ASTVผู้จัดการรายวัน-"แม้ว"ไม่สนน้ำท่วม เปิดเผยตัวตนที่แท้จริงยังมัวเมาในอำนาจ โผล่ให้สัมภาษณ์สื่อนอก จวกทหารเสพติดอำนาจ บอกทหารอย่ายุ่งการเมือง เชื่อถ้ามีปฏิวัติอีก ประชาคมโลกไม่ยอมรับ แนะให้อยู่ในค่ายเพื่อประชาธิปไตยที่รุ่งเรือง ด้านปชป.จวก"แม้ว"ต้องหยุดซ้ำเติมวิกฤตชาติ จากการเคลื่อนไหวของ"อัมสเตอร์ดัม-นิติราษฎร"
เว็บไซต์ ดิเอจ ดอทคอม สื่อออสเตรเลีย รายงานคำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ให้สัมภาษณ์พิเศษ เกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองของไทย โดยพ.ต.ท.ทักษิณได้เตือนทหารไม่ให้ยุ่งเกี่ยวการเมือง หรือยึดอำนาจจากรัฐบาลภายใต้การบริหารของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของตนเอง โดยกล่าวย้ำว่า ประชาคมโลกจะไม่ยอมรับการปฏิวัติรัฐประหารโดยทหารเด็ดขาด เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับตนเองเมื่อปี 2549
พ.ต.ท.ทักษิณระบุว่า ทหารเป็นพวกเสพติดอำนาจ เหมือนคนติดยาบ้า ก็ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ยามาเสพ เช่นเดียวกับคนที่หลงใหลในอำนาจ ก็จะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ
ทั้งนี้ การบริหารงานของพรรคเพื่อไทย ที่นำโดยน้องสาวของตนได้รับการยืนยันแผนการที่จะแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จัดระเบียบข้าราชการกระทรวงกลาโหม ซึ่งอนุญาตให้มีการนัดหมาย พูดคุยในทางทหาร
โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ ที่ดูไบ โดยกล่าวว่า เพื่อป้องกันการรัฐประหาร เราจะต้องเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตย ถ้าประชาธิปไตยจะรุ่งเรือง ทหารที่จะต้องอยู่ในค่ายของตัวเอง และได้กล่าวว่า ตนออกจากการเมือง แต่ก็เป็นไปได้ในการกลับไปยังประเทศไทย หลังจาก 5 ปี ที่อาศัยอยู่ในนอกประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจำคุก 2 ปี
ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ อ้างว่า คดีของตนนั้น เป็นเรื่องที่การเมืองแทรกแซง และย้ำว่าจะกลับไปอยู่ที่ประเทศไทย แต่ก็ไม่ทราบว่าเมื่อไร หรือวิธีการใด พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุ มันเป็นประเทศของตน ครอบครัวของตน ผู้คนและที่บ้านของตนเอง ตนคิดถึงพวกเขามาก
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวว่า การกลับมาของพ.ต.ท.ทักษิณ อาจสร้างปัญหาความไม่แน่นอนในไทย ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทางการเมือง รวมถึงการจลาจลบนท้องถนน และเขายังได้ปฏิเสธที่หลายฝ่ายอ้างว่า เขาคือผู้กุมอำนาจที่แท้จริง ที่อยู่เบื้องหลังน้องสาว ทำให้การตัดสินใจที่สำคัญของการบริหารรัฐบาลไทย มาจากตัวเขา และยังได้ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นที่มีเสียงสนับสนุนเขา สำหรับการขอพระราชทานอภัยโทษ หรือนิรโทษกรรม
** รัฐบาลเลิกเป็นอีแอบทางการเมือง
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย ยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการเคลื่อนไหวในการแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม ของพรรคเพื่อไทยว่า เป็นเรื่องการเล่นละครตีสองหน้าของคนในพรรคเพื่อไทย เพราะมีหลายเรื่องที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยเคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆ แต่รัฐบาลกลับออกมาปฏิเสธว่า ไม่ใช่นโยบายรัฐบาล นับตั้งแต่การเคลื่อนไหวเรื่องนิรโทษกรรมให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ จนถึงเรื่องการเคลื่อนไหวแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม
ดังนั้น ไม่อยากให้ผู้นำรัฐบาล ทำตัวเป็นอีแอบทางการเมือง ควรกล้าที่จะออกมาเผชิญกับความจริง เพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่า ทั้งรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย มีจุดยืนทางการเมืองเดียวกันหรือไม่ เพราะขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณได้ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ ยืนยันอย่างชัดเจนว่าเป็นแผนการที่ต้องการให้รัฐบาลแก้พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ทหารปฏิวัติ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องความแค้นส่วตัวที่พ.ต.ท.ทักษิณ มีต่อกองทัพ
"การมีพ.ร.บ.จัดระเบียบข้าราชการกระทรวงกลาโหม ก็เพราะไม่ต้องการให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปยุ่งหรือแทรกแซงกองทัพ ถ้าการแก้กฎหมายดังกล่าวตามแนวทางของพรรคเพื่อไทย ก็ยิ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงให้เกิดการปฏิวัติ มากกว่าป้องกันการปฏิวัติ ตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณประกาศ แต่สาเหตุที่แท้จริงของการพยายามแก้กฎหมายครั้งนี้ ก็เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการที่จะเข้าไปยึดกุมกองทัพให้เบร็ดเสร็จ หลังจากได้สร้างฐานมวลชนคนเสื้อแดง ให้เป็นฐานเสียงทางการเมืองได้สำเร็จแล้ว"นายเทพไทกล่าว
ส่วนความเคลื่อนไหวของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ออกมาแถลงข่าวพาดพิงถึงบุคคลต่างๆ และแสดงความคิดเห็นเรื่องการแก้ พ.ร.บ.กลาโหม ว่า เป็นการแสดงความเห็นส่วนตัวหรือพูดในนามประธานสภาฯ เพราะตัวประธานสภาฯ จะต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่ควรที่จะแสดงความเห็นเอนเอียง เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือตำนิความเห็นของบุคคลอื่นที่เป็นสมาชิกของรัฐสภา
"คนเป็นประธานสภาฯ ควรให้ความเคารพความคิดเห็นของสมาชิกทุกคน การปล่อยให้โฆษกของตัวเอง ออกมาพูดจาระรานสมาชิกคนอื่น ที่มีความคิดเห็นเป็นขอตัวเอง และประกาศจุดยืนสนับสนุนกฎหมายบางฉบับ และยังพาดพิงมายังพรรคประชาธิปัตย์ ให้ทบทวนบทบาทว่ายังเชื่อมั่นในรระบอบรัฐสภาหรือไม่ ทั้งๆ ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้เชื่อมั่นในระบอบรัฐสภามาโดยตลอด มีแต่พรรคเพื่อไทยเท่านั้น ที่ปล่อยให้ส.ส.ของพรรคไปเคลื่อนไหวข้างถนนเป็นแกนนำปลุกระดมมวลชนให้เผาบ้านเผาเมือง ถือเป็นพรรคการเมืองที่ไม่เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย"
**"แม้ว"อย่าซ้ำเติมวิกฤติน้ำท่วม
นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส ในฐานะ รมช.มหาดไทย (เงา) พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ ยืนยันรัฐบาลชุดนี้จะแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องยุติบทบาทแล้วหันมา ดูแลความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัย ไม่ทราบว่าการที่ออกมาแสดงความเห็นดังกล่าว เป็นการชี้ให้เห็นว่าไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชนหรือไม่ แต่กลับมาแก้ พ.ร.บ.กลาโหมเพื่อตัวเอง เท่ากับเป็นการซ้ำเติมประชาชน ขณะนี้บ้านเมืองต้องการความสามัคคี พ.ต.ท.ทักษิณ เคยให้แนวทางแก้ปัญหาหรือไม่ ทั้งเรื่องการบริจาค ซึ่งเท่าที่ทราบมา บริจาคไปแล้วแค่ 1 ล้านบาทเท่านั้น
"พ.ต.ท.ทักษิณต้องย้อนกลับไปพิจารณาว่า ก่อนการรัฐประหาร กันยายน 2549 มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง ในส่วนนักการเมืองไม่มีใครอยากเห็นการรัฐประหารอยู่แล้ว" ส.ส.ปชป.กล่าว
ด้านนายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงเรียกร้องให้พ.ต.ท.ทักษิณ ระงับการเคลื่อนไหวของเครือข่ายคนเสื้อแดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวของ นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความส่วนตัว และ คณะนิติราษฎร์ เพราะในขณะนี้ประเทศไทยต้องการความเป็นเอกภาพ เพื่อร่วมแก้ไขภาวะวิกฤติจากอุทกภัย มากกว่าความขัดแย้งเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
"วันนี้รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็แทบจะหมดสภาพสำหรับการแก้ไขวิกฤติน้ำท่วมอยู่แล้ว และสถานการณ์ของประเทศจะยิ่งวิกฤติหนักขึ้นจากภาวะข้าวยากหมากแพงที่จะเกิดตามมา จนกลายเป็นภาวะทุกขภิกขภัย จึงเป็นหน้าที่ของคนทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน และทุกสีเสื้อ ที่จะร่วมกันแก้ไขสถานการณ์ และช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยโดยไม่เลือกข้าง ไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะพบกับวิกฤติการณ์ที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง ในระยะ2-3 เดือนต่อจากนี้ เครือข่ายของระบบทักษิณ จึงควรหันมาผนึกกำลังแก้ไขวิกฤตินี้มากกว่าจะตอกย้ำความแตกแยกให้รุนแรงขึ้น" นายอรรถพรกล่าว
นายอรรถพรกล่าวว่า นายอัมสเตอร์ดัม ถูกข้อกล่าวหากระทำผิดกฏหมายไทย โดยถูกกล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อวันที่ 19 ก.พ.2554 ใน 2 ข้อหา คือ กระทำความผิดในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112 ของประมวลกฏหมายอาญา และถูกแจ้งข้อหาดูหมิ่นศาลสถิตยุติธรรม ตามมาตรา 198 ตามประมวลกฏหมายอาญา แต่กลับเคลื่อนไหวในประเทศไทย เหมือนเป็นแขกผู้ทรงเกียรติของรัฐบาล กรณีนี้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงสุ่มเสี่ยงที่ถูกตั้งคำถามถึงทัศนคติที่มีต่อสถาบันเบื้องสูง และระบบยุติธรรม
นายอรรถพรยังกล่าวตำหนิ นายสุนัย จุลพงศธร ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่ได้เชิญ นายอัมสเตอร์ดัม เข้าชี้แจงกรณีปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ซึ่งนายสุนัย ใช้กลไกของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อรับใช้พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างน่ารังเกียจ และนี่คือเหตุผลที่นายสุนัย ได้รับความไว้วางใจให้เป็นประธานกมธ.ต่างประเทศ โดยข้ามหัวส.ส.ที่มีความเหมาะสม และอาวุโสในพรรคเพื่อไทยเป็นจำนวนมาก
"สิ่งที่นายสุนัย ควรทำ คือ การเร่งประสานความร่วมมือต่างๆ จากนานาประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทย ไม่ใช่เอาคณะกมธ. มาเป็นเครื่องมือให้ผู้ถูกกล่าวหาในข้อหาหมิ่นเบื้องสูง มาสร้างความแตกแยกของคนในชาติ" นายอรรถพร กล่าว
** "เหลิม"อ้างทนายหัวแดงไม่เกี่ยวการเมือง
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้เร่งพิสูจน์คดี 13 ศพว่า ตนมากำกับดูแลงานด้านนี้ด้วยตัวเอง งานจะต้องละเอียด ชัดเจน ไม่กลั่นแกล้ง ตรงไปตรงมา รับรองว่าอีกไม่นาน ญาติของผู้เสียชีวิตทั้ง 13 ศพ จะเห็นผลงานของรัฐบาลชุดนี้ โดยได้วางกรอบให้ตำรวจได้ทำงานแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุที่รัฐบาลไม่เร่งดำเนินคดี เพราะกลัวชนกับผู้นำกองทัพ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวปฏิเสธว่าไม่ใช่ เพราะเจ้าหน้าที่มีข้อยกเว้นของกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 , 70 จึงฝากบอกเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนสบายใจได้ เพราะใครที่สั่งการต้องรับผิดชอบ
เมื่อถามว่า มีการมองว่า การมาของนายอัมสเตอร์ดัมไม่ได้มาเพื่อพิสูจน์คดี แต่มาเพื่อปั่นป่วน ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องการเมือง เพราะนายอัมสเตอร์ดัม เป็นทนายความ ใครจ้างมาก็ต้องทำ จะเป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร
เว็บไซต์ ดิเอจ ดอทคอม สื่อออสเตรเลีย รายงานคำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ให้สัมภาษณ์พิเศษ เกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองของไทย โดยพ.ต.ท.ทักษิณได้เตือนทหารไม่ให้ยุ่งเกี่ยวการเมือง หรือยึดอำนาจจากรัฐบาลภายใต้การบริหารของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของตนเอง โดยกล่าวย้ำว่า ประชาคมโลกจะไม่ยอมรับการปฏิวัติรัฐประหารโดยทหารเด็ดขาด เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับตนเองเมื่อปี 2549
พ.ต.ท.ทักษิณระบุว่า ทหารเป็นพวกเสพติดอำนาจ เหมือนคนติดยาบ้า ก็ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ยามาเสพ เช่นเดียวกับคนที่หลงใหลในอำนาจ ก็จะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ
ทั้งนี้ การบริหารงานของพรรคเพื่อไทย ที่นำโดยน้องสาวของตนได้รับการยืนยันแผนการที่จะแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จัดระเบียบข้าราชการกระทรวงกลาโหม ซึ่งอนุญาตให้มีการนัดหมาย พูดคุยในทางทหาร
โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ ที่ดูไบ โดยกล่าวว่า เพื่อป้องกันการรัฐประหาร เราจะต้องเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตย ถ้าประชาธิปไตยจะรุ่งเรือง ทหารที่จะต้องอยู่ในค่ายของตัวเอง และได้กล่าวว่า ตนออกจากการเมือง แต่ก็เป็นไปได้ในการกลับไปยังประเทศไทย หลังจาก 5 ปี ที่อาศัยอยู่ในนอกประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจำคุก 2 ปี
ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ อ้างว่า คดีของตนนั้น เป็นเรื่องที่การเมืองแทรกแซง และย้ำว่าจะกลับไปอยู่ที่ประเทศไทย แต่ก็ไม่ทราบว่าเมื่อไร หรือวิธีการใด พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุ มันเป็นประเทศของตน ครอบครัวของตน ผู้คนและที่บ้านของตนเอง ตนคิดถึงพวกเขามาก
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวว่า การกลับมาของพ.ต.ท.ทักษิณ อาจสร้างปัญหาความไม่แน่นอนในไทย ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทางการเมือง รวมถึงการจลาจลบนท้องถนน และเขายังได้ปฏิเสธที่หลายฝ่ายอ้างว่า เขาคือผู้กุมอำนาจที่แท้จริง ที่อยู่เบื้องหลังน้องสาว ทำให้การตัดสินใจที่สำคัญของการบริหารรัฐบาลไทย มาจากตัวเขา และยังได้ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นที่มีเสียงสนับสนุนเขา สำหรับการขอพระราชทานอภัยโทษ หรือนิรโทษกรรม
** รัฐบาลเลิกเป็นอีแอบทางการเมือง
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย ยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการเคลื่อนไหวในการแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม ของพรรคเพื่อไทยว่า เป็นเรื่องการเล่นละครตีสองหน้าของคนในพรรคเพื่อไทย เพราะมีหลายเรื่องที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยเคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆ แต่รัฐบาลกลับออกมาปฏิเสธว่า ไม่ใช่นโยบายรัฐบาล นับตั้งแต่การเคลื่อนไหวเรื่องนิรโทษกรรมให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ จนถึงเรื่องการเคลื่อนไหวแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม
ดังนั้น ไม่อยากให้ผู้นำรัฐบาล ทำตัวเป็นอีแอบทางการเมือง ควรกล้าที่จะออกมาเผชิญกับความจริง เพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่า ทั้งรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย มีจุดยืนทางการเมืองเดียวกันหรือไม่ เพราะขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณได้ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ ยืนยันอย่างชัดเจนว่าเป็นแผนการที่ต้องการให้รัฐบาลแก้พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ทหารปฏิวัติ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องความแค้นส่วตัวที่พ.ต.ท.ทักษิณ มีต่อกองทัพ
"การมีพ.ร.บ.จัดระเบียบข้าราชการกระทรวงกลาโหม ก็เพราะไม่ต้องการให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปยุ่งหรือแทรกแซงกองทัพ ถ้าการแก้กฎหมายดังกล่าวตามแนวทางของพรรคเพื่อไทย ก็ยิ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงให้เกิดการปฏิวัติ มากกว่าป้องกันการปฏิวัติ ตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณประกาศ แต่สาเหตุที่แท้จริงของการพยายามแก้กฎหมายครั้งนี้ ก็เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการที่จะเข้าไปยึดกุมกองทัพให้เบร็ดเสร็จ หลังจากได้สร้างฐานมวลชนคนเสื้อแดง ให้เป็นฐานเสียงทางการเมืองได้สำเร็จแล้ว"นายเทพไทกล่าว
ส่วนความเคลื่อนไหวของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ออกมาแถลงข่าวพาดพิงถึงบุคคลต่างๆ และแสดงความคิดเห็นเรื่องการแก้ พ.ร.บ.กลาโหม ว่า เป็นการแสดงความเห็นส่วนตัวหรือพูดในนามประธานสภาฯ เพราะตัวประธานสภาฯ จะต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่ควรที่จะแสดงความเห็นเอนเอียง เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือตำนิความเห็นของบุคคลอื่นที่เป็นสมาชิกของรัฐสภา
"คนเป็นประธานสภาฯ ควรให้ความเคารพความคิดเห็นของสมาชิกทุกคน การปล่อยให้โฆษกของตัวเอง ออกมาพูดจาระรานสมาชิกคนอื่น ที่มีความคิดเห็นเป็นขอตัวเอง และประกาศจุดยืนสนับสนุนกฎหมายบางฉบับ และยังพาดพิงมายังพรรคประชาธิปัตย์ ให้ทบทวนบทบาทว่ายังเชื่อมั่นในรระบอบรัฐสภาหรือไม่ ทั้งๆ ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้เชื่อมั่นในระบอบรัฐสภามาโดยตลอด มีแต่พรรคเพื่อไทยเท่านั้น ที่ปล่อยให้ส.ส.ของพรรคไปเคลื่อนไหวข้างถนนเป็นแกนนำปลุกระดมมวลชนให้เผาบ้านเผาเมือง ถือเป็นพรรคการเมืองที่ไม่เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย"
**"แม้ว"อย่าซ้ำเติมวิกฤติน้ำท่วม
นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส ในฐานะ รมช.มหาดไทย (เงา) พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ ยืนยันรัฐบาลชุดนี้จะแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องยุติบทบาทแล้วหันมา ดูแลความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัย ไม่ทราบว่าการที่ออกมาแสดงความเห็นดังกล่าว เป็นการชี้ให้เห็นว่าไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชนหรือไม่ แต่กลับมาแก้ พ.ร.บ.กลาโหมเพื่อตัวเอง เท่ากับเป็นการซ้ำเติมประชาชน ขณะนี้บ้านเมืองต้องการความสามัคคี พ.ต.ท.ทักษิณ เคยให้แนวทางแก้ปัญหาหรือไม่ ทั้งเรื่องการบริจาค ซึ่งเท่าที่ทราบมา บริจาคไปแล้วแค่ 1 ล้านบาทเท่านั้น
"พ.ต.ท.ทักษิณต้องย้อนกลับไปพิจารณาว่า ก่อนการรัฐประหาร กันยายน 2549 มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง ในส่วนนักการเมืองไม่มีใครอยากเห็นการรัฐประหารอยู่แล้ว" ส.ส.ปชป.กล่าว
ด้านนายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงเรียกร้องให้พ.ต.ท.ทักษิณ ระงับการเคลื่อนไหวของเครือข่ายคนเสื้อแดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวของ นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความส่วนตัว และ คณะนิติราษฎร์ เพราะในขณะนี้ประเทศไทยต้องการความเป็นเอกภาพ เพื่อร่วมแก้ไขภาวะวิกฤติจากอุทกภัย มากกว่าความขัดแย้งเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
"วันนี้รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็แทบจะหมดสภาพสำหรับการแก้ไขวิกฤติน้ำท่วมอยู่แล้ว และสถานการณ์ของประเทศจะยิ่งวิกฤติหนักขึ้นจากภาวะข้าวยากหมากแพงที่จะเกิดตามมา จนกลายเป็นภาวะทุกขภิกขภัย จึงเป็นหน้าที่ของคนทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน และทุกสีเสื้อ ที่จะร่วมกันแก้ไขสถานการณ์ และช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยโดยไม่เลือกข้าง ไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะพบกับวิกฤติการณ์ที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง ในระยะ2-3 เดือนต่อจากนี้ เครือข่ายของระบบทักษิณ จึงควรหันมาผนึกกำลังแก้ไขวิกฤตินี้มากกว่าจะตอกย้ำความแตกแยกให้รุนแรงขึ้น" นายอรรถพรกล่าว
นายอรรถพรกล่าวว่า นายอัมสเตอร์ดัม ถูกข้อกล่าวหากระทำผิดกฏหมายไทย โดยถูกกล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อวันที่ 19 ก.พ.2554 ใน 2 ข้อหา คือ กระทำความผิดในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112 ของประมวลกฏหมายอาญา และถูกแจ้งข้อหาดูหมิ่นศาลสถิตยุติธรรม ตามมาตรา 198 ตามประมวลกฏหมายอาญา แต่กลับเคลื่อนไหวในประเทศไทย เหมือนเป็นแขกผู้ทรงเกียรติของรัฐบาล กรณีนี้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงสุ่มเสี่ยงที่ถูกตั้งคำถามถึงทัศนคติที่มีต่อสถาบันเบื้องสูง และระบบยุติธรรม
นายอรรถพรยังกล่าวตำหนิ นายสุนัย จุลพงศธร ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่ได้เชิญ นายอัมสเตอร์ดัม เข้าชี้แจงกรณีปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ซึ่งนายสุนัย ใช้กลไกของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อรับใช้พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างน่ารังเกียจ และนี่คือเหตุผลที่นายสุนัย ได้รับความไว้วางใจให้เป็นประธานกมธ.ต่างประเทศ โดยข้ามหัวส.ส.ที่มีความเหมาะสม และอาวุโสในพรรคเพื่อไทยเป็นจำนวนมาก
"สิ่งที่นายสุนัย ควรทำ คือ การเร่งประสานความร่วมมือต่างๆ จากนานาประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทย ไม่ใช่เอาคณะกมธ. มาเป็นเครื่องมือให้ผู้ถูกกล่าวหาในข้อหาหมิ่นเบื้องสูง มาสร้างความแตกแยกของคนในชาติ" นายอรรถพร กล่าว
** "เหลิม"อ้างทนายหัวแดงไม่เกี่ยวการเมือง
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้เร่งพิสูจน์คดี 13 ศพว่า ตนมากำกับดูแลงานด้านนี้ด้วยตัวเอง งานจะต้องละเอียด ชัดเจน ไม่กลั่นแกล้ง ตรงไปตรงมา รับรองว่าอีกไม่นาน ญาติของผู้เสียชีวิตทั้ง 13 ศพ จะเห็นผลงานของรัฐบาลชุดนี้ โดยได้วางกรอบให้ตำรวจได้ทำงานแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุที่รัฐบาลไม่เร่งดำเนินคดี เพราะกลัวชนกับผู้นำกองทัพ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวปฏิเสธว่าไม่ใช่ เพราะเจ้าหน้าที่มีข้อยกเว้นของกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 , 70 จึงฝากบอกเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนสบายใจได้ เพราะใครที่สั่งการต้องรับผิดชอบ
เมื่อถามว่า มีการมองว่า การมาของนายอัมสเตอร์ดัมไม่ได้มาเพื่อพิสูจน์คดี แต่มาเพื่อปั่นป่วน ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องการเมือง เพราะนายอัมสเตอร์ดัม เป็นทนายความ ใครจ้างมาก็ต้องทำ จะเป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร