีมากกว่าที่เคยเกิดขึ้น ประกอบกับระบบการระบายน้ำมีขีดจำกัดซึ่งรัฐบาลมีความห่วงใยและจะพยายามดูแลผลกระทบให้มากที่สุด
สำหรับข้อเสนอเอกชนที่ต้องการให้ออกพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)นั้นรัฐบาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องประกาศใช้เพราะมาตรการต่างๆ ที่ทำอยู่มีการประสานกับทุกส่วนอยู่แล้ว การออกหรือไม่ออกแนวทางปฏิบัติไม่ต่างกันและตรงกันข้ามการประกาศออกไปอาจมีผลเสียกว่าโดยเฉพาะเรื่องการประกันภัย ส่วนข้อเสนอเอกชนต่างๆ ขอให้ส.อ.ท.รวบรวมมาอีกครั้งเพื่อที่จะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในวันอังคารหน้าเพื่อกำหนดมาตรการดูแลเพิ่มเติมต่อไป
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการส.อ.ท.กล่าวว่า คิดว่าถึงเวลาที่รัฐควรออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วเพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยกรณีที่เกรงว่าจะมีปัญหาว่าประกันภัยอาจไปอ้างได้ไม่เห็นจะเกี่ยวกันเพราะนี่คือสถานการณ์น้ำท่วมไม่ใช่สงครามอย่างที่ราชประสงค์ เพราะที่ผ่านมาการดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มีปัญหา ไม่มีความเด็ดขาดในเรื่องการให้ข้อมูล และบริหารจัดการโดยเฉพาะการกั้นน้ำบางพื้นที่ถูกชาวบ้านไปรื้อที่ผ่านมามีปัญหามากกรณีที่ภาครัฐมีการวางแนวกระสอบทราย แต่คนในพื้นที่ก็ไปรื้อถอนควบคุมไม่ได้
นายเคียวอิจิ ทานาดะ ประธานหอการค้าไทย-ญี่ปุ่น หรือ เจซีซี กล่าวว่า ประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตสำคัญของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ จากเดิมเคยประเมินว่าจะผลิตได้กว่า 1.8 ล้านคันในปี’54 แต่ก็จะทำได้ไม่ตามเป้าหมาย เพราะโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำคัญหลายแห่งไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้กระบวนการทั้งหมดต้องหยุดชะงักจากนี้รัฐบาลต้องให้ข้อมูลรวมถึงบริหารการจัดการเรื่องการปล่อยน้ำให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้กระทบกับเขตอุตสาหกรรมในด้านตะวันออก ซึ่งหากปล่อยให้เกิดปัญหา ก็จะเกิดผลเสียต่อความเชื่อมั่นการลงทุนเป็นอย่างมาก
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธาน ส.อ.ท. สายงานแรงงาน กล่าวว่า จากข้อมูลกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด เมื่อวันที่ 18 ต.ค. พบว่าใน 20 จังหวัด มีลูกจ้างได้รับผลกระทบน้ำท่วมแล้ว 6.63 แสนราย และสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ 1.41 หมื่นแห่ง เฉพาะในส่วนของจังหวัดปทุมธานีมีแรงงานที่ได้รับผลกระทบ 2.18 แสนราย สถานประกอบการ 3.32 พันแห่งจึงต้องการให้รัฐชะลอการขึ้นค่าจ้าง ขั้นต่ำ 300 บาท ใน 7 จังหวัด และปรับขึ้น 40% ในจังหวัดอื่นๆ ออกไปเป็นต้นปี’56 จากเดิมเริ่ม 1 เม.ย.54 เว้นการนำส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม 5% ระยะเวลา 1 ปี โดยลูกจ้างยังคงสิทธิประโยชน์ แนวทางที่ ให้กระทรวงแรงงานพิจารณานำเงินจากกองทุนประกันสังคมที่ดูแลเรื่องการว่างงาน มาจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างช่วงปิดกิจการชั่วคราว เป็นระยะเวลา 3-6 เดือน โดยไม่มีการเลิกจ้าง ซึ่งปัจจุบันกองทุนมีเงินรวม 8.33 แสนล้านบาท เป็นเงินกองทุนกรณีว่างงาน 5.56 หมื่นล้านบาท ซึ่งตามปกติจะนำมาใช้จ่ายเป็นเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 180 วัน หรือจ่ายกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง 30%ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 90 วัน
**ระวังนิคมอุตสาหกรรมบางกระดี่-ลาดกระบัง**
นายอาทิตย์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ในจ.ปทุมธานีถูกน้ำท่วมเต็มพื้นที่ไปแล้วมีลูกจ้างได้รับผลกระทบกว่า 1.75 แสนคน จากสถานประกอบการ 227 แห่ง ทำให้สถานประกอบการต้องหยุดกิจการชั่วคราวและลูกจ้างต้องหยุดงาน ส่วนนิคมอุตสาหกรรมที่ต้องเฝ้าระวังจะถูกน้ำเข้าท่วมในขณะนี้คือ นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี จ.ปทุมธานีซึ่งมีลูกจ้างกว่า 1.2 หมื่นคนและสถานประกอบการ 44 แห่ง รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯซึ่งมีลูกจ้าง 48,000 คนและสถานประกอบการ 203 แห่ง อย่างไรก็ตาม สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 2 แห่งได้ปิดกิจการชั่วคราวและสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานไปก่อนหน้านี้แล้ว
**ผู้ประกอบการในปทุมฯ80%ลดจ่ายเงินเดือน**
“อธิบดี กสร. กล่าวด้วยว่า ได้รับรายงานจากสวัสดิการฯปทุมธานีและกทม.ว่า สถานประกอบการในจ.ปทุมธานีที่ถูกน้ำท่วมจำนวน 20% ของสถานประกอบการกลุ่มนี้จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้าง 100% ของเงินเดือนทั้งหมดและอีก 80% ของสถานประกอบการจ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้าง 75% ส่วนสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังที่หยุดกิจการชั่วคราวได้จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้าง 100% อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์เบื้องต้นจะมีลูกจ้างที่เสี่ยงต่อการตกงานประมาณ 1 แสนคน เฉพาะในจังหวัดอยุธยา แต่ในส่วนของจังหวัดปทุมธานียังไม่สามารถประเมินได้ ทั้งนี้ จะต้องรอดูสถานการณ์น้ำอีก 5-6 วัน”
** “โต้ง”เร่งลงทุนโครงสร้างฟื้นฐานป้องกันน้ำท่วมซ้ำ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีนี้มีความรุนแรงมาก ซึ่งรัฐบาลจะต้องมีการทำงบประมาณขาดดุลมากขึ้นและออกพระราชบัญญัติ(พรบ.)กู้เงินจำนวนมาก เพื่อนำมาใช้ในการช่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่าวม และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมในปีหน้า เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนตรงในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ไม่มีการย้ายฐานการผลิตหรือการลงทุนออกจากประเทศไทย โดยเรื่องดังกล่าวจะต้องรีบดำเนินการโดยเร็ว
สำหรับขณะนี้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือกับผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งทางรัฐบาลจะมีการเจรจากับทางธนาคารพาณิชย์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการน้ำท่วมซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยเหลือแก่ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ให้สามารถกลับมาผลิตได้ในการยืดหนี้ หรือ ยกเว้นการคิดอัตราดอกเบี้ย หรือการให้วงเงินใหม่แก่ลูกค้าในการซ่อมแซม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์บ้างแต่เป็นเรื่องที่สมควร ซึ่งหากธนาคารพาณิขย์มีการช่วยเหลือแล้ว ทางภาครัฐจะมีการช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์เช่นกัน
“จากปัญหาน้ำท่วมขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาผู้ประกอบการจะมีหนี้เสีย และ จะไม่เกิดการว่างงาน เพราะ ประกันสังคมจะเข้าไปดูแลในการหางานและ ช่วยเหลือทางด้านการเงิน ซึ่งจากความเสียหายทำให้รัฐบาลจะต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจำนวนหลายแสนล้าน เพราะ มูลค่าเท่าไรรัฐบาลต้องมีการลงทุน ส่วนในเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้นนั้น หากเราไม่มีแนวทางแก้ปัญหาตลาดหุ้นไม่ชอบ แต่หากชัดเจนตลาดหุ้นก็จะมั่นใจ ซึ่งรัฐบาลพยายามเต็มที่ในการฟื้นฟูวิกฤตครั้งนี้”
สำหรับในเรื่องนโยบายรัฐในเรื่องการขึ้นค่าแรง 300 บาทนั้น ในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมาได้มีการประชุมระหว่างลูกค้า และนายจ้างและรัฐบาล ซึ่งที่ประชุมมติในการขึ้นค่าแรงดังกล่าว ว่าจะยังคงขึ้นค่าแรงแต่จากปัญหาน้ำท่วมก็จะเริ่มมีผลบังคับใช้ 1 เมษายน 2555 จากเดิมที่จะมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2555 ส่วนในเรื่องการให้แท็บเล็ตนั้นยังคงเดินหน้าเหมือนเดิม เพราะมองเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน โดยนโยบายในการดำเนินการนั้นไม่ควรเดินหน้าต่อ จากเป็นนโยบายที่ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น