ผมอยากจะถามกลุ่มคนที่เรียกร้องให้ล้างผลของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในนามของการทำให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์...ว่า...
สมมติว่าท่านเป็นริป แวน วิงเกิล ตัวละครในนิยายของวอชิงตัน เออร์วิง นอนหลับสนิทไประยะเวลาหนึ่ง แล้วพอตื่นขึ้นมาปรากฏว่า (1) ไม่มี “อมาตย์”, (2) ไม่มี “มือที่มองไม่เห็น”, (3) ไม่มีกองทัพ หรือ...กองทัพอยู่ภายใต้การเมืองเต็ม 100 พ.ร. บ.จัดระเบียบบริหารราชการกระทรวงกลาโหมฯแก้ไขเรียบร้อยแล้ว, (4) ไม่มีองค์กรอิสระและศาลในรูปแบบปัจจุบัน หรือ...องค์กรอิสระและศาลเชื่อมโยงเข้ากับการเมืองในรูปใดรูปหนึ่ง, (5) ไม่มีหลักรัฐธรรมนูญมาตรา 8 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ขอถามท่านว่าภาพรวมของสังคมไทย ณ นาทีนั้นคืออะไร...
→ ปตท.กลับคืนมาเป็นของรัฐหรือไม่ ?
→ มีธรรมาภิบาลในการกำหนดราคาพลังงานของประเทศหรือไม่ ?
→ ระบบธนาคารที่เป็นปลิงสูบเลือดสังคมไทยมาโดยตลอดเปลี่ยนแปลงไปแล้วหรือไม่ ?
→ อำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจเป็นของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมแล้วหรือไม่ ?
→ ประเทศไทยพ้นจากการครอบงำของทุนนิยมโลกในระดับสำคัญแล้วหรือไม่ ?
ท่านช่วยเล่าให้ผมฟังหน่อย
เพราะตรรกะที่ท่านเสนอออกมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกวันมันเสมือนกับว่า ถ้าบ้านนี้เมืองนี้ไม่มีอมาตย์ ไม่มีมือที่มองไม่เห็น ไม่มีกองทัพที่ปลอดการเมือง ไม่มีองค์กรอิสระและศาลที่เป็นอิสระ ไม่มีรัฐธรรมนูญมาตรา 8 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้เห็นเสียแล้ว ประเทศนี้จะเป็น “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” ในทันที และ ความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ในทันทีนั้นจะสร้าง “ความเป็นธรรมในสังคม” ขึ้นในทันที
ท่านต้องอรรถาธิบายให้ผมเข้าใจว่าทำไมในประเทศ “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” อย่างสหรัฐอเมริกาจึงเกิดปรากฏการณ์วอลล์สตรีทขึ้น
กลุ่มยึดวอลล์สตรีท Occupy Wall Street ประกาศว่าเขาคือกลุ่มคน 99 % ของประเทศ ต่อต้านระบบธนาคาร ระบบสถาบันการเงิน ระบบบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ระ บบกาสิโนอีโคโนมี ซึ่งเป็นคนเพียง 1 % ที่อาศัยกลไก “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” เข้ามาครอบงำและบงการการเมือง กำหนดทิศทางของประ เทศให้ไปในทางเบียดบังผลประโยชน์ของคน 99 % ไปบำรุงบำเรอคนเพียง 1 %
ท่านมีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร ?
เวลาท่านพูดถึงพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 หรือรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน 2475 ที่มีมาตรา 1 ระบุว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ทำไมท่านไม่พูดถึง “เค้าโครงเศรษฐกิจ” หรือ “สมุดปกเหลือง” ของท่านปรีดี พนมยงค์ควบคู่ไปด้วย ผมเชื่อว่า “ความเป็นปรีดี พนมยงค์” ไม่ได้มีแค่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 27 มิถุนา 2475 หรือรัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475 ที่พัฒนาไปเป็นรัฐธรรมนูญ 2489 แต่มีสมุดปกเหลือง-เค้าโครงเศรษฐกิจที่ตามมาติด ๆ ด้วย
ถ้าท่านลืมบอก กรุณาบอกเสนอข้อเสนอ “เค้าโครงเศรษฐกิจ 2555” ที่จะตามมาหลังการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ล้างผลรัฐประหาร 19 กันยายนด้วย
...เพื่อผมจะได้พิจารณา หากเห็นด้วยจะได้เข้าไปต่อแถวพวกท่าน !
อะไรก็ได้ครับที่เป็นข้อเสนอในทำนองปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปสังคม ปฏิรูประบบแบ่งปันผลประโยชน์ในสังคมนี้ ที่จะสร้างความเป็นธรรมที่แท้จริงขึ้นในสังคมนี้
รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่เป็นรัฐบาลอมาตย์ และเป็นผลพวงของการรัฐประหาร 19 กันยา ได้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมา 3 ชุด (1) คอป. – คณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบและค้นหาความเป็นจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ, (2) คณะกรรมการปฏิรูป, (3) คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ทำไมท่านยอมรับและประกาศไว้ในนโยบายรัฐบาลของท่านให้ดำเนินต่อไปเพียงคณะเดียวคือคอป. ทำไมท่านไม่พูดถึงคณะกรรมการอีก 2 ชุดที่ชั่ว ๆ ดี ๆ อย่างไรก็กำลังสร้างพิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อสร้างความเป็นธรรมที่แท้จริงขึ้นมา
ท่านพูดแต่กลับคืนไปสู่ระบอบก่อนรัฐประหาร 19 กันยา เหมือนกับว่ามันเป็นสังคมพระศรีอาริย์ หรืออย่างน้อยก็เหมือนว่ามันเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ มันสร้างความเป็นธรรมที่แท้จริงในสังคมไทย แล้วการรัฐ ประหาร 19 กันยาเป็นปิศาจร้ายมาทำลายไปเสียสิ้น
เสมือนท่านลืมไปแล้วว่าคำ “ระบอบทักษิณ” ไม่ได้เพิ่งเกิดหลัง 19 กันยา หรือเกิดในช่วงการชุมนุมปี 2548 ต่อ 2549 โดยคุณสนธิ ลิ้มทองกุล โดยพวกสมุนอำมาตย์ แต่เกิดขึ้นก่อนโดยนักวิชาการฝ่ายก้าวหน้าคนหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับพวกสมุนอำมาตย์แม้แต่น้อย และนักวิชาการอดีตนักการเมืองอีกคนที่ระยะหลังก็ขึ้นเวทีของพวกท่านอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
นักวิชาการคนแรกประดิษฐ์ถ้อยคำเรียกขานระบอบการเมืองขณะนั้นว่า
“ระบอบสมบูรณาญาสิทธิทุน”
หรือ
“ระบอบอาญาสิทธิของทุนนิยมจากการเลือกตั้ง - elected capitalist absolutism”
นักวิชาการอดีตนักการเมืองคนหลังเขียนหนังสือโด่งดังออกมาเล่มหนึ่งในปี 2547 ชื่อว่า
“รัฐธรรมนูญตายแล้ว”
และขนานนามระบอบการเมืองในขณะนั้นว่า
“ทักษิโณมิคส์”
ใช่หรือไม่ว่าเหล่านี้การกินรวบประเทศและคือ “เหตุ” ของรัฐประหาร ?
ถ้าท่านมัวแต่จะล้าง “ผล” ของรัฐประหาร ไม่ล้าง “เหตุ” ของรัฐประหาร ประชาธิปไตยสมบูรณ์โดยสารัตถะจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ความเป็นธรรมในสังคมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
การล้าง “เหตุ” ของรัฐประหาร ก็คือการปฏิรูปประเทศในทุกด้าน
หากท่านจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หากเป็นไปเพียงเพื่อล้าง “ผล” ของรัฐประหาร ไม่แตะด้าน “เหตุ” มันก็จะไม่มีทางนำไปสู่ประชาธิปไตยสมบูรณ์ ไม่มีทางนำไปสู่ความเป็นธรรม ไม่มีทางที่อำนาจสูงสุดของประเทศจะเป็นของราษฎรทั้งหลายอย่างแท้จริง ต่อให้รัฐธรรมนูญใหม่ของท่านไม่มีมาตรา 8 และไม่มีป.อาญามาตรา 112
เพราะก็แค่เปลี่ยนระบอบกลับไปเป็น “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิทุน” และ/หรือ “ทักษิโณมิคส์” เท่านั้น
แค่กลับไปสู่สภาวการณ์กินรวบประเทศไทยอีกครั้ง
ผมไม่ได้เห็นว่ารัฐประหารและผลของมัน – โดยเฉพาะรัฐประหารที่ไม่มีลักษณะปฏิวัติ – เป็นความดี ความงาม หรอก แต่ความไม่ดีไม่งามของมันก็ไม่ได้ทำให้ระบอบที่มันโค่นล้มลงไปได้ชั่วคราวกลายเป็นความดี ความงาม ขึ้นมาได้ หากมันก็ไม่ได้ดีไม่ได้งามอยู่ก่อน
แน่นอนว่าผมไม่เชื่อตรรกะ “คอร์รัปชั่นดีกว่ารัฐประหาร” หรือ “ทุนนิยมสามานย์ดีกว่าศักดินาล้าหลัง” แต่ผมก็หาได้เชื่อว่า “รัฐประหารดีกว่าคอร์รัปชั่น” หรือ “ศักดินาล้าหลังดีกว่าทุนนิยมสามานย์” เช่นกัน
ทำไมเราจะต้องเลือกระหว่างสิ่งที่ไม่ดีไม่งามสองสิ่ง ?
ทำไมเราไม่ฝ่าฟันไปสู่ทางเลือกใหม่ ??
นี่คือคำถาม !
สมมติว่าท่านเป็นริป แวน วิงเกิล ตัวละครในนิยายของวอชิงตัน เออร์วิง นอนหลับสนิทไประยะเวลาหนึ่ง แล้วพอตื่นขึ้นมาปรากฏว่า (1) ไม่มี “อมาตย์”, (2) ไม่มี “มือที่มองไม่เห็น”, (3) ไม่มีกองทัพ หรือ...กองทัพอยู่ภายใต้การเมืองเต็ม 100 พ.ร. บ.จัดระเบียบบริหารราชการกระทรวงกลาโหมฯแก้ไขเรียบร้อยแล้ว, (4) ไม่มีองค์กรอิสระและศาลในรูปแบบปัจจุบัน หรือ...องค์กรอิสระและศาลเชื่อมโยงเข้ากับการเมืองในรูปใดรูปหนึ่ง, (5) ไม่มีหลักรัฐธรรมนูญมาตรา 8 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ขอถามท่านว่าภาพรวมของสังคมไทย ณ นาทีนั้นคืออะไร...
→ ปตท.กลับคืนมาเป็นของรัฐหรือไม่ ?
→ มีธรรมาภิบาลในการกำหนดราคาพลังงานของประเทศหรือไม่ ?
→ ระบบธนาคารที่เป็นปลิงสูบเลือดสังคมไทยมาโดยตลอดเปลี่ยนแปลงไปแล้วหรือไม่ ?
→ อำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจเป็นของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมแล้วหรือไม่ ?
→ ประเทศไทยพ้นจากการครอบงำของทุนนิยมโลกในระดับสำคัญแล้วหรือไม่ ?
ท่านช่วยเล่าให้ผมฟังหน่อย
เพราะตรรกะที่ท่านเสนอออกมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกวันมันเสมือนกับว่า ถ้าบ้านนี้เมืองนี้ไม่มีอมาตย์ ไม่มีมือที่มองไม่เห็น ไม่มีกองทัพที่ปลอดการเมือง ไม่มีองค์กรอิสระและศาลที่เป็นอิสระ ไม่มีรัฐธรรมนูญมาตรา 8 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้เห็นเสียแล้ว ประเทศนี้จะเป็น “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” ในทันที และ ความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ในทันทีนั้นจะสร้าง “ความเป็นธรรมในสังคม” ขึ้นในทันที
ท่านต้องอรรถาธิบายให้ผมเข้าใจว่าทำไมในประเทศ “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” อย่างสหรัฐอเมริกาจึงเกิดปรากฏการณ์วอลล์สตรีทขึ้น
กลุ่มยึดวอลล์สตรีท Occupy Wall Street ประกาศว่าเขาคือกลุ่มคน 99 % ของประเทศ ต่อต้านระบบธนาคาร ระบบสถาบันการเงิน ระบบบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ระ บบกาสิโนอีโคโนมี ซึ่งเป็นคนเพียง 1 % ที่อาศัยกลไก “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” เข้ามาครอบงำและบงการการเมือง กำหนดทิศทางของประ เทศให้ไปในทางเบียดบังผลประโยชน์ของคน 99 % ไปบำรุงบำเรอคนเพียง 1 %
ท่านมีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร ?
เวลาท่านพูดถึงพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 หรือรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน 2475 ที่มีมาตรา 1 ระบุว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ทำไมท่านไม่พูดถึง “เค้าโครงเศรษฐกิจ” หรือ “สมุดปกเหลือง” ของท่านปรีดี พนมยงค์ควบคู่ไปด้วย ผมเชื่อว่า “ความเป็นปรีดี พนมยงค์” ไม่ได้มีแค่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 27 มิถุนา 2475 หรือรัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475 ที่พัฒนาไปเป็นรัฐธรรมนูญ 2489 แต่มีสมุดปกเหลือง-เค้าโครงเศรษฐกิจที่ตามมาติด ๆ ด้วย
ถ้าท่านลืมบอก กรุณาบอกเสนอข้อเสนอ “เค้าโครงเศรษฐกิจ 2555” ที่จะตามมาหลังการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ล้างผลรัฐประหาร 19 กันยายนด้วย
...เพื่อผมจะได้พิจารณา หากเห็นด้วยจะได้เข้าไปต่อแถวพวกท่าน !
อะไรก็ได้ครับที่เป็นข้อเสนอในทำนองปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปสังคม ปฏิรูประบบแบ่งปันผลประโยชน์ในสังคมนี้ ที่จะสร้างความเป็นธรรมที่แท้จริงขึ้นในสังคมนี้
รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่เป็นรัฐบาลอมาตย์ และเป็นผลพวงของการรัฐประหาร 19 กันยา ได้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมา 3 ชุด (1) คอป. – คณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบและค้นหาความเป็นจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ, (2) คณะกรรมการปฏิรูป, (3) คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ทำไมท่านยอมรับและประกาศไว้ในนโยบายรัฐบาลของท่านให้ดำเนินต่อไปเพียงคณะเดียวคือคอป. ทำไมท่านไม่พูดถึงคณะกรรมการอีก 2 ชุดที่ชั่ว ๆ ดี ๆ อย่างไรก็กำลังสร้างพิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อสร้างความเป็นธรรมที่แท้จริงขึ้นมา
ท่านพูดแต่กลับคืนไปสู่ระบอบก่อนรัฐประหาร 19 กันยา เหมือนกับว่ามันเป็นสังคมพระศรีอาริย์ หรืออย่างน้อยก็เหมือนว่ามันเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ มันสร้างความเป็นธรรมที่แท้จริงในสังคมไทย แล้วการรัฐ ประหาร 19 กันยาเป็นปิศาจร้ายมาทำลายไปเสียสิ้น
เสมือนท่านลืมไปแล้วว่าคำ “ระบอบทักษิณ” ไม่ได้เพิ่งเกิดหลัง 19 กันยา หรือเกิดในช่วงการชุมนุมปี 2548 ต่อ 2549 โดยคุณสนธิ ลิ้มทองกุล โดยพวกสมุนอำมาตย์ แต่เกิดขึ้นก่อนโดยนักวิชาการฝ่ายก้าวหน้าคนหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับพวกสมุนอำมาตย์แม้แต่น้อย และนักวิชาการอดีตนักการเมืองอีกคนที่ระยะหลังก็ขึ้นเวทีของพวกท่านอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
นักวิชาการคนแรกประดิษฐ์ถ้อยคำเรียกขานระบอบการเมืองขณะนั้นว่า
“ระบอบสมบูรณาญาสิทธิทุน”
หรือ
“ระบอบอาญาสิทธิของทุนนิยมจากการเลือกตั้ง - elected capitalist absolutism”
นักวิชาการอดีตนักการเมืองคนหลังเขียนหนังสือโด่งดังออกมาเล่มหนึ่งในปี 2547 ชื่อว่า
“รัฐธรรมนูญตายแล้ว”
และขนานนามระบอบการเมืองในขณะนั้นว่า
“ทักษิโณมิคส์”
ใช่หรือไม่ว่าเหล่านี้การกินรวบประเทศและคือ “เหตุ” ของรัฐประหาร ?
ถ้าท่านมัวแต่จะล้าง “ผล” ของรัฐประหาร ไม่ล้าง “เหตุ” ของรัฐประหาร ประชาธิปไตยสมบูรณ์โดยสารัตถะจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ความเป็นธรรมในสังคมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
การล้าง “เหตุ” ของรัฐประหาร ก็คือการปฏิรูปประเทศในทุกด้าน
หากท่านจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หากเป็นไปเพียงเพื่อล้าง “ผล” ของรัฐประหาร ไม่แตะด้าน “เหตุ” มันก็จะไม่มีทางนำไปสู่ประชาธิปไตยสมบูรณ์ ไม่มีทางนำไปสู่ความเป็นธรรม ไม่มีทางที่อำนาจสูงสุดของประเทศจะเป็นของราษฎรทั้งหลายอย่างแท้จริง ต่อให้รัฐธรรมนูญใหม่ของท่านไม่มีมาตรา 8 และไม่มีป.อาญามาตรา 112
เพราะก็แค่เปลี่ยนระบอบกลับไปเป็น “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิทุน” และ/หรือ “ทักษิโณมิคส์” เท่านั้น
แค่กลับไปสู่สภาวการณ์กินรวบประเทศไทยอีกครั้ง
ผมไม่ได้เห็นว่ารัฐประหารและผลของมัน – โดยเฉพาะรัฐประหารที่ไม่มีลักษณะปฏิวัติ – เป็นความดี ความงาม หรอก แต่ความไม่ดีไม่งามของมันก็ไม่ได้ทำให้ระบอบที่มันโค่นล้มลงไปได้ชั่วคราวกลายเป็นความดี ความงาม ขึ้นมาได้ หากมันก็ไม่ได้ดีไม่ได้งามอยู่ก่อน
แน่นอนว่าผมไม่เชื่อตรรกะ “คอร์รัปชั่นดีกว่ารัฐประหาร” หรือ “ทุนนิยมสามานย์ดีกว่าศักดินาล้าหลัง” แต่ผมก็หาได้เชื่อว่า “รัฐประหารดีกว่าคอร์รัปชั่น” หรือ “ศักดินาล้าหลังดีกว่าทุนนิยมสามานย์” เช่นกัน
ทำไมเราจะต้องเลือกระหว่างสิ่งที่ไม่ดีไม่งามสองสิ่ง ?
ทำไมเราไม่ฝ่าฟันไปสู่ทางเลือกใหม่ ??
นี่คือคำถาม !